[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
23 พฤศจิกายน 2567 16:03:20 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: เมื่อศิษย์พร้อม ครูก็ปรากฏ  (อ่าน 1336 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
มดเอ๊ก
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +8/-1
ออฟไลน์ ออฟไลน์

Thailand Thailand

กระทู้: 5162


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
Opera 9.80 Opera 9.80


ดูรายละเอียด
« เมื่อ: 14 มีนาคม 2555 08:16:31 »



โดย ดร.พงษธร ตันติฤทธิศักดิ์
หนังสือพิมพ์มติชน ฉบับประจำวันที่ 10 มีนาคม 2555

พระอาจารย์ญีมา ทรักปา รินโปเช (อ่าน นีมา ทรักปา) เจ้าอาวาสวัดลาตรี ในเมืองเดรเก แคว้นคาม ทิเบตตะวันออก เป็นพระอาจารย์ผู้สืบสายการปฏิบัติซกเช็น (Dzogchen) ซึ่งเป็นคำสอนสูงสุดของพุทธศาสนาทิเบตสายญิงมะและเพิน และเป็นการปฏิบัติที่ลัดสั้นและตัดตรงสู่การบรรลุธรรมในชาตินี้ คำสอนในสายนี้เป็นคำสอนที่ถ่ายทอดเฉพาะคุรุกับศิษย์เพียงแค่ไม่กี่คน มีการสืบสายกันมาอย่างไม่ขาดตอนหลายร้อยปี และเริ่มมีการนำออกมาสอนและเผยแพร่สู่สาธารณะทั่วโลกไม่นานมานี้

ผมได้มีโอกาสพบกับรินโปเชในเดือนที่ผ่านมา โดยรศ.ดร.กฤษดาวรรณ หงศ์ลดารมภ์ และมูลนิธิพันดารา นิมนต์ท่านมาสอนซกเช็นให้ในเมืองไทย คำสอนของท่านตรงเข้ามาสู่ใจของผมและเพื่อนๆ ทีมปลูกรักที่ร่วมเดินทางไปด้วยกัน แม้ว่าคณะของพวกเราจะพลาดโอกาสได้รับถ่ายทอดการปฏิบัติเบื้องต้นในปีนี้ (ซกเช็นระดับที่ ๑) เพียงแค่ได้รับฟังธรรมะจากท่าน ก็ปลุกจิตวิญญานของพวกเราให้ตื่นขึ้นแล้ว

ในคืนนั้น ณ ศูนย์ขทิรวัน หัวหิน ผมถามท่านว่าในระหว่างหนึ่งปีที่พวกเรายังไม่ได้พบกับท่าน เราควรปฏิบัติอย่างไรเพื่อเตรียมตัวมาฝึกกับท่านอีก ท่านเมตตาตอบว่า ให้เราเริ่มจากการตระหนักถึงคุณค่าความเป็นมนุษย์ แล้วบ่มเพาะความกรุณา (compassion) คือไม่นิ่งดูดายเวลาเห็นใครทุกข์ ให้เข้าไปช่วยเหลือ เหมือนกับที่เราจะช่วยเหลือตัวเอง เวลาตัวเองทุกข์

พวกเราได้รับคำสอนนี้ในเวลาใกล้ๆ กับที่เรามีประสบการณ์สูงสุดจากการอบรมของปลูกรัก น้องในทีมคนหนึ่งสะท้อนให้ฟังหลังการอบรมว่า เหมือนได้ผ่านหลักสูตรสอนความเป็นคน อันที่จริงเราอบรมเกี่ยวกับเรื่อง "การเรียนรู้สู่การเปลี่ยนแปลง" (transformational learning) ซึ่งมีเครื่องมือหลักคือ "การเอกซ์เรย์จิต" ที่คิดค้นโดย ศ.ดร.โรเบิร์ต คีแกน และ ลิซ่า ลาเฮ มุ่งเน้นการทำงานกับตัวเองเพื่อเปลี่ยนจิตให้มีขนาดใหญ่ขึ้น (เข้าใจตัวเอง คนอื่น และความเชื่อมโยงของสิ่งต่างๆ มากขึ้น) สำหรับผมแล้ว เครื่องมือนี้เปรียบเสมือนกุญแจที่ไขประตูใจ ให้คนเข้าไปค้นพบกับความเป็นมนุษย์ที่มีอยู่แล้วในตนเอง ทั้งความกลัวและความเปราะบาง ทั้งความปรารถนาและแรงจูงใจ

