ร้องนายก ช่วยแรงงาน 'แอลฟ่าสปินนิ่ง-AMC สปินนิ่ง' กว่า 200 คน ถูกลอยแพไม่ได้เงินชดเชยรวมกว่า 50 ล้าน
<span class="submitted-by">Submitted on Wed, 2023-09-27 21:24</span><div class="field field-name-field-byline field-type-text-long field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even"><p>ภาพปก: ถ่ายโดย ชนากานต์ เหล่าสารคาม </p>
</div></div></div><div class="field field-name-body field-type-text-with-summary field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even" property="content:encoded"><p>คนงานจากบริษัทแอลฟ่าสปินนิ่ง-เอเอ็มซี สปินนิ่ง กว่า 200 คน ชุมนุมหน้าทำเนียบ ขอยื่นหนังสือถึงนายกฯ ช่วยอนุมัติเงินจากงบกลางช่วยแรงงานที่ถูกลอยแพ ไม่ได้เงินชดเชย รวมมูลค่ากว่า 50 ล้าน พร้อมดำเนินคดีนายจ้างที่ละเมิดกฎหมายทางแพ่ง-อาญาอย่างเร่งด่วน</p>
<p> </p>
<p>27 ก.ย. 2566 ยูทูบ "
Friends Talk" ถ่ายทอดสดวันนี้ (26 ก.ย.) เวลา 9.58 น. ที่หน้าทำเนียบรัฐบาล เชิงสะพานชมัยมรุเชษฐ เครือข่ายแรงงานเพื่อสิทธิประชาชน นำโดย ธนพร วิจันทร์ และสมยศ พฤกษาเกษมสุข ร่วมด้วยกลุ่มแรงงานกว่า 200 กว่าคนจากบริษัท แอลฟ่า สปินนิ่ง จำกัด และบริษัท เอเอ็มซี สปินนิ่ง จำกัด เดินทางมาเพื่อขอยื่นหนังสือร้องทุกข์ถึง เศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี ให้มีการช่วยเหลือเรื่องเงินชดเชยให้แรงงานที่ถูกลอยแพเลิกจ้างจากทั้ง 2 บริษัท</p>
<p style="text-align: center;">
<iframe allow="accelerometer; autoplay; clipboard-write; encrypted-media; gyroscope; picture-in-picture; web-share" allowfullscreen="" frameborder="0" height="315" src="
https://www.youtube.com/embed/-XmXPson8B0?si=9jR6S11NMMUkfgJH" title="YouTube video player" width="560"></iframe></p>
<p>สำหรับข้อเรียกร้องนั้น แรงงานจากแอลฟ่า สปินนิ่ง เอเอ็มซี สปินนิ่ง ตลอดจนเครือข่ายแรงงานฯ ต้องการให้รัฐบาลไทยดำเนินคดีทางแพ่งกับเจ้าของทั้ง 2 บริษัท เพื่อเป็นบทเรียน และป้องกันไม่ให้มีการละเมิดกฎหมายอีกในอนาคต ประการต่อมา ทางแรงงานต้องการให้รัฐบาลอนุมัติงบประมาณกลาง เป็นจำนวนเงินรวม 52,510,616.25 บาท ซึ่งเป็นจำนวนเงินที่ทั้ง 2 บริษัทต้องจ่ายค่าชดเชยให้แรงงาน และให้ทางรัฐบาลไปไล่กดดันด้วยการดำเนินคดีกับทั้ง 2 บริษัทอีกที</p>
