23 พฤศจิกายน 2567 19:14:11
ยินดีต้อนรับคุณ,
บุคคลทั่วไป
กรุณา
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
1 ชั่วโมง
1 วัน
1 สัปดาห์
1 เดือน
ตลอดกาล
เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
หน้าแรก
เวบบอร์ด
ช่วยเหลือ
ห้องเกม
ปฏิทิน
Tags
เข้าสู่ระบบ
สมัครสมาชิก
ห้องสนทนา
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!
[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
สุขใจในธรรม
เกร็ดศาสนา
.:::
พุทธปฏิมากร
:::.
หน้า: [
1
]
ลงล่าง
« หน้าที่แล้ว
ต่อไป »
พิมพ์
ผู้เขียน
หัวข้อ: พุทธปฏิมากร (อ่าน 2095 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์
เพศ:
Thailand
กระทู้: 5767
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น
ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Mozilla รองรับ
พุทธปฏิมากร
«
เมื่อ:
07 ตุลาคม 2564 19:55:55 »
Tweet
พระพุทธชินราช
วัดพระศรีรัตนมหาธาตุวรมหาวิหาร อ.เมือง จ.พิษณุโลก
พระพุทธรูปนี้ก็คือตัวแทนของพระพุทธเจ้า จัดอยู่ในอุเทสิกเจดีย์ จริงอยู่ที่พระพุทธรูปสร้างมาจากอิฐหินดินปูนทองเหลือง แต่เราก็เอามาสมมุติเป็นพระพุทธเจ้า เรากราบเพื่อรำลึกถึงคุณท่าน ก็เหมือนกับพระสงฆ์พวกเราทั้งหลายนี่แหละ ก็มาจากลูกชาวบ้าน มาสมมุติเป็นพระภิกษุสงฆ์ ให้พวกเรากราบไหว้กัน อันนี้ก็เหมือนกันฉันนั้น ฉะนั้นพระพุทธรูปนี้ เป็นตัวแทนให้เราระลึกถึงคุณงามความดีของท่าน เหมือนหลายปีก่อนได้ยินข่าว มีพระที่เพชรบูรณ์ไปตบพระพุทธรูป อย่าไปกราบมันมันคือทองเหลืองคืออะไรหลายๆอย่างเขาก็ว่าไป มันก็จริงอยู่ แต่เราเอาอันนี้มาเป็นเครื่องระลึก ที่เราเคารพนบไหว้ เป็นตัวแทนของพระพุทธเจ้า เหมือนกับหลวงปู่มั่นท่านเคารพมาก พระจะไปเอาผ้าเช็ดพื้นเช็ดศาลามาเช็ดเนี่ย หลวงปู่มั่นท่านไม่ยอมนะ ท่านให้ไปเอาผ้าที่มันสูงสูง ผ้าเช็ดตัวเช็ดอะไรท่านน่ะให้มาเช็ด ฉะนั้นพวกเราทั้งหลายลูกหลาน ขอให้รู้จักเคารพนบน้อม ถ้าเป็นผู้อ่อนน้อมย่อมเป็นที่รักในหมู่มนุษย์และเทวดาทั้งหลาย
เถรวาจา พระครูอุดมวนานุรักษ์ (หลวงพ่อสมหมาย ปิยธัมโม)
วัดป่าอุดมสนาสันต์ (สาขาวัดหนองป่าพงที่ ๓๑)
อำเภอนาเยีย จังหวัดอุบลราชธานี
บันทึกการเข้า
กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์
เพศ:
Thailand
กระทู้: 5767
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น
ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Mozilla รองรับ
Re: พุทธปฏิมากร
«
ตอบ #1 เมื่อ:
09 ตุลาคม 2564 14:28:57 »
พระอรุณหรือพระแจ้ง
เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย องค์พระและผ้าทรงครองทำด้วยทองสีต่างกัน หน้าตักกว้างประมาณ ๕๐ ชม.
ประดิษฐานอยู่บนฐานชุกชี เบื้องหน้าพระพุทธชัมภูทฯ ในพระวิหารวัดอรุณราชวราราม ตามประวัติกล่าวว่า
เป็นพระพุทธรูปที่ได้อัญเชิญมาจากเวียงจันทน์ เมื่อปีมะเมีย พ.ศ.๒๔๐๑ ประดิษฐานอยู่ในพระบรมมหาราชวัง
ต่อมาพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔ โปรดให้อัญเชิญมาประดิษฐานไว้ในพระวิหาร
วัดอรุณราชวราราม ด้วยทรงพระราชดำริว่า นามพระพ้องกันกับวัด
พระทศพลญาณ วัดบรมนิวาส
เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย ศิลปะสุโขทัย หน้าตักกว้าง ๓ ศอก สูง ๑ วา ๕ นิ้ว ตามประวัติกล่าวเพียงมาอัญเชิญ
มาแต่เมืองพระพิษณุโลก คราวเดียวกับพระสิทธารถ วัดพิชยญาติการาม วัดบรมนิวาส เดิมชื่อว่า วัดบรมสุข
พระอินทรเดชะ (อาจ) เป็นผู้สร้างขึ้นในแผ่นดินพระนั่งเกล้าฯ ต่อมาพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ขณะเมื่อ
ทรงพระผนวชอยู่ ได้ทรงสถาปนาขึ้นใหม่ทั้งพระอาราม เรียกกันอย่างไม่เป็นทางการว่า วัดนอก คู่กับวัดบวรนิเวศวิหาร
ว่า วัดใน แล้วพระราชทานนามใหม่ว่า วัดบรมนิวาส โปรดให้เป็นวัดอรัญวาสี เรียนวิปัสนาธุระ
พระพุทธปฏิมาทรงเครื่อง
บนม้าหมู่ เบื้องหน้าพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ในพระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม
พระคันธารราษฎร์ปางขอฝน
เป็นพระพุทธรูปประทับนั่ง ปางขอฝน หล่อด้วยสัมฤทธิ์ ลงรักปิดทอง หน้าตักกว้าง ๕๗.๔๐ ซม. ประดิษฐาน
ในหอพระคันธารราษฎร์ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม ในพระบรมมหาราชวัง พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้า -
จุฬาโลกมหาราช (รัชกาลที่ ๑) โปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้น เมื่อ พ.ศ.๒๓๒๖ เพื่อใช้ประกอบพิธีพิรุณศาสตร์
และพระราชพิธีพืชมงคล
พระพุทธปฏิมาปางห้ามสมุทร
