[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
22 ธันวาคม 2567 19:49:18 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: บทที่ 4 บรรลุธรรม ปฏิเวธสูตร : BREAK THROUGH SERMON  (อ่าน 14038 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
Firefox 5.0 Firefox 5.0


ดูรายละเอียด
« เมื่อ: 11 สิงหาคม 2554 10:14:58 »





บทที่ 4 บรรลุธรรม ปฏิเวธสูตร
: BREAK THROUGH SERMON
ถ้าผู้ใดมีความตั้งใจที่จะเข้าถึงโพธิญาณ เขาจะปฏิบัติตามวิธีใดที่ดีที่สุด ? ”
“ วิธีที่ดีที่สุด ที่รวมเอาวิธีอื่นทุกวิธีเข้าด้วยกันได้ คือวิธีการเฝ้าดูจิต
“ แต่วิธีเดียวจะสามารถรวมวิธีอื่นทั้งหมดเข้ามาได้อย่างไร ? ”
“ ( เพราะ ) จิตเป็นรากเหง้าแห่งความเจริญเติบโตของสิ่งทั้งปวง ”

ดังนั้น ถ้าท่านเข้าใจเรื่องจิต ทุกสิ่งก็รวมที่จิตหมด จิตเป็นเสมือนรากของต้นไม้ เพราะผล , ดอก , กิ่งก้านสาขาและใบของต้นไม้ทั้งหมด ล้วนอาศัยรากของมัน ถ้าบำรุงที่รากของมัน ต้นไม้ก็เจริญเติบโตยิ่งขึ้น ถ้าท่านตัดรากของมันต้นไม้ก็ตาย

คนที่เข้าใจเรื่องจิตของตนเอง สามารถบรรลุได้โดยใช้ความเพียรไม่มาก ส่วนคนที่ไม่เข้าใจจิตใจของตนเอง ปฏิบัติไปก็ไร้ประโยชน์ ความดีและความชั่ว ทุกอย่างล้วนมาจากจิตของท่านเอง การค้นหาสิ่งที่อยู่ภายนอกจิตนั้น เป็นไปไม่ได้

“ แต่การเฝ้าดูจิตอย่างไร จึงจะเรียกว่าการเข้าใจ (ถูกต้อง ) ? ”

เมื่อพระมหาโพธิสัตว์ เสาะแสวงหาบรมปัญญาอันลึกซึ้ง 1* พระองค์ได้ทรงรู้แจ้งชัดว่า ธาตุ 4 ขันธ์ 5 เป็นภาวะที่ไร้ตัวตนบุคคลเราเขา และรู้แจ้งชัดการปรุงแต่งจิต(จิตตสังขาร) นั้นมี 2 ลักษณะ คือ บริสุทธิ์และไม่บริสุทธิ์ 2*

โดยธรรมชาติแท้ของจิตนี้ สภาพจิตทั้ง 2 อย่างนี้จึงเป็นปัจจุบันเสมอ แต่มันเกิดสลับกันเสมือนเหตุและผล ซึ่งอาศัยกันและกันเกิดขึ้น* (*ตามหลักของปฏิจจสมุปบาท หรือ อิทัปปัจจยตา …. ผู้แปลไทย )

จิตที่บริสุทธิ์พอใจในการทำกรรมดี แต่จิตที่ไม่บริสุทธิ์คิดถึง ( ปรุงแต่ง ) แต่เรื่องชั่ว ๆ บุคคลที่ไม่ได้รับผลจากการกระทบของจิตที่สกปรกคือพระอริยเจ้าทั้งหลาย ท่านเหล่านั้นย่อมอยู่เหนือความทุกข์ และประสบแต่ความสุขของพระนิพพาน ปุถุชนคนอื่น ๆ ย่อมถูกบีบคั้นด้วยจิตสกปรกและสับสนยุ่งเหยิงด้วยกรรมของตนเอง พวกเขาต้องท่องเที่ยวอยู่ในภูมิทั้ง 3 และได้รับความทุกข์ทรมานจากภัยต่าง ๆ อันไม่อาจนับได้ เพราะจิตที่สกปรกของตนย่อมปิดบังธรรมกายของเขาทั้งหลาย

พระสูตรตอนที่ 10 กล่าวว่า “ ในกายของปุถุชนก็มีพุทธภาวะที่ไม่อาจทำลายได้เสมือนกับพระอาทิตย์ แสงของมันขยายไปทั่วอวกาศไม่มีสิ้นสุด แต่เมื่อใดมันถูกปกคลุมด้วยเมฆหมอกอันหนาทึบด้วยเงาทั้ง 5(ขันธ์ 5)มันก็เหมือนแสงในตุ่มน้ำถูกบังจากการเห็น”

และพระนิพพานสูตร 3* กล่าวว่า “ ปุถุชนทุกคน มีธรรมชาติแห่งพุทธะ แต่มันถูกคลอบคลุมด้วยความมืด (ของอวิชชา ) ซึ่งไม่อาจหลบเลี่ยงได้ ธรรมชาติแห่งพุทธะของเราก็คือสติสัมปชัญญะ ( ความรู้สึกตัวทั่วพร้อม ) โดยการทำให้ตนเองตื่นตัวและทำให้ผู้อื่นตื่นตัวด้วย การประจักษ์แจ้งความรู้สึกตัวทั่วพร้อมเป็นความหลุดพ้น ”

ความดี ( กุศลธรรม ) ทุกอย่างมีสติสัมปชัญญะเป็นรากฐาน และจากรากเหง้าแห่งสติสัมปชัญญะนี้ จึงก่อให้เกิดต้นไม้แห่งคุณธรรมขึ้น และผลิตผลออกมาเป็นนิพพาน การเฝ้าดูจิตเช่นนี้จึงเป็นความเข้าใจที่ถูกต้อง ( สัมมาทิฏฐิ )


ท่านกล่าวว่า “ พุทธภาวะที่แท้จริงและกุศลธรรมทั้งปวง มีสติสัมปชัญญะเป็นรากเหง้า แต่อะไรเล่าเป็นรากเหง้าของอวิชชา ? ”

จิตที่หลงผิดด้วยอวิชชา ย่อมประสบแต่ความทุกข์และภัย ความทะเยอทะยานอยากและความชั่วร้ายอันไม่รู้จักจบสิ้น อวิชชาหยั่งรากลึกลงในกิเลส 3 ประการ คือ โลภะ โทสะและโมหะ

สภาพจิตที่ถูกห่อหุ้มด้วยกิเลส 3 ประการเหล่านี้ ย่อมรวมเอาความชั่วประการต่าง ๆ อันนับไม่ได้เข้าไว้ด้วยกัน เหมือนต้นไม้ที่มีลำต้นเพียงลำต้นเดียว แต่มีกิ่งก้านและใบมากมายมหาศาล กิเลสแต่ละตัวยังก่อให้เกิดความชั่วร้ายต่าง ๆ อีกหลายล้านตัว ที่เอาต้นไม้เป็นอุปมา ก็ยังยากที่จะเปรียบเทียบ ให้เหมาะสมได้

กิเลสทั้ง 3 ประการ ย่อมเกิดกับอายตนะทั้ง 6 4* ของเรานี้เอง เหมือนวิญญาณ 6 5* หรือโจร 6 จำพวก

ที่เรียกกิเลสพวกนี้ว่าโจร เพราะว่ามันผ่านเข้าออกตามประตู ของอายตนะ (มโนทวาร) ความโลภและความทะยานอยากอันหาขอบเขตมิได้ ทำให้หมกมุ่นอยู่ในความชั่วร้ายและปิดบังลักษณะอันแท้จริงของจิตไว้ เพราะว่าปุถุชนทั้งหลาย ถูกกิเลสตัณหา หรือพวกโจรชักนำให้ทำผิดทั้งกาย และใจ พวกเขาจึงหลงทางชีวิตและความตาย แล้วร่อนเร่พเนจรไปในภพทั้ง 6 6* และทุกข์ด้วยภัยต่าง ๆ อันหาประมาณมิได้

ทุกข์ภัยเหล่านี้ก็เป็นเสมือนกระแสน้ำที่ไหลเชี่ยวกราก เป็นระยะทางยาวเป็นพัน ๆ ไมล์ เพราะการไหลรวมของกระแสน้ำเล็ก ๆ น้อย ๆ อยู่อย่างไม่ขาดสาย แต่ถ้าผู้ใดตัดต้นกำเนิดของน้ำได้ แม่น้ำก็แห้งเหือดฉันใด บุคคลที่แสวงหาการหลุดพ้น สามารถเปลี่ยนกิเลสทั้ง 3 ให้เป็นที่ตั้งของศีลและเปลี่ยนโจรทั้ง 6 ให้เป็นปารมิตา 6 เขาก็ขจัดภัยร้ายต่าง ๆ ให้แก่ตนได้ทุกครั้งหรือตลอดไป ก็ฉันนั้น

“ แต่ภูมิทั้ง 3 และภพทั้ง 6 เป็นสภาวะที่กว้างขวางหาที่สุดมิได้ ถ้าเราเอาแต่เฝ้าดูจิต เราจะสามารถหลบหลีกภัยต่าง ๆ ของจิตได้อย่างไร ? ”

กรรมในภูมิทั้ง 3 ล้วนเกิดจากจิต ถ้าจิตของท่านไม่เข้าไปในภูมิทั้ง 3 จิตก็อยู่เหนือกิเลสนั้น เพราะภูมิทั้ง 3 ก่อให้เกิดกิเลส 3 คือ ความโลภ ก่อให้เกิด ภูมิแห่งความทะยานอยาก (กามาวจรภูมิ ) ความโกรธก่อให้เกิดภูมิของรูป ( รูปาวจรภูมิ ) และความหลงก่อให้เกิดภูมิแห่งความไม่มีรูป (อรูปาวจรภูมิ ) และกรรมที่ตัณหาราคะสร้างขึ้น มีทั้งเบาและหนัก ภูมิทั้ง 3 นี้ ถูกแบ่งเป็น 6 สถาน ที่เรารู้จักกันในนามภพทั้ง 6 นั่นเอง


Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

บันทึกการเข้า
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
Firefox 5.0 Firefox 5.0


ดูรายละเอียด
« ตอบ #1 เมื่อ: 11 สิงหาคม 2554 10:16:46 »



