[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
22 ธันวาคม 2567 18:36:45 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: ตามรอย “ศาลแม่” พระเจ้าตากสิน บนดอยก่อนประวัติศาสตร์  (อ่าน 814 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 2 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
ใบบุญ
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 12
*

คะแนนความดี: +0/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

Thailand Thailand

กระทู้: 2497


ระบบปฏิบัติการ:
Windows NT 10.0 Windows NT 10.0
เวบเบราเซอร์:
Chrome 103.0.5060.114 Chrome 103.0.5060.114


ดูรายละเอียด
« เมื่อ: 12 กรกฎาคม 2565 12:51:42 »



ศาลสมเด็จย่าแม่นกเอี้ยง” พระราชมารดา สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช
(ภาพจาก เพจวัดดอยข่อยเขาแก้ว-วัดสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช)


ตามรอย “ศาลแม่” พระเจ้าตากสิน บนดอยก่อนประวัติศาสตร์

ผู้เขียน - คนไกล วงนอก
เผยแพร่ - ศิลปวัฒนธรรม  วันศุกร์ที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ.2565


อนุสาวรีย์ที่รัฐและเอกชนสร้างขึ้นเพื่อระลึกถึง “สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช” ในประเทศมีอยู่หลายสิบแห่ง ในสถานที่ที่เกี่ยวข้องกับพระราชประวัติ, พระราชกรณียกิจสำคัญ, ความศรัทธาของมหาชน ฯลฯ แต่ที่จะกล่าวถึงในครั้งนี้คือ “ศาลพระราชมารดา” สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ที่ไม่ค่อยมีให้เห็นมากนัก

ศาลแห่งนี้ที่เรียกกันทั่วไปว่า “ศาลสมเด็จย่าแม่นกเอี้ยง” ซึ่งตั้งอยู่ที่ “วัดดอยข่อยเขาแก้ว” หรือชื่ออย่างไม่เป็นทางการว่า “วัดสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช” ที่จังหวัดตาก

รายละเอียดของเรื่องราวนี้ ทรงวุฒิ ธรรมขันติพงศ์ และประพนธ์ กรณีกิจ เคยเขียนเป็นบทความชื่อ “ศาลแม่พระเจ้าตาก บนดอยก่อนประวัติศาสตร์” (ศิลปวัฒนธรรม, ตุลาคม 2542) ซึ่งนอกจากเรื่องของถึงศาลฯ ดังกล่าว แล้วยังมีเรื่องของดอยข่อยเขาแก้ว แหล่งโบราณคดีสำคัญอีกด้วย


แม้ว่าพระเจ้าตากสินไม่ได้เป็นคนพื้นเพของเมืองตาก แต่เป็นคนในแถบพื้นที่ภาคกลาง แถบคลองสวนพลู จังหวัดพระนครศรีอยุธยา แต่ไม่อาจปฏิเสธความสำคัญทางประวัติศาสตร์ของพระเจ้าตากสินกับเมืองตากว่ามีความผูกพันกันยิ่งกว่าจังหวัดใด

เพราะเป็นเมืองที่พระองค์ทรงเคยเป็นเจ้าเมืองก่อนเสียกรุง แม้กำแพงเพชรที่พระองค์ได้รับพระราชทานให้เป็นเจ้าเมือง พระองค์ยังไม่ได้ปกครอง เพราะเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่ 2 ไปก่อน

พระราชพงศาวดารกรุงธนบุรี ฉบับพันจันทนุมาศ เล่าถึงครั้งพระเจ้าตากสินเสด็จยกทัพกลับจากรบพม่าที่เชียงใหม่ในปลาย พ.ศ. 2317 ประทับพักแรมอยู่หลายวันที่บ้านระแหง หรือเมืองตากปัจจุบัน