ศิลปะรัตนโกสินทร์ ประดิษฐานข้างพระพุทธสิหิงค์ ในพระที่นั่งพุทไธสวรรย์ พระราชวังบวรสถานมงคล
พระชัยวัฒน์ประจำรัชกาลที่ ๑
เป็นพระพุทธรูปนั่ง หล่อด้วยเงิน ปางมารวิชัย ประทับเหนือฐานปัทม์ บนฐานสิงห์ทองคำ มีผ้าทิพย์ทองคำ
หน้าตัก ๒๑ เซนติเมตร สูงตลอดพระรัศมี ๓๑ เซนติเมตร ด้วยฉัตรทองคำฉลุ ๕ ชั้น ลงยาราชาวดี
พระหัตถ์ซ้ายทรงถือตาลปัตร ฉลุลายประดับอัญมณี ด้ามทองคำ หล่อขึ้นเมื่อพุทธศักราช ๒๓๒๕
เป็นอนุสารณีย์เนื่องในอภิลักขิตสมัยคล้ายวันสวรรคต พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ๗ กันยายน ๒๕๖๔
ที่มา. พระพุทธปฏิมาในพระบรมมหาราชวัง
พระพุทธรูปทรงเครื่อง ๒ องค์
เป็นพระพุทธรูปยืนปางห้ามสมุทร สมัยกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น ทรงเครื่องขัตติยภูษิตาภรณ์ ปักฉัตรทองปรุ ๕ ชั้น
ประดิษฐานอยู่เบื้องหน้าด้านขวาและด้านซ้ายของพระพุทธเทววิลาส ในพระอุโบสถวัดเทพธิดาราม กล่าวกันว่า
เป็นสัญลักษณ์พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าหญิงวิลาส กรมหมี่นอัปสรสุดาเทพ
พระพุทธบุษยรัตน์น้อย
พระสัมพุทธพรรณีจำลอง
เป็นพระพุทธรูปประทับนั่งปางสมาธิ ขัดสมาธิราบ กะไหล่ทอง ขนาดหน้าตักกว้าง ๒๐ นิ้วสูง ๒๗ นิ้ว
ฐานกว้าง ๒๘ นิ้ว สูง ๙.๕ นิ้ว พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้สร้างเป็นพระประธาน
ภายในพระอุโบสถวัดราชาธิวาสเพื่ออุทิศถวายแด่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดฯ ให้พระวรวงศ์เธอ
พระองค์เจ้าประดิษฐวรการออกแบบปั้น โดยการถ่ายแบบจากพระสัมพุทธพรรณี ในวัดพระศรีรัตนศาสดาราม
ซึ่งเป็นพระพุทธรูปองค์เดิมที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นขณะผนวชและประทับ
จำพรรษาที่วัดสมอราย การสร้างพระสัมพุทธพรรณีจำลอง จัดพิธีหล่อขึ้นที่วัดราชาธิวาส แล้วอัญเชิญไปประกอบ
พิธีกะไหล่ทอง ณ พระที่นั่งอภิเศกดุสิตในพระบรมหาราชวัง พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราช
ดำเนินประกอบพิธีกะไหล่ด้วยทองคำ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตั้งการพระราชพิธีพุทธาภิเษกสมโภชขึ้น
ณ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม และได้เสด็จพระราชดำเนินในพระราชพิธีลงสรงพระบรมสารีริกธาตุ บรรจุในผอบทองคำ
ทรงนำผอบทองคำนั้นบรรจุในพระศกพระสัมพุทธพรรณีจำลอง ประกอบพระราชพิธีสมโกช แต่ยังไม่ทันอัญเชิญ
ไปประดิษฐานที่วัดราชาธิวาส เสด็จสวรรคตเสียก่อน พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ
ให้อัญเชิญพระสัมพุทธพรรณีจำลองไปประดิษฐานเป็น พระประธานในพระอุโบสถวัดราชาธิวาส เมื่อวันที่ ๘ ตุลาคม ๒๔๖๒
พระพุทธอังคีรส ในพระอุโบสถวัดราชบพิธฯ
พระพุทธตรีโลกเชฎฐ์
พระพุทธปฏิมาประธานในพระอุโบสถวัดสุทัศนเทพวราราม เบ็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย
พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๓ โปรดให้กรมหมื่นณรงคหริรักษ์หล่อขึ้นใหม่เมื่อทรงสถาปนา
พระอารามใหญ่กว่าพระ ที่หล่อในกรุงรัตนโกสินทร์องค์อื่นๆ หน้าตักกว้าง ๑๐ ศอก ๘ นิ้ว ถึงรัชกาลที่ ๔
พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ถวายพระนามว่า "พระพุทธตรีโลกเชฏฐ์"
พระชัยวัฒน์ประจำรัชกาลที่ ๕ เป็นพระพุทธรูปนั่ง หล่อด้วยทองคำ
ปางมารวิชัย ประทับเหนือฐานปัทม์ ครองจีวรเป็นริ้ว ไม่มีพระเกตุมาลา หน้าตัก ๑๖ เซนติเมตร สูงตลอดพระรัศมี
๒๘ เซนติเมตร มีฉัตรทองคำฉลุ ๕ ชั้น ลงยาราชาวดี กั้นเบื้องหลัง ที่ฐานจารึกอักษรขอมย่อเป็นคาถาอริยสัจจ์
เช่นเดียวกับพระชัยวัฒน์ประจำรัชกาลที่ ๔ ด้านในฐานแปดเหลี่ยมประดิษฐานพระกริ่งขนาดเล็กองค์หนึ่ง
หล่อขึ้นเมื่อ พุทธศักราช ๒๔๑๒
ที่มา. พระพุทธปฏิมาในพระบรมมหาราชวัง พ.ศ.๒๕๓๕, เครื่องประกอบพระบรมราชอิสริยยศ พ.ศ.๒๕๖๐
พระพุทธรังสรรค์หรือพระพุทธรังสฤษฏ์
เป็นพระพุทธรูปยืนแบบสมภังค์ ทรงเครื่องจักรพรรดิราชาธิราช ปางห้ามสมุทร สูงจากฐานถึงยอดพระชฎามงกุฎ
๒๑๐ เซนติเมตร หล่อด้วยสำริดหุ้มด้วยทองคำ เครื่องต้นเป็นทองคำลงยาราชาวดี ประดับเนาวรัตน์ ประดิษฐาน
ในหอพระสุราลัยพิมาน ภายในพระบรมมหาราชวัง พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงสร้างพระพุทธรังสรรค์
องค์นี้ขึ้นเพื่อบำเพ็ญพระราชกุศลส่วนพระองค์ คู่กับพระพุทธนฤมิต ซึ่งทรงสร้างเพื่อบำเพ็ญพระราชกุศลถวาย
สมเด็จพระบรมชนกนาถ พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ ๔ พระบาทสมเด็จ -
พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ถวายพระนามใหม่ว่า พระพุทธรังสฤษ์เพื่อให้อักษรสัมผัสกับพระพุทธนฤมิต
