[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
22 ธันวาคม 2567 16:33:48 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: [ข่าวมาแรง] - สถานการณ์ 'ช่องว่างค่าจ้างระหว่างเพศ' เราอยู่ตรงจุดไหนแล้วในปี 2023 นี้  (อ่าน 252 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
สุขใจ ข่าวสด
I'm Robot
สุขใจ บอทนักข่าว
นักโพสท์ระดับ 15
****

คะแนนความดี: +101/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
Italy Italy

กระทู้: มากเกินบรรยาย


บอท @ สุขใจ


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« เมื่อ: 04 ตุลาคม 2566 15:35:40 »

สถานการณ์ 'ช่องว่างค่าจ้างระหว่างเพศ' เราอยู่ตรงจุดไหนแล้วในปี 2023 นี้
 


<span class="submitted-by">Submitted on Wed, 2023-10-04 11:55</span><div class="field field-name-body field-type-text-with-summary field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even" property="content:encoded"><p>ILOSTAT รวบรวมตัวเลขสถานการณ์ 'ช่องว่างค่าจ้างระหว่างเพศ' ในปี 2023 พบว่าแม้จะมีความคืบหน้าไปบ้าง แต่ช่องว่างยังคงอยู่และห่างขึ้นในบางอาชีพด้วยซ้ำ พบช่องว่างค่าจ้างชายหญิงไม่ได้เกิดจากวุฒิการศึกษาเป็นหลัก แต่มักจะเพิ่มขึ้นตามอายุ</p>
<p style="text-align: center;"><img alt="" src="https://upload.wikimedia.org/wikipedia/commons/thumb/7/71/Women%27s_March_LA_2019_%2832930189268%29.jpg/2560px-Women%27s_March_LA_2019_%2832930189268%29-1024x1024.jpg" />
<span style="color:#f39c12;">ที่มาภาพ: Luke Harold / Wikimedia</span></p>
<p>เมื่อ 8 ปีที่แล้ว จัสติน ทรูโด (Justin Trudeau) นายกรัฐมนตรีแคนาดา ถูกถามว่าเหตุใดความเท่าเทียมทางเพศจึงมีความสำคัญในคณะรัฐมนตรีของเขา ทรูโดตอบว่า "เพราะว่าเป็นปี 2015 แล้ว" </p>
<p>ปัจจุบันเราอยู่ในปี 2023 แต่ความเท่าเทียมระหว่างเพศยังคงเป็นสิ่งที่ยากจะบรรลุ ในปีที่ผ่านมาครึ่งหนึ่งของประเทศต่างๆ ทั่วโลก มีสัดส่วนของผู้หญิงในตำแหน่งผู้บริหารระดับกลางและระดับสูงต่ำกว่า 35% ผู้ชายยังคงมีรายได้มากกว่าผู้หญิงในเกือบทุกอุตสาหกรรม เนื่องจากปัจจัยต่างๆ รวมถึงการแบ่งแยกเพศตามการจ้างงานและอาชีพที่ยังคงมีอยู่ ผู้หญิงต้องหยุดทำงานสาเหตุเพราะพวกเธอมีลูก การแบ่งปันความรับผิดชอบในครอบครัวที่ไม่เท่าเทียมกัน และค่าจ้างที่ไม่ยุติธรรม รายงานชิ้นนี้ของ ILOSTAT จะให้ข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับความอยุติธรรมทางสังคมที่สำคัญในยุคของเรา นั่นคือ "ช่องว่างค่าจ้างระหว่างเพศ"</p>
<h2><span style="color:#3498db;">ช่องว่างค่าจ้างระหว่างเพศยังคงมีอยู่ในอาชีพและอุตสาหกรรมต่างๆ</span></h2>
