[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
22 ธันวาคม 2567 14:28:20 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: มาพิจารณาธาตุกัน  (อ่าน 15297 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 8.0 MS Internet Explorer 8.0


ดูรายละเอียด
« เมื่อ: 08 พฤษภาคม 2553 05:21:59 »




มาพิจารณาธาตุกัน
จาก บทที่ ๒
องค์ประกอบของโลกและสิ่งมีชีวิต
ธาตุ ๔  ธาตุ ๖


ในบทเรียนที่ผ่านมา ทำให้เราได้ทราบแล้วถึง ความหมายของจักรวาลวิทยา ทราบว่า
พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงเป็นผู้ค้นพบเรื่องราวความเป็นจริงของโลกและชีวิต ตลอดจนสรรพสิ่งทั้งปวง

ซึ่งทำให้เราเข้าใจปรากฏการณ์ต่าง ๆ ได้ดีขึ้น เนื่องจากการอธิบายสิ่งต่าง ๆ ในพระพุทธศาสนา
เป็นการอธิบายด้วยเหตุและผล ไม่ใช่การใช้ศรัทธานำหน้า ไม่มีการบังคับให้เชื่อตาม
แต่สามารถรู้ได้ด้วยตนเองโดยการพิสูจน์ ซึ่งพระพุทธศาสนาก็ได้แสดงวิธีพิสูจน์ไว้ให้แล้ว


มาถึงบทเรียนนี้ จะได้อธิบายในรายละเอียดต่อไป หลังจากที่เราทราบถึงความเป็นมาของโลก
ไปแล้ว ต่อจากนี้
เราจะได้มารู้จักและเข้าใจสิ่งที่เป็นองค์ประกอบของสรรพสิ่งทั้งหลาย ซึ่งพระพุทธศาสนา
เรียกว่า ธาตุ


Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 08 พฤษภาคม 2553 06:22:33 โดย เงาฝัน » บันทึกการเข้า
 
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 8.0 MS Internet Explorer 8.0


ดูรายละเอียด
« ตอบ #1 เมื่อ: 08 พฤษภาคม 2553 05:26:10 »



คำแปล และ ความหมาย

          ธาตุที่เราจะได้ศึกษาในบทเรียนนี้ ไม่ได้หมายถึงธาตุที่ปรากฏในตารางธาตุ ทรานซิชั่น ในวิชาวิทยาศาสตร์ หรือวิชาเคมี จำพวก ธาตุฮีเลี่ยม ธาตุอาร์กอน ธาตุไนโตรเจน ดังที่เราเคยเรียนเคยรู้จักกันมา แต่ธาตุในที่นี้เป็นธาตุที่เป็นองค์ประกอบแท้จริงหรือองค์ประกอบดั้งเดิมของสรรพสิ่งทั้งหลายทั้งปวง ไม่ว่าจะเป็นวัตถุหรือสิ่งใด ๆ ก็ตาม ทั้งที่เป็นสิ่งมีชีวิตและสิ่งไม่มีชีวิตก็ล้วนมีองค์ประกอบนี้อยู่ ซึ่งเป็นองค์ประกอบพื้นฐานชั้นต้นที่ละเอียดที่สุดที่ไม่สามารถจะแยกย่อยให้ละเอียดไปกว่านี้ได้อีก ซึ่งได้มีท่านผู้รู้ได้ให้คำอธิบายเกี่ยวกับความหมายของธาตุไว้ในที่ต่าง ๆ  ดังนี้

          ธาตุ หมายถึง สิ่งที่ทรงสภาวะของตนอยู่เอง คือ มีอยู่โดยธรรมดา เป็นไปตามเหตุปัจจัย ไม่มีผู้สร้าง ไม่มีอัตตา มิใช่สัตว์ มิใช่ชีวะ [๑]

 ธาตุหมายถึงผู้ทรงไว้, ผู้ตั้งอยู่, ผู้ดำรงอยู่  [๒]

ธาตุหมายถึงสิ่งที่มีอยู่ตามธรรมดาจะแยกออกไปอีกไม่ได้สิ่งที่เป็นต้นเดิมเป็นมูลเดิม  [๓]

ธาตุหมายถึงวัตถุซึ่งเป็นส่วนผสมดั้งเดิมของสิ่งต่างๆ  [๔]

จากความหมายของธาตุที่ท่านผู้รู้หลายท่านได้ให้ความหมายตามที่ได้นำมาเสนอนี้ทำให้พอจะสรุปได้ว่า

ธาตุหมายถึงสิ่งที่เป็นองค์ประกอบชั้นต้นสุดของสรรพสิ่งทั้งหลายทั้งที่มีชีวิตและไม่มีชีวิตโดยไม่สามารถจะแยกให้ลึกหรือละเอียดลงไปได้อีกและทำหน้าที่ทรงไว้หรือทำให้สิ่งทั้งหลายทั้งปวงดำรงอยู่ได้





Credit by : http://dou_beta.tripod.com/GL101_02_th.html#_ftn1
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 14 มิถุนายน 2553 14:28:18 โดย เงาฝัน » บันทึกการเข้า
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 8.0 MS Internet Explorer 8.0


ดูรายละเอียด
« ตอบ #2 เมื่อ: 08 พฤษภาคม 2553 06:15:18 »



การแบ่งธาตุ   

เกี่ยวกับเรื่องธาตุนี้ เราสามารถแบ่งธาตุออกเป็น ๒ กลุ่ม คือ ธาตุ ๔ และ ธาตุ ๖ ซึ่ง  ปิ่น มุทุกันต์  อธิบายถึงเหตุที่มีการจัดหรือแบ่งธาตุออกเป็น ๒ กลุ่มว่า 

“ธาตุที่ทรงแสดงไว้ มีอยู่สองนัย คือ ทรงแยกเป็น ๔ ธาตุ กับ ๖ ธาตุ ที่แยกเป็น ๔ ธาตุนั้นคือ ทรงชี้เฉพาะธาตุใหญ่ ๆ ที่เป็นแม่ธาตุจริง ๆ โดยทรงมุ่งหมายให้นักปฏิบัติเห็นได้ง่าย ในทำนองว่าให้ใช้เป็นเครื่องประกอบกรรมฐาน (ธาตุกัมมัฏฐาน) ส่วนที่แยกออกเป็น ๖ ธาตุ เป็นการแยกเพื่อการศึกษาชั้นละเอียดสูงขึ้นไป”  [๕]
 
ธาตุ ๔ นี้มีชื่อเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า ภูตรูป ๔ หรือมหาภูต ๔ ประกอบด้วย ธาตุดิน ธาตุน้ำ ธาตุไฟ และธาตุลม ซึ่งในภาษาบาลีมีชื่อเรียกธาตุดินว่าปฐวีธาตุ เป็นธาตุที่ตั้งของธาตุทั้งหลาย เพราะสิ่งทั้งหลายจะเป็นรูปร่างต่าง ๆ ต้องมีธาตุดินเป็นองค์ประกอบจึงจะเป็นรูปร่างได้ เรียกธาตุน้ำว่า อาโปธาตุ คือธาตุที่ทำให้เกิดการเกาะกุมจับรวมตัวเข้าด้วยกัน ทำให้มีลักษณะเอิบอาบและเคลื่อนที่หรือไหลไปมาได้ เรียกธาตุไฟว่า เตโชธาตุ เป็นธาตุที่ทำให้ร้อนหรือเย็น และทำให้เกิดการย่อย และเรียกธาตุลมว่า วาโยธาตุ เป็นธาตุที่ทำหน้าที่ค้ำจุนธาตุอื่น ทำให้สิ่งต่าง ๆ เคร่งตึง หรือสั่นไหว ซึ่งพระธรรมปิฎกได้อธิบายเพิ่มเติมเกี่ยวกับธาตุ ๔ ไว้ในพจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรมว่า



                  “ปฐวีธาตุ สภาวะที่แผ่ไปหรือกินเนื้อที่, สภาพเป็นหลักที่ตั้งที่อาศัยแห่งสหชาตรูป เรียกสามัญว่า ธาตุข้นแข็ง หรือ ธาตุดิน อาโปธาตุ สภาวะที่เอิบอาบหรือดูดซึม หรือซ่านไป ขยายขนาด ผนึก พูนเข้าด้วยกัน เรียกสามัญว่า ธาตุเหลว หรือ ธาตุน้ำ เตโชธาตุ สภาวะที่ทำให้ร้อน เรียกว่า ธาตุไฟ วาโยธาตุ สภาวะที่ทำให้สั่นไหว เคลื่อนที่ และค้ำจุน เรียกสามัญว่า ธาตุลม” [๖]

ธาตุทั้ง ๔ นี้เป็นองค์ประกอบของสรรพสิ่งต่าง ๆ ทั้งหลาย ไม่ว่าจะเป็นคน สัตว์ พืช วัตถุสิ่งของทั้งปวง ทั้งที่อยู่ในโลกและนอกโลก หรือจะกล่าวว่าในทุกสิ่งที่มีอยู่ในจักรวาลก็ได้ โดยที่ ธาตุ ๔ นี้ เป็นวัตถุพื้นฐานหรือดั้งเดิมของสิ่งทั้งหลายทั้งปวงนี้ ที่กล่าวเช่นนี้ เพราะว่าสิ่งต่าง ๆ ทั้งหลายนั้นเกิดจากธาตุทั้ง ๔ นี้ผสมกัน

ธาตุ ๖ ประกอบด้วย ธาตุดิน ธาตุน้ำ ธาตุไฟ ลม ธาตุอากาศ และธาตุวิญญาณ โดยที่ธาตุ ๔ ธาตุแรก คือธาตุดิน ธาตุน้ำ ธาตุไฟ และธาตุลม ก็เป็นเช่นเดียวกับในธาตุ ๔ นั่นเอง ธาตุอากาศซึ่งภาษาบาลีเรียกว่า อากาสธาตุ คือ ช่องว่างระหว่างธาตุดินและธาตุน้ำซึ่งเป็นที่อาศัย หรือเป็นที่เคลื่อนไปมาของวาโยธาตุ ซึ่งจริง ๆ แล้วอากาสธาตุนี้ก็มีอยู่ในธาตุ ๔ เช่นกัน แต่เนื่องจากเป็นเรื่องละเอียดเข้าใจได้ยากแก่คนทั่วไป เพราะเกรงว่าจะเป็นที่สับสนกับธาตุลม โดยธาตุลมหมายเอาอาการเคลื่อนไหวคือธาตุที่เคลื่อนไหวไปมาได้ แต่อากาศธาตุคือพื้นที่ที่เป็นช่องว่าง ด้วยเหตุนี้จึงได้นำมากล่าวถึงในธาตุ ๖ นี้ซึ่งเป็นการอธิบายให้แก่ผู้ที่บำเพ็ญสมาธิภาวนา  ส่วนวิญญาณธาตุเป็นธาตุรับรู้ที่มีอยู่เฉพาะในสิ่งมีชีวิตเท่านั้น ซึ่งจะได้อธิบายในรายละเอียดต่อไป เกี่ยวกับธาตุ ๖ นี้  พระธรรมปิฎกได้ให้คำอธิบายไว้ว่า
 
“ธาตุ ๖ ได้แก่ ธาตุ ๔ หรือมหาภูต ๔ คือปฐวีธาตุ อาโปธาตุ เตโชธาตุ และวาโยธาตุ นั้น กับเพิ่มอีก ๒ อย่าง คือ อากาสธาตุ สภาวะที่ว่าง โปร่งไป เป็นช่อง วิญญาณธาตุ สภาวะที่รู้แจ้งอารมณ์ ธาตุรู้ ได้แก่ วิญญาณธาตุ ๖ คือ จักขุวิญญาณธาตุ โสตวิญญาณธาตุ ฆานวิญญาณธาตุ ชิวหาวิญญาณธาตุ กายวิญญาณธาตุ มโนวิญญาณธาตุ” [๗]
 
          จากที่ได้อธิบายเกี่ยวกับความตกต่างและความเหมือนกัน ระหว่างธาตุทั้ง ๒ กลุ่มคือ ธาตุ ๔ กับธาตุ ๖ นี้แล้วพอจะสรุปได้ว่า ธาตุ ๔ มีอยู่ในทุกสรรพสิ่งไม่ว่าจะมีชีวิตหรือไม่ก็ตาม แต่ธาตุ ๖ จะปรากฏมีเฉพาะในสิ่งมีชีวิตเท่านั้น โดยที่สิ่งมีชีวิตในที่นี้หมายถึง มนุษย์ และสัตว์เท่านั้น ไม่ได้หมายรวมถึงต้นไม้ ทั้งนี้เพราะว่าต้นไม้แม้จะเป็นสิ่งมีชีวิต ที่สามารถมีการเจริญเติบโตเปลี่ยนรูปร่างได้ แต่ต้นไม้ไม่มีธาตุรับรู้ จึงไม่มีความรู้สึกนึกคิด เช่น มนุษย์และสัตว์ ต่อไปจะได้อธิบายธาตุต่าง ๆ โดยละเอียดต่อไป



« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 29 พฤษภาคม 2553 06:47:49 โดย เงาฝัน, เหตุผลที่แก้ไข: เพิ่มภาพค่ะ » บันทึกการเข้า
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 8.0 MS Internet Explorer 8.0


ดูรายละเอียด
« ตอบ #3 เมื่อ: 08 พฤษภาคม 2553 07:34:59 »



ลักษณะและคุณสมบัติของธาตุ

          จากที่ได้อธิบายมาแล้วว่า ธาตุ ๔ และธาตุ ๖ ประกอบด้วยธาตุอะไรบ้าง ต่อจากนี้จะได้อธิบายถึงลักษณะและคุณสมบัติของธาตุเหล่านี้ แต่เนื่องจากธาตุ ๔ ธาตุแรกในธาตุ ๖ ก็คือธาตุทั้ง ๔ ชนิดในธาตุ ๔ ดังที่ได้กล่าวมาแล้ว ดังนั้นในที่นี้จะได้อธิบาย ธาตุทั้ง ๖ ไปในคราวเดียวกันดังต่อไปนี้

 

ปฐวีธาตุ คือ ธาตุดิน ธาตุดินในที่นี้ไม่ได้หมายถึง ดินทั่วๆไปอย่างที่เราคุ้นเคยและเรียกกันติดปากอย่าง ดินร่วน ดินเหนียว ดินทราย ตามท้องไร่ท้องนา หรือดินในบริเวณที่อยู่อาศัยอะไรอย่างนั้น แต่ธาตุดินในที่นี้หมายถึง ธาตุที่มีลักษณะแข็ง หรือทำให้สิ่งต่าง ๆ มีลักษณะแข็ง โดยเมื่อนำไปเทียบกับธาตุที่เหลืออีก ๓ ธาตุแล้ว ธาตุดินจะมีลักษณะแข็ง และมีคุณสมบัติทำให้แข็ง เมื่อวัตถุสิ่งหนึ่งสิ่งใดมีปฐวีธาตุเป็นองค์ประกอบหลัก คือมีความเข้มข้นหรืออัตราส่วนที่มากกว่าธาตุอื่นอีก ๓ ธาตุ จะทำให้วัตถุสิ่งของนั้น มีลักษณะแข็งปรากฏขึ้น เช่นการที่เหล็ก หิน ไม้ เป็นต้น มีลักษณะแข็งเป็นเพราะว่า มีธาตุดินในอัตราส่วนที่มากกว่าธาตุอื่น ในขณะเดียวกัน ถ้าวัตถุสิ่งใด ๆ ก็ตาม มีองค์ประกอบเป็นธาตุดินในปริมาณน้อย หรือมีอัตราส่วนที่น้อยกว่าธาตุอื่น  ลักษณะแข็งที่ปรากฏในวัตถุสิ่งของนั้นก็ปรากฏไม่มาก แต่จะมีลักษณะอ่อน ความแข็งความอ่อนของวัตถุสิ่งของทั้งปวงจึงขึ้นอยู่กับปริมาณของของปฐวีธาตุที่เป็นองค์ประกอบของสิ่งนั้น ๆ และปฐวีธาตุนี้เท่านั้นที่ทำให้สิ่งต่าง ๆ แข็งหรืออ่อน โดยที่ธาตุอื่นไม่มีคุณสมบัติเช่นนี้

          ธาตุดินหรือปฐวีธาตุนี้ มีทั้งที่อยู่ภายในร่างกาย และที่อยู่ภายนอกร่างกาย โดยปฐวีธาตุภายในร่างกาย คือ อวัยวะและสิ่งต่าง ๆ ในร่างกายเราที่มีลักษณะแข็ง หรือรวมตัวกันเป็นก้อนจนสามารถกำหนดได้ ซึ่งได้แก่ อวัยวะน้อยใหญ่ คือ ผม ขนเล็บ ฟัน หนัง เนื้อ เอ็น กระดูก เยื่อในกระดูก ม้าม หัวใจ ตับ พังพืด ไต ปอด ไส้ใหญ่ ไส้น้อย อาหารใหม่ อาหารเก่า หรือสิ่งอื่นๆที่มีลักษณะแน่่นแข็ง


          ส่วนปฐวีธาตุภายนอก คือ สิ่งต่าง ๆ ที่เป็นของแข็งหรือมีลักษณะแข็ง กระด้าง ได้แก่ วัตถุ สิ่งของ ทั้งปวง เป็นต้นว่า บ้าน รถยนต์ เรือ สิ่งของเครื่องใช้ต่าง ๆ ตลอดจนสรรพสิ่งทั้งหลาย

ปฐวีธาตุนี้ เป็นที่ตั้งที่อาศัยของธาตุอื่นและสรรพสิ่งทั้งหลาย ถ้าปราศจากปฐวีธาตุแล้วสิ่งอื่นไม่สามารถดำรงอยู่ได้ เปรียบเหมือนสิ่งต่าง ๆ ดำรงอยู่ได้เพราะอาศัยแผ่นดินรองรับ ถ้าปราศแผ่นดิน สิ่งต่างๆ ก็ตั้งอยู่ไม่ได้ หรือเปรียบปฐวีธาตุเป็นเช่นกับแก้ว ส่วนธาตุอื่นเปรียบเสมือนน้ำ ตามธรรมชาติของน้ำไม่สามารถคงรูปได้ แต่เมื่อเรานำน้ำมาใส่ในแก้วที่มีรูปทรงต่าง ๆ ทำให้น้ำสามารถคงรูปเป็นลักษณะต่าง ๆ ได้เพราะอาศัยแก้ว ทำนองเดียวกันที่เราเห็นเป็นสิ่งต่าง ๆ เพราะว่าสิ่งทั้งหลายเหล่านั้นอาศัยปฐวีธาตุ หรือธาตุดินจึงมีรูปร่างต่าง ๆ นา ๆ


« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 29 พฤษภาคม 2553 06:58:03 โดย เงาฝัน, เหตุผลที่แก้ไข: เพิ่มภาพค่ะ » บันทึกการเข้า
sometime
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #4 เมื่อ: 08 พฤษภาคม 2553 08:26:28 »


ยิ้ม ยิ้ม ยิ้ม

บันทึกการเข้า
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 8.0 MS Internet Explorer 8.0


ดูรายละเอียด
« ตอบ #5 เมื่อ: 13 พฤษภาคม 2553 12:25:19 »




อาโปธาตุ


อาโปธาตุ คือ ธาตุน้ำ เช่นเดียวกัน ธาตุน้ำในที่นี้ก็ไม่ได้จำเพราะเจาะจงว่าเป็นน้ำตามแหล่งน้ำต่าง ๆ ที่เรารู้จัก ไม่ว่าจะเป็นน้ำจืด น้ำกร่อย น้ำเค็ม น้ำบาดาล หรือน้ำในทะเล แต่ธาตุน้ำในที่นี้ หมายถึง สิ่งที่มีลักษณะไหลหรือเกาะกุมรวมตัวได้ และมีคุณสมบัติทำให้วัตถุหรือสิ่งต่าง ๆ เกาะกุมรวมตัวเข้าเป็นกลุ่มก้อน หรือไหลได้ โดยที่ธาตุน้ำนี้ ถ้ามีอยู่เป็นจำนวนมากในวัตถุสิ่งใด ๆ ก็ตาม จะทำให้สิ่งของเหล่านั้นเหลวและไหลไปได้ แต่ถ้ามีจำนวนน้อยจะทำให้วัตถุสิ่งของต่าง ๆ เกาะกุมกันเป็นกลุ่มก้อน อุปมาเหมือนยางเหนียว ที่สามารถเชื่อมประสานวัตถุสิ่งของให้ติดกันเป็นกลุ่มเป็นก้อนได้

          หากว่าในวัตถุใดมีจำนวนธาตุน้ำมากกว่าธาตุดิน อำนาจของธาตุน้ำจะทำให้ธาตุดินมีอำนาจน้อยลง จึงเป็นเหตุให้วัตถุนั้นอ่อนเหลวและสามารถไหลไปมาได้ดังเช่นน้ำ ที่น้ำไหลไปมาได้เพราะว่ามีธาตุน้ำมาก ธาตุดินน้อย เมื่อธาตุดินน้อยจึงถูกอำนาจของธาตุน้ำทำให้ธาตุแข็งซึ่งปกติมีลักษณะแข็งไหลไปมาได้ แต่หากว่าธาตุน้ำมีจำนวนน้อยกว่าธาตุดิน อำนาจของธาตุน้ำจะทำให้ปรมาณูธาตุดินเกาะกุมกันเป็นกลุ่มเป็นก้อน เหมือนกับการประพรมน้ำลงไปบนผงแป้งหรือผงฝุ่น ทำให้ผงแป้งหรือผงฝุ่นจับตัวกันเป็นก้อนได้

          อาโปธาตุหรือธาตุน้ำนี้ มีทั้งที่อยู่ภายในร่างกายของสิ่งมีชีวิตและที่อยู่ภายนอก ธาตุน้ำที่อยู่ภายในร่างกาย คือ ส่วนต่าง ๆ ภายในร่างกายที่มีลักษณะเอิบอาบ ซึมซาบ ไหลได้ ได้แก่ ดี เสลด น้ำเหลือง เลือด เหงื่อ มันข้น น้ำตา เปลวมัน น้ำลาย น้ำมูก ไขข้อ มูตร และสิ่งอื่น ๆ ที่มีลักษณะเอิบอาบ ซึมซาบไป

ส่วนธาตุน้ำที่อยู่ภายนอก คือ สิ่งต่าง ๆ ภายนอกร่างกายที่มีลักษณะเอิบอาบ เหนียว   เกาะกุม ได้แก่ รสที่มีอยู่ในส่วนต่าง ๆ ของพืชผักและผลไม้ สิ่งต่าง ๆ นมสด นมส้ม เนยใส เนยข้น น้ำที่อยู่ในพื้นดิน น้ำที่อยู่ในอากาศ  ฯลฯ


« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 04 มิถุนายน 2553 10:26:49 โดย เงาฝัน, เหตุผลที่แก้ไข: เปลี่ยนภาพค่ะ » บันทึกการเข้า
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
Firefox 2.0.0.20 Firefox 2.0.0.20


ดูรายละเอียด
« ตอบ #6 เมื่อ: 29 พฤษภาคม 2553 12:44:52 »





เตโชธาตุ

    เตโชธาตุ คือ ธาตุไฟ มีลักษณะร้อนและเย็น ลักษณะร้อนชื่อว่า อุณหเตโช ลักษณะเย็นชื่อว่า สีตเตโช  เตโชธาตุทั้ง ๒ ชนิดมีสภาวลักษณะเป็นไอ โดยอุณหเตโช มีไอร้อนเป็นลักษณะ และสีตเตโช มีไอเย็นเป็นลักษณะ ซึ่งเตโชธาตุทั้ง ๒ ชนิด มีหน้าที่ทำให้วัตถุต่าง ๆ สุก และละเอียดนุ่มนวล ดังจะเห็นได้จาก เมื่อวัตถุต่าง ๆ ส่วนมาก เช่น อาหาร ทำให้สุกด้วยความร้อน แต่อาหารบางอย่างก็ทำให้สุกด้วยความเย็นได้เหมือนกัน

เตโชธาตุหรือธาตุไฟ มีทั้งที่อยู่ภายในและภายนอกร่างกาย โดยธาตุไฟภายในร่างกาย คือ ธาตุที่เป็นเครื่องยังกายให้อบอุ่น ยังกายให้ทรุดโทรม ยังกายให้กระวนกระวาย และธาตุที่เป็นเหตุให้ของที่บริโภคเข้าไปย่อยได้ด้วยดี และรวมทั้งสิ่งอื่น ๆ ที่อบอุ่น ถึงความเร่าร้อน



ธาตุไฟภายนอก คือ ความร้อน ความอุ่น ความอบอุ่นภายนอกได้แก่ ไฟจากการเผาไหม้วัสดุต่าง ๆ ไฟจากฟ้าผ่า ความร้อนแห่งไฟ ความร้อนแห่งดวงอาทิตย์  ความร้อนในกองวัสดุต่าง ๆ เช่น กองฟืน กองหญ้า กองข้าวเปลือก กองขี้เถ้า ฯลฯ


ธาตุไฟ มี ๕ ชนิดด้วยกัน คือ

อุสฺมาเตโช         คือ เตโชธาตุที่มีประจำอยู่ในร่างกายของสัตว์ทั้งหลาย ซึ่งได้แก่ไออุ่นร่างกาย

สนฺตปฺปนเตโช    คือ เตโชธาตุทีมีความร้อนมาก

ทหนเตโช          คือ เตโชธาตุที่มีความร้อนสูงจัด สามารถเผาผลาญร่างกายให้วิปริต   ไปได้

ชิรณเตโช          คือ  เตโชธาตุที่ทำให้ร่างกายทรุดโทรมแก่ลง

ปาจกเตโช         คือ เตโชธาตุที่ทำหน้าที่ย่อยอาหาร

                                 

