[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
24 พฤศจิกายน 2567 03:02:31 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: The Four Dignities : สัตว์วิเศษของนักรบชัมบาลา  (อ่าน 96 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
มดเอ๊ก
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +8/-1
ออฟไลน์ ออฟไลน์

Thailand Thailand

กระทู้: 5162


ระบบปฏิบัติการ:
Linux Linux
เวบเบราเซอร์:
Chrome 114.0.0.0 Chrome 114.0.0.0


ดูรายละเอียด
« เมื่อ: 08 กรกฎาคม 2567 21:09:49 »

The Four Dignities : สัตว์วิเศษของนักรบชัมบาลา

“In heaven the turquoise dragon thunders

The tiger‘s lightning flashes abroad

The lion‘s mane spread turquoise clouds

Garuda spans the threefold world…”

เพลงชาติชัมบาลา

– ประพันธ์โดย เชอเกียม ตรุงปะ รินโปเช




มีสำนักคิดมากมายที่พยายามจัดกลุ่มความหลากหลายของมนุษย์ออกเป็นรูปแบบต่างๆ และหนึ่งในรูปแบบที่ได้รับความนิยมอย่างมากคือการจัดกลุ่มตามบุคลิกภาพ ที่ผ่านมาเราอาจจะเคยได้ยินถึงโมเดลอย่าง MBTI, Enneagram, DISC ฯลฯ ไปจนถึงลัคนาราศี ดวงกำเนิด ฯลฯ ที่ต่างก็เป็นรูปแบบของการอธิบายลักษณะนิสัยของคนออกเป็นกลุ่มๆ

ในคำสอนชัมบาลา ที่ เชอเกียม ตรุงปะ รินโปเช พัฒนาขึ้น ก็มีรูปแบบการแบ่งกลุ่มที่นำมาใช้เพื่ออธิบายความแตกต่างของมนุษย์ด้วยเช่นกัน แต่การแบ่งกลุ่มในชัมบาลา ไม่ได้แบ่งจากลักษณะบุคลิกภาพ แต่แบ่งจากเอกลักษณ์ของพลังปัญญาญาณที่ได้รับการปลดปล่อยในพื้นที่ว่าง

ชัมบาลาอธิบายคุณลักษณะของปัญญาญาณออกเป็น 4 รูปแบบ (Wisdom Archetype) ซึ่งเป็นคุณสมบัติของนักรบผู้รู้แจ้ง (Enlightened Warrior) โดยคุณสมบัติทั้งสี่นี้ แท้จริงแล้วมีอยู่ในตัวเราทุกคน เพียงแต่ในบางคน บางสถานการณ์ หรือบางช่วงเวลา หนึ่งในสี่รูปแห่งปัญญาญาณนั้นจะโดดเด่นขึ้นมาจากอันอื่น

อีกสิ่งที่น่าสนใจของปัญญาญาณทั้ง 4 ในคำสอน Shambhala คือการใช้สัตว์วิเศษ 4 ชนิด (The Four Dignities) มาเป็นตัวแทนของคุณสมบัติประเภทต่างๆ

เสือ เป็นตัวแทนของ ปัญญาแห่งความอ่อนโยน (Meek)

สิงโตหิมะ เป็นตัวแทนของ ปัญญาแห่งความกระปรี้กระเปร่า (Perky)

พญาครุฑ เป็นตัวแทนของ ปัญญาแห่งความองอาจ (Outrageous)

มังกร เป็นตัวแทนของ ปัญญาแห่งความลึกเกินหยั่ง (Inscrutable)

สัตว์วิเศษทั้งสี่ มีความสำคัญต่อคำสอนชัมบาลาอย่างมาก ถึงขนาดที่ปรากฎเป็น “แถบสี” บน “ธงชาติ” ของอาณาจักรชัมบาลาเลยทีเดียว ทั้งรูปลักษณ์ของสัตว์ทั้งสี่ยังถูกนำไปใช้เป็นสัญลักษณ์บนเครื่องประดับต่างๆ ของชุมชนชัมบาลาอีกด้วย



