[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
22 ธันวาคม 2567 14:17:51 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: ฤาอารยธรรมอุตสาหกรรมจะสิ้นสุดลงในปี คศ.2030 Olduvai Theory  (อ่าน 4543 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
หมีงงในพงหญ้า
ยืนงงในดงตีน
ผู้ก่อตั้งเวบฯ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +62/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
United Kingdom United Kingdom

กระทู้: 7866


• Big Bear •

ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 8.0 MS Internet Explorer 8.0


ไม่มี ไม่ใช้ ไม่รู้
ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« เมื่อ: 08 มิถุนายน 2553 15:06:40 »

[ คัดลอกมาจากที่ อ.มดเอ็กซ์ โพสท์ไว้ในบอร์ดเก่าครับ ]



http://i192.photobucket.com/albums/z280/blue_notes/OlduvaiGraphs1-2.jpg
ฤาอารยธรรมอุตสาหกรรมจะสิ้นสุดลงในปี คศ.2030 Olduvai Theory

 
 
 
 
 
Olduvai Theory
 
ทฤษฏีนี้รู้จักกันดี ในวงเเนวคิดการผลิตน้ำมันสูงสุด(peak oil)
ซึ่งเสนอว่าการผลิตน้ำมันที่ผลิตได้เพิ่มขึ้นเมื่อผลิตได้เกิน50%
จะเป็นอัตราการผลิตสูงสุด หลังจากนั้นอัตราการผลิตจะลดลงเป็นลำดับ
ดังนั้นความสามารถที่จะนำน้ำมันเเละก๊าสธรรมชาติมาใช้ในปริมาณมากๆจะสั้นกว่าที่คิดไว้มาก

ผู้เสนอทฤษฏี โอลดูไว คือ ดร.ดันเเคน(Richard C.Duncan)วิศวกรไฟฟ้า เเละวิศวกรระบบ ชาวสหรัฐ
ที่เชี่ยวชาญ เรื่องพลังงาน
เเละเป็นหัวเรี่ยวหัวเเรงในเเนวคิดการผลิตน้ำมันสูงสุดคนหนึ่ง
ได้เสนอเรื่องนี้ตังเเต่ปี 1989หรือราว20ปีมาเเล้ว
โดยมีการปรับปรุงหลายครั้ง ครั้งล่าสุดเป็นปี2007
เนื้อหาสำคัญของทฤษฏี คือ อารยธรรม อุตสาหกรรม (Industrial Civilization)
ที่ปฏิบัติ กันมานี้ มีอายุสั้นเพียง100ปี
เเละจะสิ้นสุดในปี2030
การพยากรณ์ ของ ท่านนี้ อาศัยเพียง
ข้อมูลการผลิตน้ำมันเเละพลังงานไฟฟ้า
จำนวนประชากรที่เพิ่มขึ้น
การใช้พลังงานต่อหัว
จัดอยู่ในความคิดลดทอนนิยม(Reductionism)
ซึ่งย่อมต้องมีช่องโหว่อยู่มาก
 

ทฤษฏีนี้มีส่วนน่าสนใจคือ
1)ความสามารถในการทำนาย นั่นคือดูการผลิตน้ำมันสูงสุด
ก็สามารถกล่าวถึงจุดเสื่อมของสหรัฐ ในปี1970
โดยไม่ต้องกล่าวถึงสาเหตุอื่น เช่นสงครามเวียตนาม
คลื่นยาวในระบบโลก
หรือการอุตสาหกรรมของสหรัฐกำลังย่ำเเย่
เช่นเดียวกับการผลิตน้ำมันสูงสุดในปี 2006-2008
ก็ทำให้คาดถึงการเอียงลาดของอารยธรรมอุตสาหกรรม
ได้โดยไม่ต้องรู้เรื่องฟองสบู่อสังหาริมทรัพย์ วิกฤตซับไพรม์
การที่อิรักติดกับสงคราม อิรัก อัฟกานิสถาน


ทฤษฏีโอลดูไวเป็นอย่างไร
ขอเล่าเรื่องโอลดูไว ก่อนสักเล็กน้อย โอลดูไวเป็นช่องเขาความยาวราว48กิโลเมตร
อยู่ทางทวีปอาฟริกาตะวันออก
บางคนถือว่าเป็นสถานที่โบราณที่สุดของโลก
เป็น อู่ ของ มนุษย์
สถานที่เเห่งนี้เป็นเเหล่งผลิตเครื่องมือหิน ตั้งเเต่2.6ล้านปีมาเเล้ว
เผ่าพันธุ์ มนุษย์เเรกสุดเคยมาผลิตเครื่องมือหิน ณ ที่นี้ ซึ่งเป็นอารยธรรมเเรกสุดของมนุษย์
 