ในเตโชธาตุทั้ง ๕ ชนิดนี้ ที่มีอยู่ในร่างกายสิ่งมีชีวิต คือ อุสฺมาเตโช กับ ปาจกเตโช สำหรับ สนฺตปฺปนเตโช  ทหนเตโช และชิรณเตโช จะไม่อยู่ประจำในร่างกาย แต่ปรากฏขึ้นเนื่องจาก อุสฺมาเตโช มีอาการวิปริตไป เช่น การที่เป็นไข้ตัวร้อน เกิดจาก อุสฺมาเตโช เปลี่ยนสภาพไปเป็น สนฺตปฺปนเตโช  หรือถ้ามีไข้สูงตัวร้อนจัดจนเพ้อคลั่ง เป็นเพราะ อุสฺมาเตโช มีสภาพวิปริตมากขึ้น จากสนฺตปฺปนเตโช กลายเป็น ทหนเตโช และสำหรับผู้ที่มีโรคภัยเบียดเบียนอยู่เสมอ หรือผู้ที่ล่วงเข้าปัจฉิมวัย อุสฺมาเตโช จะเปลี่ยนสภาพเป็น ชิรณเตโช ทำให้ปรากฏอาการทรุดโทรมของร่างกายเกิดขึ้น เช่น ผมหงอก ฟันหัก ตามัว เนื้อหนังเหี่ยว เป็นต้น


บันทึกการเข้า
หมีงงในพงหญ้า
ยืนงงในดงตีน
ผู้ก่อตั้งเวบฯ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +62/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
United Kingdom United Kingdom

กระทู้: 7866


• Big Bear •

ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 8.0 MS Internet Explorer 8.0


ไม่มี ไม่ใช้ ไม่รู้
ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #7 เมื่อ: 29 พฤษภาคม 2553 14:05:41 »

สาธุ

ฐาตุต่าง ๆ ถ้าใครสวดยอดพระกัณฑ์ไตรปิฏกต้องคุ้นหูแน่

บันทึกการเข้า

B l a c k B e a r : T h e D i a r y
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
Firefox 7.0.1 Firefox 7.0.1


ดูรายละเอียด
« ตอบ #8 เมื่อ: 03 พฤศจิกายน 2554 16:47:45 »




วาโยธาตุ คือ ธาตุลม มีลักษณะเคร่งตึงและเคลื่อนไหว โดยธาตุลมที่มีลักษณะเคร่งตึงเรียกว่า วิตถัมภนวาโย เป็นวาโยธาตุที่ทำให้สิ่งต่าง ๆ ที่เกิดพร้อมกับตัววาโยธาตุเองตั้งมั่น ไม่ให้คลอนแคลนเคลื่อนไหวไปได้ ในร่างกายของคนเรา ถ้าวิตถมภนวาโยปรากฏขึ้นในผู้ใดเข้า จะทำให้ผู้นั้นรู้สึก ตึง เมื่อย ปวด ตามร่างกาย หรือขณะที่มีการเกร็งตามส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย หรือเพ่งตาเป็นเวลานาน ๆ โดยไม่กระพริบตา จะทำให้วิตถัมภนวาโยปรากฏขึ้นโดยการกระทำของผู้นั้นเอง แต่สำหรับกรณีที่เกิดขึ้นในภายนอกนั้น วัตถุสิ่งของต่าง ๆ ที่ตั้งอยู่ได้อย่างมั่นคง หรือทำให้ตึงขึ้นก็เป็นเพราะวาโยธาตุลักษณะนี้เช่นกัน เช่น ลูกบอลที่ลูกอัดลมเข้าไปภายใน การที่ลูกบอลตึงขึ้นก็เพราะวาโยที่เป็นวิตถัมภนวาโย

          ส่วนธาตุลมที่มีลักษณะเคลื่อนไหวเรียกว่า สมีรณวาโย ๆ นี้ทำให้รูปที่เกิดพร้อมกันกับตนเคลื่อนไหวไปมาได้ เช่น สัตว์ทั้งหลายที่เคลื่อนไหวอิริยาบทต่างๆได้ หรือกระพริบตา กลอกตา กระดิกมือ กระดิกเท้า การถ่ายเทสิ่งโสโครกออกจากร่างกาย การคลอดบุตรต่าง ๆ เหล่านี้ เป็นด้วยอำนาจสมีรณวาโยทั้งสิ้น ส่วนสมีรณวาโยที่อยู่ภายนอกสัตว์นั้น ทำให้วัตถุสิ่งต่าง ๆ เคลื่อนจากที่เดิมไปได้

          วาโยธาตุหรือธาตุลม มีทั้งที่อยู่ภายในและภายนอกร่างกาย ธาตุลมที่อยู่ภายในร่างกาย คือสิ่งที่มีลักษณะพัดผันไปในร่างกาย ได้แก่ ลมพัดขึ้นเบื้องบน ลมพัดลงเบื้องต่ำ ลมในท้อง ลมในลำไส้ ลมแล่นไปตามอวัยวะน้อยใหญ่ ลมหายใจออก ลมหายใจเข้า และสิ่งอื่น ๆ ที่พัดผันในร่างกาย

          ธาตุลมภายนอก คือ ความพัดไปมา ความเคร่งตึงของวัตถุสิ่งของต่าง ๆ ได้แก่ ลมในลักษณะต่าง ๆ เช่น ลมตะวันตก ลมตะวันออก ลมเหนือ ลมใต้ ลมมีฝุ่นละออง ลมไม่มีฝุ่นละออง ลมหนาว ลมร้อน ลมจากการกระพือปีก ฯลฯ


          อากาสธาตุ หรือ ธาตุอากาศ คือ ช่องว่าง ที่ว่าง ความว่างเปล่า สถานที่ที่ไม่มีปฐวีธาตุ  อาโปธาตุ เตโชธาตุ วาโยธาตุ หรือช่องว่างที่อยู่ระหว่างธาตุต่าง ๆ ซึ่งอากาสธาตุนี้มีทั้ง อากาสธาตุที่อยู่ภายในและภายนอกร่างกาย

อากาสธาตุภายใน คือ ช่องว่างต่าง ๆ ที่อยู่ในร่างกาย ซึ่งเป็นที่เนื้อและเลือดไม่ถูกต้อง ได้แก่ ช่องหู ช่องจมูก ช่องปาก ช่องทางเดินอาหาร ช่องว่างในกระเพาะอาหาร และช่องทางขับถ่ายอาหารออกจากร่างกาย หรือ ความว่างเปล่า ช่องว่าง  อื่น ๆ ที่อยู่ภายในร่างกาย

          อากาสธาตุภายนอก คือ ความว่างเปล่า ช่องว่าง ต่าง ๆ ที่มหาภูตรูป ๔ คือ ธาตุดิน ธาตุน้ำ ธาตุไฟ ธาตุลม ไม่สัมผัสถูกต้องที่อยู่ภายนอกร่างก่าย

                 

          วิญญาณธาตุ  คือ ธาตุรู้ วิญญาณธาตุนี้เมื่อเข้าไปอยู่ในธาตุทั้ง ๕ จะทำให้สิ่งนั้นมีชีวิต แต่โดยปกติแล้ว จะมีเฉพาะในคนและสัตว์เท่านั้น และมีอยู่ขณะที่ยังมีชีวิตอยู่เท่านั้น  (ดังนั้นเมื่อมนุษย์และสัตว์ตายแล้ว คงเหลือเพียงธาตุ ๕ หรือมหาภูตรูปเท่านั้น ส่วนวิญญาณธาตุจะหายไป ร่างกายของมนุษย์ที่ตายแล้ว จึงไม่ต่างจากสรรพสิ่งทั้งปวง)

วิญญาณธาตุนี้  ทำหน้าที่รู้ จึงทำให้บุคคลรู้สิ่งต่าง ๆ ได้ คือรู้ว่าอะไรเป็นอะไร รู้ว่าสุขบ้าง ทุกข์บ้าง ไม่ทุกข์ไม่สุขบ้าง การที่เรารู้เรื่องราวต่าง ๆ หรือมีความรู้สึกนึกคิดต่าง ๆ ก็เพราะเรามีวิญญาณธาตุนั่นเอง โดยรู้นี้รู้ด้วยวิญญาณธาตุทั้ง ๖ ซึ่งประกอบด้วย จักขุวิญญาณธาตุ ธาตุรู้ทางตา โสตวิญญาณธาตุ ธาตุรู้ทางหู ฆานวิญญาณธาตุ ธาตุรู้ทางจมูก ชีวหาวิญญาณธาตุ ธาตุรู้ทางลิ้น กายวิญญาณธาตุ ธาตุรู้ทางกาย มโนวิญญาณธาตุ ธาตุรับรู้ทางใจ

โดยเมื่อเราได้รับสิ่งต่าง ๆ ภายนอกผ่านช่องทางการรับรู้ต่าง ๆ คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ก็จะเกิดกระบวนการรับรู้ขึ้นด้วยการทำงานของวิญญาณธาตุ ซึ่งเราจะเข้าใจเรื่องราวเหล่านี้ได้ก็ต่อเมื่อ ได้ศึกษาและลงมือปฏิบัติสมาธิ

บันทึกการเข้า
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
Firefox 7.0.1 Firefox 7.0.1


ดูรายละเอียด
« ตอบ #9 เมื่อ: 03 พฤศจิกายน 2554 16:59:36 »




วัตถุประสงค์ของการศึกษาเรื่องธาตุ

          เหตุที่ต้องศึกษาเรื่องธาตุนี้ เพื่อจะได้ทำให้เราเข้าใจว่า สิ่งต่าง ๆ ทั้งหลาย ทั้งที่มีอยู่ในโลกและนอกโลก ไม่ว่าจะเป็นสิ่งมีชีวิตหรือไม่ก็ตาม ล้วนเกิดจากการที่ธาตุทั้งหลายมารวมตัวกันด้วยสัดส่วนที่แตกต่างกันไป จึงเกิดเป็นสิ่งต่าง ๆ มากมายหลากหลายชนิด และมีอายุจำกัด เนื่องจากคงสภาพได้ในช่วงระยะเวลาหนึ่ง เมื่อถึงคราวธาตุต่าง ๆ เหล่านี้ ก็ต้องแตกแยกกระจัดกระจายออกจากกัน ไม่สามารถคงทนถาวรอยู่ได้

ดังนั้นเราจึงไม่ควรยึดมั่นถือมั่นในสิ่งใด ๆ เลย     ไม่ว่าสิ่งนั้นจะมีคุณสมบัติหรือลักษณะใด ๆ ก็ตาม เพราะแม้ว่าเราจะจะมีสิ่งที่ชื่นชมพออกพอใจเพียงใด แต่เราก็ไม่สามารถที่จะรักษาและครอบครองสิ่งนั้นได้ตลอดไป เมื่อถึงเวลาสิ่งเหล่านั้นก็เสื่อมสลายแปรสภาพกลับกลายเป็นธาตุ ๔ ซึ่งเป็นส่วนประกอบดั้งเดิมของสิ่งของทั้งหลายทั้งปวง การยึดมั่นถือมั่นในสิ่งทั้งปวงรังแต่นำมาซึ่งความทุกข์ ความเศร้าโศกเสียใจ และเป็นเหตุแห่งความขัดแย้ง เกิดการแก่งแย่งแข็งขัน เบียดเบียนกันและกัน และไม่สามารถหลุดพ้นจากวงเวียนแห่งทุกข์ได้

การที่โลกของเราสับสนวุ่นวายอยู่ทุกวันนี้ ก็เพราะว่าชาวโลกไม่มีความเข้าใจเรื่องธาตุเลย จึงทำให้ไม่มีความรู้และเข้าใจ ในความเป็นจริงว่าทุกสิ่งไม่มีอะไรเที่ยงแท้แน่นอน ต่างก็เกิดขึ้น ตั้งอยู่ และเสื่อมสลายไปในที่สุด ด้วยเหตุนี้เอง ชาวโลกจึงต่างก็อ้างความเป็นเจ้าของในสิ่งต่าง ๆ เกิดความเห็นแก่ตัว มีการเอารัดเอาเปรียบกันขึ้นในสังคม ที่ร้ายไปกว่านั้นเกิดการรบราฆ่าฟัน กลายเป็นสงครามในหลายภูมิภาคทั่วโลก นำมาซึ่งความเสียหายของชีวิตและทรัพย์สิน

หากว่าชาวโลกได้ศึกษาในเรื่องธาตุนี้ ก็จะเข้าใจได้ว่าสิ่งต่าง ๆ ไม่มีอะไรเที่ยงแท้แน่นอน จึงไม่ควรจะยึดมั่นถือมั่น เพระแม้แต่ตัวเราเองก็ไม่ได้อยู่ค้ำฟ้า ไม่ว่าจะยิ่งใหญ่หรือร่ำรวยสักปานใด สักวันหนึ่งทุกคนก็ต้องตาย ต้องจากโลกนี้ไปโดยที่ไม่มีใครนำสิ่งใดติดตัวไปได้เลย เมื่อทุกคนรู้อย่างนี้ ก็จะไม่เกิดการเอารัดเอาเปรียบ ดูถูกเหยียดหยาม แก่งแย่งแข่งขันและทำร้ายกันและกัน แต่จะมีน้ำใจเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่กัน เข้าอกเข้าใจกัน เพราะต่างก็รู้ว่าแต่ละคนก็มีทุกข์ด้วยกันทั้งสิ้น

