เผยพม่าทิ้งระเบิดพื้นที่พลเรือนส่งผลกระทบไทย จี้ฝ่ายนิติบัญญัติร่วมหาทางออก
<span class="submitted-by">Submitted on Sat, 2023-08-05 18:57</span><div class="field field-name-body field-type-text-with-summary field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even" property="content:encoded"><p>สำนักข่าวชายขอบเผย คนทำงานชายแดนสุดทน ทหารพม่าทิ้งระเบิดพื้นที่พลเรือนส่งผลกระทบไทย ชาวบ้านผวาทำกิน ส่งหนังสือจี้ฝ่ายนิติบัญญัติร่วมหาทางออก</p>
<p style="text-align: center;"><img alt="" src="
https://transbordernews.in.th/home/wp-content/uploads/365003797_1411320006328659_4736091889165690289_n-1024x579.jpg" />
<span style="color:#f39c12;">แฟ้มภาพสำนักข่าวชายขอบ</span></p>
<p>5 ส.ค. 2566
สำนักข่าวชายขอบ รายงานว่า น.ส.เพียรพร ดีเทศน์ เลขาธิการมูลนิธิพัฒนาชุมชนและเขตภูเขา (พชภ.) เปิดเผยว่าเครือข่ายภาคประชาสังคม 7 องค์กร ประกอบด้วย สมาคมฟื้นฟูและพัฒนาลุ่มน้ำสาละวิน จ.แม่ฮ่องสอน, เสมสิกขาลัย มูลนิธิเสฐียรโกเศศ-นาคะประทีป, มูลนิธิพัฒนาชุมชนและเขตภูเขา (พชภ.), มูลนิธิเครือข่ายสถานะบุคคล, มูลนิธิเพื่อนไร้พรมแดน, เครือข่ายแก้ปัญหาคืนสัญชาติคนไทย พังงา ระนอง ชุมพร ประจวบฯ (คนไทยพลัดถิ่น), Burma Concern ได้ส่งหนังสือถึงประธานสภาผู้แทนราษฎรและหัวหน้าพรรคการเมืองต่างๆ เพื่อขอให้มีมาตรการคุ้มครองประชาชนตามแนวชายแดนตะวันตก ในสถานการณ์การสู้รบของประเทศพม่า</p>
<p>น.ส.เพียรพร ระบุว่าสถานการณ์ชายแดนไทย-พม่า นับตั้งแต่ชายแดนภาคเหนือ ที่ จ.เชียงราย จ.เชียงใหม่ จ.แม่ฮ่องสอน จ.ตาก จ.กาญจนบุรี ลงไปจนถึง จ.ระนอง ในช่วงเวลา 2 ปีที่ผ่านมานับตั้งแต่รัฐประหารในพม่าได้เกิดความรุนแรงอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้เกิดการอพยพของประชาชนจากฝั่งประเทศพม่าเข้ามาประเทศไทยจำนวนมาก และสิ่งที่ประชาชนไทยที่อาศัยอยู่ในชุมชนตลอดแนวชายแดนต้องเผชิญ คือ การได้รับผลกระทบจากการโจมตีโดยอากาศยานและภาคพื้นของกองทัพพม่า โดยได้สร้างความเสียหายที่เกิดขึ้นกับประชาชนไทยเกิดขึ้นในหลายเหตุการณ์</p>