ธงชาติชัมบาลา

ใน Shambhala Retreat ที่จัดขึ้นโดยวัชรสิทธา ณ อาศรมวงศ์สนิท สอนโดย อ.ณัฐฬส วังวิญญู และ อ.วิจักขณ์ พานิช ได้มีการจัดกิจกรรมที่ลองให้เรา Identify ตัวเองกับคุณสมบัติของปัญญาญาณประเภทต่างๆ ซึ่งแต่ละกลุ่มก็ได้สะท้อนถึงที่มาที่ไปของคุณสมบัติที่ตัวเองมี รวมถึงประโยชน์ที่เราแต่ละคนจะนำเอาความโดดเด่นทางปัญญาไปมอบแก่โลกใบนี้

สิ่งที่น่าสนใจคือเมื่อแต่ละกลุ่มออกมาบอกเล่าถึงจุดเด่นของปัญญาญาณประเภทต่างๆ รวมถึงประโยชน์ที่คุณสมบัติของปัญญานั้นสามารถมอบให้แก่โลก กลุ่มเสือสะท้อนว่าจุดเด่นของพวกเขาคือพร้อมที่จะโอบอุ้มและเยียวยาผู้อื่นด้วยความมั่นคงและหนักแน่น กลุ่มสิงโตหิมะช่วยสร้างสรรค์ความสนุกสนานและบรรยากาศที่ไม่ตึงเครียด กลุ่มครุฑคือความกล้าหาญใจการเผชิญหน้ากับสิ่งต่างๆ ทั้งยังมอบความเป็นระเบียบให้กับความยุ่งเหยิงวุ่นวาย ขณะที่มังกรคือความหยั่งรู้ของปัญญาญาณ พร้อมตอบโต้กับสถานการณ์อย่างแม่นยำและฉับพลัน รวมถึงมีวิสัยทัศน์ที่กว้างไกล

เมื่อจบกิจกรรม พวกเราก็ได้พบว่าทุกคุณลักษณะที่เกิดขึ้นจากปัญญาญาณล้วนมีความสำคัญต่อการอยู่ร่วมกันในสังคม แต่ละคุณสมบัติไม่ได้ขัดแย้งกัน แต่ส่งเสริมซึ่งกันและกันและช่วยสร้างสมดุลให้กับโลกใบนี้

นอกจากแง่มุมความหลากหลายของคุณสมบัติที่เกิดจากปัญญาญาณแล้ว คำสอนเรื่องสัตว์วิเศษทั้ง 4 หรือ The Four Dignities ยังสามารถอธิบายถึง “เส้นทาง” หรือ “พัฒนาการ” ของนักรบที่เติบโตจากคุณสมบัติหนึ่งสู่อีกคุณสมบัติหนึ่งอย่างเป็นธรรมชาติ เพื่อที่จะเปิดตัวเองสู่ความกว้างขวางในการปฏิสัมพันธ์กับโลกใบนี้ด้วยความตื่นแห่ง The Great Eastern Sun

โดยสัตว์แต่ละชนิดจะมีคุณสมบัติที่เกิดขึ้นจากการข้ามขอบของตัวตนที่นักรบจะต้องเรียนรู้และข้ามผ่าน ตั้งแต่ความเย่อหยิ่ง ความลังเลสงสัย ความหวั่นกลัว และความแปลกแยกจากตัวเอง

คุณสมบัติแห่งเสือ



ในการฝึกฝนคุณลักษณะของเสือ หรือ ความอ่อนโยน นักรบชัมบาลาจะต้องดำรงตนอยู่บนความถ่อมตน ความติดดิน และความอ่อนโยน เพื่อที่จะข้ามพ้นความเย่อหยิ่งของตัวตน

ความเป็นเสือในฐานะความอ่อนโยนนั้น มักจะถูกมองว่าเป็นสิ่งที่อยู่ตรงข้ามกับความแข็งแกร่ง แต่ในมุมมองของ Shambhala ความแข็งแกร่งอย่างเป็นธรรมชาตินั้นผุดพรายขึ้นมาจากความอ่อนโยน เพราะความอ่อนโยนมีสายสัมพันธ์ที่แน่นแฟ้นกับความเรียบง่าย ติดดิน และไม่แปลกแยกกับตัวตน ซึ่งคุณสมบัติเหล่านี้ไม่อาจเกิดขึ้นได้จากความเย่อหยิ่งหรือยโสโอหัง

