[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
17 ธันวาคม 2567 01:37:45 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: กำเนิดวิธีปลูกฝีป้องกันโรคฝีดาษ มาจากฤาษีเต๋าในจีน  (อ่าน 579 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
ใบบุญ
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 12
*

คะแนนความดี: +0/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

Thailand Thailand

กระทู้: 2492


ระบบปฏิบัติการ:
Windows NT 10.0 Windows NT 10.0
เวบเบราเซอร์:
Chrome 101.0.4951.64 Chrome 101.0.4951.64


ดูรายละเอียด
« เมื่อ: 24 พฤษภาคม 2565 09:30:18 »



ประชาชนเข้ารับวัคซีนป้องกันฝีดาษ เมื่อ ธ.ค.1961 ที่ปารีส ฝรั่งเศส (ภาพจาก STF / AFP)

ค้นกำเนิดวิธีปลูกฝีป้องกันโรคฝีดาษ โดยใช้เชื้อไวรัสฝีดาษเอง มาจากฤาษีเต๋าในจีน?

เผยแพร่ - ศืลปวัฒนธรรม  วันอังคารที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ.2565

ในโลกใบนี้นับตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน มีโรคระบาดมากมายหลายชนิดที่คร่าชีวิตผู้คนไปนับไม่ถ้วน รวมทั้งสร้างความเสียหายที่กระทบต่อมนุษยชาติโดยตรง เช่น การอพยพย้ายถิ่นฐานเพื่อหนีโรคระบาด แต่ใช่ว่าในอดีตจะไม่มีการต่อสู้กับโรคร้ายทั้งหลายเหล่านี้ มนุษย์ย่อมคิดหาทางรักษาโรคด้วยวิธีต่างๆ และการป้องกันไม่ให้เกิดโรคนั้นๆ

โรคติดต่อที่มีอันตรายมากโรคหนึ่งในอดีตคือโรค “ฝีดาษ” หรือ “ไข้ทรพิษ” พบร่องรอยของโรคนี้ในมัมมี่อียิปต์สมัยราชวงศ์ที่ 20 ในศตวรรษที่ 10 จากหลักฐานจะเห็นได้ว่าโรคระบาดนี้อยู่กับมนุษย์มายาวนาน

เพื่อความอยู่รอด มนุษย์ในอดีตคงหาวิธีต่อสู้กับโรคนี้มากพอสมควร และพบว่ามีวิธีหนึ่งที่สามารถต่อสู้กับโรคฝีดาษได้ซึ่งไม่ใช่การรักษาแต่เป็นการป้องกัน นั่นคือ “การปลูกฝี”

โรเบิร์ต เทมเพิล นักวิชาการผู้ศึกษาประวัติศาสตร์จีน และผู้เขียนหนังสือ “ต้นกำเนิด 100 สิ่งแรกของโลก” หรือ “The Genius of China” ระบุถึงต้นกำเนิดของวิธีการปลูกฝีว่า อยู่ที่ประเทศจีนจุดเริ่มต้นนั้นค่อนข้างลึกลับอยู่พอสมควรเพราะผู้ที่คิดค้นวิธีการปลูกฝีใช้ชีวิตอยู่ในถ้ำดุจกับฤาษี

ในหนังสือดังกล่าวระบุว่า การปลูกฝีมีต้นกำเนิดอยู่ในมณฑลซื่อชวนซึ่งอยู่ทางตอนใต้ของจีน ขณะที่ทางตะวันตกเฉียงใต้ของมณฑลนี้มีภูเขาอันโด่งดังชื่อ “เอ๋อเหมยซาน” เป็นที่รู้จักกันในฐานะที่มีความสัมพันธ์กับทั้งศาสนาพุทธและลัทธิเต๋า นักประสมแร่แปรธาตุลัทธิเต๋าอาศัยอยู่ในถ้ำที่ภูเขาลูกนี้ เป็นเจ้าของความลับของการปลูกฝีโรคฝีดาษในช่วงศตวรรษที่ 10

การปลูกฝีเป็นที่สนใจครั้งแรกเมื่อบุตรชายคนโตของอัครมหาเสนาบดีหวังต้าน (ปี 957 – 1017) เสียชีวิตด้วยโรคฝีดาษ หวังต้าน ไม่อยากให้โรคนี้เกิดขึ้นกับคนอื่นๆ ในครอบครัวอีก เขาจึงรวบรวมแพทย์ผู้รู้และผู้ที่มีวิชาอาคมจากทั่วอาณาจักรเพื่อหาทางรักษาโรคฝีดาษ ฤาษีเต๋าท่านหนึ่งเดินทางมาจากเอ๋อเหมยซาน ซึ่งมีคนกล่าวขานตั้งสมญาให้เขาต่างๆ นานา และได้นำเอาเทคนิคการปลูกฝีมาเผยแพร่ให้ผู้คนได้รู้จัก

