[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
22 ธันวาคม 2567 00:18:49 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: คำฝอยพืชโบราณ ที่ยังใช้ในปัจจุบัน  (อ่าน 470 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
ใบบุญ
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 12
*

คะแนนความดี: +0/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

Thailand Thailand

กระทู้: 2497


ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Mozilla รองรับ Mozilla รองรับ


ดูรายละเอียด
« เมื่อ: 28 เมษายน 2567 14:06:50 »



คำฝอยพืชโบราณ ที่ยังใช้ในปัจจุบัน

ที่มา - คอลัมน์โครงการสมุนไพรเพื่อการพึ่งพาตนเอง    มติชนสุดสัปดาห์ ฉบับวันที่ 29 กันยายน - 5 ตุลาคม 2566
เผยแพร่ - วันเสาร์ที่ 30 กันยายน พ.ศ.2566


คําฝอยจัดเป็นพืชชนิดแรกๆ ที่มนุษย์นำมาปลูกในบริเวณที่อยู่อาศัย เนื่องจากผลการศึกษาพบหลักฐานการปลูกก่อนคริสต์ศักราช หรือราว 2,500 ปีก่อนในแถบลุ่มน้ำเมโสโปเตเมีย หรือดินแดนอิรักในปัจจุบัน และการค้นพบหลุมฝังศพของชาวอียิปต์ก็มีหลักฐานยืนยันว่า มนุษย์รู้จักคำฝอยมาเป็นเวลานานกว่า 4,000 ปี เพื่อเป็นไม้ประดับ ใช้กลีบดอกเป็นสีย้อมผ้าให้สีเหลือง และใช้เป็นอาหาร

คำฝอยมีถิ่นกำเนิดในทะเลทรายอาหรับ ระหว่างทะเลเมดิเตอร์เรเนียนและอ่าวเปอร์เซีย แพร่ออกไปสู่ทวีปแอฟริกา ยุโรป และเอเชียตะวันออก รวมทั้งประเทศไทย ในเอกสารโบราณของไทยในยุคสยามรุ่งเรืองปรากฏว่ามีการเรียกดอกคำฝอยว่า “ดอกคำ” และคำฝอยนับเป็นพืชไร่ชนิดหนึ่งที่มีบันทึกว่ามีการปลูกมาตั้งแต่สมัยอยุธยาจนถึงต้นรัตนโกสินทร์ตอนต้น เรียกชื่อสามัญในภาษาอังกฤษว่า Safflower, False Saffron, Saffron Thistle มีชื่อท้องถิ่น เช่น คำยอง คำหยอง คำหยุม คำยุ่ง (ลำปาง) คำ คำฝอย ดอกคำ (ภาคเหนือ ภาคอีสาน) หงฮัว (จีน) เป็นต้น

คำฝอย มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Carthamus tinctorius L. เป็นไม้ล้มลุก สูง 40-130 เซนติเมตร ลำต้นเป็นสัน แตกกิ่งก้านมาก ใบเดี่ยว เรียงสลับ รูปวงรี รูปใบหอกหรือรูปขอบขนาน ขอบใบหยักฟันเลื่อย ปลายเป็นหนามแหลม ออกดอกที่ปลายยอด มีดอกย่อยขนาดเล็กจำนวนมาก เมื่อบานใหม่ๆ กลีบดอกสีเหลืองแล้วจึงเปลี่ยนเป็นสีแดง ใบประดับแข็งเป็นหนามรองรับช่อดอก ผลเป็นผลแห้ง ไม่แตก

เมล็ดเป็นรูปสามเหลี่ยม สีขาว ขนาดเล็ก

คําฝอยเป็นพืชที่ทนทานต่อความแห้งแล้งมาก ปลูกได้ในที่แห้งแล้งแม้จะมีฝนตกน้อย เพียง 200-500 มิลลิเมตรต่อปี ประเทศที่ปลูกมากคือ เม็กซิโก สหรัฐอเมริกา และอินเดีย

สำหรับในประเทศไทยเอกสารบางแห่งกล่าวว่ายังไม่มีการปลูกเพื่อเป็นการค้า เนื่องจากทำรายได้ไม่สูงเท่าพืชอื่น แต่ในรายงานเอกสารบางแห่งกล่าวถึงการปลูกคำฝอยเพื่อการค้า แต่มีข้อสังเกตว่าคำฝอยที่นำเข้ามาปลูกในเมืองไทยในระยะแรกนั้นเป็นพันธุ์ที่ใบและลำต้นมีหนามมาก ทำให้มีความลำบากเวลาเก็บเกี่ยว การปลูกจึงลดลง ต่อมาในปี พ.ศ.2542 ทางมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ได้นำสายพันธุ์ที่ไม่มีหนามเข้ามาปลูก จึงมีการปลูกกันมากขึ้น ซึ่งมีแหล่งผลิตที่สำคัญอยู่ทางภาคเหนือ โดยเฉพาะปลูกกันมากใน อ.พร้าว อ.จอมทอง จ.เชียงใหม่ และ อ.พาน จ.เชียงราย

