[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
22 ธันวาคม 2567 20:52:09 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: ช็อกโกแลตซีสต์ (Chocolate Cyst)  (อ่าน 1033 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
ฉงน ฉงาย
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 9
*

คะแนนความดี: +0/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 453


ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Chrome 86.0.4240.183 Chrome 86.0.4240.183


ดูรายละเอียด
« เมื่อ: 10 พฤศจิกายน 2563 21:37:56 »



ช็อกโกแลตซีสต์ (Chocolate Cyst)

             ช็อกโกแลตซีสต์ (Chocolate Cyst) คือ ถุงน้ำในรังไข่ประเภทหนึ่งที่เกิดจากเซลล์เยื่อบุมดลูกเจริญผิดที่ เมื่อถึงเวลาเป็นประจำเดือนจะทำให้มีเลือดสะสมและตกค้างก่อตัวเป็นซีสต์ โดยมีของเหลวลักษณะเหนียวข้นคล้ายช็อคโกแลตอยู่ภายใน ทางการแพทย์จึงเรียกอีกชื่อว่า ถุงน้ำช็อกโกแลต และยังจัดเป็นโรคเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญเติบโตผิดที่ (Endometriosis) เช่นกัน

อาการของช็อกโกแลตซีสต์

ช็อกโกแลตซีสต์ส่วนใหญ่มีขนาดเล็กและไม่ค่อยเป็นอันตราย ผู้ป่วยแต่ละคนจะมีอาการมากน้อยไม่เท่ากัน เริ่มตั้งแต่ไม่มีความผิดปกติใด ๆ แสดงอาการเพียงเล็กน้อย หรือรุนแรง ซึ่งอาการที่พบบ่อย เช่น

 (:LOVE:)ปวดบริเวณอุ้งเชิงกรานเรื้อรัง โดยจะรุนแรงมากขึ้นในช่วงมีรอบเดือน 
 (:LOVE:)ปวดประจำเดือนมาก ซึ่งมักจะเริ่มปวดก่อนประจำเดือนมา 2-3 วันไปจนหมดรอบเดือน ซึ่งจะต่างกับการปวดประจำเดือนปกติที่มักปวดในช่วงวันแรก ๆ และไม่รุนแรง
 (:LOVE:)มีเลือดออกกะปริบกะปรอยทางช่องคลอด หรืออาการอื่น ๆ คล้ายกับช่วงมีประจำเดือน   
 (:LOVE:)รู้สึกเจ็บและปวดบริเวณช่องคลอดขณะมีเพศสัมพันธ์ ซึ่งอาการอาจคงอยู่หลังมีเพศสัมพันธ์ไปอีกประมาณ 1-2 ชั่วโมง
 (:LOVE:)มีบุตรยาก
 (:LOVE:)บางรายอาจมีอาการปวดขณะถ่ายอุจจาระหรือปวดบริเวณอุ้งเชิงกรานมากขณะปัสสาวะ

สาเหตุของช็อกโกแลตซีสต์


            ปัจจุบันยังไม่ทราบสาเหตุการเกิดที่แน่ชัด แต่สันนิษฐานว่าน่าจะเกิดจาก ประจำเดือนไหลย้อนกลับไปในรังไข่ (Retrograde Menstruation) เพราะในสภาวะปกติของแต่ละเดือนจะมีการสร้างเยื่อบุขึ้นในมดลูก เพื่อรองรับไข่ที่จะมาฝังตัว แต่เมื่อไม่มีการฝังตัวก็จะทำให้เยื่อบุที่ถูกสร้างขึ้นหลุดลอกออกมาเป็นประจำเดือนทางช่องคลอด แต่ในกรณีของการเกิดช็อกโกแลตซีสต์ การบีบตัวของมดลูกบางจังหวะทำให้ประจำเดือนไหลย้อนไปทางปลายท่อนำไข่แทนที่จะไหลลงข้างล่างทางช่องคลอดเพียงทางเดียว จึงทำให้เซลล์เยื่อบุมดลูกไปฝังตัวและเจริญเติบโตในรังไข่จนเกิดเป็นถุงน้ำขึ้น เมื่อเป็นประจำเดือน ถุงน้ำดังกล่าวก็จะมีเลือดออกในถุงเหมือนเยื่อบุโพรงมดลูกลอกตัว ถุงน้ำจะมีขนาดใหญ่ขึ้นเรื่อย ๆ และมีลักษณะเป็นเลือดเก่า ๆ อยู่ภายใน