<p>ต่อมา ทางแรงงานต้องการให้มีการยกระดับสิทธิประโยชน์กรณีการว่างงานจากเดิมในอัตรา 50 เปอร์เซ็นต์เป็น 80 เปอร์เซ็นต์ ของค่าจ้างเฉลี่ย เป็นระยะเวลา 180 วัน เพื่อให้สอดคล้องกับค่าครองชีพ และเป็นหลักประกันรายได้ระหว่างว่างงาน</p>
<div style="text-align: center;"><img alt="" src="
https://live.staticflickr.com/65535/53216488707_3e6f00fbfc_b.jpg" /></div>
<p style="text-align: center;"><span style="color:#d35400;">ถ่ายโดย ชนากานต์ เหล่าสารคาม</span></p>
<div class="note-box">
<h2><span style="color:#2980b9;">รายละเอียดข้อเรียกร้องจากหนังสือที่แรงงานนำมายื่นระบุดังนี้</span></h2>
<p style="text-align: center;"><strong>ลูกจ้างแอลฟ่าสปินนิ่ง และ เอเอ็มซี สปินนิ่ง
เครือข่ายแรงงานเพื่อสิทธิประชาชน</strong></p>
<p>เรื่อง ขอให้อนุมัติงบกลางจ่ายเงินช่วยเหลือลูกจ้างที่ถูกเลิกจ้าง
เรียน นายกรัฐมนตรีเศรษฐา ทวีสิน </p>
<p>สืบเนื่องจากบริษัท แอลฟ่าสปินนิ่ง และเอเอ็มซี สปินนิ่ง ไม่จ่ายค่าจ้างและต่อมาได้เลิกจ้างคนงานโดยไม่จ่ายค่าชดเชยตามกฎหมายแรงงาน โดยที่กระทรวงแรงงานไม่สามารถบังคับใช้กฎหมายแรงงานมาตรา 9 (ผิดนัดจ่ายค่าจ้าง)และมาตรา 118 (ค่าชดเชย) ตาม พรบ.คุ้มครองแรงงาน คนงานทั้งสองบริษัทได้ร้องเรียนต่อพนักงานตรวจแรงงานแล้ว มีคำสั่งให้ทั้งสองบริษัทจ่ายเงินค่าจ้างและค่าชดเชยคือ</p>
<p>1.บริษัทแอลฟ่าสปินนิ่งตั้งอยู่เลขที่ 70 หมู่ที่ 9 ซอนสินฟ้า สุขสวัสดิ์ สมุทรปราการ มีนายโกเมนทร์ ชาตรีรัตน์ เป็นกรรมการผู้จัดการ ไม่ปฏิบัติตามกฎหมายแรงงานคือ </p>
<p>1.1 ไม่จ่ายค่าจ้างตามกฎหมายแรงงาน ตั้งแต่ 12 เมษายน 2563 เป็นต้นมา พนักงานตรวจแรงงานมีคำสั่งจ่าย 109 คน เป็นจำนวนเงิน 19,338,087.91 บาท แต่นายจ้างไม่ปฏิบัติตามคำสั่ง ทำให้ลูกจ้างเดือดร้อนเป็นอย่างมาก กองทุนสงเคราะห์ลูกจ้างได้จ่ายเงินสงเคราะห์ให้กับลูกจ้างแอลฟ่าเป็นจำนวน 2,315,160 บาท ยังขาดอยู่ตามสิทธิเป็นเงิน 17,022,927.91 บาท </p>
<p>1.2 พนักงานตรวจแรงงานมีคำสั่งให้จ่ายค่าชดเชยลูกจ้าง 132 คน เป็นเงิน 20,592,848.34 บาท นายจ้างไม่ปฏิบัติตามคำสั่ง กองทุนสงเคราะห์ลูกจ้างได้จ่ายเงินสงเคราะห์ให้กับลูกจ้าง3,270,960 บาท ยังขาดอีกตามสิทธิ์เป็นเงิน17,321,888.34 </p>