เมื่อนักรบสามารถดำรงอยู่กับความเรียบง่ายแห่งตัวตน สิ่งที่จะเกิดขึ้นตามมาก็คือความมั่นใจอันไร้เงื่อนไข เช่นเดียวกับเสือที่เหยียบย่ำผืนป่าด้วยความเต็มเปี่ยมแห่งตัวตนที่จริงแท้ มันไม่หวั่นไหวต่อสิ่งต่างๆ ที่เกิดขึ้นในผืนป่า ทุกก้าวย่างของเสือคือความมั่นคงและผ่อนคลาย ขณะเดียวกันในทุกการเคลื่อนไหวของมัน ก็แฝงไว้ด้วย Awareness ต่อสรรพสิ่งทั้งภายนอกและภายใน

ด้วยความมั่นใจ ความอ่อนโยน และ Awareness อันผ่อนคลาย คุณสมบัติของเสือในตัวนักรบชัมบาลา จึงช่วยให้นักรบมองเห็นสิ่งต่างๆ อย่างชัดเจน แม่นยำ และทะลุปรุโปร่ง ซึ่งทำให้ผู้ฝึกตนบนหนทางแห่งนักรบมีฐานที่ดีในการแยกแยะ “ความตื่น” ออกจาก “ความหลับใหล”

คุณสมบัติแห่งสิงโตหิมะ



ในขั้นนี้เป็นการบ่มเพาะความแหลมคม ความมีชีวิตชีวา และ พลังงานที่กระปรี้ประเปร่า เพื่อที่จะข้ามพ้นกับดักของความลังเลสงสัย นักรบที่มีคุณสมบัติของสิงโตหิมะสามารถที่จะทำสิ่งต่างๆ ในชีวิตด้วยความมีเกียรติและความผ่อนคลาย

สิงโตหิมะคือสัตว์ที่ใช้ชีวิตอยู่บนที่สูง พวกมันใช้ชีวิตอย่างอิสระเสรี กระโจนไปตามสันเขา ผ่านดงดอกไม้ภายใต้อากาศที่สดชื่น ความรื่นรมย์ของทิวทัศน์จากที่สูงทำให้พวกมันกระปรี้กระเปร่าและเต็มไปด้วยชีวิตชีวา ซึ่งคุณลักษณะเหล่านี้เกิดขึ้นโดยธรรมชาติเมื่อนักรบมีพื้นฐานของความเป็นเสือในตัวเอง ความอ่อนโยนและมั่นใจของเสือทำให้คุณสมบัติของสิงโตหิมะผุดพรายขึ้นมาอย่างไร้เงื่อนไข ไม่ว่ามันจะดำรงอยู่ในสภาพแวดล้อมแบบใด

เชอเกียม ตรุงปะ กล่าวถึงคุณลักษณะของความกระปรี้ประเปร่าเอาไว้ว่า มันคือความสามารถที่จะยกระดับจิตใจของตัวเองให้รื่นรมย์ขึ้นมาได้ทุกเมื่อ ไม่ว่าขณะนั้นเราจะกำลังเผชิญกับสถานการณ์ที่ยากเข็ญเพียงใด นอกจากนี้ความกระปรี้ประเปร่า ยังเป็นคุณสมบัติที่ทำให้เราไม่หลงไปกับความลังเลสงสัย เนื่องจากมันสามารถแปรเปลี่ยนพื้นที่แห่งความคิดแง่ลบ การต่อสู้กับตัวเอง ความโกรธเกรี้ยว สู่ความผ่อนคลาย ความยินดีต่อชีวิตที่ตัวเองมี และความเป็นมิตรต่อสรรพสิ่งในโลกใบนี้

ในภาษาของชัมบาลา คุณสมบัติความรื่นรมย์ของสิงโตหิมะ เกิดขึ้นมาจากความไว้วางใจใน Basic Goodness ที่มีอยู่ในทุกสิ่ง และเมื่อเราสามารถสร้าง “วินัย” ในการสัมพันธ์กับ Basic Goodness ได้แล้ว เมื่อนั้นเส้นทางอันศักดิ์สิทธิ์ของนักรบก็จะเผยตัวออกมาให้เราก้าวเดินไปอย่างสง่าผ่าเผย

คุณสมบัติแห่งครุฑ



จากผืนดินของเสือ สู่ทิวเขาและยอดไม้ของสิงโตหิมะ สูงขึ้นไปอีกก็คือผืนฟ้าอันเป็นดินแดนของครุฑ ซึ่งมีพลังอำนาจแห่งการโบยบินอย่างอิสระเสรี

