22 ธันวาคม 2567 19:16:52
ยินดีต้อนรับคุณ,
บุคคลทั่วไป
กรุณา
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
1 ชั่วโมง
1 วัน
1 สัปดาห์
1 เดือน
ตลอดกาล
เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
หน้าแรก
เวบบอร์ด
ช่วยเหลือ
ห้องเกม
ปฏิทิน
Tags
เข้าสู่ระบบ
สมัครสมาชิก
ห้องสนทนา
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!
[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
นั่งเล่นหลังสวน
สุขใจ ห้องสมุด
.:::
บทสนทนาระหว่างตะวันออก-ตะวันตก รพินทรนาถ ฐากูล กับ อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์
:::.
หน้า: [
1
]
ลงล่าง
« หน้าที่แล้ว
ต่อไป »
พิมพ์
ผู้เขียน
หัวข้อ: บทสนทนาระหว่างตะวันออก-ตะวันตก รพินทรนาถ ฐากูล กับ อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ (อ่าน 4824 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
มดเอ๊ก
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 14
คะแนนความดี: +8/-1
ออฟไลน์
Thailand
กระทู้: 5162
ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 7.0
บทสนทนาระหว่างตะวันออก-ตะวันตก รพินทรนาถ ฐากูล กับ อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์
«
เมื่อ:
17 มิถุนายน 2553 20:37:40 »
Tweet
บทสนทนาระหว่างตะวันออก-ตะวันตก
รพินทรนาถ ฐากูล กับ อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์
นิรันดร์ สุขวัจน์ : แปลและเรียบเรียง
จาก: ถนนหนังสือ ปีที่๔ ฉบับที่ ๑๒
Rabindranath Tagore's
Conversation with Albert Einstein
รพินทรนาถ ฐากูล ได้ติดต่อสัมพันธ์อย่างใกล้ชิดกับศิลปิน,นักคิด และปัญญาชนคนสำคัญๆร่วมสมัยกับเขา ทั้งในอินเดียเองและในที่ต่างประเทศ ระหว่างเดินทางท่องยุโรปในปี ๑๙๓0 ฐากูร มีโอกาสได้พบปะสนนทนากับ อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ โดยการนัดหมายของ ดร.เมลเดลซึ่งเป็นเพื่อนของคนทั้งสอง ฐากูร ไปเยือน ไอน์สไตน์ ยังที่พำนักในกาพุธ อันเป็นตำบลนอกเมืองเบอร์ลินประเทศเยอรมัน เมื่อวันที่๑๔ กรกฎาคม ๑๙๓0 และไอน์สไตน์ก็ได้ไปเยือนฐากูลเป็นการตอบแทนที่บ้านของ ดร.เมลเดล บทสนทนาทั้งสองครั้งได้รับการบันทึกเสียงไว้คังนี้
ฐากูล
: วันนี้ผมกับดร.เมลเดสได้พูดคุยกันเรื่องการค้นพบใหม่ทางคณิตศาสตร์ซึ่งบอกให้เรารู้ว่า ในปริมณฑลของอณุภาคที่เล็กกว่านั้น ความบังเอิญก็ยังแสดงบทบาทของมันได้ ความเป็นไปของชีวิตที่เป็นอยู่ไม่อาจคาดหมายไว้ล่วงหน้าให้ชัดเจนได้อย่างสมบูรณ์
