22 ธันวาคม 2567 19:26:11
ยินดีต้อนรับคุณ,
บุคคลทั่วไป
กรุณา
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
1 ชั่วโมง
1 วัน
1 สัปดาห์
1 เดือน
ตลอดกาล
เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
หน้าแรก
เวบบอร์ด
ช่วยเหลือ
ห้องเกม
ปฏิทิน
Tags
เข้าสู่ระบบ
สมัครสมาชิก
ห้องสนทนา
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!
[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
สุขใจในธรรม
สมถภาวนา - อภิญญาจิต
.:::
ธรรมระดับพระโสดาบัน : พระอาจารย์สุชาติ อภิชาโต วัดญาณสังวรารามฯ จังหวัดชลบุรี
:::.
หน้า: [
1
]
ลงล่าง
« หน้าที่แล้ว
ต่อไป »
พิมพ์
ผู้เขียน
หัวข้อ: ธรรมระดับพระโสดาบัน : พระอาจารย์สุชาติ อภิชาโต วัดญาณสังวรารามฯ จังหวัดชลบุรี (อ่าน 767 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
Maintenence
ผู้ดูแลระบบ
นักโพสท์ระดับ 10
คะแนนความดี: +0/-0
ออนไลน์
เพศ:
Thailand
กระทู้: 1117
[• บำรุงรักษา •]
ระบบปฏิบัติการ:
Windows NT 10.0
เวบเบราเซอร์:
Chrome 101.0.4951.64
ธรรมระดับพระโสดาบัน : พระอาจารย์สุชาติ อภิชาโต วัดญาณสังวรารามฯ จังหวัดชลบุรี
«
เมื่อ:
26 พฤษภาคม 2565 15:03:14 »
Tweet
ธรรมระดับพระโสดาบัน
โดย
พระอาจารย์สุชาติ อภิชาโต
วัดญาณสังวรารามฯ อำเภอบางละมุง จังหวัดชลบุรี
·
พระโสดาบันนี้เป็นผู้ที่สามารถปฏิบัติธรรมขั้นสูงได้ คือขั้นปัญญาหรือวิปัสสนา ที่จะละสังโยชน์สามข้อด้วยกัน คือสักกายทิฐิ การถือว่าขันธ์ ๕ คือร่างกาย หรือชีวิตจิตใจของเรานี้เอง เป็นตัวเราของเรา แล้วก็ละความสงสัยในพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ แล้วก็ละในเรื่องของศีลธรรม และเรื่องกฎแห่งกรรม ละความสงสัยความลูบคลำในกฎแห่งกรรมได้ เรียกว่า สีลัพพตปรามาส แปลตรงตัวว่าการลูบคลำศีล ศีลธรรมก็คือกฏแห่งกรรม ทำดีได้ดีทำชั่วได้ชั่ว ทำดีแล้วได้ความสุข ทำชั่วแล้วได้ความทุกข์ แต่สังโยชน์ทั้งสามนี้มันมักจะไปเป็นพวง
ข้อที่เราต้องละให้ได้ก็คือ สักกายทิฐิ และเราก็จะได้ทั้งสีลัพพตปรามาสและวิจิกิจฉาไปในตัวด้วย มันมาด้วยกัน แต่ก่อนอื่นที่เราจะไปถึงขั้นสูงนี้ได้ คือธรรมขั้นสูงคือขั้นปัญญานี้ มันก็เหมือนกับการเรียนหนังสือ ถ้าเรายังไม่ได้ผ่านขั้นต่ำขึ้นไป แล้วจะไปเรียนขั้นอุดมศึกษานี้ก็คงจะยาก คนที่ไม่เคยเรียนหนังสือเลย ไม่เคยเข้าชั้นประถมมัธยม ไม่ผ่านชั้นประถมมัธยมแล้วก็จะไปเรียนมหาลัยเลยนี้ คงจะเป็นไปได้ยาก งั้นก็ต้องมีพื้นฐานก่อนในการที่จะสนับสนุนทำเทียร์ (
