[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
22 ธันวาคม 2567 16:09:02 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: ประวัติ พญามุจลินท์นาคราช และ เรื่องเกี่ยวกับพญานาคตนอื่น  (อ่าน 31399 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
Compatable
นักโพสท์ระดับ 11
*

คะแนนความดี: +3/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1210


ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Chrome 15.0.874.121 Chrome 15.0.874.121


ดูรายละเอียด
« เมื่อ: 02 ธันวาคม 2554 00:40:02 »

ประวัติ พญามุจลินท์นาคราช


ครั้นล่วง ๗ วันแล้ว เสด็จไปประทับนั่งขัดสมาธิยังร่มไม้จิก อันมีนามว่า "มุจลินท์" อันตั้งอยู่ในทิศบูรพาหรือทิศอาคเนย์ แห่งไม้มหาโพธิ์ เสวยวิมุติสุขอยู่ ณ ที่นั้นอีก ๗ วัน ในกาลนั้นฝนตกพรำตลอด ๗ วัน พญานาคมีนามว่า "มุจลินท์นาคราช" มีอานุภาพมาก อยู่ที่สระโบกขรณี ใกล้ต้นมุจลินท์พฤกษ์นั้น มีความเลื่อมใสในพระศิริวิลาศพร้อมด้วยพระรัศมีโอภาสอันงามล่วงล้ำเทพยดาทั้งหลายจึงเข้าไปใกล้แล้วขดเข้าซึ่งขนดกายแวดวงพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้๗ รอบ และแผ่พังพานอันใหญ่ป้องปกเบื้องบนพระเศียร มิให้ลมและฝนถูกต้องพระกายพระผู้มีพระภาคเจ้า
ครั้งล่วง ๗ วัน ฝนหายขาดแล้ว พญานาคก็คลายขนดจำแลงกายเป็นมานพ เข้าไปถวายอัญชลีเฉพาะพระพักตร์ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเปล่งอุทานวาจาว่า "ความสงัดเป็นสุข สำหรับบุคคลผู้มีธรรมอันเห็นแล้ว ยินดีอยู่ในที่สงัด รู้เห็นตามความเป็นจริง ความไม่เบียดเบียน คือความสำรวมในสัตว์ทั้งหลาย และความปราศจากความกำหนัด คือความล่วงกามทั้งหลายเสียได้ด้วยประการทั้งปวง เป็นสุขในโลก ความนำอัสมิมานะ คือความถือตัวออกให้หมดไปเป็นสุขอย่างยิ่ง"

ครั้นล่วง ๗ วันแล้ว เสด็จออกจากร่มไม้มุจลินท์ ไปยังร่มไม้เกตุ อันมีนามว่า "ราชายตนะ" อันอยู่ในทิศทักษิณ แห่งต้นมหาโพธิ์ เสวยวิมุติสุขณที่นั้นสิ้น๗วันเเป็นอวสานในกาลนั้นท้าวสักกะอมรินทราธิราช ทรงดำริว่าพระสัมมาสัมพุทธเจ้ามิได้เสวยพระกระยาหารนับแต่กาลตรัสรู้มาได้๔๙วันแล้วจึงได้เสด็จลงมาจากเทวโลกน้อมผลสมออันเป็นทิพยโอสถเข้าไปถวาย พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงรับผลสมอเสวย แล้วทรงสรีระกิจลงพระบังคม ทรงสำราญพระกายแล้ว เสด็จเข้าประทับยังร่มไม้ราชายตนะพฤกษ์นั้น

Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

บันทึกการเข้า
Compatable
นักโพสท์ระดับ 11
*

คะแนนความดี: +3/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1210


ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Chrome 15.0.874.121 Chrome 15.0.874.121


ดูรายละเอียด
« ตอบ #1 เมื่อ: 02 ธันวาคม 2554 00:42:06 »

พญาศรีสัตตนาคราช

พญาศรีสัตตนาคราช นาคาธิบดีสีสัตตนาคบาดาล เป็นใหญ่เหนือพญานาคทั้งปวง เป็นพญานาคที่ทรงฤทธิ์ ทรงอำนาจ มีความเด่นสง่าด้วยมี 7 เศียร ซึ่งถือได้ว่าเป็นตระกูลพญานาคที่มีมาแต่ครั้งพุทธกาล มีความใกล้ชิดพระพุทธองค์ และพระพุทธศาสนา จนอาจถือว่าเป็นต้นตระกูลแห่งพญานาคทั้งหมด ผู้ใดที่บูชาและศรัทธาในพญานาคท่านจะช่วยดลบันดาลให้ผ่านพ้นอันตรายจากภัยพิบัตินาๆ ประการได้