ในตำนาน ครุฑ คือราชาแห่งปักษาทั้งปวง มันมีปีกมหึมาที่พาตัวของมันทะยานไปในโลกทั้งสามได้ภายในพริบตา คุณสมบัติที่โดดเด่นของครุฑ จึงเป็นภาพสะท้อนของสภาวะจิตที่กว้างใหญ่ไพศาลมิมีประมาณ

ความองอาจและกว้างขวางของครุฑ คือคุณสมบัติที่ทะลวง “ดักแด้” หรือ ตัวตน ที่ห่อหุ้มเราไว้ให้มลายสิ้น มันคือความกล้าหาญที่จะดำรงตนอยู่บนเส้นทางอย่างไม่ครั้นคร้ามที่จะทะยานไปยังดินแดนที่ตัวตนของเราเคยหวาดหวั่น มันเป็นคุณสมบัติที่จะพาเราโบยบินข้ามผ่านความกลัวต่างๆ ของอัตตาสู่ความเปิดโล่งของท้องฟ้าที่มีความเป็นไปได้นับอนันต์

ในการทำงานกับตัวตนบนเส้นทางนักรบ บ่อยครั้งที่เราจะพาตัวเองไปเผชิญหน้ากับ “ขอบ” ของตัวตน พื้นที่ซึ่งเราไม่กล้าแม้แต่จะสบตา มันเป็นดินแดนที่ทำให้เราสั่นไหว รู้สึกไม่ปลอดภัย ซึ่งกระตุ้นความต้องการที่จะควบคุมขึ้นมาอย่างรุนแรง เพื่อทำให้เราหันหลังกลับไปยังกรงขังที่ดูเหมือนจะอบอุ่นของตัวตนเดิม

ความเป็นครุฑ จึงเป็นคุณสมบัติที่จะช่วยให้เรายืนหยัดต่อวินัยแห่งนักรบ ปลุกความกล้าหาญที่จะเผชิญหน้ากับขอบเหล่านั้นอย่างองอาจ เปิดรับความกลัวเข้ามาอย่างไม่หวาดหวั่น ปล่อยวางความพยายามในการควบคุม แล้วสยายปีกอันกว้างใหญ่ของตนออกมา เพื่อที่จะทะยานข้ามขอบเหล่านั้นสู่ดินแแดนใหม่ที่เราไม่เคยไปถึง


คุณสมบัติแห่งมังกร



คุณสมบัติสุดท้ายของนักรบคือ ความเป็นมังกร เราเริ่มต้นจากการทำงานกับความอ่อนโยนของเสือซึ่งเป็นพื้นฐานของความเป็นนักรบ ตามมาด้วยความกระปรี้ประเปร่าของสิงโตหิมะที่เสริมสร้างวินัยแห่งความเบิกบานและรื่นรมย์ต่อชีวิต จากนั้นก็คือความองอาจของครุฑที่ช่วยให้เราก้าวข้ามความหวั่นกลัว บ่มเพาะความกล้าหาญ ซึ่งพาเราโบยบินออกสู่ดินแดนแห่งความตื่นที่พ้นไปจากตัวตนเดิม

ตำนานของโลกตะวันออกเล่าถึงมังกรไว้ว่า พวกมันเป็นสัตว์ที่สัมพันธ์แน่นแฟ้นกับสภาวะอากาศและฤดูกาล ในยามหน้าหนาวมังกรจะหลับใหลอยู่ใต้ผืนดิน และเมื่อถึงฤดูใบไม้พลิมันจะเผยตัวออกมาพร้อมสายหมอกและหยดน้ำค้าง ยามหน้าร้อนมันจะร่อนไปบนแผ่นฟ้า แล้วหยอกล้อกับเมฆสีขาว และในบางคราที่พายุโหมกระหน่ำ มังกรจะคำรามออกมาเป็นเปลวเพลิงและสายฟ้า

คุณสมบัติของมังกรจึงเป็นความลื่นไหลที่สามารถแปรเปลี่ยนได้อย่างฉับพลัน โดยสอดคล้องไปกับฤดูกาลและสภาวะ ลม ฟ้า อากาศ มันจึงเป็นความยืดหยุ่นที่ไม่อาจคาดเดาได้ แต่ความลึกลับเกินหยั่งของมังกรจึงไม่ได้หมายถึงการมีเล่ห์เหลี่ยมหรือความอ้อมค้อม แต่มันหมายถึงการให้กำเนิดความองอาจที่ปราศจากความกลัว