Tier)
ที่ต้องปฏิบัติธรรมขั้นสูงนี้ ทางศาสนาก็เหมือนกัน ใครเรียนทางศาสนา เรียนทางธรรมก็เหมือนเรียนทางโลก ก็มีขั้นมีตอน มีชั้นมีอะไรต่างๆ ทางโลกเราก็เริ่มตั้งแต่ สมัยก่อนไม่มีอนุบาลก็มีแค่ชั้นประถม สมัยนี้เพิ่มอนุบาลเข้าไปอีก คือต้องเรียนความรู้ขั้นพื้นฐานก่อน ที่จะไปสู่ขั้นสูงได้ ทางธรรมก็เหมือนกัน ก็ต้องเรียนรู้และปฏิบัติขั้นพื้นฐานให้ได้ก่อน เพราะว่าสิ่งที่จะเป็นพระโสดาบันนี้จะต้องทำในสิ่งที่ยาก และต้องหัดทำตั้งแต่ขั้นที่ง่ายขึ้นไปก่อน เพราะการละสักกายทิฐิก็คือละชีวิตของเรานี่แหละ ร่างกายของเรา ไม่ยึดไม่ติดปล่อยวาง ยิ่งตอนที่เราจะละของยากได้นี้เราต้องไปละของง่ายก่อน ที่เรามีอยู่ในตอนนี้ ของที่เรามีอยู่ในตอนนี้ ที่เราควรจะละก่อนก็คือทรัพย์สมบัติข้าวของเงินทอง เราต้องไม่หวงไม่ตระหนี่ ไม่โลภไม่อยากได้ มีไว้เพียงแต่เพื่อใช้ในกิจที่จำเป็น ก็คือการเลี้ยงชีพเลี้ยงร่างกายนี้ไปเท่านั้นเอง
งั้นถ้าเรามีเงินมากกว่า เหลือจากการเลี้ยงชีพ เราก็ควรที่จะแบ่งปันให้แก่ผู้อื่นไปละมันไป ถ้าเก็บไว้ก็แสดงว่ายังหวงอยู่ ถ้าไม่มีความจำเป็นจะต้องใช้ เราก็ต้องรู้ว่าเราต้องใช้เท่าไหร่ที่จำเป็น จำเป็นแค่ปัจจัย ๔ อาหาร เครื่องนุ่งห่ม ที่อยู่อาศัย ยารักษาโรค อันนี้เราต้องมีพอเพียง ถ้ามีพอเพียงแล้วยังมีเงินเหลืออยู่ อันนี้แหละ ต้องเอาไปสละทำทานบริจาค จาคะ แล้วก็ลดการหาเงิน ไม่ให้มันมากกว่าเท่าที่เราต้องการ เพราะว่าหามาได้มากกว่าเกินจำเป็น เราก็ต้องเอาไปทำบุญทำทานอยู่ดี แล้วเราจะไปทำงานหาเงินมาให้เสียเวลาทำไม นี่ขั้นทานนี้ก็คือเรื่องของการที่เราจะต้องลดละของที่มันง่ายก่อน คือทรัพย์สมบัติข้าวของเงินทอง เเล้วก็ไม่เอาเวลาไปแสวงหาทรัพย์สมบัติเงินทองมา นอกจากถ้ามันไม่พอเพียงต่อการดำรงชีพ นี่ก็จำเป็น ก็ไปหา แต่ถ้าสมมุติว่าเรามีรายได้มากกว่ารายจ่าย เราสามารถแบ่งปันได้ เราก็ควรที่จะแบ่งปันไป คือถ้าเราอยากจะเอาเวลาให้กับการปฏิบัติมากขึ้น เราก็เอาเงินที่เราเหลือกินเหลือใช้นี้มาเป็นเงินสำรอง เพราะเราจะได้ไม่ต้องหาเงิน