[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
22 ธันวาคม 2567 19:20:13 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: เรื่องเล่า อาจารย์ยอด หลวงพ่อ พระพุทธบาทตากผ้า  (อ่าน 2364 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
มดเอ๊ก
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +8/-1
ออฟไลน์ ออฟไลน์

Thailand Thailand

กระทู้: 5162


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
Chrome 50.0.2661.271 Chrome 50.0.2661.271


ดูรายละเอียด
« เมื่อ: 21 กรกฎาคม 2559 09:09:37 »

พระสุพรหมยานเถระ : ความจริงที่ต้องรู้

อายุคนนิดหน่อยดูน้อยนัก 

พลันแตกหักล้มตายทำลายขันธ์

พึงดูหมิ่นอย่าเห็นเป็นสำคัญ

  ว่ากายนั้นยืนยงคงชีวา

จงรีบเร่งอย่าว่างสร้างกุศล 

    เสมือนคนถูกไฟใหม้เกษา

เพราะความตายนั้นมีแก่ชีวา 

มันต้องมาแน่นอนไม่ผ่อนปรน



  ครูบาบอกว่า คนเราหลงไปด้วยเหตุหลายอย่าง มันเริ่มจากตัวเรา "คำว่า ตัวของเราก็ได้แก่ ธาตุทั้ง ๔ คือ ดิน น้ำ ลม ไฟ" คนเก่งทั้งหลายที่ชูหัวชูคอจะรู้ไหม นี่ยังไม่พอ ท่านว่า "ธาตุ ๔ มาผสมกัน ทั้งอากาศ ธาตุ และ วิญญาณธาตุ มีตัณหา อุปาทาน เข้ามายึดถือ ให้เกิดความสำคัญ มั่นหมาย และ บังคับให้เป็นไป มีประการต่าง ๆ ตามอำนาจของกิเลส อันเป็นเหตุแห่งทุกข์ จนไม่มีที่สิ้นสุด"
     

      สิ่งที่ครูบากล่าวมาสีไหนหน้ากากอันใดเข้าใจได้ บางคนประกาศให้โลกรู้ว่าตนเองฉลาดล้ำเลิศเป็นชาวพุทธว่า พระในเมืองไทยข้านับถือเพียง 2 รูป ได้แก่ พระพุทธอิสระ,พระหลวงตามหาบัว ข้าพเจ้าก็ว่าทั้งสองรูปท่านประเสริฐจริง แต่พระที่มากกว่านั้นล่ะ โอ้คนฉลาดหนอคนที่ถ่มน้ำลายรดคนอื่นตลอดเวลาช่างพูดอะไรได้เช่นนี้ คนเคยใหญ่โตบางคนพูดตถตาเป็นว่าเล่น แต่ตัวเองติดอาวุธไม่ยอมปลดซะที อืม..
     

       ขนาดความรู้ความสามารถต่างๆ คนเรายังถือเอาว่ากูเก่ง เลิศ ทำได้ทุกอย่าง อะไรกันนี่! จุดหมายของเขาคงแสนสุขสมเป็นแน่ ชีวิตเขาต้องรื่นรมย์แท้ เขาคิดถูกจริงหรือ

        ครูบาสอนว่าคนเราควรปรารถนาความสงบสุขแท้จริง ไม่ใช่สุขปลอมปน เริ่มจากต้องสละละความอาลัยในโลก และสิ่งของสำหรับโลกนี้เสีย เตรียมตัวพร้อม ยอมเป็นคนยากจน ไม่ต้องหวังพึ่งเพื่อนฝูง และญาติ พี่น้องผู้ใด คือ ให้สงัดกาย สงัดใจ วิเวกธรรม อดทน ต่อความ ติฉินนินทา ความเกลียดชัง และ ความหมิ่นประมาทของผู้อื่น อดทนต่อทุกข์ ภัยอันตรายต่าง ๆ ที่มาถึงตน แม้จะ ต้องเสียชีวิตก็ยอมสละเพื่อเห็นแก่ธรรม อุตส่าห์กระทำตามรีตรอย แห่งพระอริยะเจ้าทั้งหลาย ที่ปฏิบัติสืบสายกันมาแต่ปางก่อน โดยไม่ท้อถอย จึงเป็นการถูกการชอบ



  ครูบาบอกว่า "การอยู่ในโลกนี้ ให้เข้าใจเสมือนอยู่ในกองไฟ อยู่ในคุกตาราง ให้เร่งรีบแสวงหาทางออกเสมอ อย่าได้นิ่งนอนใจ อย่าหลงยินดีเพลิดเพลินอยู่ จงถือเอาศรัทธา ความเชื่อ เป็นทางเดินแห่งวิถีจิต
       

