[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
22 ธันวาคม 2567 18:10:36 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: ความทรงจำนอกมิติ : สภาวะจิตวิญญาณคือแก่นในของทุก ๆ ศาสนา  (อ่าน 4260 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
มดเอ๊ก
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +8/-1
ออฟไลน์ ออฟไลน์

Thailand Thailand

กระทู้: 5162


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 7.0 MS Internet Explorer 7.0


ดูรายละเอียด
« เมื่อ: 03 มิถุนายน 2553 08:28:20 »




สภาวะจิตวิญญาณ (spirituality) ซึ่งไม่ใช่ศาสนาอย่างเป็นระบบ (organized religion) แม้แต่น้อย แต่สัมพันธ์เกี่ยวเนื่องใกล้ชิดซึ่งกันและกันอย่างยิ่ง เพราะทั้งสองต่างก็เป็นคนละระบบและคนละรูปแบบ ซึ่งจะได้กล่าวต่อไป สภาวะจิตวิญญาณนั้นเป็นสิ่งที่มีมาก่อนศาสนาที่เป็นระบบมากยิ่งนัก คือได้มาจากปรัชญาโบราณ (perennial physilosophy) ที่ประกอบด้วย ดิน มนุษย์ ฟ้า ส่วนที่อยู่กับมนุษย์มาตั้งแต่ต้นคือ มนุษย์จะมีฟ้าและมีดินอันสำคัญอย่างที่สุด โดยเป็นเรื่องความดีงามหรือความเป็นเทพเทวดา  (gods) ผู้บริสุทธิ์ซ่อนลึกอยู่ในจิตใต้สำนึกหรือจิตไร้สำนึกของแต่ละคนเป็นปัจเจกของมนุษย์ทุกๆ คน โดยไม่มีการยกเว้นแม้แต่คนที่มีจิตใจทมิฬหินชาติอย่างที่สุด - ที่จะแสดงออกมาระหว่างภาวะที่สุดคับขัน ซึ่งจะแตกต่างจากอุปนิสัยสันดานของสัตว์ร้าย (beast or evil) ที่เป็นจิตใต้สำนึกที่อยู่ตื้นกว่าและแสดงออกง่ายกว่า อย่าลืมว่ามนุษย์ที่เป็นปกติธรรมดาทุกคนเลย (ในปัจจุบัน) นั้นยืนอยู่ระหว่างเทวดากับความชั่วร้าย เพียงแต่ความเป็นเทวดา หรือความดีงามจะอยู่ลึกกว่าความชั่วร้าย (evil) ซึ่งจะเกิดขึ้นในสภาวะคับขันเพื่อช่วยชีวิตของผู้ที่อยู่ในสภาวะคับขันนั้น
     ไม่ใช่เพราะไปเกิดและอยู่ที่จังหวัดนราธิวาสมานาน จังหวัดที่คนไทยส่วนใหญ่นับถือศาสนาอิสลามที่มีธรรมชาติระดับสูงเป็นคุณสมบัติหรืออัลเลาะห์ที่คือพระเจ้า และไม่ใช่เพราะภรรยานับถือคริสต์ศาสนาที่ทำให้ผู้เขียนซึ่งนับถือพระพุทธเจ้า และมีแม่เป็นนายกสมาคมพุทธศาสนาจังหวัดนราธิวาสแบบเชิงผูกขาดมาอย่างช้านานมากจนจำไม่ได้ คิดว่าอย่างน้อยก็ไม่น้อยไปกว่า 5-6 สมัย แถมไม่ใช่นับถือแต่กระพี้ หากแต่คิดว่าเป็นแก่นแกนของพุทธศาสนาอันมีพุทธธรรมหรือธรรมชาติทั้งสองระดับ หรือหยาบ กับละเอียด เป็นหลักการ หรือมีเพื่อนรุ่นน้องที่รักกันมากนับถือศาสนาเต๋าอย่างรู้แจ้งเห็นจริง ทั้งหมดนี้ไม่ได้มีส่วนแม้แต่น้อยที่ทำให้ผู้เขียนเขียนบทความบทนี้ขึ้นมาตามหัวเรื่องหรือชื่อของบทความที่ตั้งมาข้างบนนั้น ผู้เขียนมีความคิดเห็นเป็นเช่นที่กล่าวไว้นั้นจริงๆ ว่า ทุกๆ ศาสนาในโลก