วันหนึ่งได้เสด็จไปยังวัดกลางดอยเขาแก้ว แล้วตรัสถามพระสงฆ์ว่า ‘พระผู้เป็นเจ้าจำได้หรือไม่เมื่อโยมยังอยู่บ้านระแหง โยมยกระฆังแก้วขึ้นชูไว้กระทำสัตยาธิษฐานเสี่ยงพระบารมีว่า ถ้าฯ ข้าฯ จะได้ตรัสแก่พระปรมาภิเษกสัมโพธิญาณ ในอนาคตกาลเป็นแท้ฯ ข้าฯ ตีระฆังแก้วบัดนี้ให้ระฆังแก้วแตกจำเพาะที่จุก จะได้ทำเป็นพระเจดีย์ฐานแก้วบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ ครั้นอธิษฐานแล้วตีเข้าระฆังแตกจำเพาะที่จุก ก็เห็นประจักษ์เป็นอัศจรรย์ครั้งหนึ่ง พระสงฆ์ถวายพระพรว่า จริงดังพระราชโองการ”

ข้อความในพระราชพงศาวดารฉบับนี้กล่าวถึงสถานที่คือ วัดกลางดอยเขาแก้ว ตำบลแม่ท้อ อำเภอเมือง จังหวัดตาก เป็นโบราณสถานที่ประกาศในราชกิจจานุเบกษา ตั้งแต่ปีพุทธศักราช 2478

วัดดอยข่อยเขาแก้ว เป็นที่ตั้งของศาลสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชเดิมก่อนย้ายไปตั้งข้างสำนักงานการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย เพราะสะดวกสบายแก่ผู้ไปสักการะมากกว่าตั้งบนดอยข่อยเขาแก้ว แต่ปัจจุบันเป็นที่ตั้งของศาลแม่พระเจ้าตาก หรือ “ศาลเสด็จแม่ย่านกเอี้ยง” ที่เกิดจากการสร้างของผู้มีจิตศรัทธาต่อแม่พระเจ้าตาก สร้างถวายบนดอยข่อยเขาแก้ว เคยเป็นที่ตั้งของโรงเรียนวัดกลางสวนดอกไม้ แต่ถูกยุบลงในปีการศึกษา 2541 เนื่องจากนักเรียนมีน้อย และเป็นสถานที่ที่มีประวัติศาสตร์เกี่ยวข้องกับสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ได้มอบหมายให้ห้างหุ้นส่วนจำกัด ปุราณรักษ์ ดำเนินการขุดแต่งและบูรณะโบราณสถานบนดอยข่อยเขาแก้ว

วัดดอยข่อยเขาแก้ว ตั้งอยู่บนฝั่งตะวันตกของศูนย์กลางเมือง ปัจจุบันบริเวณรอบๆ ดอยข่อยเขาแก้วมีโบราณสถานในสมัยอยุธยาตอนปลายหลายแห่ง เช่น ตำหนักสวนมะม่วงที่ประทับของสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช เจดีย์ในสมัยอยุธยาใกล้กับศาลสี่มหาราชทางทิศใต้ของดอย

บนดอยข่อยเขาแก้วมีโบราณสถานในสมัยอยุธยาหลายหลัง ได้แก่ อุโบสถหันด้านหน้าไปทางทิศเหนือ วิหารหันด้านหน้าไปทางทิศตะวันออก ตัววิหารมีร่องรอยการบูรณะ 2 ครั้ง มณฑปอยู่ห่างศาลแม่พระเจ้าตากทาง ทิศใต้ของดอยข่อยเขาแก้ว

ขณะขุดตรวจโบราณสถานหมายเลข 4 หน้าศาลแม่พระเจ้าตาก พบโครงกระดูกมนุษย์ก่อนประวัติศาสตร์ สมัยยุคโลหะตอนปลาย (LATE METAL AGE) ประมาณพุทธศตวรรษที่ 5 หรือประมาณ 2,000 ปีมาแล้ว หลักฐานการฝังศพและรูปแบบภาชนะบนดอยข่อยเขาแก้ว ทุบภาชนะดินเผาแล้วนำไปวางบนศพ (เพราะสามารถนำภาชนะมาประกอบเป็นรูปร่างได้) ภาชนะดินเผาที่พบเป็นภาชนะเนื้อหยาบ มีเม็ดกรวดทรายผสมมาก ขึ้นรูปด้วยมือ ได้แก่ พาน หม้อขนาดเล็กปากผายออก หม้อก้นกลมปากผายออก บริเวณไหล่และลำตัว ตกแต่งด้วยลายขูดขีดเป็นเส้นเชือกผสมลายเชือกทบตัดกันเป็นตารางสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน

