ศาลกาญจนบุรี สืบพยานคดี 14 ลูกจ้างชาวเมียนมาในไร่อ้อย ถูกนายจ้างทำร้ายร่างกายและบังคับใช้แรงงาน
<span class="submitted-by">Submitted on Tue, 2024-03-19 01:18</span><div class="field field-name-body field-type-text-with-summary field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even" property="content:encoded"><p>ศาลกาญจนบุรี นัดสืบพยานคดีลูกจ้างในไร่อ้อย ชาวเมียนมา 14 คน กรณีถูกนายจ้างทำร้ายร่างกายและบังคับใช้แรงงาน นายจ้างสารภาพทุกข้อหายกเว้นค้ามนุษย์</p>
<p>18 มี.ค.2567 มูลนิธิเพื่อสิทธิมนุษยชนและการพัฒนา (มสพ.) รายงานว่า วันที่ 12-14 มี.ค.ที่ผ่านมา ที่ศาลจังหวัดกาญจนบุรี มีการนัดสืบพยานคดีที่ลูกจ้างชาวเมียนมาจำนวน 14 คน ในไร่อ้อย จังหวัดกาญจนบุรี กรณีถูกนายจ้างทำร้ายร่างกายและบังคับใช้แรงงาน ฐานค้ามนุษย์และความผิดอื่นที่เกี่ยวเนื่อง เช่นความผิดตาม พรบ.อาวุธปืน และความผิดเกี่ยวกับละเมิดสิทธิแรงงาน รวม 16 ข้อหา (รายละเอียด
https://hrdfoundation.org/?p=3028&lang=en) คดีนี้เป็นคดีหมายเลขดำที่ คม.1/2567 ทนายความของ มสพ.ได้รับอนุญาตจากศาลให้เข้าเป็นโจทก์ร่วม ทั้งนี้ในฐานะทนายความของผู้เสียหายทั้ง 14</p>
<p>มูลนิธิเพื่อสิทธิมนุษยชนและการพัฒนาได้เข้าร่วมสังเกตุการณ์พิจารณาคดี พบว่าคดีนี้ ศาลพิจารณาได้ใช้ระบบไต่สวน ได้ดำเนินการพิจารณาตรวจพยานหลักฐานใหม่อีกครั้งและมีความเห็นว่าเพื่อให้กระบวนการไต่สวนคดีเป็นไปด้วยความรวดเร็วศาลจะเป็นผู้ไต่สวนพยานด้วยตนเอง จำเลยแถลงศาลขอกลับคำให้การโดยให้การรับสารภาพข้อหาอื่นๆ ปฎิเสธและประสงค์จะสู้คดีเพียงข้อหาในฐานความผิดค้ามนุษย์เท่านั้น ศาลพิเคราะห์แล้วเห็นสมควรให้ตัดพยานโจทก์จาก 23 ปาก เหลือ 5 ปาก และพยานจำเลยจาก 6 ปาก เหลือ 1</p>
<p>คอรีเยาะ มานุแช ทนายความของโจทก์ร่วมในคดีนี้ กล่าวว่า คดีค้ามนุษย์อย่างที่ทราบว่า พระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์พ.ศ. 2551 ศาลจะใช้ระบบการไต่สวน ผู้พิพากษาจะทำหน้าที่ซักถามเพื่อแสวงหาข้อเท็จจริง ในส่วนของอัยการ ทนายความโจทก์ และทนายความจำเลย จะไม่สามารถถามได้ถ้าศาลไม่ได้อนุญาต การถามจะเป็นในลักษณะของการแสวงหาข้อเท็จจริง ไม่ใช่การถามค้านหรือถามติงเหมือนการพิจารณาในคดีอาญาทั่วไป คดีนี้ ศาลเห็นว่าอัยการอ้างเอกสารการสอบสวนและพยานหลักฐานจำนวนมาก ประมาณ 170 ฉบับ มีภาพบันทึกจากกล้องวงจรปิด CCTV ประมาณ 30 ฉบับ เป็นการเพียงพอให้ศาลพิจารณาจากพยานหลักฐานดังกล่าวประกอบการไต่สวนคดี โดยศาลจะดำเนินการไต่สวนพยานเพิ่มเติมในประเด็นที่ศาลเห็นสมควรเท่านั้น ในส่วนของค่าเสียหายนั้นศาลจะพิจารณาจากรายการคณะกรรมการพิจารณาค่าเสียหายของผู้เสียหายในคดีค้ามนุษย์เป็นหลัก ซึ่งทนายความโจทก์ร่วมเห็นแย้งเนื่องจากมีความเสียหายที่ไม่ถูกระบุในรายงานฉบับดังกล่าว คือ กรณีความเสียหายที่เกิดจากการที่ผู้เสียหายถูกยึดเอกสารประจำตัวเป็นเหตุให้ใบอนุญาตทำงานหมดอายุรวม 5 คน และอีก 4 คน ที่นายจ้างทำบัตรประจำตัวประชาชนเมียนมาสูญหาย จึงประสงค์จะเรียกค่าเสียหายในส่วนนี้เพิ่มเติม ศาลจึงอนุญาตให้ทนายความโจทก์ร่วมยื่นคำร้องเพื่อเรียกร้องค่าเสียหายเพิ่มเติม</p>