ที่สำคัญที่สุด จะทำให้เราเห็นว่าโลกนี้เต็มไปด้วยความทุกข์ ตราบใดที่เรายังต้องเวียนว่ายตายเกิดอยู่ เราก็ยังต้องเผชิญหน้ากับทุกข์อย่างไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ ดังนั้นเมื่อทราบว่าโลกนี้มีแต่ทุกข์ ไม่มีสิ่งใดมั่นคงที่เราจะยึดมั่นถือมั่นได้เลย เราก็ควรปล่อยวางทุกสิ่ง และควรหาทางที่จะทำให้ไม่ต้องเวียนว่ายตายเกิด ด้วยการสั่งสมบุญกุศลให้มากจนกระทั่ง เกิดความบริสุทธิ์บริบูรณ์หมดกิเลสไม่ต้องกลับมาเกิดอีกในที่สุด

          อีกประการหนึ่ง เมื่อเราศึกษาเรื่องธาตุแล้ว ก็จะทำให้เราทราบว่า ธาตุสามารถเปลี่ยนแปลงได้ โดยเฉพาะในสิ่งมีชีวิต ความเปลี่ยนแปลงของธาตุ ทำให้คุณลักษณะและคุณสมบัติของธาตุเปลี่ยนแปลงไปด้วย โดยหากว่าธาตุในสิ่งมีชีวิตใดมีสภาพที่ไม่บริสุทธิ์ คือหย่อนสมรรถภาพ ก็จะทำให้สิ่งมีชีวิตนั้น มีคุณสมบัติหย่อนตามไปด้วย แต่หากว่าธาตุในตัวของสิ่งมีชีวิตใด มีความบริสุทธิ์มาก ลักษณะและคุณสมบัติในตัวของบุคคลนั้นก็จะดีไปด้วย ดังนั้นการที่จะเปลี่ยนแปลงสิ่งต่าง ๆ สามารถเปลี่ยนได้โดยการเปลี่ยนแปลงธาตุที่มีอยู่ในตัว ซึ่งจะได้กล่าวถึงต่อไป

บันทึกการเข้า
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
Firefox 7.0.1 Firefox 7.0.1


ดูรายละเอียด
« ตอบ #10 เมื่อ: 03 พฤศจิกายน 2554 17:09:14 »



สัดส่วนของธาตุนำมาซึ่งความแตกต่าง 

          จากเนื้อหาที่ผ่านมาในบทเรียนนี้ทำให้เราทราบว่า ธาตุคืออะไร มีลักษณะอย่างไร และทราบว่า มนุษย์และสัตว์เท่านั้น ที่มี ธาตุครบทั้ง ๖ คือมีวิญญาณธาตุ ในขณะที่สิ่งอื่นมีเพียง ๕ ธาตุ หรือเรียกรวม ๆ ว่า มหาภูตรูปเท่านั้น แต่มีข้อน่าสังเกตว่า แล้วเหตุใดมนุษย์กับสัตว์ซึ่งมีองค์ประกอบ คือ ธาตุ ๖ ครบด้วยกันทั้งสิ้น จึงมีลักษณะแตกต่างกันในทุกด้าน หรือแม้แต่มนุษย์ด้วยกันเองก็ยังมีข้อแตกต่างกัน

          เหตุที่ทำให้สิ่งที่มีธาตุครบทั้ง ๖ ธาตุเหมือนกัน แต่มีสภาพแตกต่างกันนั้น เป็นเพราะว่า แม้จะมีธาตุทั้ง ๖ ครบเหมือนกัน แต่ทว่าสัดส่วนของธาตุแต่ละชนิดมีไม่เท่ากัน หรือความบริสุทธิ์ของธาตุต่างกัน สิ่งที่มีองค์ประกอบต่างกันทั้งในด้านสัดส่วน หรือในด้านคุณสมบัติหรือความบริสุทธิ์ ลักษณะย่อมปรากฏออกมาแตกต่างกันเสมอ ยกตัวอย่าง เพชรกับหิน มีคุณสมบัติและลักษณะที่แตกต่างกันอย่างเห็นได้ชัดเจน ทั้งนี้เป็นเพราะว่า เพชรกับหินมีสัดส่วนและความบริสุทธิ์ของธาตุที่เป็นองค์ประกอบต่างกัน

เช่นเดียวกัน ในสิ่งมีชีวิต เช่น มนุษย์ แม้ว่าจะเป็นมนุษย์หรือ เป็นคนเหมือนกัน เกิดในประเทศเดียวกัน หรือแม้กระทั่งเป็นลูกพ่อแม่คนเดียวกันที่คลานตามกันออกมา ถึงอย่างนั้นก็ยังมีความแตกต่างกันอยู่นั้นเอง ทั้งนี้เป็นเพราะว่า ธาตุในตัวของแต่ละคนบริสุทธิ์ไม่เท่ากัน ซึ่งเปรียบได้กับ เหมือนการผสมปูนซีเมนต์เพื่อเอามาปั้นเป็นรูป ถ้าส่วนผสมไม่สะอาดมีสิ่งปลอมปนเข้าไป ก็จะทำให้คุณภาพปูนหย่อนไม่แข็งแรงเท่าที่ควรจะเป็น แต่หากว่านำส่วนผสมแต่ละชนิดไปทำความสะอาดก่อนจะนำมาผสมเข้าด้วยกัน ก็จะทำให้ปูนที่นำมาปั้นมีความแข็งแรงขึ้น

          เช่นเดียวกันกับธาตุในสิ่งมีชีวิต ถ้ามีความบริสุทธิ์ต่างกัน ก็ทำให้เกิดความแตกต่างกันตามมา โดยความบริสุทธิ์ของธาตุในตัวนั้นขึ้นกับศีลธรรมที่มีอยู่ในบุคคลนั้น ถ้ามีศีลธรรมมาก ธาตุในตัวก็บริสุทธิ์มาก ทั้งนี้เป็นเพราะว่า ปกติทั้งมนุษย์และสัตว์ต่างก็มีสิ่งที่ทำให้ธาตุในตัวไม่บริสุทธิ์ ได้แก่ ความโลภ ความโกรธ และความหลง การที่บุคคลใดมีศีลธรรมมาก ก็ทำให้ธาตุในตัวบริสุทธิ์มาก เพราะว่าศีลธรรมจะช่วยชำระ ความโลภ ความโกรธ ความหลง ให้เจือจางและหมดไปในที่สุด

ในการที่มีธาตุบริสุทธิ์นี้ จะแสดงออกมาในลักษณะต่าง ๆ เป็นต้นว่า มีสติปัญญาดี เฉลียวฉลาด  สุขภาพร่างกายแข็งแรง รูปร่างงดงาม ผิวพรรณผ่องใส เมื่อจะคิด พูด ทำ สิ่งใด ๆ ก็คิด พูด ทำแต่สิ่งดี ๆ ซึ่งตรงกันข้ามกับผู้ที่มีธาตุในตัวสกปรก ก็จะมีสติปัญญา สุขภาพร่างกายอ่อนแอ รูปร่างไม่งดงาม เมื่อจะคิด พูด ทำสิ่งใด ก็ทำในสิ่งที่ไม่ดีไม่เกิดประโยชน์ และนำมาสู่ความเสียหาย ความเดือดร้อนทั้งต่อตนเองและผู้อื่น

ดังนั้นการที่มนุษย์และสัตว์แตกต่างกันก็เพราะว่า มีความโลภ ความโกรธ ความหลง แตกต่างกันนั่นเอง อย่างไรก็ดี ธาตุในตัว สามารถเปลี่ยนแปลงได้ด้วยศีลธรรม คือ การรักษาศีล และเจริญภาวนา เมื่อหมั่นทำเป็นประจำก็จะทำให้ธาตุในตัวบริสุทธิ์ขึ้นได้ ขณะเดียวกัน ถ้าหากไม่อยู่ในศีลธรรม ธาตุที่เคยบริสุทธิ์ก็อาจมัวหมองลงได้เช่นกัน

บันทึกการเข้า
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
Firefox 7.0.1 Firefox 7.0.1


ดูรายละเอียด
« ตอบ #11 เมื่อ: 03 พฤศจิกายน 2554 17:23:31 »




ธาตุเปลี่ยนแปลงได้

          จากที่ได้ศึกษามานี้จะเห็นว่า ความแตกต่างที่มีในสิ่งทั้งหลายทั้งปวงนั้น เป็นผลมาจากความแตกต่างกันของสัดส่วนและความบริสุทธิ์ของธาตุ ที่มาประกอบกันขึ้นเป็นสิ่งเหล่านั้น และเรายังทราบอีกด้วยว่าความบริสุทธิ์ของธาตุ ขึ้นอยู่กับกิเลส มีความโลภ ความโกรธ ความหลง อยู่ในใจมากน้อยเพียงใด ถ้ามีความโลภ ความโกรธ ความหลงในใจมาก ความบริสุทธิ์ของธาตุก็มีน้อยกลายเป็นธาตุสกปรก แต่ถ้าหากว่าความโกรธ ความโลภ ความหลง มีน้อยธาตุก็บริสุทธิ์มากเป็นธาตุที่สะอาด

          ความบริสุทธิ์มากน้อย หรือความสะอาดความสกปรกของธาตุนี้เองที่ทำให้สิ่งต่าง ๆ แตกต่างกัน จะขอยกตัวอย่างเพื่อให้เข้าใจได้ง่ายขึ้น สมมุติว่า มีคนปกติธรรมดาอย่างเรา ๆ นี่แหละที่มีหน้าที่การงาน มีรายได้เลี้ยงปากเลี้ยงท้องไม่ต้องลำบากลำบนอะไร มีสติปัญญา จะเล่าเรียนเขียนอ่านสิ่งใด ก็เข้าใจได้ง่ายจดจำได้เป็นอย่างดี ทั้งนี้เป็นเพราะว่าธาตุในตัวของคน ๆ นั้นมีความสะอาดบริสุทธิ์ในระดับหนึ่งทีเดียว แต่หากว่า คน ๆ นั้น ถูกความโลภ ความโกรธ ความหลงเข้าครอบงำจิตใจแล้ว สติปัญญาความสามารถต่าง ๆ ก็พลอยมีประสิทธิภาพถดถอยลดน้อยลงไป

ซึ่งเราลองสังเกตตัวเราเองก็ได้ เช่นในเวลาที่เราโกรธ เราจะคิดอะไรไม่ค่อยจะออกเอาเสียเลย แม้ว่าปกติเราจะเป็นคนฉลาด คิดอะไรได้รวดเร็วและถูกต้องแม่นยำเสมอ แต่เมื่อทันทีที่ถูกความโกรธครอบงำ เรากลับนึกอะไรไม่ออก นึกได้เพียงความคิดที่จะทำลาย คิดที่จะเบียดเบียนผู้อื่น หรือในยามที่เราดื่มกินของมึนเมาเข้าไปในร่างกาย จากที่เคยมีบุคลิกภาพที่สง่างาม ก็กลับกายเป็นเดินโซซัดโซเซ ไม่ตรงทาง ใครพูดอะไรก็ฟังไม่ค่อยจะรู้เรื่อง เมื่อพูดเองก็ยากที่จะสื่อสารให้คนอื่นเข้าใจได้

ในทางกลับกัน จากคนปกติธรรมดาเหมือนกัน หากว่าได้ทำให้ธาตุในตัวมีความบริสุทธิ์มากขึ้น ประสิทธิภาพในตัวก็จะมากขึ้นตามไปด้วย ยกตัวอย่างง่าย ๆ หากว่าเราพักผ่อนอย่างเพียงพอ ไม่มีอาการป่วยไข้ มีสมองที่ปลอดโปร่ง อารมณ์ก็แสนจะเบิกบาน เราก็จะสังเกตได้ทันทีว่า จะทำอะไรดูเหมือนมันง่าย มันสะดวกมันราบรื่นไม่มีอุปสรรคเอาซะเลย

ยิ่งไปกว่านั้นถ้าธาตุในตัวเราบริสุทธิ์มากขึ้นไป คุณสมบัติก็จะมากขึ้นตามไปด้วย หลายท่านคงจะเคยเห็น หรือย่างน้อยก็เคยได้ยินไดฟัง เรื่องราวเกี่ยวกับพระธาตุของพระอาจารย์นักปฏิบัติวิปัสสนาทั้งหลาย หรือพระธาตุของพระอรหันต์องค์ต่าง ๆ สิ่งเหล่านี้ คือสิ่งที่ยืนยันว่า ธาตุต่าง ๆ โดยเฉพาะที่อยู่ในร่างกายมนุษย์ สามารถเปลี่ยนแปลงและทำให้บริสุทธิ์ได้

