[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
28 มิถุนายน 2567 07:12:40 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: การภาวนาเพื่อพัฒนาขันติ ความเมตตากรุณา และเพื่อกำจัดความโกรธ  (อ่าน 1447 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
มดเอ๊ก
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +8/-1
ออฟไลน์ ออฟไลน์

Thailand Thailand

กระทู้: 5114


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 7.0 MS Internet Explorer 7.0


ดูรายละเอียด
« เมื่อ: 21 มิถุนายน 2553 20:40:53 »

การภาวนาเพื่อพัฒนาขันติ ความเมตตากรุณา และเพื่อกำจัดความโกรธ
 
 

ท่านศานติเทวะ
 
 
1. ลองนึกถึงช่วงเวลาที่ตนเองกำลังโกรธมากๆ พยายามย้อนภาพเวลานั้นมาให้ตนเองเห็นชัดๆ มองตนเองว่ากำลังโกรธอย่างไร มีอาการอย่างไร จิตใจเป็นอย่างไรบ้างในขณะนั้น แต่เราไม่ได้นึกถึงเรื่องที่โกรธ แต่เราพุ่งความสนใจไปที่ตัวอารมณ์โกรธเท่านั้น
 
2. ต่อไปก็วิเคราะห์ว่า อะไรเป็นเหตุที่ทำให้เราโกรธ ตัวอย่างเช่น เราอาจจะโกรธที่เวลาขับรถแล้วมีคนมาปาดหน้า ให้ลองสังเกตตัวอารมณ์ความโกรธนั้น แล้วดูว่าเกิดขึ้นได้อย่างไร เราขับรถอยู่ แล้วมีคนมาปาดหน้า เราโกรธเพราะอะไร? เพราะกลัวว่าจะไปชนเขา? หรือโกรธบุคคลที่ขับรถที่เราคิดว่ามองไม่เห็นรถของเรา? หรือเพราะว่าคนที่ขับมาปาดหน้าเรามา "ดูหมิ่น" เรา หาว่าเราขับรถไม่เก่ง ก็เลยคิดว่าต้องเร่งไปข้างหน้า ไปปาดเขาบ้างเพื่อ "เอาคืน"?
 
3. คิดต่อไปว่า เหตุเหล่านี้จริงๆแล้วมีรากเหง้ามาจากอะไร? การที่เรากลัวเอารถไปชนรถที่มาปาด มาจากความยึดมั่นว่ารถนี้เป็น "ของเรา" หรือเปล่า? แน่นอนว่าเราต้องระวังตัวเวลาขับรถ เพื่อไม่ให้เกิดอุบัติเหตุ แต่การระวังตามปกติไม่ใช่ความโกรธ บางทีเกิดความโกรธก็ทำให้ความระมัดระวังในการขับรถตามปกติเสียไปด้วยซ้ำ ถ้าเป็นอย่างนั้น ความโกรธตรงนี้มาจากไหน? ถ้าไม่ใช่ความยึดติดว่ารถนี้เป็นของเรา ราวกับว่ารถนั้นเป็นตัวเราไปเสียเอง แล้วเมื่อถูกปาดหน้า ก้เลยเกิดความรู้สึกว่าต้องปกป้องของของเรา (หรือ "ตัวของเรา") ด้วยการออกไปกำจัดต้นตอที่ทำให้ของของเรานี้ถูกกระทบหรือถูกคุกคาม แต่ประเด็นก็คือว่า ตัว "เรา" ที่อยู่ใน "ของของเรา" นี้คืออะไรกันแน่?
 
4. การคิดว่ามีตัวเรา เกิดจากการหลงคิดไปว่ากระแสความคิดที่เกิดต่อเนื่องในจิตเป็นบางสิ่งบางอย่างที่เป็นจริงในตัวของตัวเอง หมายความว่า เราหลงคิดไปว่า กระแสความคิดเหล่านี้เป็นสิ่งที่คงที่ เป็นจีรัง และเป็นอะไรที่เราหวงแหน แต่ความจริงก็คือว่า กระแสเหล่านี้เป็นเพียงสิ่งที่มันเป็น ได้แก่ "กระแส" คือไหลไปเรื่อย หรือเหมือนกับคลื่นในทะเลที่เกิดต่อเนื่องกัน หากเราไปคิดว่าคลื่นเหล่านี้เป็นของจริง ก็จะพบกับความผิดหวังอยู่ตลอด เนื่องจากธรรมชาติของคลื่นก็คือเกิดแล้วก็ดับไป คนที่โกรธจะเกิดจากความเชื่อผิดๆที่ว่า กระแสคลื่นเหล่านี้เป็น "ตัวเขา" ดังนั้น เมื่อเกิดอะไรมากระทบที่ทำให้ "ตัวเขา" นี้ถูกคุกคาม ก็จะเกิดเป็นความโกรธขึ้น ทั้งนี้เหมือนกับที่ท่านศานติเทวะสอนไว้ ว่าคนโกรธก็ไม่ต่างอะไรกับเด็ก ที่เมื่อเห็นปราสาททรายถูกคลื่นพัดพัง ก็ร้องไห้โวยวาย เพราะไม่รู้ว่าสิ่งต่างๆที่เขาคิดว่าเป็นตัวเขาของเขานั้น แท้จริงก็คือปราสาททรายนั่นเอง
 