ไอน์สไตน์
:ข้อเท็จจริงที่ทำให้วิทยาศาสตร์มีแนวโน้มไปสู่ทัศนะเช่นนี้นั้นไม่ได้เป็นการบอกเลิกร้างไปจากความมีเหตุมีผล
ฐากูร
: อาจจะไม่เป็นการเลิกร้าง แต่ก็ปรากฎให้เห็นว่า ความคิดเกี่ยวกับเรื่องความมีเหตุมีผลไม่ได้อยู่ที่ธาตุต่างๆ พลังอย่างอื่นบางอย่างต่างหากที่ได้สร้างจักรวาลที่เป็นระบบขึ้นจากธาตุต่างๆเหล่านั้น
ไอน์สไตน์
: คนเราพยายามมองอะไรให้เข้าใจในระนาบที่สูงขึ้นมาว่าความเป็นระบบระเบียบนั้นมีอยู่อย่างไร ความเป็นระเบียบก็เลยมาตกอยู่ที่ซึ่งมีวัตถุใหญ่ๆ เป็นองค์ประกอบและชี้ทิศทางความเป็นความตาย แต่ในวัตถุธาตุที่เล็กแสนเล็กนั้น ความเป็นระเบียบเช่นนี้ไม่เป็นที่สังเกตเห็นได้โดยง่าย
ฐากูร
: เมื่อเป็นดังนั้น ในก้นบึ้งของความเป็นไปก็ย่อมมีทวิภาวะอยู่นั่นก็คือความขัดแย้งกันระหว่างแรงกระตุ้นที่เป็นอิสระ กับเจตจำนงชี้นำซึ่งคอยกำกับอยู่เหนือแรงกระตุ้นและค่อยๆเปลียนแปลงแบบแผนอันเป็นระเบียบดีแล้วของวัตถุธาตุต่างๆ
ไอน์สไตน์
:นักฟิสิกส์สมัยใหม่จะพูดว่านั่นเป็นความขัดแย้ง หากมองจากที่ไกลๆ จะเห็นเมฆเป็นกลุ่มก้อนเดียวกัน แต่ถ้าคุณมองดูใกล้เมฆเหล่านั้นจะแสดงตัวเองให้เห็นเป็นหยดน้ำที่ไร้ระเบียบ
ฐากูร
: ในด้านจิตวิทยาเกี่ยวกับมนุษย์นั้นผมพบว่ามีลักษณะคู่ขนานอยู่อย่างหนึ่ง กิเลสกับความต้องการของเราเป็นสิ่งที่ระงับได้ยาก แต่บุคลิกภาพของเราก็ได้กำราบสิ่งเหล่านี้ให้กลายเป็นความกลมกลืนเป็นหนึ่งเดียว ในโลกทางฟิสิกส์มีอะไรในทำนองนี้เกิดขึ้นบ้างหรือไม่? มีธาตุต่างๆที่แข็งขืน. เปลี่ยนแปลงไปด้วยแรงพลักดันที่เป็นของตัวเองโดยเฉพาะบ้างหรือไม่? กฎเกณฑ์ในโลกทางฟิสิกส์ที่บังคับครอบงำธาตุต่างๆ และทำให้รวมกันเป็นระบบที่เป็นระเบียบนั้นมีอยู่ไม่ใช่หรือ?
ไอน์สไตน์
:ธาตุต่างๆไม่ใช่ว่าจะไม่มีความเป็นระเบียบในเชิงสถิติ ธาตุเรเดี่ยมจะมีระเบียบที่แน่นอนของมันเสมอ ทั้งในขณะนี้และต่อๆไป เช่นเดียวกับที่มันเคยเป็นตลอดมา ฉนั้นในธาตุต่างๆก็ย่อมมีความเป็นระเบียบในเชิงสถิติ
ฐากูร
: หรือถ้าไม่อย่างนั้น ความเป็นไปเกี่ยวกับชีวิตที่เป็นอยู่ก็ไม่เป็นระเบียบเอามากๆ ความกลมกลืนที่ลงตัวอย่างมั่นคงของโอกาสและการตัดสินใจนั่นเองที่ทำให้มันดำเนินอยู่ได้และมีอะไรใหม่ๆอยู่ตลอดเวลา
ไอน์สไตน์
:ผมเชื่อว่าอะไรก็ตาม ที่เราทำหรือมีชีวิตอยู่เพื่อมันล้วนแต่มีเหตุมีผลที่อธิบายได้ อย่างไรก็ตาม มันดีเหมือนกันนะที่เราไม่สามารถมองทะลุถึงเหตุผลอันนี้ได้
ฐากูร