<p>รวมสองรายการเป็นจำนวนเงินทั้งหมด 34,344,816.25 บาท</p>
<p>2.บริษัท เอเอ็มซี สปินนิ่ง ( AMC Spining) เป็นโรงงานปั่นด้ายตั้งอยู่ที่ 270 ,ม.1 ซอยคู่สร้าง ต.ปากคลองบางปลากด อ.พระสมุทรเจดีย์ สมุทรปราการ 10290 สำนักงานใหญ่อยู่ที่บริษัท แอตแลนติก มิลส์ (ประเทศไทย) จำกัดมีสมเกียรติ์ พละพงค์พานิช เป็นกรรมการผู้จัดการ ตั้งอยู่ 39/29-34 หมู่ที่ 2 ถนนพระราม 2 ตำบลบางกระเจ้า อำเภอเมือง จ.สมุทรสาคร 74000 บริษัทไม่ปฏิบัติตามกฎหมายแรงงาน
2.1 ค้างจ่ายค่าจ้างให้กับคนงาน 104 คน ระหว่างเดือนมกราคม-เมษายน 2566 เป็นเงิน 4,183,814 บาท นายจ้างไม่ปฏิบัติตามคำสั่ง โดยกองทุนสงเคราะห์ลูกจ้างจ่าย2,202,720 บาท ยังขาดตามสิทธิในส่วนของค่าจ้างค้างจ่ายอีก 1,981,094 บาท</p>
<p>2.2 บริษัทได้เลิกจ้างคนงานจำนวน 153 คน โดยไม่จ่ายค่าชดเชยตามกฎหมายแรงงานพนักงานตรวจแรงงานมีคำสั่งจ่ายเป็นเงินค่าชดเชย 130 คน เป็นเงิน 18,479,206 บาท กองทุนสงเคราะห์จ่ายแล้วได้ เป็นจำนวนเงิน 2,294,500 ยังขาดตามสิทธิในส่วนของค่าชดเชยอีก 16,184,706 บาท</p>
<p>รวมสองรายการเป็นจำนวนเงินทั้งสิ้น 18,165,800 บาท </p>
<p>เนื่องจากกระทรวงแรงงานล้มเหลวในการบังคับใช้กฎหมายแรงงานในเรื่องค่าจ้างและค่าชดเชย ทำให้ลูกจ้างไม่ได้รับสิทธิตามกฎหมายแรงงาน รัฐบาลจึงต้องรับผิดชอบต่อความล้มเหลวของกระทรวงแรงงานในการบังคับใช้กฎหมายแรงงาน ด้วยการอนุมัติเงินจากงบกลางเป็นจำนวนเงิน 34,344,816.25 บาท ชดเชยให้กับลูกจ้างบริษัทแอลฟ่า และเป็นจำนวนเงิน 18,165,800 บาท ชดเชยให้กับลูกจ้างเอเอ็มซี สปินนิ่ง รวมเป็นเงินทั้งหมด 52,510,616.25 บาท </p>
<p>ทั้งนี้ ขอให้รัฐบาลดำเนินคดีทั้งทางแพ่งและอาญาต่อนายจ้างทั้งสองบริษัทอย่างเด็ดขาด เพื่อไม่ให้นายจ้างละเมิดกฎหมายแรงงานอีกต่อไป</p>
<p>ลูกจ้างแอลฟ่าสปินนิ่ง และเอเอ็มซีสปินนิ่ง เครือข่ายแรงงานเพื่อสิทธิประชาชน ขอเรียกร้องให้รัฐบาลเพิ่มสิทธิประโยชน์กรณีการว่างงานจากเดิมในอัตรา 50 เปอร์เซ็นต์เป็น 80 เปอร์เซ็นต์ ของค่าจ้างเฉลี่ย เป็นระยะเวลา 180 วัน เพื่อให้สอดคล้องกับภาวะการครองชีพที่เป็นจริง และเป็นหลักประกันรายได้ดำรงชีวิตระหว่างการว่างงาน เป็นไปตามนโยบายของรัฐบาลต่อไป </p>