ผู้นำเสนอได้ไปเยือนสถานที่นี้ ในปี1989
เเละนำชื่อมาเปรียบเทียบ กับ อารยธรรมอุตสาหกรรมปัจจุบัน
ว่ามนุษย์ อาจต้องกลับไป ดำเนินชีวิตเหมือนเมื่อปีก่อน 1930
โดยอาจย้อน ไปถึงการใช้เครื่องมือที่ไม่ทันสมัย
ต้องทำงานด้วยเเรงคนเเละเเรงงานสัตว์เป็นสำคัญ
 
ทฤษฏีโอลดุไว เสนอว่าอายุคาดหมายของ อารยธรรมอุตสาหกรรมมีอายุราว100ปี
ทั้งนี้ถือการผลิตพลังงานเป็นหัวต่อสำคัญ
โดยอารยธรรมอุตสาหกรรมได้เริ่มเมื่อมีการผลิตต่อหัวได้ไต่ระดับราวร้อยละ30
ของเพดานการผลิตสูงสุด
ซึ่งจะตรงกับปี1930 ได้น้ำมันเป็นเเหล่งพลังงานสูงสุด
อารยธรรมอุตสาหกรรมจึงอาจจัดเป็นสามชั้น
ได้เเก่
ระยะเติบโต(Growth Interval)
ระยะชงักงัน(Stagnation Interval)
ระยะเสื่อมถอย(Decline Interval)โดบไม่นับช่วงประวัติศาตร์ในตอนเริ่มต้น
 
ดันเเคน ได้ใช้ทฤษฏีนี้มาศึกษาอารยธรรมอุตสาหกรรมของโลกเเละสหรัฐ
ซึ่งสอดคล้องกันเเต่เวลาเหลื่อมกัน
สหรับได้ก้าวเข้าสู่อารยธรรมอุตสาหกรรมก่อนใคร
โดยคั้งเเต่กลางทศวรรต 1930
ก็สามารถผลิตพลังงานต่อหัวได้เพิ่มขี้นมากเเละช่วงการเติบโตของอารยธรรมอยู่ที่ปี1945
นี่อาจใช้เป็นข้ออ้างที่สหรัฐเข้ามาเป็นมหาอำนาจเเทนอังกฤษ
เเละกลายเป็นมหาอภิอำนาจในปี1945
เเต่การขึ้นเร็วก็นำมาสู่การลงเร็ว
สหรัฐเป็นจักรวรรดิ์ที่ขึ้นเร็วเเละเข้าสู่การเสื่อมสลายเร็วที่สุด
โดยในปี1970สหรัฐก้าวเข้าสู่ยุคชะงักงัน
จนกระทั่งปี1998หลังจากนั้นก็เข้าช่วงเวลาเสื่อมถอย
สำหรับอารยธรรมอุตสาหกรรมโลกได้เริ่มเมื่อปี1954เเละไปถึงจุดสูงสุดที่ปี1979
เเละระหว่างปีนี้ถึงปี2008อยู่ในภาวะชะงักงัน
เเละจะก้าวสู่ระยะเสื่อมถอยนับตั้งเเต่ปี2009เป็นต้นไป


ทฤษฏีเสริม
ทฤษฏีเสริมของโอลดูไวมีสองทฤษฏี
ทฤษฏีเเรกมีการศึกษากันอย่างกว้างขวาง เเละมีคนรู้จักมาก
ได้เเก่ ความสามารถของโลกในการรองรับหรือบรรทุกมนุษย์(Earth"s Carrying Capacity)
ในระยะยาวว่ามีเกณฑ์ เท่าใด
ซึ่งมีตัวเลขต่างกันมากพอสมควร
โดยดันเเคนสรุปว่าอยู่ระหว่าง500ล้านถึง2พันล้านคน
เเต่ปัจจุบันประชากราโลกเข้าใกล้7พันล้านคน
เเละอาจสูงถึง9พันล้านคนในอีกไม่กี่สิบปีข้างหน้า
ถ้าหากเปรียบโลกเหมือนรถบรรทุกก็บรรทุกเกินอัตรามากหลายเท่าตว
ซึ่งเป็นผลเสียต่อตัวมนุษย์เองเเละสิ่งเเวดล้อม
ในภาวะที่การผลิตน้ำมันที่เป็นพลังานสำคัญลดต่ำลงเรื่อย
 
