[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
26 มิถุนายน 2567 15:22:03 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: [ข่าวมาแรง] - มัดรวมบทบาทสาธารณสุขไทยในเวทีสมัชชาสหประชาชาติครั้งที่ 78  (อ่าน 107 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
สุขใจ ข่าวสด
I'm Robot
สุขใจ บอทนักข่าว
นักโพสท์ระดับ 15
****

คะแนนความดี: +101/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
Italy Italy

กระทู้: มากเกินบรรยาย


บอท @ สุขใจ


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« เมื่อ: 30 กันยายน 2566 09:26:38 »

มัดรวมบทบาทสาธารณสุขไทยในเวทีสมัชชาสหประชาชาติครั้งที่ 78
 


<span class="submitted-by">Submitted on Sat, 2023-09-30 09:00</span><div class="field field-name-body field-type-text-with-summary field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even" property="content:encoded"><p>มัดรวมบทบาทสาธารณสุขไทยในเวทีสมัชชาสหประชาชาติครั้งที่ 78 ให้คำมั่นสัญญายกระดับ 30 บาท เพื่อคนไทยสุขภาพดีถ้วนหน้า </p>
<p><img alt="" src="https://live.staticflickr.com/65535/53223232198_963d1f861e_o_d.jpg" /></p>
<p>สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) รายงานว่าหนึ่งใน "ของขึ้นชื่อ" ของประเทศไทยที่นานาชาติให้การยอมรับ นอกจากเรื่องอาหารและการท่องเที่ยวแล้ว ระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าก็เป็นของขึ้นชื่ออีกอย่างหนึ่งที่นานาชาติให้การยอมรับและที่ผ่านมาประเทศไทยก็ได้ผลักดันประเด็นที่เกี่ยวข้องกับเรื่องนี้เข้าสู่เวทีระดับนานาชาติ และในการประชุมสมัชชาสหประชาชาติ สมัยสามัญ ครั้งที่ 78 นิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา ระหว่างวันที่ 19-22 ก.ย. 2566 ที่ผ่านมา เป็นอีกครั้งที่ตัวแทนของประเทศไทยได้หยิบยกประเด็นด้านสุขภาพขึ้นมาพูดคุยหารือกับนานาประเทศ ทั้งในการประชุมหลักและการประชุมคู่ขนานต่างๆ  </p>
<p>เริ่มตั้งแต่ประเด็นสำคัญอย่างเรื่องวัคซีน ในวันที่ 19 ก.ย. 2566 ได้มีการจัดงานเลี้ยงอาหารค่ำ ASEAN Minister &amp; CEO Vaccine Manufacturing Dinner ซึ่งประกอบด้วยผู้แทนจากประเทศสมาชิกอาเซียน ผู้แทนธนาคารโลก ตลอดจนผู้แทนจากบริษัทผู้ผลิตวัคซีน ได้มีการหารือแนวทางเพื่อเร่งขยายการผลิตวัคซีนของอาเซียน รวมทั้งหารือการดำเนินการตามข้อเสนอแนะในกรอบความร่วมมือด้านการผลิตวัคซีนระดับภูมิภาค (Regionalized Vaccine Manufacturing Collaborative Framework) ซึ่ง นพ.พงศ์เกษม ไข่มุกด์ รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข ได้เข้าร่วมหารือและแสดงจุดยืนว่าประเทศไทยเห็นถึงความสำคัญต่อประเด็นความเสมอภาคของวัคซีนและการส่งเสริมความร่วมมือระดับภูมิภาคเพื่อปรับปรุงความมั่นคงของวัคซีน นอกจากนั้นยังให้ความสำคัญกับการเพิ่มศักยภาพในการผลิตในระดับประเทศเพื่อการพึ่งพาวัคซีนภายในประเทศ และเน้นย้ำความตั้งใจที่จะร่วมมือกับอาเซียนในทุกด้านของความมั่นคงด้านวัคซีนเพื่อเสริมสร้างความมั่นคงด้านสุขภาพของอาเซียนด้วย  </p>