           

เชิงอรรถบทที่ 4 หมายเลข 1* - 13*

1* เป็นสำนวนแปลของหทัยสูตรว่า เป็นจุดที่พระโพธิสัตว์ เข้าถึงความเป็นพระอวโลกิเตศวร และมีปัญญาสมบูรณ์หรือเรียกว่า ปรัชญาปารมิตา ไม่ถือว่าเป็นปัญญา เพราะเป็นปัญญาวิมุติเป็นสุญญตาปัญญาและว่างเปล่า ไม่มีการแยกแยะระหว่างความว่างกับเวลา ระหว่างสิ่งมีชีวิตและไม่มีชีวิต

2* คำอธิบายเพิ่มเติมในเรื่องนี้ ให้ดูใน “ ตื่นด้วยศรัทธามหายาน ” ที่กล่าวถึงความบริสุทธิ์และไม่บริสุทธิ์ , การตรัสรู้หรือไม่ตรัสรู้

3* SUTRA OF TEN STAGES …NIRANASUTA เวลาที่แปลพระสูตรนี้คือศตวรรษที่ 5 ตอนต้น

4* ได้แก่ ตา หู จมูก ลิ้น กายและใจ

5* ตัวรับรู้สิ่งต่าง ๆ เกี่ยวกับรูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส และความคิด ลังกาวัตรได้อธิบายในความเข้าใจ การพินิจพิเคราะห์และตถาคตานุสสติโดยสรุปถึงรูปแห่งวิญญาณทั้ง 8

6* ภพชั้นต่ำเหล่านี้คือ ภพที่เป็นอยู่ของสิ่งที่ต้องเคลื่อนไหว ไม่ว่าจะเป็นความคิด หลังคิด ชีวิตหลังการเป็นอยู่จนกว่าจะได้บรรลุ และพ้นไปจากสังสารวัฏนี้ เป็นความทุกข์ในวัฏฏะอันต่อเนื่อง ( ทุกข์ในปฏิจจสมุปบาท ) ส่วนเทวดาทั้งปวงจะได้รับความสุขสบาย ในขณะที่ผู้ลงนรก ต้องได้รับความทุกข์อย่างหนักครั้งแล้วครั้งเล่า มารและมนุษย์มีทุกข์มากกว่าเหล่าเทพแต่น้อยกว่าสัตว์เดรัจฉานและสัตว์นรก



บันทึกการเข้า
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
Firefox 5.0 Firefox 5.0


ดูรายละเอียด
« ตอบ #2 เมื่อ: 11 สิงหาคม 2554 21:11:54 »




ภาพปริศนา-ธรรม โดย มาโนชญ์ เพ็งทอง

“ กรรมของภพทั้ง 6 เหล่านี้ แตกต่างกันอย่างไร ? ”

ปุถุชนที่ยังไม่เข้าใจวิธีการปฏิบัติที่แท้จริง 7* ย่อมทำความดีทั้ง 10 ประการ อย่างขาดปัญญา อันเป็นเหตุให้เกิดในภพสถานเบื้องสูงทั้ง 3 และภูมิสถานเบื้องต่ำทั้ง 3

“ อะไรคือภพสถานเบื้องสูงทั้ง 3 ประการนั้น ? ”
บุคคลที่ประกอบกรรมดี 8* อย่างใบ้บอดโง่เขลา และแสวงหาความสุขอย่างโง่เขลา ย่อมเป็นเหตุให้เกิดเป็นเทวดาในชั้นกามาวจรภูมิ

บุคคลที่รักษาศีล 5 9* แต่ยังลุ่มหลงในความรัก ความชัง เป็นเหตุให้เกิดเป็นมนุษย์ในโทสะภูมิ ( ภูมิของยักษ์ )
ส่วนบุคคล ที่ยึดในโลกียวิสัยอย่างโง่เขลา และเชื่อในคำสอน ( ลัทธิ ) ผิด ๆ และสวดมนต์อ้อนวอนหาแต่ความสุขสบาย ย่อมเป็นเหตุให้เกิดเป็นภูต ผี ปีศาจ ในโมหะภูมิ เหล่านี้เป็นกำเนิดเบื้องสูง 3 ประการ และอะไรเล่าที่เรียกว่าภพเบื้องต่ำทั้ง 3 ?

ภูมิเหล่านี้เป็นสถานที่ของบุคคลผู้ยึดติดในความคิดที่มีกิเลสและเป็นเหตุให้เกิดความชั่ว กรรมของคนเหล่านี้เกิดจากความโลภ ซึ่งเป็นภพภูมิแห่งเปรตที่ใหญ่ที่สุด
กรรมของคนที่เกิดจากความโกรธคือ ภูมิแห่งผู้เสวยทุกข์ในนรก อันใหญ่ที่สุด และกรรมของคนที่เกิดจากความหลง คือภูมิแห่งเดรัจฉานที่ใหญ่ที่สุด

ภพชั้นต่ำ 3 ประการเหล่านี้ รวมกับภูมิสถานชั้นสูงที่กล่าวมา เป็นภูมิทั้ง 6 ( ในคติของเถรวาทหรือหินยาน กำหนดภูมิของสัตว์ที่เกิดในวัฏฏะสงสาร เอาไว้ 8 ภูมิ คือ อบายภูมิเบื้องต่ำ 4 และสุขภูมิเบื้องสูง 4 อบายภูมิ 4 คือ สัตว์นรก, เปรต , อสุรกาย และสัตว์เดรัจฉาน สุขภูมิ 4 คือ มนุษย์ , เทวดา , พรหม และพระอริยเจ้า แต่ในของปรมัตถ์ ภูมิทั้ง 8 หมายถึง ภูมิของจิต 8 สภาวะ หรืออารมณ์ประจำตัวของมนุษย์แต่ละคนในชีวิตประจำวัน คือแต่ละขณะจิตเสวยอารมณ์อะไร ดีหรือชั่วก็ถือว่าเขากำลังถือกำเนิดในภพภูมินั้น ๆ โดยถือเอาความรุนแรงของกิเลส 4 ตัว เป็นตัวกำหนด คือผู้เสวยอารมณ์ ดังนี้

โลภะ ก่อกำเนิด เปรต
ราคะ ก่อกำเนิด อสุรกาย – ปีศาจ
โทสะ ก่อกำเนิด สัตว์นรกชั้นต่าง ๆ
โมหะ ก่อกำเนิด เดรัจฉานระดับต่าง ๆ

ความรุนแรงและความเบาบางของกิเลสแต่ละตัว ทำให้เกิดประเภทต่าง ๆ ของภพภูมิ เช่น ใครมีความโลภอ่อน ก็เกิดเป็นเปรตระดับต่ำ ๆ ใครมีความโลภระดับปานกลาง ก็เกิดเป็นเปรตระดับกลาง ใครมีความโลภจัดและรุนแรง ก็เกิดเป็นเปรตที่ใหญ่และมีพิษภัยร้ายกาจ ถึงขนาดเป็นภัยต่อชีวิตเป็นพิษต่อสังคมเลยที่เดียว * (* ที่เกิดปัญหาในสังคมโลกทุกวันนี้ ก็เพราะเปรตประเภทนี้มีมาก โลกจึงเดือดร้อน รายละเอียดและระดับต่าง ๆของพวกราคะ–โทสะ-โมหะ ก็พึงเทียบกับความโลภเอาเองเถิดและส่วนในภูมิเบื้องสูง คือสุขภูมิ 4 ประการ ก็พึงเห็นตรงกันข้ามกับพวกมีราคะ – โทสะ – โมหะ เมื่อกิเลสทั้ง 3 เบาบางหรือหมดไป ได้แก่ พวกมนุษย์,เทวดา,อินทร์พรหมและพระอริยเจ้า.... ผู้แปลไทย)

จากเรื่องนี้ ท่านจะเข้าใจเรื่องกรรมทั้งหมดได้อย่างแจ่มแจ้ง ตลอดถึงความทุกข์ทรมานและโทษภัยอื่น ๆ ด้วย ซึ่งเกิดขึ้นจากจิตใจของท่านเอง ถ้าท่านเพียงแต่กำหนดพิจารณาจิตของตนเองเท่านั้น ย่อมอยู่เหนือความเข้าใจผิดและความชั่วทั้งหลาย และทุกข์อันเกิดจากภูมิทั้ง 3 และภพทั้ง 6 ก็สลายตัวไปเองโดยอัตโนมัติ และเมื่อใดท่านเป็นอิสระจากทุกข์ ท่านก็หลุดพ้นอย่างแท้จริง

แต่พระพุทธเจ้าตรัสว่า “ หลังจากได้รับความทุกข์ยากลำบากอันมหาศาลเป็นเวลาสามอสงไขยกัลป์แล้ว 10* ฉันจึงได้บรรลุธรรม ”

“ บัดนี้ทำไมจึงกล่าวว่า การเฝ้าดูจิตธรรมดา ๆ และการเอาชนะกิเลสทั้งสามจึงจะหลุดพ้นเล่า ? ”
พระพุทธพจน์เป็นความจริง แต่คำว่า “ สามอสงไขยกัลป์ หมายถึง สภาพจิตที่ถูกห่อหุ้มด้วยกิเลสทั้งสาม สิ่งที่เรียกว่า อสงไขย ในศัพท์ภาษาสันสกฤต ท่านหมายถึง กำหนดนับไม่ได้

ภายในสภาพจิตที่ถูกห่อหุ้มด้วยกิเลสสามตัวนี้ก็คือ ความคิดชั่วที่กำหนดนับไม่ได้ ( มากมายมหาศาล ) ความคิดทุกความคิดจบลงครั้งหนึ่ง ก็เรียกว่า “ กัลป์หนึ่ง ” สภาพที่ไม่มีสิ้นสุดเช่นนี้ คือสิ่งที่พระองค์ทรงหมายถึง “ สามอสงไขยกัลป์ ”


เชิงอรรถบทที่ 4 หมายเลข 7* - 10*
7* เป็นการปฏิบัติที่นำไปสู่การรู้แจ้ง ตรงกันข้ามกับที่นำไปสู่เป้าหมายอื่น ปฏิบัติถูกต้องหมายถึงการเฝ้าระวังรักษาจิตของตนอยู่ตลอดเวลา

8* 8 เป็นการเว้นจากอกุศลกรรม 10 อย่าง คือ การฆ่า การลักขโมย การผิดประเวณี การพูดเท็จ การใส่ร้ายผู้อื่น การพูดคำหยาบ การนินทา ความโลภ ความโกรธ และการเพิ่มพูนความเห็นผิด

9* ศีล 5 นี้เป็นข้อปฏิบัติสำหรับชาวพุทธที่เป็นคฤหัสถ์ทั่วไป เป็นข้อห้ามไม่ให้ฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ ผิดประเวณี พูดเท็จ และดื่มน้ำเมา

10* จักรวาลแบ่งออกเป็น 3 ช่วง คือ ช่วงสร้าง ช่วงดำรงอยู่ ช่วงทำลาย ในแต่ละช่วงนั้นเป็นอสงไขยกัลป์ ช่วงที่ 4 นั้นเป็นช่วงสุญญตาระหว่างจักรวาล ไม่ได้นำมากล่าวไว้ในที่นี้ เพราะมันไม่มีความจำเป็น



บันทึกการเข้า
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
Firefox 5.0 Firefox 5.0


ดูรายละเอียด
« ตอบ #3 เมื่อ: 18 สิงหาคม 2554 14:33:57 »




“ เมื่อใดกายจริง ( ธรรมกาย ) ของท่านถูกบดบังด้วยกิเลสทั้งสาม เมื่อท่านไม่สามารถเอาชนะความชั่วอันมากมายของตนได้ ท่านจะเป็นผู้หลุดพ้นได้อย่างไร ? ”

บุคคลที่สามารถเปลี่ยนแปลงกิเลสทั้ง 3 คือ ความโลภ ความโกรธและความหลงให้เป็นวิมุติทั้งสามได้ เรียกว่าเขาได้ผ่านพ้นจาก อสงไขยกัลป์ทั้งสามได้

แต่คนยุคนี้ เป็นคนยุคสุดท้ายภายหลัง 11* เป็นปุถุชนคนหนาด้วยความโง่ พวกเขาไม่เข้าใจสิ่งที่พระตถาคต หมายถึง สามอสงไขยกัลป์

พวกเขากล่าวว่า การบรรลุธรรมจะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อ อสงไขยกัลป์ผ่านไปแล้ว ดังนั้น คนเหล่านั้นจึงนำสาวกไปสู่ทางปฏิบัติต่อพุทธภาวะ อย่างผิด ๆ

แต่พระมหาโพธิสัตว์ ได้บรรลุธรรมเพียงสมาทานปฏิบัติสามข้อ 12* เท่านั้นและปฏิบัติตามปารมิตา 6 ข้อ บัดนี้ท่านบอกให้สาวกเฝ้าดูจิต ใครจะสามารถบรรลุธรรม โดยปราศจากการอบรมบ่มเพาะระเบียบวินัยที่ดีได้อย่างไร ?

การปฏิญาณรับศีล 3 ข้อ เป็นการเอาชนะกิเลสที่ห่อหุ้มจิตได้อย่างแน่นอน คือ เมื่อท่านเอาชนะกิเลสเหล่านี้ได้ ท่านก็สร้างกุศลธรรม อันไม่มีขอบเขตอีกสามประการ ข้อเดียวแต่รวบทุกข้อเข้าไว้

ในกรณีนี้คือ
กุศลธรรมอันมหาศาลจะหลั่งไหลมาสู่จิตใจของท่านและปารมิตา 6 ก็เป็นธรรมช่วยชำระอายตนะ 6


สิ่งที่เราเรียกว่า “ ปารมิตา ” หมายถึง “ อีกฝั่งหนึ่ง หรือ ฝั่งโน้น 13*

เมื่อชำระมลทินทั้งหกออกจากใจได้แล้ว ( เรือ ) ปารมิตาก็นำท่านข้ามแม่น้ำแห่งวัฏฏทุกข์ ไปสู่ฝั่งแห่งโพธิญาณ ( นิพพาน)

ตามพระสูตรศีล 3 ข้อได้แก่
1. ข้าพเจ้าขอปฏิญาณว่า จะกำจัดความชั่วทั้งปวงให้สิ้นไป ( สพฺพปาปสฺสอกรณํ )
2. ข้าพเจ้าขอปฏิญาณว่า จะสั่งสมกุศลทั้งปวง ( กุสลสฺสูปสมฺปทา ) และ
3. ข้าพเจ้าขอปฏิญาณว่า จะปลดปล่อยสรรพสัตว์ให้หลุดพ้นจากทุกข์
( สพฺพทุกฺขา ปมุจฺจเย ) * (* แต่ในคัมภีร์เถรวาทเป็น สจิตฺตปริโยทปนํ คือการชำระจิตของตนให้บริสุทธิ์ สะอาด …. ผู้แปลไทย )

“ แต่บัดนี้ท่านกล่าวว่า ให้ควบคุมจิตให้พ้นจากการครอบงำของกิเลสทั้งสามเท่านั้น ความตรงนี้ไม่ขัดกันกับความหมายในคัมภีร์หรือ ? ”

พระสูตรของพระพุทธเจ้าถูกต้องแต่นานมาแล้ว สมัยเมื่อพระมหาโพธิสัตว์กำลังสร้างสมอบรมพืชพันธุ์และโพธิญาณอยู่ ก็ได้เผชิญหน้ากับกิเลสทั้ง 3 ซึ่งทำให้พระองค์ต้องตั้งสัตย์ปฏิญาณขึ้น 3 ประการ คือ บำเพ็ญข้อห้ามแห่งศีลเพื่อเผชิญกับโลภะกิเลส พระองค์ก็ทำปฏิญาณเพื่อขจัดความชั่วให้หมดไป เมื่อบำเพ็ญสมาธิ เพื่อเผชิญกับโทสะกิเลส พระองค์ก็ปฏิญาณที่จะสั่งสมกุศลธรรมทั้งปวง และเมื่อบำเพ็ญปัญญา เพื่อเผชิญกับโมหะกิเลส พระองค์ปฏิญาณที่จะปลดปล่อยสรรพสัตว์ออกจากทุกข์

เพราะพระองค์ตั้งอยู่ในข้อปฏิบัติ 3 ประการเหล่านี้ คือ ศีล สมาธิ และปัญญา พระองค์จึงสามารถเอาชนะกิเลสทั้ง 3 และเข้าถึงโพธิญาณได้ เมื่อเอาชนะกิเลสทั้งสามได้แล้ว พระองค์ก็สามารถขจัดบาปอกุศลทั้งปวงออกไป และสลัดความชั่วได้หมดสิ้น เมื่อสมาทานศีล ( สัตยปฏิญาณ ) สามข้อแล้วพระองค์ก็ไม่ได้ทำอะไรอีก นอกจากทำความดีและสั่งสมกุศลธรรม


และเมื่อสลัดความชั่วทิ้งไปได้หมดสิ้นแล้วทรงเจริญกุศล พระองค์ก็สามารถบรรลุถึงข้อปฏิบัติทุกอย่างได้สำเร็จ และบรรลุประโยชน์ของพระองค์เท่ากับสัตว์อื่น ๆ และจาริกไปช่วยปุถุชนทุกหนทุกแห่ง

ดังนั้น พระองค์จึงได้ชื่อว่า “ ปลดปล่อยสรรพสัตว์ออกจากทุกข์ ” ได้สำเร็จ


ท่านคงเข้าใจแจ่มแจ้งแล้วว่า การปฏิบัติที่ท่านกำลังบำเพ็ญอยู่ มิได้อยู่แยกไปจากจิตของท่านเลย ถ้าจิตของท่านบริสุทธิ์ พุทธภูมิทั้งสิ้นก็บริสุทธิ์ไปด้วย

พระสูตรกล่าวว่า “ ถ้าจิตของเขาสกปรก สัตว์ทั้งหลายก็สกปรกด้วย ถ้าจิตของเขาสะอาด สรรพสัตว์ก็สะอาดด้วย ” และ “ การบรรลุถึงพุทธภูมิได้ ต้องชำระจิตของท่านให้สะอาด เมื่อจิตของท่านบริสุทธิ์ พุทธภูมิก็บริสุทธิ์ด้วย ”

ดังนั้น เมื่อเอาชนะกิเลสทั้งสาม ที่ครอบงำจิตใจได้ ศีลสามข้อ (ปฏิญญาสาม ) ก็สมบูรณ์โดยอัตโนมัติ

เชิงอรรถบทที่ 4 หมายเลข 11* - 13*
11* ยุคสุดท้าย อายุพระพุทธศาสนายุคแรกตั้งอยู่ 500 ปี หลังจากเข้าใจคำสอนที่ถูกต้องแล้วก็เริ่มเสื่อมลง ยุคที่ 2 ตั้งอยู่ 1,000 ปี ในขณะที่เข้าใจในหลักคำสอน ความเสื่อมก็เริ่มดำเนินมาเรื่อย ๆ ในยุคที่ 3 และเป็นยุคสุดท้าย เป็นช่วงที่ไม่แน่นอน สติปัญญาที่จะเข้าใจคำสอน หมดไป พระพุทธศาสนาก็จะหมดไปในที่สุด ในคัมภีร์อื่น ๆ ได้กำหนดยุคละ 500 ปี

12* ศีล 5 สำหรับพุทธศาสนิกชนทั่วไป ศีล 8 สำหรับอุบาสก อุบาสิกา และศีล 10 สำหรับภิกษุสามเณรและแม่ชี ประเภทแรกคือศีล 5 นั้น เป็นคำสั่งให้งดเว้นจากการฆ่าสัตว์ ลักขโมย ผิดประเวณี กล่าวเท็จ และเสพของมึนเมาทุกประเภท จากศีล 5 ข้อนี้ ถ้าเพิ่มอีก 3 ข้อ ก็เป็น ศีล 8 คือเพิ่มข้อห้ามที่ไม่ให้ประดับตกแต่งตน ( ด้วยมาลา , รัตนะและน้ำอบน้ำหอมต่าง ๆ ) ห้ามเห็นแก่ความสะดวกสบายเกินไปในส่วนเกี่ยวกับกาย (คือใช้ที่นอนอันอ่อนนุ่ม) และห้ามไม่ให้บริโภคมากเกินไป (งดการฉันในเวลาหลังเที่ยง ) จากศีล 8 ข้อนี้ถ้าเพิ่มอีก 2 ข้อก็เป็นศีล 10 คือ ไม่ให้ยินดีในการดูมหรสพต่าง ๆ และไม่ให้ยินดีในความเป็นเจ้าของทรัพย์สมบัติ