<p style="text-align: center;"><img alt="" src="https://live.staticflickr.com/65535/51953586518_ce37c6d61c_o_d.jpg" />
<span style="color:#f39c12;">ที่มาภาพ: ILO Asia-Pacific (CC BY-NC-ND 2.0)</span></p>
<p>การแบ่งแยกเพศในกิจกรรมทางเศรษฐกิจบางอย่าง เป็นสาเหตุของช่องว่างค่าจ้างระหว่างเพศ ตัวอย่างเช่น อุตสาหกรรมการขนส่งทางอากาศ เป็นอุตสาหกรรมที่มีช่องว่างค่าจ้างระหว่างเพศสูง เนื่องจากผู้หญิงในอุตสาหกรรมนี้มักทำหน้าที่การขายตั๋วและการบริการ ส่วนผู้ชายที่มีแนวโน้มที่จะเป็นผู้บริหารและการใช้ทักษะพิเศษเช่นนักบิน </p>
<p>ในทางกลับกัน อุตสาหกรรมการก่อสร้าง ช่องว่างค่าจ้างระหว่างเพศมีนัยสำคัญน้อยกว่าใน 'กิจกรรมการก่อสร้างเฉพาะทาง' และผู้หญิงยังมีรายได้มากกว่าผู้ชายโดยเฉลี่ยในอุตสาหกรรม 'การก่อสร้างอาคาร' ในหลายประเทศ เนื่องจากผู้หญิงมีสัดส่วนน้อยมากในแรงงานภาคการก่อสร้าง และผู้หญิงที่ถูกจ้างในภาคนี้มีแนวโน้มที่จะเป็นมืออาชีพมากกว่า ในขณะที่ผู้ชายมีแนวโน้มที่จะอยู่ในอาชีพกึ่งทักษะและทักษะต่ำมากกว่า</p>
<p>คำจำกัดความในการวิเคราะห์นี้ "ช่องว่างค่าจ้างระหว่างเพศ" หมายถึง "ความแตกต่างระหว่างค่าจ้างรายชั่วโมงของชายและหญิง" (ผู้ชายได้ค่าจ้างมากกว่าผู้หญิงในงานเดียวกัน) สิ่งสำคัญคือต้องสังเกตปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการแบ่งแยกเพศในตลาดแรงงาน ทั้งลักษณะงานและสถานที่ทำงาน เช่น ผู้หญิงที่มีสัดส่วนเพิ่มมากขึ้นในการจ้างงานนอกระบบ หรือการจ้างงานในวิสาหกิจขนาดย่อมและขนาดเล็ก หรือการจ้างงานด้วยสัญญาชั่วคราว หรือการทำงงจัง ปัจจัยเหล่านี้ส่งผลต่อช่องว่างค่าจ้างระหว่างเพศแม้จะอยู่ในอาชีพเดียวกันก็ตาม นอกจากนี้ แม้ว่าการวิเคราะห์นี้มุ่งเน้นไปที่ช่องว่างค่าจ้างระหว่างเพศ แต่เราต้องไม่ลืมความจริงที่ว่าปัจจัยทางด้านเชื้อชาติ ชาติพันธุ์ สถานะการย้ายถิ่นฐาน ความพิการ รสนิยมทางเพศ และคุณลักษณะอื่นๆ สามารถมีผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญต่อตลาดแรงงานด้วยเช่นกัน</p>
<p style="text-align: center;"><img alt="" src="https://live.staticflickr.com/65535/53229179934_6c22196ac8_o_d.jpg" /></p>
<p>อาชีพที่มีช่องว่างค่าจ้างระหว่างเพศที่สำคัญในประเทศส่วนใหญ่ ได้แก่ ผู้เชี่ยวชาญที่มีทักษะสูงและอาชีพในกลุ่ม STEM ซึ่งผู้หญิงยังคงมีบทบาทน้อย ตัวอย่างเช่น ในปี 2022 ประเทศส่วนใหญ่กว่า 80% มีช่องว่างค่าจ้างระหว่างเพศอย่างน้อย 5% สำหรับผู้เชี่ยวชาญด้านวิทยาศาสตร์ วิศวกรรมศาสตร์ และผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพ ช่องว่างค่าจ้างระหว่างเพศที่สูงในกลุ่มผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพ สอดคล้องกับผลการวิจัยล่าสุดที่ว่าช่องว่างค่าจ้างระหว่างเพศในภาคการดูแลสุขภาพ มีแนวโน้มสูงกว่าในภาคส่วนอื่นๆ </p>