ที่มา. พระพุทธปฏิมาในพระบรมมหาราชวัง, สถาปัตยกรรมในพระบรมมหาราชวัง เล่ม ๑,
ประติมากรรมและจิตรกรรมแบบตะวันตกในราชสำนัก เล่ม ๑
พระชัยวัฒน์ประจำพระองค์
พระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหลวงชินวรสิริวัฒน์ สมเด็จพระสังฆราชเจ้า
ที่มา.ชินวรปูชนียมงคล
พระแก้วมรกตน้อย
เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย หน้าตักกว้าง ๒๓.๔๐ ซ.ม. สูงเฉพาะองค์พระ ๓๖.๘๐ ซ.ม. ทำด้วยหยกสีเขียว
มีประภามณฑลและฐานเป็นไม้จำหลักปิดทอง ประดิษฐานในหอพระสุราลัยพิมาน พระบรมมหาราชวัง
พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จฯ เจ้าฟ้าจักรพงษ์ภูวนาถ กรมหลวงพิษณุโลกประชานาถ
ไปหาแก้วสีเขียวอย่างพระแก้วมรกตเพื่อสร้างพระพุทธปฏิมา สมเด็จฯ เจ้าฟ้าพระองค์นั้นได้แสวงหาได้หยกเขียว
ที่ประเทศรัซเซีย ครั้นแล้วได้โปรดเกล้าฯ ให้ช่างชาวรัซเซียนามว่า
CARL FABERGE
สลักหยกนั้น
ให้เป็นพระพุทธปฏิมาต้องตามพระราชประสงค์ แล้วเสร็จได้เชิญกลับพระนครเมื่อพ.ศ.๒๔๕๗ โปรดเกล้าฯ ให้จัดพิธี
พุทธาภิเษก ที่วัดพระศรีรัตนศาสดาราม จากนั้นพระราชทานพระบรมราชานุญาตให้ประชาชนเข้าถวายสักการะได้
เป็นเวลา ๓ วัน แล้วอัญเชิญไปประดิษฐานในพระบรมมหาราชวังจนถึงทุกวันนี้
ที่มา. พระพุทธปฏิมาในพระบรมมหาราชวัง
พระสิทธารถ
พระพุทธปฏิมาประธานในพระอุโบสถวัดพิชยญาติการาม เป็นพระพุทธรูป ศิลปะสุโขทัย ปางมารวิชัย ขัดสมาธิราบ
หน้าตักกว้าง ๓ ศอกเศษ ตามประวัติกล่าวว่า โดยอัญเชิญมาจากเมืองพิษณุโลก พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
เคยเสด็จมาทอดพระเนตรรับสั่งชมว่างดงามยิ่งนัก โปรดเกล้าฯ ให้สร้างเบญจปฎลเศวตฉัตรมาถวายเป็นราชสักการะ
เผ่ยแพร่เป็นวิทยาทาน โดย หอสมุดพิกุลศิลปาคาร
600/. 1-700
«
แก้ไขครั้งสุดท้าย: 09 ตุลาคม 2564 15:55:29 โดย Kimleng
»
บันทึกการเข้า
กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์
เพศ:
Thailand
กระทู้: 5767
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น
ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Mozilla รองรับ
Re: พุทธปฏิมากร
«
ตอบ #2 เมื่อ:
17 ตุลาคม 2564 19:59:19 »
พระศากยมุนีพุทธเจ้า ศิลปะเนปาล
พระพุทธรูปองค์นี้ พุทธศาสนิกชนชาวเนปาล ถวายแด่สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณสังวร
เมื่อครั้งยังดำรงสมณศักดิ์ที่ สมเด็จพระญาณสังวร เมื่อวันที่ ๒๙ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๕๒๘
เพื่อมอบให้เป็นของขวัญแบบพุทธศาสนิกชนชาวไทย ปัจจุบันจัดแสดงอยู่ที่อาคารมหาสุรสิงหนาท
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร
ที่มา : เล่าเรื่อง วัดบวรฯ
พระพุทธรูปยืน
ทำด้วยงาช้าง ศิลปะศรีลังกา สมัยแคนดี้
พระสาธุศีลสังวร (สีลรัตนะ) หรือเจ้าคุณลังกา วัดบวรนิเวศวิหาร
มอบให้พิพิธภัณฑสถานสำหรับพระนคร เมื่อปี พ.ศ.๒๔๗๐
พระพุทธรูปประจำรัชกาลที่ ๕ ซึ่งพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว
ทรงโปรดฯให้สร้างขึ้นถวายเป็นพระราชกุศศลนั้น วัสดุที่ใช้ทำ ทรงโปรดฯ
ให้นำ พระปทุมบัตนิการ มายุบหลอมทำเป็นองค์พระพุทธรูป
พระพุทธรูปพระจำพระชนมวาร พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๗
เป็นพระพุทธรูปยืน ปางอุ้มบาตร (วันพุธ) ปั้นโดย พระเทพรจนา สร้างในระหว่างปี
พุทธศักราช ๒๔๖๙- พุทธศักราช ๒๔๗๐ องค์พระทำด้วยสัมฤทธิ์ กะไหล่ทอง
บาตรทำด้วยหยก องค์พระมีความสูง ๒๔.๗๕ เซนติเมตร
ปัจจุบันประดิษฐาน ณ หอพระบรมอัฐิ พระที่นั่งจักรีมหาปราสาท พระบรมมหาราชวัง
พระพุทธประจำพระชนมพรรษา พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว
ที่มา :
เล่าเรื่อง วัดบวรฯ
พระพุทธปฏิมาในพระบรมมหาราชวัง
700
«
แก้ไขครั้งสุดท้าย: 28 พฤศจิกายน 2564 13:57:35 โดย Kimleng
»
บันทึกการเข้า
กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์
เพศ:
Thailand
กระทู้: 5767
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น
ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Mozilla รองรับ
Re: พุทธปฏิมากร
«
ตอบ #3 เมื่อ:
25 ตุลาคม 2564 19:21:50 »
พระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร ทรงเครื่องทรงสำหรับฤดูฝน
เผ่ยแพร่เป็นวิทยาทาน โดย หอสมุดพิกุลศิลปาคาร
หลวงพ่อแสงเพชร
พระพุทธรูปศิลปะอยุธยา ประดิษฐานในพระวิหารวัดทองนพคุณ กรุงเทพมหานคร
เผ่ยแพร่เป็นวิทยาทาน โดย หอสมุดพิกุลศิลปาคาร
พระพุทธรูปเซรามิกฝีพระหัตถ์สมเด็จย่า
สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ทรงปั้นพระพุทธรูปองค์นี้ เพื่อถวายแด่สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก นับเป็นสิ่งแสดงถึงพระราชศรัทธาในบวรพุทธศาสนา และการใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์สูงสุด สมดังพระราชดำรัสของสมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก ว่า "เวลาเป็นของมีค่า เมื่อมันล่วงไปแล้ว มันจะไม่กลับมาอีก ถ้าเรามีโอกาสจะใช้มันให้เป็นประโยชน์ แล้วไม่ใช้มันก็เป็นที่น่าเสียดาย” ซึ่งสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนีก็ทรงยึดแนวพระราชดำรัสนั้นมาตลอดพระชนมชีพ
ที่มา : เพจพระพุทธศาสนา
บันทึกการเข้า
กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์
เพศ:
Thailand
กระทู้: 5767
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น
ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Mozilla รองรับ
Re: พุทธปฏิมากร
«
ตอบ #4 เมื่อ:
03 พฤศจิกายน 2564 20:32:09 »
ขอขอบคุณ สำนักงานเลขานุการสมเด็จพระสังฆราช (ที่มาภาพประกอบ)
พระชัยนวรัฐ
พระชัยนวรัฐ
เป็นพระพุทธรูปล้านนาที่หล่อมาแต่โบราณโดยฝีมือช่างชาวล้านนา มีพุทธลักษณะพิเศษยิ่ งต่างจากพระชัยวัฒน์โดยทั่วไป คือ เป็นพระนั่งขัดสมาธิราบ ขนาดหน้าตักกว้างศอกเศษ พระหัตถ์ซ้ายขวาอยู่ในลักษณะถือและประคองตาลปัตร โดยพระหัตถ์ซ้ายถือตาลปัตรวางทอดกับพระเพลา พระหัตถ์ขวาแทนที่จะวางที่พระชานุ กลับยกขึ้นมาจับตาลปัตรด้านบน
เจ้าแก้วนวรัฐ เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ เมื่อครั้งเป็นเจ้าแก้ว เจ้าอุปราชผู้รั้งนครเชียงใหม่ อัญเชิญจากเชียงใหม่มาถวายพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ในปี พ.ศ.๒๔๕๒ อันเป็นปีที่ทรงเจริญพระชนมายุเสมอพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่โปรดให้ตกแต่งและทำตาลปัตรลงยาถวาย แล้วทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จัดการพระราชพิธีบำเพ็ญพระราชกุศลพระชนมายุสมมงคล และฉลองพระปรางค์วัดอรุณราชวรารามกับฉลองพระชัยในคราวเดียวกัน เริ่มการพระราชพิธีในวันที่ ๑๒ กุมภาพันธ์ ๒๔๕๒ ดังหมายกำหนดการดังนี้
"วันที่ ๑๓ กุมภาพันธ์ เวลาเช้าสองโมง พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จลงประทับพระที่นั่งราชฤดี พระธรรมไตรโลกาจารย์ถวายศีล ถวายพรพระแล้วโปรดเกล้าฯ ให้เจ้าพนักงานเชิญพระไชยขึ้นประดิษฐานเหนือบังลังก์ตั่งไม้อุทุมพร ครั้นถึงเวลาพระฤกษ์เช้า ๒ โมง ๓๖ นาที ๑๑ วินาที หลวงโลกทีปลั่นฆ้องไชยให้สัญญา พนักงานประโคมแตรสังข์มโหรทึก พิณพาทย์กรมแสงในแกว่งบัณเฑาะว์ พระสงฆ์สวดไชยมงคลคาถา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวถวายน้ำอภิเษกพระไชยด้วยพระมหาสังข์ทักษิณาวัฏ พระเต้าเบญจครรภแล้ว ทรงบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ แล้วทรงติดพระอุณาโลมเพชรแลพระสุพรรณบัตร ถวายพระนามว่า
พระไชยนวรัฐ
แล้วพราหมณ์ได้ถวายน้ำสรงพระไชยนวรัฐด้วยพระมหาสังข์ ๕ และพระมหาสังข์ ๓ แล้วพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงถวายนพปดลเศวตฉัตร เจ้าพนักงานยิงปืนมหาฤกษ์ มหาไชย มหาจักร มหาปราบยุค รวม ๑๒ นัด แล้วพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงจุดเทียนเครื่องนมัสการพระไชยนวรัฐ..... แล้วเจ้าพนักงานได้เชิญพระไชยนวรัฐไปประดิษฐานบนพระที่นั่งเศวตฉัตร ในพระที่นั่งอภิเษกดุสิต" และเชิญไปประดิษฐานในมณฑลพิธีเมื่อมีการบำเพ็ญพระราชกุศลต่างๆ แทนพระชัยวัฒน์ประจำรัชกาล เช่น ในการพระราชกุศลราชคฤหมงคลขึ้นตำหนักพญาไท เมื่อ พ.ศ. ๒๔๕๓
ต่อมาในปี พ.ศ.๒๔๕๕ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เจ้าอุปราชเมืองนครเชียงใหม่เป็นเจ้าผู้ครองนครสืบต่อจากเจ้าราชบิดา มีราชทินนามว่า เจ้าแก้วนวรัฐ พ้องกับพระนามพระชัยที่เชิญมาถวายเมื่อครั้งยังเป็นเจ้าอุปราช
พระชัยนวรัฐเป็นพระชัยวัฒน์ที่มีขนาดใหญ่ที่สุด และนับถือกันว่ามีคุณวิเศษเนื่องจากได้บรรจุพระบรมสารีริกธาตุตามแบบพระชัยแต่โบราณ ทั้งยังมีลักษณะที่แตกต่างและมีการประดับตกแต่งที่พิเศษกว่าพระชัยองค์อื่นๆ จึงถือว่าเป็นพระพุทธรูปสำคัญอีกองค์หนึ่งของประเทศไทย
อนึ่ง พระชัยนวรัฐ แปลว่า พระชัยเมืองเชียงใหม่ เพราะเชียงใหม่แปลว่าเมืองใหม่ เมืองใหม่ก็คือนวรัฐ
ปัจจุบันพระชัยนวรัฐ ประดิษฐานบนพระที่นั่งอัมพรสถาน พระราชวังดุสิต
พระพุทธรูปปางลองหนาว
พระพุทธรูปประจำพระชนมพรรษา ในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว
ปรากฏตามจารึกที่ฐานชั้นล่างว่า “พระพุทธปฏิมา มีอาการนั่งทรงผ้าคลุมพระสรีราพยพลองหนาว...”
