[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
01 พฤศจิกายน 2567 08:31:39 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: [ข่าวมาแรง] - สงสัยเด็กแรกเกิด ‘ได้ยินบกพร่อง’ คัดกรองได้ด้วยสิทธิประโยชน์จาก สปสช.  (อ่าน 110 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 3 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
สุขใจ ข่าวสด
I'm Robot
สุขใจ บอทนักข่าว
นักโพสท์ระดับ 15
****

คะแนนความดี: +101/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
Italy Italy

กระทู้: มากเกินบรรยาย


บอท @ สุขใจ


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« เมื่อ: 18 พฤศจิกายน 2566 13:44:51 »

สงสัยเด็กแรกเกิด ‘ได้ยินบกพร่อง’ คัดกรองได้ด้วยสิทธิประโยชน์จาก สปสช.
 


<span class="submitted-by">Submitted on Sat, 2023-11-18 12:23</span><div class="field field-name-body field-type-text-with-summary field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even" property="content:encoded"><p>สงสัยเด็กแรกเกิด ‘ได้ยินบกพร่อง’ คัดกรองได้ด้วยสิทธิประโยชน์จาก สปสช. หาก ‘ประสาทหูเสื่อม’ ต้องผ่าตัด ‘บัตรทอง’ ก็ครอบคลุม</p>
<p><img alt="" src="https://live.staticflickr.com/65535/53339266309_62bc206850_o_d.jpg" /></p>
<p>สกู้ปพิเศษจากทีมสื่อสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ระบุว่าหากนับจำนวนเด็กแรกคลอด 1,000 คนที่เพิ่งลืมตาดูโลก จะมีประมาณ 1-3 คนที่ไม่สามารถแม้แต่กระทั่ง “ได้ยิน” เสียงแรกเรียกจากผู้ปกครอง ซึ่งเกิดจาก “ความบกพร่องทางการได้ยิน” ที่เป็นตั้งแต่กำเนิด หรือเรียกเฉพาะเจาะจงขึ้นไปอีกคือ “ประสาทหูเสื่อมแต่กำเนิด” นั่นเอง  </p>
<p>ความบกพร่องดังกล่าวเป็นโรคที่การรักษามีราคาแพงหูฉี่ เพราะไม่เพียงแต่เด็กจะต้องได้รับการคัดกรองเท่านั้น แต่ยังรวมไปถึงการรักษาที่ต้องทำการ “ผ่าตัด” เพื่อฝัง “ประสาทหูเทียม” ที่มีราคาเครื่องร่วมแสนไป  </p>
<p>ทว่า ตั้งแต่ปลายปี 2563 คณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (บอร์ด สปสช.) ได้มีมติเพิ่มสิทธิประโยชน์ในการตรวจ คัดกรอง “การได้ยินของทารกแรกเกิดในกลุ่มเสี่ยง” ในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ หรือ บัตรทอง 30 บาท หากพบว่ามีประสาทหูเสื่อมแต่กำเนิดร่วมด้วยก็สามารถใช้สิทธิ “ผ่าตัดฝังประสาทหูเทียม” ได้โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย ซึ่งเกณฑ์กำหนดไว้ว่าเด็กที่จะฝังได้ต้องมีอายุต่ำกว่า 5 ปีที่มีระดับการได้ยิน 90 เดซิเบลขึ้นไปได้  </p>
<p>กระทั่งปี 2565 บอร์ด สปสช. ได้มีการปรับสิทธิประโยชน์อีกครั้ง จากที่คัดกรองเฉพาะกลุ่มเสี่ยง ก็ได้ขยายไปจนถึง “เด็กแรกเกิดทุกราย” โดย “โรงพยาบาลราชวิถี” เป็นอีกหนึ่งโรงพยาบาลที่มีศักยภาพและขานรับนโยบายนี้ ภายใต้การดูแลของ “ศูนย์ความเป็นเลิศด้าน โสต ศอ นาสิก” ที่ช่วยให้เด็กที่มีความบกพร่อง สามารถกลับไปใช้ชีวิตแบบปกติตามช่วงวัย </p>