<p>จึงเรียนมายังรัฐบาลในการอนุมัติงบกลางชดเชยต่อลูกจ้างทั้งสองบริษัท และการเพิ่มสิทธิ์ประโยชน์การว่างงานในระบบประกันสังคมให้ดียิ่งขึ้นต่อไป</p>
</div>
<p>บรรยากาศการรักษาความปลอดภัยวันนี้ สุรเมธ น้อยอุบล จากสื่อเฟรนด์สทอล์ก รายงานว่า เจ้าหน้าที่ตำรวจมีการวางกำลัง และแผงเหล็กกั้นบริเวณสะพานชมัยมรุเชษฐ ถนนพิษณุโลก สกัดกั้นไม่ให้แรงงานสามารถเข้าถึงบริเวณหน้าประตู 1 ทำเนียบรัฐบาล </p>
<p>ธนพร วิจันทร์ สมาชิกเครือข่ายแรงงานเพื่อสิทธิประชาชน ปราศรัยบนรถเครื่องเสียง ระบุว่ารู้สึกผิดหวังรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง พวกเรามาทุกครั้งไม่สามารถเข้าไปในทำเนียบพบนายกฯได้ นี่เป็นประชาธิปไตยตรงไหน เผด็จการชัดๆ </p>
<p>“วันนี้พวกเราเดือดร้อน แต่สิ่งที่พวกเราเจอคือเจ้าหน้าที่ตำรวจเอาแผงมากั้นพวกเรา นี่เหรอไปประกาศที่สหรัฐอเมริกา บอกว่าประเทศไทยจะเคารพสิทธิมนุษยชน แต่แค่คนงานมาชุมนุมเรียกร้องตามกฎหมาย กลับเอาตำรวจมาวางแผงมากั้นแล้ว นี่เหรอประเทศไทย พูดกับชาวโลกได้อย่างดี แต่มาทำกับพวกเราอย่างนี้” ธนพร กล่าว</p>
<p>ต่อมา ธนพร พยายามเจรจา ขอให้ตำรวจถอยแนวรั้วออกไปอีก 10 เมตร เพื่อขอพบนายกรัฐมนตรี และกลัวนายกฯ ที่มาจากการเลือกตั้ง ไม่ได้รับฟังเสียงของแรงงาน แต่ดูเหมือนว่าทางตำรวจจะไม่ยอมขยับแนวกั้นดังกล่าว</p>
<h2><span style="color:#2980b9;">ความทุกข์ร้อนของแรงงาน</span></h2>
<p>สุรินทร์ คำสุข สหภาพแรงงานอุตสาหกรรมสิ่งพิมพ์บรรจุภัณฑ์ เรามาสื่อสารความทุกข์ยากของแรงงาน และมาแจ้งความประสงค์ให้นายจ้างมาจ่ายค่าชดเชย หรือรัฐบาลจะช่วยเหลือตามกฎหมาย เพื่อบรรเทาทุกข์ประชาชน เขาจะได้ไปใช้จ่ายในครัวเรือน บางคนเป็นหนี้เป็นสิน บางคนอาจจะหางานได้ แต่บางคนวัย 50 ปีขึ้น จะหางานยังไง บางคนมีครอบครัว บางคนมีลูกหลานมีการงานมั่นคงอยู่บ้าง แต่นั่นก็คือบางส่วนเท่านั้น แต่ส่วนใหญ่ยังเดือดร้อนจริงๆ และเงินส่วนนี้จริงๆ เป็นสิทธิ์ที่เขาต้องได้ </p>
<div style="text-align: center;"><img alt="" src="
https://live.staticflickr.com/65535/53217676243_fd9027695c_b.jpg" /></div>
<p style="text-align: center;"><span style="color:#d35400;">ถ่ายโดย ชนากานต์ เหล่าสารคาม</span></p>