<p>จากนั้นในวันต่อมาคือ วันที่ 20 ก.ย. 2566 นายปานปรีย์ พหิทธานุกร รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ เข้าร่วมการประชุมระดับสูงของสมัชชาสหประชาชาติว่าด้วยเรื่องการป้องกัน การเตรียมความพร้อม และการตอบสนองต่อการระบาดใหญ่ (PPPR) โดยได้ร่วมกล่าวถ้อยแถลงเรียกร้องให้โลกลงทุนมากขึ้นเพื่อส่งเสริมหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า เร่งเจรจาจัดทำตราสารระหว่างประเทศสนธิสัญญาการระบาดใหญ่ในประเด็นดังกล่าวภายใต้องค์การอนามัยโลก และพัฒนาความร่วมมือด้านการป้องกัน เตรียมพร้อม และตอบสนองโรคระบาดอย่างสร้างสรรค์และมีสำนึกต่อส่วนรวม พร้อมถึงกล่าวถึงจุดยืนของประเทศไทยว่าไทยสนับสนุนให้เพิ่มการลงทุนในหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า ทั้งในช่วงเวลาปกติและภาวะฉุกเฉิน เพราะหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าจะเป็นเครื่องรับประกันว่าระบบสุขภาพจะให้ความคุ้มครองทางสังคม ส่งเสริมความยุติธรรมทางสังคม และรักษาความเสมอภาคด้านสุขภาพ  </p>
<p>นอกจากนี้ยังเน้นย้ำถึงความจำเป็นในการเพิ่มขีดความสามารถของประเทศกำลังพัฒนาโดยการส่งเสริมความร่วมมือระหว่างภาครัฐและเอกชนในการเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัลของระบบการดูแลสุขภาพ เน้นย้ำถึงความสำคัญของการรับรองข้อตกลงที่เข้าถึงได้และเป็นข้อสรุปสำหรับการป้องกันการระบาดใหญ่ผ่านการสร้างสนธิสัญญาการระบาดใหญ่และการแก้ไขกฎอนามัยระหว่างประเทศภายใต้องค์การอนามัยโลก (WHO) และเรียกร้องให้มีกระบวนทัศน์ใหม่ของความร่วมมือหลังสถานการณ์โควิด-19 โดยเน้นย้ำถึงความจำเป็นในการจัดหาเงินทุนด้านสุขภาพด้านนวัตกรรมทั้งในระดับในประเทศและต่างประเทศ </p>
<p>ในวันเดียวกันนั้นเอง ยังมีเวทีคู่ขนานอีกเวทีหนึ่งที่ตัวแทนประเทศไทยประกอบด้วย นพ.จเด็จ ธรรมธัชอารี เลขาธิการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) นพ.นิติ เหตานุรักษ์ รองอธิบดีกรมควบคุมโรค พญ.ผลิน กมลวัทน์ ผู้ทรงคุณวุฒิ กรมควบคุมโรค และ นพ.จักรรัฐ พิทยาวงศ์อานนท์ ผู้อำนวยการกองระบาดวิทยา เข้าร่วมประชุม คือ การประชุมระดับสูงเพื่อเฉลิมฉลองความก้าวหน้าด้านเอชไอวีระดับโลกเพื่อการยุติเอดส์และบรรลุเป้าหมาย SDGs ซึ่งประเทศไทยได้แสดงเจตนารมณ์อย่างมุ่งมั่นที่จะยุติปัญหาเอดส์ภายในปี 2573 โดยขับเคลื่อนยุทธศาสตร์แห่งชาติว่าด้วยการยุติปัญหาเอดส์ พ.ศ.2560-2573 มีเป้าหมายหลัก 3 ประการ “ไม่ติด-ไม่ตาย-ไม่ตีตรา” โดย 1.ลดการติดเชื้อเอชไอวีรายใหม่ เหลือไม่เกิน 1,000 รายต่อปี 2.ลดการเสียชีวิตในผู้ติดเชื้อเอชไอวี เหลือปีละไม่เกิน 4,000 ราย และ 3.ลดการเลือกปฏิบัติ อันเกี่ยวเนื่องจากเอชไอวี และเพศภาวะลงจากเดิมร้อยละ 90 โดยจะดำเนินงานให้สอดคล้องกับเป้าหมายโลกให้บรรลุ 95-95-95 ในปี 2573 </p>
<p>ในวันถัดมาคือวันที่ 22 ก.ย. 2566 นายปานปรีย์ พหิทธานุกร รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ก็เป็นตัวแทนประเทศไทย กล่าวถ้อยแถลงประชุมระดับสูงของสมัชชาสหประชาชาติว่าด้วยเรื่องหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า โดยร่วมแบ่งปันประสบการณ์ของไทยในการเสริมสร้างหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า ย้ำความจำเป็นของการลงทุนเพื่อสร้างเสริมสุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดี และต้องให้ประชาชนร่วมตัดสินใจในการดำเนินนโยบายต่างๆ พร้อมใช้นวัตกรรมเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการและสิทธิเข้าถึงการรักษา พร้อมประกาศต่อนานาชาติว่าไทยจะยกระดับระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าของไทยหรือนโยบาย “30 บาทรักษาทุกโรค” ต่อไป ไม่ว่าจะเป็นการขยายสิทธิประโยชน์ที่จำเป็น การสร้างเสริมสุขภาพป้องกันโรค การดูแลแบบประคับประคอง ไปจนถึงการเพิ่มประสิทธิภาพและความสะดวกของบริการสุขภาพในทุกระดับให้มากขึ้น เพื่อที่จะทำให้ประชาชนไทยได้เข้าถึงหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าได้อย่างแท้จริง  </p>
<p>นอกจากนี้แล้ว ตัวแทนของไทยยังได้เข้าร่วมการอภิปรายของภาคส่วนที่หลากหลาย (Multistakeholder panel) เช่น นพ.จเด็จ ธรรมธัชอารี เลขาธิการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) เป็นตัวแทนประเทศไทย เข้าร่วมการอภิปรายในหัวข้อพัฒนาและปรับการลงทุนของเราเพื่อสุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดีในโลกหลังโควิด (Aligning our investments for health and well-being in a post-COVID world.) ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการประชุมระดับสูงว่าด้วยหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า โดยชี้ให้เห็นว่าประเทศไทยได้บรรลุเป้าหมายหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า ส่งผลให้รายจ่ายสุขภาพที่ประชาชนต้องจ่ายด้วยตนเอง (Out of pocket: OOP) ลดลงน้อยกว่า 10% ของรายจ่ายด้านสุขภาพทั้งหมด และมีครัวเรือนเพียง 1.5% เท่านั้นที่ประสบปัญหาล้มละลายทางการเงินเนื่องจากค่ารักษาพยาบาล (catastrophic health expenditure) พร้อมยกตัวอย่างกองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่นซึ่งเป็นการสมทบกันระหว่างองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เป็นหนึ่งในนวัตกรรมทางการเงินการคลังด้านสาธารณสุขเพื่อหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าที่กระจายอำนาจให้ท้องถิ่นและหน่วยบริการสาธารณสุขในระดับชุมชน ได้ตัดสินใจร่วมกันว่าจะใช้เงินกองทุนเพื่อพัฒนาหรือแก้ไขปัญหาด้านสาธารณสุขในแต่ละท้องถิ่นอย่างไร โดยให้สอดคล้องกับบริบทของแต่ละท้องถิ่นนั้นๆ และสนับสนุนให้ประเทศต่างๆ พัฒนาและปรับการลงทุนด้านสาธารณสุข โดยมุ่งเน้นไปที่การกระจายอำนาจให้กับท้องถิ่น เช่นเดียวกับประเทศไทย </p>
<p>นอกจากนี้แล้ว นพ.พงศ์เกษม ไข่มุกด์ รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข เป็นตัวแทนประเทศไทย ยังเข้าร่วมการอภิปรายของภาคส่วนที่หลากหลาย ในหัวข้อความสำคัญของระบบสุขภาพปฐมภูมิและแนวทางในการสนับสนุน (What is a primary healthcare approach and why does it matter?) โดยได้เน้นย้ำความสำคัญของระบบสุขภาพปฐมภูมิ ที่ต้องเสริมสร้างความเข้มแข็งเพื่อให้บรรลุหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า โดยยกตัวอย่างกรณีการระบาดของโควิด-19 ซึ่งทำให้ไทยพัฒนานวัตกรรมบริการสาธารณสุขวิถีใหม่ (New Normal) ที่นำไปสู่มิติใหม่ของการให้บริการระบบสุขภาพปฐมภูมิ ไม่ว่าจะเป็นบริการการแพทย์ทางไกล (telemedicine) การดูแลสุขภาพของคนในชุมชนด้วยอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) การรับยาที่ร้านยาใกล้บ้าน