[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
21 ธันวาคม 2567 21:35:30 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: อานิสงส์ ของการปรนนิบัติ พระสงฆ์อาพาธ  (อ่าน 1564 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
มดเอ๊ก
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +8/-1
ออฟไลน์ ออฟไลน์

Thailand Thailand

กระทู้: 5162


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
Chrome 50.0.2661.271 Chrome 50.0.2661.271


ดูรายละเอียด
« เมื่อ: 09 สิงหาคม 2559 12:23:09 »


” โย โว ภิกฺขเว มํ อุปฏฺฐเหยฺย โส คิลานํ อุปฏฺฐเหยฺย “
” ผู้ใดปรารถนาจะอุปัฏฐากเราตถาคต ผู้นั้นพึงอุปัฏฐากภิกษุผู้อาพาธเถิด “

ปฐมบท

เรื่องที่ 1 



พระพุทธองค์ทรงรดน้ำอาบให้

สมัยหนึ่งพระพุทธเจ้าได้ทรงเสด็จไปตามเสนาสนะต่าง ๆ กับพระอานนท์  ท่านได้ทอดพระเนตรเห็นภิกษุอาพาธรูปหนึ่ง นอนจมกองมูตรกองคูถ(อุจจาระ ปัสสาวะ)ของตนอยู่จึงเสด็จเข้าไปใกล้ตรัสถามว่า “เป็นโรคอะไร? ทำไม ไม่มีใครพยาบาล? ”  ภิกษุ นั้นทูลว่า “เป็นโรคท้องร่วง ที่ไม่มีผู้พยาบาลก็เพราะท่านไม่ได้ทำอุปการะแก่ภิกษุทั้งหลายไว้ ”  เมื่อทรงทราบดังนั้นจึงรับสั่งให้ท่านพระอานนท์ไปตักน้ำมาถวาย แล้วพระองค์ทรงรดน้ำอาบให้ ท่านพระอานนท์ขัดสี พระพุทธองค์ทรงยกศีรษะ ท่านพระอานนท์ยกเท้า แล้ววางให้นอนบนเตียง และในวันนั้นเองพระพุทธองค์จึงรับสั่งท่านพระอานนท์ให้เรียกประชุมสงฆ์ ตรัสปรารภข้อที่ไม่มีใครพยาบาลภิกษุผู้อาพาธรูปนั้นเป็นต้นเหตุ แล้วทรงเทศนาว่า “ดูกรภิกษุทั้งหลาย ผู้ใดจะพึงอุปัฏฐากเรา ผู้นั้นพึงพยาบาลภิกษุอาพาธเถิด”

“ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย มารดาบิดาผู้จะพึงพยาบาลพวกเธอก็ไม่มี ถ้าเธอไม่พยาบาลกันเอง ใครเล่าจักพยาบาล ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ผู้ใดต้องการจะพยาบาลเรา ก็พึงพยาบาลภิกษุไข้เถิด ถ้ามีอุปัชฌายะ อุปัชฌายะพึงพยาบาลเธอตลอดชีวิตจนกว่าจะหาย ถ้ามีอาจารย์ อาจารย์พึงพยาบาลเธอตลอดชีวิตจนกว่าจะหาย ถ้ามีสัทธิวิหาริก สัทธิวิหาริกพึงพบาลเธอตลอดชีวิตจนกว่าจะหาย ถ้ามีอันเตวาสิก อันเตวาสิกพึงพยาบาลเธอตลอดชีวิตจนกว่าจะหาย ถ้ามีภิกษุผู้ร่วมอุปัชฌายะ ภิกษุผู้ร่วมอุปัชฌายะพึงพยาบาลเธอตลอดชีวิตจนกว่าจะหาย ถ้ามีภิกษุผู้ร่วมอาจารย์ ภิกษุผู้ร่วมอาจารย์พึงพยาบาลเธอตลอดชีวิตจนกว่าจะหาย ถ้าไม่มีอุปัชฌายะ อาจารย์สัทธิวิหาริก อันเตวาสิก ผู้ร่วมอุปชฌายะ หรือผู้ร่วมอาจารย์ สงฆ์พึงพยาบาลเธอ ถ้าไม่พยาบาลต้องอาบัติทุกกฏ๒ ” วินัยปิฎก ๕/๒๒๖


