[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
22 ธันวาคม 2567 14:29:53 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: การมีนิพพานในชีวิตประจำวันตอน 2  (อ่าน 3871 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
sometime
บุคคลทั่วไป
« เมื่อ: 06 มิถุนายน 2553 08:53:40 »


<table class="maeva" cellpadding="0" cellspacing="0" border="0" style="width: 800px" id="sae1"> <tr><td style="width: 800px; height: 576px" colspan="2" id="saeva1"><script type="text/javascript"><!-- // --><![CDATA[ var oldLoad = window.onload; window.onload = function() { if (typeof(oldLoad) == "function") oldLoad(); if (typeof(aevacopy) == "function") aevacopy(); } // ]]></script><embed type="application/x-mplayer2" src="http://www.fungdham.com/download/song/allhits/22.wma" width="800px" height="576px" wmode="transparent" quality="high" allowFullScreen="true" allowScriptAccess="never" ShowControls="True" autostart="false" autoplay="false" /></td></tr> <tr><td class="aeva_t"><a href="http://www.fungdham.com/download/song/allhits/22.wma" target="_blank" class="aeva_link bbc_link new_win">http://www.fungdham.com/download/song/allhits/22.wma</a></td><td class="aeva_q" id="aqc1"></td></tr></table>



แม้กิเลสก็เถอะเวลาที่กิเลสไม่เกิด มันก็เป็นนิพพานเวลาที่กิเลสไม่เกิดขึ้นเผาลนจิตใจ เรียกว่าอยู่กับนิพพานชั่วคราวนิพพานน้อย ๆ นิพพานชั่วขณะนิพพานชั่วสมัยแล้วคุณไม่เห็นบ้างหรือกิเลสมันเกิดอยู่ทุกวินาทีทุกชั่วโมงทั้งวันทั้งคืนมันไม่ได้หรอกถ้าเป็นอย่างนั้น มันก็ตายแล้ว
บ้าแล้วเป็นโรคประสาท บ้าตายหมดแล้วถ้ากิเลสมันเกิดอยู่ไม่ขาดระยะเวลาที่ไม่เกิดกิเลสมันดูจะมากกว่าเสียอีกเกิดกิเลสเร่าร้อนมันก็มีแต่เวลาที่
ไม่เกิดมันก็มี ถ้ามันเกิดตลอดไปชีวิตนี้ก็ตาย
ชีวิตนี้ไม่ตายเพราะกิเลสมันดับไปบ้างเป็นระยะ ๆ ก็คือว่ามันรอดชีวิตด้วยอยู่ สิ่งที่เรียกว่านิพพานน้อย ๆ ไม่ใช่สมบูรณ์ดูให้ดีจะได้ไม่เป็นคนเนร
คุณต่อสิ่งนี้ต่อสิ่งที่ช่วยให้มีชีวิตรอดอยู่ได้ คือการดับไปแห่งกิเลสแม้เป็นระยะ ๆ เป็นความดับเย็นแห่งกิเลสมันช่วยให้เรา มีความเป็นปกติอย่างนี้