ไม่ต้องไปทำงานหาเงิน เพื่อเราจะได้เอาเวลาของการหาเงินหาทองนี้มาหาธรรม เบื้องต้นนี้ ต้องตัดเรื่องความโลภ ความอยากได้เงินทอง ความอยากร่ำอยากรวย แล้วก็ถ้ารวยก็อย่าห่วงทรัพย์สมบัติข้าวของเงินทอง ต้องสละไปเพราะว่าสิ่งที่ต้องสละมากกว่านี้ก็คือชีวิตของเรา ร่างกายของเราเอง ถ้าเรายังสละของภายนอกไม่ได้ แล้วเราจะไปสละร่างกาย ชีวิตของเราได้อย่างไร งั้นเบื้องต้นพระพุทธเจ้าถึงสอนให้ทำทานก่อนสำหรับผู้ที่ยังยุ่งเกี่ยวกับการเงินการทองอยู่ ให้มีไว้เพียงพอสำหรับการเลี้ยงดูอัตภาพร่างกายคือปัจจัย ๔ ก็พอ เพื่อจะได้ลดการหาเงินการหาทองลงไป แล้วก็ลดความหวงความตระหนี่ในทรัพย์สมบัติข้าวของเงินทองที่ไม่จำเป็นจะต้องใช้ จะได้มีเวลาไปปฏิบัติธรรมได้นั่นเอง เบื้องต้นต้องสละทรัพย์สมบัติข้าวของเงินทองส่วนเกินไปให้ได้ก่อน ไม่หวงไม่เก็บเอาไว้ ให้เก็บเอาไว้เท่าที่จำเป็นสำหรับการเลี้ยงดูร่างกายนี้ นี่คือสิ่งแรกที่เราต้องสละ
แล้วขั้นที่สอง เราก็ต้องสละการกระทำบาปเพราะพระโสดาบันจะไม่ทำบาปแน่นอน พระอริยบุคคลทุกคน เราก็ต้องซ้อมไว้ก่อน ไม่ใช่อยู่ดีๆยังทำบาปอยู่แล้วจะไปเป็นพระโสดาบันได้ยังไง พระโสดาบันนี้ไม่ทำบาป รักษาศีลมากกว่าชีวิตของตน นี่คืออันที่สองก็ต้องไม่ทำบาป รักษาศีล ๕ ให้ได้อย่างมั่นคง
แล้วทีนี้ก็ต้องไปละขั้นต่อไปก็คือละกามฉันทะ ละการยินดีหาความสุขทางตา หู จมูก ลิ้น กาย เพราะว่าต่อไปเราจะสละร่างกายแล้ว เราจะไม่ใช้ร่างกายเป็นเครื่องมือหาความสุข เราจะไม่ใช้ ตา หู จมูก ลิ้น กาย หาความสุขกัน เราก็ต้องเลิกหาความสุขทางกามคือกามคุณ ๕ คือ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ด้วยการเจริญศีล ๘ หรือเนกขัมมะ ถึงจะได้มีเวลามาปฏิบัติการภาวนาขั้นที่หนึ่งก่อน คือขั้นสมาธิหรือขั้นสมถภาวนา เพราะก่อนที่จะไปวิปัสสนาภาวนาหรือขั้นปัญญาได้นี้ ต้องมีสมถภาวนาเป็นเครื่องมือเป็นขั้นบันได เป็นผู้สนับสนุนให้ก้าวขึ้นสู่ขั้นที่สูงต่อไปได้ ถ้ายังไม่มีสมถภาวนา จิตยังไม่รวมเป็นอัปปนาสมาธิ จิตยังไม่มีอุเบกขานี้ ยังไม่มีกำลังที่จะไปต่อสู้กับกิเลสหรือสังโยชน์ที่หลอกให้จิตนี้ยึดติดกับร่างกายว่าเป็นตัวเราของเราได้ แต่ถ้ามีอุเบกขา มีจิตวางเฉยได้ก็จะมีกำลัง ถ้าปัญญาชี้ให้เห็นว่า ร่างกายนี้ความจริงไม่ใช่ตัวเราไม่ใช่ของเรา