เรื่องที่ 2



ครั้งหนึ่ง ท่านพระผัคคุณะอาพาธเป็นไข้หนัก ท่านพระอานนท์ได้ทราบจึงกราบทูลเชิญให้พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จไปเยี่ยมท่าน ผัคคุณะ พระพุทธองค์ก็เสด็จไปเยี่ยม ตรัสถามถึงอาการป่วยไข้ของท่านผัคคุณะท่านพระผัคคุณะจึงทูลว่า ท่านมีอาพาธแรงกล้ามาก ไม่อาจอดทนได้มีทุกขเวทนาจัด ลมเสียดแทงศีรษะเจ็บปวดเหมือนคนมีกำลังเอามีดโกนอันคมมาเฉือนศีรษะ ปวดท้องเหมือนบุรุษฆ่าโคเอามีดชำแหละโคที่คมมาชำแหละท้องโค เจ็บปวดเร่าร้อนทั่วกาย เหมือนคนมีกำลัง ๒ คน จับแขนคนละข้างดึงไปลนย่างบนหลุมถ่านไฟ ฉะนั้น    พระพุทธองค์ได้ทรงแสดงธรรม ทำให้ท่านพระผัคคุณะสำเร็จเป็นพระโสดาบัน

“ดูกรผัคคุณะ บุคคลเมื่อจะบัญญัติ พึงบัญญัติพระพุทธเจ้าผู้ตัดตัณหาเครื่องให้เนิ่นช้าแล้ว ตัดทางได้แล้ว ครอบงำวัฏฏะได้แล้ว ล่วงพ้นทุกข์ทั้งปวง ปรินิพพานล่วงไปแล้ว ด้วยจักษุใด จักษุนั้นไม่มีเลย ฯลฯ      บุคคลเมื่อจะบัญญัติ พึงบัญญัติพระพุทธเจ้าผู้ตัดตัณหาเครื่องให้เนิ่นช้าแล้ว ตัดทางได้แล้ว ครอบงำวัฏฏะได้แล้ว ล่วงพ้นทุกข์ทั้งปวง ปรินิพพานล่วงไปแล้ว ด้วยใจใด ใจนั้นไม่มีเลย ฯ”




เรื่องที่ 3

ครั้งหนึ่งพระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวันมหาวิหารใกล้นครสาวัตถี ท่านพระอานนท์ได้ทราบว่า ท่านพระคิริมานันทะอาพาธหนัก จึงเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้า ทูลอาราธนาให้พระองค์เสด็จไปเยี่ยม พระพุทธองค์ตรัสใช้ให้ท่านไปเยี่ยมแทน และรับสั่งให้ท่านเรียนสัญญา ๑๐ ประการ เพื่อนำไปสวดให้ท่านพระคิริมานันทะฟัง เมื่อท่านเรียนจนจำคล่องแคล่วขึ้นใจแล้ว จึงทูลลาไปหาท่านพระคิริมานันทะ สวดสัญญา ๑๐ ประการ ให้ฟัง   ครั้นท่านคิริมานันทะได้ฟังสัญญา ๑๐ ประการ อาพาธของท่านก็สงบระงับลงทันที

อานนท์ ! ถ้าเธอจะเข้าไปหาภิกษุคิริมานนท์แล้ว กล่าวสัญญา ๑๐ ประการแก่เธอแล้ว ข้อนี้เป็นฐานะที่จะมีได้ คือ ภิกษุคิริมานนท์ฟังสัญญาสิบประการแล้ว อาพาธอันเป็นทุกข์หนักของเธอ ก็จะระงับไปโดยควรแก่ฐานะ    สัญญา ๑๐ ประการ นั้นคือ อนิจจสัญญา อนัตตสัญญา อสุภสัญญา อาทีนวสัญญา ปหานสัญญา วิราคสัญญา นิโรธสัญญา สัพพโลเกอนภิรตสัญญา สัพพสังขาเรสุอนิจจสัญญา อานาปานสติ.

อานนท์ ! อนิจจสัญญา เป็นอย่างไรเล่า ?

อานนท์ ! ภิกษุในกรณีนี้ ไปสู่ป่า สู่โคนไม้ หรือสู่เรือนว่าง พิจารณาอยู่โดยประจักษ์อย่างนี้ ว่า “รูป ไม่เที่ยง; เวทนา ไม่เที่ยง; สัญญา ไม่เที่ยง; สังขาร ไม่เที่ยง; วิญญาณ ไม่เที่ยง” ดังนี้ เป็นผู้เห็นซึ่งความไม่เที่ยงในอุปาทานขันธ์ทั้งห้า เหล่านี้อยู่ ด้วยอาการอย่างนี้ : นี้เรียกว่า อนิจจสัญญา.


อานนท์ ! อนัตตสัญญา เป็นอย่างไรเล่า ?