มิฉะนั้นจะนอนไม่หลับเลยกิเลสมันรบกวนอยู่เสมอหรือว่ามันจะเป็นโรคประสาทมันจะเป็นบ้ามันจะฆ่าตัวตายหรือตายเองโดยโรคภัยไข้เจ็บถ้า
กิเลสเบียดเบียนอยู่ทุกวินาที ระยะที่กิเลสไม่เบียดเบียนนั่นแหละคือนิพพานน้อย ๆ ตามธรรมชาติที่ธรรมชาติมันจัดสรรให้ก็ควรจะขอบใจก็ควร
จะรู้จักบุญคุณของสิ่งเหล่านี้แล้วก็จะรักษาให้มันมีมากขึ้นที่มันมีระยะสั้นไปเราก็ให้มันยาวออกที่มันน้อยอยู่ก็ทำให้มันมากขึ้น
มันมีความเย็นอย่างนี้มากขึ้น ๆ
ขอให้สนใจดูให้ดีจะเป็นประโยชน์แก่การบรรลุนิพพานที่แท้จริงที่สมบูรณ์นิพพานตัวอย่างน้อย ๆ นี่จับตัวให้ได้แล้วก็เลี้ยงดูให้มันใหญ่โตให้มันยาว
ให้มันใหญ่ให้มันมากขึ้นในวันหนึ่งคืนหนึ่งให้มันมีเวลาจิต สงบเย็นแห่งจิตใจให้มันมากขึ้น ๆ โดยวิธีที่ฉลาดที่ถูกต้องเช่นมาบวช ๓ เดือนก็ได้ศึก
ษาเรื่องนี้ถ้าไม่เหลวไหลคงจะเข้าใจพอที่จะรู้ว่าจะทำอย่างไรกิเลสมันเกิดยากหรือไม่เกิดควบคุมไว้ได้ตามสติกำลังตามที่จะทำได้ กิเลสมันก็จะเกิด
ขึ้นน้อยลงระยะว่างจากกิเลสมันจะมากขึ้นนี่คือเราขยายนิพพานที่น้อย ๆ ให้มันมากขึ้นที่มันระยะสั้นให้มันระยะยาวขึ้นก็เรียกว่ามีชีวิตอยู่ด้วยนิพพาน
คือความเย็น
ถ้าปฏิบัติถูกต้องในทางธรรมะตามที่พระพุทธเจ้าสอนไว้เช่นเรื่องอริยสัจ เป็นต้นก็จะมีความเย็นมากขึ้น มีนิพพานหล่อเลี้ยงชีวิตมากขึ้นยาวนานขึ้น
สูงขึ้นดีขึ้นขอให้สนใจ ส่งเสริมสัญชาตญาณที่มันอยากจะเย็นอยากจะดับอยากจะเย็น ให้มันได้มี โอกาสมีหน้าที่ทำมากขึ้น ๆ มันก็มีความเย็นมากขึ้น
เราศึกษาเรื่องดับทุกข์กันอย่างไรก็ปฏิบัติตามนั้นให้มันมากขึ้นโดยสรุปแล้วก็คือว่า สังขิตเตนะ ปัญจุปาทานักขันธา ทุกขา ก็ว่าอยู่ทุกทำวัตรเช้าแต่
มันก็ว่าเป็นนกแก้วนกขุนทองไม่รู้ว่าอะไรมันก็ว่าแต่ปากมันก็บอกชัดอยู่แล้วว่าโดยสรุปแล้ว เบญจขันธ์ที่มีความยึดมั่นถือมั่น นั่นแหละเป็น
ทุกข์ สัง ขิตเตนะ แปลว่าโดยสรุป ปัญจุปาทานักขันธาขันธ์ทั้ง ๕ ที่มีอุปาทานสิงอยู่ทุกขาเป็นทุกข์ ก็อย่าให้มีความยึดมั่นถือมั่นในขันธ์ ๕
จะไม่เป็นทุกข์
ทีนี้มันโง่ขนาดที่ว่าขันธ์ ๕ คืออะไรก็ไม่รู้จักอุปาทานคืออะไรมันก็ไม่รู้จักบวชแล้ว ๓ เดือนนี่รู้จัก มั้ย ขันธ์ ๕ ที่แท้จริงคืออะไรรู้จักมั้ยอุปาทานคืออะไรถ้าไม่รู้จักก็ไม่ได้หัวใจพุทธศาสนาออกไปในการบวชเข้ามาทั้งทีถ้ารู้จักก็ดีรู้จักขันธ์ ๕ ก็ดี มันจะรู้จักเมื่อยึดมั่นถือมั่นเป็นอย่างไรมันเป็นทุกข์อย่างไรจะได้รู้ควบคุมไม่ให้เกิดความยึดมั่นถือมั่น