<p>อาชีพอื่นๆ ที่มีช่องว่างค่าจ้างระหว่างเพศในประเทศส่วนใหญ่ (มากกว่า 70%) ได้แก่ คนทำงานดูแลส่วนบุคคล (ภายใต้กลุ่มอาชีพ 'พนักงานบริการและการขาย') คนทำงานในอาคาร คนทำงานด้านโลหะ เครื่องจักร และบริการที่เกี่ยวข้อง คนทำงานหัตถกรรมและการพิมพ์ และผู้ปฏิบัติงานโรงงานและเครื่องจักร และแม้แต่อาชีพที่มีทักษะต่ำ เช่น พนักงานขายและบริการตามท้องถนน ก็มีช่องว่างค่าจ้างระหว่างเพศด้วยเช่นกัน</p>
<p style="text-align: center;"><img alt="" src="https://live.staticflickr.com/65535/53229244940_6b4029e5de_o_d.jpg" /></p>
<p>แม้ว่าช่องว่างค่าจ้างระหว่างเพศในอาชีพเหล่านี้จะพบได้ในประเทศส่วนใหญ่ แต่ความห่างของช่องว่างเหล่านี้มีความแตกต่างกันในระดับภูมิภาค ในยุโรป เอเชียกลาง และเอเชียแปซิฟิก ความแตกต่างระหว่างรายได้ในอาชีพต่างๆ มีนัยสำคัญน้อยกว่าในภูมิภาคแอฟริกา อเมริกา และรัฐอาหรับ</p>
<h2><span style="color:#3498db;">ช่องว่างค่าจ้างระหว่างเพศ ไม่ได้เกิดจากความแตกต่างด้านวุฒิการศึกษา</span></h2>
<p style="text-align: center;"><img alt="" src="https://live.staticflickr.com/65535/53229913572_47df0f3f2b_o_d.jpg" /></p>
<p>จากสมมติฐานที่ว่าคนทำงานมีทักษะไม่ตรงกับอาชีพ และช่องว่างค่าจ้างระหว่างเพศอาจมีสาเหตุมาจากวุฒิการศึกษา อย่างน้อยข้อมูลที่มีอยู่ในขณะนี้ไม่สนับสนุนสมมติฐานดังกล่าว ตัวอย่างเช่น ช่องว่างค่าจ้างระหว่างเพศ ในประเทศส่วนใหญ่ ผู้หญิงที่มีระดับการศึกษาระดับปานกลางหรือระดับสูง มักจะมีรายได้เฉลี่ยน้อยกว่าผู้ชายที่มีวุฒิการศึกษาเท่ากัน ปัญหาหลักที่อยู่เบื้องหลังช่องว่างค่าจ้างระหว่างเพศในประเทศส่วนใหญ่ ตามรายงานของ ILO เมื่อเร็วๆ นี้ในหลายประเทศพบว่าผู้หญิงอาจได้รับการศึกษาสูงกว่าผู้ชายในประเภทอาชีพเดียวกัน แต่ถึงกระนั้นก็ได้รับค่าจ้างที่ต่ำกว่า </p>
<h2><span style="color:#3498db;">ช่องว่างค่าจ้างระหว่างเพศและชีวิตการทำงานของผู้หญิง</span></h2>
<p style="text-align: center;"><img alt="" src="https://live.staticflickr.com/65535/53231184019_80bab306d7_o_d.jpg" /></p>
<p>การค้นพบที่น่าสนใจอีกประการหนึ่ง คือช่องว่างค่าจ้างระหว่างเพศมักจะมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเมื่อเวลาผ่านไป แท้จริงแล้ว สำหรับอาชีพต่างๆ รวมถึงอาชีพ STEM ข้อมูลชี้ว่าในหลายประเทศมีช่องว่างค่าจ้างในหมู่คนหนุ่มสาวที่ต่ำกว่าหรือติดลบด้วยซ้ำ ซึ่งหมายถึงคนทำงานที่มีอายุ 20-24 ปี (เนื่องจากมีคนทำงานอายุต่ำกว่า 20 ปี เพียงไม่กี่คนในอาชีพวิชาชีพ ) – บ่งชี้ว่าหญิงสาวในอาชีพเหล่านี้ได้รับค่าจ้างต่ำกว่าชายหนุ่มเพียงเล็กน้อยหรือสูงกว่าชายหนุ่มด้วยซ้ำ อย่างไรก็ตาม สถานการณ์นี้จะพลิกกลับอย่างรวดเร็วในกลุ่มอายุที่สูงกว่า