อานนท์ ! ภิกษุในกรณีนี้ ไปสู่ป่า สู่โคนไม้ หรือสู่เรือนว่าง พิจารณาอยู่โดยประจักษ์อย่างนี้ ว่า “ตา เป็นอนัตตา รูป เป็นอนัตตา; หู เป็นอนัตตา เสียงเป็นอนัตตา; จมูก เป็นอนัตตา กลิ่น เป็นอนัตตา; ลิ้นเป็นอนัตตา รส เป็นอนัตตา; กาย เป็นอนัตตา โผฏฐัพพะเป็นอนัตตา; ใจ เป็นอนัตตา ธรรมารมณ์ เป็นอนัตตา” ดังนี้ เป็นผู้เห็นซึ่งความเป็นอนัตตาในอายตนะทั้งภายในและภายนอกหก เหล่านี้อยู่ ด้วยอาการอย่างนี้ : นี้เรียกว่า อนัตตสัญญา.


อานนท์ ! อสุภสัญญา เป็นอย่างไรเล่า ?

อานนท์ ! ภิกษุในกรณีนี้ เห็นโดยประจักษ์ซึ่งกายนี้ นี่แหละ แต่พื้นเท้าขึ้นไปถึงเบื้องบน แต่ปลายผมลงมาถึงเบื้องล่าง ว่า มีหนังหุ้มอยู่โดยรอบ เต็มไปด้วยของไม่สะอาดมีประการต่างๆ ; คือกายนี้มี ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง เนื้อ เอ็น กระดูก เยื่อในกระดูก ไต หัวใจ ตับ พังผืด ม้าม ปอด ลำไส้ ลำไส้สุด อาหารในกระเพาะ อุจจาระ น้ำดี เสลด หนอง โลหิต เหงื่อ มัน น้ำตา น้ำเหลือง น้ำลาย น้ำเมือก น้ำลื่นหล่อข้อ น้ำมูตร; เป็นผู้เห็นความไม่งามในกายนี้อยู่ ด้วยอาการอย่างนี้ : นี้เรียกว่า อสุภสัญญา.


อานนท์ ! อาทีนวสัญญา เป็นอย่างไรเล่า ?

อานนท์ ! ภิกษุในกรณีนี้ ไปสู่ป่า สู่โคนไม้ หรือสู่เรือนว่าง พิจารณาอยู่โดยประจักษ์อย่างนี้ ว่า “กายนี้มีทุกข์มาก มีโทษมาก; คือในกายนี้มีอาพาธต่างๆ เกิดขึ้น, กล่าวคือ โรคตา โรคหู โรคจมูก โรคลิ้น โรคกาย โรคที่ศีรษะ โรคที่หู โรคที่ปาก โรคที่ฟัน โรคไอ โรคหืด ไข้หวัด ไข้มีพิษร้อน ไข้เซื่องซึม โรคกระเพาะ โรคลมสลบ ลงแดง จุกเสียด เจ็บเสียว โรคเรื้อรัง โรคฝี โรคกลาก โรคมองคร่อ ลมบ้าหมู โรคหิดเปื่อย โรคหิดด้าน คุดทะราด โรคละออง โรคโลหิต โรคดีซ่าน เบาหวาน โรคเริม โรคพุพอง ริดสีดวงทวาร อาพาธมีดีเป็นสมุฏฐาน อาพาธมีเสมหะเป็นสมุฏฐาน อาพาธมีลมเป็นสมุฏฐาน ไข้สันนิบาต ไข้เพราะฤดูแปรปรวน ไข้เพราะบริหารกายไม่สม่ำเสมอ ไข้เพราะออกกำลังเกิน ไข้เพราะวิบากกรรม ความไม่สบายเพราะความหนาว ความร้อน ความหิว ความระหาย การถ่ายอุจจาระ การถ่ายปัสสาวะ” ดังนี้; เป็นผู้เห็นโทษในกายนี้อยู่ด้วยอาการอย่างนี้ : นี้เรียกว่า อาทีนวสัญญา.


อานนท์ ! ปหานสัญญา เป็นอย่างไรเล่า ?

อานนท์ ! ภิกษุในกรณีนี้ ไม่ยอมรับไว้ซึ่ง กามวิตก ที่เกิดขึ้นแล้ว ย่อมละ ย่อมบรรเทา กระทำให้สิ้นสุด ให้ถึงความไม่มีอีกต่อไป; ไม่ยอมรับไว้ซึ่ง พ๎ยาปาทวิตก ที่เกิดขึ้นแล้ว ย่อมละ ย่อมบรรเทา กระทำให้สิ้นสุด ให้ถึงความไม่มีอีกต่อไป; ไม่ยอมรับไว้ซึ่ง วิหิงสาวิตก ที่เกิดขึ้นแล้ว ย่อมละ ย่อมบรรเทา กระทำให้สิ้นสุด ให้ถึงความไม่มีอีกต่อไป; ไม่ยอมรับไว้ซึ่ง อกุศลธรรมทั้งหลาย อันเป็นบาปที่เกิดขึ้นแล้ว ย่อมละ ย่อมบรรเทา กระทำให้สิ้นสุด ให้ถึงความไม่มีอีกต่อไป; นี้เรียกว่าปหานสัญญา.