: ในกิจกรรมของมนุษย์ก็มีธาตุแห่งความยืดหยุ่นอยู่ด้วยเช่นเดียวกัน นั่นหมายถึงเสรีภาพบางอย่างภายใต้ขอบเขตเล็กๆ ซึ่งแสดงออกถึงบุคลิกภาพของเราเอง ดุจเดียวกับระบบดนตรีในอินเดียที่ไม่มีกรอบตายตัวอย่างดนตรีตะวันตก คีตกวีของเราให้เพียงแนวทางหลักๆ ระบบของการเรียบเรียงท่วงทำนองและจังหวะ พร้อมด้วยข้อจำกัดอีกเล็กน้อย ให้นักดนตรีจะด้นไปได้ เขาจะต้องเป็นคนที่กุมกฎเกณฑ์ท่วงทำนองเฉพาะของเพลงนั้นๆไว้ ทั้งสามารถแสดงออกอย่างเป็นธรรมชาติถึงอารมณ์แห่งดนตรีกาลของเขาภายใต้กรอบทั่วไป เราชื่นชมคีตกวีในความเป็นอัจฉริยะทางด้านสร้างสรรค์พื้นฐานและโครงสร้างส่วนบนของท่วงทำนอง แต่สำหรับนักดนตรีเราคาดหมายในทักษะส่วนตัวที่จะเล่นอย่างพลิกผันให้ท่วงทำนองที่ปรากฎออกมาโดดเด่นและไพเราะงดงาม ในการสร้างสรรค์ เราอาศัยกฎสำคัญพื้นฐานของชีวิต แต่แม้นว่าเราไม่ได้ตัดขาดตัวเองจากมัน เราก็ยังมีเสรีภาพมากพอภายใต้ข้อจำกัดของบุคลิกภาพส่วนตัวสำหรับการแสดงตัวตนอย่างเต็มสมบูรณ์
ไอน์สไตน์
: นั่นแหละคือความเป็นไปได้เพียงทางเดียวที่จะมีจารีตทางศิลปการดนตรีที่หนักแน่นอันส่งผลต่อจิตใจผู้คนได้ ดนตรีในยุโรปก้าวย่างห่างไกลไปจากความเป็นศิลปะสมัยนิยมและอารมณ์ความรู้สึกพื้นๆที่คนทั่วไปเข้าถึงได้ กลายเป็นบางสิ่งเสมือนของทิพย์ มีแบบแผนและจารีตของตัวเองไป
ฐากูร
: ท่าทางคุณจะยึดมั่นถือมั่นสุดโต่งเอาเลยกับดนตรีที่ซับซ้อนเหลือเกินอย่างนี้ ในอินเดียนั้นมาตรการที่ใช้วัดเสรีภาพของนักร้องสักคนอยูที่การสร้างสรรค์ส่วนตัวของเขาเอง เขาอาจจะขับร้องเพลงในแบบของคีตกวีคนนั้น หรือไม่ก็ใชพลังสร้างสรรค์โดยถือตัวเองเป็นหลักในการตีความกฎทั่วไปของท่วงทำนองแล้วแสดงออกในแบบของเขาเอง
ไอน์สไตน์
: เป็นความเรียกร้องต้องการมาตรฐานทางศิลปะระดับสูงทีเดียวที่ทำให้แนวคิดอันยิ่งใหญ่ทางด้านดนตรีแบบแผนเป็นความจริงได้เต็มที่ เพื่อที่ใครก็ได้จะสามารถพลิกผันได้กว้างไกลออกไปอีก สำหรับประเทศของเรา การพลิกผันเป็นข้อกำหนดที่พบเห็นบ่อยมาก
ฐากูร
: ถึงแม้ในการประพฤติปฎิบัตของเราจะคล้อยตามหลักความดี เราก็ยังมีอิสรภาพที่แท้ในการแสดงตัวตน แนวการปฎิบัติพื้นฐานอยู่ตรงนั้นเอง แต่ผู้ที่จะสวมบทบาททำให้กลายเป็นความจริงได้เป็นรายๆไปนั้น เป็นการสร้างสรรค์ส่วนตัวของเราเอง คนตรีของเราประกอบด้วยทวิลักษณะของเสรีภาพและกำหนดกฎเกณฑ์
ไอน์สไตน์
:แล้วคำร้องของเพลงล่ะมีเสรีภาพด้วยไหม? ผมหมายถึงว่านักร้องมีอิสระที่จะเพิ่มเติมเนื้อร้องเข้าไปได้หรือไม่?