การเจาะเลือด-ตรวจแล็บที่ห้องปฏิบัติการเคลื่อนที่และคลินิกเทคนิคการแพทย์นอกหน่วยบริการ รวมไปถึงระบบการดูแลผู้ป่วยที่บ้าน (homeward) เป็นต้น พร้อมทั้งชี้ให้เห็นว่าการจะบรรลุเป้าหมายหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้านั้น ประเทศต่างๆ จำเป็นต้องลงทุนอย่างเพียงพอในระบบสาธารณสุขและพัฒนากลไกทางการเงินและการคลังด้านสาธารณสุขให้เกิดความยั่งยืน รวมทั้งการมีระบบสุขภาพปฐมภูมิในรูปแบบใหม่ที่เน้นให้ประชาชนเป็นศูนย์กลางของการให้บริการและไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง  </p>
<p>ขณะเดียวกันในช่วงเย็นยังได้เข้าร่วมเวทีการประชุมประจำปีครั้งที่ 4 ของกลุ่มเพื่อนหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าและสุขภาพโลก "สู่หลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าที่มีความยืดหยุ่น เท่าเทียมกัน และยั่งยืนมากขึ้นในปี 2030: อวยพรสู่การดำเนินการตามปฏิญญาการเมือง UHC ปี 2023" ซึ่งจัดโดย องค์การอนามัยโลก (หุ้นส่วนหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า) ประธานร่วมของกลุ่มเพื่อนหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าและสุขภาพโลก (จอร์เจีย ญี่ปุ่น และไทย) กลุ่ม UHC2030 และสหพันธ์สภากาชาดและสภาเสี้ยววงเดือนแดงระหว่างประเทศ  </p>
<p>และในการประชุมวันสุดท้าย 22 ก.ย. 2566 นพ.นิติ เหตานุรักษ์ รองอธิบดีกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข เป็นตัวแทนประเทศไทย เข้าร่วมการอภิปรายของภาคส่วนที่หลากหลาย ในหัวข้อเร่งดำเนินการหลายภาคส่วนเพื่อสร้างความมั่นใจให้เกิดการดูแลวัณโรคอย่างมีคุณภาพโดยมีประชาชนเป็นศูนย์กลางและอย่างเท่าเทียมกันภายใต้บริบทของหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า โดยชี้ให้เห็นว่าแนวโน้มอุบัติการณ์ของวัณโรคของไทยลดลงในช่วง 10 กว่าปีที่ผ่านมา แต่ก็ยังคงเป็นปัญหาสาธารณสุขของไทยที่ต้องเร่งจัดการและแก้ไขการแพร่ระบาด ซึ่งได้มีการปรับกระบวนการค้นหาและรักษา โดยใช้วิธีการตรวจทางโมเลกุลที่รวดเร็วและมีความไวในการตรวจหาเชื้อวัณโรคและวัณโรคดื้อยา รวมถึงสนับสนุนให้มีการตรวจพบตั้งแต่เนิ่นๆ และประเมินความไวต่อยาไปพร้อมๆ กัน เพื่อช่วยให้การรักษามีประสิทธิภาพมากขึ้น พร้อมตั้งเป้าว่าจะยุติวัณโรคให้ได้ภายในปี พ.ศ.2578 โดยใช้กลไกของระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าในการจัดการปัญหาการแพร่ระบาดของวัณโรคในไทย เพื่อเปลี่ยนประเทศไทยให้เป็นประเทศที่มีภาระวัณโรคต่ำ  </p>
<p>ทั้งหมดทั้งมวลนี้คือบทบาทสำคัญๆของไทยในการประชุมสมัชชาสหประชาชาติ สมัยสามัญ ครั้งที่ 78 ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงการยอมรับและการมีตัวตนของไทยในเวทีนานาชาติในด้านการสาธารณสุขนั่นเอง </p>
</div></div></div><div class="field field-name-field-variety field-type-taxonomy-term-reference field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even"><a href="/category/%E0%B8%82%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%A7" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">ขhttps://fb.me/prachatai : ทวิตเตอร์ https://twitter.com/prachatai : LINE ไอดี = @prachatai</div></div></div>
 