เมื่อราว 50- 60 ปีที่ผ่านมา ชาวยุโรปได้นำเอาเมล็ดคำฝอยมาสกัดน้ำมันที่มีคุณภาพสูง มีไขมันไม่อิ่มตัวสูงถึงร้อยละ 90 จึงมีการนำไปใช้ในอุตสาหกรรมน้ำมันผสมสี และน้ำยาเคลือบผิว ต่อมาวงการการแพทย์ค้นพบว่าน้ำมันดอกคำฝอยสามารถลดปริมาณการสะสมตัวของคอเลสเตอรอลในเส้นเลือดได้ จึงช่วยให้มีการบริโภคน้ำมันคำฝอยมากขึ้น ปัจจุบันยังมีการแปรรูปผลิตภัณฑ์ต่างๆ หลายชนิด เช่น เครื่องสำอางและยารักษาโรคอื่นๆ ด้วย 

ในทางการแพทย์พื้นบ้านพบว่าในหลายประเทศใช้คำฝอยแก้อาการปวดประจำเดือน ประจำเดือนมาไม่ปกติ ปวดมวนท้องและปวดท้องหลังคลอด รวมถึงแก้อาการบาดเจ็บและความเจ็บปวดของข้อต่อต่างๆ และนิยมใช้นำไปแต่งกลิ่นและเป็นสีย้อม

ในประเทศแถบตะวันออกกลางใช้เป็นยารักษาอาการไขข้ออักเสบ อัมพฤกษ์และอัมพาต โรคด่างขาวและจุดด่างดำ แผลในปาก ขับเสมหะ ถูกพิษต่างๆ มีอาการชาตามแขนและขา อาการซึมเศร้า

ในประเทศจีนใช้เป็นยารักษาสตรีที่ประจำเดือนคั่งค้างไม่เป็นปกติ อาการปวดบวม แก้ฟกช้ำดำเขียว โดยนำดอกคำฝอยมาต้มน้ำหรือแช่เหล้า หรือใช้วิธีตำพอก

ในตำรับยาไทย ใช้กลีบดอกซึ่งมีรสหวาน ใช้บำรุงโลหิตระดู แก้น้ำเหลืองเสีย แก้แสบร้อนตามผิวหนัง บำรุงโลหิต บำรุงหัวใจ บำรุงประสาท ขับระดู แก้ดีพิการ โรคผิวหนัง ฟอกโลหิต ลดไขมันในเส้นเลือด ป้องกันไขมันอุดตัน เกสรใช้บำรุงโลหิต ทำให้ประจำเดือนของสตรีเป็นปกติ

ดอกแก่ ใช้แต่งสีอาหารที่ต้องการให้เป็นสีเหลือง ชาจากดอกคำฝอย ช่วยเสริมสุขภาพ ช่วยลดไขมันในเส้นเลือด โดยใช้ดอกแห้ง 2 หยิบมือ (2.5 กรัม) ชงน้ำร้อนครึ่งแก้ว เป็นเครื่องดื่มได้

เมล็ด ใช้เป็นยาขับเสมหะ แก้โรคผิวหนัง ทาแก้บวม ขับประจำเดือน ตำพอกหัวเหน่าแก้ปวดมดลูกหลังจากการคลอดบุตร

น้ำมันจากเมล็ดใช้ทาแก้อัมพาต และขัดตามข้อต่างๆ ในเมล็ดคำฝอย มีน้ำมันมาก

การศึกษาทางด้านเภสัชวิทยาและงานวิจัยทางคลินิกแสดงให้เห็นว่าดอกคำฝอย มีสารสำคัญที่เป็นประโยชน์ที่เรียกว่า “ไฮดรอกซีแซฟฟลอร์ เยลโลว์ เอ” (hydroxysafflor yellow A) สามารถเยียวยาภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด การแข็งตัวของเลือด การเกิดลิ่มเลือด การอักเสบ และอื่นๆ อย่างไรก็ตาม มีรายงานบางส่วนเกี่ยวกับผลที่ไม่พึงประสงค์ต่อภาวะเจริญพันธุ์ของชายและหญิง

การใช้คำฝอยจึงควรใช้ให้พอเหมาะพอดี การกินต่อเนื่อง กินปริมาณมากเกินไป อาจจะส่งผลต่อโลหิตจางได้ ทำให้มีเลือดน้อยลง มีอาการอ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย มีอาการวิงเวียนศีรษะ ผดผื่นคันขึ้นตามตัวได้ หรือกลายเป็นคนขี้โรคโดยไม่รู้ตัว สตรีที่กินมากเกินไปอาจจะทำให้มีประจำเดือนมามากกว่าปกติ สตรีมีครรภ์ไม่ควรกินคำฝอยเนื่องจากมีฤทธิ์เป็นยาบำรุงเลือดและช่วยขับประจำเดือน จึงอาจทำให้แท้งบุตรได้ และควรระมัดระวังเมื่อใช้คำฝอยร่วมกับยาในกลุ่มต้านการแข็งตัวของเกร็ดเลือด (Anticoagulant) ด้วย

คำฝอยมีดอกสีแสดสวยงาม แม้เป็นพืชมาจากต่างถิ่น แต่ก็อยู่ในสังคมไทยมายาวนาน ในอดีตยังเคยนำกลีบดอกมาย้อมจีวรพระ ถ้าได้เรียนรู้พืชโบราณนี้ให้ดีจะมีประโยชน์มาก •

Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

บันทึกการเข้า
คำค้น:
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน

Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.266 วินาที กับ 31 คำสั่ง

Google visited last this page 16 พฤศจิกายน 2567 16:21:48