ตามคำบอกเล่าของ หลวงปู่คำพันธ์ โฆสปัญโญ วัดธาตุมหาชัย จังหวัดนครพนม กล่าวว่า ทางฝั่งไทยและฝั่งลาวต่างมี กษัตริย์แห่งนาคราช หรือ นาคาธิบดี แยกปกครองดูแล

ฝั่งลาว คือ พญาศรีสัตตนาคราช (นาคาธิบดีสีสัตตนาคบาดาล) ซึ่งเชื่อว่าเป็นกษัตริย์แห่งพญานาคฝั่งลาว มีเจ็ดเศียร

ฝั่งไทย คือ พญาศรีสุทโธนาคราช (นาคาธิบดีสีสุทโธ) เป็นกษัตริย์พญานาคฝั่งไทย เป็นพญานาคหนึ่งเศียร

พญาศรีสุทโธ ท่านชอบจำศีลบำเพ็ญเพียร และปฏิบัติธรรม มีนิสัยอ่อนโยนมีเมตตา ไม่ชอบการต่อสู้ ชอบมาปฏิบัติธรรมที่พระธาตุพนม โดยมอบหมายให้เหล่าพญานาค 6 อำมาตย์ดูแลแทน ในระหว่างที่หลบมาจำศีลภาวนา

หลวงปู่เอ่ยชื่อ 6 อำมาตย์แห่งพญานาคไว้เพียง 3 คือ

1. พญาจิตรนาคราช เป็นพญานาคที่รักสวยรักงาม มีเขตแดนปกครองของตน ตั้งแต่ตาลีฟู ถึงจังหวัดหนองคาย ตามแนวแม่น้ำโขง โดยมีที่สุดแดนอยู่วัดหินหมากเป้ง

2. พญาโสมนาคราช มีเขตแดนปกครอง ตั้งแต่วัดหินหมากเป้ง มาจนถึงวัดพระธาตุพนม สุดเขตแดนที่แก่งกะเบา พญาโสมนาคราช มีอุปนิสัยคล้ายพญาศรีสุทโธนาคราช คือชอบปฏิบัติธรรม จึงเป็นที่ไว้วางใจ และโปรดปรานแก่พญาศรีสุทโธนาคราชมากกว่าพญานาคอื่น ๆ

3. พญาชัยยะนาคราช มีเขตแดนจากแก่งกะเบา เรื่อยไปจนสุดแดนที่ปากแม่น้ำโขงลงทะเลในเขมร พญานาคตนนี้มีฤทธิ์เดชมาก ชอบการรณรงค์ทำสงคราม คือชอบการต่อสู้เป็นนิสัย

พญาศรีสัตตนาคราช เป็นใหญ่เหนือพญานาคทั้งปวงในฝั่งลาว เป็นพญานาคที่ทรงฤทธิ์ ท่านเป็นพญานาคที่ชอบจำศีลและประพฤติปฏิบัติธรรมเหมือนพญาศรีสุทโธนาคราช โดยชอบมาที่วัดพระธาตุพนมเหมือนกัน

หลวงปู่คำพันธ์ยังได้กล่าวอีกว่า ส่วนใดที่อยู่ใกล้ต้นน้ำลำธาร หรือหากมี
พิธีกรรมอันใดเกิดขึ้น ให้อัญเชิญบอกกล่าวแก่เหล่าพญานาค พิธีกรรมนั้นจะศักดิ์สิทธิ์ยิ่ง

บันทึกการเข้า
Compatable
นักโพสท์ระดับ 11
*

คะแนนความดี: +3/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1210


ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Chrome 15.0.874.121 Chrome 15.0.874.121


ดูรายละเอียด
« ตอบ #2 เมื่อ: 02 ธันวาคม 2554 00:45:05 »

พญานาค


นาคนี้ มักเรียกกันว่าพญานาคของพวกนาค และยังมีชื่อที่เรียกกันเป็นอย่างอื่นก็มากเช่น ภุชงค์ วาสุกิ หรือวาสุกรี นาค นาคา อนันตนาครหรือเศษนาค เป็นต้น