ตัวอย่างเช่น หญิงสาวที่เป็นมืออาชีพด้านวิทยาศาสตร์และวิศวกรรมมีรายได้มากกว่าชายหนุ่มอาชีพเดียวกันในหลายประเทศ อย่างชิลี ฝรั่งเศส เลบานอน ฟิลิปปินส์ ไทย และสหราชอาณาจักร อย่างไรก็ตาม ในประเทศเหล่านี้ทั้งหมด สถานการณ์ที่ผู้ชายมีรายได้มากกว่าผู้หญิงจะกลับคืนมาสำหรับคนทำงานที่มีอายุ 25 ปีขึ้นไป (30 ปีขึ้นไปในกรณีของประเทศไทย) </p>
<p>มีหลายปัจจัยที่สามารถอธิบายการค้นพบดังกล่าว โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การมีส่วนร่วมของแรงงานในหมู่หญิงสาวต่ำมาก ตัวอย่างเช่น อาจเป็นได้ว่าปัจจัยทางสังคมและวัฒนธรรม รวมถึงความรับผิดชอบในการดูแล ทำให้หญิงสาวท้อใจหรือขัดขวางไม่ให้หญิงสาวเข้าสู่ตลาดแรงงาน หรือขัดขวางการก้าวหน้าในอาชีพ</p>
<p>แต่คำถามที่น่าสนใจกลับกลายเป็นว่า "เหตุใดช่องว่างค่าจ้างระหว่างเพศจึงเพิ่มขึ้นตามอายุ" หรือกล่าวอีกนัยว่า "อะไรคือสิ่งที่เป็นอุปสรรคขัดขวางด้านค่าจ้างและอาชีพ - ความก้าวหน้าของผู้หญิง เมื่อเปรียบเทียบกับผู้ชายในกลุ่มอายุเดียวกัน"  ซึ่งมีหลายคำอธิบาย อาทิเช่น ชีวิตการทำงานของผู้หญิงที่ต้องหยุดชะงักนั้นมักเกี่ยวข้องกับการมีลูกและหน้าที่การดูแลครอบครัว ซึ่งส่งผลต่อความก้าวหน้าในอาชีพเมื่อเปรียบเทียบกับผู้ชายในกลุ่มอายุเดียวกัน </p>
<p>ผลการศึกษาพบว่า “ช่องว่างค่าจ้างของการเป็นแม่” (หมายถึงช่องว่างค่าจ้างระหว่างผู้หญิงที่มีลูกกับไม่มีลูก) อาจค่อนข้างสูงในบางประเทศ และการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ทำให้ผู้หญิงสูญเสียโอกาสในการกลับมาทำงานอย่างต่อเนื่อง คำอธิบายอีกประการหนึ่งคือการมีอยู่ของ "เพดานกระจก" ที่ผู้หญิงต้องเผชิญกับอุปสรรคต่อความก้าวหน้าทางอาชีพมากกว่าผู้ชาย จากความท้าทายเหล่านี้ ผู้หญิงจึงมีโอกาสน้อยที่จะดำรงตำแหน่งระดับสูง มากกว่าผู้ชายในกลุ่มอายุเดียวกัน</p>
<h2><span style="color:#3498db;">สิ่งที่สามารถทำได้</span></h2>
<p style="text-align: center;"><img alt="" src="https://live.staticflickr.com/65535/50932991011_43f03314ec_k_d.jpg" />
<span style="color:#3498db;">ที่มาภาพ: ILO/APEX (CC BY-NC-ND 2.0)</span></p>
<p>ข้อค้นพบเหล่านี้ชี้ให้เห็นว่าแม้จะมีความก้าวหน้าบ้างในเรื่อง แต่ก็ยังมีสิ่งที่ต้องทำอีกมากมายเพื่อให้บรรลุเป้าหมาย SDG 5 (บรรลุความเท่าเทียมทางเพศและเสริมสร้างศักยภาพของผู้หญิงและเด็กผู้หญิงทุกคน) และเพื่อให้บรรลุเป้าหมาย SDG 8.5 (การจ้างงานเต็มรูปแบบที่มีประสิทธิผล และงานที่มีคุณค่าสำหรับผู้หญิงและผู้ชายทุกคน รวมทั้งเยาวชนและผู้ทุพพลภาพ และค่าจ้างที่เท่าเทียมกันสำหรับงานที่มีมูลค่าเท่ากัน) นโยบายและการดำเนินการร่วมกันของรัฐบาลและนายจ้างมีความจำเป็นเพื่อส่งเสริมการมีส่วนร่วมของผู้หญิง ขจัดการแบ่งแยกเพศ เพิ่มสัดส่วนผู้หญิงในตำแหน่งบริหาร ขจัดการเลือกปฏิบัติในการจ้างงาน ลดช่องว่างรายได้ระหว่างเพศ ขจัดอุปสรรคในความก้าวหน้าทางอาชีพของผู้หญิง </p>