<p>นพ.จินดา โรจนเมธินทร์ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลราชวิถี เปิดเผยว่า เด็กที่ไม่สามารถได้ยินหรือมีปัญหาทางการได้ยินตั้งแต่กำเนิดเมื่อโตขึ้นจะพบว่ามีปัญหาทางด้านพัฒนาการ ไม่สามารถเรียนรู้ หรือพัฒนาด้านภาษา หมายความว่าในอนาคตจะไม่สามารถสื่อสารได้ และทำให้เกิดปัญหาด้านพัฒนาการของเด็กที่ถือเป็นทรัพยากรของประเทศตามมาด้วย หากคิดจากจำนวนทารกแรกคลอด 1,000 คน จะพบว่ามีปัญหาด้านการได้ยินประมาณ 1-3 คน </p>
<p>ขณะเดียวกัน จากจำนวนทารกแรกเกิดในประเทศไทยจะเห็นได้ว่า “ลดลง” อย่างมีนัยสำคัญ เพราะในปี 2564 มีทารกเกิดใหม่ประมาณ 5 แสนคน ขณะที่ปี 2560 มีทารกเกิดใหม่ถึง 7 แสนคน  </p>
<p>“จะเห็นเลยว่าจำนวนลดลง แล้วยังมีส่วนหนึ่งที่มีปัญหา ถ้าเราไม่แก้ไขปัญหาเหล่านี้ อนาคตเราจะมีผู้ใหญ่ที่มีคุณภาพลดลง” นพ.จินดา ระบุ</p>
<p>อย่างไรก็ดีการที่สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) สนับสนุนให้มีการคัดกรองการได้ยินในเด็กแรกเกิดทุกคน โดยบรรจุอยู่ในชุดสิทธิประโยชน์ จะช่วยในการค้นหาเด็กที่มีปัญหาการได้ยินและเข้าสู่การรักษาอย่างรวดเร็ว และทำให้เติบโตเป็นผู้ใหญ่และเป็นประชากรที่มีคุณภาพของประเทศในอนาคต  </p>
<p>มากไปกว่านั้นทุกกระบวนการได้ผ่านการศึกษาวิจัยมาแล้วจากโครงการประเมินเทคโนโลยีและนโยบายด้านสุขภาพ (HITAP) ว่ามีความคุ้มค่าและมีประโยชน์ที่จะใช้เงินภาษีมาช่วยคัดกรองและแก้ไขปัญหาการได้ยิน  </p>
<p>“ด้วยความโรงพยาบาลระดับตติยภูมิหรือสูงกว่า ที่มีทั้งอาจารย์แพทย์และแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านหู คอ จมูก รวมถึงยังมีความเชี่ยวชาญโดยเฉพาะในด้านการฝังประสาทหูเทียมซึ่งเพียงพอต่อการให้บริการประชาชนตามนโยบายจาก สปสช. ทั้งการคัดกรองและแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น” นพ.จินดา กล่าว </p>
<p>พญ.สมจินต์ จินดาวิจักษณ์ หัวหน้ากลุ่มศูนย์การแพทย์เฉพาะทางด้านโสต ศอ นาสิก โรงพยาบาลราชวิถี อธิบายเสริมว่า ในประเทศไทยการบกพร่องทางการได้ยินหรือประสาทหูเสื่อมพบว่ามีประมาณ 3 แสนคน หรือ 18% ของความพิการทั้งหมดไม่ว่าจะแต่กำเนิดหรือไม่ก็ตาม ขณะเดียวกันจากการคาดการณ์อาจจะพบทารกเกิดใหม่ที่ปัญหาเรื่องการได้ยินถึง 500 รายจากทารกเกิดใหม่ 5 แสนคน  </p>
<p>“ตอนนี้ตัวเลขจริงที่มีการรายงานอาจจะยังมาไม่ถึง เนื่องจากการเข้าถึงระบบของข้อมูลทำให้เรากำลังรวบรวมอยู่ว่าสถานการณ์ตอนนี้เป็นอย่างไรบ้าง แต่เราก็พยามค้นหาเด็กที่มีความพิการตั้งแต่กำเนิดโดยการพยายามคัดกรอง” พญ.สมจินต์ กล่าว  </p>
<p>อย่างไรก็ดี ขณะนี้ตัวเลขแสดงให้เห็นว่ามีการคัดกรองที่ครอบคลุมมากกว่าที่ผ่านมา แตกต่างจ่างในอดีตที่จะคัดกรองเฉพาะในเด็กทีเป็นกลุ่มเสี่ยง เช่น เกิดมาพร้อมอาการตาเหลือง ตัวเหลือง หรือมีออกซิเจนบกพร่องตั้งแต่แรกเกิด ฯลฯ ทว่าก็ยังต้องมีการติดตามการให้บริการของหน่วยบริการในแต่ละเขตสุขภาพด้วยว่าทำได้เท่าไหร่ แต่ตอนนี้ทุกโรงพยาบาลก็ได้รับบนโยบายในส่วนนี้ไปแล้วในการจัดบริการให้แก่เด็กแรกเกิดทุกราย  </p>
<p>พญ.สมจินต์ กล่าวต่อไปว่า ที่ผ่านมาการฝังประสาทหูเทียมเป็นเรื่องไม่ง่าย เพราะมีราคาแพงและเข้าถึงได้ยาก แต่เมื่อระบบบัตรทองฯ มีสิทธิประโยชนนี้ จะทำให้ประชาชนได้รับโอกาสในการเข้าถึงบริการได้มากขึ้น ผู้ที่มีปัญหาทางเศรษฐานะก็สามารถเข้าถึงได้หากมีข้อบ่งชี้ทางการแพทย์ เป็นข้อดีที่ทำให้เด็กไทยมีโอกาสฟังหรือพูดใกล้เคียงได้กับเด็กปกติ  </p>
