[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
28 มิถุนายน 2567 04:24:19 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: ย้ำถ้ำโพธิสัตว์ คือ เพชรของงานศิลป์ทวารวดี-หวั่นระเบิดหินกระทบภาพสลักพันปี  (อ่าน 908 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
มดเอ๊ก
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +8/-1
ออฟไลน์ ออฟไลน์

Thailand Thailand

กระทู้: 5114


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
Chrome 50.0.2661.273 Chrome 50.0.2661.273


ดูรายละเอียด
« เมื่อ: 07 ตุลาคม 2559 01:15:56 »


รศ.ดร.รุ่งโรจน์ ธรรมรุ่งเรือง อาจารย์ภาควิชาประวัติศาสตร์ศิลปะ คณะโบราณคดี ม.ศิลปากร ลงพื้นที่สำรวจถ้ำพระโพธิสัตว์ อ.แก่งคอย สระบุรี

อจ.โบราณคดีลั่น’เพชรมีค่ากว่าหิน’! ย้ำถ้ำโพธิสัตว์คือเพชรของงานศิลป์ทวารวดี-หวั่นระเบิดหินกระทบภาพสลักพันปี

สืบเนื่องกระแสข่าวทักท้วงกรณีบริษัทเอกชน 2 ราย ขอทำการระเบิดหินใกล้กับถ้ำพระโพธิสัตว์ หรือถ้ำเขาน้ำพุ หมู่ 10 ต.ทับกวาง อ.แก่งคอย จ.สระบุรี โดยรายหนึ่งเป็นบริษัทปูนชื่อดัง จะขอระเบิดหินห่างจากถ้ำพระโพธิสัตว์ประมาณ 2 กิโลเมตร และอีกบริษัทหนึ่งจะขอระเบิดหินห่างจากถ้ำพระโพธิสัตว์ประมาณ 280 เมตร ซึ่งเสี่ยงต่อความเสียหายกับภาพสลักนูนต่ำในถ้ำพระโพธิสัตว์จากการสั่นสะเทือนเป็นอย่างมากนั้น

เมื่อวันที่ 30 ก.ย. รศ.ดร.รุ่งโรจน์ ธรรมรุ่งเรือง อาจารย์ภาควิชาประวัติศาสตร์ศิลปะ คณะโบราณคดี ม.ศิลปากร ได้เดินทางไปยังวัดถ้ำพระโพธิสัตว์ โดยเบื้องต้นได้มีการพูดคุยกับเจ้าอาวาสและนายบุญมี วาทไชสงย์ ผู้ใหญ่บ้านหมู่ 10 ซึ่งต่างห่วงใยในภาพสลักดังกล่าว เนื่องจากเป็นที่สักการะของชาวบ้านในท้องถิ่นมาอย่างยาวนาน อีกทั้งเป็นมรดกทางวัฒนธรรมของชาติที่ควรค่าแก่การอนุรักษ์


วัดถ้ำโพธิสัตว์

จากนั้นได้เดินเท้าขึ้นไปบน “เขาน้ำพุ” ซึ่งเป็นที่ตั้งของถ้ำ จากเชิงเขาใช้เวลาประมาณ 15 นาที ภูมิทัศน์โดยรอบประกอบด้วยป่าไม้อุดมสมบูรณ์ มีบันไดที่ทางวัดทำขึ้นเพื่อความสะดวกในการขึ้นไปยังถ้ำ

รศ.ดร.รุ่งโรจน์กล่าวว่า ภาพสลักที่ถ้ำพระโพธิสัตว์ ถือเป็นเพชรของงานศิลปะในวัฒนธรรมทวารวดี อายุราวพุทธศตวรรษที่ 13-15 หรือราว 1,000 ปีมาแล้ว จึงมีค่ากว่าจะถูกระเบิดไปเป็นหินก่อสร้าง ภาพดังกล่าวเป็นภาพสลักนูนต่ำรูปพระพุทธเจ้ากำลังเทศนาโปรดเทพเจ้าผู้ยิ่งใหญ่ 2 องค์คือ พระศิวะและพระนารายณ์ ด้านรูปแบบรับอิทธิพลจากศิลปะอินเดียสมัยคุปตะ-หลังคุปตะ มีอายุร่วมสมัยกับพระพุทธรูปศิลาขาวที่พระปฐมเจดีย์ จังหวัดนครปฐม ที่สำคัญมากคือเป็นภาพสลักที่มีพระพุทธเจ้าและเทพเจ้าในศาสนาฮินดูอยู่ร่วมกันที่เก่าแก่ที่สุดในไทย โดยอาจตีความได้ถึงการแข่งขันกันระหว่างศาสนา หรือในทางกลับกัน อาจเป็นการผสมผสานด้านความเชื่อก็เป็นได้ นอกจากนี้ยังเป็นหลักฐานที่ทำให้ทราบว่าผู้คนในยุคทวารวดีมีการใช้ถ้ำเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ซึ่งมีหลงเหลือเพียงไม่กี่แห่งเท่านั้น หากถูกทำลายไป ไม่ว่าจะเจตนาหรือไม่ ถือว่าน่าเสียดายมาก