ก็จะเกิดการปั่นป่วนใหญ่เเละการปรับตัวครั้งสำคัญพร้อมกันไป
เห็นได้ง่ายได้เเก่การทำสงครามเเย่งหรือควบคุมทุ่งน้ำมัน(oil field)
ดังกรณีสงครามอิรัก
เเละเเม้การสงครามจะไม่สำเร็จ
ก็ไม่ได้หมายความว่าการเเย่งชิงควบคุมน้ำมันจะสิ้นสุดลง
เเต่น่าจะดำเนินไปในรูปเเบบต่างๆรวมทั้งการทำสงคราม
อนึ่งในประเด็นความสามารถในการรองรับของโลกนี้
มีผู้เชี่ยวชาญทางพลังงานบางคนเช่น
ดร.รอสส เเมกคลูนีย์ เเห่งศุนย์กลางพลังงานเเสงอาทิตย์ รัฐฟลอริดา กล่าวเมื่อปี2004ว่า
--
คำเตือนของผมวันนี้คือมนษย์ได้ทำลายระบบการรับรองชีวิตของโลกอย่างเป็นระบบ
เราได้ทำเกินความสามารถในการรองรับมนุษย์ถึงสามเท่า
ถ้าหากจะใหทุกคนมีชีวิตเหมือนคนที่อยู่ในทวีปอเมริกาเหนือ ก็ต้องใช้ทรัพยากรโลกอีกสามใบ
ทฤษฏีเสริมอีกอย่างคือ หลักเเห่งการดึงดูด(Attractiveness Principle)
ซึ่งเสนอโดย ฟอเรสสเตอร์ (Jay W.Forrester)
เกิดเมือ่ปี1981 วิศกรระบบชาวสหรัฐ
ผู้ได้ชื่อว่าเป็นผู้ก่อตั้งวิชาพลวัตเเห่งระบบ(System Dynamics)
ได้เขียนหนังสือเกี่ยวกับพลวัตอุตสาหกรรม พลวัตเมือง พลวัตโลก ได้กล่าวถึงหลักการนี้ในปี1975
’’หลักการเเห่งการดึงดูด สำหรับกลุ่มประชากรใดที่เเน่นอน
เขตภูมิศาสตร์ทั้งหลายมีเเนวโน้มเอียงที่จะความดึงดูดเท่าๆกัน
 
หรือบางทีระบุว่าบางพื้นที่มีความโน้มเอียงที่จะไม่ถูกดึงดูด(Unattractive)
หรือเมืองๆนั้นมีเเรงดึงดูดให้น่าเข้ามาอาศัย
หรือไม่น่าเข้ามาอาศัย
การเคลื่อนย้ายของประชากรเข้าไปในพื้นที่ที่น่าอยู่อาศัย
จะทำให้ค่าครองชีพสูงขึ้น
กดโอกาสของการมีงานทำลง
คุณภาพสิ่งเเวดล้อม คุณภาพการดูเเลจากภาครัฐ
 
การใช้ทรัพยากรธรรมชาติต่อหัวสอดคล้องกับมาตรฐานการครองชีพทางวัตถุ
สอดคล้องกัน
ในปี2005ประชากรสหรัฐมี297ล้านคน
เท่ากับร้อยละ4.6ของโลก
ประชากรที่เหลือของโลก6,154ล้านคน ร้อยละ95.4ของโลก
มารตรฐานการครองชีพต่อหัวของสหรัฐคิดเป็นน้ำมัน 57.7บาร์เรลต่อหัว
ประชากรที่เหลือบริโภคเพียง9.8บาร์เรลต่อหัว
ถ้าส่วนที่เหลือต้องการบริโภคเท่าสหรัฐมีมาตรฐานการบริโภคเท่าสหรัฐ
ก็ทำได้สองวิธีคือ
เพิ่มการบริโภคพลังงานต่อหัวมากขึ้น
อีกทางคืออพยพเข้าไปอยู่ในสหรัฐ
ซึ่งทางสหรัฐก็พยายามป้องกันอย่างสุดฤทธิ์
ถึงขั้นสร้างกำเเพงเเละด่านตลอดเเนวเม็กซิโก
 