ภาพจากหนังสือพุทธปฏิมาในพระบรมมหาราชวัง
ความเป็นมาของพระพุทธรูปประจำพระชนมพรรษา เนื่องมาจากพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดให้สร้างพระพุทธรูปปางมารวิชัยขนาดเล็กจำนวน ๗๓ องค์เท่าพระชนมพรรษาพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช สมเด็จพระอัยยกาธิราช และสร้างพระพุทธรูปจำนวน ๕๙ องค์เท่าพระชนมพรรษาพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย สมเด็จพระบรมชนกนาถ และได้สร้างพระพุทธรูปเท่าพระชนมพรรษาของพระองค์เอง จึงเป็นขัตติยราชประเพณีที่จะสร้างพระพุทธรูปประจำพระชนมพรรษาทุกรัชกาล มีจำนวนเท่าพระชนมพรรษาของรัชกาลนั้นๆ ทั้งนี้ พระพุทธรูปประจำพระชนมพรรษาจะมี ๒ ลักษณะ คือ ไม่มีฉัตรและมีฉัตร พระพุทธรูปที่ไม่มีฉัตรเป็นพระพุทธรูปก่อนครองราชย์ ส่วนพระพุทธรูปที่มีฉัตรคือพระพุทธรูปเมื่อครองราชย์แล้ว และการสร้างพระพุทธรูปประจำพระชนมพรรษา มีมาถึงรัชกาลที่ ๗ หลังจากนั้น ก็ไม่ได้สร้างพระพุทธรูปประจำพระชนมพรรษาอีก
พระพุทธรูปประจำพระชนมพรรษา จะมีปางต่างๆกันไป พระพุทธรูปประจำพระชนมพรรษาพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ ๖) เป็นพระลองหนาว มีจำนวน ๔๕ องค์เท่าจำนวนพระชนมพรรษา แบ่งเป็นไม่มีฉัตร ๓๐ องค์ มีฉัตร ๑๕ องค์ ประดิษฐานอยู่ในหอพระสุลาลัยพิมาน หมู่พระมหามณเฑียร พระบรมมหาราชวัง
มูลเหตุการที่พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงสร้างพระปางลองหนาว เนื่องจากพระมงคลวิเสสกถา (พระธรรมเทศนาที่ถวายในพระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษา) ในสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส เมื่อปีพุทธศักราช ๒๔๕๓ ทรงระบุว่า “เป็นปางที่สมควรแก่พระประสูติมงคลสมัยอันมีในเหมันตฤดูกาล"
พระลองหนาว
เป็นพุทธปฏิมาที่หาได้ยาก พุทธลักษณะในอิริยาบถประทับนั่ง ปางสมาธิ ทรงจีวรคลุมพระวรกาย แบบธรรมยุติกนิกายที่หนาและหนักเป็นริ้วตามธรรมชาติ ซึ่งหากไม่ทราบจากพระมงคลวิเสสกถา หรืออ่านจากจารึกที่ฐานก็จะไม่ทราบว่าเป็นปางลองหนาว
เนื้อความตามพุทธประวัติ พระบรมศาสดาทรงจีวรคลุมพระวรกายเพื่อทดลองความหนาว มีในพระวินัยปิฎก มหาวรรค จีวรขันธกะ ได้ระบุว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จพระดำเนินจากนครราชคฤห์ไปประทับ ณ โคตมเจดีย์ นครเวสาลี ได้ทอดพระเนตรเห็นภิกษุหลายรูปหอบผ้าพะรุงพะรังเพราะเป็นฤดูหนาว จึงทรงพระดำริว่าจะตั้งกฎในเรื่องผ้าแก่ภิกษุทั้งหลาย โดยทรงทดลองห่มจีวรคลุมพระวรกายตลอดราตรีในฤดูหนาว ทรงจีวร ๔ ผืนพอทนหนาวได้จนรุ่งสาง จึงทรงตั้งเขตต์จีวรลงเป็นชินะมริยาทว่า อนุชานามิ ภิกฺขเว ติจีวรํ ทรงพระดำริว่า “กุลบุตรในธรรมวินัยนี้ ที่เป็นคนขี้หนาว กลัวต่อความหนาว ก็อาจดำรงชีวิตอยู่ได้ด้วยผ้าสามผืน ไฉนหนอ เราจะพึงกั้นเขต ตั้งกฎในเรื่องผ้าแก่ภิกษุทั้งหลาย เราจะพึงอนุญาตไตรจีวร” ซึ่งไตรจีวร ที่พระพุทธเจ้าทรงอนุญาตแก่ภิกษุสงฆ์นั้น ได้แก่ ผ้าสังฆาฏิ ๒ ชั้น ผ้าอุตราสงค์ชั้นเดียว ผ้าอันตรวาสกชั้นเดียว เป็น ๔ ผืนในฤดูหนาว
«
แก้ไขครั้งสุดท้าย: 03 พฤศจิกายน 2564 20:39:15 โดย Kimleng
»
บันทึกการเข้า
กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์
เพศ:
Thailand
กระทู้: 5767
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น
ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Mozilla รองรับ
Re: พุทธปฏิมากร
«
ตอบ #5 เมื่อ:
09 พฤศจิกายน 2564 20:11:17 »
พระพุทธรูปปางประจำรัชกาล
พระพุทธรูปปางประจำรัชกาลพระมหากษัตริย์แห่งพระบรมราชจักรีวงศ์
เป็นพระพุทธรูปที่เชิญออกประดิษฐานในการพระราชพิธีถือน้ำพระพิพัฒน์สัตยา
ปัจจุบันมิได้เชิญออกประดิษฐานในพระราชพิธีถือน้ำพระพิพัฒน์สัตยาแล้ว
พระพุทธปฏิมาชัยวัฒน์
ประจำรัชกาลพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช
พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก โปรดเกล้าฯ ให้หล่อพระพุทธปฏิมาชัยวัฒน์ขึ้น ในปี พ.ศ.๒๓๒๕
เป็นพระพุทธรูปประทับบนฐานสิงห์ มีผ้าทิพย์ทอดทางด้านหน้า ประดิษฐานอยู่ภายใต้ฉัตร ๕ ชั้น ด้วยเหตุที่ว่า