ขันธ์ ๕ มัน ก็คือ ๒ เรื่อง คือร่างกาย กับจิตใจ รูปขันธ์คือร่างกายระบบร่างกาย รวมทั้งระบบประสาท ซึ่งเป็นที่ตั้งแห่งความรู้สึกด้วยระบบประสาทนี่มันยังไม่ใช่จิตใจ มันเป็นของเนื่องอยู่กับรูป รูปขันธ์ หรือร่างกาย
เรื่องจิตใจมีอยู่ ๔ อาการ เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ทำหน้าที่รู้สึกอารมณ์ที่มากระทบ ก็เรียกว่าเวทนา สุขบ้าง ทุกข์บ้าง อทุกขมสุข บ้างเมื่อทำความรู้สึกสำคัญมั่นหมายจำได้มั่นหมายได้ ก็เรียกว่าเป็นสัญญาคิดนึกอะไรตาม ความมั่นหมายนั้นก็เรียกว่าสังขาร ที่ทำให้รู้แจ้งทาง ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ นี่ก็เรียกว่าวิญญาณ ๔ อย่างหลังนี่ เป็นเรื่องจิตใจ ๑ อย่างข้างต้นคือรูปนั่นเป็นกายนี่ขันธ์ ๕
กายเป็นเครื่องทำให้จิตใจทำหน้าที่อยู่ได้ถ้าไม่มีกายจิตใจมันทำหน้าที่อะไรไม่ได้ ต้องมีกายรวมทั้งระบบประสาทด้วยตาจึงสามารถเห็นรูป หูจึงสามารถได้ ยินเสียงจมูกจึงสามารถรู้สึกกลิ่น ลิ้นจึงสามารถรู้สึกรส ผิวกายจึงสามารถ รู้สึกต่อโผฏฐัพพะที่มากระทบกายจิตจึงมารู้สึกต่ออารมณ์ที่มากระทบจิต

Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 06 มิถุนายน 2553 12:19:30 โดย บางครั้ง » บันทึกการเข้า
sometime
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #1 เมื่อ: 06 มิถุนายน 2553 09:00:50 »




ทั้ง ๔ อย่างนั้นมันทำหน้าที่ของมันได้โดยไม่ต้องเป็นตัวอัตตาไม่ต้องเป็นตัวเจตภูติ ไม่ต้องเป็นตัววิญญาณชนิดที่ว่าล่องลอย
ถ้ามันยึดมั่นเป็นตัวกูของกูในอะไรก็ตามมันก็เรียกว่ายึดมั่นแล้วมันก็เป็นทุกข์คือ หนัก ถ้ายึดมั่นร่างกาย รูปขันธ์ล้วน ๆ ว่าเป็นตัวกู มันก็หนัก
ในการที่จะ ต้องเป็นห่วงวิตกกังวลระแวงหรือแบกของหนักมันก็เป็นทุกข์
ถ้ายึดมั่นในเวทนาว่าเวทนาเป็นตัวกู หรือเป็นของกูก็ได้ มันก็เป็นทุกข์ เพราะ เป็นของหนัก หรือว่ายึดมั่นในสัญญา ในสังขาร ในวิญญาณก็ดีจะเป็นของหนักและเป็นทุกข์ขึ้นมาถ้าคุณเคยสวดบท ภารา หะเว ปัญจักขันธาขันธ์ทั้ง ๕ เป็นของหนักเน้อถ้าคุณรู้ความหมายไม่สวดเฉย ๆ แต่ปากจะรู้ว่า
