[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
22 ธันวาคม 2567 17:01:52 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: อุโมงค์ขุนตานฯ ย่นระยะเวลากรุงเทพฯ-เชียงใหม่ จาก 1-2 เดือน เหลือแค่ 3 คืน  (อ่าน 603 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
ใบบุญ
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 12
*

คะแนนความดี: +0/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

Thailand Thailand

กระทู้: 2497


ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Mozilla รองรับ Mozilla รองรับ


ดูรายละเอียด
« เมื่อ: 15 กันยายน 2566 14:03:16 »



ปากอุโมงค์ขุนตาลทางด้านทิศใต้ ปี พ.ศ. 2459 (ภาพจากสำนักศิลปากรเชียงใหม่)

“อุโมงค์ขุนตาน” และรถไฟสายเหนือ ย่นระยะเวลากรุงเทพฯ-เชียงใหม่ จาก 1-2 เดือน เหลือแค่ 3 คืน


ผู้เขียน - กองบรรณาธิการศิลปวัฒนธรรม
เผยแพร่ - ศิลปวัฒนธรรม วันศุกร์ที่ 8 กันยายน พ.ศ.2566


อุโมงค์ขุนตาน อุโมงค์ทางรถไฟลอดผ่านที่ยาวที่สุดในประเทศไทย ด้วยความยาว 1,352.10 เมตร ขนาดกว้าง 5.20 เมตร สูง 5.40 เมตร เพดานผนังอุโมงค์โค้งรัศมี 2.50 เมตร เป็นคอนกรีตเสริมเหล็ก ใช้งบประมาณจากเงินกู้ต่างประเทศประมาณ 1.36 ล้านบาท เริ่มสร้าง พ.ศ.2450

การสร้างอุโมงค์ขุนตาน ทำโดยเจาะเข้าไปในภูเขาพร้อมกันทั้ง 2 ด้าน คือ ด้านอำเภอห้างฉัตร นครลำปาง กับด้านอำเภอแม่ทา นครลำพูน ใช้คนงานชาวจีนทำงานเกี่ยวกับดิน ใช้คนงานไทใหญ่และคนอีสานขุดเจาะอุโมงค์ มีปริมาณดินและหินที่ขนออกมามากกว่า 60,000 ลูกบาศก์เมตร ถมบริเวณที่ลุ่มจนกลายเป็นที่ตั้งสถานีรถไฟขุนตาน ที่บ้านขุนตาน ตำบลทาปลาดุก อำเภอแม่ทา จังหวัดลำพูน

แต่การขุดเจาะและก่อสร้างอุโมงค์ยาว 1.3 กิโลเมตร กลางป่าเมื่อ 100 กว่าปีก่อน ก็ไม่ใช่เรื่องง่าย

เอมิล ไอเซนโฮเฟอร์ (พ.ศ.2422-2505) วิศวกรชาวเยอรมัน ที่มีประสบการณ์ก่อสร้างโครงการต่างๆ เช่น ทางรถไฟที่โฮ้ธโดนิกสเตน, อุโมงค์รถไฟที่ออเรนเบอร์กในเว็สต์ฟาเลีย, สร้างประตูน้ำ และทำนบในแม่น้ำออมเบอร้านใกล้เมืองแฟรงเฟิร์ต เดินทางเข้ามาทำงานที่การรถไฟไทย (พ.ศ.2446-2460) เพื่อรับหน้าที่วิศวกรผู้คุมการเจาะอุโมงค์ขุนตาน ช่วง พ.ศ.2457-2460 บันทึกถึงปัญหาต่างๆ ในการทำงาน พอสรุปได้ดังนี้

การเดินทางและขนอุปกรณ์ก่อสร้างยากลำบาก เพราะภูมิประเทศเป็นภูเขาสูงชัน เหวและป่าทึบ ช่วง 8 กิโลเมตรจากลำปางไปบริเวณงานต้องผ่านเหวลึก 3 แห่งที่ปางยางเหนือ ปางยางใต้ และปางหละ โดยเหวที่ปางหละกว้างและลึกมาก พาหนะในการเดินทางและขนอุปกรณ์ต้องใช้ช้าง เกวียน ล่อ บางแห่งเป็นภูเขาชันต้องใช้รอก

สัตว์ร้ายในป่าทึบ เริ่มตั้งแต่สัตว์ร้ายตัวเล็ก “ยุง” ที่ทำให้คนงานทุกคนเสี่ยงต่อการเป็นไข้ป่า ไล่ขนาดกันไปเป็น งู, เสือ ฯลฯ ที่จะทำร้าย, ล่า ฯลฯ คนงานและสัตว์พาหนะไปเป็นอาหาร หรือทำให้เกิดอันตราย วิศวกรคุมงานจึงต้องมีปืนไว้ป้องกันตัวเองและทีมงาน