13* ปารมิตาทั้ง 6 เหล่า เริ่มต้นด้วย ทาน ศีล ขันติ สัจจ์ และภาวนาเพื่อให้เกิดปัญญา ปารมิตานั้นอุปมาเหมือน เรือที่บรรทุกคนข้ามไปอีกฝั่งหนึ่ง ชาวพุทธมองทาน (Charity) เป็นเหมือนความว่างเปล่า เมื่อปราศจาก เรือก็ไม่อาจลอยตัวอยู่ได้ กล่าวคือ ศีลนั้นเป็นเสมือนโครงของเรือ ( กระดูกงูเรือ ) ขันติเป็นลำเรือ ( Devotion ) สัจจะเหมือนเสากระโดงเรือ สมาธิภาวนาเป็นใบกังหันของเรือและปัญญาเป็นหางเสือ




(ยังมีต่อค่ะ)

บันทึกการเข้า
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
Firefox 5.0 Firefox 5.0


ดูรายละเอียด
« ตอบ #4 เมื่อ: 18 สิงหาคม 2554 20:49:49 »




แต่พระสูตรกล่าวว่า “ ปารมิตา 6 คือ ทาน ,ศีล ,ขันติ ,จาคะ ,สมาธิและปัญญา บัดนี้ท่านกล่าวว่า ปารมิตา หมายถึง จิตบริสุทธิ์ ข้อนี้ท่านหมายความว่าอย่างไร แล้วทำไมท่านจึงเรียกว่า เรือข้ามฟากเล่า ? ”

การสั่งสมอบรมบารมีธรรมทั้ง 6 หมายถึง การชำระอายตนะทั้ง 6 ให้บริสุทธิ์ โดยการเอาชนะโจรทั้ง 6 คือ

1. สลัดโจรทางตาออกไปด้วยการสลัดทิ้งซึ่งโลกธรรมทั้งหลาย * (* ลาภ ยศ สรรเสริญ สุข เสื่อมลาภ เสื่อมยศ นินทา ทุกข์ หรืออีกนัยหนึ่งคือ การสลัดละความสนุกสนานในการดูการเห็น ในเรื่องโลกียวิสัยทั้งหลาย…. ผู้แปลไทย )
2. การกำจัดโจรทางหู ด้วยการไม่ยินดียินร้าย ในเสียงทั้งหลายทั้งปวง ( คือไม่ฟังเสียง ) เป็นการรักษาศีล
3. บังคับโจรทางจมูกให้อ่อนเชื่องลง โดยการวางจิตเป็นอุเบกขา (ไม่ยินดียินร้าย) ในกลิ่นทั้งหลาย เรียกว่ามีความอดทน ( ขันติ )
4. ควบคุมโจรทางปาก โดยการเอาชนะความกระหายอยากในรสทั้งหลาย ไม่กระหายอยากในเสียงสรรเสริญเยินยอ ไม่กระหายในการพูดคุย นี่คือ จาคธรรม
5. การปราบปรามโจรทางกาย โดยการดำรงจิตไม่ให้หวั่นไหวไปกับเวทนาทางกายสัมผัส เรียกว่าการบำเพ็ญสมาธิ
6. การทำโจรทางจิตให้อ่อนเชื่องโดยการไม่ยอมแพ้ต่อความหลง คือโมหะ แต่การเจริญสติอยู่เสมอ เรียกว่า บำเพ็ญปัญญา

การบำเพ็ญบารมีทั้ง 6 นี้ จึงเป็นเสมือนการสร้างพาหนะ สำหรับขนส่ง เหมือนเรือหรือแพ เมื่อได้เป็นพาหนะที่จะขนส่งไปสู่อีกฝั่งหนึ่ง ดังนั้น บารมีธรรม ทั้ง 6 นี้ จึงถูกเรียกว่า “ เรือข้ามฟาก

เมื่อคราวที่พระศากยมุนีบำเพ็ญตนเป็นพระโพธิสัตว์ ท่านได้ดื่มนมสามถ้วยและข้าวต้มหกทัพพี 14* ก่อนหน้าการบรรลุธรรม ถ้าท่านต้องดื่มนมก่อนที่ท่านจะได้ชิมรสแห่งพุทธภาวะ เพียงแต่เฝ้าดูจิตเท่านั้น จะมีผลให้เกิดการหลุดพ้นได้อย่างไร ?

สิ่งที่ท่านพูดนั้นก็จริง,ความที่ว่าท่านบรรลุได้อย่างไรนั้น ท่านต้องได้ดื่มนมก่อนที่จะเป็นพุทธะได้ แต่นมมี 2 ชนิด ชนิดที่พระศากยมุนีดื่มนั้น คงเป็นนมที่ไม่ใช่นมธรรมดา ๆ แต่เป็นนมแห่งธรรมอันบริสุทธิ์ (วิสุทธิธรรม) ที่ว่านมสามถ้วยนั้นคือ ศีล 3 ข้อ หรือปฏิญญา 3 ประการ และข้าวต้ม 6 ทัพพี หมายถึง ปารมิตา 6 ประการ เมื่อพระศากยมุนีบรรลุพระโพธิญาณ เพราะพระองค์ได้ดื่มนมแห่งวิสุทธิธรรม ซึ่งพระองค์ชิมรสผลของพุทธภาวะนั้นเอง

การที่พูดว่า พระตถาคตได้ดื่มนมอันไม่สะอาดแบบโลก ๆ อันเป็นนมที่มีกลิ่นคาวนั้น เป็นการดูหมิ่นพระองค์อย่างสูง ความจริงที่กล่าวเช่นนั้น ท่านหมายถึง อมฤตธรรมเป็นธรรมอันปราศจากกิเลสตัณหา ดำรงไว้ซึ่งความปลอดภัยจากความทุกข์ของโลกตลอดกาล

ทำไมต้องนำนมอันไม่สะอาด มาสร้างความพอใจแก่คนหิวกระหายด้วยเล่า ?

พระสูตรกล่าวว่า “ โคตัวนี้ ไม่ได้อาศัยอยู่ในดินแดนที่สูงหรือต่ำ มันไม่กินหญ้าหรือฟาง และไม่ใช่หญ้ากับโค และร่างของโคตัวนี้มีสีสุกใสเปล่งปลั่งเหมือนทองคำขัดเงา โคตัวนี้คือ พระไวโรจนพุทธะ ” 15* หมายถึงพระมหากรุณาธิคุณที่มีต่อสรรพสัตว์ ซึ่งเกิดจากธรรมกายอันบริสุทธิ์ของพระองค์

น้ำนมแห่งอริยมรรคของศีล 3 ข้อ และปารมิตา 6 ข้อ เพื่อบำรุงกำลังใจ แก่บุคคลผู้แสวงหาความหลุดพ้น น้ำนมอันบริสุทธิ์เกิดจากโคเช่นนั้น ไม่เพียงแต่ทำให้พระตถาคตบรรลุพุทธภาวะเท่านั้น แต่สามารถทำให้ใครก็ตามที่ดื่มแล้วย่อมบรรลุธรรมอันเลิศคือสัมมาสัมโพธิญาณได้ทั้งนั้น

ตลอดทั้งสูตร พระพุทธเจ้าทรงตรัสบอกปุถุชนทั้งหลายว่า พวกเขาสามารถบรรลุธรรมได้ ด้วยการประกอบกรรมที่เป็นกุศลต่าง ๆ เช่น การสร้างวัด , การหล่อพระพุทธรูป , การจุดธูป (กำยาน) บูชา , การโปรยข้าวตอกดอกไม้บูชา , การจุดประทีปตลอดเวลา , การปฏิบัติกิจวัตร 6 ระยะ ทั้งกลางวันและกลางคืน, 16* การเวียนเทียนรอบพระสถูป 17* เจดีย์ ,การสมาทานอดอาหารและการกราบไหว้บูชา แต่ถ้าการเฝ้าดูจิตได้รวมกิจวัตรต่าง ๆ เหล่านี้ไว้ ด้วยดูเหมือนว่ากิจกรรมเหล่านี้จะเป็นเรื่องมากเกินความจำเป็น

พระสูตรของพระองค์นั้น ได้บรรจุปริศนาธรรม คำอุปมาเอาไว้มากมาย เพราะปุถุชนทั้งหลายมีจิตใจตื้น ( คิดตื้น ) จึงไม่เข้าใจอะไรได้ลึกซึ้ง พระพุทธเจ้าทรงใช้รูปธรรม เพื่อแสดงนัยแห่งนามธรรม * (* ใช้บุคลาธิษฐาน เพื่อแสดงธรรมมาธิษฐาน.... ผู้แปลไทย ) บุคคลผู้แสวงหาความสงบสุข โดยอาศัยการพิจารณาไปกับงานภายนอก แทนที่จะฝึกฝนอบรมในใจ มันจึงเป็นความพยายาม ที่สูญเปล่า

สิ่งที่ท่านเรียกว่า “วัด” เราเรียกว่า “ สังฆาราม ” หมายถึง สถานที่ปฏิบัติธรรมชำระจิต แต่ใครก็ตามป้องกันการเข้าไปของกิเลสทั้งสามกอง และระวังรักษาประตูคืออายตนะของตนให้บริสุทธิ์ ทั้งกายและใจสงบ และยังสะอาดทั้งภายในและภายนอก ชื่อว่าเป็นผู้สร้างวัด ๆ หนึ่งทีเดียว

การก่อพระเจดีย์ หมายถึงว่า บุคคลผู้แสวงหาการหลุดพ้น ต้องสามารถฝึกฝนตนเองในข้อวัตรปฏิบัติได้ทุกอย่าง อริยมรรคของพระตถาคต ไม่สมควรจะตีความหมายเป็นวัตถุภายนอก บุคคลผู้แสวงหาโมกขธรรม ถือว่ารูปกายของเขานั้นเป็นเสมือนเตาหลอม , ธรรมะเป็นเสมือนไฟ ,ปัญญาเป็นเสมือนช่างผู้ชำนาญ และศีลทั้งสามข้อและปารมิตาทั้งหกข้อเป็นเสมือนแบบพิมพ์

พิมพ์เหล่านี้ ทำหน้าที่หล่อหลอมแล้ว นำมาขัดเกลาตกแต่งให้ธรรมชาติแห่งพุทธะที่แท้จริงปรากฏกายขึ้นในตนเอง และเทลงไปในแบบที่ตกแต่งด้วยระเบียบวินัยและวัตรปฏิบัติต่าง ๆ ปฏิบัติให้ครบถ้วนตามคำสอนของพระพุทธเจ้า พวกเขาก็สามารถสร้างภาพเหมือนที่ครบถ้วนได้โดยธรรมชาติ กายอมตะและประเสริฐ ( อริยรูป ) ย่อมไม่เป็นที่ตั้งแห่งความเปลี่ยนแปลงและเสื่อมเสีย ถ้าแสวงหาสัจจธรรม แต่ไม่เรียนรู้วิธีสร้างภาพที่เหมือนจริง ( พุทธรูป ) ท่านจะได้รับประโยชน์อะไรเล่า ?

