อานิสงส์ของจาคานุสสติ คือ
๑. ย่อมน้อมไปในการสละที่ยิ่ง ๆ ขึ้น
๒. มีอัธยาศัยไม่โลภ
๓. อยู่อย่างไม่มีทุกข์
๔. เป็นที่รักของผู้อื่น
๕. ไม่สะทกสะท้านในกลุ่มคน
๖. มากไปด้วยปีติและปราโมช
๗. เข้าถึงเทวโลก
..............................จบจาคานุสสติ.....................
เทวตานุสสติ หมายถึง การระลึกถึงกุศลกรรมของตนมี ศรัทธา ศีล สุตะ จาคะ ปัญญา ที่ตนมี แล้วเปรียบเทียบกับเทวดาว่าเทวดาที่ได้เกิดในเทวโลกมีความบริบูรณ์ในสุขใน สมบัติต่าง ๆ เพราะเมื่ออดีตชาติเทวดาก็ประกอบด้วย ศรัทธา ศีล สุตะ จาคะ ปัญญา แม้ตัวของเราเองก็มีคุณธรรมเหล่านั้นเช่นเดียวกัน องค์ธรรมได้แก่ สติเจตสิก ที่ในมหากุศลจิต ที่มีศรัทธาเป็นต้น เป็นอารมณ์ วิธีเจริญเทวตานุสสติ จะต้องอยู่ในสถานที่เงียบเหมาะกับการปฏิบัติ และระลึกถึงความเป็นไปของเทวดาและพรหมทั้งหลายว่า ขณะที่ท่านเหล่านั้นยังเป็นมนุษย์อยู่นั้น ท่านเหล่านั้นล้วนแต่เป็นผู้ที่บริบูรณ์ด้วยธรรมอันดีงามมีสัปปุริสรัตนะ ๗ อย่าง คือ ศรัทธา ศีล สุตะ จาคะ ปัญญา หิริ โอตตัปปะ และมี สัปปุริสธรรม ๗ คือ ศรัทธา สติ หิริ โอตตัปปะ พาหุสัจจะ วิริยะ ปัญญา ด้วยกันทั้งสิ้น ฉะนั้นเมื่อตายลงก็ได้ไปบังเกิดในเทวภูมิ พรหมภูมิ ธรรมที่มีสภาพอันดีงามเหล่านี้ตนก็มีอยู่เหมือนกัน เมื่อพิจารณาเปรียบเทียบดูอยู่อย่างนี้เนือง ๆ แล้วก็บังเกิดความโสมนัสใจ การเจริญเทวตานุสสติมีหลายสิ่งให้ระลึกถึง ฌานจึงไม่ถึงขั้นอัปปนาสมาธิ ได้เพียงอุปจารสมาธิเท่านั้น
อานิสงส์ของเทวตานุสติ คือ ๑. เพิ่มพูนคุณธรรม ๕ ประการ คือ ศรัทธา มีความเชื่อในการกระทาความดี ศีล มีความประพฤติดีทางกายวาจา สุตะ ได้ยินได้ฟังได้ศึกษาคาสอนของพระพุทธเจ้า จาคะ มีการบริจาค เสียสละ ให้ทาน ปัญญา มีการเพิ่มพูนความรู้ด้วยการคิด ฟัง ภาวนา ๒. ได้รับสิ่งที่เทวดาในสวรรค์ปรารถนา ๓. เป็นสุขในการรอเสวยผลของบุญ ๔. เคารพตัวเอง ๕. เทวดาในสวรรค์นับถือ ๖. สามารถปฏิบัติสีลานุสสติ และจาคานุสสติได้ด้วย ๗. อยู่เป็นสุข ๘. ตายไปย่อมเข้าถึงเทวโลก..........................................................จบเทวตานุสสติ........................