<p>ในส่วนขั้นตอนรักษาไม่ได้ยากเหมือนการเข้าถึง โดย นพ.ดาวิน เยาวพลกุล แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านโสต ศอ นาสิก โรงพยาบาลราชวิถี กล่าวว่า การคัดกรองการได้ยินในเด็กแรกเกิด สามารถทำได้ภายใน 48 ชั่วโมงหลังคลอด ด้วยเครื่องตรวจวินิจฉัยที่มีลักษณะคล้ายหูฟังที่มีขนาดเล็กพกพาง่าย และสามารถบอกผลได้เร็ว ในกรณีผลออกมาแล้วพบว่าปกติหากไม่มีความเสี่ยงเพิ่มเติมก็จะถือว่าปกติ แต่ในกรณีที่ผลออกมาว่าไม่ผ่าน แพทย์ก็จะทำการตรวจซ้ำหรือตรวจละเอียดมาขึ้นเพื่อนำไปสู่การวินิจฉัย </p>
<p>สำหรับเด็กที่สูญเสียการได้ยินไม่มากก็จะมีการใส่เครื่องช่วยฟังในข้างที่มีปัญหา หรือทั้งสองข้าง ส่วนในรายที่มีปัญหารุนแรง เช่น ไม่ได้ยินเสียง หรือหูหนวกก็จะมีการพิจารณาการผ่าตัดฝังประสาทหูเทียมที่เป็นอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ทำหน้าที่แทนหูชั้นในในการรับเสียง เพื่อทำให้สมองเกิดการพัฒนา ซึ่งอุปกรณ์ที่ใช้ผ่าตัดฝังเข้าไปนั้นเป็นวัสดุที่มีคุณภาพเพราะคาดหวังว่าจะอยู่ไปตลอดชีวิตไม่พัง หรือชำรุดเสียหาย จะมีเพียงอุปกรณ์ภายนอกเท่านั้นที่ต้องได้รับการดูแล </p>
<p>“ส่วนของหูเป็นอวัยวะรับเสียง แต่สมองที่มีหน้าที่ฟังเสียง ฉะนั้นหากหูผิดปกติสมองก็จะไม่ได้รับการกระตุ้นส่งต่อพัฒนาการตื่นๆ ตามมา เห็นได้ชัดคือเรื่องของภาษา เด็กที่มีปัญหาเรื่องการได้ยินตั้งแต่แรกเกิดจะไม่สามารถมีพัฒนาการทางภาษา ไม่สามารถพูดได้” นพ.ดาวิน ระบุ  </p>
<p>อย่างไรก็ดี สมองของเด็กจะพัฒนาได้สูงสุดในช่วง 3-6 ปีแรก (Golden Period) ฉะนั้นเมื่อได้รับการกระตุ้นเร็วเด็กก็จะมีพัฒนาการไปปกติ ซึ่งถ้าหากเลยช่วง Golden Period ไปแล้วสมองอาจไม่พัฒนา ทำให้ได้ผลน้อย หรือไม่ได้ผลเลย ขณะเดียวกันหลังจากการผ่าตัดไปแล้วก็จะต้องมีการกระตุ้น ฝึกฝนเพื่อให้สมองมีการพัฒนา  </p>
<p>“สิทธิประโยชน์นี้เป็นสิ่งที่ดีมากๆ เพราะการที่จะเปลี่ยนเด็กคนหนึ่งที่มีความาพิการทางการได้ยิน อาจจะพูดไม่ได้ต้องใช้ภาษามือไม่สามารถอยู่ร่วมกับสังคมปกติทั่วไปได้ ถ้าเราสามารถเปลี่ยนชีวิตคนคนหนึ่ง จากที่เกิดมาหูไม่ค่อยได้ยิน สามารถมีพัฒนาการที่จะอยู่ร่วมกับคนปกติ สังคมปกติก็จะเป็นอะไรที่ดีและมีประโชน์มาก” นพ.ดาวิน ระบุ  </p>
<p>ด้าน อมรรัตน์ ผ่านเมือง ผู้ปกครองเด็กที่ได้รับการคัดกรองและฝังประสาทหูเทียม เล่าว่า หลังจากคลอดลูกได้ 11 วัน โรงพยาบาลก็ได้มีการนัดให้เข้าไปตรวจค่าตับ และแพทย์ก็แนะนำให้ตรวจคัดกรองการได้ยินร่วมด้วยจึงทำให้รู้ว่าน้องมีปัญหาทางการได้ยิน จากนั้นโรงพยาบาลก็ได้มีการนัดติดตามเรื่อยๆ จนแน่ใจแล้วว่ามีปัญหา จึงมีการส่งต่อไปที่โรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์ จ.อุบลราชธานี เพื่อทำ CT Scan จนได้ทราบว่าประสาทหูของน้องไม่ทำงาน แพทย์จึงได้ส่งตัวมารักษาต่อที่โรงพยาบาลราชวิถี  </p>
<p>“หมอส่งตัวมารักษาต่อที่โรงพยาบาลราชวิถี และก็ได้แจ้งว่าให้ผ่าตัดใส่ประสาทหูเทียม ตอนนั้นไม่ได้กังวลเลยเพราะมั่นใจว่าลูกจะได้ยิน” น.ส.อมรรัตน์ ระบุ  </p>