เป็นของดินน้ำลมไฟ ยืมมาจากดินน้ำลมไฟ แล้วก็ต้องคืนให้ดินน้ำลมไฟไปในที่สุด ถ้าไม่มีอุเบกขาจะยึดจะติดจะปล่อยวางไม่ได้ งั้นต้องผ่านสมถะก่อน มันจะได้สมถะก็ต้องเจริญสติ ต้องมีศีล ๘ เป็นผู้สนับสนุน จะได้มีเวลาเจริญศีล ๘ ได้ ปฏิบัติธรรมได้ เจริญสมถภาวนาได้ พอได้สมถะแล้ว ได้อุเบกขาทั้งขณะที่เข้าในสมาธิและขณะที่ออกมา เบื้องต้นนี้ถ้าเราได้สมถะได้สมาธิเพียงเล็กน้อยนี้ เวลาออกจากสมาธิมา อุเบกขาที่ได้ก็จะหมดไปอย่างรวดเร็ว ดังนั้นเราต้องกลับไปสมาธิให้บ่อยๆให้มากๆ เพื่อที่จะได้มีอุเบกขาอยู่กับใจนานๆ เวลาออกจากสมาธิมา ถ้าเมื่ออุเบกขาใกล้จะหมดก็ต้องกลับเข้าไปในสมาธิใหม่ เพื่อรักษาอุเบกขาให้มีมากๆ เวลาออกจากสมาธิ เพราะเวลาออกจากสมาธิ เราจะได้ใช้อุเบกขานี้มาละสังโยชน์ต่างๆได้ด้วยปัญญา ที่จะสอนให้เห็นว่าสังโยชน์คือสิ่งต่างๆ ที่เรายึดที่เราติดเป็นทุกข์ มันไม่เที่ยง ขันธ์ ๕ นี้มันไม่เที่ยง ร่างกายของเรา ความรู้สึกนึกคิดของเรามันไม่เที่ยง มันไม่ใช่ตัวเรา มันไม่มีตัวตน มันเป็นธรรมชาติ เป็นภาวะธรรมชาติที่เกิดแล้วดับตามเหตุตามปัจจัยที่ไม่มีใครไปสามารถควบคุมบังคับมันได้ ร่างกายมันก็มีเหตุมีปัจจัยทำให้มันเกิด และก็มีเหตุมีปัจจัยทำให้มันแก่ ให้มันเจ็บ ให้มันตาย เราสอนจิตพื่อให้ปล่อยวาง ให้ยอมรับกับสภาพของความเป็นจริงของร่างกายและจิตใจ ว่าร่างกายนี้จะต้องแก่ จะต้องตาย แล้วก็จะเกิดเวทนาเกิดความทุกข์ขึ้นมาให้ใจได้สัมผัสรับรู้ ซึ่งเวทนาก็มีอยู่สาม ที่เปลี่ยนไปเปลี่ยนมา มีสุขเวทนา ทุกขเวทนา ไม่สุขไม่ทุกขเวทนา ก็เป็นสภาวะธรรมที่ผู้ปฏิบัติจะต้องรับให้ได้ ถ้ายังไม่ปฏิบัตินี้จะรับทุกขเวทนากันไม่ได้ พอร่างกายเจ็บหน่อยนี่วิ่งหาหมอกันวุ่นเลย มันมีบางทีบางโรคนี้ไม่ต้องไปทำอะไรมัน เดี๋ยวมันก็หายเอง ปวดตรงนั้นปวดตรงนี้หน่อยเดี๋ยวมันก็หาย พอเหตุที่ทำให้มันปวดมันหมดไปมันก็หายเอง เช่นเดินไปเตะก้อนหินมันก็เจ็บ เดี๋ยวสักพักนึงแรงที่ทำให้ขาเจ็บจากการไปเตะก้อนหินมันก็ค่อยๆ อ่อนไปหมดไป อาการเจ็บมันก็หายไปเองได้แค่นั้นเอง ไม่จำเป็นจะต้องไปหาหมอให้เสียเวลา เพียงแต่ว่าใจร้อนไม่อยากจะทนกับความเจ็บ ต้องไปหาหมอเพราะหมอมักจะมียาวิเศษ มีสเปรย์ฉีดมีอะไรทา ทาแล้วก็ทำให้รู้สึกว่าหายเร็วขึ้น เนี่ยแสดงว่าไม่ปล่อยสักกายทิฐิ ไม่ปล่อยเวทนาไม่ปล่อยร่างกาย ถ้ามีอุเบกขาแล้วก็มีปัญญาสอนให้เรารู้ว่า เวทนาหรือขันธ์ ๕ นี่เป็นธรรมชาติ เหมือนดินฟ้าอากาศ ที่เขาจะแปรปรวนไปตามเวลาของเขา ตามเหตุตามปัจจัยของเขา เราไม่สามารถที่จะไปสั่งให้ธรรมชาติให้ดินฟ้าอากาศนี้เป็นไปตามความต้องการของเราได้ ฝนตกจะไปสั่งให้มันหยุดก็ไม่ได้ ฝนไม่ตกจะสั่งให้มันตกก็ไม่ได้ อย่างนี้เป็นต้น เวทนาก็เหมือนกัน เวลาเกิดทุกขเวทนาจะสั่งให้มันหายก็ไม่ได้ จะสั่งให้สุขเวทนามาแทนที่ทุกขเวทนาก็ไม่ได้ มันมีเหตุมีปัจจัยทำให้มันเกิดและพาให้มันเป็น และทำให้มันดับไป เราผู้ที่มาสัมผัสรับรู้คือใจนี้ มีหน้าที่เพียงแต่รู้เฉยๆ ถ้าไม่มีอุเบกขาก็อดที่จะไปรักไปชังไม่ได้ ไปกลัวไม่ได้ พอรักชังกลัวก็เลยเกิดตัณหาความอยาก สิ่งไหนที่รักก็อยากจะให้มันอยู่กับเราไปนานๆ สิ่งไหนที่ชังก็อยากจะกำจัดให้มันหายไปเร็วๆ พอทำไม่ได้ก็เกิดความเครียดขึ้นมาเกิดความทุกข์ขึ้นมา
นี่คือธรรมระดับพระโสดาบัน ต้องละสักกายทิฐิให้ได้ ถ้าละได้แล้วใจมีดวงตาเห็นธรรม จะเห็นว่าสภาวะธรรมทั้งหลายนี้ มีการเกิดแล้วต้องมีการดับเป็นธรรมดา เห็นไตรลักษณ์ เห็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา เห็นว่าทุกข์นี้เกิดจากความอยากของใจที่อยากจะไปจัดการกับสภาวะธรรมต่างๆ ให้เป็นไปตามความต้องการของตน จึงทำให้เกิดความทุกข์ขึ้นมา พอรู้ว่าถ้าไม่อยากจะทุกข์ก็ต้องปล่อย อย่าไปจัดการกับสภาวะธรรม ปล่อยให้สภาวะธรรมเขาเกิดเขาดับไปตามเรื่องของเขา ใจก็จะไม่ทุกข์ ก็จะเห็นอริยสัจ ๔ เห็นว่าทุกข์เกิดจากความอยากไปจัดการกับสภาวะธรรมที่ไม่สามารถจัดการมันได้ พอเห็นด้วยมรรคว่าสภาวะธรรมนี้เป็นไตรลักษณ์ เป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ก็เลยปล่อยวาง หยุดด้วยอุเบกขา ปล่อยให้สภาวะธรรมเป็นไปตามสภาพของเขา ร่างกายจะแก่ก็ปล่อยมันแก่ไป ร่างกายจะเจ็บไข้ได้ป่วยก็ปล่อยมันไป ร่างกายจะตายก็ห้ามมันไม่ได้ก็ต้องปล่อยมันไป ความเจ็บความตายของร่างกาย ใจก็จะเห็นอริยสัจ ๔ เห็นทุกข์สมุทัยนิโรธมรรคที่เกิดขึ้นในใจ ทุกข์เกิดจากความอยากให้สภาวะธรรมเป็นไปตามความต้องการของเรา แต่เป็นไปไม่ได้ ถ้าอยากจะหายทุกข์ก็ต้องปล่อย ปล่อยความอยาก อย่าไปอยากให้สภาวะธรรมเป็นไปตามความอยาก เพราะเห็นด้วยปัญญาเห็นด้วยมรรคว่ามันเป็นไปไม่ได้ สภาวะธรรมเขาเกิดเขาดับไปตามเหตุตามปัจจัยของเขา เขาไม่ได้อยู่ภายใต้คำสั่งของเรา ก็ปล่อย ปล่อยให้สภาวะธรรมเกิดดับไปตามเรื่องของเขา เมื่อปล่อยด้วยปัญญาด้วยสมาธิด้วยอุเบกขา นิโรธก็เกิดขึ้นมา ทุกข์ก็ดับไป ทุกข์ก็หายไป ทุกข์ในระดับพระโสดาบันก็หายไป ทุกข์ในระดับในขันธ์ ๕ ก็จะหายไป ก็จะไม่สงสัยในพระพุทธพระธรรมพระสงฆ์ เพราะว่าพระธรรมที่เห็นนี้เป็นธรรมที่พระพุทธเจ้าเป็นผู้สอนเอง เห็นธรรมที่พระพุทธเจ้าสอนก็ไม่สงสัยผู้สอนว่ามีจริงหรือไม่มีจริง แสดงว่าพระพุทธเจ้ามีจริง ไม่ต้องไปอินเดียไปหาที่ประสูติที่ตรัสรู้ ไปก็ไม่เจอพระพุทธเจ้าอยู่ดี ไปเจอแต่สถานที่ที่เขาบอกว่าเป็นอย่างนั้นเป็นอย่างนี้ ซึ่งเราก็ไม่รู้ว่าจริงหรือเปล่าอีก เพียงแต่เขาบอกกันมาก็เชื่อกันมา แต่ไม่ได้เห็นตัวพระพุทธเจ้าเหมือนกับเห็นธรรมที่เราได้จากการปฏิบัติ เห็นอริยสัจ ๔ ในใจของเรา ที่เกิดจากความอยากให้สภาวะธรรม คือ ขันธ์ ๕ เป็นไปตามความต้องการของเรา ก็เลยเกิดความทุกข์ขึ้นมา แต่พอเห็นว่าสภาวะธรรมเป็นของที่เราควบคุมบังคับไม่ได้ ต้องปล่อยวางด้วยอุเบกขาด้วยปัญญาก็ปล่อย หยุดความอยากไปควบคุมสภาวะธรรม หยุดสมุทัย ทุกข์ก็จะหายไป นิโรธก็เกิดขึ้นมา เห็นอริยสัจ ๔ อย่างชัดเจนภายในใจ เห็นในใจเห็นตามความเป็นจริง เห็นตามเหตุการณ์จริง จะให้เห็นเหตุการณ์จริงได้ก็ต้องทำให้มันมีต้องไปเจอสภาวะธรรมที่ทำให้เราเกิดความอยากขึ้นมาเช่น ต้องให้ร่างกายมันเจ็บปวด แล้วเราอยากจะให้ความเจ็บปวดหายไป แล้วเราก็จะเห็นความทุกข์ทรมานของใจเกิดขึ้น แต่ตอนนี้ถ้าร่างกายไม่เจ็บปวด มันก็ไม่เห็น สภาวะความเป็นจริงยังไม่เกิด ผู้ที่ต้องการจะเห็นสภาวะความเป็นจริง บางทีต้องนั่งนานๆ ให้มันเกิดความเจ็บขึ้นมา แล้วก็ใช้ความเจ็บนั้นเป็นอุบายในการที่จะสอนใจให้ดู เพราะตอนนี้ร่างกายเจ็บแล้วใจทุกข์หรือเปล่าหรือใจเฉยๆ ถ้าใจทุกข์ก็แสดงว่ามีสมุทัยมีความอยาก อยากให้ความเจ็บหายไป อยากหนีจากความเจ็บไป อันนี้ก็จะเห็นทุกข์สมุทัย แล้วทำยังไงจะให้ทุกข์ดับไป ก็ต้องพิจารณาเวทนาว่า ความเจ็บว่ามันเป็นสภาวะธรรมที่เกิดขึ้นของมันเอง แล้วเดี๋ยวมันก็จะดับของมันเอง เราไปควบคุมบังคับมันไม่ได้ มันเป็นอนัตตามันเป็นอนิจจัง ถ้าไม่อยากจะทุกข์ก็ปล่อยให้มันเจ็บไป หัดอยู่กับความเจ็บให้ได้ด้วยอุเบกขา