พระเบญจปฎลเศวตฉัตร หรือฉัตรสีขาว ๕ ชั้น เป็นฉัตรสำหรับพระอิสริยยศของเจ้าฟ้า และสกลมหาสังฆ-
ปรินายกที่ได้รับสมณุตมาภิเษก เป็นสมเด็จพระมหาสมณเจ้า จึงเป็นสัญลักษณ์ที่ถูกนำมาเปรียบกับพระพุทธองค์
ที่ทรงมีพระอิสริยยศเป็นเจ้าฟ้า ก่อนที่จะเสด็จออกบรรพชา และเมื่อทรงเป็นพระภิกษุแล้ว ก็ได้รับการยกย่องว่า
เป็นสมเด็จพระมหาสมณเจ้า อันเป็นที่มาของการสร้างพระพุทธรูปประดิษฐานใต้ ฉัตร ๕ ชั้น ส่วนตาลปัตร
ที่ทรงถือนั้นมีรูปทรงคล้ายพัดขนนกประดับด้วยอัญมณี
พระพุทธปฏิมาชัยวัฒน์
ประจำรัชกาลพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย
สร้างขึ้นประมาณปี พ.ศ.๒๓๖๗ ก่อนที่จะเสด็จสวรรคต มีพุทธลักษณะคล้ายกับพระชัยวัฒน์
ของรัชกาลก่อนทุกประการ แตกต่างกันตรงที่รัศมีลงยา เบิ่งพระเนตร และหล่อด้วยทองคำ
ตาลปัตรเป็น พัดแฉกทรงพุ่มข้าวบิณฑ์ประดับอัญมณี
พระพุทธปฏิมาชัยวัฒน์
ประจำรัชกาลพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว
พระพักตร์ พระพุทธปฏิมาชัยวัฒน์
ประจำรัชกาลพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว
องค์พระครองจีวรทองลงยา ซึ่งสอดคล้องกับพระราชนิยมพระพุทธรูปครองจีวรลงยา ฐานเป็น
หน้ากระดานสลักลวดลาย และปูด้วยผ้าทิพย์ลงยาประดับอัญมณี ตาลปัตรเป็นพัดแฉกทรงพุ่ม
ข้าวบิณฑ์ประดับอัญมณีเช่นกัน
พระพุทธปฏิมาชัยวัฒน์
ประจำรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
สร้างถวายโดย พระองค์เจ้า ประดิษฐวรการ เมื่อพระองค์เสด็จขึ้นครองราชย์ในปี พ.ศ.๒๓๙๔
พระพุทธปฏิมาชัยวัฒน์องค์นี้แสดงให้เห็นความเปลี่ยนแปลงทางด้านศิลปวัฒนธรรมที่พระองค์
ทรงริเริ่มขึ้นได้เป็นอย่างดี เพราะทรงรับคติสัจนิยมแบบตะวันตกที่เน้นความเป็นธรรมชาติ
เข้ามาแทนที่ค่านิยมแบบประเพณีที่ สืบทอดกันลงมาจากครั้งกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี เช่น
พระพักตร์และจีวรที่เน้นความเหมือนจริง พระพุทธรูปในรัชกาลนี้ไม่มีพระเมาลี แต่มีพระอุณาโลม
ครองไตรจีวรแบบพระภิกษุในคณะธรรมยุติกนิกายที่พระองค์ทรงสถาปนาขึ้นเมื่อทรงบรรพชา
อยู่ที่วัดราชาธิวาสวิหาร ประทับเหนือฐานบัวคว่ำบัวหงาย ที่รองรับด้วยฐานแบบโรมันแปดเหลี่ยม
และมีจารึกยันต์อริยสัจจ์ที่ฐานและที่หน้ากระดาน ความว่า "พระสยามินทร์มหาราชพระองค์ใด
ทรงบูชาพระพุทธรูปนี้เป็นนิตย์ ขอพระสยามินทร์มหาราชพระองค์นั้น จงชนะซึ่งแผ่นดินทั้งหมด
จงชนะซึ่งข้าศึกทั้งหลายทุกเมื่อ"
พระพุทธปฏิมาชัยวัฒน์
ประจำรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
สร้างขึ้นในปี พ.ศ.๒๔๑๒ มีพุทธลักษณะคล้ายพระพุทธปฏิมาชัยวัฒน์ประจำรัชกาลที่แล้ว
ทุกประการ รวมทั้งฐาน แปดเหลี่ยมและจารึกยันต์อริยสัจจ์ที่ฐานหน้ากระดาน แตกต่างกันที่
ริ้วจีวรเป็นธรรมชาติมากขึ้นและ ตาลปัตรรูปพัดแฉกทรงพุ่มข้าวบิณฑ์ทองคำลงยาราชาวดี
นอกจากนั้นแล้วภายในฐานหน้ากระดานยังมี คูหาประดิษฐานพระกริ่ง ซึ่งได้แก่พระพุทธรูป
ประทับขัดสมาธิเพชร ปางมารวิชัย ถือหม้อน้ำอมฤต ในพระหัตถ์ซ้ายที่วางหงายอยู่ในพระเพลา
ซึ่งถอดแบบมาจากพระกริ่งของกัมพูชา สร้างขึ้นในสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ ๗ และเป็นพระ
บุคลาธิษฐานของพระไภษัชยคุรุไวฑูรยประภา พระพุทธะผู้รักษาโรคทั้งมวล
พระพุทธปฏิมาชัยวัฒน์
ประจำรัชกาลพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว
สร้างขึ้นในปี พ.ศ.๒๔๕๔ มีวัชระในกรอบรูปข้าวบิณฑ์ที่ผ้าทิพย์เหนือฐานบัวคว่ำบัวหงาย
พระเศียรแบบ พระพุทธรูปสุโขทัย พระวรกาย พระหัตถ์ พระบาทรวมทั้งไตรจีวรปั้นแบบ
เหมือนจริงดูเป็นธรรมชาติ มากกว่าพระชัยวัฒน์รัชกาลที่แล้ว ที่ฐานจารึกยันต์อริยสัจจ์
ตาลปัตรรูปพัดแฉกทรงพุ่มข้าวบิณฑ์ลงยา ตรงกลางมีเลข ๖ อยู่ใต้มงกุฎ
พระพุทธปฏิมาชัยวัฒน์
ประจำรัชกาลพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว
สร้างขึ้นในปี พ.ศ.๒๔๖๙ มีพระพักตร์แบบพระพุทธรูปไทย พระเกศาแบบพระพุทธรูปอินเดีย
แบบคันธารราษฎร์ ครองจีวรแบบเหมือนจริง ไม่พาดสังฆาฏิประทับเหนือกลีบบัวหงาย รองรับ