รวมทั้งลัทธิความเชื่อทุกๆ ลัทธิเลย ต่างล้วนมีเป้าหมายสูงสุดเป็นเช่นเดียวกัน นั่นคือเป้าหมายสูงสุดของความเป็น "มนุษย์ผู้ประเสริฐ" อันเป็นสัตว์โลก - เผ่าพันธุ์ที่เป็นภพภูมิของชีวิตเพียงหนึ่งเดียว ซึ่งสามารถจะมีวิวัฒนาการทางจิตไปสู่จิตวิญญาณ หรือสู่เส้นทางสู่ตรัสรู้ (enlightenment) นิพพานอันเป็นเป้าหมายสูงสุดของชีวิต - นั่นคือแก่นแกนที่แท้จริงของทุกศาสนาและทุกๆ ลัทธิความเชื่อ อันเป็นเรื่องของสภาวะจิตวิญญาณ (spirituality) เพราะเหตุนี้ ผู้เขียนขอสนับสนุน เออร์วิน ลาซโล (Erwin Laszlo : The Quiet Dawn, 2002) ที่กล่าวว่า "น่าเสียใจ เพราะกาลเวลาได้ทำให้ชุมชนทั่วๆ ไปมองศาสนาเปรียบเหมือนกะลาที่ว่างเปล่า (กระพี้).....ที่แท้เป็นจิตวิญญาณ (spirituality) ต่างหาก หาใช่ตัวศาสนาที่เป็นเป้าหมายส่วนตัวที่ซึมแทรกความสัมพันธ์เกี่ยวข้องระหว่างกัน ระหว่างแต่ละคนเป็นปัจเจก กับจักรวาลโดยรวม" พูดไปแล้วทำให้คิดถึงหลวงพ่อปราโมช ครูผู้สอนวิปัสสนากรรมฐานจากศรีราชาผู้กล่าวว่า คนไทยส่วนใหญ่มากๆ ที่บอกว่าตัวเองนับถือพุทธศาสนานั้น เอาเข้าจริงๆ ก็ไม่รู้ว่ามีคนไทยที่รู้จักศาสนาพุทธอย่างแท้จริงทั่วทั้งประเทศถึงหนึ่งหมื่นคนหรือไม่? นั่นแปลว่าคนไทยมากกว่า 50 ล้านคน ล้วนไม่รู้จักแก่นแกนของพุทธศาสนาเลย หรืออย่างดีก็รู้จักแต่กระพี้ของศาสนา มิน่าเล่าที่มีคนไทยจำนวนไม่น้อย ทั้งๆ ที่ตัวเองก็ไม่รู้จักพุทธศาสนาดีพอ แต่ยังกลัวว่าศาสนาอื่นจะมาแย่งเอาพุทธศาสนิกชนของตนไป จึงหาทางเรียกร้องและป้องกันอย่างเต็มความสามารถ ซึ่งการกระทำเช่นนั้นมีแต่ก่อให้เกิดความแตกแยกของคนในชาติยิ่งกว่าความแตกแยกทางการเมืองที่กำลังเป็นอยู่ในเวลานี้เสียอีก ทำไมเราไม่ทำตามอย่างที่องค์ทะไล ลามะ พูดเสมอๆ ว่า "หวังอย่างยิ่งว่าจะไม่มีการแก่งแย่งกันในเรื่องของศาสนาอย่างน้อยในพุทธศาสนาของทิเบต" จริงๆ แล้วผู้เขียนคิดเช่นเดียวกับองค์ทะไล ลามะ และเออร์วิน ลาซโล ว่า ทุกๆ ศาสนาสอนให้ทุกคนเป็นคนดี มีศีลมีธรรม กอร์ปด้วยคุณธรรมความดีงามมาตลอด ฯลฯ แต่ทั้งสองคือสภาวะจิตวิญญาณอันหนึ่งกับศาสนานั้น แตกต่างกันที่นิยามและรูปแบบ จิตวิญญาณเป็นสภาวะของจิต หรือรูปแบบทางวัฒนธรรม คือสภาวะการวิวัฒนาการของจิตที่ภายใน แต่ศาสนาเป็นสถาบันของสังคม เป็นเรื่องของวิวัฒนาการของกายที่ภายนอกคือ เป็นเสมือนเรือหรือพาหนะที่นำพาจิตวิญญาณนั้นไปสูเป้าหมาย และสำหรับผู้เขียน ทั้งสองมีความเกี่ยวข้องสัมพันธ์กันอย่างใกล้ชิด เหมือนกับประเทศกับชาติ เหมือนกับสังคมกับวัฒนธรรม สภาวะจิตวิญญาณจึงอาศัยพาหนะ หรือสิ่งบรรจุเพื่อนำพาสภาวะจิตที่วิวัฒนาการต่อๆ ไปตลอดเวลาเช่นเดียวกันกับรูปหรือกายที่มีวิวัฒนาการ - จากสัตว์โลกต่างๆ มาเป็นลิงเป็นเอพส์ และเป็นมนุษย์ - คือ เรา "ต้องรู้" ว่ามนุษย์นั้นมีทั้งรูปกับนาม หรือกายกับจิต และเรา "ต้องรู้" ว่าจักรวาลมีเป้าหมายเพียงอย่างเดียวคือ วิวัฒนาการ และทั้งสองอย่างนั้น คือมนุษย์กับจักรวาล มนุษย์จะรู้ได้ก็จะต้องมีปัญญา และปัญญานั้นเป็นธรรมชาติ หรือก็คือธรรมะนั่นเอง ส่วนจักรวาลต้องมีการเปลี่ยนแปลงที่กล่าวแล้ว การที่สภาวะจิตของมนุษย์ซึ่งมีการวิวัฒนาการที่เป็นเช่นเดียวกันกับรูปกาย หรือวิวัฒนาการทางชีววิทยาดังที่กล่าวมาในพารากราฟข้างบนไปตามสเปกตรัมทางจิตผ่านสภาวะจิตวิญญาณไปสู่การตรัสรู้ (enlightenment) หรือนิพพาน รวมทั้งเป้าหมายเพียงอย่างเดียวของจักรวาล คือวิวัฒนาการการเปลี่ยนแปลง หรืออนิจจตากับปฏิจจสมุปปบาทในพุทธศาสนา ผู้เขียนคิดว่าเป็นเป้าหมายนั้น หรืออีกนัยหนึ่งผู้เขียนคิดต่อไปว่าเป้าหมายหรือวิวัฒนาการที่ว่านั้นก็คือ วิวัฒนาการของกายและจิตของมนุษย์ เพราะฉะนั้นท้ายที่สุดแล้วสภาวะจิตวิญญาณจะเป็นอย่างอื่นไปไม่ได้นอกจากว่า นั่นคือวิวัฒนาการของจิตไปสู่จิตวิญญาณ ไปสู่การตรัสรู้และนิพพาน นั่นคือ สภาวะจิตวิญญาณ (spirituality) หรือเป้าหมายสุดท้ายของวิวัฒนาการทางจิตที่ว่ามาหยกๆ นั้นคือ เป้าหมายอันสุดท้ายของชีวิตของสัตว์โลกต่างๆ ทั้งหมดที่มีประสาทสัมผัสรับรู้ภายนอก (sentience beings) และมนุษย์ทุกๆ คนจริงๆ
     นอกจากนั้น และเป็นความสำคัญอย่างที่สุดสำหรับสภาวะจิตวิญญาณ และศาสนาใหญ่ต่างๆ รวมทั้งลัทธิความเชื่อของทุกๆ วัฒนธรรม คือสิ่งที่ศาสนาพุทธและทุกๆ ศาสนาที่เกิดหรือเกี่ยวข้องกับลัทธิหรือวัฒนธรรมพระเวทบอกว่าคือกฎของธรรมชาติที่ใช้ควบคุมทุกสรรพสิ่ง โดยเฉพาะชีวิตและโดยเฉพาะอย่างยิ่งชีวิตของมนุษย์ นั่นคือ "กฎแห่งกรรม" ซึ่งโดยศาสนาพุทธกับโดยประสบการณ์ของผู้เขียน - ซึ่งเชื่อมั่น 100 เปอร์เซ็นต์เต็มอย่างมีเหตุผล - และเป็นเหตุผลซึ่งทำให้ผู้เขียนปฏิเสธเรื่องของสิทธิมนุษย์ชน และระบอบประชาธิปไตยตัวแทน และการเลือกตั้งแบบที่เรามีอยู่โดยไม่มีธรรมาภิบาล ไม่มีระบบประชาพิจารณ์ ไม่มีระบบประชาสังคมที่ประชาชนมีส่วนร่วมโดยตรงใดๆ เลย (participating democracy) ฯลฯ เพราะเหตุว่า ทั้งสอง ทั้งเรื่องของสิทธิมนุษยชนและประชาธิปไตยตัวแทนเพียงอย่างเดียวนั้น เป็นเรื่องของกาย-วัตถุนิยมที่ทำงานแบบเครื่องจักรเครื่องยนต์ (materialism and mechanism) หรือพูดง่ายๆ ได้ว่า - สำหรับบ้านเราและประเทศที่พัฒนาใหม่ๆ ทั้งหลาย โดยเฉพาะนักวิชาการกับนักวิทยาศาสตร์กายภาพ โดยเฉพาะวิทยาศาสตร์แห่งชีวิต (life sciences) ส่วนใหญ่ มักจะกล่าวถึงวิวัฒนาการทางชีววิทยา หรือทางด้านของกายภาพของจักรวาลอันเป็นเรื่องของวิทยาศาสตร์เก่า นิวโตเนียน-คลาสสิคัลฟิสิกส์และนีโอดาร์วินิซึ่ม โดยไม่ได้ติดตามฟิสิกส์ใหม่ โดยเฉพาะควอนตัมฟิสิกส์ ชีววิทยาใหม่ จักรวาล วิทยาใหม่ ฯลฯ เท่าที่ควร