ดูอย่างพระอรหันต์หรือพระอาจารย์ท่านต่าง ๆ ท่านก็เป็นคนธรรมดาเดินดินอย่างเรา ๆ แล้วเหตุใด เมื่อท่านละสังขารมีการเผาสรีระร่างกายของท่านไปแล้ว กลับปรากฏเหลือเป็นพระธาตุลักษณะคล้ายหินแต่ว่า ใสและเลื่อมเป็นมันวาว ในขณะที่เผาคนธรรมดาทั่วไปอย่างเรา ๆ กลับเหลือเพียงเถ้าถ่านและกระดูกป่น ๆ ทั้งนี้เป็นเพราะว่าพระอรหันต์หรือพระอาจารย์เหล่านั้น ท่านได้ทำธาตุในตัวของท่านให้สะอาดบริสุทธิ์ปราศจาก ความโลภ ความโกรธ และความหลง

                                                

การที่จะทำธาตุให้บริสุทธิ์นี้ สามารถทำได้โดยการรักษาศีล และปฏิบัติธรรมเจริญสมาธิภาวนา ซึ่งศีลก็มีด้วยกันหลายระดับ คือ มีศีลของผู้ครองเรือน ศีลของนักบวช เช่นกันผลของศีลก็แตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับศีลที่ผู้ใดรักษาและความตั้งใจในการรักษา

การปฏิบัติธรรมเจริญสมาธิภาวนาก็เช่นกัน ก็ย่อมให้ผลแตกต่างกันตามสภาวธรรมที่ผู้ปฏิบัติแต่ละท่านเข้าไปถึง ยิ่งรักษาศีลได้บริสุทธิ์มาก ปฏิบัติธรรมเจริญสมาธิภาวนาได้สงบมากเข้าถึงธรรมะภายในที่ละเอียดมากขึ้นเท่าใด ผลที่ได้ก็มากขึ้นตามลำดับ


อย่างเช่นพระภิกษุ สามเณร ที่บวชแล้วตั้งใจประพฤติปฏิบัติธรรม และรักษาศีลเป็นอย่างดี ก็จะได้อานิสงส์กลายเป็นคุณสมบัติของพระภิกษุ สามเณรรูปนั้น อย่างที่เราเคยได้ศึกษามาในพระไตรปิฎกว่า พระภิกษุ หรือสามเณรในสมัยพุทธกาล ตาทิพย์ บ้าง หูทิพย์บ้าง เหาะได้บ้าง ระลึกชาติได้บ้าง แสดงร่างเป็นหลายคนก็มี นี่คือผลของการทำธาตุภายในให้สะอาดบริสุทธิ์ ซึ่งถ้าบริสุทธิ์มาก ๆ ก็จะทำให้หมดกิเลส ไม่ต้องกลับมาเวียนว่ายตายเกิดอีก แต่ถึงอย่างไรก็ตาม แต่ละท่านก็มีคุณสมบัติไม่เท่ากัน ทั้งนี้ขึ้นกับความบริสุทธิ์ของธาตุภายในของท่านเหล่านั้น

ดังนั้นหากว่าเราต้องการจะมีธาตุในตัวที่บริสุทธิ์ ก็สามารถทำได้โดยการลงมือรักษาศีล และปฏิบัติธรรมเจริญสมาธิภาวนาอย่างจริงจัง และหากว่าเราตั้งใจทำกันจริง ๆ จัง จนกระทั่งธาตุในตัวสะอาดบริสุทธิ์แล้วละก็  จะทำให้เราไม่ต้องกลับมาเวียนว่ายตายเกิดในโลกนี้อีก ซึ่งจะทำให้เราไม่ต้องมาลอยคออยู่ในทะเลแห่งความทุกข์อีกตลอดไป

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 10 พฤศจิกายน 2554 05:19:36 โดย เงาฝัน, เหตุผลที่แก้ไข: jpg » บันทึกการเข้า
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
Firefox 7.0.1 Firefox 7.0.1


ดูรายละเอียด
« ตอบ #12 เมื่อ: 03 พฤศจิกายน 2554 17:32:33 »




สัตว์โลกคบกันโดยธาตุ

          เนื่องจากสิ่งทั้งหลายแตกต่างกันเป็นเพราะว่า มีสัดส่วนของธาตุแต่ละชนิดแตกต่างกัน ทำให้เกิดคุณสมบัติแตกต่างกันไป ด้วยเหตุนี้เอง สิ่งต่าง ๆ ในโลกจึงรวมกันหรือแยกกันเป็นประเภทตามคุณสมบัติ หรือตามธาตุที่แต่ละสิ่งมี โดยที่สิ่งที่มีคุณสมบัติเหมือนกันก็จะอยู่รวมกัน แต่ถ้าคุณสมบัติ หรือธาตุต่างกันก็จะแยกกัน เป็นต้นว่า ถ้าเราเทน้ำออกจากภาชนะ ๒ ใบ ลงในภาชนะเดียวกัน น้ำนั้นก็จะไหลเข้าไปรวมตัวกันได้อย่างกลมกลืน หรือแม้ว่าน้ำที่ไหลมาจากต้นน้ำจากสถานที่ต่าง ๆ สุดท้ายก็ไหลไปรวมกันในแม่น้ำ ในทะเล ในมหาสมุทรเหมือนกัน เช่นเดียวกันกับธาตุอื่น และสิ่งทั้งหลายก็อยู่ในลักษณะนี้

          แต่ในทางตรงกันข้าม ถ้าเรานำธาตุที่มีคุณสมบัติต่างกันมาไว้ด้วยกัน สิ่งต่าง ๆ เหล่านั้นจะไม่สามารถรวมกันเป็นเนื้อเดียวกันได้ เป็นต้นว่า เราผสมน้ำกับน้ำมันเข้าด้วยกัน แม้ว่าจะเขย่าและใช้ความพยายามอย่างไรเพื่อจะให้น้ำกับน้ำมันผสมเข้าเป็นเนื้อเดียวกัน น้ำกับน้ำมันก็ไม่สามารถเข้าเป็นเนื้อเดียวกันได้ ทั้งนี้เป็นเพราะทั้งสองมีธาตุหรือคุณสมบัติต่างกันนั่นเอง

          ไม่เฉพาะวัตถุสิ่งของ แม้มนุษย์และสัตว์ก็เป็นเช่นนั้น สัตว์ใดก็ย่อมเข้าไปสู่สัตว์นั้น ไม่สามารถไปอยู่กับสัตว์ชนิดอื่นได้นั้น ดังมีภาษิตที่ว่า “นกเข้าฝูงนก เนื้อเข้าฝูงเนื้อ ปลาเข้าฝูงปลา” เช่นเดียวกับคน ปกติของคนก็จะเข้าคบหาสมาคมกับคนที่มีธาตุเหมือนกัน หรือใกล้เคียงกัน อย่างที่เรียกกันว่า ถูกอัธยาศัย หรือใจตรงกัน เป็นต้น ซึ่งเกี่ยวกับเรื่องนี้พระสัมมาสัมพุทธเจ้าของเราได้ทรงแสดงไว้ใน... ว่า

                   “ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สัตว์ทั้งหลาย ย่อมคบค้าสมาคมกันโดยธาตุทีเดียว คือพวกมิจฉาทิฏฐิ ย่อมคบค้ากัน ย่อมสมาคมกันกับพวกมิจฉาทิฏฐิ พวกมิจฉาสังกับปะ ย่อมคบค้ากัน ย่อมสมาคมกันกับพวกมิจฉาสังกับปะ พวกมิจฉาวาจา ย่อมคบค้ากัน ย่อมสมาคมกันกับพวกมิจฉาวาจา พวกมิจฉากัมมันตะ ย่อมคบค้ากัน ย่อมสมาคมกันกับพวกมิจฉากัมมันตะ พวกมิจฉาอาชีวะ ย่อมคบค้ากัน ย่อมสมาคมกันกับพวกพวกมิจฉาอาชีวะ พวกมิจฉาวายามะ ย่อมคบค้ากัน ย่อมสมาคมกันกับพวกมิจฉาวายามะ พวกมิจฉาสติ ย่อมคบค้ากัน ย่อมสมาคมกันกับพวกมิจฉาสติ พวกมิจฉาสมาธิ ย่อมคบค้ากัน ย่อมสมาคมกันกับพวกมิจฉาสมาธิ

พวกสัมมาทิฏฐิ ย่อมคบค้ากัน ย่อมสมาคมกันกับพวกสัมมาทิฏฐิ พวกสัมมาสังกับปะ ย่อมคบค้ากัน ย่อมสมาคมกันกับพวกสัมมาสังกับปะ พวกสัมมาวาจา ย่อมคบค้ากัน ย่อมสมาคมกันกับพวกสัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ ย่อมคบค้ากัน ย่อมสมาคมกันกับพวกสัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ ย่อมคบค้ากัน ย่อมสมาคมกันกับพวกสัมมาอาชีวะ สัมมาวายามะ ย่อมคบค้ากัน ย่อมสมาคมกันกับพวกสัมมาวายามะ สัมมาสติ ย่อมคบค้ากัน ย่อมสมาคมกันกับพวกสัมมาสติ สัมมาสมาธิ ย่อมคบค้ากัน ย่อมสมาคมกันกับพวกสัมมาสมาธิ” [๘]

          จากพุทธดำรัสนี้ ย่อมทำให้เราเข้าใจดีถึงสภาพชีวิตจริงในสังคม ที่แต่ละคนต่างก็มีกลุ่ม และเข้าหากลุ่มของตนเอง เพราะว่ามีธาตุเหมือนกัน ด้วยเหตุนี้ มนุษย์แต่ละคนจึงไปสู่กลุ่มต่าง ๆ ตามธาตุของตน ซึ่งเราจะสังเกตเห็นได้ทั่วไปในสังคม เป็นต้นว่า ข้าราชการก็จะเข้าหาสมาคมกับเหล่าข้าราชการด้วยกัน หรือพวกติดยาเสพติด พวกนักเล่นการพนันก็จะไปสู่กลุ่มของตนเช่นกัน ทั้งนี้เป็นเพราะธาตุในตัวเหมือนกัน ทำให้ดึงดูดเข้าหากัน ดังนั้นถ้าเราอยากจะไปเข้าสมาคมกลับกลุ่มคนประเภทใด ก็สามารถ ทำได้โดยการทำให้มีธาตุใกล้เคียงหรือเหมือนกับกลุ่มคนเหล่านั้น หรือที่เรียกว่ากลั่นธาตุ หรือแปรธาตุดังที่ได้กล่าวมาแล้ว

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 03 พฤศจิกายน 2554 18:06:56 โดย เงาฝัน, เหตุผลที่แก้ไข: [๘] » บันทึกการเข้า
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
Firefox 7.0.1 Firefox 7.0.1


ดูรายละเอียด
« ตอบ #13 เมื่อ: 03 พฤศจิกายน 2554 18:00:56 »




ธาตุทั้งหลายเป็นไตรลักษณ์

          จากบทเรียนที่ผ่านมาในบทนี้ ทำให้เราเห็นว่า สิ่งต่าง ๆ มีธาตุ เป็นที่สุด คือ ถ้าเป็นมนุษย์หรือสัตว์หากแยกออกแล้วก็เป็นเพียงการประชุมรวมกันของธาตุ ๖ คือ ปฐวีธาตุ อาโปธาตุ เตโชธาตุ วาโยธาตุ อากาสธาตุ และวิญญาณธาตุ สิ่งอื่นก็เช่นกันเมื่อแยกออกแล้วก็ล้วนประกอบขึ้นด้วยธาตุทั้งหลาย เว้นแต่เพียงวิญญาณธาตุเท่านั้น และหากว่ามนุษย์หรือสัตว์ตายแล้ว ก็มีสภาพไม่ต่างจากสิ่งไม่มีชีวิตทั้งหลาย

ดังนั้นเราจึงไม่ควรยึดถือสิ่งใดเพราะไม่มีสิ่งใดเลยที่จะมั่งคงถาวรได้ตลอดไป ทุกสิ่งทุกอย่างเมื่อถึงเวลาหนึ่งก็สลายไป เพราะธาตุต่างๆ ได้คืนสู่สภาพเดิมของมัน เป็นต้นว่า ร่างกายของมนุษย์เมื่อตายแล้ว ส่วนต่าง ๆ ก็ เสื่อมสลายไปตามอำนาจเดิมของธาตุ กลับกลายเป็นธาตุดิน ธาตุน้ำ ธาตุไฟ ธาตุลม ธาตุอากาศ กระจัดกระจายแตกแยกออกจากกัน มิได้รวมอยู่ดังเดิม ร่างกายของคนที่ตายแล้วจึงไม่สามารถคงสภาพเดิมอยู่ได้

 ด้วยเหตุนี้เองพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเมื่อทรงแสดงถึงธาตุต่าง ๆแล้ว จึงตรัสสอนว่า ให้เห็นธาตุทั้งหลายด้วยปัญญาตามความเป็นจริงว่า สิ่งทั้งหลายทั้งปวงที่แม้จะเป็นของเรา หรืออยู่ในครอบครองของเรา หรือแม้ตัวเราเอง แต่ก็ไม่ใช่ของเรา ไม่ใช่เรา ไม่ใช่อัตตาเรา เมื่อเห็นความเป็นจริงอย่างนี้ ก็จะทำให้เบื่อหน่ายในธาตุทั้งหลาย (ที่ประชุมกันขึ้นเป็นสิ่งต่าง ๆ) และทำให้คลายกำหนัดคือไม่ยึดมั่นถือมั่นได้