ฐากูร
: มี เรามีเพลงแบบหนึ่งในแคว้นเบงกอล เรียกว่า กิรตาน ที่ให้เสรีภาพแก่นักร้องในอันที่จะนำความคิดเห็นมาสอดใส่ลงไปได้เป็นวลีที่ไม่มีอยู่ในเพลงแม่แบบ ภาวะเร่าร้อนอย่างสูงเช่นนี้จะเกิดขึ้นก็ต่อเมื่อผู้ฟังกำลังเคลิบเคลิ้มดื่มด่ำในความไพเราะอันเกิดจากความเต็มตื้นที่เป็นไปเองจากภายในที่นักร้องสอดใส่ส่งผ่านไปให้
ไอน์สไตน์
: เอามาใช้วัดกันจริงได้ด้วยหรือ?
ฐากูร
: ได้ คุณไม่สามารถล้ำหน้าขีดขั้นทางฉันทลักษณ์หรอก นักร้องที่พลิกผันบทเพลงได้ย่อมต้องรักษาจังหวะจะโคนเอาไว้ด้วยซึ่งเป็นของตายตัวอยู่แล้ว ในคนตรียุโรปก็ต้องมีการเปรียบเทียบความเป็นอิสระกับจังหวะจะโคน ไม่ใช่กับท่วงทำนอง
ไอน์สไตน์
:แล้วเพลงอินเดียจะขับร้องโดยปราศจากถ้อยคำได้หรือเปล่า?มีสักคนใหมที่เข้าถึงบทเพลงที่ไม่มีเนื้อร้อง
ฐากูร
: ได้ซิ เรามีเพลงตั้งแยะที่ใช้คำร้องที่ไม่มีความหมาย เป็นแค่เสียงที่เป็นตัวเสริมโน้ตดนตรีเท่านั้น ดนตรีอินเดียภาคเหนือเป็นศิลปะที่มีอิสระเสรี ไม่ต้องมีการตีความถ้อยคำเนื้อร้องและความคิดก็เช้นเดียวกับในเบงกอล เป็นดนตรีที่ละเอียดประณีตและแฝงนัยลึกๆเอาไว้มาก และก็เป็นโลกดนตรที่แสนสมบูรณ์ในตัวเองทีเดียว
ไอน์สไตน์
: จะไม่กลายเป็นเสียงหลากหลายที่ผสมผสานกันสับสนไปดอกหรือ?
ฐากูร
: เครื่องดนตรีมีไว้ใช้ไม่ใช่เพื่อความประสานกลมกลืนของเสียง หากเพื่อรักษาจังหวะจะโคนและส่งผลไปที่ความดังและความลึก แล้วท่วงทำนองในดนตรีของคุณรองรับการกำหนดเสียงประสานได้ไหม?