เชิงอรรถบทที่ 4 หมายเลข 14* - 17*
14* หลังจากที่ได้ทรงอุทิศตนเป็นนักบวช ออกแสวงหาการปฏิบัติเป็นเวลาหลายปี โดยที่ไม่ได้รับผลสำเร็จ พระศากยมุนี ก็ทรงเลิกการบำเพ็ญทุกรกิริยาของพระองค์ แล้วหันมาบริโภคข้าวมธุปายาส (ข้าวต้มใส่น้ำนม ) ซึ่งนางนันทผลาลูกสาวของหัวหน้าคนเลี้ยงวัวนำมาถวาย เมื่อทรงเสวยแล้วก็ได้นั่งประทับอยู่ใต้ต้นไม้ต้นหนึ่ง แล้วตั้งจิตอธิษฐานว่า จะไม่ยอมลุกจากที่นี้ จนกว่าจะได้ตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมโพธิญาณ

15* ได้แก่ พระสุริยพุทธะผู้ยิ่งใหญ่ ซึ่งเป็นธรรมกายหรือกายแท้ของพระพุทธเจ้า ดังนั้นไวยโรจนะ จึงหมายถึง รูปลักษณ์ส่วนกลางที่อยู่ในวิหารของพระศากยมุนี พุทธะทั้ง 5 พระองค์ ซึ่งประกอบไปด้วย พระอกโภยะแห่งทิศตะวันออก , พระรัตนสัมภยะแห่งทิศใต้ , พระอมิตาภะ แห่งทิศตะวันตก , และพระอโมคสิทธิแห่งทิศเหนือ

16* ได้แก่ยามเช้า เที่ยง บ่าย เย็น เที่ยงคืนและใกล้รุ่ง

17* สถูปเป็นลักษณะดินรูปโอ่งคว่ำ หรือสิ่งก่อสร้างขึ้นมาครอบพระธาตุต่าง ๆ เป็นต้นว่า พระบรมสารีริกธาตุหรือพระคัมภีร์ของพระพุทธเจ้า การเดินเวียนรอบสถูปนั้นต้องเดินเวียนขวา (ปทักษิณ) คือ ไหล่ขวาจะต้องหันเข้าหาสถูปเสมอ 8 สิ่งเหล่านี้เป็นลักษณะแห่งคุณสมบัติทั้ง 5 ประการของร่างกายพระพุทธเจ้า



pic by : Bowie
:http://www.ladysquare.com/forum_posts.asp?TID=40366&PN=7&title=swiss

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 19 สิงหาคม 2554 17:54:20 โดย เงาฝัน » บันทึกการเข้า
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
Firefox 5.0 Firefox 5.0


ดูรายละเอียด
« ตอบ #5 เมื่อ: 19 สิงหาคม 2554 17:48:39 »




การจุดธูปบูชา ( เผากำยาน ) ไม่ได้หมายถึง การจุดธูปที่เป็นวัตถุธรรมดา แต่เป็นธูปแห่งธรรมที่ไม่อาจสัมผัสได้ ซึ่งขับไล่เอากิเลส , อวิชชา และกรรมต่าง ๆ ออกไปด้วยกลิ่นหอมของธูปนั้น ธูปที่ว่านั้นมี 5 ชนิดคือ..

ธูปดอกที่หนึ่ง หมายถึง ศีล คือการเลิกละความชั่ว และสร้างสมความดี
ธูปดอกที่สอง หมายถึง สมาธิ คือมีความเชื่อมั่นอย่างมั่นคงในมหายานและมีความตั้งใจอันไม่หวั่นไหว
ธูปดอกที่สาม หมายถึง ปัญญา คือการเพ่งพิจารณากายและใจทั้งภายในและภายนอก
ธูปดอกที่สี่ หมายถึง วิมุติ คือการตัดบ่วงหรือเครื่องผูกของอวิชชาให้ขาด
ธูปดอกที่ห้า หมายถึง ญาณปัญญา คือ มีความรู้สึกตัวทั่วพร้อมอยู่ตลอดเวลา ไม่มีอะไรขัดข้องในทุกหนทุกแห่ง

ธูป 5 ชนิดนี้ เป็นธูปที่มีคุณค่ามากที่สุดและสูงส่งกว่าธูปใด ๆ ที่จะพึงให้กันในโลก เมื่อพระพุทธองค์อุบัติขึ้นในโลก พระองค์ทรงตรัสบอกให้สาวกทั้งหลาย จุดธูปอันมีค่าเช่นนั้น ด้วยไฟแห่งสติสัมปชัญญะ อันเป็นการบูชาพระพุทธเจ้าทั้ง 10 ทิศ แต่สาธุชนคนทุกวันนี้ไม่เข้าใจความหมายอันแท้จริงของพระตถาคต พวกเขาใช้เปลวไฟธรรมดาจุดธูปหอมไม้จันทร์ หรือกำยาน แล้วสวดมนต์อ้อนวอน เพื่อขอโชคลาภซึ่งไม่เคยเกิดขึ้นตามขอจริง ๆ

การบูชาพระพุทธเจ้าที่ถูกต้อง สำหรับการโปรยข้าวตอกดอกไม้ ก็เป็นการยึดถือสัจจะ เช่นกัน ปริศนาธรรมนี้ หมายถึง การแสดงธรรมเป็นการโปรยดอกไม้คุณธรรมเพื่อเป็นประโยชน์ต่อผู้อื่นและเชิดชูบูชาธรรมกาย

ดอกไม้คุณธรรมเหล่านี้ เป็นสิ่งที่พระพุทธเจ้าทรงยกย่องบูชา ดอกไม้คุณธรรมนี้จะสถิตย์อยู่ชั่วนิรันด์ ไม่รู้จักร่วงโรย ใครก็ตามที่โปรยดอกไม้ เช่นนี้ย่อมได้รับพรอันหาที่สุดไม่ได้ ถ้าท่านระลึกถึงพระตถาคตแล้ว ใช้ให้คนไปทำลายต้นไม้โดยการเด็ดดอกของมัน เพื่อการบูชา ท่านก็ผิด

บุคคลผู้สมาทานรักษาศีล ย่อมไม่เบียดเบียนสิ่งมีชีวิตทุกรูปแบบ ให้ได้รับ บาดเจ็บไม่ว่าในสวรรค์หรือมนุษย์ ถ้าท่านทำสิ่งใดให้เจ็บปวด เพราะเข้าใจผิด ท่านต้องได้รับทุกข์จากสิ่งนั้น

“ แต่ผู้ใดที่ละเมิดศีลโดยเจตนา ด้วยการทำสิ่งมีชีวิตให้ได้รับความเจ็บปวดเพื่อเห็นแก่โชคลาภของตน น่าจะเป็นทุกข์มากกว่า พวกเขาจะปล่อยให้สิ่งที่เป็นพรกลายมาเป็นสิ่งโศกเศร้าได้อย่างไร ? ”

ประทีปที่ติดไว้ตลอดเวลา * (* ในศาลเจ้าหรือสถานธรรมทั่วไป เราจะพบเขาจุดประทีปไว้ตลอดวันตลอดคืน ….ผู้แปลไทย ) หมายถึง ความสมบูรณ์ของสติสัมปชัญญะ ความสว่างแจ่มใสแห่งความรู้สึกตัวทั่วพร้อม อุปมาเหมือนแสงประทีปโคมไฟที่ส่องสว่างอยู่ตลอดเวลา บุคคลผู้แสวงหาความหลุดพ้นย่อมเห็นกายนี้เหมือนตะเกียงน้ำมัน ใจของเราเหมือนไส้ตะเกียง การเคร่งครัดต่อระเบียบวินัยเหมือนน้ำมันตะเกียง และพลังแห่งปัญญาเป็นเหมือนเปลวไฟ เมื่อจุดตะเกียงสติสัมปชัญญะที่สมบูรณ์ให้ความสว่างไสว มันย่อมขจัดความมืด และโมหะออกไป

และเมื่อถ่ายทอดธรรมะนี้ให้แก่ผู้อื่น พวกเขาก็สามารถใช้ตะเกียงดวงหนึ่งจุดตะเกียงดวงอื่น ๆ ได้อีกเป็นพัน ๆ ดวง เช่นเดียวกันประทีปเหล่านี้ที่จุดไปยังประทีปดวงอื่น ๆ อีกนับไม่ได้ แสงแห่งประทีปย่อมสว่างไสวเป็นนิรันด์กาล

นานมาแล้ว มีพระพุทธเจ้าพระนามว่าทีปังกร 18* หรือโคมไฟ (ตะเกียง) นี่เป็นความหมายของชื่อของพระองค์ แต่คนเขลาไม่เข้าใจในอุปมา ปริศนาธรรมของพระตถาคต การถือมั่นด้วยความหลง และยึดติดกับสิ่ง ที่เป็นอัตตาตัวตน

พวกเขากลับไปจุด
ตะเกียงที่เต็มไปด้วยน้ำมันพืชทุก ๆ วัน และคิดว่าด้วยแสงสว่างที่เขาจุดไว้ในสถานธรรมนั้น
พวกเขาไม่ได้ปฏิบัติตนตามคำสอนของพระพุทธเจ้า ช่างโง่เสียนี่กระไร ?