5. ดังนั้น ความโกรธจึงเกิดจากการหลงผิดคิดไปว่า คลื่นในทะเลเป็นสามารถจับเอามาเป็นสิ่งที่จีรังยั่งยืน เป็นของแข็งๆที่อยู่นิ่งคงที่ได้ ซึ่งเห็นได้ชัดว่า เป็นการมองที่ผิดไปจากความเป็นจริง คนที่โกรธจะเกิดความโกรธเพราะว่า เขามีกระแสความคิด เช่น คิดว่า "ไอ้นี่เลวมากที่มาปาดหน้าเรา ไม่รู้หรือว่าเราคือใคร อย่ากระนั้นเลย ต้องไปปาดหน้ามันบ้าง มันจะได้รู้จักเรา เราต้องเอาที่มันเหยียบย่ำศักดิ์ศรีเรากลับคืนมา แล้วแถมดอกเบี้ยกลับไปให้มันอีกด้วย!" ที่คิดอย่างนี้ ก็มาจากตัวผู้มีความโกรธ คิดไปว่ากระแสความคิดของเขาเป็นความจริง ดังนั้น ขอให้เราลองพิจารณาตัวอย่างนี้ และลองพิจารณาถึงกระแสความคิดของตัวเราเองในขณะที่เราโกรธว่า เราไปหลงยึดว่ากระแสความคิดเป็นของจริงหรือไม่
 
6. ลองเปรียบเทียบสองกรณีต่อไปนี้ (1) มีคนมาขับรถปาดหน้าเรา แล้วเราโกรธ แบบในตัวอย่างที่ยกมาข้างต้น กับ (2) มีคนมาขับรถปาดหน้าเราเหมือนในข้อ (1) ทุกอย่าง แต่เราไม่โกรธ เราเพียงแต่ระวังว่าไม่ให้ขับรถไปชนท้ายเขา จะเห็นได้ว่า สองกรณีนี้ต่างกันแต่เพียงว่าในกรณีแรกมีความโกรธเกิดขึ้น แล้วความโกรธที่ว่านี้ก็ไม่ได้ช่วยให้เราขับรถดีขึ้นเลย ตรงกันข้ามหากเราคิดมุ่งแต่จะไปปาดคืน ไม่ช้าไม่นานก็เกิดอุบัติเหตุ แถมอาจเกิดเรื่องทะเลาะวิวาท ทำร้ายร่างกายกัน อันจะเป็นเหตุให้ต้องลงนรก ดังนั้น ขอให้พิจารณาทบทวนว่า ความโกรธมีดีที่ตรงไหน? ไม่มีเลยใช่หรือไม่? เรากลัวตกนรกหรือเปล่า? ถ้ากลัว (ควรจะต้องกลัว เพราะตกแล้ว ถูกไฟเผาบ้าง ถูกนกจิกลูกตาบ้าง ฯลฯ ไม่รู้ว่าเมื่อไหร่จะได้กลับมาเป็นมนุษย์อีก) ก็ไม่ควรโกรธ และเร่งรืบปฏิบัติตนฝึกจิต เพื่อไม่ใช่ตนเองเป็นคนมักโกรธอีกต่อไป
 
7. สิ่งสำคัญก็คือ เมื่อเราอธิษฐานโพธิจิตมุ่งช่วยเหลือสรรพสัตว์แล้ว หากยังโกรธอยู่ ก็แสดงว่าไม่ได้อธิษฐานจริง ความโกรธเป็นหนทางที่ "หันหลังกลับ" จากหนทางสู่พระพุทธภาวะ ไม่มีอะไรอีกแล้วที่จะตรงกันข้ามกับการบรรลุพระพุทธภาวะเพื่อช่วยเหลือสรรพสัตว์ ดังนั้น เราควรจะกำจัดรากเหง้าของความโกรธให้หมดไปจากจิตใจให้จงได้ แล้วก็ตั้งเป็นคำมั่นสัญญาหรือสัตยาธิษฐานแบบนี้
 