ไอน์สไตน์
: บางทีก็มากเอาการ แต่บางทีเสียงประสานก็กลืนเอาทำนองหลักไปด้วยกันเลย
ฐากูร
: ทำนองหลักและเสียงประสานก็เฉกเช่นเส้นและสีในภาพเขียนน่ะแหละ ภาพเขียนแบนราบธรรมดาๆอาจดูสวยสมบูรณ์แบบ เพียงด้วยความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับสีอาจทำให้ดูมัวซัวและไร้ความหมาย กระนั้นโดยการโยงเส้นสายเข้าด้วยกัน สีก็จะสร้างสรรค์ภาพที่ยิ่งใหญ่ขึ้นมาได้ ตราบเท่าที่ไม่ได้ใช้จนเปรอะและทำลายคุณค่าของตัวเองลง
ไอน์สไตน์
: เปรียบเทียบได้สวยงาม เส้นเก่ากว่าสีมากนะ ทำให้ดูเหมือนว่าท่วงทำนองของคุณมีโครงสร้าง ที่หรูหรากว่าของเรา ดนตรีญี่ปุ่นก็เหมือนกัน
ฐากูร
: เป็นเรื่องยากอยู่ที่จะวิเคราะห์ผลของดนตรีตะวันออกและตะวันตกที่มีต่อจิตใจของเรา ผมเองได้รับแรงดลใจอย่างลึกซึ้งจากดนตรีตะวันตก รู้สึกว่ามันช่างยิ่งใหญ่ โครงสร้างหรือก็ไพศาล องค์ประกอบก็งดงามภาคภูมิ ส่วนดนตรีของเราเองหยั่งลึกลงไปในใจผมยิ่งกว่าไปอีก ด้วยลักษณะเชิญชวนดูดดึงด้วยเสน่ห์ของโศลกดั้งเดิมที่เป็นรากเหง้าของมัน ดนตรียุโรปมีลักษณะตำนานอันห้าวหาญ มีภูมิหลังกว้างและมีโครงสร้างแบบโกธิค
ไอน์สไตน์
: นี่เป็นปัญหาที่ชาวยุโรปเราไม่อาจตอบได้อย่างแท้จริง เราคุ้นเคยกับดนตรีของเราเองมากเกินไป เราอยากรู้ว่าดนตรีของเราเป็นแบบแผนธรรมเนียมความรู้สึกของมนุษย์หรือเป็นรากเหง้าของความรู้สึกนั้น อยากเข้าถึงว่าธรรมชาตินั้น คือความสอดคล้องและความขัดกัน หรือแบบแผนธรรมเนียมที่เรายอมรับ
ฐากูร
: เปียโนทำให้ผมจังงังไปได้อย่างไรไม่รู้ ไวโอลินให้ความรื่นรมย์มากกว่า
ไอน์สไตน์
: คงน่าสนใจดีที่จะได้ศึกษาผลของดนตรียุโรปต่อชาวอินเดียที่ไม่เคยได้ยินได้ฟังมาก่อนในช่วงเยาว์วัย
ฐากูร
: มีอยู่หนหนึ่ง ผมขอร้องให้นักดนตรีชาวอังกฤษวิเคราะห์ดนตรีคลาสสิคให้ฟัง และให้อธิบายว่าลักษณะอย่างไหนที่ทำให้งานชิ้นหนึ่งไพเราะขึ้นมา
ไอน์สไตน์
: ความยุ่งยากก็คือดนตรีที่ดีจริงๆไม่ว่าของตะวันออกหรือตะวันตก ไม่ใช่สิ่งที่จะนำมาวิเคราะห์อย่างเป็นเหตุเป็นผลได้
ฐากูร
: ใช่แล้ว และผลลึกซึ้งอย่างไหนกันที่เกิดขึ้นกับผู้ฟัง
ไอน์สไตน์
: ความไม่แน่นอนทำนองเดียวกันย่อมเกิดขึ้นเสมอกับทุกสิ่งที่สำคัญลึกซึ้งในประสบการณ์ของเรา ในปฎิกิริยาของเราต่อศิลปะไม่ว่าในยุโรปหรือเอเซีย แม้แต่ดอกไม้แดงบนโต๊ะที่อยู่ต่อหน้าต่อตาผม ก็ยังดูไม่เหมือนกันสำหรับคุณและผม
ฐากูร
: และแน่นอน ย่อมมีการพัฒนาไปบนกระบวนการรอมชอมกันเสมอ รสนิยมส่วนตัวของปัจเจกชนย่อมเป็นไปตามพื้นฐานสากลอยู่ดีแหละ