การปลูกฝีไม่ได้ให้ประโยชน์ด้านเดียวแต่ก็แฝงอันตรายด้วยเช่นกัน การปลูกฝีให้กับคนคนหนึ่งนั่นหมายความว่าคนคนนั้นจะได้รับการฝังไวรัสเข้าไปในร่างกาย เมื่อกระบวนการประสบความสำเร็จ เขาจะมีภูมิคุ้มกันไปตลอดชีวิต

แม้เชื้อไวรัสที่นำมาใช้ปลูกฝีจะมีอันตรายถึงตายได้ แต่ด้วยเทคนิคอันพิเศษจากแพทย์จีน ได้ทำให้เชื่อไวรัสนั้นอ่อนกำลังลงก่อนเพื่อลดโอกาสการเป็นโรคให้เหลือน้อยที่สุด และเพิ่มโอกาสการเกิดภูมิคุ้มกันให้มากที่สุด

การปลูกฝีห้ามทำโดยนำเนื้อเยื่อฝีดาษมาจากผู้ที่เป็นโรคนี้อย่างเด็ดขาดซึ่งจะกลายเป็นการแพร่กระจายของเชื้อโรค พวกเขาเข้าใจว่าการปลูกฝีคือการ “ปลูกถ่าย” เนื้อเยื่อฝี ที่จินตนาการเหมือนดั่งต้นถั่วงอกที่เพิ่งแตกหน่อ

วิธีทำคือนำเนื้อเยื่อฝีใส่ในก้อนสำลี จากนั้นสอดเข้าไปในจมูก ฝีจะถูกดูดซับเข้าไปทางเยื่อบุผิวในช่องจมูกและทางการหายใจ

ตามหลักการ หมอจะไม่เลือกใช้เนื้อเยื่อฝีจากผู้ป่วยโรคฝีดาษ แต่จะเลือกจากผู้ที่ได้รับการปลูกฝี และเกิดเป็นแผลตกสะเก็ดเล็กน้อย พวกเขายังรู้จักฝีดาษสองชนิดคือ วาริโอล่า เมเจอร์ (Variola major) และ วาริโอล่า ไมเนอร์ (Variola minor) และเลือกใช้เนื้อเยื่อฝีจากชนิดหลังซึ่งมีพิษรุนแรงน้อยกว่า

ความจริงแล้วแหล่งเนื้อเยื่อฝีที่เป็นที่ต้องการคือสะเก็ดแผลจากคนที่ได้รับการปลูกฝีด้วยเนื้อเยื่อจากคนที่ได้รับการปลูกฝีอีกที่ ซึ่งเป็นเชื้อไวรัสที่ผ่านการทำให้อ่อนกำลังลงหลายรุ่นด้วยวิธีการปลูกฝีหลายครั้ง

การทำให้เชื้อไวรัสอ่อนกำลังลงยังมีวิธีอื่นๆ อีก ดังที่ จางเหยี่ยน ได้เขียนเรื่อง “Transplanting the Smallpox” เมื่อปี 1741 ว่า

“วิธีการเก็บเนื้อเยื่อ ห่อสะเก็ดอย่างระมัดระวังด้วยกระดาษและใส่ในขวดขนาดเล็ก ปิดจุกให้แน่นเพื่อไม่ให้ปฏิกิริยาแพร่กระจายออกไป ขวดต้องไม่ถูกแสงแดดหรือความร้อนจากกองไฟ จะดีที่สุดหากพกคิดตัวไปด้วยระยะหนึ่ง เพื่อให้สะเก็ดแห้งลงช้าๆ ตามธรรมชาติ ควรระบุวันที่เก็บเนื้อเยื่อจากผู้ป่วยไว้บนขวดให้ชัดเจน

ในฤดูหนาว เนื้อเยื่อจะมีพลังหยางอยู่ภายใน ดังนั้น จึงยังคงมีปฏิกิริยาอยู่แม้จะเก็บไว้สามสิบถึงสี่สิบวันแล้ว แต่ในฤดูร้อน พลังหยางจะหายไปภายในเวลาประมาณยี่สิบวัน เนื้อเยื่อที่ดีที่สุดคือเนื้อเยื่อที่ไม่ถูกเก็บไว้นานเกินไป ในขณะที่พลังหยางมีมาก มันจะ ‘จับ’ เก้าคนในสิบคน แต่เมื่อมันเก่าลง จะค่อยๆ สูญเสียปฏิกิริยา จนบางที ‘จับ’ เพียงห้าในสิบคน-ในที่สุดจะไม่มีปฏิกิริยาโดยสินเชิงและจะใช้ไม่ได้เลย ในสถานการณ์ที่สะเก็ดใหม่หายากและความต้องการสูง ก็เป็นไปได้ที่จะผสมสะเก็ดใหม่เข้ากับสะเก็ดที่มีอายุมากแล้ว แต่ในกรณีนี้ควรเป่าผงเข้าไปทางรูจมูกมากขึ้นเมื่อปลูกฝีเสร็จแล้ว”