     บทความนี้ผู้เขียนจะพูดถึงกฎแห่งกรรมอันเป็นหัวใจของพุทธศาสนาอย่างมีเหตุผล ผู้เขียนใคร่ขออธิบายกฎแห่งกรรม ซึ่งบางข้อยังไม่มีผู้ใดให้คำอธิบายมาก่อน และที่ผู้เขียนเข้าใจพุทธศาสนาทุกๆ นิกาย รวมทั้งหนังสือที่เกี่ยวข้องกับกรรมและการเกิดใหม่ของพุทธศาสนาและศาสนาฮินดู และศาสนาที่เกิดขึ้นจากลัทธิพระเวท โดยนักปรัชญากับผู้เขียนชาวอินเดีย รวมทั้งการประชุมใหญ่และสัมมนาทางวิชาการทั้งของมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนียที่เบิร์กเลย์ และที่มหาวิทยาลัยคาร์ลการีที่แคนาดา ทั้งหมดนี้ - ด้วยหลักการโดยทั่วไปของข้อมูล - ดังข้อสรุปต่อไปนี้ คือ หนึ่ง กฎแห่งกรรมนั้น ในทางศาสนาเชื่อว่าไม่มีทางที่ใคร และไม่ว่าอย่างไรก็ไม่มีทางหลบหลีกได้พ้น สอง กฎแห่งกรรมนั้น นอกจากจะไม่มีทางที่ใครจะหลีกหนีได้พ้น - ไม่ว่าใครจะตายไปจากโลกนี้หรือไม่ หรือเกิดใหม่หรือไม่ หรือเกิดในภพภูมิไหน - จะต้องรับรางวัลหรือรับการลงโทษจากผลกรรมนั้นอยู่วันยังค่ำ ทั้งยังต้องมีวิวัฒนาการ-เปลี่ยนแปลงของโลกของจักรวาลของสังสารวัต ทั้งกายและจิตอยู่วันยังค่ำ สาม หลักการกฎแห่งกรรม นอกจากมีวิวัฒนาการทางกายกับจิต ทั้งยังมีผลข้ามภพข้ามชาติดังได้กล่าวมาในข้อสองแล้วนั้น ซึ่งวิวัฒนาการทางจิต หรือทั้งสองคือทั้งทางกายและทางจิต ดังเช่นในภพภูมิของโลกนี้ หรือว่าเป็นในภพภูมิมิติใดของจักรวาลที่ซ้อนๆ กับจักรวาลนี้ ล้วนเป็นไปเพื่อการวิวัฒนาการทางจิตสู่จิตวิญญาณ (spirituality) ไปสู่การตรัสรู้และนิพพานทั้งนั้น และข้อสุดท้ายข้อที่สี่ การเกิดใหม่ในภพภูมิใด - หากเป็นภพภูมิเช่นโลกมนุษย์นี้ และมีวิวัฒนาการทั้งกายและจิตแล้ว - กฎแห่งกรรมจะต้องผ่านวิวัฒนาการของกายไล่สูงขึ้นไปตามลำดับ - จากไฟลัมถึงไฟลัม จากสปีชีส์ถึงสปีชีส์ จากสัตว์ชั้นต่ำสู่สัตว์ชั้นสูง จากคนพิการหรือผู้ยากไร้สู่คนปกติและเศรษฐีผู้สูงศักดิ์ซึ่งจะเป็นไปด้วยกรรมใหม่ของสัตว์โลกที่รวมทั้งมนุษย์คนนั้นๆ - ดังที่พระพุทธองค์ได้ทรงกล่าวไว้ในทำนองว่า มนุษย์มีสูง มีต่ำ มีดำ มีขาว มีรวย มีจน ไม่เท่ากัน จึงเป็นไปตามกรรมในชาติก่อนนั้นๆ มันจึงไม่มีคำว่าสิทธิมนุษยชน หรือคำว่าประชาธิปไตย หรือคำว่าวัตถุนิยม ฯลฯ เพราะเหตุว่าทุกสิ่งทุกอย่างจะต้องเป็นไปด้วยหน้าที่หรือพฤติกรรมที่ควบคุมโดยจิตหรือจิตวิญญาณและมนุษย์ทุกๆ คนจะต้องมีระดับจิตที่จะมีวิวัฒนาการได้เช่นนั้น ดังที่ได้กล่าวมาแล้ว - หากว่าประชากรโลกมีไม่มากเกินกว่าคำว่าสมดุลพอเพียงพอดี อย่างเช่นในปี 2013 ซึ่งผู้เขียนคาดว่าอาจเป็นปีแห่งการเริ่มต้นของสภาวะจิตวิญญาณของชาวโลกทั่วทั้งโลก และประชากรจะเหลือราว 20% เพราะภัยธรรมชาติและกรรมร่วมของมนุษยชาติที่กล่าวมาแล้วว่าไม่มีทางจะหลีกหนี.