            นอกจากนี้ ยังมีอีกหลายข้อสันนิษฐานที่พยายามอธิบายสาเหตุการเกิดของช็อกโกแลตซีสต์ เช่น เยื่อบุช่องท้องเกิดการระคายเคือง (Transformation Of Peritoneal Cells) จากการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนหรือระบบภูมิคุ้มกัน การเปลี่ยนแปลงของเซลล์ต้นกำเนิดตัวอ่อน (Embryonic Cell Transformation) จากอิทธิพลของฮอร์โมน แผลหลังผ่าตัด (Surgical Scar Implantation) หรือ ความผิดปกติของระบบภูมิคุ้มกัน (Immune System Disorder)

            ทั้งนี้ ยังพบว่ามีปัจจัยเสี่ยงที่พัฒนาให้เกิดช็อกโกแลตซีสต์ขึ้นในบุคคลบางกลุ่มได้ง่าย โดยเฉพาะผู้หญิงที่อยู่ในช่วงอายุ 25-40 ปี มีประวัติบุคคลในครอบครัวเป็นโรคนี้ ไม่เคยมีบุตรมาก่อน หรือมีรอบเดือนผิดปกติ เช่น ประจำเดือนมามากและมีระยะเวลานานกว่าปกติ รอบเดือนสั้น เริ่มมีประจำเดือนครั้งแรกตั้งแต่อายุยังน้อย


การวินิจฉัยช็อกโกแลตซีสต์

            แพทย์จะสอบถามประวัติทางการแพทย์ของผู้ป่วยและบุคคลในครอบครัวที่อาจมีความเกี่ยวข้องกับตัวโรค อาการของผู้ป่วยตั้งแต่ปวดในลักษณะไหน บริเวณที่มีอาการปวด เกิดขึ้นเมื่อไร หรือประวัติการปวดประจำเดือนและการมีเพศสัมพันธ์ จากนั้นจะมีการตรวจสุขภาพทั่วไป ซึ่งการตรวจหลัก ๆ ที่ใช้ประกอบการวินิจฉัยควบคู่กับข้อมูลที่สอบถามผู้ป่วยจะแบ่งออกเป็น

การตรวจภายใน เป็นการตรวจหาความผิดปกติที่เกิดขึ้นกับอวัยวะบริเวณอุ้งเชิงกราน อวัยวะเพศ และทวารหนัก ทำให้แพทย์สามารถตรวจดูว่ามีเยื่อบุมดลูกเจริญผิดที่หรือไม่ หรือมดลูกมีขนาดใหญ่ขึ้นกว่าเดิม มีก้อนบริเวณมดลูกและรังไข่เกิดขึ้นไม่ แต่ในกรณีที่ถุงน้ำมีขนาดเล็กมากก็อาจมีโอกาสตรวจไม่พบได้เช่นกัน
การตรวจอัลตราซาวด์ เป็นการตรวจวิเคราะห์ด้วยคลื่นเสียงความถี่สูงผ่านผนังหน้าท้องเข้าไปภายในช่องท้องหรือสอดอุปกรณ์สำหรับการตรวจอัลตราซาวด์เข้าไปทางช่องคลอด เพื่อตรวจดูอวัยวะภายในอุ้งเชิงกราน ซึ่งสามารถตรวจพบก้อนขนาดเล็ก แต่ไม่สามารถวินิจฉัยโรคได้อย่างละเอียด เช่น การเกิดพังผืด
การส่องกล้อง (Laparoscopic) เมื่อการตรวจในข้างต้นให้ข้อมูลไม่เพียงที่จะสรุป แพทย์อาจมีการส่องกล้องตรวจดูความผิดปกติภายในช่องท้อง ซึ่งเป็นวิธีที่ช่วยวินิจฉัยได้แม่นยำมากที่สุด โดยเริ่มจากการให้ยาชาเฉพาะที่ จากนั้นจึงเปิดแผลขนาดเล็กใต้สะดือและสอดกล้องพิเศษลงไปตรวจดูภายใน ทำให้แพทย์มองเห็นความผิดปกติได้ชัดเจน สามารถระบุตำแหน่งและขนาดของถุงน้ำที่ตรวจพบ เพื่อเลือกวิธีการรักษาที่เหมาะสมกับผู้ป่วย

การรักษาช็อกโกแลตซีสต์


แนวทางในการรักษาส่วนใหญ่จะเป็นการใช้ยาและการผ่าตัด โดยขึ้นอยู่กับความรุนแรงของอาการและความประสงค์ในการมีบุตรของผู้ป่วย