ถ้ามีอุเบกขาก็เฉยได้อยู่กับความเจ็บได้ไม่เดือดร้อน สมุทัยก็หยุดระงับไป นิโรธคือความดับทุกข์ก็เกิดขึ้นมาปรากฏขึ้นมา จิตจะเห็นอริยสัจ ๔ อย่างจริงๆ ของแท้ของจริง เห็นสดๆร้อนๆ เห็นธรรมอย่างสดๆร้อนๆ ก็ไม่สงสัยพระพุทธเจ้าผู้แสดงธรรมนี้ว่ามีจริงหรือไม่จริง แล้วก็ไม่สงสัยในพระอริยสงฆ์ว่ามีจริงหรือไม่มีจริง เพราะผู้ที่มี เห็นธรรมเห็นพระพุทธเจ้าคือพระอริยสงฆ์ผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบนั่นเอง ก็จะไม่สงสัยในเรื่องพระพุทธพระธรรมพระสงฆ์ว่ามีจริงหรือไม่ แล้วก็ไม่สงสัยเรื่องกฎแห่งกรรมว่า ทุกข์เกิดจากอะไร ทุกข์ก็เกิดจากการกระทำของใจนี่เอง เวลาใจคิดไปในทางที่ไม่ดี คิดไปในทางความอยากก็ทุกข์ หรือถ้าไปทำบาปก็ทำให้ใจทุกข์ขึ้นมา ถ้าไม่ทำบาปไม่ทำตามความอยาก ใจก็สุข ใจก็มีความสุขขึ้นมา ก็จะไม่สงสัยว่าทำไมจะต้องรักษาศีล เพราะการทำบาปนี้จะทำให้จิตใจของตนเองทุกข์ร้อนขึ้นมานั่นเอง ให้ทำแต่บุญทำแต่ความดี แล้วก็จะไม่ให้เกิดความโลภ ความโกรธ ความหลงขึ้นมาภายในใจ ละความโลภ ความโกรธ ความหลง ความอยากต่างๆ ให้หมดสิ้นไปจากใจ อันนี้เบื้องต้นก็ละได้สามข้อ พระโสดาบัน
บันทึกการเข้า
[• สุขใจ บำรุงรักษาระบบ •]
คำค้น:
หน้า: [
1
]
ขึ้นบน
พิมพ์
« หน้าที่แล้ว
ต่อไป »
กระโดดไป:
เลือกหัวข้อ:
-----------------------------
จากใจถึงใจ
-----------------------------
=> หน้าบ้าน สุขใจ
===> สุขใจ ป่าวประกาศ (ข้อความจากทีมงาน)
===> สุขใจ เสนอแนะ (ข้อความจากสมาชิก)
===> สุขใจ ให้ละเลง (มุมทดสอบบอร์ด)
-----------------------------
สุขใจในธรรม
-----------------------------
=> พุทธประวัติ - ประวัติพระสาวก
===> พุทธประวัติ แห่งองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
===> ประวิติพระอรหันต์ พระสาวก ในสมัยพุทธกาล
===> ประวัติพระผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ ในยุคปัจจุบัน
===> นิทาน - ชาดก
=====> ชาดก พระเจ้า 500 ชาติ
=> ธรรมะทั่วไป ธารธรรม - ธรรมทาน
===> ธรรมะจากพระอาจารย์
===> เกร็ดครูบาอาจารย์
=> ห้องวิปัสสนา - มหาสติปัฏฐาน 4
=> สมถภาวนา - อภิญญาจิต
=> จิตอาสา - พุทธศาสนาเพื่อสังคม
=> เสียงธรรมเทศนา - เอกสารธรรม - วีดีโอ
===> เอกสารธรรม
===> เสียงธรรมเทศนา