<p>พนักงานอัยการโจทก์และทนายความโจทก์ร่วมหารือกันแล้วสรุปจะนำเสนอพยานบุคคลรวม 5 ปาก คือ ผู้แทนผู้เสียหาย 3 คน และพนักงานสอบสวนอีก 2 ปาก ระหว่างวันที่ 12 -14 มี.ค. 2567 ผู้พิพากษาได้ไต่สวนในส่วนผู้แทนผู้เสียหาย จำนวน 3 คน เพื่อให้เห็นองค์ประกอบเข้าข่ายความผิดฐานค้ามนุษย์ โดยเน้นให้เห็นในเรื่อง วิธีการและการกระทำ เช่น การเดินทางเข้าเมืองหรือการเดินทางไปที่ไร่อ้อย ของการกระทำที่ผู้เสียหายถูกปฏิบัติขณะทำงานที่ไร่อ้อย การยึดเอกสาร การข่มขู่ การใช้อาวุธ การทำร้ายร่างกาย การแสวงหาผลประโยชน์ เช่น สภาพการทำงาน การจ่ายค่าจ้าง วันหยุด การบังคับบัญชาและการควบคุมการทำงาน เป็นต้น และไต่สวนพยานที่เป็นพนักงานสอบสวน 2 ปาก ในส่วนของ การกระทำ สภาพภูมิศาสตร์ของไร่อ้อยที่เกิดเหตุ กระบวนการนำพาคนต่างด้าวลักลอบเข้าเมืองโดยผิดกฎหมายที่มีลักษณะเป็นกระบวนการเชื่อมโยงไปถึงความต้องการแรงงานของจำเลยที่ต้องการใช้ในไร่อ้อยของจำเลย ซึ่งจำเลยมีไร่อ้อยกว่า 200 ไร่</p>
<p>“กระบวนการนำพาแรงงานข้ามชาติในคดีนี้ เห็นได้ว่านายจ้างมีการติดต่อกับบุคคลอย่างน้อย 3 คน คือ นายจ้างจะแจ้งความประสงค์ว่าต้องการแรงงานให้นายหน้าคนที่ 1 นายหน้าคนที่ 1 จะติดต่อนายหน้าคนที่ 2 เพื่อให้จัดหาแรงงาน นายหน้าคนที่ 2 อาจจะจัดหาเองหรืออาจจะติดต่อนายหน้าคนที่ 3 ซึ่งมีเครือข่ายในประเทศเมียนมาให้จัดหามาให้ก็ได้ เพื่อให้จัดหาแรงงานมาให้ โดยนายจ้างจะมีค่าตอบแทนตามจำนวนแรงงานที่นายหน้านำมาส่งรายบุคคลหรือกลุ่ม เช่น นายหน้านำแรงงานนำแรงงานจำนวน 4 คน นายจ้างจ่ายค่านายหน้า 7,000บาท ต่อแรงงาน 1 คน หรือเหมากรณีที่มีความสนิทสนมกับนายหน้าที่มาส่ง แรงงานจำนวน 5 คน เป็นเงินจำนวน 10,000 บาท เป็นต้น” คอรีเยาะ กล่าว</p>
<p>ศาลนัดสืบพยานจำเลยในวันที่ 19 มี.ค. 2567 เวลา 13.00 น. ที่ โดยจำเลยอ้างตนเองเป็นพยานเพียง 1 ปากเท่านั้น ทนายความมีความคิดเห็นเห็นว่า ศาลได้ใช้อำนาจเต็มที่ในการไต่สวนทั้ง 3 วัน แต่กระบวนการไต่สวนคดีค้ามนุษย์ในคดีนี้สามารถนำมาถอดบทเรียนของ มสพ.ในอนาคต ซึ่งทนายความโจทก์ร่วม มีความเห็นต่อการกระบวนการพิจารณา 3 ประเด็น</p>
<ol>