ด้วยฐานหน้ากระดาน และมีศร ๓ เล่มอยู่ในซุ้มหน้าฐาน ศรสามเล่มนี้ มีความหมายว่า “ศักดิเดชน์”
ซึ่งเป็นพระนาม เดิมของสมเด็จเจ้าฟ้าชายประชาธิปก ศักดิเดชน์ “คำว่า ‘เดช’ หมายถึงลูกศร
ที่เป็นสามนั้นมาแต่พระแสงศรที่สำหรับชุบน้ำวันถือน้ำพระพิพัฒน์สัตยา คือ ศรพระอิศวร ๑
ศรพระนารายณ์ ๑ ศรพระพรหม ๑” (ศรพรหมาสตร์ ศรปราลัยวาต ศรอัคนิวาต พระบาท
สมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดให้สร้างขึ้นไว้ สำหรับใช้ในการพระราชพิธีถือน้ำ) ซึ่งเป็น
เครื่องหมายประจำพระองค์ ที่หน้ากระดานทั้งสี่ด้านมีจารึกคาถาธรรมบท คาถาทศบารมี และ
คาถาอริยสัจจ์ ตาลปัตรออกแบบแปลกกว่ารัชกาลก่อนๆ ภายในรูปพัดแฉกทรงพุ่มข้าวบิณฑ์
เป็นแก้วใสเขียนรูปธรรมจักร รอบนอกเป็นแฉกรูปแววขนหางนกยูง
พระพุทธปฏิมาชัยวัฒน์
ประจำรัชกาลพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช
สร้างขึ้นในปี พ.ศ.๒๕๐๖ โดยมีนายพิมาน มูลประมุข เป็นผู้ปั้นหุ่นพระพุทธรูป โดยเป็น
พระพุทธรูป “แบบสุโขทัยประยุกต์” คือเลียนแบบจากพระพุทธรูปสมัยสุโขทัย ประทับเหนือ
ฐานสิงห์แบบอยุธยาตอนปลาย - รัตนโกสินทร์ตอนต้น มีผ้าทิพย์ ขนาดใหญ่จำหลักลาย
ลงยาอยู่ด้านหน้า ซึ่งเป็นการประยุกต์พระพุทธรูปแบบประเพณี ซึ่งเป็นพระราชนิยม ของ
รัชกาล ตาลปัตรรูปพัดแฉกทรงพุ่มข้าวบิณฑ์คล้ายพัดแฉกงาพัดยศ พระราชาคณะ
ตำแหน่ง เจ้าคณะใหญ่ฝ่ายธรรมยุติกนิกาย ที่ฐานพระพุทธรูปด้านหน้า มีจารึกเป็นคาถา
ที่สมเด็จพระญาณสังวร (เจริญ สุวฑฺฒโน) ผูกถวายว่า "ความตั้งใจมุ่งมั่น ความเพียร
ความมีขันติ เป็นพลังที่เป็นเหตุให้ประสบความ สำเร็จโดยแท้ ผู้บรรลุถึงความสำเร็จนั้น
เป็นบัณฑิต ได้รับความชนะมาก ย่อม ให้เกิดความสุขยินดี"
พระพุทธรูปประจำพระชนมวาร
สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง
ปางรำพึง (วันศุกร์) สร้างปี พ.ศ.๒๔๓๘ องค์พระทำด้วยสัมฤทธิ์
กะไหล่ทอง องค์พระสูง ๒๑.๓๕ ซ.ม. ประดิษฐานณ หอพระบรมอัฐิ พระที่นั่งจักรีมหาปราสาท
พระบรมมหาราชวัง
พระพุทธรูปประจำพระชนมวาร
สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก
เป็นพระพุทธรูปยืน ปางรำพึง (วันศุกร์) องค์พระทำด้วยทองคำ สร้างเมื่อปี พ.ศ.๒๕๑๓
ขอขอบคุณที่มา : พระพุทธปฏิมาในพระบรมมหาราชวัง
600
«
แก้ไขครั้งสุดท้าย: 09 พฤศจิกายน 2564 20:23:22 โดย Kimleng
»
บันทึกการเข้า
กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์
เพศ:
Thailand
กระทู้: 5767
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น
ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Mozilla รองรับ
Re: พุทธปฏิมากร
«
ตอบ #6 เมื่อ:
28 พฤศจิกายน 2564 14:13:57 »
พระสัมพุทธพรรณี
เป็นพระพุทธรูปปางสมาธิ ครองจีวรตามแบบพระภิกษุธรรมยุติกนิกาย หน้าตักกว้าง ๔๙ เซนติเมตร สูงเฉพาะองค์พระ ๖๗.๕๐ เซนติเมตร สูงจากฐานถึงพระรัศมี ๙๓ เซนติเมตร
พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ขณะทรงพระผนวชอยู่วัดสมอราย (วัดราชาธิวาส) โปรดให้ขุนอินทรพินิจ เจ้ากรมช่างหล่อ สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ.๒๓๗๓ แล้วอัญเชิญมาประดิษฐานไว้ที่หอสวดมนต์วัดสมอราย ภายหลังเมื่อเสด็จมาครองวัดบวรนิเวศวิหารก็ได้เชิญมาด้วย ต่อมาเมื่อเสวยราชย์แล้ว ได้อัญเชิญมาประดิษฐานไว้ที่ฐานชุกชีวัดพระศรีรัตนศาสดาราม แทนพระพุทธสิหิงค์ ซึ่งได้อัญเชิญไปประดิษฐานที่วังหน้า เดิมองค์พระไม่มีพระเมาลี หรือพระเกตุมาลา ต่อมาในรัชกาลที่ ๕ โปรดเกล้าฯ ให้พระวงศ์เธอ พระองค์เจ้าประดิษฐวรการ แปลงเสียใหม่ แล้วทำพระรัศมีขึ้น ๔ องค์ ทำด้วยทอง นาก แก้วสีขาว และแก้วสีน้ำเงินสำหรับเปลี่ยนตามฤดูกาล เช่นเดียวกับพระแก้วมรกต คือรัศมีทองสำหรับฤดูร้อน นากหรือแก้วสีขาวสำหรับฤดูหนาว แก้วสีน้ำเงินสำหรับฤดูฝน เมื่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงเปลี่ยนเครื่องทรงพระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากรแล้ว จะทรงเปลี่ยนพระรัศมีพระสัมพุทธพรรณี จากนั้นทรงพระสุหร่าย จึงจุดธูปเทียนนมัสการที่ผ้าทิพย์จารึกอักษรมอญ เป็นข้อความว่า
"สุทฺธานนฺตทยาญาโณ
.