<p>รวมถึงนโยบายและแนวปฏิบัติที่เป็นประโยชน์อื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับการปกป้องและให้ความปลอดภัยแก่ผู้หญิง ป้องกันการเลือกปฏิบัติ ความรุนแรง การล่วงละเมิดทางเพศหรือศีลธรรมทุกรูปแบบ การลงทุนในนโยบายการดูแลและส่งเสริมความรับผิดชอบในการดูแลร่วมกัน และสร้างความมั่นใจว่าผู้หญิงสามารถเข้าถึงการคุ้มครองทางสังคมที่เพียงพอในทุกช่วงของชีวิต ซึ่งเป็นพื้นฐานในการบรรเทาปัญหาการหยุดชะงักในอาชีพการงาน</p>
<p>มีทรัพยากรต่างๆ ที่สามารถนำไปใช้ได้ ซึ่งรวมถึงตราสารระหว่างประเทศ เช่น อนุสัญญาว่าด้วยการเลือกปฏิบัติ (การจ้างงานและอาชีพ) ของ ILO ปี 1958 (C111) อนุสัญญาว่าด้วยค่าตอบแทนที่เท่าเทียมกัน ปี 1951 (C100) อนุสัญญาว่าด้วยความรับผิดชอบต่อครอบครัวของผู้ปฏิบัติงาน ปี 1981 (C156) อนุสัญญาคุ้มครองการคลอดบุตร ปี 2000 (C183) และอนุสัญญาว่าด้วยความรุนแรงและการคุกคาม ปี 2019 (C190) นอกจากนี้ยังมีตัวอย่างมาตรการ นโยบาย และความคิดริเริ่มที่สำคัญ เช่น พอร์ทัลนโยบายการดูแลทั่วโลกของ ILO, เว็บเพจของ ILO เกี่ยวกับช่องว่างค่าจ้างระหว่างเพศ ซึ่งมีเครื่องมือในการสนับสนุนประเทศสมาชิกในการลดช่องว่างค่าจ้างระหว่างเพศ </p>
<p>เราต้องขจัดช่องว่างรายได้ระหว่างเพศ! เพราะนี่คือปี 2023 แล้ว.</p>
<p><strong>ที่มา:</strong>
Equal pay for work of equal value: where do we stand in 2023? (Souleima El Achkar, ILOSTAT, 18 September 2023)</p>
</div></div></div><div class="field field-name-field-variety field-type-taxonomy-term-reference field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even"><a href="/category/%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%87%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%9E%E0%B8%B4%E0%B9%80%E0%B8%A8%E0%B8%A9" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">รายงานพิhttps://fb.me/prachatai : ทวิตเตอร์ https://twitter.com/prachatai : LINE ไอดี = @prachatai</div></div></div>
 

https://prachatai.com/journal/2023/10/106203
 

Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

บันทึกการเข้า

นักข่าวหัวเห็ด แห่งเวบสุขใจ
อัพเดตข่าวทันใจ ตลอด 24 ชั่วโมง

>> http://www.SookJai.com <<
คำค้น:
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน

Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.192 วินาที กับ 31 คำสั่ง

Google visited last this page 19 ธันวาคม 2567 20:38:11