ผมได้มีโอกาสได้พบท่านรินโปเชอีกสองครั้งในหนึ่งเดือนที่ผ่านมา ครั้งหนึ่งท่านสอนว่า ซกเช็นเป็นการสอนที่ง่ายที่สุด ตรงที่สุด และไม่อาศัยกระบวนการอะไรซับซ้อนเลย คำสอนนี้ทำให้ผมกลับมาคิดทบทวนกับตัวเองว่า ที่ผ่านมาผมมักจะทำให้กระบวนการเรียนรู้ซับซ้อนเกินไป (โดยนิสัยของตัวผมเอง) การทดลองทำแล้วทำอีก และการให้ข้อมูลย้อนกลับกันและกันในทีมงานปลูกรัก ก็เพื่อทำให้กระบวนการเรียนรู้ลดความเยิ่นเย้อ และง่ายที่สุด หลายครั้งเราสะท้อนกันแบบตรงๆ ด้วยความรักความห่วงใย ตัวอย่างเช่น บางทีผมออกแบบกระบวนการติดภาคทฤษฎีเกินไป ทีมทำงานภาคปฏิบัติสะท้อนกลับว่า ผมกลัวอะไรจึงทำให้ง่ายไม่ได้ มันก็เป็นการให้ข้อมูลย้อนกลับที่ตรงเข้ามาที่ใจเลย ไม่ต้องอ้อมไปอ้อมมา

ผมได้รับความกรุณาจากเพื่อนร่วมงาน ไม่นิ่งดูดายเวลาผมติดขัด ช่วยเหลือกันจนผ่านมาได้ ผมพบว่า การให้ข้อมูลย้อนกลับด้วยความกรุณา (compassionate feedback) เป็นการเรียนรู้ที่ไร้กระบวนการ และเป็นส่วนสำคัญที่ทำให้การจัดกระบวนการเรียนรู้ของปลูกรักประสบความสำเร็จมากขึ้นๆ ไม่ว่าจะเป็นในส่วนของทีมจัดอบรมเองที่มีการให้และรับข้อมูลย้อนกลับกันเอง หรือในส่วนของผู้เข้าร่วมอบรมที่ได้มีโอกาสให้และรับข้อมูลย้อนกลับกันด้วยความกรุณา

คำสอนโบราณที่ว่า "เมื่อศิษย์พร้อม ครูก็ปรากฏ" แจ่มชัดมากขึ้น เมื่อคำสอนของรินโปเช ต่อยอดพอดีกันกับประสบการณ์การทำงานที่เพิ่งผ่านไป ผมตั้งคำถามกับตัวเองว่า คุณค่าความเป็นมนุษย์อะไรบ้างที่เราตระหนักได้แล้ว ก็รักษาไว้ไม่ให้จางหายไป คุณค่าอะไรที่ยังไม่ตระหนัก ก็เรียนรู้เพิ่มเติม ความกรุณาที่มีอยู่ในใจของเรามีขอบเขตแค่ไหน ก็ขยายออกไปให้กว้างกว่าเดิม ลงมือช่วยเหลือให้มากกว่าเดิม

ผมได้มีโอกาสพบท่านอีกครั้ง ในวันที่มูลนิธิพันดารามีประชุมกรรมการเรื่องงานพระสถูป (พระศานติตารามหาสถูป) ส่วนตัวผมตั้งปณิธานไว้ว่า จะช่วยเหลือสนับสนุนการสร้างพระสถูปให้สำเร็จ เพื่อเป็นสัญลักษณ์ของสันติภาพในพุทธศาสนา ในวันนั้น ผมได้ฟังรินโปเชกล่าวถึงความหมายที่แท้ของพระสถูป ทำให้ผมเข้าใจอะไรมากขึ้นไปจากเดิมว่า ท่านเริ่มจากอธิบายว่า พระสถูปเริ่มสร้างแล้วในใจของพวกเราทุกคน เราเพียงแค่ทำให้พระสถูปนั้นปรากฏเป็นวัตถุที่มองเห็นได้ เพื่อยังประโยชน์ให้กับผู้ที่พบเห็น และยั่งยืนสู่คนรุ่นต่อๆ ไป



ท่านอธิบายว่า พระพุทธรูป คัมภีร์ และพระสถูป เป็นสิ่งแทนกาย วาจา ใจ ของพระพุทธเจ้า พระพุทธรูปสี่พระองค์จะประดิษฐานในพระสถูปแห่งนี้ พระพุทธรูปองค์แรกหมายถึง สุญญตา (Emptiness) อันเป็นพื้นที่ว่าง (space) ให้สรรพสิ่งปรากฏขึ้น พระพุทธรูปองค์ที่สอง หมายถึง แสงกระจ่าง อันเป็นคุณสมบัติสำคัญของความว่าง เพราะความว่างที่แท้ไม่ได้ว่างแบบไม่มีอะไร แต่เป็นความว่างที่เต็มเปี่ยมไปด้วยความกรุณาและศักยภาพของการก่อเกิดและปรากฏ ความเป็นไปได้ต่างๆ ของโลกนี้ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องยากๆ ที่เราคาดไม่ถึงว่าจะเป็นไปได้ ต่างมีศักยภาพที่จะปรากฏได้ เช่น โลกเคลื่อนสู่ยุคใหม่ที่ไม่มีความรุนแรง ยุคที่คนมีจิตสำนึกใหม่ ยุคที่สิ่งแวดล้อมได้รับการดูแลอย่างใส่ใจ เป็นต้น พระพุทธเจ้าองค์ที่สาม หมายถึง อุบายอันแยบยล หมายถึงการฝ่าฟันอุปสรรคด้วยอุบายต่างๆ การกล้าเผชิญความท้าทายต่างๆ การก่อเกิดและปรากฏใหม่ไม่ว่าจะเป็นสังคม ชีวิต หรือการงาน ต้องพบกับอุปสรรค ความท้าทาย และแรงเสียดทานทั้งสิ้น อุบายอันแยบยลจึงจะนำไปสู่การเอาชนะอุปสรรคได้