แสงสว่างที่พระพุทธองค์ทรงเปล่งรัศมีออกมาจากพระอุณาโลม 19* ซึ่งอยู่ระหว่างคิ้วทั้งสอง สามารถเปล่งรัศมีออกไปทั่วโลก แสงจากตะเกียงน้ำมันก็ไม่ได้ช่วยอะไร หรือท่านคิดอย่างไร ?

การปฏิบัติ 6 ระยะตลอดทั้งวันทั้งคืน หมายถึง การบำเพ็ญโพธิญาณในระหว่างสัมผัสทั้ง 6 นี่คือความหมายการปฏิบัติตลอด 6 ระยะ

สำหรับการเวียนเทียนรอบสถูปเจดีย์ หมายความว่า “ สถูป” คือ กายและจิตของท่าน ( รูปและนาม ) เมื่อความรู้สึกตัวทั่วพร้อมของท่านหมุนรอบกายรอบใจของท่านโดยไม่ขาดสาย นี่เรียกว่า การเดินเวียนรอบสถูป ผู้รู้ในอดีตกาลได้ปฏิบัติตามทางสายนี้ แต่คนปัจจุบันไม่เข้าใจว่าการทำเช่นนี้หมายความว่าอย่างไร” แทนที่จะกลับไปเฝ้าดูภายใน พวกเขากลับยืนกรานเฝ้าแต่มองข้างนอก คือ ใช้รูปกายของตนเดินรอบพระสถูปภายนอกและพวกเขาทำอยู่เช่นนั้น ทั้งวันทั้งคืน ทนทำในสิ่งไร้สาระและไม่มีโอกาสได้สัมผัสกายแท้ ( ธรรมกาย ) ของตนเองอย่างใกล้ชิดเลย

การอดอาหาร ถือเป็นสัจจะอีกแบบหนึ่ง ซึ่งเป็นเรื่องไร้ประโยชน์เว้นแต่ว่าท่านจะเข้าใจความหมายอันแท้จริงของการกระทำ การอดอาหารหมายถึง การจัดระเบียบคือจัดระเบียบกายและใจของท่าน เพื่อไม่ให้ถูกกิเลสบีบคั้นหรือรบกวน และการสมาทานปฏิบัติ หมายถึง การสนับสนุนส่งเสริมระเบียบวินัยที่สอดคล้องตามธรรมะ

การอดอาหารหมายถึง การระวังป้องกันความเพลิดเพลินที่เข้ามา จากอายตนะภายนอกหก20* และกิเลสทั้งสามกองภายใน และเพียรพยายามพินิจพิจารณาเพื่อชำระกาย – ใจ ของตนให้บริสุทธิ์

การอดอาหารรวมถึงอาหาร 5 ชนิดด้วย คือ
1. ธัมมฉันทะ คือ ความพึงพอใจที่เกิดจากการกระทำที่สอดคล้องกับธรรมะ
2. ความผสมกลมกลืนกับการทำสมาธิ หมายถึง ความกลมกลืนของกายและจิต จากการเห็น ที่ผ่านมาทางรูปและนาม
3. การอ้อนวอน คือ การอ้อนวอนขอร้องพระพุทธเจ้า ด้วยการขอร้องด้วยปากที่ตรงกับใจ
4. ความตั้งใจ คือตั้งใจที่จะปฏิบัติตามกุศลธรรม ไม่ว่าจะอยู่ใน การยืน เดิน นั่ง หรือนอน
5. วิมุตติ คือ ทำให้จิตของท่านหลุดพ้นจากความสกปรกของโลกียวิสัย


อาหารทั้ง 5 ประการนี้ไม่ต้องอด ยกเว้นบุคคลที่กินอาหารอันบริสุทธิ์ 5 ประการนี้แล้ว เขาคิดผิดที่ว่าเขาอดอาหาร

เชิงอรรถบทที่ 4 หมายเลข 18* - 20*
18* พระศากยมุนีได้พบพระพุทธเจ้าทีปังกร ในปลายอสงไขย กัลป์ที่ 2 และได้ถวายดอกบัวบูชาพระองค์ 5 ดอก แล้วพระพุทธเจ้าทีปังกรได้ทรงพยากรณ์พระศากยมุนีไว้ว่า จะได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าในอนาคต พระพุทธเจ้าทีปังกรนั้นปรากฏพระองค์เมื่อไรก็ตาม, พระพุทธเจ้าทรงแสดงธรรม ชื่อ ปุณฑริกสูตร เมื่อนั้น

19* เป็นลักษณะแห่งมหาบุรุษอย่างหนึ่งใน 32 ประการ ซึ่งมีลักษณะเป็นวงอยู่ระหว่างคิ้วทั้งสอง เป็นที่แผ่รังสีของพระพุทธเจ้า (อุณาโลม)

20* หมายถึง ความรู้สึกที่ดึงดูดหรือวิญญาณ 6 ประการ เป็นเครื่องเข้าไปยึดมั่นถือมั่นด้วยอุปาทาน



บันทึกการเข้า
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
Firefox 6.0 Firefox 6.0


ดูรายละเอียด
« ตอบ #6 เมื่อ: 23 สิงหาคม 2554 14:57:37 »




ขณะเดียวกัน ท่านต้องหยุดกินอาหารด้วยโมหะ ( ความหลง ) ด้วย ถ้าท่านแตะต้องอาหารอีก ( ขณะทำการอดอาหาร ) ท่านก็ละเมิดการอดอาหารของท่าน และเมื่อใดท่านละเมิด ท่านก็มิได้รับอานิสงส์จากการอดอาหารนั้น

โลกนี้เต็มไปด้วยคนหลงที่ไม่รู้จักเรื่องนี้ พวกเขาทำกายและใจของเขาให้หลงเพลินในลีลาแห่งความชั่วทุกอย่าง และทอดสะพานให้แก่ตัณหาราคะของตน และไม่มียางอาย ( หิริ – โอตตัปปะ ) และเมื่อพวกเขาหยุดกินอาหารธรรมดา พวกเขาเรียกสิ่งนี้ว่า “ การอดอาหาร ” ช่างงี่เง่าเสียนี่กระไร

มันก็เหมือนกับการบูชา ท่านต้องเข้าใจความหมายและรู้จัก ดัดแปลงเงื่อนไข ความหมายนั้นรวมถึงการกระทำและไม่กระทำด้วย ใครก็ตามถ้าเข้าใจเรื่องนี้ดีชื่อว่าปฏิบัติตามธรรมะ

การบูชา หมายถึง การแสดงความเคารพ รู้จักอ่อนน้อมถ่อมตน หมายถึง
การเคารพสัจจธรรมในตัวของท่านและทำให้โมหะอ่อนตัวลง ถ้าสามารถขจัดปัดเป่าตัณหาลามกออกไป และพึ่งพากุศลจิต ( ความดี ) แม้ไม่มีการแสดงอาการใด ๆ ออกมาว่าเป็นการบูชาก็ตาม รูปแบบการบูชาเช่นนี้ เป็นรูปแบบที่ถูกต้อง

พระพุทธองค์ ต้องการให้ปุถุชนระลึกถึงการบูชา อันเป็นการแสดงออกทางจิตที่มีความอ่อนน้อมถ่อมตน และอ่อนโยนต่อทุกสิ่ง ดังนั้น พระองค์จึงตรัสให้ปุถุชนทั้งหลายรู้จักหมอบราบกราบกราน เพื่อแสดงออกซึ่งความเคารพของเขา ให้มีการแสดงออกทั้งภายนอกและภายใน เพื่อมีความสอดคล้องกลมกลืนกันทั้งแก่นสารและรูปแบบ ( เนื้อหาและรูปแบบ ) บุคคลที่ไม่เข้าใจความหมายภายใน และมุ่งที่แสดงออกแต่อาการภายนอกแทน ไม่เคยหยุดยั้งความหลงเพลิดเพลินในอวิชชา ความเกลียดชัง และความชั่วได้เลย

ขณะที่ทำตนเองให้อ่อนน้อมจนอ่อนเพลีย ก็ไม่ได้รับประโยชน์อานิสงส์อะไรเลย เขาสามารถหลอกลวงผู้อื่นด้วยลีลาท่าทาง คือ ต่อหน้าบัณฑิตก็ยังขาด หิริ – โอตตัปปะ ต่อหน้าปุถุชนก็แสดงอาการ เหลวไหลไร้สาระ แต่พวกเขาก็หลีกไม่พ้นจากวัฏฏทุกข์ ได้รับบุญกุศลจากการทำเช่นนั้นเพียงน้อยนิดเหลือเกิน

ห้องน้ำ (อุทกฆรสูตร*22) ในพระสูตรกล่าวว่า “ ด้วยการสนับสนุนการสรงน้ำพระ ประชาชนย่อมได้รับพรอย่างมากมาย ” เรื่องจะปรากฏเป็นตัวอย่าง การปฏิบัติภายนอกที่ทำให้ได้บุญ และเรื่องนี้ก็ไม่เห็นเกี่ยวข้องกับการเฝ้าดูใจได้อย่างไร? * (* การสรงน้ำพระ เป็นประเพณีที่ทำติดต่อกันมาช้านาน โดยเฉพาะในเมืองไทย ทำกันมาจนชิน แต่ไม่มีใครคิดว่าทำเพื่ออะไร โดยเฉพาะทางภาคอีสาน ประเพณีสรงน้ำพระหลายรูปแบบ เช่น การเปลี่ยนผ้า , การรับยศ เลื่อนยศ , ประเพณีสงกรานต์ ฯลฯ จากหนังสือเล่มนี้ เราจะรู้ความหมายของการสรงน้ำเราทำกันอยู่นั้น หมายความว่าอย่างไร ….. ผู้แปลไทย )

ในที่นี้ การสรงน้ำพระไม่ได้หมายถึงการสรงน้ำภายนอกใด ๆ เลย สมัยเมื่อพระพุทธองค์ทรงแสดงอุทกฆรสูตร ( สูตรว่าด้วยเรื่องห้องน้ำ ) พระองค์ต้องการให้สาวกของพระองค์จดจำธรรมะ ว่าด้วย การชำระ (ขจัด ) ดังนั้นพระองค์จึงใช้กิจวัตรประจำวัน บรรจุความหมายอันแท้จริงของพระองค์ไว้ ซึ่งพระองค์ได้บันทึกไว้ ในการอธิบาย เรื่องการทำบุญจากการให้ทานวัตถุ 7 ประการ ในวัตถุ 7 ประการนั้นได้แก่