นีดแฮม ผู้ที่มีความชื่นชอบและศึกษาเรื่องราวเกี่ยวกับจีนให้ความเห็นเกี่ยวกับข้อความนี้ในลักษณะเดียวกันว่า

“ดังนั้น ระบบทั่วไปคือการเก็บตัวอย่างฝีเป็นเวลาหนึ่งเดือนหรือนานกว่านั้น ที่อุณหภูมิร่างกาย (37 องศาเซลเซียส) หรือน่าจะต่ำกว่า ซึ่งจะมีผลให้ไวรัสประมาณร้อยละ 80 ที่มีชีวิตอยู่ไม่มีปฏิกิริยาทางความร้อน แต่เนื่องจากโปรตีนที่ตายแล้วของมันยังคงอยู่ จึงจะต้องให้สารกระตุ้นเข้มข้นเพื่อไปกระตุ้นผลผลิตอินเตอร์ฟีรอนและแอนติเจนที่ก่อตัวขึ้นเมื่อปลูกฝีเสร็จแล้ว”

สรุปแล้ว ร้อยละ 80 ของเชื้อไวรัสฝีดาษที่ชาวจีนใช้ปลูกฝี เป็นเชื้อที่ตายไปแล้วไม่สามารถทำให้คนเป็นโรคฝีดาษได้ แต่พวกเขาจะกระตุ้นร่างกายให้ผลิตแอนติบอดี้มาต่อต้านโรคฝีดาษและสารอิเตอร์ฟีรอน ซึ่งช่วยเสริมระบบภูมิคุ้มกันโดยรวม

ดังนั้น มีเชื้อไวรัสเพียงร้อยละ 20 เท่านั้นที่ยังมีชีวิตอยู่ และเป็นชนิดที่ทำให้อ่อนลงที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ รวมทั้งเป็นเชื้อโรคที่ไม่รุนแรง การปลูกฝีแบบเดิมของจีนจึงปลอดภัยที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ และเชื้อทุกก้อนที่จะนำมาปลูกได้ถูกลดทอนให้อ่อนลงมาก

การปลูกฝีป้องกันโรคฝีดาษในประเทศจีนเป็นที่รู้จักและมีการปฏิบัติกันอย่างแพร่หลายในช่วงปี 1567 – 1572 ต่อมาพบบทบรรยายสมจริงเรื่องการรักษาที่บันทึกไว้โดย “อวี้ชาง” ในหนังสือของเขาชื่อ “Miscellaneous Ideas in Medicine” เมื่อปี 1643

เทมเพิล บรรยายต่อมาว่า ศตวรรษที่ 17 การปลูกฝีแพร่กระจายสู่พื้นที่แถบตุรกี ซึ่งทำให้ชาวยุโรปได้พบเห็นและให้ความสนใจ ท่านผู้หญิงแมรี่ วอร์ทลีย์ มอตากู (ปี 1689 – 1762) ภริยาทูตอังกฤษประจำเมืองคอนสแตนติโนเปิล ยอมให้ครอบครัวได้รับการ “วางเชื้อ” (Variolated) เมื่อปี 1718 ซึ่งสี่ปีก่อนหน้านั้น อี. ทีโมนี่ ได้ตีพิมพ์เรื่องราวเกี่ยวกับการปลูกฝีเผยแพร่ในกรุงลอนดอน สองปีให้หลัง เจ. พิลารินี่ ก็ตีพิมพ์เรื่องราวเพิ่มเติมที่มาจากแหล่งเดียวกัน ดังนั้น จึงมีการสนทนาแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับเรื่องนี้ในกรุงลอนดอน และท่านผู้หญิงแมรี่คงได้แรงบัลดาลใจจากที่นั่นจึงกล้าตัดสินใจดังกล่าว

ปี 1721 การวางเชื้อ (ตอนนั้นเรียกว่า ‘การปลูกถ่ายเชื้อ’) เริ่มปฏิบัติกันอย่างกว้างขวางในยุโรปเพื่อป้องกันโรคฝีดาษ การมีวัคซีนป้องกันและวิทยาศาสตร์ด้านภูมิคุ้มกันวิทยาที่ได้รับการพัฒนาขึ้นภายหลัง เทมเพิล เชื่อว่า คงได้รับเทคนิควิธี ความรู้จากการปลูกฝีที่ถ่ายทอดมาจากประเทศจีนอยู่ไม่น้อย

Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

บันทึกการเข้า
คำค้น:
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน

Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.341 วินาที กับ 31 คำสั่ง

Google visited last this page 01 พฤศจิกายน 2567 20:24:54