ความลึกเกินหยั่งถึงของมังกร คือการแสดงออกถึงความมั่นใจในตัวเอง มันเป็นคุณสมบัติที่เกิดขึ้นเมื่อนักรบชัมบาลาผสานตัวเองเข้ากับประสบการณ์ ณ ขณะนั้นอย่างเต็มที่ มันจึงไม่มีความลังเลและไร้ซึ่งความหวาดกลัว นักรบชัมบาลาที่มีคุณสมบัติของมังกร ไม่จำเป็นต้องกีดกันประสบการณ์ใดๆ ก็ตามออกไปจากตัวเอง เพราะนักรบผู้นั้นเปี่ยมด้วยความมั่นใจที่จะดำรงอยู่กับทุกประสบการณ์แม้สถานการณ์นั้นจะเต็มไปด้วยความไม่แน่นอนก็ตาม

ความเป็นมังกรของนักรบยังทำให้ไม่มีความจำเป็นใดๆ ในการเร่งรีบเพื่อหนีออกจากประสบการณ์ที่เกิดขึ้น นักรบชัมบาลาสามารถอดทนรอการคลี่คลายของสถานการณ์ด้วยตัวของมันเอง โดยไม่จำเป็นต้องคิดค้นหาวิธีในการควบคุมสิ่งใดเลย ด้วยเหตุนี้ นักรบชัมบาลาจึงสามารถทำงานกับสถานการณ์อย่างตรงไปตรงมา พร้อมหัวใจแห่งความกรุณาอันไร้เงื่อนไขที่ไม่หวั่นไหวต่อความกลัวใดๆ



จะเห็นว่าสัตว์วิเศษทั้ง 4 แสดงถึงคุณลักษณะของปัญญาญาณที่แตกต่างกัน แต่ส่งเสริมกันและกันอย่างสอดคล้องกลมเกลียว ขณะเดียวกันปัญญาญาณทั้ง 4 ก็ยังสามารถมองจากมุมเชิงพัฒนาการของการฝึกตนได้ด้วย

ความอ่อนโยนของเสือ คือพื้นแห่งเส้นทาง ความกระปรี้กระเปร่าของสิงโตหิมะนำพาวินัยและพลังงานในการก้าวย่างบนเส้นทางนั้น ครุฑคือความกล้าหาญที่จะกระโจนสู่ดินแดนอื่นนอกขอบของตัวตน และมังกรเป็นความมั่นใจโดยธรรมชาติ ที่ทำให้นักรบพร้อมสัมพันธ์กับทุกสิ่งด้วยธรรมชาติอันมิอาจหยั่งถึงภายในตน เพื่อยังประโยชน์ให้แก่ผู้คนและสถานการณ์อย่างกว้างขวางล้ำลึก

การเรียนรู้คำสอนชัมบาลา รวมทั้ง The Four Dignities – หรือพลังวิเศษทั้ง 4 สะท้อนให้เราเห็นว่าเราสามารถเป็นนักรบที่กล้าแกร่งและอาจหาญได้โดยไม่จำเป็นต้องเพิ่มพูน “ตัวตน” ของเราให้หนาหรือซับซ้อนยิ่งขึ้น กลับกัน ความแข็งแกร่งอันแท้จริงในแนวทางของชัมบาลา เริ่มต้นจากความอ่อนโยนภายใน หัวใจที่อ่อนนุ่มซื่อตรงกับตัวเอง นักรบไม่กลัวการดำรงอยู่ใน space พร้อมเผชิญหน้ากับทุกสถานการณ์อย่างเปิดกว้าง ผ่อนคลาย และฉับไวที่จะตอบสนองในสิ่งที่พึงกระทำอย่างมั่นใจและเปี่ยมทักษะ

จาก https://www.vajrasiddha.com/article-fourdignities/

http://tairomdham.net/index.php/topic,16354.0.html

Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

บันทึกการเข้า

ทิ นัง มิไฮ นัง มิจะนัง ทิกุนัง แปลว่า
ที่นั่ง มีให้นั่ง มึงจะนั่ง ที่กูนั่ง ทิ้งไว้เป็น
ปริศนาธรรม นะตะเอง
คำค้น:
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน

Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.438 วินาที กับ 32 คำสั่ง

Google visited last this page 26 กันยายน 2567 22:45:21