***
รพินทรนาถ ฐากูร (Rabindranath Tagore) (7 พฤษภาคม, ค.ศ. 1861 – 7 สิงหาคม, ค.ศ. 1941) มีสมัญญานามว่า "คุรุเทพ" เป็นนักปรัชญาพรหโมสมัช นักธรรมชาตินิยม และกวีภาษาเบงกาลี เคยได้รับรางวัลโนเบลสาขาวรรณกรรม ประจำปี ค.ศ. 1913 และนับเป็นชาวเอเชียคนแรกที่ได้รับรางวัลโนเบล
***
อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ (Albert Einstein) (14 มีนาคม พ.ศ. 2422 - 18 เมษายน พ.ศ. 2498) เป็นนักฟิสิกส์ทฤษฎี ชาวเยอรมันที่มีสัญชาติสวิสและอเมริกัน (ตามลำดับ) ซึ่งเป็นที่ยอมรับกันอย่างกว้างขวางว่าเป็นนักวิทยาศาสตร์ที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในคริสต์ศตวรรษที่ 20 เขาเป็นผู้เสนอทฤษฎีสัมพัทธภาพ และมีส่วนร่วมในการพัฒนากลศาสตร์ควอนตัม สถิติกลศาสตร์ และจักรวาลวิทยา เขาได้รับรางวัลโนเบลสาขาฟิสิกส์ในปี พ.ศ. 2464 จากการอธิบายปฏิกิริยาโฟโตอิเล็กทริก และจาก "การทำประโยชน์แก่ฟิสิกส์ทฤษฎี"
http://www.rmutphysics.com/charud/oldnews/175/index175.htm
[/CENTER]
บันทึกการเข้า
ทิ นัง มิไฮ นัง มิจะนัง ทิกุนัง แปลว่า
ที่นั่ง มีให้นั่ง มึงจะนั่ง ที่กูนั่ง ทิ้งไว้เป็น
ปริศนาธรรม นะตะเอง
หมีงงในพงหญ้า
ยืนงงในดงตีน
ผู้ก่อตั้งเวบฯ
นักโพสท์ระดับ 15
คะแนนความดี: +62/-0
ออฟไลน์
เพศ:
United Kingdom
กระทู้: 7866
• Big Bear •
ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 7.0
Re: บทสนทนาระหว่างตะวันออก-ตะวันตก รพินทรนาถ ฐากูล กับ อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์
«
ตอบ #1 เมื่อ:
17 มิถุนายน 2553 22:16:19 »
wow
บันทึกการเข้า
B l a c k B e a r
: T h e D i a r y
คำค้น:
หน้า: [
1
]
ขึ้นบน
พิมพ์
« หน้าที่แล้ว
ต่อไป »
กระโดดไป:
เลือกหัวข้อ:
-----------------------------
จากใจถึงใจ
-----------------------------
=> หน้าบ้าน สุขใจ
===> สุขใจ ป่าวประกาศ (ข้อความจากทีมงาน)
===> สุขใจ เสนอแนะ (ข้อความจากสมาชิก)
===> สุขใจ ให้ละเลง (มุมทดสอบบอร์ด)
-----------------------------
สุขใจในธรรม
-----------------------------
=> พุทธประวัติ - ประวัติพระสาวก
===> พุทธประวัติ แห่งองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
===> ประวิติพระอรหันต์ พระสาวก ในสมัยพุทธกาล
===> ประวัติพระผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ ในยุคปัจจุบัน
===> นิทาน - ชาดก
=====> ชาดก พระเจ้า 500 ชาติ
=> ธรรมะทั่วไป ธารธรรม - ธรรมทาน
===> ธรรมะจากพระอาจารย์