และถ้าหากว่าไม่ทราบชัดตามความเป็นจริง ของธาตุทั้งหลายแล้ว สัตว์ทั้งหลายก็ยังคงมีความผูกพันยินดีในธาตุทั้งหลาย (เพราะธาตุนำมาทั้งความสุขและความทุกข์) จึงไม่สามารพ้นออกจากโลก คือวัฏฏะสงสารได้ ดังที่พระพุทธองค์ทรงแสดงไว้ใน โนเจทสูตรว่า


“ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ตราบเท่าที่สัตว์เหล่านี้ยังไม่ทราบชัดตามความเป็นจริง ซึ่งความแช่มชื่นโดยเป็นความแช่มชื่น ซึ่งโทษโดยความเป็นโทษ ซึ่งเครื่องสลัดออกโดยความเป็นเครื่องสลัดออก แห่งธาตุทั้ง ๔ เหล่านี้เพียงใด สัตว์เหล่านั้นยังสลัดตนออกไม่ได้ พรากออกไม่ได้ ยังไม่หลุดพ้นไปจากโลก พร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก และจากหมู่สัตว์  พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ เทวดาและมนุษย์ มีใจข้ามพ้นจากแดนกิเลสและวัฎฎะไม่ได้เพียงนั้น ก็เมื่อสัตว์เหล่านี้ได้ทราบชัดตามความเป็นจริง ซึ่งความแช่มชื่นโดยเป็นความแช่มชื่น ซึ่งโทษโดยความเป็นโทษ ซึ่งเครื่องสลัดออกโดยความเป็นเครื่องสลัดออก แห่งธาตุ ๔ เหล่านี้ย่อมสลัดตนออกได้ พรากออกได้ หลุดพ้นจากโลก พร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก และจากหมู่สัตว์ พร้อมทั้งสมพราหมณ์ เทวดาและมนุษย์ จึงได้มีใจข้ามพ้นจากแดนกิเลสและวัฏฏะอยู่ ดังนี้” [๙]

          ทรงแสดงให้ทราบว่า ธาตุทั้งหลายเป็นที่มาแห่งโรค และเป็นที่ปรากฏของความแก่ชราโดยทรงแสดงไว้ในอุปปาทสูตรว่า

“ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความเกิด ความตั้งอยู่ ความบังเกิด ความปรากฏแห่งปฐวีธาตุ... นั่นเป็นความเกิดแห่งทุกข์ เป็นที่ตั้งแห่งโรค เป็นความปรากฏแห่งชรามรณะ ความเกิด ความตั้งอยู่ ความบังเกิด ความปรากฏแห่งอาโปธาตุ ... แห่งเตโชธาตุ... แห่งวาโยธาตุ นั่นเป็นความเกิดแห่งทุกข์ เป็นที่ตั้งแห่งโรค เป็นความปรากฏแห่งชรามรณะ

       ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ความดับ ความสงบ ความสูญสิ้นแห่งปฐวีธาตุ ... นั่นเป็นความดับแห่งทุกข์ เป็นความสงบแห่งโรค เป็นความสูญสิ้นแห่งชรามรณะ ความดับ ความสงบ ความสูญสิ้นแห่งอาโปธาตุ... แห่งเตโชธาตุ... แห่งวาโยธาตุ.... นั่นเป็นความดับแห่งทุกข์ เป็นความสงบแห่งโรค เป็นความสูญสิ้นแห่งชรามรณะ” [๑๐]

          นอกจากนี้ ยังได้ทรงแสดงให้เห็นว่า จะหลุดพ้นจากทุกข์ได้ต้องไม่ชื่นชมยินดีในธาตุทั้งหลาย (ที่ประชุมกันขึ้นเป็นสิ่งต่าง ๆ แล้วนำมาซึ่งความชอบใจ) โดยทรงแสดงไว้ในอภินันทนสูตรว่า

                    “ดูก่อนภิกษุทั้งหลายผู้ใดย่อมชื่นชมปฐวีธาตุ...ผู้นั้นชื่อว่าย่อมชื่นชมทุกข์ ผู้ใดย่อมชื่นชมทุกข์ เรากล่าวว่า ผู้นั้นไม่หลุดพ้นจากทุกข์ ผู้ใดย่อมชื่นชมอาโปธาตุ... ผู้ใดย่อมชื่นชมเตโชธาตุ... ผู้ใดย่อมชื่นชมวาโยธาตุ.. ผู้นั้นชื่อว่าชื่นชมทุกข์ ผู้ใดชื่นชมทุกข์ เรากล่าวว่าผู้นั้นไม่หลุดพ้นจากทุกข์ ดังนี้

                   ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ผู้ใดย่อมไม่ชื่นชมปฐวีธาตุ... ผู้นั้นชื่อว่าไม่ชื่นชมทุกข์ ผู้ใดไม่ชื่นชมทุกข์ เรากล่าวว่า ผู้นั้นหลุดพ้นจากทุกข์ ผู้ใดไม่ชื่นชมอาโปธาตุ ... ผู้ใดไม่ชื่นชมเตโชธาตุ... ผู้ใดไม่ชื่นชมวาโยธาตุ ผู้นั้นชื่อว่าไม่ชื่นชมทุกข์ ผู้ใดไม่ชื่นชมทุกข์ เรากล่าวว่า ผู้นั้นหลุดพ้นจากทุกข์ ดังนี้” [๑๑]

บทสรุป
          สิ่งทั้งหลายทั้งปวงล้วนเกิดจากการประชุมขึ้นจากธาตุ มีธาตุเป็นที่สุด โดยที่ มนุษย์และสัตว์มีธาตุเป็นองค์ประกอบ ๖ ธาตุ ส่วนสิ่งอื่น ๆ มีธาตุเป็นองค์ประกอบ ๕ ธาตุ หรือที่เรียกว่า มหาภูตรูป ดังที่ได้กล่าวมาแล้วข้างต้น ดังนั้นสิ่งทั้งหลายจึงไม่มีความมั่นคงถาวร มีวันเสื่อมสภาพไปตามเวลาที่ผ่านไป และเมื่อถึงเวลาอันควร ธาตุนี้ก็จะแยกสลายกันไปด้วยอำนาจของธาตุแต่ละชนิด ดังนั้นเราจึงไม่ควรยึดมั่นถือมั่นในสิ่งทั้งปวง เพราะการยึดมั่นถือมั่นย่อมมาซึ่ง ความทุกข์ ความผิดหวัง ความเศร้าโศก และในบ้างครั้งนำซึ่งความเดือดร้อน เราจึงควรมองสิ่งต่าง ๆ ตามความเป็นจริง ซึ่งการมองเช่นนั้นจะทำให้เราสามารถดำเนินชีวิตได้อย่างมีความสุข และเป็นการเดินบนเส้นทางสู่มรรคผลนิพพานหลุดจากวัฏฏะในที่สุด

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 02 มิถุนายน 2555 00:35:02 โดย เงาฝัน, เหตุผลที่แก้ไข: jpg » บันทึกการเข้า
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
Firefox 7.0.1 Firefox 7.0.1


ดูรายละเอียด
« ตอบ #14 เมื่อ: 03 พฤศจิกายน 2554 18:46:52 »




ภาคผนวก
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเรียกภิกษุทั้งหลาย...แล้วตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สัตว์ทั้งหลาย ย่อมคบค้ากัน ย่อมสมาคมกัน โดยธาตุทีเดียว คือพวกมิจฉาทิฏฐิ ย่อมคบค้ากัน ย่อมสมาคมกันกับพวกมิจฉาทิฏฐิ พวกมิจฉาสังกับปะ ย่อมคบค้ากัน ย่อมสมาคมกันกับพวกมิจฉาสังกัปปะ... พวกมิจฉาสมาธิ ย่อมคบค้ากัน ย่อมสมาคมกันกับพวกมิจฉาสมาธิ

          พวกสัมมาทิฏฐิ ย่อมคบค้า ย่อมสมาคมกันกับพวกสัมมาทิฏฐิ...พวกสัมมาสมาธิ ย่อมคบค้ากัน ย่อมสมาคมกันกับพวกสัมมาสมาธิ (หน้า๔๘๔,เล่ม ๒๖ มมร.)

ธาตุ ๔
          ธาตุ ๔ อย่าง คือ ปฐวีธาตุ อาโปธาตุ เตโชธาตุ วาโยธาตุ
          ธาตุที่เป็นที่ตั้ง ชื่อว่า ปฐวีธาตุ
          ธาตุที่เอิบอาบ ชื่อว่า อาโปธาตุ
          ธาตุที่ให้ย่อย ชื่อว่า เตโชธาตุ
          ธาตุที่เคร่งตึง ชื่อว่า วาโยธาตุ (เล่ม ๒๖,หน้า ๔๘๘)

          ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ตราบเท่าที่สัตว์เหล่านี้ยังไม่ทราบชัดตามความเป็นจริง ซึ่งความแช่มชื่นโดยเป็นความแช่มชื่น ซึ่งโทษโดยความเป็นโทษ ซึ่งเครื่องสลัดออกโดยความเป็นเครื่องสลัดออก แห่งธาตุทั้ง ๔ เหล่านี้เพียงใด สัตว์เหล่านั้นยังสลัดตนออกไม่ได้ พรากออกไม่ได้ ยังไม่หลุดพ้นไปจากโลก พร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก และจากหมู่สัตว์  พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ เทวดาและมนุษย์ มีใจข้ามพ้นจากแดนกิเลศและวัฎฎะไม่ได้เพียงนั้น ก็เมื่อสัตว์เหล่านี้ได้ทราบชัดตามความเป็นจริง ซึ่งความแช่มชื่นโดยเป็นความแช่มชื่น ซึ่งโทษโดยความเป็นโทษ ซึ่งเครื่องสลัดออกโดยความเป็นเครื่องสลัดออก แห่งธาตุ ๔ เหล่านี้ย่อมสลัดตนออกได้ พรากออกได้ หลุดพ้นจากโลก พร้อฃมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก และจากหมู่สัตว์ พร้อมทั้งสมพราหมณ์ เทวดาและมนุษย์ จึงได้มีใจข้ามพ้นจากแดนกิเลสและวัฏฏะอยู่ดังนี้ (เล่ม ๒๖, หน้า ๔๙๗ โนเจทสูตร)

          ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ปฐวีธาตุนี้ จักมีทุกข์โดยส่วนเดียว อันทุกข์ติดตามถึง อันทุกข์หยั่งลงถึง อันสุขไม่หยั่งลงถึงแล้วไซร้ สัตว์ทั้งหลายก็ไม่พึงยินดีในปฐวีธาตุ แต่เพราะปฐวีธาตุอันสุขติดตามถึง อันสุขหยั่งลงถึง อันทุกข์ไม่หยั่งลงถึง ฉะนั้น สัตว์ทั้งหลายจึงยินดีในปฐวีธาตุ...  อาโปธาตุนี้ ... เตโชธาตุนี้... วาโยธาตุนี้ จักมีทุกข์โดยส่วนเดียว อันทุกข์ติดตามถึง อันทุกข์หยั่งลงถึง อันสุขไม่หยั่งลงถึงแล้วไซร้ สัตว์ทั้งหลายก็พึงยินดีในวาโยธาตุ แต่เพราะวาโยธาตุอันสุขติดตามถึง อันสุขหยั่งลงถึง อันทุกข์ไม่หยั่งลงถึง ฉะนั้น สัตว์ทั้งหลายจึงยินดีในวาโยธาตุ

          ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ปฐวีธาตุนี้จักมีสุขโดยส่วนเดียวอันสุขติดตามถึง อันสุขหยั่งลงถึง อันทุกข์ไม่หยั่งลงถึงแล้วไซร้ สัตว์ทั้งหลายก้ไม่พึงเบื่อหน่ายจากปฐวีธาตุ แต่เพราะปฐวีธาตุมีทุกข์ อันทุกข์ติดตามถึง อันทุกข์หยั่งลงถึง อันสุขไม่หยั่งลงถึง ฉะนั้น สัตว์ทั้งหลายจึงเบื่อหน่ายจากปฐวีธาตุ  อาโปธาตุนี้... เตโชธาตุนี้... วาโยธาตุนี้... (เหมือนกับปฐวีธาตุ) ดังนี้ (ทุกขสูตร เล่ม๒๖,หน้า๔๙๙)

