'ธำรงศักดิ์' เผยผลสำรวจ 43.7% เห็นว่านายกฯ ต้องเป็น ส.ส. ด้วย ขณะที่ 28.39% เห็นว่าไม่ต้องเป็น
<span class="submitted-by">Submitted on Mon, 2023-08-21 17:55</span><div class="field field-name-body field-type-text-with-summary field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even" property="content:encoded"><p>ธำรงศักดิ์ เพชรเลิศอนันต์ นักวิชาการเผยผลสำรวจเมื่อเดือนเมษาที่ผ่านมา พบ 43.7% เห็นว่านายกฯ ต้องเป็น ส.ส. ด้วย ขณะที่ 28.39% เห็นว่าไม่ต้องเป็น ส.ส. </p>
<p>21 ส.ค.2566 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อวันที่ 20 ส.ค. ที่ผ่านมา เฟซบุ๊กแฟนเพจ '
ธำรงศักดิ์ เพชรเลิศอนันต์' ของ ธำรงศักดิ์ เพชรเลิศอนันต์ รองศาสตราจารย์ คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต รายงานว่า งานวิจัยส่วนบุคคลของตน เเก็บข้อมูลแบบสอบถามจากคนทั้งประเทศ (ผู้มีสิทธิเลือกตั้ง 52.32 ล้านคน) จำนวน 4,588 คน ใน 57 จังหวัด เรื่อง ทัศนคติของประชาชนต่อการเลือกตั้งและสังคมการเมืองไทย 2566</p>
<p style="text-align: center;">
<iframe allow="autoplay; clipboard-write; encrypted-media; picture-in-picture; web-share" allowfullscreen="true" frameborder="0" height="607" scrolling="no" src="
https://www.facebook.com/plugins/post.php?href=https%3A%2F%2Fwww.facebook.com%2Fpermalink.php%3Fstory_fbid%3Dpfbid02Rx8WanmuR9G2vQrQUaDqAqtexnDM4F1eWaMxRDuL7Swo4GpuinBttMQHzEhWT9wWl%26id%3D100050549886530&show_text=true&width=500" style="border:none;overflow:hidden" width="500"></iframe></p>
<p>ข้อคำถาม “ท่านคิดว่านายกรัฐมนตรีต้องเป็น สส. ด้วยหรือไม่”</p>
<p>ผลการวิจัยพบว่า</p>
<p>1. ผู้ที่เห็นว่านายกรัฐมนตรีต้องเป็น ส.ส. ด้วย ร้อยละ 43.73 (1,993 คน) ส่วนผู้ที่เห็นว่านายกรัฐมนตรี ไม่ต้องเป็น ส.ส. ร้อยละ 28.39 (1,294 คน) ผู้ไม่แสดงความเห็น ร้อยละ 27.88 (1,271 คน)</p>
<p>2. ผู้ที่เห็นว่านายกรัฐมนตรีต้องเป็น ส.ส. ร้อยละ 43.73 มีจำนวนน้อยกว่า ผู้ที่เห็นว่ารัฐธรรมนูญฉบับ คสช. 2560 เป็นเผด็จการ ที่มีร้อยละ 56.80</p>
<p>3. พิจารณารายภาคที่เห็นว่านายกรัฐมนตรีต้องเป็น ส.ส. ด้วย มากที่สุด คือภาคอีสาน ร้อยละ 47.01 รองลงมาเป็นภาคกลางและกรุงเทพ ร้อยละ 45.67 ตามด้วย ภาคใต้ ร้อยละ 42.16 น้อยที่สุดเป็นภาคเหนือ ร้อยละ 33.50</p>
<p>4. ผู้ที่เห็นว่านายกรัฐมนตรีต้องเป็น ส.ส. ให้คำอธิบายว่า เป็นไปตามหลักการระบอบประชาธิปไตย, เมื่อ ส.ส. มาจากเลือกตั้งของประชาชน นายกรัฐมนตรีที่เป็น ส.ส. ก็จะเป็นนายกรัฐมนตรีของประชาชน โดยประชาชน เพื่อประชาชนอย่างแท้จริง, นายกรัฐมนตรีที่เป็น ส.ส. จะมีประชาชนอยู่ในใจเสมอเป็นอันดับแรกๆ, นายกรัฐมนตรีที่เป็น ส.ส. จะเข้าหาประชาชนตลอดเวลา ไม่กบดานในทำเนียบรัฐบาล ในค่ายทหาร ไม่นั่งนึกเองเออเองแบบคุณพ่อเผด็จการที่คิดว่าตนรู้ดี, นายกรัฐมนตรีที่เป็น ส.ส. จะเป็นคนรุ่นใหม่ มีศักยภาพที่ทันโลกทันสมัย พร้อมแก้ไขปัญหาด้วยวิธีคิดใหม่และเทคโนโลยีใหม่ๆ, นายกรัฐมนตรีที่เป็น ส.