<p>สุรินทร์ กล่าวต่อว่า สื่อสารผ่านเจ้าหน้าที่และแรงงาน เพื่อมาสื่อสารความเดือดร้อน และอยากให้นายกฯ โชว์ฝืมือแก้ปัญหา อยากให้รัฐบาลไปตามกับนายจ้างให้มาจ่ายค่าชดเชย 52 ล้านบาท หรืออนุมัติวงเงินชดเชยได้ก่อน อาจจะเป็นมติ ครม. หรือคำสั่งนายกฯ งบฯ จากตรงไหน ดึงมาได้ ให้มาช่วยกับแรงงานก่อน และรัฐบาลไปตามกับนายจ้าง </p>
<p>สุรินทร์ กล่าวด้วยว่า หากนายกฯ อยากได้ใจแรงงาน ให้เดินมาพบกับแรงงาน หรือสบตากันหน่อย อยากเจอนายกฯ รับประกันว่าถ้ามาพบแรงงาน ท่านจะได้หัวใจจากกลุ่มคนแรงงาน แรงงานเอาหัวใจเอาความเดือดร้อนมาหา ฟังเสียงคนอยากเจอนายกฯ หน่อย </p>
<p>“อยากเจอ” เสียงของผู้ชุมนุมตอบรับ ก่อนที่สุรินทร์ ระบุว่า อยากให้นายกฯ มาเจอแรงงานผู้เดือดร้อน เหมือนตอนเดินหาเสียง เชื่อว่าถ้าทำแบบนั้นจะได้ใจพี่น้องแรงงานแน่นอน หลังจากนี้ อาจจะชุมนุมนานหน่อย หรืออาจจะมีการส่งตัวแทนเข้าไปเจรจาในทำเนียบรัฐบาล ได้พบหรือหารือกับนายกฯ </p>
<p>หลังจากนั้นได้มีตัวแทนแรงงานผลัดกันขึ้นปราศรัยบนรถเครื่องเสียง วัชรินทร์ กล่ำภากรณ์ ตัวแทนแรงงานจากบริษัทอัลฟ่าฯ กล่าวว่า พวกเขาโดนบริษัทหักค่าแรง และให้มาทำงานแค่ 13 วันต่อเดือนตั้งแต่ปี 2563 โดยทางบริษัทอ้างว่าได้รับผลกระทบจากสถานการณ์การแพร่ระบาดโคโรนาไวรัส 2019 นอกจากนี้ ค่าแรงมีการจ่ายบ้างไม่ได้จ่ายบ้าง รวมถึงเงินที่จ่ายประกันสังคมก็มีปัญหา แต่เงินว่างงานของแรงงานก็ได้รับไม่ถึง 50 เปอร์เซ็นต์ของค่าแรงโดยเฉลี่ยตามที่กฎหมายระบุ เนื่องจากบริษัทไม่ยอมจ่ายค่าประกันสังคมให้กับแรงงานไม่ครบ ดังนั้น เขาอยากจะถามว่าเรามีสำนักงานประกันสังคมทำไม ทำไมไม่ไปจัดการนายจ้างที่จ่ายเงินสมทบไม่ครบ </p>
<p>วัชรินทร์ กล่าวต่อว่า อนาคตมองข้างหน้าไม่รู้จะเป็นอย่างไร ตกงาน โดนตัดไฟ และมีค่าใช้จ่ายในครัวเรือนที่ยังต้องจ่าย จึงอยากถามตำรวจที่นำแผงเหล็กมากั้นว่า ทำไมต้องมาขวางพวกเขาไม่ให้ไปยื่นร้องทุกข์กับนายกรัฐมนตรี </p>
<p>“พวกผมทำผิดอะไร ผมเป็นประชาชน เราทำมาหากินเลี้ยงชีพ เลี้ยงครอบครัว และอยู่ดีๆ มาปล่อยพวกผมลอยแพไม่จ่ายค่าชดเชย ทำได้ด้วยเหรอ ประเทศนี้ เราจึงเดินทางกันมาเพื่อขอความช่วยเหลือ และขอจิตเมตตาจากท่านนายกฯ เศรษฐา แล้วนี่อะไร พวกผมก็ต้องมายืนคุยกับตำรวจเหรอ เราไม่ใช่ผู้ก่อการร้าย เราเป็นคนงาน แล้วทำไมถึงเกิดภาพแบบนี้ เราไม่สามารถมาหานายกฯ ที่พวกเราเลือกมาไม่ได้เหรอ” วัชรินทร์ กล่าว </p>