เครื่องมือเทคโนโลยีต่ำ แรงงานที่มีทั้งคนจีน, ไทใหญ่ และคนจากอีสาน จึงต้องทำงานอย่างหนัก บางครั้งก็ต้องใช้ภูมิปัญญาพื้นถิ่น เช่น ใช้ไฟสุมก้อนหินให้ร้อนแล้วใช้น้ำราดให้หินแตก ขุดเจาะเป็นรูเพื่อเอาดินระเบิดฝังแล้วต่อสายชนวนออกมา เพื่อจุดระเบิดเป็นระยะ

การทำงานอุโมงค์ลึกในภูเขาที่ไม่มีอากาศและแสง นายไอเซนโฮเฟอร์จึงประดิษฐ์ตะเกียงรูปเป็ดไม่มีหัว ไม่มีขา เรียกว่าโคมเป็ด ตรงคอมีรูใส่ไส้ตะเกียง ตรงท้องเป็นที่เก็บน้ำมันก๊าดและน้ำมันมะพร้าวเป็นเชื้อเพลิง ด้านหลังมีห่วงร้อยด้วยลวดหรือเชือกสำหรับรัดหัวหรือแขวน เพื่อให้มีแสงในอุโมงค์ ส่วนอากาศไม่พอก็ใช้ภูมิปัญญาแก้ไขด้วยการขุดปล่องทะลุพื้นตอนบน ใช้ไม้ตีประกบเป็นรูปโรงสีไฟ ขนเศษไม้เศษฟืนจุดไฟในอุโมงค์เพื่อไล่อากาศทึบให้ออกมา จากนั้นปล่องระบายอากาศจะทำให้อากาศภายนอกเข้าไปได้

ผลกระทบจากสงคราม ที่เริ่มจากสงครามในยุโรป (ตั้งแต่ กรกฎาคม พ.ศ.2457) ทำให้ขาดวัสดุสำคัญคือเหล็กที่สั่งจากเยอรมนี ช่วงทำสะพานจึงต้องใช้ไม้สักแทนเหล็ก ต่อมาสงครามพัฒนาเป็นสงครามโลกครั้งที่ 1 และเมื่อไทยประกาศเข้าร่วมสงครามโดยอยู่ฝ่ายสัมพันธมิตร ขณะที่เยอรมนีเป็นฝ่ายมหาอำนาจกลาง

เยอรมนีจึงกลายเป็นชนชาติศัตรูของสยาม ชาวเยอรมันซึ่งส่วนใหญ่ทำงานในกรมรถไฟและกรมไปรษณีย์โทรเลข ต่างถูกจับกุมและถอดถอนบรรดาศักดิ์ รวมทั้งนายไอเซนโฮเฟอร์ วิศวกรชาวเยอรมันที่กำลังคุมงานก่อสร้างอุโมงค์ขุนตานด้วย

นายไอเซนโฮเฟอร์และชาวเยอรมันถูกคุมตัวและส่งไปคุมขังที่เมืองอาเหม็ดนากา รัฐมหาราษฏระ ทางด้านตะวันตกของประเทศอินเดีย เมื่อสงครามโลกสงบ เยอรมนีเป็นฝ่ายยอมแพ้ใน พ.ศ.2461 จึงส่งตัวกลับประเทศเยอรมนี ส่วนนายไอเซนโฮเฟอร์ภายหลังเดินทางกลับมาอยู่เมืองไทยกับภรรยาชาวไทยและลูกๆ อีกครั้ง

ส่วนอุโมงค์ขุนตานก็แล้วเสร็จใน พ.ศ.2461 ทำให้มีทางรถไฟสายเหนือไปถึงเชียงใหม่ใน พ.ศ.2464 ช่วยให้การเดินทางระหว่างกรุงเทพฯ-เชียงใหม่ รวดเร็วยิ่งขึ้น จากเดิมที่เดินทางตามแม่น้ำปิงต้องใช้เวลาราว 1-2 เดือน เมื่อเปลี่ยนเป็นรถไฟธรรมดาใช้เวลาเพียง 3 คืน (พักที่ปากน้ำโพ 1 คืน, อุตรดิตถ์ 1 คืน และลำปาง 1 คืน) และรถด่วนประมาณ 24 ชั่วโมง

Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

บันทึกการเข้า
คำค้น:
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน

Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.377 วินาที กับ 31 คำสั่ง

Google visited last this page 07 พฤศจิกายน 2567 13:55:43