พระพุทธรูปองค์ที่สี่ หมายถึง การบรรลุผลอย่างสมบูรณ์ ในพระพุทธรูปทั้งสามองค์ก่อนหน้านี้เป็นตัวแทนของคุณภาพภายในทั้งหมด ส่วนพระพุทธรูปองค์ที่สี่นี้ เป็นตัวแทนของการมาปรากฏในกายเนื้อของพระพุทธเจ้า ท่านเป็นตัวอย่างให้ผู้คนและเหล่าสรรพสัตว์ได้ปฏิบัติตาม จนถึงซึ่งการหลุดพ้น แล้วท่านก็จากไป เช่นเดียวกับสัตว์โลกทั้งหลาย เพื่อแสดงให้เห็นถึงความเป็นอนิจจัง

ผมฟังท่านเล่าความหมายของพระพุทธรูปแต่ละองค์ด้วยความสนใจ ช่างเป็นคำอธิบายการเปลี่ยนแปลงที่งดงามที่สุดที่ผมเคยได้ยินมา ผมเชื่อมโยงกลับมาที่การอบรมเรื่องการเปลี่ยนแปลงจิตใจของคน ศักยภาพของการเปลี่ยนแปลงมีอยู่แล้วใจของทุกคน เพียงแค่ภายในใจมีที่ว่าง พลังของศักยภาพการเปลี่ยนแปลงก็จะฉายแสงออกมา และเมื่อผสานกับความรักความกรุณา กลายเป็นความมุ่งมั่นที่จะเผชิญความยากลำบากในการเปลี่ยนแปลง เมื่อมุ่งมั่นอย่างมีพลัง ก็ลงมือทำต่างอย่างมีอุบาย แยบยล ไม่ทำแบบตกร่องนิสัยเดิมๆ ผลลัพธ์ของการเปลี่ยนแปลงจิตใจตนเองก็จะปรากฏให้เห็นเป็นที่ประจักษ์ชัดกับตัวเองและทุกๆ คน การเปลี่ยนแปลงที่ปรากฏเป็นที่ประจักษ์ชัดจึงยังประโยชน์ให้กับคนอื่นต่อไปได้ ด้วยการแสดงให้คนอื่นเห็นเป็นตัวอย่าง แล้วคนอื่นปรารถนาจะเปลี่ยนตาม นี่คือผู้นำที่ดีที่สุดที่ทุกคนจะเป็นได้ ก่อนตายจากโลกนี้ไป

รินโปเชบอกกับพวกเราว่า พระสถูปเป็นการเปลี่ยนแปลงที่มองเห็นได้ สะท้อนถึงการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในจิตใจของผู้คนที่ร่วมกันสร้าง และผู้คนที่มาศึกษาเรียนรู้ความหมายที่แท้ของพระพุทธรูปแต่ละองค์ในพระสถูปแห่งนี้ ผมพบว่าการเรียนรู้สู่การเปลี่ยนแปลง ยังมีอะไรให้ค้นพบอีกมากมาย เพียงเราเปิดใจให้กว้างเข้าสู่โลกภายใน นำพลังแห่งการเปลี่ยนแปลงจากภายในออกไปช่วยเหลือคนอื่น ผมเชื่อว่าพระพุทธเจ้าทรงประทานพรให้กับทุกคนและสรรพสัตว์บนโลกใบนี้ และพรนั้นจะนำความสำเร็จมาสู่คนที่สร้างการเปลี่ยนแปลงจากภายใน

http://jitwiwat.blogspot.com/2012/03/blog-post_09.html

Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

บันทึกการเข้า

ทิ นัง มิไฮ นัง มิจะนัง ทิกุนัง แปลว่า
ที่นั่ง มีให้นั่ง มึงจะนั่ง ที่กูนั่ง ทิ้งไว้เป็น
ปริศนาธรรม นะตะเอง
คำค้น:
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน

Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.313 วินาที กับ 32 คำสั่ง

Google visited last this page 16 พฤศจิกายน 2567 13:40:08