อานนท์ ! วิราคสัญญา เป็นอย่างไรเล่า ?
อานนท์ ! ภิกษุในกรณีนี้ ไปสู่ป่า สู่โคนไม้ หรือสู่เรือนว่าง พิจารณาอยู่โดยประจักษ์ อย่างนี้ว่า “ธรรมชาตินั่นสงบ ธรรมชาตินั่น ประณีต : กล่าวคือ ธรรมชาติอันเป็นที่ระงับแห่งสังขารทั้งปวง เป็นที่สลัดคืนซึ่งอุปธิทั้งปวง เป็นที่สิ้นไปแห่งตัณหา เป็นความจางคลาย เป็นความดับเย็น” ดังนี้ : นี้เรียกว่า วิราคสัญญา.


อานนท์ ! นิโรธสัญญา เป็นอย่างไรเล่า ?

อานนท์ ! ภิกษุในกรณีนี้ ไปสู่ป่า สู่โคนไม้ หรือสู่เรือนว่าง พิจารณาอยู่โดยประจักษ์ อย่างนี้ว่า “ธรรมชาตินั่นสงบ ธรรมชาตินั่น ประณีต : กล่าวคือ ธรรมชาติอันเป็นที่ระงับแห่งสังขารทั้งปวง เป็นที่สลัดคืนซึ่งอุปธิทั้งปวง เป็นที่สิ้นไปแห่งตัณหา เป็นความดับ เป็นความดับเย็น” ดังนี้ : นี้เรียกว่า นิโรธสัญญา.

อานนท์ ! สัพพโลเกอนภิรตสัญญา เป็นอย่างไรเล่า ?
อานนท์ ! ภิกษุในกรณีนี้อนุสัย (ความเคยชิน) ในการตั้งทับ ในการฝังตัวเข้าไปยึดมั่นแห่งจิตด้วยตัณหา อุปาทานใดๆ ในโลก มีอยู่, เธอละอยู่ซึ่งอนุสัยนั้นๆ งดเว้น ไม่เข้าไปยึดถืออยู่ : นี้เรียกว่า สัพพโลเกอนภิรตสัญญา (ความสำคัญในโลกทั้งปวงว่าเป็นสิ่งไม่น่ายินดี).

อานนท์ ! สัพพสังขาเรสุอนิจจสัญญา เป็นอย่างไรเล่า ?
อานนท์ ! ภิกษุในกรณีนี้ ย่อมอึดอัด ย่อมระอา ย่อมเกลียดชัง ต่อสังขารทั้งหลายทั้งปวง : นี้เรียกว่า สัพพสังขาเรสุอนิจจสัญญา (ความสำคัญว่าไม่เที่ยงในสังขารทั้งปวง).

อานนท์ ! อานาปานสติ เป็นอย่างไรเล่า ?