8. หากเราไม่เอาความโกรธนำหน้า เราก็พิจารณาไ้ด้ว่า เหตุที่คนๆนี้มาปาดหน้าเราเป็นเพราะอะไร ประการแรก เขาอาจจะไม่ได้ตั้งใจแต่ความจำเป็นบังคับเขา เช่นเขาต้องหักหลบอะไรบางอย่าง ถ้าเป็นอย่างนี้ ก็ไม่รู้จะไปโกรธทำไม ประการที่สอง หากเขาตั้งใจจะทำร้ายเราด้วยการขับรถปาดหน้า เช่น ตั้งใจจะเบียดเราตกถนนเพื่อทำร้ายเราแบบที่เห็นในภาพยนตร์ ก็ต้องมาดูสาเหตุว่าทำไมเขาต้องทำอย่างนั้น บางทีเราอาจจะไปทำอะไรที่แย่มากๆ จนทำให้เราต้องมาอยู่ในสภาพเช่นนี้ ในประการนี้ ท่านศานติเทวะสอนว่า ให้เราพิจารณาว่าคนที่มุ่งทำร้ายเรานั้น ก็ย่อมทำไปด้วยอำนาจของโทสะ พูดอีกอย่างก็คือว่า ตัวคนที่มุ่งทำร้ายเรานั้นเป็นเพียง "เครื่องมือ" ของโทสะ ดังนั้น ถ้าจะโกรธเราก็ต้องโกรธตัวโทสะนี้ ไม่ใช่ไปโกรธคนที่เป็นเพียงเครื่องมือ แต่เวลาเราโกรธโทสะ เรากำลังโกรธอะไร เราสามารถจับตัวโทสะที่ว่านี้มาจัดการ เพื่อเอาคืนจากโทสะนี้ได้อย่างไรกัน?
 
9. ที่ถูกก็คือเราพิจารณาว่า การที่มีคนมามุ่งทำร้ายเรานั้นต้องเป็นเพราะกรรมเก่าที่เราเคยทำไว้ เช่นเราเคยไปทำร้ายเขามาก่อน ก็เลยต้องมารับกรรมในปัจจุบันนี้ แต่ถ้าเราโกรธตอบและมุ่งทำร้ายตอบแทน เราก็ยิ่งทำให้วงจรของวัฏฏะสงสารหมุนต่อไปไม่รู้จักจบสิ้น ที่ร้ายก็คือว่า ตัวเราเองก็ต้องลงไปถูกต้มอยู่ในนรก เพราะเราเองโกรธไปทำร้ายผู้อื่น ที่ถูกคือเราคิดว่า การที่เรามาถูกทำร้าย มีคนขับรถมาพยายามปาดหน้าเบียดเราเช่นนี้ ก็เป็นเพราะว่ากรรมเก่าที่เคยทำมา ถ้าเราไม่โกรธ ผลกรรมที่เกิดขึ้น ณ เวลานี้ก็จะทำให้กรรมเก่าที่เคยทำมานั้น หมดอายุไป เรียกว่า "ใช้หนี้กรรม" ผลก็คือเรา "ปลอดหนี้" เป็นอิสระ มุ่งสู่พระพุทธภาวะได้อย่างเต็มที่
 
10. นอกจากนี้ ให้เราคิดต่อไปอีกว่า แท้จริงแล้วคนที่มาทำร้ายเรานั้น เป็นครูผู้ประเสริฐ เป็นอาจารย์ที่คอยสอนเราให้เราตระหนักถึงคุณค่าของขันติ เป็นเหมือนกับเพชรอันมีค่าที่เราต้องบูชาอย่างสุดจิตใจ ทั้งนี้ก็เพราะว่า การพัฒนาขันตินั้นไม่สามารถทำได้หากเราไม่มีความทุกข์ ขันติได้แก่ความอดทนอดกลั้น อดทนต่อความเจ็บปวด อดกลั้นต่อการยั่วให้โกรธ อันเป็นคุณสมบัติสำคัญอย่างยิ่งของพระโพธิสัตว์ ดังนั้น เราจึงภาวนาให้ซึมซับแนบแน่นเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของจิตใจว่า คนที่ทำร้ายเรามีพระคุณต่อเราอย่างใหญ่หลวง เทียบได้กับพระอาจารย์ที่สั่งสอนพระธรรมให้แก่เรา เพราะด้วยเหตุของผู้ที่ทำร้ายเรานั้น ทำให้เราได้ฝึกขันติและทำตัวเราให้ปลอดหนี้กรรม และผลอีกอย่างก็คือว่า ผู้ที่ทำร้ายเรานั้น เขาค้องไปลงนรกด้วยเหตุของการทำร้ายนี้ ดังนั้น แทนที่เราจะไปโกรธคนที่มุ่งทำร้ายเรา เราควรจะต้องสงสารมีความกรุณาต่อเขามากกว่า และหากเราทำอะไรได้เพื่อให้เขาพ้นจากทุกข์นี้ เราก็ควรทำ ด้วยการสอนธรรมะให้แก่เขา หรือวิธีที่เหมาะสมอื่นๆ แต่ที่เราได้แน่ๆเพราะเรื่องของตัวเราเอง ก็คืเราไม่ไปโกรธเขา และกำจัดต้นตอของความโกรธให้หมดไปจากใจเรา
 