1. น้ำสะอาด
2. ไฟ , ประทีป
3. สบู่
4. ไม้สีฟัน
5. ขี้เถ้าสด
6. ยาขี้ผึ้ง
7. เครื่องนุ่งห่มภายใน


พระองค์ใช้วัตถุ 7 ประการนี้ เพื่อแสดงความหมายธรรม 7 ประการ อีกแบบหนึ่งเพื่อพัฒนาบุคคลเพื่อขจัดโมหะและสิ่งสกปรกออกจากใจที่ถูกมันห่อหุ้มอยู่

ปริศนาธรรมข้อแรก คือ ให้น้ำสะอาด ซึ่งหมายความว่า ให้รู้จักชำระส่วนเกินของชีวิตออกไป เสมือนน้ำสะอาดชำระความสกปรกของร่างกายออกไปฉันนั้น

ข้อที่ 2. ให้ไฟหรือประทีป หมายถึง ปัญญา ซึ่งรอบรู้อย่างแจ่มแจ้ง ซึ่งรูปธรรมนามธรรม เสมือนไฟที่ทำน้ำเย็นให้อุ่นได้

ข้อที่ 3. การให้สบู่ หมายถึง การรู้จักแบ่งแยกระหว่างของสะอาดและของสกปรก ซึ่งหมายถึงการปฏิบัติเพื่อเลิกละความชั่ว เสมือนสบู่ที่ใช้เพื่อขจัดความสกปรกออกไป

ข้อที่ 4. การให้ไม้สีฟัน หมายถึง ความซื่อสัตย์สุจริต ซึ่งสามารถชำระล้างมลทินต่าง ๆ อันเกิดจากความหลงได้ เสมือนไม้สีฟัน เมื่อเคี้ยวไม้สีฟันประจำ จะทำให้ลมหายใจสะอาด

ข้อที่ 5. การให้ขี้เถ้าสด หมายถึง อจลศรัทธา ( ความเชื่ออันไม่หวั่นไหว ) ซึ่งทำให้ขจัดความสงสัยทุกอย่างได้ เสมือนขี้เถ้าบริสุทธิ์ ใช้ทาร่างกายเพื่อป้องกันโรค * (* คนไทยชอบใช้ขมิ้นมากกว่าขี้เถ้า … ผู้แปลไทย )

ข้อที่ 6. การให้ยา – น้ำมันขี้ผึ้ง หมายถึง มีความอดทน (ขันติ ) ซึ่งสามารถจะเอาชนะความอวดดื้อถือดี และความหน้าด้านของตนเอง ได้เสมือนขี้ผึ้งซึ่งใช้นวดลำตัวให้หายปวดเมื่อยได้

ข้อที่ 7. การให้เครื่องนุ่งห่มภายใน หมายถึงให้มีหิริ – โอตตัปปะ(มียางอาย ) ซึ่งให้รู้จักแก้ไขความชั่วของตนเองอยู่เสมอ เหมือนเครื่องนุ่งห่มภายใน ใช้นุ่งห่มร่างกายเพื่อปกปิดส่วนที่น่าเกลียดน่าละอาย

ปริศนาธรรม 7 ประการนี้ เป็นความหมายที่ถูกต้องของพระสูตรซึ่งพระตถาคตเจ้าได้ตรัสบอกแก่สาวกแห่งมหายาน ให้มีสายตายาวไกล ไม่เป็นคนใจแคบด้วยทัศนะมืดมน เรื่องนี้จึงไม่ใช่เรื่องแปลกที่คนทุกวันนี้ทำด้วยความไม่เข้าใจ ( ความหมายที่แท้จริง )

ห้องน้ำ หมายถึง ร่างกาย เมื่อท่านจุดไฟแห่งปัญญานั้นแล้ว อุ่นน้ำสะอาดแห่งศีลและอาบด้วยน้ำ คือ พุทธภาวะอันแท้จริงในตัวคุณ

ด้วยการส่งเสริมข้อวัตรปฏิบัติ 7 ประการนี้ ท่านก็จะเพิ่มพูนบุญกุศลของท่านได้มากขึ้น พระในยุคนั้นมีความเข้าใจเช่นนี้ ท่านจึงเข้าใจความหมายคำสอนของพระพุทธเจ้าได้ ท่านเหล่านั้นดำเนินตามคำสอนของพระพุทธองค์ ทำให้กุศลธรรมของท่านเต็มบริบูรณ์ได้ และได้ลิ้มรสแห่งพุทธภาวะ

แต่สาธุชนปัจจุบันไม่สามารถหยั่งรู้ถึงความจริงเหล่านี้
พวกเขาสรงน้ำธรรมดา ๆ เพื่อชำระร่างกายและคิดว่าตนเองได้ปฏิบัติตามพระสูตรแต่ความจริงแล้วพวกเขาเข้าใจผิด

พุทธภาวะอันแท้จริงของเรา ไม่มีรูปลักษณ์และมลทินแห่งความทุกข์ยากลำบาก ก็ถ้าไม่มีรูปแล้ว บุคคลจะใช้น้ำธรรมดาชำระนามรูปได้อย่างไร มันทำไม่ได้ เมื่อไรเขาจึงจะตื่นตัว ?

การชำระภายในเช่นนี้ ท่านต้องเฝ้าดูมัน เมื่อใดกิเลสและอาสวะเกิดขึ้นจากตัณหา ท่านต้องเพิ่มการเฝ้าดูมากขึ้น จนให้สามารถควบคุมตนเองได้ทั้งภายในและภายนอก, แต่ถ้าท่านพยายามชำระร่างกายนี้ ท่านจะต้องขัดถูมันจนกว่าจะหมด มันถึงจะสะอาด จากการอาบนี้ ท่านต้องเข้าใจว่าการอาบน้ำเพื่อชำระสิ่งสกปรกภายนอก ไม่ใช่สิ่งที่พระพุทธเจ้าทรงสอน



บันทึกการเข้า
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
Firefox 6.0 Firefox 6.0


ดูรายละเอียด
« ตอบ #7 เมื่อ: 23 สิงหาคม 2554 15:02:27 »




พระสูตรกล่าวว่า “ คนที่อ้อนวอนขอร้องพระพุทธเจ้า จนหมดหัวใจเพื่อความแน่ใจที่จะได้ไปเกิดในสวรรค์ทิศตะวันตก *24 เพราะประตูสวรรค์นี้จะนำไปสู่พุทธภาวะ จะแสวงหาการหลุดพ้นด้วยการเฝ้าดูจิตไปทำไม? ”

ถ้าท่านกำลังอ้อนวอนพระพุทธเจ้า ท่านต้องทำสิ่งนี้ให้ถูก ถ้าท่านเข้าใจความหมายของการอ้อนวอนไม่ถูกต้องแล้ว ท่านก็จะผิด ถ้าท่านทำสิ่งนี้ผิด ท่านก็ยังไม่ได้ก้าวหน้าไปไหนเลย

พระพุทธเจ้า หมายถึง ความรู้สึกตัวทั่วพร้อม ความรู้สึกทั้งกายและใจนี่เอง จะช่วยป้องกันความชั่วไม่ให้เกิดขึ้นต่อไป และการอ้อนวอน หมายถึง การเรียกร้องหาจิตใจ การเรียกร้องหาจิตใจตลอดเวลา เป็นระเบียบวินัย ( ธรรมวินัย ) ที่ท่านสามารถปฏิบัติตามได้ด้วยความสามารถทั้งหมดของท่าน นี่เป็นความหมายที่แท้จริงของการอ้อนวอน การอ้อนวอนขอร้องต่อพระพุทธเจ้า ไม่ใช่อ้อนวอนด้วยความคิดและคำพูด

ถ้าท่านใช้ไซจับปลา (ไซดักปลา) เมื่อท่านจับได้สำเร็จ ท่านอาจลืมไซได้ ถ้าท่านใช้ภาษาเพื่อความหมาย ถ้าท่านพบความหมายแล้ว ท่านก็ลืมภาษาได้เช่นกัน

การขอร้องอ้อนวอน ด้วยการออกพระนามของพระพุทธเจ้า ท่านต้องเข้าใจธรรมะสำหรับการอ้อนวอนด้วย

ถ้าท่านไม่เอาใจใส่ในการกระทำนั้นได้ ปากของท่านก็สวดมนต์ไป ด้วยพระนามอันว่างเปล่า *21 (* การสวดมนต์ เป็นการอ้อนวอนแบบหนึ่ง แต่ถ้าไม่แปล ไม่เข้าใจความหมาย ก็ไร้ประโยชน์ เหนื่อยเปล่าเช่นกัน … ผู้แปลไทย )

ตราบใดที่ท่านยังได้รับความทุกข์ยากลำบาก เพราะกิเลสหรือความคิดของตนเองอยู่ จิตอันมืดมนของท่านก็จะบดบังการเห็นพระพุทธเจ้าของท่าน และความพยายามของท่านก็ทำให้เสียเวลาเปล่า การสวดมนต์และการอ้อนวอน เป็นโลกที่แยกตัวออกไป * (* กิจกรรม ที่แยกจากสังคม …. ผู้แปลไทย)

การสวดมนต์สำเร็จด้วยปาก แต่การอ้อนวอนสำเร็จด้วยใจ เพราะการอ้อนวอนออกมาจากจิต เป็นการเคาะประตู เรียกว่า ความรู้สึกตัวทั่วพร้อม ( สติสัมปชัญญะ ) เท่านั้น การสวดมนต์มีศูนย์รวมอยู่ที่ปาก และปรากฏออกมาเป็นเสียง ถ้าท่านยึดติดปรากฏการณ์ขณะที่แสวงหาความหมายท่านก็จะไม่พบสิ่งใด