===> เกร็ดครูบาอาจารย์
=> ห้องวิปัสสนา - มหาสติปัฏฐาน 4
=> สมถภาวนา - อภิญญาจิต
=> จิตอาสา - พุทธศาสนาเพื่อสังคม
=> เสียงธรรมเทศนา - เอกสารธรรม - วีดีโอ
===> เอกสารธรรม
===> เสียงธรรมเทศนา
=====> ธรรมะจาก สมเด็จโต
=====> ธรรมะจาก หลวงปู่มั่น
=====> เสียงบทสวดมนต์
=====> เพลงสวดมนต์
=====> เพลงเพื่อจิตสำนึก แด่บุพการี
=====> ธรรมะ มิวสิค (เพลงธรรมทั่วไป)
===> ห้อง วีดีโอ
=> เกร็ดศาสนา
=> กฏแห่งกรรม - ท่องไตรภูมิ
=> ไขปัญหาโลก ธรรม และความรัก
=> บทสวด - คัมภีร์ คาถา - วิชา อาคม
=> พุทธวัจนะ - ภาษิตธรรม
===> พุทธวัจนะ ในธรรมบท
===> พุทธศาสนสุภาษิต
===> คำทำนายภัยพิบัติที่จะเกิด
===> รวมข่าวภัยพิบัติ ทั้งในอดีต และปัจจุบัน
===> รู้ เพื่อ รอด (การเตรียมการ)
=> ห้องประชาสัมพันธ์ ทั้งทางโลก และทางธรรม
===> ฐานข้อมูล มูลนิธิต่าง ๆ ในประเทศไทย (Donation Exchange Center)
-----------------------------
วิทยาศาสตร์ทางจิต เรื่องลี้ลับ
-----------------------------
=> วิทยาศาสตร์ - จักรวาล - การค้นพบ
===> เรื่องราว จากนอกโลก
=====> ประสบการณ์เกี่ยวกับ UFO
=====> หลักฐาน และ การพิสูจน์ยูเอฟโอ
=====> คลิปวีดีโอ ยูเอฟโอ
=> ไขตำนาน - ประวัติศาสตร์ - การค้นพบ อารยธรรม
=> เรื่องแปลก - ประสบการณ์ทางจิต - เรื่องลึกลับ
===> ร้อยภูติ พันวิญญาณ
=====> ประสบการณ์ ผี ๆ
=======> เรื่องเล่าในรั้วมหาลัย
=====> ประวัติ ต้นกำเนิด ตำนานผี
===> ดูดวง ทำนายทายทัก
===> ไดอะล็อก คือ ดอกอะไร - พลังไดอะล็อก (Dialogue)
===> กระบวนการ NEW AGE
=> เครื่องราง ของขลัง พุทธคุณ
-----------------------------
นั่งเล่นหลังสวน
-----------------------------
=> สุขใจ จิบกาแฟ
=> สุขใจ ร้านน้ำชา
=> สุขใจ ห้องสมุด
===> สุขใจ หนังสือแนะนำ
===> สุขใจ คลังความรู้ลวงโลก
===> สยาม ในอดีต
=> สุขใจ ใต้เงาไม้
=> สุขใจ ตลาดสด
=> สุขใจ อนามัย
=> สุขใจ ไปเที่ยว
=> สุขใจ ในครัว
===> เกร็ดความรู้ งานบ้าน งานครัว
=> สุขใจ ไปรษณีย์
=> สุขใจ สวนสนุก
===> ลานกว้าง (มุมดูคลิป)
===> เวที จำอวด (จำอวดหน้าม่าน)
===> หนังกลางแปลง (ดูหนัง รีวิวหนัง)
===> หน้าเวที (มุมฟังเพลง)
=====> เพลงไทยเดิม
===> แผงลอยริมทาง (รวมคลิปโฆษณาโดน ๆ)
คุณ
ไม่สามารถ
ตั้งกระทู้ได้
คุณ
ไม่สามารถ
ตอบกระทู้ได้
คุณ
ไม่สามารถ
แนบไฟล์ได้
คุณ
ไม่สามารถ
แก้ไขข้อความได้
BBCode
เปิดใช้งาน
Smilies
เปิดใช้งาน
[img]
เปิดใช้งาน
HTML
เปิดใช้งาน
กำลังโหลด...