<p>จุฑาทิพย์ วันชัย ตัวแทนแรงงานจากเอเอ็มซี สปินนิ่ง กล่าวว่า เรามาขอความช่วยเหลือจากนายกรัฐมนตรี เพราะว่าบางคนมีอายุเยอะแล้ว บางคนอาจจะมีงานทำ บางคนก็ส่งลูกเรียน เรามาขอความช่วยเหลือขอความเป็นธรรมให้ช่วยตามนายจ้าง ให้มาจ่ายค่าชดเชยให้พวกเรา ตามกฎหมาย แต่เราไม่สามารถหานายจ้างได้ เลยต้องมาขอความช่วยเหลือจากนายกฯ ถ้าไม่เดือดร้อนก็คงไม่มา คิดว่านายกฯ คงช่วยอะไรได้ </p>
<h2><span style="color:#2980b9;">'สมยศ' ชงรัฐอนุมัติเงินให้ก่อน ค่อยไปตามยึดทรัพย์กับนายจ้างคืน</span></h2>
<p>หลังจากนั้น การชุมนุมยังดำเนินต่อไป โดยแรงงานยังรอให้มีตัวแทนฝั่งรัฐบาลมารับหนังสือ สมยศ พฤกษาเกษมสุข กล่าวว่า พวกเราเป็นวัยสุดท้าย และทำงานมาทั้งชีวิต แต่ปรากฏว่าแทนที่เราจะได้รับสวัสดิการ และสิทธิ ความเป็นอยู่ที่ดีในบั้นปลายของชีวิต แต่เรากลับมานั่งกางร่ม ตากแดด </p>
<p>แรงงานทำงานต้องได้ค่าจ้าง แต่ถ้าถูกเลิกจ้างต้องได้ค่าชดเชย นี่เป็นหน้าที่ที่นายจ้างต้องจ่าย เมื่อเลิกจ้าง ก็ต้องจ่ายค่าชดเชยให้แรงงาน ซึ่งนี่เป็นสิทธิขั้นพื้นฐาน เมื่อนายจ้างไม่ปฏิบัติตามกฎหมายแรงงาน พนักงานตรวจแรงงานกระทรวงแรงงานก็มีคำสั่งให้นายจ้างทั้ง 2 แห่ง จ่ายเงินให้กับแรงงานทั้ง 2 โรงงาน รวมกันแล้วประมาณ 50 ล้านกว่าบาท แต่ปรากฏว่านายจ้างไม่ปฏิบัติตามคำสั่ง แต่ปรากฏว่ากระทรวงแรงงานก็เพิกเฉย และไม่บังคับใช้กฎหมายแรงงาน </p>
<p>"เราถือว่าเป็นความบกพร่อง ต้องการบังคับใช้กฎหมายแรงงาน เมื่อรัฐบาลทำหน้าที่บังคับใช้กฎหมายแรงงานไม่ได้ เกิดความเสียต่อผู้ใช้แรงงานเป็นเงิน 60-70 ล้านบาท เมื่อเป็นเช่นนี้ก็เป็นความรับผิดชอบต่อรัฐบาลโดยตรง เอาเงินมาจ่ายให้กับผู้ใช้แรงงาน… เป็นสิทธิตามกฎหมายแรงงาน" สมยศ กล่าว</p>
<p>สมยศ ระบุต่อว่า ถ้ารัฐไม่จ่าย รัฐกำลังบกพร่องต่อการบังคับใช้กฎหมาย เลยต้องมาให้รัฐบังคับใช้กฎหมายอย่างจริงจัง บังคับให้ค่าแรงค่าชดเชยให้กับคนงานไปก่อน และรัฐบาลไปดำเนินคดีกับนายจ้างทั้งทางอาญา หรือแพ่ง อย่างจริงจัง ถ้านายจ้างยังเบี้ยวอีก ก็ไปฟ้องอายัดทรัพย์ ยึดทรัพย์สินของนายจ้างทั้งหมดที่เกี่ยวข้อง และคืนทรัพย์สินเข้ารัฐทั้งหมด รัฐไม่ได้เสียหายอะไรเลย ไม่ใช่มาผลักภาระให้ประชาชนผู้เป็นคนยากคนจนต้องมาตามเรื่องเอง รัฐบาลรู้ไว้ด้วย </p>