สำหรับประเพณีการฝังศพที่มีการฝังภาชนะดินเผาให้ผู้ตายและทุบภาชนะแล้วนำไปวางบนศพ เป็นลักษณะประเพณีที่พบในแหล่งโบราณคดีสมัยก่อนประวัติศาสตร์ ยุคโลหะตอนปลาย ลุ่มแม่น้ำปิงที่บ้านยางทองใต้ อำเภอออบหลวง จังหวัดเชียงใหม่ นอกจากหลักฐานโบราณวัตถุประเภทภาชนะดินเผา คนก่อนประวัติศาสตร์บนดอยข่อยเขาแก้ว มีการใช้โลหะประเภทสำริดและเหล็กแล้ว ได้พบเครื่องประดับประเภทกำไลสำริด หอกสำริด และขวานเหล็กแบบมีบ้อง ในชั้นดินอยู่อาศัยและหลุมฝังศพ ขวานเหล็กแบบมีบ้องมีลักษณะรูปแบบเดียวกับที่พบในแหล่งโบราณคดีบ้านใหม่ชัยมงคล จังหวัดนครสวรรค์ ซึ่งอยู่ในช่วงยุคโลหะตอนปลาย

จากหลักฐานโบราณคดีสมัยก่อนประวัติศาสตร์ตอนปลาย หน้าศาลแม่พระเจ้าตาก ทำให้เรารู้ว่าบนดอยข่อยเขาแก้วมีผู้คนอยู่อาศัยมาแล้วนับพันปี และถูกทิ้งร้างไปจนมีผู้อพยพมาอยู่อีกครั้งในสมัยอยุธยา

เพราะหลักฐานหลังการขุดแต่งโบราณสถานต่างๆ บนดอยข่อยเขาแก้ว พบว่าหลักฐานที่พบอยู่ในช่วงพุทธศตวรรษที่ 22 ลงไป เพราะไม่พบเครื่องถ้วยสุโขทัย หรือเครื่องถ้วยศรีสัชนาลัยในพื้นที่โบราณสถานทุกหลังบนวัดดอยข่อยเขาแก้ว (อุตสาหกรรมผลิตเครื่องถ้วยในวัฒนธรรมเขมรได้เสื่อมลงไปพร้อมๆ กับการเสื่อมสลายของอาณาจักรเขมร และสิ้นสุดลงในช่วงต้นพุทธศตวรรษที่ 22 เมื่อสมเด็จพระนเรศวรทรงปราบปรามหัวเมืองทางเหนือ และตีหักเอาเมืองสวรรคโลก (ศรีสัชนาลัยในปัจจุบัน) ได้ใน พ.ศ.2127 แล้วอพยพผู้คนไปเมืองพิษณุโลก โดยปล่อยให้เมืองสวรรคโลกทิ้งร้างไปในครั้งนั้น) พบเครื่องถ้วยจีนเขียนสีน้ำมันบนพื้นขาวใต้เคลือบใส อายุประมาณพุทธศตวรรษที่ 22-24 กระเบื้องดินเผาแผ่นเรียบและเชิงชายแบบที่พบในโบราณสถานสมัยอยุธยา

หลักฐานทางเอกสารว่าเมืองตากได้ย้ายจากอำเภอบ้านตาก มาตั้งอยู่ที่บ้านป่ามะม่วง ย้ายมาในแผ่นดินสมเด็จพระมหาธรรมราชา ภายหลังสมเด็จพระนเรศวรมหาราชทรงประกาศอิสรภาพ เมื่อประกอบกับหลักฐานทางโบราณวัตถุที่พบทำให้เรารู้ว่า ดอยข่อยเขาแก้วมีผู้คนอยู่อาศัยมาตั้งแต่ยุคก่อนประวัติศาสตร์ตอนปลาย และถูกทิ้งร้างไปเป็นเวลานับพันปี จนมีผู้อพยพมาอาศัยบนดอยอีกในสมัยอยุธยา และอยู่อาศัยสืบต่อเนื่องกันมาจนถึงสมัยรัตนโกสินทร์


 

Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

บันทึกการเข้า
คำค้น:
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน

Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.27 วินาที กับ 31 คำสั่ง

Google visited last this page 27 พฤศจิกายน 2567 20:19:59