อานนท์ ! ในกรณีนี้ ภิกษุไปแล้วสู่ป่า สู่โคนไม้ หรือสู่เรือนว่าง ก็ตาม นั่งคู้ขาเข้ามาโดยรอบ ตั้งกายตรง ดำรงสติเฉพาะหน้า มีสติหายใจเข้า มีสติหายใจออก. เมื่อหายใจเข้ายาว ก็รู้ชัดว่าเราหายใจเข้ายาว, เมื่อหายใจออกยาว ก็รู้ชัดว่าเราหายใจออกยาว; เมื่อหายใจเข้าสั้น ก็รู้ชัดว่าเราหายใจเข้าสั้น, เมื่อ หายใจออกสั้น ก็รู้ชัดว่าเราหายใจออกสั้น; เธอย่อมทำการฝึกหัดศึกษาว่า “เราเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะซึ่งกายทั้งปวง หายใจเข้า”, ว่า “เราเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะซึ่งกายทั้งปวง หายใจออก”; เธอย่อมทำการฝึกหัดศึกษาว่า “เราเป็นผู้ทำกายสังขารให้รำงับ หายใจเข้า”, ว่า “เราเป็นผู้ทำกายสังขารให้รำงับ หายใจออก”; เธอย่อมทำการฝึกหัดศึกษาว่า “เราเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะซึ่งปีติ หายใจเข้า”, ว่า “เราเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะซึ่งปีติ หายใจออก”; เธอย่อมทำการฝึกหัดศึกษาว่า “เราเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะซึ่งสุข หายใจเข้า”, ว่า “เราเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะซึ่งสุข หายใจออก”; เธอย่อมทำการฝึกหัดศึกษาว่า “เราเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะซึ่งจิตตสังขาร หายใจเข้า”, ว่า “เราเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะซึ่งจิตตสังขาร หายใจออก”; เธอย่อมทำการฝึกหัดศึกษาว่า “เราเป็นผู้ทำจิตตสังขารให้รำงับ หายใจเข้า”, ว่า “เราเป็นผู้ทำจิตตสังขารให้รำงับ หายใจออก”; เธอย่อมทำการฝึกหัดศึกษาว่า “เราเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะซึ่งจิต หายใจเข้า”, ว่า “เราเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะซึ่งจิต หายใจออก” ; เธอย่อมทำการฝึกหัดศึกษาว่า “เราเป็นผู้ทำจิตให้ปราโมทย์ยิ่ง หายใจเข้า”, ว่า “เราเป็นผู้ทำจิตให้ปราโมทย์ยิ่ง หายใจออก”; เธอย่อมทำการฝึกหัดศึกษาว่า “เราเป็นผู้ทำจิตให้ตั้งมั่น หายใจเข้า”, ว่า “เราเป็นผู้ทำจิตให้ตั้งมั่นหายใจออก”; เธอย่อมทำการฝึกหัดศึกษาว่า “เราเป็นผู้ทำจิตให้ปล่อยอยู่ หายใจเข้า”, ว่า “เราเป็นผู้ทำจิตให้ปล่อยอยู่ หายใจออก”; เธอย่อมทำการฝึกหัดศึกษาว่า “เราเป็นผู้เห็นซึ่งความไม่เที่ยงอยู่เป็นประจำ หายใจเข้า”, ว่า “เราเป็นผู้เห็นซึ่งความไม่เที่ยงอยู่เป็นประจำ หายใจออก”; เธอย่อมทำการฝึกหัดศึกษาว่า “เราเป็นผู้เห็นซึ่งความจางคลายอยู่เป็นประจำ หายใจเข้า”, ว่า “เราเป็นผู้เห็นซึ่งความจางคลายอยู่เป็นประจำ หายใจออก”; เธอย่อมทำการฝึกหัดศึกษาว่า “เราเป็นผู้เห็นซึ่งความดับไม่เหลืออยู่เป็นประจำ หายใจเข้า”, ว่า “เราเป็นผู้เห็นซึ่งความดับไม่เหลืออยู่เป็นประจำ หายใจออก”; เธอย่อมทำการฝึกหัดศึกษาว่า “เราเป็นผู้เห็นซึ่งความสลัดคืนอยู่เป็นประจำ หายใจเข้า”, ว่า “เราเป็นผู้เห็นซึ่งความสลัดคืนอยู่เป็นประจำ หายใจออก”; นี้เรียกว่า อานาปานสติ.

อานนท์ ! ถ้าเธอจะเข้าไปหาภิกษุคิริมานนท์ แล้วกล่าวสัญญาสิบประการเหล่านี้แก่เธอแล้ว ข้อนี้เป็นฐานะที่จะมีได้ คือภิกษุคิริมานนท์ฟังสัญญาสิบประการแล้ว อาพาธอันเป็นทุกข์หนักของเธอก็จะระงับไป โดยควรแก่ฐานะ.

ลำดับนั้นแล ท่านอานนท์จำเอาสัญญาสิบประการเหล่านี้ ในสำนักของพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว เข้าไปหาท่านคิริมานนท์ แล้วกล่าวสัญญาสิบประการแก่ท่าน เมื่อท่านคิริมานนท์ฟังสัญญาสิบประการแล้ว อาพาธก็ระงับไปโดยฐานะอันควร. ท่านคิริมานนท์หายแล้วจากอาพาธ และอาพาธก็เป็นเสมือนละไปแล้วด้วย แล.


จาก https://kuakiddeedee2.wordpress.com/tag/ อานิสงส์/

Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

บันทึกการเข้า

ทิ นัง มิไฮ นัง มิจะนัง ทิกุนัง แปลว่า
ที่นั่ง มีให้นั่ง มึงจะนั่ง ที่กูนั่ง ทิ้งไว้เป็น
ปริศนาธรรม นะตะเอง
คำค้น:
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน

Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.586 วินาที กับ 31 คำสั่ง

Google visited last this page 10 ธันวาคม 2567 19:10:53