11. วิธีกำจัดความโกรธที่ได้ผลมากที่สุดวิธีหนึ่ง ก็ได้แก่การพัฒนาหรือภาวนาคุณสมบัติที่เป็นคู่ตรงข้ามกับโทสะโดยตรง ได้แก่ความเมตตากรุณา ท่านที่คุ้นเคยกับการสวดมนต์ก็ขอให้สวดบทแผ่เมตตาเป็นประจำ ดังนี้
 
สพฺเพ สตฺตา สุขี โหนฺตุ
อเวรา โหนฺตุ
อพฺยาปชฺฌา โหนฺตุ
อนีฆา โหนฺตุ
สุขี อตฺตานํ ปริหรนฺตุ
 
ในขณะที่สวดก็ตั้งนิมิตไปด้วยว่า เรามีความรักความปรารถนาดีให้แก่สัตว์โลกทั้งหลายโดยไม่มีขอบเขตจำกัด ไม่มีข้อยกเว้นว่าจะเป็นสัตว์ใด ไม่ว่าเป็นสัตว์โลกที่ใด คนใด ตัวใดก็ตาม เราก็มีความปรารถนาดีให้ทั่วทั้งหมด เราอาจเริ่มจากคนที่เราผูกพันด้วยที่อยู่ใกล้ๆตัวเรา เช่น พ่อแม่ ลูก คู่สมรส พี่น้อง ลุงป้าน้าอา เพื่อนสนิท เพื่อนร่วมงาน คนรู้จัก รวมตลอดไปถึงคนอื่นๆทั่วทั้งโลก แล้วก็แผ่ไปยังสัตว์เลี้ยง สัตว์ที่เรากินเป็นอาหาร ต่อไปก็แผ่ออกไปยังสัตว์โลกในภพภูมิอื่นๆ ได้แก่ นรก เปรต เดรัจฉาน อสูร เทวดา แล้วก็พรหม ทั้งหมดนี้ต่างก็เป็นเพื่อนร่วมทุกข์ เกิดแก่เจ็บตายอยู่ในสังสารวัฏด้วยกันหมดทั้งสิ้น ให้เรานึกว่า ความเมตตาที่เราแผ่ออกไปเป็นแสงสีขาว แผ่ออกจากตัวเรา เหมือนกับเราเป็นแหล่งกำเนิดแสงเช่นดวงอาทิตย์ที่แผ่กระจายแสงออกไปรอบทิศทาง ยังประโยชน์ ยังความสุขให้แก่สัตว์ทั้งหลายโดยไม่มีประมาณ เราปรารถนาจะให้สัตว์ทั้งปวงมีความสุข และประสบกับเหตุแห่งสุข อันได้แก่การมองเห็นความเป็นจริงตามที่เป็น ซึ่งจะเป็นเหตุแห่งความสุขอันแท้จริง
 
ในสภาพเช่นนี้ ความโกรธหรือโทสะจะไม่มีที่เกิดมาได้เลย เพราะเมตตากับโทสะเป็นคู่ตรงข้ามกันโดยตรง
 
(จากการบรรยาย "วิถีชีวิตของพระโพธิสัตว์" บทที่ 6 -7 วันที่ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2550)

Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

บันทึกการเข้า

ทิ นัง มิไฮ นัง มิจะนัง ทิกุนัง แปลว่า
ที่นั่ง มีให้นั่ง มึงจะนั่ง ที่กูนั่ง ทิ้งไว้เป็น
ปริศนาธรรม นะตะเอง
คำค้น:
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน

Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.343 วินาที กับ 29 คำสั่ง

Google visited last this page 09 ตุลาคม 2566 17:07:35