<p>จากที่ส่งตัวมาแล้ว ตอนนั้น น.ส.อมรรัตน์ ไม่ทราบเลยว่ามีระบบบัตรทองมีสิทธิประโยชน์นี้ จนกระทั่งแพทย์ที่โรงพยาบาลได้แนะนำ ซึ่งใช้เวลาประมาณ 3 เดือนนับตั้งแต่ส่งตัวมา ลูกก็ได้รับการผ่าตัดในช่วงอายุ 1 ปี  </p>
<p>หลังจากการผ่าตัดเสร็จสิ้นแล้วใช้เวลาในการปรับตัว 1-2 เดือน โดยมีพยาบาลคอยให้คำแนะนำในการฝึกพูด หรือเลียนแบบเสียงธรรมชาติ ในช่วงแรกๆ จะมีกานัดติดตามอาการทุกอาทิตย์ จนถึงตอนนี้ผ่าตัดมาได้แล้วประมาณ 4 เดือน พบว่ามีพัฒนาการที่ดีขึ้น ได้ยินเสียง และสามารถทำตามที่บอกได้  </p>
<p>ทุกกระบวนการตั้งแต่เริ่มคัดกรองจนได้รับการผ่าตัดตลอดจนการฝึกพัฒนาการไม่มีค่าใช้จ่ายอะไรเหมือนที่ได้เคยกังวลไว้ก่อนหน้า ทำให้รู้สึกว่าสิทธิประโยชน์แบบนี้ควรจะมีต่อไปเรื่อยๆ  </p>
<p>เช่นเดียวกับ ณิรินทร์รดา จำปาสี หนึ่งผู้ปกครองที่ได้นำลูกเข้ารับการผ่าตัดเพื่อฝังประสาทหูเทียม โดยใข้สิทธิบัตรทอง เล่าว่า สิ่งที่ทำให้ทราบได้ว่าลูกมีความผิดปกติทางการได้ยินคือการสังเกตพฤติกรรมตั้งแต่ยังแบเบาะ เพราะช่วงนั้นจะมีการทำงานก่อสร้าง หรือพยายามเรียกเสียงดังเพื่อเรียกร้องความสนใจ แต่ลูกไม่ได้มีปฏิกิริยาตอบโต้กลับมา  </p>
<p>กระทั่งลูกอายุได้ 2 ขวบ 5 เดือนจึงตัดสินใจเดินทางเข้าไปพบแพทย์ที่โรงพยาบาลเอกชนแห่งหนึ่ง ครั้งแรกผลออกมาไม่แน่ชัด แต่เมื่อมีการตรวจซ้ำจึงได้รู้ว่าน้องไม่ได้ยินเสียง 100 เดซิเบล  </p>
<p>“ตอนนั้นสิ่งที่ทำให้เข้ามาคัดกรองก็เพื่อคุณภาพชีวิตและอนาคตที่ดีของน้อง เพราะคนถ้าไม่ยินก็จะใช้ชีวิตยาก เข้ากับคนที่ปกติไม่ได้ เช่น หากไม่ได้ยินแล้วต้องข้ามถนน ไม่ได้ยินเสียงแตรก็อาจจะทำให้เกิดอุบัติเหตุ หรืออันตรายได้” ณิรินทร์รดา ระบุ </p>
<p>ท้ายที่สุด ลูกของ ณิรินทร์รดา ได้รับการส่งตัวมารักษาต่อที่โรงพยาบาลราชวิถีภายใต้สิทธิประโยชน์บัตรทอง แต่ก่อนหน้าที่จะผ่าตัดต้องมีการเตรียมตัวให้พร้อมสำหรับการผ่าตัดฝังประสาทหูเทียม ซึ่งกินเวลาไปร่วม 6 เดือน จนในที่สุดน้องเพลงก็สามารถผ่าตัดและสามารถเข้าโรงเรียนใช้ชีวิตร่วมกับเพื่อนคนอื่นๆ ที่ปกติได้ จนตอนนี้น้องเพลงมีอายุได้ 4 ปีแล้ว และมีพัฒนาการที่ดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง </p>
<p>“ตอนนี้เข้าโรงเรียนแล้ว สามารถใช้ชีวิตได้ปกติเหมือเพื่อนๆ การเข้าสังคมเหมือนเด็กปกติ คลายความกังวลขึ้นมาก เพราะน้องสามารถใช้ชีวิตประจำวันได้ เอาตัวรอดได้บอกความต้องการและเราสามารถรับรู้ได้ สบายใจขึ้น” ณิรินทร์รดา กล่าว </p>
</div></div></div><div class="field field-name-field-variety field-type-taxonomy-term-reference field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even"><a href="/category/%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%87%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%9E%E0%B8%B4%E0%B9%80%E0%B8%A8%E0%B8%A9" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">รายงานพิhttps://fb.me/prachatai : ทวิตเตอร์ https://twitter.com/prachatai : LINE ไอดี = @prachatai</div></div></div>
 