          ดูก่อนภิกษุทั้งหลายผู้ใดย่อมชื่นชมปฐวีธาตุ...ผู้นั้นชื่อว่าย่อมชื่นชมทุกข์ ผู้ใดย่อมชื่นชมทุกข์ เรากล่าวว่า ผู้นั้นไม่หลุดพ้นจากทุกข์ ผู้ใดย่อมชื่นชมอาโปธาตุ... ผู้ใดย่อมชื่นชมเตโชธาตุ... ผู้ใดย่อมชื่นชมวาโยธาตุ.. ผู้นั้นชื่อว่าชื่นชมทุกข์ ผู้ใดชื่นชมทุกข์ เรากล่าว่าผู้นั้นไม่หลุดพ้นจากทุกข์ ดังนี้

          ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ผู้ใดย่อมไม่ชื่นชมปฐวีธาตุ... ผู้นั้นชื่อว่าไม่ชื่นชมทุกข์ ผู้ใดไม่ชื่นชมทุกข์ เรากล่าวว่า ผู้นั้นหลุดพ้นจากทุกข์ ผู้ใดไม่ชื่นชมอาโปธาตุ ... ผู้ใดไม่ชื่นชมเตโชธาตุ... ผู้ใดไม่ชื่นชมวาโยธาตุ ผู้นั้นชื่อว่าไม่ชื่นชมทุกข์ ผู้ใดไม่ชื่นชมทุกข์ เรากล่าวว่า ผู้นั้นหลุดพ้นจากทุกข์ ดังนี้ (อภินันทนสูตร เล่ม ๒๖, หน้า ๕๐๐)

          ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความเกิด ความตั้งอยู่ ความบังเกิด ความปรากฏแห่งปฐวีธาตุ... นั่นเป็นความเกิดแห่งทุกข์ เป็นที่ตั้งแห่งโรค เป็นความปรากฏแห่งชรามรณะ ความเกิด ความตั้งอยู่ ความบังเกิด ความปรากฏแห่งอาโปธาตุ ... แห่งเตโชธาตุ... แห่งวาโยธาตุ นั่นเป็นความเกิดแห่งทุกข์ เป็นที่ตั้งแห่งโรค เป็นความปรากฏแห่งชรามรณะ

          ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ความดับ ความสงบ ความสูญสิ้นแห่งปฐวีธาตุ ... นั่นเป้นความดับแห่งทุกข์ เป็นความสงบแห่งโรค เป็นความสูญสิ้นแห่งชรามรณะ ความดับ ความสงบ ความสูญสิ้นแห่งอาโปธาตุ... แห่งเตโชธาตุ... แห่งวาโยธาตุ.... นั่นเป็นความดับแห่งทุกข์ เป็นความสงบแห่งโรค เป็นความสูญสิ้นแห่งชรามรณะ (อุปปาทสูตร เล่ม ๒๖, หน้า ๕๐๑)

          ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธาตุเหล่านี้มี ๔ อย่าง คือ ปฐวีธาตุ อาโปธาตุ เตโชธาตุ วาโยธาตุ ก็สมณะหรือพราหมณ์บางพวกย่อมไม่ทราบชัดตามความเป็นจริง ซึ่งความแช่มชื่น โทษ และเครื่องสลัดออกแห่งธาตุ ๔ เหล่านี้ สมณะหรือพราหมณ์พวกนั้น ย่อมไม่ได้รับสมมติว่าเป็นสมณะในหมู่สมณะ ย่อมไม่ได้รับสมมติว่าเป็นพราหมณ์ในหมู่พราหมณ์ ท่านสมณะพราหมณ์เหล่านั้นย่อมไม่กระทำให้แจ้งซึ่งประโยชน์แห่งความเป็นสมณะ หรือประโยชน์แห่งความเป็นพราหมณ์ ด้วยปัญญาอันรู้ยิ่งด้วยตนเองในปัจจุบัน เข้าถึงอยู่

          ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ส่วนสมณะหรือพราหมณ์บางพวก ย่อมทราบชัดตามความเป็นจริง ซึ่งความแช่มชื่น โทษ และเครื่องสลัดออกแห่งธาตุทั้ง ๔ เหล่านี้  สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้นแล ย่อมได้รับสมมติว่าเป็นสมณะในหมู่สมณะ ได้รับสมมติว่าเป็นพราหมณ์ในหมู่พราหมณ์ และท่านเหล่านั้นย่อมกระทำให้แจ้งซึ่งประโยชน์แห่งความเป็นสมณะ และประโยชน์แห่งความเป็นพราหมณ์ ด้วยปัญญาอันรู้ยิ่งด้วยตนเองในปัจจุบัน เข้าถึงอยู่ ดังนี้ (ปฐมสมณพราหมณสูตร เล่ม ๒๖, หน้า ๕๐๒)

          ดูก่อนภิกษุ คนเรานี้มีธาตุ ๖  แดนสัมผัส ๖  มีความหน่วงนึกของใจ ๑๘  มีธรรมที่ควรตั้งไว้ในใจ ๔ อันเป็นธรรมที่ตั้งอยู่แล้ว ไม่มีกิเลสเครื่องสำคัญตนและกิเลสเครื่องหมักหมมเป็นไป ก็เมื่อกิเลสเครื่องสำคัญตนและกิเลสเครื่องหมักหมม ไม่เป้นไปอยู่ บัณฑิตเรียกว่า มุนีผู้สงบแล้ว ไม่พึงประมาทปัญญา พึงตามรักษาสัจจะ พึงเพิ่มพูนจาคะ พึงศึกษาสันติเท่านั้น นี้อุเทศแห่งธาตุวิภังค์หก

          ก็ข้อที่เรากล่าวดังนี้ว่า ดูก่อนภิกษุ คนเรานี้มีธาตุ ๖ นั่นเราอาศัยอะไรกล่าวแล้ว ดูก่อนภิกษุ ธาตุนี้มี ๖ อย่างนี้ คือปฐวีธาตุ อาโปธาตุ เตโชธาตุ วาโยธาตุ อากาสธาตุ วิญญาณธาตุ ข้อที่เรากล่าวดังนี้ว่า ดูก่อนภิกษุ คนเรานี้มีธาตุ ๖ นั่น เราอาศัยธาตุดังนี้ กล่าวแล้ว...

                         

          ดูก่อนภิกษุ ธาตุนี้มี ๖ คือ ปฐวีธาตุ อาโปธาตุ เตโชธาตุ วาโยธาตุ อากาสธาตุ วิญญาณธาตุ

ดูก่อนภิกษุ ก็ปฐวีธาตุเป็นไฉน คือ ปฐวีธาตุภายในก็มีภายนอกก็มี ก็ปฐวีธาตุภายในเป็นไฉน ได้แก่สิ่งที่แข่นแข็ง กำหนดได้มีในตน อาศัยตน คือ ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง เนื้อ เอ็น กระดูก เยื่อในกระดูก ม้าม หัวใจ ตับ พังพืด ไต ปอด ไส้ใหญ่ ไส้น้อย อาหารใหม่ อาหารเก่า หรือแม้สิ่งอื่นไม่ว่าชนิดไรๆที่แข่นแข็ง กำหนดได้ มีในตน อาศัยตน นี้เรียกว่าปฐวีธาตุภายใน ก็ปฐวีธาตุทั้งภายในและภายนอกนี้แล เป็นปฐวีธาตุทั้งนั้น พึงเห็นปฐวีธาตุนั้น ด้วยปัญญาชอบตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่ใช่เรา นั่นไม่ใช่อัตตาของเรา ครั้นเห็นแล้วจะเบื่อหน่ายปฐวีธาตุ และจะให้จิตคลายกำหนัดปฐวีธาตุได้

          ดูก่อนภิกษุ ก็อาโปธาตุเป็นไฉน คืออาโปธาตุภายในก็มีภายนอกก็มี ก็อาโปธาตุภายใน เป็นไฉน ได้แก่สิ่งที่เอิบอาบ ซึมซาบไป กำหนดได้ มีในตน อาศัยตน คือ ดี เสลด น้ำเหลือง เลือด เหงื่อ มันข้น น้ำตา เปลวมัน น้ำลาย น้ำมูก ไขข้อ มูตร หรือแม้สิ่งอื่นไม่ว่าชนิดไรๆ ที่เอิบอาบซึมซาบไป กำหนดได้มีในตน อาศัยตน นี้เรียกว่า อาโปธาตุภายใน ก็อาโปธาตุภายในและภายนอก นี้แล เป็นอาโปธาตุทั้งนั้น พึงเห็นอาโปธาตุนั้นด้วยปัญญาชอบตามความป็นจริงอย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่ใช่เรา นั่นไม่ใช่อัตตาเรา ครั้นเห็นแล้ว จะเบื่อหน่ายอาโปธาตุ และจะให้จิตคลายกำหนัดอาโปธาตุได้

ดูก่อนภิกษุ ก็เตโชธาตุเป็นไฉน คือ เตโชธาตุภายในก็มีภายนอกก็มี ก็เตโชธาตุภายในเป็นไฉน ได้แก่สิ่งที่อบอุ่น ถึงความเร่าร้อน กำหนดได้ มีในตน อาศัยตน คือ ธาตุที่เป็นเครื่องยังกายให้อบอุ่น ยังกายให้ทรุดโทรม ยังกายให้กระวนกระวาย และธาตุที่เป็นเหตุให้ของที่กิน ที่ดื่มที่เคี้ยว ที่ลิ้มแล้วถึงความย่อยไปด้วยดี หรือแม้สิ่งอื่นไม่ว่าชนิดไรๆ ที่อบอุ่น ถึงความเร่าร้อนกำหนดได้ มีในตนอาศัยตน นี้เรียกว่า เตโชธาตุภายใน ก็เตโชธาตุทั้งภายในภายนอก นี้แล เป็นเตโชธาตุทั้งนั้น พึงเห็นเตโชธาตุนั้นด้วยปัญญาชอบตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่ใช่เรา นั่นไมใช่อัตตาเรา ครั้นเห็นแล้ว จะเบื่อหน่ายเตโชธาตุ และจะให้จิตคลายกำหนัดเตโชธาตุได้

ดุก่อนภิกษุ ก็วาโยธาตุเป็นไฉน  คือ วาโยธาตุภายในก็มีภายนอกก็มี ก็วาโยธาตุภายในเป้นไฉน ได้แก่สิ่งทีพัดผันไป กำหนดได้มีในตน อาศัยตน คือ ลมพัดขึ้นเบื้องบน ลมพัดลมเบื้องต่ำ ลมในท้อง ลมในลำไส้ ลมแล่นไปตามอวัยวะน้อยใหญ่ ลมหายใจออก ลมหายใจเข้า หรือแม้สิ่งอื่นไม่ว่าชนิดไร ๆ ที่พัดผ่าน กำหนดได้ มีในตน อาศัยตนนี้เรียกว่าวาโยธาตุภายใน ก็วาโยธาตุทั้งภายในและภายนอก นี้แล เป็นวาโยธาตุทั้งนั้น พึงเห็นวาโยธาตุนั้นด้วยปัญญาชอบตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า นั้นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่ใช่เรา นั่นไม่ใช่อัตตาของเรา ครั้นเห็นแล้วจะเบื่อหน่ายวาโยธาตุ และจะให้จิตคลายกำหนัดวาโยธาตุได้

ดูก่อนภิกษุ ก็อากาสธาตุเป็นไฉน คือ อากาสภายในก็มีภายนอกก็มี ก็อากาสธาตุภายในเป็นไฉน ได้แก่สิ่งที่ว่าง ปรุโปร่ง กำหนดได้มีในตน อาศัยตน คือ ช่องหู ช่องจมูก ช่องปากซึ่งเป็นทางให้กลืนของที่กิน ที่ดื่ม ที่เคี้ยว ที่ลิ้ม เป็นที่ตั้งของที่กิน ที่ดื่มที่เคี้ยว ที่ลิ้มแล้วออกทางเบื้องล่าง หรือแม้สิ่งอื่นไม่ว่าชนิดไร ๆ ที่ว่าง ปรุโปร่ง กำหนดได้ มีในตน อาศัยตน นี้เรียกว่า อากาสธาตุภายใน ก็อากาสธาตุทั้งภายในและภายนอก นี้แล เป็นอากาสธาตุทั้งนั้น พึงเห็นอากาสธาตุนั้นด้วยปัญญาชอบตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่ใช่เรา นั่นไม่ใช่อัตตาของเรา ครั้นเห็นแล้ว จะเบื่อหน่ายอากาศธาตุ และจะให้จิตคลายกำหนัดอากาสธาตุได้