วัดถ้ำโพธิสัตว์

“ภาพนี้เป็นเพชรชิ้นหนึ่งของสมัยทวารวดี เพราะตัวอย่างของถ้ำธรรมชาติที่ถูกดัดแปลงให้เป็นที่ประกอบพิธีกรรมทางศาสนา มีไม่ถึง 10 แห่งที่เหลืออยู่ การอยู่ร่วมกันของพระพุทธเจ้า พระวิษณุ และพระศิวะที่เป็นภาพขนาดใหญ่อย่างนี้ ไม่เคยเห็น ถือเป็นสถานที่ซึ่งพุทธอยู่กับพราหมณ์อย่างใกล้ชิดที่สุด และเก่าที่สุด ถ้าเสียไปแม้เพียงบางส่วนก็น่าเสียดายมาก ถือว่าเป็นการทำลายหลักฐานชั้นดีไป”

สำหรับบรรยากาศภายในถ้ำ ประกอบด้วยภาพสลักขนาดใหญ่ รวมถึงเจดีย์บรรจุพระธาตุ ซึ่งชาวบ้านให้ข้อมูลว่า มีการเดินเท้าขึ้นมาทำบุญเป็นประจำ เป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ที่มีบทบาทต่อชุมชน นอกจากนี้ เขาน้ำพุแห่งนี้ยังมีชาวบ้านขึ้นมาหาของป่า และใช้น้ำบางส่วนจากน้ำตกซึ่งอยู่บริเวณเชิงเขาอีกด้วย
รศ.ดร.รุ่งโรจน์ ธรรมรุ่งเรือง อธิบายถึงภูมิประเทศซึ่งเป็นเทือกเขาหินปูนสลับซับซ้อน ประกอบด้วยถ้ำและเพิงผาซึ่งมนุษย์ในอดีตมักดัดแปลงเป็นสถานที่ประกอบพิธีกรรมศักดิ์สิทธิ์


รศ.ดร.รุ่งโรจน์ ธรรมรุ่งเรือง อธิบายถึงภูมิประเทศซึ่งเป็นเทือกเขาหินปูนสลับซับซ้อน ประกอบด้วยถ้ำและเพิงผาซึ่งมนุษย์ในอดีตมักดัดแปลงเป็นสถานที่ประกอบพิธีกรรมศักดิ์สิทธิ์

รศ.ดร.รุ่งโรจน์กล่าวอีกว่า นอกเหนือจากถ้ำพระโพธิสัตว์แล้ว บนเขายังมีถ้ำอีกหลายแห่ง แต่ยังไม่พบว่ามีการสลักภาพบนผนัง เชื่อว่าทั้งหมดเคยถูกใช้เป็นสถานที่ทำพิธีกรรมทางศาสนา หรือทำวิปัสสนาคล้ายพระสงฆ์ในวัดป่าดังเช่นปัจจุบัน แต่ไม่น่าจะมีการอยู่อาศัยถาวร อย่างไรก็ตาม จากข้อมูลการสำรวจด้านโบราณคดีโดย ศาสตราจารย์พิเศษ ศรีศักร วัลลิโภดม เมื่อครั้งยังเป็นอาจารย์คณะโบราณคดี ม.ศิลปากร มีการพบหลักฐานของมนุษย์ยุคก่อนประวัติศาสตร์ ซึ่ง รศ.ดร.รุ่งโรจน์มองว่าเป็นเรื่องปกติ เนื่องจากถ้ำถูกใช้เป็นที่ประกอบกิจกรรมต่างๆ ของมนุษย์ในอดีตมาตั้งแต่สมัยโบราณ






เทือกเขาหินปูนในตำบลทับกวาง มีการให้สัมปทานการระเบิดหินไปแล้วบางส่วน


จาก http://www.matichon.co.th/news/305026

<a href="https://www.youtube.com/v/RkJ8ZZrOQvs" target="_blank">https://www.youtube.com/v/RkJ8ZZrOQvs</a>

<a href="https://www.youtube.com/v/l-PUjEns4dk" target="_blank">https://www.youtube.com/v/l-PUjEns4dk</a>

<a href="https://www.youtube.com/v/4cxTe1j-LeM" target="_blank">https://www.youtube.com/v/4cxTe1j-LeM</a>

<a href="https://www.youtube.com/v/h1Yc2Bb7FTs" target="_blank">https://www.youtube.com/v/h1Yc2Bb7FTs</a>

<a href="https://www.youtube.com/v/NVi7q_FJpss" target="_blank">https://www.youtube.com/v/NVi7q_FJpss</a>

Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

บันทึกการเข้า

ทิ นัง มิไฮ นัง มิจะนัง ทิกุนัง แปลว่า
ที่นั่ง มีให้นั่ง มึงจะนั่ง ที่กูนั่ง ทิ้งไว้เป็น
ปริศนาธรรม นะตะเอง
คำค้น:
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน

Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.272 วินาที กับ 32 คำสั่ง

Google visited last this page 25 พฤษภาคม 2567 14:22:34