ส. จะมุ่งเน้นความมั่งคั่งทางเศรษฐกิจของประชาชน, นายกรัฐมนตรีที่เป็น สส. จะทำให้ความเจริญกระจายไปยังท้องถิ่นทุกจังหวัด ไม่กระจุกตัวอยู่ที่กรุงเทพ หรือรวยกระจุกแบบนายกรัฐมนตรีรัฐประหาร, นายกรัฐมนตรีที่เป็น ส.ส. จะให้ความสำคัญกับการประชุมสภา, นายกรัฐมนตรีที่เป็น ส.ส. จะตั้งรัฐมนตรีที่มาจาก ส.ส. เป็นหลักทำให้เชื่อมโยงต่อการแก้ไขปัญหาของประชาชนอย่างจริงจังทั้งทีม</p>
<p>ผู้ที่เห็นว่านายกรัฐมนตรีไม่ต้องเป็น ส.ส. ส่วนใหญ่อธิบายว่า เป็นไปตามรัฐธรรมนูญ เพราะรัฐธรรมนูญไม่ได้กำหนดไว้, นายกรัฐมนตรีไม่ต้องเป็น ส.ส. เปิดโอกาสให้คนดีมีฝีมือได้เข้ามาทำงานเพื่อชาติ, นายกรัฐมนตรีไม่ต้องเป็น ส.ส. ทำให้บริหารประเทศโดยมุ่งรักษาประโยชน์ของส่วนรวมมากกว่ามุ่งรักษาผลประโยชน์ของพวกพ้องเครือญาติ, นายกรัฐมนตรี ไม่ต้องเป็น ส.ส. ทำให้ไม่ต้องเอาใจประชาชนในทางที่ไม่ถูกไม่ควรไปทุกเรื่อง, นายกรัฐมนตรีไม่ต้องเป็น ส.ส. ทำให้พิทักษ์รักษาสถาบันสำคัญของชาติไว้ได้ดีที่สุด</p>
<p>5. บทวิเคราะห์ของผู้วิจัย ระบอบประชาธิปไตยแบบสภา จะต้องสร้างความสัมพันธ์ระหว่างสถาบันสภากับสถาบันรัฐบาล โดยสร้างความเชื่อมโยงทางอำนาจของประชาชนด้วยนายกรัฐมนตรีต้องมาจาก ส.ส. ที่ประชาชนเลือกตั้ง ซึ่งโดยทั่วไปก็จะเป็นหัวหน้าพรรคการเมืองที่มี ส.ส. มากสุดเป็นอันดับแรก</p>
<p>ในการเมืองไทย เมื่อเริ่มต้นระบอบประชาธิปไตย รัฐธรรมนูญฉบับแรก 27 มิถุนายน 2475 ก็ระบุให้นายกรัฐมนตรีต้องเป็น ส.ส. รวมทั้งรัฐมนตรีทุกคนด้วย และยังคงสืบเนื่องมาตรานายกรัฐมนตรีต้องเป็น ส.ส. มายังรัฐธรรมนูญ</p>
<p>ฉบับที่สอง 10 ธันวาคม 2475 และฉบับที่สามปี 2489 อย่างไรก็ตาม การรัฐประหารตั้งแต่ปี 2490 เป็นต้นมา ฝ่ายทหารก็ได้ยกเลิกมาตรานายกรัฐมนตรีต้องเป็น ส.ส. รวมทั้งต้องไม่เป็นข้าราชการประจำออกไป เพื่อให้หัวหน้าคณะทหารเข้ามาเป็นนายกรัฐมนตรีและจัดตั้งรัฐบาลทหารได้ แต่การต่อสู้ของประชาชนเมื่อ 14 ตุลา 2516 ก็ได้ฟื้นมาตรานายกรัฐมนตรีต้องเป็น ส.ส. อีกครั้งในรัฐธรรมนูญฉบับปี 2517 แต่ก็ถูกยกเลิกในการรัฐประหารปี 2519 แต่ประชาชนก็ได้ฟื้นมาตรานี้อีกครั้งในรัฐธรรมนูญฉบับปี 2540 ซึ่งเป็นผลของการต่อสู้ที่ประชาชนเรียกร้องนายกรัฐมนตรีต้องมาจากการเลือกตั้ง แต่ก็ถูกคณะทหารยกเลิกตั้งแต่รัฐประหาร 2549 และรัฐประหาร 2559 ได้สร้างวิธีเบี่ยงเบนหลบเลี่ยงในรัฐธรรมนูญปี 2560 โดยให้พรรคการเมืองเสนอชื่อนายกรัฐมนตรีได้ 3 คน จะเป็นใครก็ได้ โดยไม่จำเป็นต้องเป็น สส. ในแง่นี้ ฝ่ายรัฐทหารสร้างกลยุทธ รวมทั้งให้อำนาจ 250 สว. แต่งตั้งนายกรัฐมนตรีได้ ทำให้รัฐบาลหลังเลือกตั้งมีแนวโน้มไม่ได้รัฐบาลของประชาชนอย่างแท้จริง แต่ยังคงเป็นรัฐบาลสืบทอดอำนาจคณะรัฐประหารต่อไป ดังเช่นที่เราได้เห็นรัฐบาลพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา หัวหน้า คสช. หลังเลือกตั้ง 2562 และปัญหาการจัดตั้งรัฐบาลหลังเลือกตั้ง 14 พฤษภาคม 2566</p>