      เดินทางไปด้วยสติรู้ตัว  สร้างกำลังกายด้วยความเพียรพยายาม  อาวุธป้องกันอันตรายได้แก่ความอดทนประทีปส่องทางได้แก่ความรอบรู้  แล้ว รีบเร่งเดินอย่าแวะซ้ายแวะขวา อย่าหยุดพักอยู่ในที่ใด ๆ ก็จะได้ถึงซึ่งที่สุดแห่งขันธ์โลกคือ พระนิพพาน"



 พึงสร้างขึ้นซึ่งศรัทธา ความเชื่อ ความเลื่อมใสในพระรัตนตรัย และในสมาธิภาวนา พยายามหาโอกาสเวลาสละกิจการน้อยใหญ่ เข้าสู่ที่สงัด หรือห้องพระนั่งขัดสมาธิ หรือ พับเพียบ ตามควรแก่ภาวะของตน น้อมจิต เอากรรมฐาน บทใดบทหนึ่งเป็นอารมณ์ ตั้งสติคอยกำหนดอารมณ์กรรมฐาน ไปช้า ๆ อย่ารีบด่วน ให้ทำด้วยใจเย็นๆ หายใจ เข้าออก ให้สม่ำเสมอ ให้ละเอียด อ่อนโยน



การภาวนาเป็นงานของจิตโดยเฉพาะ ค่อยๆ รวมกำลังจิต ดิ่งลงสู่จุดของอารมณ์กรรมฐานพร้อมกับให้มีสัมปชัญญะความรู้ตัว พิจารณาอารมณ์กรรมฐาน ให้เห็นประจักษ์แจ้งชัดขึ้นในใจ ค่อยกำหนดไปๆ ด้วยความวิริยะอุตสาหะและอดกลั้นบรรเทา ได้นานเท่าไรก็ยิ่งดี นานเข้าจิตก็จะติดแนบแน่น กับอารมณ์กรรมฐาน

      จากนั้น ปิติ  ปราโมทย์  ก็จะเกิดขึ้น นามกายก็จะสงบระงับ ความสุขกายสุขใจ ก็จะเกิดขึ้น นามกาย ก็จะสงบระงับ ความสุขสุขใจ ก็จะเกิดขึ้น จะรู้สึกสบาย และ เยือกเย็น จากนั้นสมาธิ อันประกอบด้วย องค์ ๓ คือ จิตบริสุทธิ์สะอาด จิตตั้งมั่น จิตคล่องแคล่ว ควรแก่การพิจารณา สภาวะธรรมที่จะเกิดขึ้น

      ต่อไป ก็ควรแก่การพิจารณา สภาวะธรรมคือ รูปนาม หรือขันธ์ ๕ ให้รู้ตามความเป็นจริง โดยการเจริญ วิปัสสนาภาวนา ตามนัยแห่งสติปัฏฐาน ๔ คือ ให้พิจารณาว่า กาย เวทนา จิต และ ธรรมนี้ ก็สักว่า เป็นกาย เป็นเวทนา เป็นจิต เป็นธรรม ไม่ใช่สัตว์ บุคคล ตัวตนของเรา เขา  เป็นของไม่จีรังยั่งยืน ไม่เที่ยง  เป็นทุกข์ ไม่ใช่ตน เป็นของว่างเปล่า ไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเรา



   พิจารณากำหนดไปๆ นานต่อนาน จนกว่าจิตใจ จะหลุดพ้น จากความเกาะเกี่ยวเหนียวแน่นแห่งกิเลส ขึ้นชื่อว่าเป็นผู้บริบูรณ์ ด้วยวิปัสสนาภาวนา เป็นอันดี ผู้ปฏิบัติธรรมถึงขั้นนี้เรียกว่า เป็นแก่นสาร ปิดประตูอบายภูมิทั้ง ๔ มีสุคติเป็นที่ไปในเบื้องหน้า เที่ยงแท้แน่นอน



จาก http://www.oknation.net/blog/phra-dhamma/2013/06/03/entry-1


<a href="https://www.youtube.com/v/wcXLbeM3wp0" target="_blank">https://www.youtube.com/v/wcXLbeM3wp0</a>

Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

บันทึกการเข้า

ทิ นัง มิไฮ นัง มิจะนัง ทิกุนัง แปลว่า
ที่นั่ง มีให้นั่ง มึงจะนั่ง ที่กูนั่ง ทิ้งไว้เป็น
ปริศนาธรรม นะตะเอง
คำค้น:
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน

Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.301 วินาที กับ 31 คำสั่ง

Google visited last this page 07 พฤศจิกายน 2567 15:49:10