เป็นของหนักอย่างนี้ยึดมั่นรูปเป็นตัวกูก็หนักอย่างมีร่างกายเป็นของกู มันจะกลัวตายบ้างกลัวแก่ตายบ้างกลัวอะไรบ้างหรือมันหวงแหนบ้างอะไรก็ตามยึดเวทนามันก็สุข ทุกข์ เป็นตัวกู ของกู มันก็เกิดปัญหายุ่งยากขึ้นมาหนักใจเพราะสุขหนักใจเพราะทุกข์ กังวลวิตกสงสัยลังเลก็ (อทุกขมสุ)
ทีนี้สัญญาจำได้ว่าเป็นอะไรแล้วหมายมั่นว่าเป็นอะไรอีกทีหนึ่งหมายมั่นในคุณค่าของมันกระทั่งหมายมั่นเป็นหญิงเป็นชายมันเบาอยู่หรือนั่นมันหนักอึ้ง ที่สุดสังขารคิดนึก จะทำอย่างนั้นอย่างนี้ เป็นกิเลสตัณหา ทั้งนั้น ก็หนัก เป็นร้อนเป็นไฟ
วิญญาณ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ มัน ก็ยึดถือเป็นตัวกูของกู มันก็เกิดปัญหาหนักขึ้นมา
แต่ว่าความโง่หรืออวิชชา มันทำให้ยึดมั่นถือมั่นอย่างนั้น คุณเอาตัวเองเป็น เครื่องวัดก็ได้ อย่างมีดบาดนิ้ว คุณรู้สึกยังไง โดยเฉพาะเด็กๆ ด้วยก็ยิ่ง
ดีใหญ่มันจำว่ามีดบาดกูทั้งนั้นไม่ใช่มีดบาดนิ้ว ที่จริงมีดมันบาด นิ้ว แต่อวิชชาของเรา ความยึดมั่นถือมั่น อุปาทาน มันจะทำให้คิดว่ามีดบาดกูแม้บาด
ที่นิ้วก็ว่าบาดกูมันไม่ได้มีความรู้อย่างนักวิทยาศาสตร์ว่า เหล็กของแข็งมันแหวกไปในเนื้อ เนื้อขาด เลือดออก ถ้าเห็นอย่างนั้นก็ดีมันไม่ใช่มีดบาดนิ้ว หรือไม่ใช่มีดบาดกู มันของแข็งอันหนึ่งผ่านไปใน เนื้อ อย่างนี้ก็ไม่มีใครนึกหรอก มีดบาดกูทั้งนั้น
ก่อนนี้ มีเณรที่นี่คนหนึ่ง เดี๋ยวนี้ตายแล้ว บวชพระแล้ว หนามเกี่ยวหนังขาดมันไปทำความสะอาดตรงนั้นมีหนามต้องถากต้องรื้อหนามมันเกี่ยวหนังพอหนังขาดเลือดไม่ได้ออกมันหน้าเขียวจะเป็นลมให้ได้ความมันยึดถือมากมันกลายเป็นกูจะตายขึ้นมาหนามขีดพอหนังเป็นแผลกูจะตายเป็นลมนั่นแหละความยึดมั่นถือมั่นมันทำให้เกิดความรู้สึกอย่างนั้นและทำให้เป็นทุกข์อย่างนั้น
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 06 มิถุนายน 2553 12:28:41 โดย บางครั้ง » บันทึกการเข้า
sometime
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #2 เมื่อ: 06 มิถุนายน 2553 09:04:08 »




ศึกษาขันธ์ ๕ ไว้เสมอแม้จะสึกออกไปแล้ว ก็อย่าเห็นเป็นเรื่อง(คร่ำครึ) รู้จักขันธ์ ๕ และไม่ยึดขันธ์ ๕ ขันธ์ใดขันธ์หนึ่งเป็นตัวตน
แล้วจะไม่มีความทุกข์เลยก็ได้ความรู้สมกับที่เข้ามาบวชครั้งหนึ่ง ได้หัวใจพระพุทธศาสนาออกไป