ต่อนั้นสิ่งที่จะเหลืออยู่อีกก็คือวิญญาณอันบริสุทธิ์ผุดผ่อง บุคคลย่อมรู้อะไร ๆ ได้ด้วยวิญญาณนั้น คือ รู้ชัดว่า สุขบ้าง ทุกข์บ้าง ไม่ทุกข์ไม่สุขบ้าง ดูก่อนภิกษุ เพราะอาศัยผัสสะเป้นที่ตั้งแห่งสุขเวทนา ย่อมเกิดสุขเวทนา บุคคลนั้นเมื่อเสวยสุขเวทนา ย่อมรู้ชัดว่า กำลังเสวยสุขเวทนาอยู่ เพราะสัมผัสเป็นที่ตั้งแห่งสุขเวทนานั้นแลดับไป ย่อมรู้ชัดว่า ความเสวยอารมณ์ที่เกิดแต่ผัสสะนั้น คือตัวสุขเวทนาอันเกิดเพราะอาศัยผัสสะเป็นที่ตั้งแห่งสุขเวทนา ย่อมดับ ย่อมเข้าไปสงบ เพราะอาศัยผัสสะเป็นที่ตั้งแห่งทุกขเวทนา ย่อมเกิดทุกขเวทนา บุคคลนั้นเมื่อเสวยทุกขเวทนา ย่อมรู้ชัดว่ากำลังเสวยทุกขเวทนาอยู่ เพราะผัสสะเป็นที่ตั้งแห่งทุกขเวทนานั้นแลดับไปย่อมรู้ชัดว่า ความเสวยอารมณ์ที่เกิดแต่สัมผัสนั้น คือตัวทุกขเวทนาอันเกิดเพราะอาศัยผัสสะเป็นที่ตั้งแห่งทุกขเวทนา ย่อมดับ ย่อมเข้าไปสงบ เพราะอาศัยผัสสะเป็นที่ตั้งแห่งอทุกขมสุขเวทนา ย่อมเกิดอทุกขมสุขเวทนา บุคคลนั้นเมื่อเสวยอทุกขมสุขเวทนา ย่อมรู้ชัดว่า กำลังเสวยอทุกขมสุขเวทนาอยู่ เพราะผัสสะเป็นที่ตั้งแห่งอทุกขมสุขเวทนานั้นดับไป ย่อมรู้ชัดว่าความเสวยอารมณ์ที่เกิดแต่ผัสสะนั้น คือตัวอทุกขมสุขเวทนาอันเกิดเพราะอาศัยผัสสะเป็นที่ตั้งแห่งอทุกขมสุขเวทนา ย่อมดับย่อมเข้าไปสงบ (ธาตุวิภังคสูตร เล่ม ๒๓, หน้า๓๓๖)

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 04 พฤศจิกายน 2554 18:37:17 โดย เงาฝัน, เหตุผลที่แก้ไข: jpg » บันทึกการเข้า
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
Firefox 7.0.1 Firefox 7.0.1


ดูรายละเอียด
« ตอบ #15 เมื่อ: 03 พฤศจิกายน 2554 19:19:33 »




ธาตุวิภังค์ (เล่ม ๗๗ หน้า ๒๐๐)
สุตตันตภาชนีย์

          ธาตุ ๖ คือ

          ๑. ปฐวีธาตุ
          ๒. อาโปธาตุ
          ๓. เตโชธาตุ
          ๔. วาโยธาตุ
          ๕. อากาสธาตุ
          ๖. วิญญาณธาตุ

ปฐวีธาตุ มี ๒ อย่าง คือ ปฐวีธาตุภายใน ปฐวีธาตุภายนอก

ปฐวีธาตุภายใน คือธรรมชาติแข็ง ธรรมชาติกระด้าง ความแข็ง เป็นในเฉพาะตน เป็นอุปาทินรูปข้างใน ได้แก่ ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง เนื้อ เอ็น กระดูก เยื่อในกระดูก ม้าม หัวใจ  ตับ พังผืด ไต ปอด ไส้ใหญ่ ไส้น้อย อาหารใหม่ อาหารเก่า หรือ ธรรมชาติที่แข็ง ธรรมชาติที่กระด้าง ความแข็ง ภาวะที่แข็ง เป็นภายในเฉพาะตน เป็นอุปาทินรูปข้างใน

ปฐวีธาตุภายนอก คือ ธรรมชาติที่แข็ง ธรรมชาติที่กระด้าง ความแข็ง ภาวะที่แข็ง เป็นภายนอก เป็นอนุปาทินรูปข้างนอก ได้แก่ เหล็ก โลหะ ดีบุกขาว ดีบุกดำ เงิน แก้วมุกดา แก้วมณี แก้วไพฑูรย์ สังข์ ศิลา แก้วประพาฬ เงินตรา ทอง แก้วมณีแดง แก้วมณีลาย หญ้า ท่อนไม้ กรวด กระเบื้อง แผ่นดิน แผ่นหิน ภูเขา หรือ ธรรมชาติที่แข็ง ธรรมชาติที่กระด้าง ความแข็ง ภาวะที่แข็ง เป็นภายนอก เป็นอนุปาทินรูปข้างนอก

อาโปธาตุ มี ๒ อย่าง คือ อาโปธาตุภายใน อาโปธาตุภายนอก

          อาโปธาตุภายใน คือ ความเอิบอาบ ธรรมชาติที่เอิบอาบ ความเหนียว ธรรมชาติที่เหนียว ธรรมชาติเกาะกุมรูป เป็นภายใน เฉพาะตน เป็นอุปาทินรูป ข้างในได้แก่ ดีเสลด หนอง เลือด เหงื่อ มันข้น น้ำตา เปลวมัน น้ำลาย น้ำมูก ไขข้อ มูตร หรือ ความเอิบอาบ ธรรมชาติที่เอิบอาบ ความเหนียว ธรรมชาติที่เหนียว ธรรมชาติที่เกาะกุม เป็นภายใน เฉพาะตน เป็นอุปาทินนรูปข้างใน

          อาโปธาตุภายนอก คือ ความเอิบอาบ ธรรมชาติที่เอิบอาบ ความเหนียว ธรรมชาติที่เหนียว ธรรมชาติที่เกาะกุมรูป เป็นภายนอก เป้นอนุปาทินนรูปข้างนอก ได้แก่รสรากไม้ ลำต้น รสเปลือกไม้ รสใบไม้ รสดอกไม้ รสผลไม้ นมสด นมส้มเนยใส เนยข้น น้ำมัน น้ำผึ้ง น้ำอ้อย น้ำที่อยู่ในพื้นดิน หรือน้ำที่อยู่ในอากาศ หรือ ความเอิบอาบ ธรรมชาติที่เอิบอาบ ความเหนียว ธรรมชาติที่เหนียว ธรรมชาติที่เกาะกุมรูป เป็นภายนอก

เตโชธาตุ มี ๒ อย่าง คือ เตโชธาตุภายใน เตโชธาตุภายนอก

          เตโชธาตุภายใน คือ ความร้อน ธรรมชาติที่ร้อน ความอุ่น ธรรมชาติที่อุ่น ความอบอุ่น ธรรมชาติที่อบอุ่น เป็นภายในเฉพาะตน เป็นอุปาทินนรูป ข้างใน ได้แก่ เตโชธาตุที่ทำให้ร่างกายอบอุ่น เตโชธาตุที่ทำให้ร่างกายทรุดโทรม เตโชธาตุที่ทำให้ร่างกายเร่าร้อน เตโชธาตุที่ทำให้ของกินของดื่มของเคี้ยวของลิ้มถึงความย่อยไปด้วยดี หรือ ความร้อน ธรรมชาติที่ร้อน ความอุ่น ธรรมชาติที่อุ่น ความอบอุ่น ธรรมชาติที่อบอุ่น เป็นภายในเฉพาะตน

          เตโชธาตุภายนอก คือ ความร้อน ธรรมชาติที่ร้อน ความอุ่น ธรรมชาติที่อุ่น ความอบอุ่น ธรรมชาติที่อบอุ่น เป็นภายนอก เป็นอุปาทินรูปข้างนอก ได้แก่ ไฟฟืน ไฟสะเก็ดไม้ ไฟ หญ้า ไฟมูลโค ไฟแกลบ ไฟหยากเยื่อ ไฟอสนีบาต ความร้อนแห่งไฟ ความร้อนแห่งดวงอาทิตย์ ความร้อนแห่งกองฟืน ความร้อนแห่งกองหญ้า ความร้อนแห่งกองข้าวเปลือก ความร้อนแห่งกองขี้เถ้า หรือความร้อน ธรรมชาติที่ร้อน ความอุ่น ธรรมชาติที่อุ่น ความอบอุ่น ธรรมชาติที่อบอุ่น เป็นภายนอก

วาโยธาตุ มี ๒ อย่าง คือ วาโยธาตุภายใน วาโยธาตุภายนอก

          วาโยธาตุภายใน คือ ความพัดไปมา ธรรมชาติที่พัดไปมา ความเคร่งตึงแห่งรูป เป็นภายใน เฉพาะตน เป็นอุปาทินนรูปข้างใน ได้แก่ ลมที่พัดขึ้นเบื้องบน ลมที่พัดลงเบื้องล่าง ลมในท้อง ลมในไส้ ลมพัดไปตามตัว ลมศัสตรา ลมมีดโกน ลมเพิกหัวใจ ลมหายใจเข้า ลมหายใจออก หรือ ความพัดไปมา ธรรมชาติที่พัดไปมา ความเคร่งตึงแห่งรูปเป็นภายใน เฉพาะตน เป็นอุปาทินนรูปข้างใน  แม้อื่นใดมีอยู่นี้เรียกว่า วาโยธาตุภายใน

          วาโยธาตุภายนอก คือ ความพัดไปมา ธรรมชาติที่พัดไปมา ความเคร่งตึงแห่งรุปเป็นภายนอก เป้นอนุปาทินรูปข้างนอก ได้แก่ ลมตะวันออก ลมตะวันตก ลมเหนือ ลมใต้ ลมมีฝุ่นละออง ลมไม่มีฝุ่นละออง ลมหนาว ลมร้อน ลมอ่อน ลมแรง ลมดำ ลมบน ลมกระพือปีก ลมครุฑ ลมใบตาล หรือ ความพัดไปมา ธรรมชาติที่พัดไปมา ความเคร่งตึงแห่งรูปเป็นภายนอก เป็นอุปาทินนรูปข้างนอก แม้อื่นใดมีอยู่ นี้เรียกว่า วาโยธาตุภายนอก

อากาสธาตุ มี ๒ อย่าง คือ อากาสธาตุภายใน อากาสธาตุภายนอก

          อากาสธาตุภายใน คือ อากาศ ธรรมชาติอันนับว่าช่องว่าง ที่อันเนื้อและเลือดไม่ถูกต้องเป็นภายใน เฉพาะตน เป็นอุปาทินนรูปข้างใน ได้แก่ ช่องหู ช่องจมูก ช่องปาก ช่องสำหรับกลืนของกินของดื่มของเคี้ยวของลิ้ม ช่องที่พักอยู่แห่งของกินของดื่มของเคี้ยวของลิ้ม และช่องสำหรับของกินของดื่มของเคี้ยวของลิ้มไหลออกเบื้องต่ำ หรืออากาศ ธรรมชาติอันนับเป็นอากาศ ความว่างเปล่า ธรรมชาติอันนับว่าความว่างเปล่า ช่องว่าง ธรรมชาติอันนับว่าช่องว่าง ที่อันเนื้อและเลือดไม่ถูกต้อง เป็นภายในเฉพาะตน เป็นอุปาทินกรูปข้างใน

          อากาสธาตุภายนอก คือ อากาศ ธรรมชาติ อันนับว่าอากาศ ความว่างเปล่า ธรรมชาติอันนับว่าความว่างเปล่า ช่องว่าง ธรรมชาติอันนับว่าช่องว่าง ที่อันมหาภูตรูป ๔ ไม่ถูกต้อง เป็นภายนอก เป็นภายนอก เป็นอนุปาทินนรูปข้างนอก

วิญญาณธาตุ คือ จักขุวิญญาณธาตุ โสตวิญญาณธาตุ ฆานวิญญาณธาตุ ชิวหาวิญญาณธาตุ กายวิญญาณธาตุ มโนวิญญาณธาตุ

                             

[๑] พระธรรมปิฎก,พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม, หน้า ๑๑๗.
[๒] ป.หลงสมบุญ,พจนานุกรมมคธ – ไทย,หน้า ๓๖๖.
[๓] เล่มเดียวกัน,หน้าเดียวกัน
[๔] ปิ่น มุทุกันต์, คำบรรยายพุทธศาสตร์ภาค ๓,หน้า ๑๐๑.
[๖] ปิ่น  มุทุกันต์, คำบรรยายพุทธศาสตร์ ภาค ๓ หน้า ๑๐๒.

[๖] พระธรรมปิฎก, พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม, หน้า ๗๑.
[๗] เล่มเดียวกัน, หน้า ๑๑๘.
[๘] มหามกุฎราชวิทยาลัย, พระสุตตุนตปิฎก เล่มที่ ๒๖, หน้า ๔๘๔.
[๙] มหามกุฎราชวิทยาลัย, พระสุตตันตปิฎก เล่ม ๒๖, หน้า ๔๙๗.
[๑๐] มหามกุฎราชวิทยาลัย,พระสุตตันตปิฎก เล่ม ๒๖,หน้า ๕๐๑.
[๑๑] เล่มเดียวกัน, หน้า ๕๐๐.



Credit by :http://dou_beta.tripod.com/GL101_02_th.html#_ftn1
อนุโมทนาสาธุที่มาทั้งหมดมากมายค่ะ

บันทึกการเข้า
คำค้น:
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน

Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.483 วินาที กับ 31 คำสั่ง

Google visited last this page 16 พฤศจิกายน 2567 15:54:41