<li>รายงานการประชุมพิจารณากำหนดค่าสินไหมทดแทนให้แก่ผู้เสียหายจากคดีค้ามนุษย์ คณะกรรมการ ประกอบด้วย ตำรวจ อัยการ กรมการจัดหางาน สถานคุ้มครองสวัสดิภาพผู้เสีหายจากการค้ามนุษย์ เจ้าหน้าที่ มสพ. และทนายความผู้รับมอบอำนาจจากผู้เสียหาย โดยผู้เสียหายไม่มีส่วนร่วมและไม่สามารถอุทธรณ์รายงานได้ สัดส่วนของคณะกรรมการส่วนใหญ่เป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐ ผู้แทนของผู้เสียหายแม้จะเห็นแย้งกับคณะกรรมการคำโต้แย้งแต่ด้วยสัดส่วนที่ไม่สมดุลกันนี้ทำให้ประเด็นโต้แย้งถูกปัดตกไป เมื่อศาลไม่อนุญาตให้ไต่สวนเพิ่มเติมในส่วนของค่าเสียหายทำให้ผู้เสียหายไม่สามารถชี้แจ้งเพื่อพิสูจน์ความเสียหายที่แท้จริงได้ แม้ศาลจะอนุญาตให้ยื่นคำร้องเพิ่มเติมแต่ก็ไม่สามารถโต้แย้งผลการพิจารณาตามรายงานฉบับดังกล่าวได้ เพิ่มเติมได้เฉพาะส่วนอื่นๆที่ไม่ปรากฎในรายงานเท่านั้น </li>
<li>ล่ามแปลภาษาเมียนมา ศาลจัดหาล่ามแปลภาษาเมียนมาให้เป็นล่ามในการเบิกความพยานปากผู้เสียหายทั้ง 3 ปาก เป็นล่ามที่ขึ้นทะเบียนกับศาลยุติธรรม ระหว่างการไต่สวน เกิดมีปัญหาเรื่องการแปลของล่ามหลายครั้ง และล่ามของ มสพ.เข้าร่วมรับฟังการพิจารณาคดีด้วยและทนายความโจทก์ร่วมได้ขออนุญาตศาลว่าหากมีการแปลคลาดเคลื่อนจะขออนุญาตโต้แย้งและศาลอนุญาต การที่มีล่ามเพื่อตรวจสอบความถูกต้องของการแปลนับเป็นประโยชน์เป็นอย่างมาก เนื่องจากการแปลที่คลาดเคลื่อนหลายครั้งเป็นประเด็นที่สำคัญในการไต่สวนเพื่อให้ได้ข้อเท็จจริงที่ตรงตามเจตนารมณ์การเบิกความของพยาน ทั้งนี้ ฝ่ายจำเลยไม่ได้จัดหาล่ามเพื่อมาตรวจสอบการแปลแต่อย่างใด</li>
</ol>
<p> </p>
<ol start="3">
<li>การให้โอกาสจำเลยในการสู้คดีเต็มที่ ศาลอนุญาตให้ทนายความโจทก์ร่วมและทนายความจำเลยสอบถามพยานเพื่อให้ได้ข้อเท็จจริงเพิ่มเติม พยานเอกสารที่พนักงานอัยการอ้างส่งจำนวนมากจะไม่ได้ถูกนำมาอ้างอิงในการเบิกความของพยานซึ่งจะตกเป็นภาระของฝ่ายจำเลยที่จะต้องเตรียมความพร้อมอย่างหนักในการตรวจสอบพยานหลักฐานเพื่อไต่สวนให้ได้ข้อเท็จจริงเพิ่มเติมเพื่อพิสูจน์ความบริสุทธิ์ของจำเลย ไม่มีโอกาสจับผิดพยานโจทก์จากการเบิกความเหมือนการสืบพยานในคดีอาญาทั่วไป หากทนายความฝ่ายจำเลยคัดถ่ายสำเนาพยานหลักฐานเพื่อศึกษาคดีโดยละเอียดก็ย่อมสร้างความเสียหายต่อจำเลย ในคดีค้ามนุษย์รูปแบบการสืบพยานเป็นไปตามศาลเจ้าของสำนวน หลายคดีก็ไต่สวนเหมือนคดีอาญาทั่วไปแต่คดีนี้ไต่สวนเต็มรูปแบบโดยศาลเจ้าของสำนวนซึ่งคู่ความได้รับการอธิบายรูปแบบการไต่สวนในวันเดียวกันกับวันสืบพยาน ทำให้คู่ความแต่ละฝ่ายอาจจะไม่มีเวลาเตรียมความพร้อมเท่าที่ควร</li>
</ol>
</div></div></div><div class="field field-name-field-variety field-type-taxonomy-term-reference field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even"><a href="/category/%E0%B8%82%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%A7" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">ข่
https://fb.me/prachatai : ทวิตเตอร์
https://twitter.com/prachatai : LINE ไอดี = @prachatai</div></div></div>
https://prachatai.com/journal/2024/03/108487