ภารา หะ เว ปัญจักขันธาใครสวดได้บทนี้ยกมือซิ ดูหมิ่นดูถูกว่ามันเป็นของไม่มีค่าทั้งที่มันเป็นหัวใจพุทธศาสนา ภารา หะเว ปัญจักขันธาขันธ์ทั้ง ๕ เป็นภาระหนักเน้อ ภาระหาโร จะ ปุคคะโล บุคคลนั่นแหละเป็นผู้แบกของหนักพาไปบุคคลในที่นี้คือความโง่ว่าเป็นตัวกู ว่าเป็นบุรุษ ว่าเป็น
บุคคลเป็นตัวตนและเป็นตัวกู ถ้ามีความรู้สึกอย่างนี้ก็มีบุคคล และบุคคลนั่นแหละแบกของหนักพาไป คือขันธ์ ๕ นั่นแบกพาไป
ภาราทานัง ทุกขัง โลเก แบก ถือของหนักก็เป็นความทุกข์เด็ก ๆ มันรู้ขันธ์ ๕ นี่เป็นของหนักที่สุดแบกไปก็ยิ่งเป็นทุกข์มาก ภาระหาโร ภาราทานัง
ทุกขัง โลเก ภาระนิกเขปะนัง สุ ขัง โยนทิ้งของหนักออกไปเสียก็ไม่ทุกข์ แบกถือของหนักเป็นทุกข์ โยนทิ้งของ หนักออกไปเสีย ก็ไม่ทุกข์
นิกขิปิตวา คะรุง ภารัง อัญญัง ภา รัง อะนาทิยะ โยนของหนักนี้ทิ้งไปแล้ว อย่าเอาของหนักอันอื่นเข้ามาแบกถือไว้อีก สะมูลัง ตัณหัง อัพพุยหะ
นิจฉาโต ปะรินิพพุโต ถอนความอยากที่เป็น เหตุให้แบกของหนักออกไปเสียได้ ก็ดับเย็นสนิท นิจฉาโต แปลว่าไม่มีร้อน ปะริ นิพพุโต แปลว่าดับเย็น นิจฉาโต ปะรินิพพุโต ดับเย็นไม่มีของร้อนไม่มีถ่านไฟไม่มีไฟ ขี้เถ้าถ่านไฟที่ร้อนนี่บท ภารา หะเว ปัญจักขันธาวิเศษในพุทธศาสนา
แล้วคุณก็จะสวดตาม ๆ ไปโดยไม่ต้องรู้ความหมายและจำก็ยังไม่ได้ผมขอร้องให้จำเสียทีเถอะเป็นคาถาประจำตัวป้องกันไม่ให้ยึดมั่นถือมั่นของ
หนักเอามาเป็นความทุกข์ ดีกว่าแขวนพระเครื่องสักกิโล คุณจะเอาพระเครื่องมาแขวนไว้ที่คอสักกิโลหนึ่งก็ไม่ดีเท่าจำคาถานี้ได้ และคอยปฏิบัติ
อยู่เสมนี่ก็เรียกว่าทำให้เย็นทำไม่ให้ร้อนดับร้อนเสียได้ ด้วยการไม่ยึดมั่นถือมั่นเบญจขันธ์ทีนี้ก็คงไม่รู้จะทำอย่างไร มันก็เรื่องปฏิจจสมุปบาท
บางทีก็เอามาสวดกันอยู่ที่นี่สวดกันอยู่บ่อย ๆ เรื่องปฏิจจสมุปบาท ที่วัดชลฯไม่ทราบที่เอามาสวดเรื่อง อวิชชา สังขาร วิญญานัง คือพระพุทธเจ้า
ตรัสไว้ว่าตากับรูปถึงกันเข้าก็เกิดจักขุวิญญาณการเห็นทางตา หู ข้างในกับเสียงข้างนอก ถึงกันเข้าก็เกิดได้ยินทางหู เกิดโสตวิญญาณ จมูกกับ
กลิ่นถึงกันเข้า รู้สึกกลิ่น เรียกว่าฆานวิญญาณลิ้นถึงกันเข้ากับรสเกิดความรู้สึกทางลิ้นเรียกว่าชิวหาวิญญาณผิวกายถูกเข้ากับสิ่งที่มากระทบก็
เกิดความรู้สึกทางกายเรียกว่ากายวิญญาณ ใจรู้สึกอารมณ์ที่มากระทบ ก็เรียก ความรู้สึกทางใจ คือมโนวิญญาณ