=====> ธรรมะจาก สมเด็จโต
=====> ธรรมะจาก หลวงปู่มั่น
=====> เสียงบทสวดมนต์
=====> เพลงสวดมนต์
=====> เพลงเพื่อจิตสำนึก แด่บุพการี
=====> ธรรมะ มิวสิค (เพลงธรรมทั่วไป)
===> ห้อง วีดีโอ
=> เกร็ดศาสนา
=> กฏแห่งกรรม - ท่องไตรภูมิ
=> ไขปัญหาโลก ธรรม และความรัก
=> บทสวด - คัมภีร์ คาถา - วิชา อาคม
=> พุทธวัจนะ - ภาษิตธรรม
===> พุทธวัจนะ ในธรรมบท
===> พุทธศาสนสุภาษิต
===> คำทำนายภัยพิบัติที่จะเกิด
===> รวมข่าวภัยพิบัติ ทั้งในอดีต และปัจจุบัน
===> รู้ เพื่อ รอด (การเตรียมการ)
=> ห้องประชาสัมพันธ์ ทั้งทางโลก และทางธรรม
===> ฐานข้อมูล มูลนิธิต่าง ๆ ในประเทศไทย (Donation Exchange Center)
-----------------------------
วิทยาศาสตร์ทางจิต เรื่องลี้ลับ
-----------------------------
=> วิทยาศาสตร์ - จักรวาล - การค้นพบ
===> เรื่องราว จากนอกโลก
=====> ประสบการณ์เกี่ยวกับ UFO
=====> หลักฐาน และ การพิสูจน์ยูเอฟโอ
=====> คลิปวีดีโอ ยูเอฟโอ
=> ไขตำนาน - ประวัติศาสตร์ - การค้นพบ อารยธรรม
=> เรื่องแปลก - ประสบการณ์ทางจิต - เรื่องลึกลับ
===> ร้อยภูติ พันวิญญาณ
=====> ประสบการณ์ ผี ๆ
=======> เรื่องเล่าในรั้วมหาลัย
=====> ประวัติ ต้นกำเนิด ตำนานผี
===> ดูดวง ทำนายทายทัก
===> ไดอะล็อก คือ ดอกอะไร - พลังไดอะล็อก (Dialogue)
===> กระบวนการ NEW AGE
=> เครื่องราง ของขลัง พุทธคุณ
-----------------------------
นั่งเล่นหลังสวน
-----------------------------
=> สุขใจ จิบกาแฟ
=> สุขใจ ร้านน้ำชา
=> สุขใจ ห้องสมุด
===> สุขใจ หนังสือแนะนำ
===> สุขใจ คลังความรู้ลวงโลก
===> สยาม ในอดีต
=> สุขใจ ใต้เงาไม้
=> สุขใจ ตลาดสด
=> สุขใจ อนามัย
=> สุขใจ ไปเที่ยว
=> สุขใจ ในครัว
===> เกร็ดความรู้ งานบ้าน งานครัว
=> สุขใจ ไปรษณีย์
=> สุขใจ สวนสนุก
===> ลานกว้าง (มุมดูคลิป)
===> เวที จำอวด (จำอวดหน้าม่าน)
===> หนังกลางแปลง (ดูหนัง รีวิวหนัง)
===> หน้าเวที (มุมฟังเพลง)
=====> เพลงไทยเดิม
===> แผงลอยริมทาง (รวมคลิปโฆษณาโดน ๆ)
คุณ
ไม่สามารถ
ตั้งกระทู้ได้
คุณ
ไม่สามารถ
ตอบกระทู้ได้
คุณ
ไม่สามารถ
แนบไฟล์ได้
คุณ
ไม่สามารถ
แก้ไขข้อความได้
BBCode
เปิดใช้งาน
Smilies
เปิดใช้งาน
[img]
เปิดใช้งาน
HTML
เปิดใช้งาน
กำลังโหลด...