https://prachatai.com/journal/2023/11/106860
 

Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

บันทึกการเข้า

นักข่าวหัวเห็ด แห่งเวบสุขใจ
อัพเดตข่าวทันใจ ตลอด 24 ชั่วโมง

>> http://www.SookJai.com <<
คำค้น:
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน


หัวข้อที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อนี้
หัวข้อ เริ่มโดย ตอบ อ่าน กระทู้ล่าสุด
[ข่าวมาแรง] - เผย 'อนุทิน' ลงนามประกาศ สปสช.สนับสนุนงานสร้างเสริมสุขภาพป้องกันโรคแก่ประชา
สุขใจ ร้านน้ำชา
สุขใจ ข่าวสด 0 212 กระทู้ล่าสุด 06 สิงหาคม 2566 11:59:08
โดย สุขใจ ข่าวสด
[ข่าวมาแรง] - สปสช.เปิดเกณฑ์ตรวจคัดกรองยีนกลายพันธุ์ในกลุ่มผู้ป่วยมะเร็งเต้านมด้วยสิทธิบั
สุขใจ ร้านน้ำชา
สุขใจ ข่าวสด 0 217 กระทู้ล่าสุด 23 สิงหาคม 2566 18:47:05
โดย สุขใจ ข่าวสด
[ข่าวมาแรง] - สปสช. เพิ่มสิทธิแผ่นปิดกะโหลกศีรษะไทเทเนียมสำหรับผู้ป่วยผ่าตัดสมอง
สุขใจ ร้านน้ำชา
สุขใจ ข่าวสด 0 203 กระทู้ล่าสุด 07 กันยายน 2566 06:20:41
โดย สุขใจ ข่าวสด
[ข่าวมาแรง] - สปสช. จับมือไปรษณีย์ไทย จัดส่งน้ำยาล้างไตถึงบ้านในพื้นที่อุทกภัย
สุขใจ ร้านน้ำชา
สุขใจ ข่าวสด 0 145 กระทู้ล่าสุด 14 ตุลาคม 2566 01:00:56
โดย สุขใจ ข่าวสด
[ข่าวมาแรง] - สปสช. เดินหน้าพัฒนาระบบข้อมูลให้ทุกอย่างเป็นอัตโนมัติ
สุขใจ ร้านน้ำชา
สุขใจ ข่าวสด 0 181 กระทู้ล่าสุด 01 พฤศจิกายน 2566 17:46:54
โดย สุขใจ ข่าวสด
Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.192 วินาที กับ 33 คำสั่ง

Google visited last this page 15 ตุลาคม 2567 16:20:17