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 06 มิถุนายน 2553 12:33:06 โดย บางครั้ง » บันทึกการเข้า
sometime
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #3 เมื่อ: 06 มิถุนายน 2553 09:06:04 »




นี่มันมีอยู่ทั้งวันมีอยู่ทุกวันมีอยู่ตลอดเวลา เมื่อ ๓ อย่างนี้มากระทบกันเข้าแล้วเรียกว่า ผัสสะ หรือ ๓ อย่างกำลังถึงกันอยู่ ตา กับ
รูป กับจักขุวิญญาณ ๓ อย่างนี้ถึงกันอยู่ตัวจักขุวิญญาณมันรู้สึกต่อสิ่งที่เรียกว่ารูปโดยอาศัยตาเป็นเครื่องมือ เรียกว่า ๓ อย่างทำงานกัน ถึงกันเข้า
๓ อย่างนี้เรียก ว่า ผัสสะ คู่หู จมูก ลิ้น กาย ก็เหมือนกัน ๓ อย่างนั้นถึงกันเข้าเรียกว่า ผัสสะ และก็มีอยู่ทั้งวัน
ถ้าในขณะแห่งผัสสะนั้นมันโง่มันไม่มีสติหรือปัญญามาในขณะนั้นเป็นผัสสะโง่ มันก็เกิดเวทนาโง่ ถ้าเป็นสุขก็ทำให้รักอยากจะได้ถ้าเป็นทุกข์ก็อยาก
จะฆ่าอยากจะทำลายถ้าไม่ทุกข์ไม่สุข มันก็สงสัยโง่ วนเวียน ถ้าเป็นเวทนาสุขก็อยากจะเอาเวทนาทุกข์ก็อยากจะผลักออกไปเวทนาอทุกขมสุขก็จะ
วนอยู่รอบ ๆ ไม่รู้จะทำอย่างไรดีถ้ามีเวทนาอย่างนี้แล้วมันก็เกิดตัณหาคือความอยากไปตามความหมายแห่งเวทนา เวทนาน่ารัก น่าพอใจ ตัณหา
ก็จะเอา เวทนาไม่น่ารักไม่น่าพอใจ ตัณหาก็อยากฆ่าอยากทำลายเวทนาที่ไม่ทั้ง ๒ อย่าง ตัณหาก็ไม่รู้จะทำอย่างไร ก็โง่ไปตามเดิม
เกิดตัณหา ความอยากอย่างยิ่งแล้ว ก็เกิดความรู้สึกว่ากูผู้อยากคืออุปาทาน ว่า ตัวกูว่าของกู ก็เกิดภพ คือความรู้สึกเป็นตัวกูโดยสมบูรณ์ออกมา
เกิดชาติ เป็นตัวกูสมบูรณ์ออกมาเป็นชาติเป็นตัวกูเต้นเหยง ๆ อยู่มันก็เอา ชรา มรณะ โศกะ ปริเทวะ มาเป็นทุกข์ เพราะมันโง่เมื่อผัสสะ
ถ้าฉลาดเมื่อผัสสะ มีสติปัญญารอบรู้ โอ้ ผัสสะ มันอย่างนี้เอง อย่างนี้ก็เรียก ว่าอย่างนี้ สวยก็เรียกว่าสวย เหม็นก็เรียกว่าเหม็น หอมก็เรียกว่าหอม
มันอย่างนี้เอง คือไม่ยินดีไม่ยินร้าย ไม่เกิดเวทนาโง่ ไม่เกิดตัณหาโง่ไม่ เกิดอุปาทานโง่ มันก็ยุติ ปัญญาก็เข้ามา ทำอย่างไรเล่าในกรณีนี้จะทำ
อย่างไรก็ทำไป ๆ ก็ตามหน้าที่ก็ทำได้ ทำหน้าที่หาเลี้ยงชีพ ทำหน้าที่บริหารร่าง กาย ทำหน้าที่การงาน ก็ทำได้โดยไม่ต้องเป็นทุกข์