<p>ทั้งนี้หนังสือที่ส่งถึงประธานสภาผู้แทนราษฎรและหัวหน้าพรรคการเมืองระบุว่า ตั้งแต่วันที่ 27 มีนาคม 2564 ที่บ้านแม่สามแลบ อ.สบเมย และบ้านท่าตาฝั่ง อ.แม่สะเรียง จ.แม่ฮ่องสอน เครื่องบินรบพม่าบินมาทิ้งระเบิดฝ่ายตรงข้ามบริเวณชายแดนริมแม่น้ำสาละวิน แต่เครื่องบินรบพม่าได้รุกล้ำข้ามมาถึงน่านฟ้าไทย การสู้รบครั้งนี้มีลูกกระสุนปืนหลายชนิด ตกใส่ทรัพย์สินและบ้านเรือนของประชาชน ต่อมา 28 เมษายน 2564 การปะทะกันบริเวณรอบฐานดากวินซึ่งอยู่ตรงข้ามกับบ้านท่าตาฝั่ง อ.แม่สะเรียง จ.แม่ฮ่องสอน เครื่องบิน-เฮลิคอปเตอร์ของพม่าทิ้งระเบิด พร้อมมีเสียงปืนกลบนเครื่องบิน ชาวบ้านชาวไทยที่อาศัยอยู่ริมแม่น้ำสาละวินได้อพยพเข้าป่าหนีห่างจากชายแดน อีกจำนวนหนึ่งยังอยู่ในบ้านแต่ยังเฝ้าระวังสถานการณ์ เพราะเกรงว่าเครื่องบินของพม่าจะจู่โจมในตอนกลางคืน การสู้รบกครั้งนี้ชาวบ้านสามารถถ่ายภาพเครื่องบินรบพม่าที่บินเหนือน่านฟ้าหมู่บ้านท่าตาฝั่งไว้ได้ชัดเจนและมีการเผยแพร่ผ่านสื่อออนไลน์</p>
<p>“ทุกวันนี้ในรัฐกะเหรี่ยงฝั่งพม่าใกล้ชายแดนไทยก็ยังคงมีเครื่องบินมาทิ้งระเบิดเป็นระยะๆ และมีโดรนมาสำรวจพิกัดอย่างต่อเนื่อง สร้างความหวาดกลัวแก่ชาวบ้านที่ทำไร่ไถนาในฝั่งไทย”</p>
<p>หนังสือถึงประธานสภาฯและหัวหน้าพรรคการเมืองยังระบุว่า ช่วงวันที่ 30 มิถุนายน 2565 มีเครื่องบินรบของกองทัพพม่าได้บินผ่านหมู่บ้านวาเล่ย์เหนือ ต.วาเล่ย์ อ.พบพระ จ.ตาก โดยยิงอาวุธปืนจากเครื่องบินทำให้กระสุนตกบริเวณในไร่ปาล์ม และมีสะเก็ดระเบิดถูกรถยนต์กระบะ ของประชาชนไทย ซึ่งจอดห่างจากชายแดนประมาณ 1 กิโลเมตร เครื่องบินรบของพม่า ยังบินผ่านเข้าไปในตัวเมือง อ.พบพระ อีกด้วย ชาวบ้านที่ได้รับความเสียหายพยายามเรียกร้องให้ทหารไทยประสานกับทหารพม่าเพื่อชดใช้ค่าเสียหาย แต่สุดท้ายกลับกลายเป็นภาระของบริษัทประกันภัย</p>
<p>“ทุกวันนี้ราษฎรไทยที่อาศัยอยู่ริมแม่น้ำเมยต่างรู้สึกกังวลใจในสถานการณ์สู้รบจากฝั่งพม่า เพราะไม่แน่ใจว่าจะมีการรุกล้ำพื้นที่เข้ามาหรือไม่ เพราะยังมีการสู้รบอย่างสม่ำเสมอ”</p>
<p>หนังสือระบุว่า กุมภาพันธ์ 2566 ที่ต.ปากจั่น อ.กระบุรี จ.ระนอง ทหารพม่าได้ยิงปืนค. ถล่มฝ่ายต่อต้านและหมู่บ้านพลเรือนชายแดนพม่า ทำให้ชาวบ้านฝั่งพม่าต้องหลบหนีข้ามมาอาศัยอยู่ในสวนปาล์มฝั่งไทย ขณะเดียวกันมีกระสุนปืนค.ของทหารพม่าได้ตกลงข้างคอกวัวในฝั่งไทย ทำให้วัวตายและบาดเจ็บ คอกวัวเสียหาย ต่อมามีทหารไทยเข้ามาเก็บสะเก็ดระเบิดทั้งหมดออกไป แต่ไม่เคยหน่วยงานรัฐเข้ามาสอบถามเรื่องความเสียหายหรือเยียวยาใดๆ และเมื่อเดือนกรกฎาคม 2566 ชายแดนไทยด้าน บ้านเสาหิน อ.แม่สะเรียง จ.แม่ฮ่องสอน กองทัพพม่าได้ส่งเครื่องบินรบมาทิ้งระเบิดลงหมู่บ้านอย่างต่อเนื่อง ทำให้มีชาวบ้านฝั่งรัฐคะเรนนีต้องหนีภัยความตายข้ามมาพักพิงยังฝั่งไทยร่วมหมื่นคนจนปัจจุบันก็ยังไม่มีท่าที่ว่าความรุนแรงดังกล่าวจะคลี่คลาย</p>
