พระธรรมคำสอนที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดง เป็นไปเพื่อความเข้าใจถูกเห็นถูก
ปัญญา เป็นไปเพื่อความเจริญขึ้นของกุศลธรรมประการต่าง ๆ เป็นไปเพื่อขัดเกลา
กิเลสของผู้ที่มีโอกาสได้ฟังและน้อมประพฤติปฏิบัติตามเป็นอย่างยิ่ง
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงว่า มารดาบิดา เป็นพรหม เพราะเป็นผู้ประกอบด้วย
พรหมวิหาร ๔ ประการ คือ เมตตา ความเป็นมิตร ความเป็นเพื่อน ความหวังดี
กรุณา ความปรารถนาที่จะช่วยให้เขาพ้นจากความทุกข์ มุทิตาความพลอยยินดี
เมื่อผู้อื่นได้ดี และ อุเบกขา ความเป็นกลางไม่เอนเอียงไปด้วยความรักหรือความชัง
มีความเป็นกลางไม่ยินดียินร้าย
มารดาบิดา มีเมตตา หวังดีเลี้ยงลูกให้เจริญเติโต มีกรุณา เมื่อบุตรธิดาเจ็บไข้ได้
ป่วยก็ทำการรักษาให้หายจากความเจ็บป่วยนั้นเมื่อลูกได้ดีมีความสุข ก็พลอยยินดีกับ
ลูกด้วยเมื่อลูกมีการหน้าที่การงานแล้ว พ่อแม่ก็ไม่ต้องขวานขวายแก่ลูกผู้ประกอบ
อาชีพการงานแล้ว
ธรรม ทั้ง ๔ ประการ เป็นธรรมฝ่ายดีที่ควรอบเจริญขึ้นในชีวิตประจำวันไม่ได้จำกัด
เฉพาะผู้ที่เป็นมารดาบิดาเท่านั้นโดยที่มีเมตตา เป็นเบื้องต้นเพราะเหตุว่าถ้า
ไม่มีเมตตาไม่มีความเป็นมิตรเป็นเพื่อนแล้วการที่จะช่วยเหลือผู้อื่นให้พ้นจากทุกข์
รวมถึงการที่จะมีความพลอยยินดีเมื่อผู้อื่นได้รับในสิ่งที่ดีโดยไม่มีความริษยาเลยนั้น
ย่อมจะเป็นสิ่งที่เป็นไปไม่ได้
สำหรับกิจของอุเบกขานั้น ได้แก่ ความเป็นกลางในธรรมนั้น ๆ คือ เป็นผู้วางตนเป็น
กลาง มีความเป็นไปเสมอโดยเว้นการยินดียินร้าย คือ ไม่ยินดียินร้าย ดุจตาชั่งที่จับ
ไว้เสมอกันเวลาที่เห็นใครกระทำผิดเบียดเบียนผู้อื่นให้ได้รับความเดือดร้อน
ถ้าเป็นผู้ที่ได้อบรมเจริญอุเบกขาก็จะมีความเป็นกลาง ไม่เอนเอียง จะมีความเข้าใจ
ตามความเป็นจริงว่าผู้ที่กระทำในสิ่งที่ไม่ดี ผลที่ไม่ดีก็ย่อมจะเกิดขึ้นแก่บุคคลนั้นอย่าง
แน่นอน หรือแม้กระทั่งเวลาที่เขาได้รับในสิ่งที่ดีที่น่าพอใจ ก็จะไม่หวั่นไหว ไม่เอนเอียง
ไป ด้วยอำนาจของโลภะความติดข้องยินดีพอใจพระธรรมจึงควรค่าแก่การศึกษาอย่าง
ยิ่งเพื่อความเข้าใจถูกเห็นถูกยิ่งขึ้นและเพื่อน้อมประพฤติปฏิบัติในชีวิตประจำวันบทความจากมูลนิธิบ้านธรรมะ โดย อาจารย์ สุจินต์ บริหารวนเขตต์และคณะวิทยากร