สำคัญอยู่ ที่เมื่อมีผัสสะทางตา ผัสสะทางหู ผัสสะทางจมูก ผัสสะทางลิ้น ผัสสะทาง กาย ผัสสะทางจิตใจ อย่าโง่ แต่มันก็ยาก เพราะมันไม่มีสติ เพราะมันไม่ได้ฝึกสติไว้สมบูรณ์ที่จะไปเอาปัญญามาให้ทันเวลาแต่ถ้าว่าเป็น นักเลงฝึกจิต โดยเฉพาะอานาปานสติ ฝึกให้มากเข้า ๆ คนนั้นจะ
สมบูรณ์ด้วย สติ สัมปชัญญะ สมาธิ และปัญญา สติสมบูรณ์อย่างนี้ก็ไปเอาปัญญามาทันเวลาที่ มีผัสสะ พอมีผัสสะเมื่อไร สติปัญญาก็มาทัน
รู้อะไรเป็นอะไร ควรทำอย่าง ไรไม่โง่ไปหลงรักหลงเกลียดหลงกลัว
เดี๋ยวนี้มันก็ทำผิดไปหมด รักบ้าง เกลียดบ้าง โกรธบ้าง กลัวบ้าง ตื่นเต้นบ้าง วิตกกังวลอาลัย อาวรณ์บ้าง อิจฉาริษยาบ้าง หึงบ้าง หวงบ้าง ยกตนข่ม......................................................
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 06 มิถุนายน 2553 12:44:07 โดย บางครั้ง » บันทึกการเข้า
sometime
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #4 เมื่อ: 06 มิถุนายน 2553 12:35:18 »




- ท่านบ้างหลงติดฝ่ายนั้น หลงติดฝ่ายนี้ ไม่สามารถจะอยู่เหนือบ้าง คือความทุกข์
ศึกษาให้มีสติสัมปชัญญะสมาธิปัญญาไว้ให้เพียงพอทำกรรมฐานทำให้สิ่งทั้ง ๔ นี้ เพียงพอ มันก็ใช้ควบคุมผัสสะก็ไม่เป็นผัสสะโง่ไม่มีเวทนาโง่
ไม่มีตัณหา อุปาทาน ภพ ชาติ ก็เลยไม่มีความทุกข์
กำจัดความยึดมั่นถือมั่นในขันธ์ทั้ง ๕ เสียได้เพราะว่าพอรูปขันธ์ทำหน้าที่เรียกว่าพอร่างกาย ทำหน้าที่ ตา หู จมูก ลิ้น ใดก็ตามกายทำหน้าที่ก็
เรียกว่ารูปขันธ์เกิดก็มีผัสสะก็มีเวทนาขันธ์เกิดสัญญาหมายมั่นก็สัญญาขันธ์เกิด คิดนึกอย่างไรก็สังขารขันธ์เกิด มารู้แจ้งที่ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ
ก็วิญญาณขันธ์เกิดจึงจะเห็นได้ตามลำดับว่าพอรูปขันธ์ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ทำ หน้าที่ ข้างในและข้างนอกก็เหมือนกัน รูปขันธ์ข้างนอกถึงกันเข้า
รูปขันธ์เกิดก็เกิดจักษุวิญญาณโสตวิญญาณ ฆานวิญญาณ วิญญาณขันธ์เกิด แล้วก็เกิด ผัสสะ รูปขันธ์ที่กำลังทำหน้าที่เกิดเวทนาขันธ์แล้วเกิด
สัญญาขันธ์ก็ถ้ามีเวทนาอย่างใดอย่างหนึ่ง แล้วมันก็หมายมั่นว่าอะไรว่าสุขว่าทุกข์ ว่าอะไรก็ตาม หมายมั่นไปอย่างใดอย่างหนึ่งสัญญาขันธ์
สังขารขันธ์
ก็คิดไปตามนั้น คิดไปตามอารมณ์ไปตามสัญญาขันธ์นี่ขันธ์ ๕ ถ้ามันมีสติ ปัญญา โอ้ ขันธ์ ๕ มันอย่างนี้เอง มันเป็นอย่างนี้เองมันเป็นของมันอย่าง