<p>สมยศ ระบุต่อว่า เดี๋ยวสมคิด เชื้อคง มารับหนังสือ และจะมอบภารกิจให้สมคิด และถ้าสามารถแก้ปัญหาเรื่องนี้ได้ภายใน 7 วัน เชื่อว่าสมคิด จะกลับมาเป็นใหญ่ในอุบลราชธานีอีกครั้ง และเศรษฐา ทวีสิน จะเป็นนายกฯ ที่นั่งในใจประชาชนตลอดไป</p>
<h2><span style="color:#2980b9;">'สมคิด' รับหนังสือ</span></h2>
<p>10.52 น. สมคิด เชื้อคง รองเลขาธิการ นายกรัฐมนตรี ได้เป็นตัวแทนรับมอบหนังสือร้องทุกข์ จากตัวแทนคนงานจากแอลฟ่า สปินนิ่ง และเอเอ็มซี สปินนิ่ง </p>
<div style="text-align: center;"><img alt="" src="
https://live.staticflickr.com/65535/53217681658_cfc17129d3_o.jpg" /></div>
<p style="text-align: center;"><span style="color:#d35400;">ถ่ายโดย สหภาพคนทำงาน</span></p>
<p>สมคิด เชื้อคง กล่าวหลังรับมอบหนังสือ ระบุว่า ยินดีในฐานะตัวแทนนายกรัฐมนตรี เดี๋ยวสักครู่จะมีการนัดหมายให้มีการเชิญตัวแทนไปพูดคุยกัน จะทำได้เท่าไร ข้อกฎหมายเป็นอย่างไร จะไปพูดคุยกัน และเชื่อว่ารัฐบาลเราแม้ว่าจะเพิ่งมารับตำแหน่ง จะแก้ไขทุกปัญหาที่เกิดขึ้น อาจจะทันใจบ้าง ไม่ทันใจบ้าง แต่จะทำทุกเรื่องที่ได้ให้สัญญาไว้ </p>
<p>"อยากจะให้พวกเรามีความหวัง อย่างน้อยรัฐบาลเศรษฐา จะดูแลพวกเราเท่าที่ความสามารถจะมี" สมคิด ระบุ และกล่าวว่า เจ้าหน้าที่กระทรวงแรงงานจะมาคุยต่อจากนี้ </p>
<div style="text-align: center;"><img alt="" src="
https://live.staticflickr.com/65535/53217676223_298452a15e_b.jpg" /></div>
<p style="text-align: center;"><span style="color:#d35400;">สมคิด เชื้อคง (ถ่ายโดย ชนากานต์ เหล่าสารคาม)</span>
</p>
</div></div></div><div class="field field-name-field-variety field-type-taxonomy-term-reference field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even"><a href="/category/%E0%B8%82%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%A7" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">
https://fb.me/prachatai : ทวิตเตอร์
https://twitter.com/prachatai : LINE ไอดี = @prachatai</div></div></div>
https://prachatai.com/journal/2023/09/106103