ตามความหมายที่เข้าใจกันมาว่า นาคตัวยาวๆ อย่างงู ในบาลีลิปิกรม ว่า มีหน้าเป็นคน หางเป็นงู เป็นพวกกึ่งเทวดา เมืองที่อยู่เรียกว่า บาดาล ซึ่งเข้าใจกันว่าอยู่ใต้แผ่นดินที่เราอยู่กันเดี๋ยวนี้

ตามตำนานอุปปาติกะว่า พญานาคนี้เป็นโอรสพระกัศยปเทพบิดร และนางกัทรุเป็นมารดา บุตรของพระทักษะประชาบดี ส่วนเมืองที่อยู่ที่เรียกว่าบาดาลนั้น ตามวิษณุปุราณะ และปัทมปุราณะว่ามีถึงเจ็ดชั้น เรียงลำดับซ้อนๆ กันลงไป คือ 1อตล มีผู้ครองชื่อมหามายะ 2. วิตล ผู้ครองชื่อหาตเกศวร 3. สุตล ผู้ครองชื่อท้าวพลี 4. ตลาตล ผู้ครองชื่อมายุ 5 มหาตล ว่าเป็นที่อยู่ของพวกนาค 6. รสาตล เป็นที่อยู่ของพวกแทตย์และทานพ 7. ปาตาล นี้แหละที่เราเรียกว่าบาดาล เป็นที่อยู่ของวาสุกรีนาคราช

ปรากฏตามคัมภีร์ว่า เมืองบาดาลนี้ ในชั้นสูงๆ มีความสนุกสนานปานกับเมืองสวรรค์ และก็หาใช่ว่าจะอยู่แต่นาคพวกเดียวก็หาไม่ ยังมีรพวกแทตย์และทานพ อันเป็นเหล่ากอของพระกัศยปะกับนางทิติ ได้เป็นผู้ครองอยู่ก็หลายชั้น พวกนาคแท้ๆ คงได้อยู่ในชั้นที่ 5 กับชั้นที่ 7 เท่านั้น

นาคนี้ปรากฏในที่หลายแห่งว่า ตัวยาวอย่างงู มีหงอนเป็นอันงาม แม้แต่ในปทานุกรมก็ยังแปลไว้ว่างูหงอน ในรามายณะ พญานาคเคยทำตัวเป็นบัลลังก์ให้กับพระวิษณุบรรทมอยู่ในเกษียรสมุทร ในปางมัสยาวตาร พญานาคเคยเป็นเชือกผูกเรือของท้าวสัตยพรต หรือ พระมนูไววัสวัต ไว้กับกระโดงปลาใหญ (นารายณ์) เมื่อคราวน้ำท่วมโลก

ในปางกูรมาวตาร พญานาคก็ต้องไปเป็นเชือกพันกับภูเขามันทระ สำหรับเทวดาและอสูรดึงไปดึงมาเพื่อให้ภูเขานั้นหมุนหวังผลในการทำน้ำอมฤต

ส่วนในปางพุทธาวตาร หรือในสมัยพระสมณโคดมบรมพุทธะ ก็มีเรื่องนาคมาเกี่ยวข้องเป็นหลายคราว เช่น ครั้งหนึ่งเมื่อพระพุทธองค์ทรงลอยถาดทอง อันนางสุชาดาถวายพร้อมด้วยมธุปายาส ณ แม่น้ำเนรัญชรา ก็ว่า ถาดนั้นได้จมลงไปอยู่เมืองนาค พญากาลภุชคินทร์ซึ่งเป็นผู้ครอง ได้ยินเสียงถาดกระทบกันก็ตื่นนอนขึ้นครั้งหนึ่ง

และครั้งที่สองเมื่อพระพุทธเจ้าเสด็จประทับเสวยวิมุติสุขอยู่ภายใต้ไม้มุจลินท์(ไม้จิก) พญานาคชื่อมุจลินท์ก็ได้มาขดตัวเป็นแท่น แล้วเพิกพังพานบังแสงแดดบังฝนถวาย ซึ่งพระพุทธรูปปางนี้เรียกกันว่าพระนาคปรก



ครั้งที่สามต่อมาอีก ว่ากันว่ามีนาคแปลงตัวมาบวชในพระพุทธศาสนา พระท่านถามนาคที่มาขอบวชมาท่านใช่มนุษย์หรือไม่ นาคตอบว่าเรามิใช่มนุษย์ เป็นนาค แต่มาเพื่อจะขอบวชเพื่อบำเพ็ญบุญ เราจึงได้มีการบวชนาค