โคตโม สากยปุงฺคโว
พุทฺโธว ติฏฺฐตุ พิมฺพํ
สมฺพุทฺธ วณฺณินามิทํ"
ปัจจุบันพระสัมพุทธพรรณี ได้อัญเชิญไปประดิษฐาน ณ พระที่นั่งอัมพรสถาน พระราชวังดุสิต
พระแก้ววังหน้า
ประดิษฐาน ณ ฐานชุกชี ในพระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม เบื้องหน้าพระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร
ลักษณะเป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย ทำด้วยหินสีหม่น หน้าตักกว้าง ๓๗ เซนติเมตร สูงเฉพาะองค์พระ -
๕๘ เซนติเมตร สูงรวมฐาน ๘๓ เซนติเมตร
พระพุทธรูปไม้จันท์ทรงเครื่องจักรพรรดิราช
พระพุทธรูปไม้จันท์ทรงเครื่องจักรพรรดิราชสร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่ ๓
ประดิษฐานบนฐานชุกชีในพระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม ในพระบรมมหาราชวัง
ที่มา : เผยแพร่เป็นวิทยาทานโดยหอสมุดพิกุลศิลปาคาร
บันทึกการเข้า
กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์
เพศ:
Thailand
กระทู้: 5767
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น
ระบบปฏิบัติการ:
Windows NT 10.0
เวบเบราเซอร์:
Chrome 103.0.0.0
Re: พุทธปฏิมากร
«
ตอบ #7 เมื่อ:
20 กรกฎาคม 2565 12:24:01 »
พระพุทธมหาชัยยศสุวรรณปฏิมากร
พระพุทธมหาชัยยศสุวรรณปฏิมากร
ประกอบด้วยพุทธลักษณะ องค์พระพุทธมหาสุวรรณปฏิมากร ด้านหลังประดิษฐานพัดยศสมเด็จพระราชาคณะ อันหมายถึง ความเจริญยิ่งด้วยยศฐานบรรดาศักดิ์อย่างสูงสุด ฐานบัลลังค์มังกร หมายถึง อำนาจ วาสนา ความยิ่งใหญ่ ดอกบัวปทุมมาศ หมายถึง ดอกบัวทองคำ รองรับทรัพย์สมบัติที่จะได้ครอบครอง นับเป็นวาสนาอย่างยิ่งแก่ผู้ได้สักการะบูชา จัดสร้างเมื่อปี ๒๕๖๓
โพสต์จาก พัดยศ สมณศักดิ์พระสงฆ์ไทย
650
บันทึกการเข้า
กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
คำค้น:
หน้า: [
1
]
ขึ้นบน
พิมพ์
« หน้าที่แล้ว
ต่อไป »
กระโดดไป:
เลือกหัวข้อ:
-----------------------------
จากใจถึงใจ
-----------------------------
=> หน้าบ้าน สุขใจ
===> สุขใจ ป่าวประกาศ (ข้อความจากทีมงาน)
===> สุขใจ เสนอแนะ (ข้อความจากสมาชิก)
===> สุขใจ ให้ละเลง (มุมทดสอบบอร์ด)
-----------------------------
สุขใจในธรรม
-----------------------------
=> พุทธประวัติ - ประวัติพระสาวก
===> พุทธประวัติ แห่งองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
===> ประวิติพระอรหันต์ พระสาวก ในสมัยพุทธกาล
===> ประวัติพระผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ ในยุคปัจจุบัน
===> นิทาน - ชาดก
=====> ชาดก พระเจ้า 500 ชาติ
=> ธรรมะทั่วไป ธารธรรม - ธรรมทาน
===> ธรรมะจากพระอาจารย์
===> เกร็ดครูบาอาจารย์
=> ห้องวิปัสสนา - มหาสติปัฏฐาน 4
=> สมถภาวนา - อภิญญาจิต
=> จิตอาสา - พุทธศาสนาเพื่อสังคม
=> เสียงธรรมเทศนา - เอกสารธรรม - วีดีโอ
===> เอกสารธรรม
===> เสียงธรรมเทศนา
=====> ธรรมะจาก สมเด็จโต
=====> ธรรมะจาก หลวงปู่มั่น
=====> เสียงบทสวดมนต์
=====> เพลงสวดมนต์
=====> เพลงเพื่อจิตสำนึก แด่บุพการี
=====> ธรรมะ มิวสิค (เพลงธรรมทั่วไป)
===> ห้อง วีดีโอ
=> เกร็ดศาสนา
=> กฏแห่งกรรม - ท่องไตรภูมิ
=> ไขปัญหาโลก ธรรม และความรัก
=> บทสวด - คัมภีร์ คาถา - วิชา อาคม
=> พุทธวัจนะ - ภาษิตธรรม
===> พุทธวัจนะ ในธรรมบท
===> พุทธศาสนสุภาษิต
===> คำทำนายภัยพิบัติที่จะเกิด
===> รวมข่าวภัยพิบัติ ทั้งในอดีต และปัจจุบัน
===> รู้ เพื่อ รอด (การเตรียมการ)
=> ห้องประชาสัมพันธ์ ทั้งทางโลก และทางธรรม
===> ฐานข้อมูล มูลนิธิต่าง ๆ ในประเทศไทย (Donation Exchange Center)
-----------------------------
วิทยาศาสตร์ทางจิต เรื่องลี้ลับ
-----------------------------
=> วิทยาศาสตร์ - จักรวาล - การค้นพบ
===> เรื่องราว จากนอกโลก
=====> ประสบการณ์เกี่ยวกับ UFO
=====> หลักฐาน และ การพิสูจน์ยูเอฟโอ
=====> คลิปวีดีโอ ยูเอฟโอ
=> ไขตำนาน - ประวัติศาสตร์ - การค้นพบ อารยธรรม
=> เรื่องแปลก - ประสบการณ์ทางจิต - เรื่องลึกลับ
===> ร้อยภูติ พันวิญญาณ
=====> ประสบการณ์ ผี ๆ
=======> เรื่องเล่าในรั้วมหาลัย
=====> ประวัติ ต้นกำเนิด ตำนานผี
===> ดูดวง ทำนายทายทัก
===> ไดอะล็อก คือ ดอกอะไร - พลังไดอะล็อก (Dialogue)
===> กระบวนการ NEW AGE
=> เครื่องราง ของขลัง พุทธคุณ
-----------------------------
นั่งเล่นหลังสวน
-----------------------------
=> สุขใจ จิบกาแฟ
=> สุขใจ ร้านน้ำชา
=> สุขใจ ห้องสมุด
===> สุขใจ หนังสือแนะนำ
===> สุขใจ คลังความรู้ลวงโลก
===> สยาม ในอดีต
=> สุขใจ ใต้เงาไม้
=> สุขใจ ตลาดสด
=> สุขใจ อนามัย
=> สุขใจ ไปเที่ยว
=> สุขใจ ในครัว
===> เกร็ดความรู้ งานบ้าน งานครัว
=> สุขใจ ไปรษณีย์
=> สุขใจ สวนสนุก
===> ลานกว้าง (มุมดูคลิป)
===> เวที จำอวด (จำอวดหน้าม่าน)
===> หนังกลางแปลง (ดูหนัง รีวิวหนัง)
===> หน้าเวที (มุมฟังเพลง)
=====> เพลงไทยเดิม
===> แผงลอยริมทาง (รวมคลิปโฆษณาโดน ๆ)
คุณ
ไม่สามารถ
ตั้งกระทู้ได้
คุณ
ไม่สามารถ
ตอบกระทู้ได้
คุณ
ไม่สามารถ
แนบไฟล์ได้
คุณ
ไม่สามารถ
แก้ไขข้อความได้
BBCode
เปิดใช้งาน
Smilies
เปิดใช้งาน
[img]
เปิดใช้งาน
HTML
เปิดใช้งาน
กำลังโหลด...