<p>หนังสือระบุด้วยว่า นอกจากสถานการณ์ข้างต้นแล้ว ยังมีอีกหลายเหตุการณ์ที่ไม่เป็นข่าว ซึ่งเครือข่ายภาคประชาชนเห็นว่าสถานการณ์ในลักษณะนี้ จะหนักขึ้นเรื่อยๆ ประชาชนจำนวนมากในฝั่งพม่าถูกถล่มโดยไม่แยกแยะเป้าหมายระหว่างพลเรือนและทหารฝ่ายตรงกันข้าม โดยกองทัพพม่าได้โจมตีทั้ง โรงเรียน โรงพยาบาล ศูนย์พักพิงชั่วคราวและหมู่บ้านจำนวนนับไม่ถ้วน ทุกวันนี้ประชาชนสองฝั่งต่างหวาดผวาเมื่อได้ยินเสียงเครื่องบิน ชาวบ้านที่ทำไร่ทำนาประกอบอาชีพอยู่ตามแนวชายแดนทั้งฝั่งไทยและพม่าต่างหนีหลบภัยจนไม่เป็นอันทำมาหากิน</p>
<p>“การยิงระเบิดและทิ้งระเบิดจากอากาศยานของกองทัพพม่าเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง เพราะนับวันกองทัพพม่าจะเข้าถึงพื้นที่ด้วยกองกำลังทหารราบยากขึ้น จึงต้องใช้แสนยานุภาพทางอากาศยานเป็นหลัก แต่การไม่แยกแยะเป้าหมาย ได้ส่งผลต่อพลเรือนชายแดนทั้งฝั่งไทยและฝั่งพม่า ทำลายทรัพย์สินและสร้างความหวาดหวั่นให้ประชาชนชาวไทยตามแนวชายแดน การทิ้งระเบิดและโจมตีพื้นที่พลเรือนเป็นการละเมิดกติกาสากล นอกจากนี้ประเทศไทยยังต้องรองรับผู้หนีภัยความตายด้วยเหตุผลด้านมนุษยธรรม ปัจจุบันยังไม่มีมาตรการใดๆ ที่ทำให้ชาวบ้านอุ่นใจได้เลย”</p>
<p>ในช่วงท้ายของหนังสือระบุว่า พวกเราเป็นองค์กรที่ทำงานเกี่ยวเนื่องกับชายแดน ได้รับรู้ข้อเท็จจริงต่างๆ ที่เกิดขึ้นและรู้สึกเป็นกังวลในสถานการณ์บริเวณชายแดน พวกเราเห็นว่ารัฐบาลไทยควรให้ความคุ้มครองประชาชนในแนวชายแดนเพื่อให้ทำมาหากินได้เป็นปกติ อย่างน้อยควรมีมาตรการคุ้มครองป้องกันไม่ให้อากาศยานพม่าเข้ามาทำร้ายชุมชนพลเรือนตามแนวชายแดน จึงหวังว่าฝ่ายนิติบัญญัติที่เป็นตัวแทนของประชาชนจะร่วมกันผลักดันให้เกิดมาตรการคุ้มครองประชาชนตามแนวชายแดนที่กำลังเผชิญความเดือดร้อนจากสงครามในประเทศเพื่อนบ้าน</p>
</div></div></div><div class="field field-name-field-variety field-type-taxonomy-term-reference field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even"><a href="/category/%E0%B8%82%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%A7" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">ข
https://fb.me/prachatai : ทวิตเตอร์
https://twitter.com/prachatai : LINE ไอดี = @prachatai</div></div></div>
https://prachatai.com/journal/2023/08/105334