<p>6. การที่ผู้ถูกเสนอชื่อเป็นนายกรัฐมนตรีไม่ได้เป็น ส.ส. เราเห็นปัญหาได้ทันทีว่า ผู้ที่ถูกเสนอชื่อเป็นนายกรัฐมนตรีนั้น ไม่สามารถเสนอตนเองและนำเสนอวิสัยทัศน์ในที่ประชุมรัฐสภาในวาระแรกได้ ขาดความเชื่อมโยงอย่างแท้จริงกับผู้แทนอำนาจของประชาชน</p>
<p>7. ข้อเสนอแนะของผู้วิจัย ควรได้มีการเก็บข้อมูลในประเด็นท่านคิดว่านายกรัฐมนตรีต้องเป็น ส.ส. ด้วยหรือไม่ อีกครั้งทั้งประเทศ เพราะปัญหาการจัดตั้งรัฐบาลหลังการเลือกตั้ง 14 พฤษภาคม 2566 ที่ผ่านมาแล้วกว่า 3 เดือน ยังไม่อาจจัดตั้งรัฐบาลได้ ซึ่งผลการวิจัยครั้งใหม่น่าจะเป็นเครื่องมือที่ช่วยให้เห็นความปรารถนาของประชาชนต่อทิศทางการเมืองไทยที่ควรจะเป็นในอนาคต นอกจากนี้ ผลการวิจัยครั้งนี้แสดงให้เห็นว่าฝ่ายประชาธิปไตยต้องเร่งปลูกฝังความคิดความเชื่อต่อหลักการนายกรัฐมนตรีต้องเป็น ส.ส. ให้มั่นคงยิ่งขึ้นกับประชาชนทุกเพศกลุ่มอายุ เพื่อสร้างระบอบประชาธิปไตยให้มั่นคงถาวรยิ่งขึ้นของไทย</p>
<div class="note-box">
<p><strong>ข้อมูลพื้นฐาน</strong></p>
<p>งานวิจัยทัศนคติของประชาชนต่อการเลือกตั้งและสังคมการเมืองไทย 2566 มีผู้ตอบแบบสอบถามรวม 4,588 คน เก็บข้อมูลระหว่างวันที่ 6-17 เมษายน 2566</p>
<p>เพศของผู้ตอบแบบสอบถาม : หญิง 2,439 คน (53.16%) ชาย 2,023 คน (44.09%) เพศหลากหลาย 126 คน (2.75%)</p>
<p>อายุของผู้ตอบแบบสอบถาม Gen Z (18-26 ปี) 1,915 คน (41.74%) Gen Y (27-44 ปี) 1,016 คน (22.10%) Gen X (44-58 ปี) 1,046 คน (22.80%) Gen Baby Boomer ขึ้นไป (59 ปีขึ้นไป) 613 คน (13.36%)</p>
<p>การศึกษาของผู้ตอบแบบสอบถาม ประถมศึกษาหรือต่ำกว่า 492 คน (10.72%) มัธยมศึกษาหรือเทียบเท่า 971 คน (21.16%) อนุปริญญาหรือเทียบเท่า 542 คน (11.82%) ปริญญาตรีหรือเทียบเท่า 2,210 คน (48.17%) สูงกว่าปริญญาตรีหรือเทียบเท่า 373 คน (8.13%)</p>
<p>อาชีพหลักของผู้ตอบแบบสอบถาม: นักเรียนนักศึกษา 1,529 คน (33.33%) เกษตรกร 456 คน (9.94%) พนักงานเอกชน 431คน (9.39%) รับจ้างทั่วไป/ผู้ใช้แรงงาน 471 คน (10.27%) เจ้าของธุรกิจ/อาชีพอิสระ 602 คน (13.12%) ข้าราชการ/พนักงานของรัฐ/รัฐวิสาหกิจ 600 คน (13.08%) พ่อบ้าน/แม่บ้าน/เกษียณอายุ/ว่างงาน 329 คน (7.17%) อื่นๆ 170 คน (3.70%)</p>
<p>รายได้ต่อเดือนของผู้ตอบแบบสอบถาม: ไม่มีรายได้ 939 คน (20.47%) รายได้ไม่เกิน 10,000 บาท 1,141 คน (24.87%) รายได้ 10,001-20,000 บาท 1,170 คน (25.50%) รายได้ 20,001-30,000 บาท 620 คน (13.51%) รายได้ 30,001- 40,000 บาท 302 คน (6.58%) รายได้ 40,001 บาทขึ้นไป 416 คน (9.07%)</p>
</div>
</div></div></div><div class="field field-name-field-variety field-type-taxonomy-term-reference field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even"><a href="/category/%E0%B8%82%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%A7" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">ข
https://fb.me/prachatai : ทวิตเตอร์
https://twitter.com/prachatai : LINE ไอดี = @prachatai</div></div></div>
https://prachatai.com/journal/2023/08/105556