ชวนรู้จัก “โรคไซโคพาธ” อาการขาดความสำนึกผิด โกหก ไร้ความเห็นใจผู้อื่น
กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข ระบุ คำว่า “ไซโคพาธ (Psychopaths)” เป็นหนึ่งในกลุ่มของโรคบุคลิกภาพผิดปกติแบบต่อต้านสังคม (Antisocial Personality Disorder) และได้กลายเป็นคำที่วินิจฉัยถึงอาการทางจิตของผู้ที่เป็นโรคนี้ (Psychopaths) โดยมีลักษณะขาดความเห็นใจผู้อื่น, ขาดความสำนึกผิด, ความรู้สึกด้านชาไม่เกรงกลัว, ขาดความยับยั้งชั่งใจ และเอาตัวเองเป็นจุดศูนย์กลาง อารอน คิปนิส, PhD, ผู้เขียน The Midas Complex กล่าวว่า “บุคคลที่มีบุคลิกไซโคพาธ มักจะมองว่าผู้อื่นเป็นวัตถุที่เขาสามารถใช้เพื่อประโยชน์ของตนเองได้ พวกเขาอาจแสร้งทำเป็นสนใจคุณ แต่ในความเป็นจริง พวกเขาอาจไม่สนใจ พวกเขาเป็นนักแสดงที่มีทักษะ ซึ่งมีภารกิจเพียงอย่างเดียวคือจัดการกับผู้คนเพื่อผลประโยชน์ส่วนตัว” ตามรายงานของ Very well mind ผู้ที่มีภาะวะไซโคพาธไม่จำเป็นต้องมีพฤติกรรมทางจิตอย่างผู้ป่วยจิตเวช แต่อาจเป็นบุคคลทั่ว ๆ ไปที่มีลักษณะทางจิตบางอย่างซ่อนลึกในจิตใจ ซึ่งสาเหตุเกิดภาวะไซโคพาธทางด้านทางกาย คือมีความผิดปกติของสมอง โดยเฉพาะสมองส่วนหน้า-ส่วนอะมิกดะลา ความผิดปกติของสารเคมีในสมอง อุบัติเหตุทางสมอง และพันธุกรรม สาเหตุเกิดภาวะไซโคพาธทางด้านจิตใจและสังคมอาจเกิดขึ้นในวัยเด็กและแย่ลงเมื่อเวลาผ่านไป เช่น ขาดความรัก, ขาดความสนใจ, ไร้คำแนะนำจากผู้ปกครอง, ถูกกระทำทารุณในวัยเด็ก, ถูกเลี้ยงดูแบบละเลยเพิกเฉย, การเลี้ยงดูที่ไม่พึงประสงค์, อาชญากรรมในครอบครัว, ความแตกแยกในครอบครัว รวมถึงสภาพสังคมรอบตัวที่โหดร้าย อาการภาวะไซโคพาธจะมีลักษณะจิตใจที่แข็งกระด้าง
1. มีพฤติกรรมตอบสนองต่อความต้องการของตนเอง โดยไม่สนใจผู้อื่นในสังคม
2. มีความผิดปกติทางอารมณ์ และความคิดโดยเฉพาะเมื่อต้องเข้าสังคม
3. มักกระทำความรุนแรงซ้ำ ๆ และก่อให้เกิดอาชญากรรม
4. โรคโกหกตัวเอง หรือในวงการจิตวิทยาเรียกว่า Pathological Lying โดยจุดประสงค์ของการโกหก เพื่อให้ตนเองดูดี เรียกร้องความสนใจ และหลุดพ้นจากปัญหา
5. ขาดความสำนึกผิด ไม่สนใจว่าพฤติกรรมส่วนตัวจะส่งผลต่อคนอื่นอย่างไร อาจลืมบางสิ่งทำร้ายคนอื่น แต่ยังไม่มีความรู้สึกผิดใด ๆ ที่ทำให้ผู้คนเจ็บปวด พร้อมทั้งหาเหตุผลเข้าข้างตนเองและตำหนิผู้อื่น
6. ขาดความเห็นอกเห็นใจ บุคคลที่มีภาวะไซโคพาธพยายามทำความเข้าใจว่า คนอื่นอาจรู้สึกกลัว เศร้า หรือวิตกกังวลอย่างไร แต่ตนเองไม่แยแสกับคนที่กำลังทุกข์ทรมานเลยแม้แต่น้อย ถึงแม้ว่าจะบุคคลนั้นจะเป็นเพื่อนสนิทหรือสมาชิกในครอบครัวก็ตาม
7. บุคคลที่มีภาวะไซโคพาธไม่รับผิดชอบต่อปัญหาในชีวิต มองว่าปัญหาเป็นความผิดของคนอื่นเสมอ
วิธีการรักษา จิตเวชบำบัดเพียงอย่างเดียวอาจไม่เพียงพอต่อการปรับปรุงอาการดังกล่าว เพียงอาจช่วยปรับการทำงานของระบบประสาท พฤติกรรม และลักษณะบุคลิกภาพที่เกี่ยวข้องให้เป็นปกติ แต่ยังต้องใช้ยาบำบัดตามคำแนะนำของจิตแพทย์ ที่มา :
https://dmh.go.th/news-dmh/view.asp?id=31623