ในอดีตกาลทศชาดกปางภูริทัตต์ก็ว่า องค์พระโพธิส้ตว์ของเรายังได้เคยถือกำเนิดเป็นนาคชื่อทัตตกุมาร บิดาชื่อ ธตรฐ เป็นพญานาค มารดาชื่อ สมุททชา เป็นมนุษย์ คือ เป็นธิดาท้าวพรหมทัต กรุงพาราณสี ได้ขึ้นมาบำเพ็ญศีลบนฝั่งแม่น้ำยมุนา แล้วถูกอาลัมพายน์หมองูจับเอาตัวไป

พญานาคยังเคยเป็นสังวาลของพระอิศวร และเคยเป็นลูกศรของอินทรชิต ที่แผลงไปมัดพวกพระราม พระลักษมณ์ ทั้งหลายที่สาธกมานี้ ดูล้วนแต่ว่านาคมีตัวยาวๆ อย่างงูทั้งนั้น ในเวลาขึ้นลงก็ชำแรกแทรกดิน

คำว่า "นาค" ในบาลีลิปิกรม และ ปทานุกรม แปลไว้ว่า ประเสริฐ ในสมัยสมเด็จกรมพระยาวชิรญาณฯ ได้เคยทรงไว้ในพระพุทธประวัติ โดยเข้าพระทัยว่านาคไม่ใช่งู และคงจะเป็นพวกที่นับถือเทวรูปนาคปรก ได้แก่ พวกชฎิลกัสสปะสามพี่น้อง บางท่านเห็นว่า นาคนี้เก่งที่สุด ถึงกับปรากฎว่าเอาสตางค์โยนลงไปในน้ำ พวกนี้สามารถที่จะว่ายและดำไปหยิบสตางค์ชูให้ดูได้ก่อนที่สตางค์จะจมลงถึงท้องทะเล มีอยู่ในนครศรีธรรมราช ปัตตานี ที่เขาเรียกกันว่าชาวน้ำ หรือชาวเล ภาษามลายู เรียก ชะลัง

ส่วนภาพและรูปแกะสลัก รูปหล่อ รูปปั้น ที่ได้เคยเห็นมา มีทั้งเป็นงู และเป็นคน แล้วแต่เรื่องที่จะมาประกอบ

ในพงศาวดารเขมร กล่าวว่าในราวพุธศตวรรษที่ 6 พระทองเป็นโอรสกษัตริย์เขมร ก็เคยได้แต่งงานกับพระธิดาพญานาค มีนามว่า นางทาวดี ถึงมีโอรสด้วยกัน ชื่อพระเกตุมาลา และได้สืบกษัตริย์ครองประเทศเขมรกันต่อๆ มา อีกสามราชวงศ์กษัตริย์

กระทั่งถึงสมเด็จพระอุทัยราชก็มีมเหสีเป็นนาค คราวนี้ออกลูกครั้งแรกเป็นไข่ เอาไปทิ้ง คือฝังทรายไว้ ถึงคราวนายคงเคราซึ่งเป็นส่วยน้ำ นำน้ำในทะเลชุบศรเมืองลพบุรไปส่ง ได้พบไข่นี้ฟักเป็นคน จึงเก็บมาเลี้ยงไว้ ให้ชื่อว่านายร่วง แต่นางนาคตนนี้ออกลูกครั้งที่สอง หาตกเป็นฟองไม่ เป็นมนุษย์ทีเดียว โอรสผู้นี้ภายหลังมีนามว่าพระเจ้าปทุมสุริยวงศ์ ได้เป็นกษัตริย์เขมรที่มีเดชานุภาพมาก

ท้าววิรูปักษ์ เป็นมหาราชของพวกนาค เป็นโลกบาลครองทิศปัจจิม ด้านทิศตะวันตก มีปราสาททิพย์อยู่บนยอดเขายุคนธรทางด้านตะวันตก มีพาหนะเป็นช้างทิพย์ชื่อ โสมนัส เหล่านาคจะคอยขับกล่อมบำเรอด้วยดนตรีทิพย์อยู่ตลอดเวลา พระโอรสมีมากถึง 91 องค์

บันทึกการเข้า
คำค้น: ตํานาน ประวัติ พญามุจลินท์นาคราช 
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน

Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.368 วินาที กับ 32 คำสั่ง

Google visited last this page 19 ธันวาคม 2567 09:18:05