http://www.thaipost.net/sunday/230510/22424

Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

บันทึกการเข้า

ทิ นัง มิไฮ นัง มิจะนัง ทิกุนัง แปลว่า
ที่นั่ง มีให้นั่ง มึงจะนั่ง ที่กูนั่ง ทิ้งไว้เป็น
ปริศนาธรรม นะตะเอง
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 8.0 MS Internet Explorer 8.0


ดูรายละเอียด
« ตอบ #1 เมื่อ: 05 มิถุนายน 2553 08:18:09 »


http://i194.photobucket.com/albums/z32/jatikanont/24b4c35f.jpg
ความทรงจำนอกมิติ : สภาวะจิตวิญญาณคือแก่นในของทุก ๆ ศาสนา


ขอบพระคุณ คุณมดค่ะ
บันทึกการเข้า
DUNG
มือใหม่หัดโพสท์กระทู้
*

คะแนนความดี: +0/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

Thailand Thailand

กระทู้: 1


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 6.0 MS Internet Explorer 6.0


ดูรายละเอียด
« ตอบ #2 เมื่อ: 05 มิถุนายน 2553 09:34:19 »

ขอบคุณครับสำหรับบทความแห่งสัมมาทิฏฐิอนุโมทนาบุญครับ โทดค๊าบ
บันทึกการเข้า
หมีงงในพงหญ้า
ยืนงงในดงตีน
ผู้ก่อตั้งเวบฯ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +62/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
United Kingdom United Kingdom

กระทู้: 7866


• Big Bear •

ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 8.0 MS Internet Explorer 8.0


ไม่มี ไม่ใช้ ไม่รู้
ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #3 เมื่อ: 05 มิถุนายน 2553 10:57:37 »

จารย์มดแกเรื่องแนว ๆ นี้เยอะครับ
บันทึกการเข้า

B l a c k B e a r : T h e D i a r y
คำค้น: ความทรงจำนอกมิติ 
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน

Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.399 วินาที กับ 32 คำสั่ง

Google visited last this page 16 พฤศจิกายน 2567 15:33:45