นี้องก็ไม่เกิดความรู้สึกว่าตัวกูของกูในเวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขาร ขันธ์ วิญญาณขันธ์ หรือแม้แต่ในรูปขันธ์ มันก็ไม่เกิด ปัญจุปาทานัก
ขันธามันก็ไม่มี สังขิตเตนะ ปัญจุปาทานักขันธา ทุกขา มันก็ไม่เป็นทุกข์ เห็น ขันธ์โดยความเป็นขันธ์ตามธรรมชาติอย่างนั้นเท่านั้นไม่ใช่ สัตว์
บุคคล ตัวตนอะไรนี่ที่ว่าจะไม่เกิดความทุกข์ และเย็นเป็นนิพพานอยู่ ได้ตลอดไป ที่อุปาทานยังไม่เกิดกิเลสยังไม่เกิด
ขอให้มีสติ ปัญญาในเรื่องนี้มากได้อาบรสอยู่ด้วยพระนิพพานขั้นต้น ๆ เป็นอย่างดียิ่ง มี ชีวิตเย็น เป็นนิพพุตะ นิพพุติ เป็นนิพพุติ แปลว่าความเย็น
เป็นนิพพุตะ แปลว่าผู้เย็น คุณเองก็ดี ไปสวดให้ศีลเขาน่ะ สีเลนะ สุคะติงยันติ สีเลนะ โภะ สัมปะทา สีเลนะ นิพพุติง ยันติ ตัสะมาสีลังวิโสทะเย
นิพพุติ แม้แต่ศีลก็ยังได้นิพพุติ มีศีลอย่างนี้ก็ระงับไปได้มาก มีนิพุตติตาม สมควร ความเย็นในชีวิตมีได้เพราะศีล และค่อยๆ สูงขึ้นไปจนเป็น
นิพพาน เป็น นิพุตติอ่อน ๆ บอกเขาว่า นิพุตติให้รู้ว่าอะไรอย่าบอกเขาแล้วตัวเองก็ไม่รู้ว่าอะไร มีนิพพุติ เพราะศีล มีสุคติ เพราะศีล มีโภคะ
เพราะศีลเพราะฉะนั้นทำศีลให้สมบูรณ์ ให้มีชีวิตเย็นเป็นนิพพุติอย่างนี้ ก็เรียกว่าเราเป็นผู้มี ชีวิตในประจำวันอยู่ด้วยนิพพาน
มีนิพพานในชีวิตประจำวันไม่เสียทีที่
เกิดมาเป็นมนุษย์ได้พบกับพระพุทธศาสนาสามารถมีนิพพานน้อย ๆ นิพพานตัวอย่าง นิพพานชั่วขณะก็ตามอยู่ในชีวิตประจำวันนี่วิเศษที่สุดเพราะ
มันจะค่อย ๆ กลายเป็นนิพพานสมบูรณ์
ขอให้ได้รับประโยชน์อันสูงสุดอันนี้ให้สมกับว่าได้เสียสละออกมาบวชทั้งที ให้ได้หัวใจของพระพุทธ ศาสนา ออกไปอย่างนี้
เวลา หมดแล้วหนึ่งชั่วโมง ขอยุติการบรรยายในวันนี้ ในหัวข้อว่ามีนิพพานในชีวิตประจำวันจงด้วยกันทุก ๆ คนเถิด



.........................................THE END........................................

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 06 มิถุนายน 2553 12:52:59 โดย บางครั้ง » บันทึกการเข้า
คำค้น: นิพพาน พุทธทาส บางครั้ง ธรรมมะ สวนโมกข์ ประจำ 
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน

Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.305 วินาที กับ 29 คำสั่ง

Google visited last this page 04 พฤศจิกายน 2567 20:52:42