การรักษาโดยการใช้ยา จะแบ่งตัวยาออกเป็น 2 กลุ่มได้แก่

ยาแก้ปวดที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ (Non Steroidal Anti-Inflammatory Drugs) หรือเรียกแบบย่อว่า ยาเอ็นเสด (NSAIDs) เพื่อช่วยบรรเทาอาการปวดท้องน้อยหรือปวดระหว่างมีรอบเดือนที่ไม่รุนแรง ตัวอย่างยาที่นิยมใช้ เช่น ยาไอบรูโปรเฟน (Ibuprofen) ยานาพรอกเซน (Naproxen)
ยาฮอร์โมนเพศหญิง (Hormone Therapy) ใช้ในกรณีที่ผู้ป่วยมีอาการปวดมากและไม่ได้วางแผนตั้งครรภ์ในระยะอันใกล้ แพทย์อาจแนะนำให้ใช้ยาฮอร์โมนเพศหญิง เพราะการเพิ่มหรือลดของฮอร์โมนในช่วงรอบเดือนอาจส่งผลต่อการเจริญเติบโตของเยื่อบุมดลูก โดยตัวยาจะช่วยชะลอการเจริญเติบโตของเซลล์ให้ช้าลงและป้องกันการฝังตัวใหม่ของเซลล์เยื่อบุมดลูก ผู้ป่วยอาจต้องใช้ยาเป็นระยะเวลาประมาณ 3-6 เดือนตามแต่ละบุคคล แต่ในบางรายอาจพบอาการได้ใหม่หลังหยุดใช้ยา ตัวอย่างยาที่ใช้บ่อย เช่น ยาคุมกำเนิดรูปแบบต่าง ๆ ยากลุ่มฮอร์โมนโกนาโดโทรปิน รีลิสซิ่ง (Gonadotropin Releasing Hormone: GnRH) ยาฮอร์โมนโปรเจสเตอโรน (Progestin Therapy) ยาดานาซอล (Danazol)
การผ่าตัด เมื่อการรักษาด้วยยาไม่ช่วยให้อาการดีขึ้น ผู้ป่วยยังคงมีอาการปวดท้องอย่างรุนแรง เนื่องจากถุงน้ำมีขนาดใหญ่จนอาจกระทบกับอวัยวะอื่น แพทย์มักจะแนะนำให้ผู้ป่วยผ่าตัด เพื่อนำเซลล์เยื่อบุออกจากรังไข่ โดยส่วนใหญ่จะเป็นการผ่าตัดผ่านกล้องมากกว่าการผ่าตัดทางหน้าท้อง เนื่องจากรอยแผลมีขนาดเล็ก ใช้ระยะเวลาพักฟื้นน้อย และยังสามารถมีบุตรได้ในอนาคต ในกรณีที่อาการรุนแรงมาก แพทย์อาจพิจารณาให้ผ่าตัดมดลูกหรือรังไข่ออกทั้งหมด ซึ่งจะทำให้ผู้ป่วยเข้าสู่ภาวะหมดระดูหรือหมดประจำเดือนเร็วกว่าปกติ และต้องมีการใช้ฮอร์โมนทดแทน (Hormone Replacement Therapy) เข้ามาช่วยเสริม

ภาวะแทรกซ้อนของช็อกโกแลตซีสต์

ผู้ป่วยมักมีอาการปวดท้องเรื้อรัง บางรายอาจเกิดถุงน้ำแตกหรือฉีกขาด จึงต้องได้รับการผ่าตัดอย่างเร่งด่วน รวมไปถึงมีบุตรยาก เนื่องจากถุงน้ำอาจไปขวางไข่ไม่ให้ไปฝังตัวที่โพรงมดลูกได้อย่างสมบูรณ์

การป้องกันช็อกโกแลตซีสต์

          ช็อกโกแลตซีสต์ไม่สามารป้องกันได้ เนื่องจากยังไม่ทราบสาเหตุการเกิดที่แน่ชัด แต่เชื่อว่าการใช้ยาคุมกำเนิดเป็นระยะเวลานาน เช่น ห่วงคุมกำเนิด ยาเม็ดหรือแผ่นแปะคุมกำเนิด อาจช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดช็อกโกแลตซีสต์ให้น้อยลง อย่างไรก็ตาม ผู้ป่วยควรดูแลสุขภาพให้แข็งแรง ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ และเมื่อพบความผิดปกติใด ๆ ควรไปพบแพทย์

ที่มา https://www.pobpad.com

Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

บันทึกการเข้า

คำค้น:
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน

Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.329 วินาที กับ 31 คำสั่ง

Google visited last this page 29 ตุลาคม 2567 10:51:45