นิพพานมี 2 อย่าง
1. อายตนะนิพพาน
2. นิพพาน
1. อายตนะนิพพาน = ธรรมกาย สิ่งนี้เป็นอัตตาพระไตรปิฎกบาลี ที.ปา.๑๓/๔๙/๘๕
"ภิกษุทั้งหลาย เธอจงเป็นผู้มี
อัตตา (ตน) เป็นที่พึ่ง มี
อัตตาเป็นสรณะ จงเป็นผู้มี
ธรรมเป็นที่พึ่ง มี
ธรรมเป็นสรณะ ไม่มีสิ่งอื่นเป็นสรณะอยู่เถิด "
(อตฺตทีปา ภิกฺขเว วิหรถ อตฺตสรณา อนญฺญสรณา ธมฺมทีปา ธมฺมสรณา อนญฺญสรณา)
อายตนะนิพพาน(ธรรมกาย) มีทั้งอายตนะภายในของแต่ละบุคคล(ธรรมกายแต่ละคน) และมีทั้งอายตนะนิพพานกายนอก(ธรรมกายภายนอก) = เมืองพระนิพพาน
ในทางมหายานเรียกตัวอายตนะนิพพาน(ธรรมกาย)แต่ละบุคคลว่า
"สัมโภคกาย" และเรียกอายตนะนิพพานกายนอก(ธรรมกายภายนอก) หรือ เมืองพระนิพพาน ว่า "พุทธเกษตร"
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงตรัสถึง อายตนะนิพพาน ว่า:
" ดูกรภิกษุทั้งหลาย "อายตนะนั้นมีอยู่" ดิน น้ำ ไฟ ลม อากาสานัญ
จายตนะ วิญญาณัญจายตนะ อากิญจัญญายตนะ เนวสัญญานาสัญญายตนะ
โลกนี้ โลกหน้า พระจันทร์ และพระอาทิตย์ทั้งสอง ย่อมไม่มีในอายตนะนั้น
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราย่อมไม่กล่าวซึ่งอายตนะนั้นว่า เป็นการมา เป็น
การไป เป็นการตั้งอยู่ เป็นการจุติ เป็นการอุปบัติ อายตนะนั้นหาที่ตั้งอาศัยมิ
ได้ มิได้เป็นไป หาอารมณ์มิได้นี้แลเป็นที่สุดแห่งทุกข์ ฯ"
พระอวโลกิเตศวรยืนยันกับพระสารีบุตรว่า ธรรมกาย คือ อายตนะนิพพาน บันทึกอยู่ในปรัชญาปารมิตาหฤทัยสูตร พระอวโลกิเตศวรตรัสสอนพระสารีบุตรว่า
"
ธรรมกาย ก็คือปรัชญาปารมิตาซึ่งเป็นสภาวธรรมแห่งพระตถาคตตรัสรู้
ก็คือ อายตนะนิพพานนั้นเอง ย่อมปราศจากการมาในอดีต ฤาการไปในอนาคต แลในปรัตยุบันกาลเล่าก็ปราศจากการตั้งอยู่มั่นคง "
สรุป สภาวธรรมแห่งการตรัสรู้ของพระตถาคต (องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า)ซึ่งเป็นแก่น คือ ธรรมกาย=อายตนะนิพพาน ในขณะที่มหายานเรียกธรรมกายตัวนี้ว่า "สัมโภคกาย" เป็นกายทิพย์ที่ดำรงอยู่ชั่วนิรันดร คัมภีร์เถรวาทเรียกกายทิพย์ที่ดำรงอยู่ชั่วนิรันดรว่า "กายธรรมหรือธรรมกาย"
2. นิพพาน คือ พระพุทธเจ้าทุกพระองค์ ที่มหายานเรียกว่า "อาทิพุทธ" หรือธรรมกายเถรวาทเรียก "นิพพาน" ส่วนมหายานเรียกนิพพานว่า "ธรรมกาย"
อายตนะนิพพาน เถรวาทเรียก "ธรรมกาย" ส่วนมหายานเรียกนิพพานอายตนะนิพพานว่า "สัมโภคกาย"
ธรรมกายตามความหมายของมหายาน
= พุทธภาวะแท้ดั้งเดิมของสรรพสิ่งในจักรวาล
= แสงสว่างสุกสกาวในความว่างเปล่า(สุญญตา)
= ท้องฟ้าอันเวิ้งว่างสุกใสแห่งบรรยายกาศ
= ธรรมธาตุทั้งหมด
= อาทิพุทธ หรือพระพุทธเจ้าทุกพระองค์
= ธรรมชาติอันเปลือยเปล่าแห่งสรรพสิ่ง มีแสงสว่างในตัวเองเพราะเป็นธาตุรู้ (ธรรมธาตุ)
หลวงปู่ดู่ฯ อธิบายว่า:
"นิพพานจริงๆแล้ว เป็นความว่าง ไม่มีอะไรเลย"หลวงปู่ดุลย์อธิบายว่า :
" โดยปราศจากรูปปรมาณู(หมายถึง ดับวิญญาณธาตุและดับนามรูปแล้ว)
ความว่างนั้น จึงบริสุทธิ์และสว่าง รวมเข้ากับความว่าง บริสุทธิ์ สว่าง ของจักรวาลเดิม เข้าเป็นหนึ่งเรียกว่า นิพพาน" ความว่างนั้น จึงบริสุทธิ์และสว่าง = ความว่างของจิตแต่ละดวง จึงบริสุทธิ์และสว่าง = อายตนะนิพพาน(ธรรมกาย)
รวมเข้ากับความว่าง บริสุทธิ์ สว่าง ของจักรวาลเดิม เข้าเป็นหนึ่งเรียกว่า นิพพาน = อาทิพุทธ หรือพระพุทธเจ้าทุกพระองค์รวมกัน = ธรรมกายในความหมายของมหายาน
ในศาสนาพราหมณ์
นิพพานหรือโมกษะ คือ การที่อาตมันย่อยหรือชีวาตมัน เข้ารวมเป็น เอกภาพกับพรหมัน
ความว่างนั้น จึงบริสุทธิ์และสว่าง รวมเข้ากับความว่าง บริสุทธิ์ สว่าง ของจักรวาลเดิม เข้าเป็นหนึ่งเรียกว่า
นิพพาน"อาตมันย่อย = อายตนะนิพพาน
เอกภาพกับพรหมัน = นิพพาน หรือ อาทิพุทธ หรือ ธรรมกายตามความหมายของมหายาน
สรุปเ
ถรวาท เรียก อายตนะนิพพานว่า "ธรรมกาย" เรียก พุทธภาวะแท้ดั้งเดิมของสรรพสิ่งในจักรวาล ที่เป็นแสงสว่างสุกสกาวในความว่างเปล่าว่า "นิพพาน"
มหายาน เรียก อายตนะนิพพานว่า "สัมโภคกาย" เรียก พุทธภาวะแท้ดั้งเดิมของสรรพสิ่งในจักรวาล ที่เป็นแสงสว่างสุกสกาวในความว่างเปล่าว่า "ธรรมกาย" หรือ "อาทิพุทธ"
แท้จริงแล้ว อาทิพุทธ ก็คือ พระพุทธเจ้าทุกพระองค์ ปรมาตมัน ก็คือ สัมโภคกายแต่ละดวง(เรียกแบบมหายาน) ที่ว่างและสว่าง
ไปรวมกับ ความว่าง บริสุทธิ์ สว่าง ของจักรวาลเดิม เข้าเป็นหนึ่งเรียกว่า
นิพพาน"