ดังนั้น นักปราชญ์ในอดีตจึงอบรมฝึกฝนการใคร่ครวญพิจารณา และไม่ใช้วาจา
จิตนี้เป็นแหล่งกำเนิดของกุศลธรรมทั้งปวง และจิตนี้ก็เป็นใหญ่กว่าอำนาจทั้งปวง ความสุขอันอมตะของพระนิพพาน เกิดจากจิตที่สงบ การเกิดใหม่ในภูมิทั้งสามก็มาจากจิตด้วย

จิตเป็นประตูเปิดไปสู่ทุก ๆโลกและเป็น
ท่าน้ำข้ามไปสู่ฝั่งตรงข้ามได้ บุคคลที่รู้จักว่าประตูอยู่ที่ไหนย่อมไม่กังวลที่จะเข้าไป คนที่รู้ว่าท่าน้ำอยู่ที่ไหนย่อมไม่กังวลที่จะข้ามไป

บุคคลที่ฉันพบทุกวันนี้ เป็นคนตื้นเขิน เขาคิดว่าบุญเป็นสิ่งที่มีตัวตน พวกเขาจึงใช้จ่ายทรัพย์ทำบุญอย่างฟุ่มเฟือย ฆ่าเนื้อเบื่อปลาทั้งบกและทะเล พวกเขามอมเมาตัวอย่างโง่ ๆ ด้วยการสร้างสถูปเจดีย์อย่างสูงส่ง บอกให้ประชาชนบริจาคไม้และอิฐ หิน ดิน ปูน ทาสีเขียวและน้ำเงิน ( เจดีย์ที่สร้างเสร็จ )

พวกเขาทำกายและใจให้ตึงเครียด ทำตนเองให้เจ็บป่วยและนำผู้อื่นไปผิดทางและเขาไม่รู้จัก หิริ – โอตตัปปะ อย่างเพียงพอแล้วพวกเขาจะบรรลุธรรมได้อย่างไร พวกเขาเข้าไปยึดติดกับสิ่งที่เห็นภายนอกอย่างเหนียวแน่น

ถ้าท่านพูดเรื่องอนัตตาให้เขาฟัง เขานั่งนิ่งและงงงัน ชอบแสดงความเมตตาเล็ก ๆ น้อย ๆ ต่อชาวโลก แต่มีความโลภลามกอยู่เบื้องหลัง เขายังใบ้บอดต่อมหันตทุกข์ที่กำลังมาถึง สาวกเช่นนั้นกำลังมอมเมาตนเองด้วยสิ่งไร้สาระ หันเหจากสัจจธรรมไปสู่ความจอมปลอม พวกเขาไม่ได้พูดอะไรนอกจากขอพร เพื่อให้พบความสุขในอนาคต

ถ้าท่านสามารถเพ่งพินิจแสงสว่างภายในใจของตนอยู่เสมอ ๆ แล้วจะเห็นแสงสว่างภายนอก ท่านจะขับไล่อสรพิษทั้ง 3 ( โลภะ โทสะ โมหะ ) และโจรทั้ง 6 ( อุปาทานในอายตนะ ทั้ง 6 ) ออกไปได้ทันทีและตลอดไป กุศลธรรมและบารมีธรรมอันมากมายมหาศาลจะบังเกิดขึ้นแก่ท่าน และเป็นพาหนะนำไปสู่ประตูแห่งปรมัตถธรรมโดยไม่ต้องใช้ความพยายาม

การรู้แจ้งแทงตลอด โลกียธรรมและโลกุตตรธรรม จะอุบัติขึ้นรวดเร็วยิ่งกว่าการกระพริบตาเสียอีก การรู้แจ้งธรรมจะบังเกิดขึ้นแบบฉับพลันทันที ทำไมต้องกังวลจนผมหงอกด้วยเล่า ?
เมื่อประตูสัจจธรรมยังเปิดไม่ได้ ฉันก็เพียงแต่เฝ้าดูใจไปเรื่อย ๆ

               

เชิงอรรถบทที่ 4 หมายเลข 21* - 24*
21* เป็นคำแปลจากคำว่า ภควันต์ เป็นชื่อหนึ่งในสิบสอง ของพระพุทธเจ้า คำแปลในภาษาจีนได้ใช้คำใหม่แทน คือ World – honored one

22* แปลโดยฉีเก๋า ( Shih – kao ) ในกึ่งศตวรรษที่ 2 สูตรนี้โดยสังเขปกล่าวถึงอานิสงส์ของการสร้างที่อาบน้ำให้แก่พระภิกษุทั้งหลาย

23* เป็นหนึ่งในเครื่องนุ่งห่มประจำตัวของภิกษุทั้ง 3 ประเภท คือชุดภายในใส่เพื่อป้องกันตัณหา ผ้า 7 ชิ้นใส่เพื่อป้องกันความโกรธ และชุดที่มี 27 ชิ้นใส่ป้องกันโมหะ

24* เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า วิสุทธิภูมิ ซึ่งเป็นดินแดนแห่งพระอมิตาภะ ผู้เป็นหนึ่งในพระธยานีพุทธะทั้ง 5 พระองค์ และเป็นผู้ที่เกี่ยวข้อง กับชาวตะวันตกโดยตรง การอ้อนวอนต่อพระอามิตภะจนหมดหัวใจ เพื่อให้ความมั่นใจว่าผู้ที่อุทิศตนเช่นนั้นจะได้ไปเกิดใหม่ในดินแดนอันบริสุทธิ์ร่วมกับพระองค์ ซึ่งถือกันว่าอยู่ห่างไกลออกไปหลายล้านไมล์ แต่ก็ไม่ไกลจนเกินไปเสียเลยทีเดียว การไปเกิดใหม่ที่ดินแดนแห่งนั้นครั้งหนึ่ง ผู้อุทิศตนหรืออุบาสกอุบาสิกาแทบจะไม่มีปัญหาอะไรเลย ในการเข้าใจธรรมะและการบรรลุถึงความหลุดพ้นจากทุกข์ (วิมุตติ)


จบ


บันทึกการเข้า
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
Firefox 6.0 Firefox 6.0


ดูรายละเอียด
« ตอบ #8 เมื่อ: 23 สิงหาคม 2554 15:06:32 »




ในสรรพสิ่งทั้งหลายย่อมไม่มีอะไรที่จริงแท้ ดังนั้นเราควรเปลื้องตนออกเสียจากความคิดเห็น ถึงความจริงแท้แห่งวัตถุเหล่านั้น ใครที่เชื่อในความจริงแท้ของวัตถุ ย่อมถูกพันธนาการอยู่ด้วยความคิดเห็นเช่นนั้นซึ่งล้วนแต่เป็นสิ่งลวง ใครที่ตระหนักชัดถึงความจริงแท้ในตัวเขาเอง ย่อมรู้ว่า จิตที่แท้ต้องค้นหาต่างที่กับปรากฏการณ์ที่ผิด ถ้าจิตของใครถูกพันธนาการไว้ด้วยปรากฏการณ์ที่เป็นความลวงแล้ว จะไปหาความจริงแท้ได้ที่ไหน ในเมื่อปรากฏการณ์ทั้งหลายไม่ใช่ความจริงแท้

           

สัตว์ทั้งหลายย่อมเคลื่อนไหว วัตถุทั้งปวงย่อมหยุดนิ่ง ใครฝึกตนเองให้เป็นผู้ไร้ความเคลื่อนไหว ย่อมไม่ได้ประโยชน์อะไรนอกจากทำตนให้แน่นิ่งอย่างวัตถุ ถ้าท่านจะหาความสงบนิ่งที่ถูกแบบ ก็ควรเป็นความสงบนิ่งภายในการเคลื่อนไหว ความสงบนิ่ง ( เหมือนอย่างวัตถุ) ก็เป็นเพียงความสงบนิ่ง (ไม่ใช่ธฺยานะ)........”

สูตร ของเว่ยหล่าง
พุทธทาสภิกขุแปล



ถ้าผู้ใดมีความตั้งใจที่จะเข้าถึงโพธิญาณ
เขาจะปฏิบัติตามวิธีใดที่ดีที่สุด ? ”

วิธีที่ดีที่สุด ที่รวมเอาวิธีอื่นทุกวิธีเข้าด้วยกันได้ คือวิธีการเฝ้าดูจิต
“ แต่วิธีเดียวจะสามารถรวมวิธีอื่นทั้งหมดเข้ามาได้อย่างไร ? ”
( เพราะ ) จิตเป็นรากเหง้าแห่งความเจริญเติบโตของสิ่งทั้งปวง

           

ดังนั้น ถ้าท่านเข้าใจเรื่องจิต ทุกสิ่งก็รวมที่จิตหมด จิตเป็นเสมือนรากของต้นไม้เพราะ.. ผล , ดอก, กิ่ง, ก้าน, สาขาและใบของต้นไม้ทั้งหมด ล้วนอาศัยรากของมัน ถ้าบำรุงที่รากของมัน ต้นไม้ก็เจริญเติบโตยิ่งขึ้น ถ้าท่านตัดรากของมันต้นไม้ก็ตาย คนที่เข้าใจเรื่องจิตของตนเอง สามารถบรรลุได้โดยใช้ความเพียรไม่มาก
ส่วนคนที่ไม่เข้าใจจิตใจของตนเอง ปฏิบัติไปก็ไร้ประโยชน์ ความดีและความชั่ว ทุกอย่างล้วนมาจากจิตของท่านเอง การค้นหาสิ่งที่อยู่ภายนอกจิตนั้น เป็นไปไม่ได้

แต่การเฝ้าดูจิตอย่างไร จึงจะเรียกว่า การเข้าใจ (ถูกต้อง ) ?



ขอบพระคุณที่มาจาก :http://larndham.net/index.php?showtopic=12071
นำมาแบ่งปันโดย...
มดเอ๊กซ์ :
http://www.yimwhan.com/board/show.php?user=modx&topic=47&Cate=8
Pics by : Google
อกาลิโกโฮม * สุขใจดอทคอม
ใต้ร่มธรรมดอทเน็ท
อนุโมทนาสาธุที่มาทั้งหมดมากมายค่ะ

บันทึกการเข้า
คำค้น: THE ZEN TEACHING OF BODHIDHARMA บทที่ 4 ตั๊กม้อ คำสอนเซ็น พุทธยานันท 
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน

Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.741 วินาที กับ 31 คำสั่ง

Google visited last this page 28 พฤศจิกายน 2567 12:47:09