https://prachatai.com/journal/2023/09/106136
 

Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

บันทึกการเข้า

นักข่าวหัวเห็ด แห่งเวบสุขใจ
อัพเดตข่าวทันใจ ตลอด 24 ชั่วโมง

>> http://www.SookJai.com <<
คำค้น:
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน


หัวข้อที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อนี้
หัวข้อ เริ่มโดย ตอบ อ่าน กระทู้ล่าสุด
[ข่าวมาแรง] - ศาลอนุมัติหมายจับเจ้าของโกดังเก็บดอกไม้เพลิงมูโนะ
สุขใจ ร้านน้ำชา
สุขใจ ข่าวสด 0 547 กระทู้ล่าสุด 02 สิงหาคม 2566 14:49:17
โดย สุขใจ ข่าวสด
[ข่าวมาแรง] - องค์กรพิทักษ์สัตว์เรียกร้องให้เพิ่มเรื่องสวัสดิภาพสัตว์และห้ามใช้ยาปฏิชีวน
สุขใจ ร้านน้ำชา
สุขใจ ข่าวสด 0 574 กระทู้ล่าสุด 05 สิงหาคม 2566 15:31:10
โดย สุขใจ ข่าวสด
[ข่าวมาแรง] - คาดแบงก์พาณิชย์ไทยปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยตามอัตราดอกเบี้ยนโยบาย กนง.
สุขใจ ร้านน้ำชา
สุขใจ ข่าวสด 0 467 กระทู้ล่าสุด 06 สิงหาคม 2566 18:04:42
โดย สุขใจ ข่าวสด
[ข่าวมาแรง] - ประเทศไทยกำลังเดินถอยหลังเรื่องความคุ้มครองความยากจนผู้สูงอายุ
สุขใจ ร้านน้ำชา
สุขใจ ข่าวสด 0 483 กระทู้ล่าสุด 17 สิงหาคม 2566 17:55:22
โดย สุขใจ ข่าวสด
[ข่าวมาแรง] - เผยนักกิจกรรมชายแดนใต้ถูกคุกคามหลังไลฟ์สดการปิดล้อม
สุขใจ ร้านน้ำชา
สุขใจ ข่าวสด 0 331 กระทู้ล่าสุด 20 สิงหาคม 2566 15:35:02
โดย สุขใจ ข่าวสด
Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.239 วินาที กับ 33 คำสั่ง

Google visited last this page 21 พฤษภาคม 2567 14:43:37