สมมติฐาน5ข้อ
ทฤษฏีโอลดูไว เสนอสมมติฐานห้าข้อได้เเก่
1)การขยายตัวทางการผลิตพลังงานเเบบขยายตัวได้สิ้นสุดตั้งเเต่ปี1970 อันนี้ดูเป็นจริงเเล้ว
2)ช่วงเวลาการบริโภคน้ำมันต่อหัวของสหรัฐสอดคล้องกัน
คือมีระยะ เติบโต ชะงักงัน เเละช่วงเสื่อมทรุด
3)ช่วงเสื่อมทรุดของอารยธรรมอุตสาหกรรมจะเริ่มต้นในปี2008-20012
4)การเกิดไฟดับหรือไฟตกขนาดใหญ่จะเป็นตัวบอกบ่งชี้ถึงการเสื่อมทรุดนี้
5)จำนวนประชากรโลกลดลงต่ำใกล้เคียงกับอัตราการบริโภคพลังงานต่อหัว
การลดลงของประชากรโลกนี้อาจเกิดจาก โรคระบาด สงคราม ภัยธรรมชาติ
ความปั่นป่วนรุนเเรงในสังคม
ไปจนถึงภาวะจิตตกก็ได้
ดันเเคนไม่ได้กล่าวในรายละเอียดของเร ื่องนี้
...........
 
มันจะเป็นจริงหรือไม่
ตามทฤษฏีโอลดูไว
อารยธรรมอุตสาหกรรมได้มาอยู่ที่หน้าผาเเละตกลงมาเเล้ว
เเต่เราก็ยากจะทำใจให้เชื่อว่าอารยธรรมอุตสาหกรรมมนุษย์
ที่ประกาศว่าจะไปตั้งนิคมอุตสาหกรรมบนดวงจันทร์
เเละดาวอังคารจะพบจุดจบอย่างรวดเร็ว
ก่อนที่จะกระทำได้สำเร็จ
 
มีประเด็นที่พูดจากันมากมายเช่นรักษาการเจริญเติบโตให้เท่ากับศูนย์
การใช้การบริโภคฟุ่มเฟือยให้เป็นประโยชน์
การบริโภคฟุ่มเฟือยนั้นมีด้านที่ไม่ยั่งยืน
หากงดการบริโภคฟุ่มเฟือยลง
เช่นการจัดการเมืองใหม่
การขนส่งการจราจร
การกินอาหารใหม่
เราก็สามารถประหยัดพลังงาน
เเละสามารถรักษาอารยธรรมอุตสาหกรรมเอาไว้ได้
 
อย่างไรก็ตามในทางปฏิบัติเหมือนว่าฝ่ายต่างๆต้องการบริโภคพลังงานมากขึ้น
ประเทศที่พัฒนาเเล้วพยายามกีดกันการบริโภคพลังงานค่อหัวของประเทศที่กำลังพัฒนาไม่ให้เท่าตน
โดยวิธีการต่างๆเช่นเเทรกเเซงสร้างความปั่นป่วน
เเต่ตนเองบริโภคเท่าเดิม
เเละประเทศที่ด้อยพัฒนา ก็พยายามเลียนเเบบโดยการบริโภคพลังงานมากขึ้น
..............
หากจะได้ประโยชน์จากทฤษฏีโอลดูไวอยู่บ้าง
ก็น่าจะอยู่ที่เเนวคิดที่ว่า
เราไม่สามารถคำรงอารยธรรมอุตสาหกรรมที่ไม่ยั่งยืนเเบบนี้ออกไปได้นาน
เเละเหลือเวลาไม่มากสำหรับการเเก้ไข
 
 
ที่มา วิกฤตศตวรรษที่21 อนุช อาภาภิรม มติชน สุดสัปดาห์ 31ก.ค.-6ส.ค.2552
 

http://bbznet.pukpik.com/scripts3/view.php?user=greenbull&board=6&id=1081&c=1&order=numtopic



Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

บันทึกการเข้า

B l a c k B e a r : T h e D i a r y
qbpqbp
มือใหม่หัดโพสท์กระทู้
*

คะแนนความดี: +0/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

Bangladesh Bangladesh

กระทู้: 1


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 8.0 MS Internet Explorer 8.0


ดูรายละเอียด
« ตอบ #1 เมื่อ: 18 พฤษภาคม 2554 11:00:34 »

thank
บันทึกการเข้า
คำค้น: อารยธรรม อุตสาหกรรม สิ้นสุดลง 2030 Olduvai Theory สุขใจ Mckaforce 
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน

Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.735 วินาที กับ 32 คำสั่ง

Google visited last this page 27 ตุลาคม 2567 13:29:21