[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
22 ธันวาคม 2567 20:11:48 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: 7 ข้อต้องห้ามเพื่อพิทักษ์นาฬิกาของคุณ  (อ่าน 6794 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
Compatable
นักโพสท์ระดับ 11
*

คะแนนความดี: +3/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1210


ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Chrome 22.0.1229.94 Chrome 22.0.1229.94


ดูรายละเอียด
« เมื่อ: 12 ตุลาคม 2555 11:28:40 »

7 ข้อต้องห้ามเพื่อพิทักษ์นาฬิกาของคุณ



การดูแลรักษานาฬิกามีหลายวิธีแตกต่างกันไปตามคุณสมบัติของนาฬิกาแต่ละเรือน เอาเป็นว่าขออนุญาติป้องกันนาฬิกาของคุณล่วงหน้าพร้อมกับแนวทางการดูแลรักษานาฬิกาด้วย "7ข้อต้องห้ามเพื่อพิทักษ์นาฬิกา" ที่น่าจะครอบคลุมทั้งวิธีการป้องกันและการดูแลรักษาได้  อาจจะไม่ครอบคลุมทั้งหมดแต่คิดว่ามีประโยชน์ไม่น้อย         

1  อย่าคาดหวังว่านาฬิกาทุกเรือนจะสามารถกันน้ำได้  ถึงแม้ว่านาฬิกาสปอร์ตที่คุณมีอาจระบุคุณสมบัติกันน้ำบนหน้าปัดหรือฝาหลังก็ตาม  แต่ก็ต้องดูขอบเขตความสามารถของมันด้วย  บางครั้งมันอาจช่วยได้แค่กันฝุ่น  กันเหงื่อ  หรือกันน้ำฝนได้เท่านั้น  และอาจกันน้ำได้ในต่างสถานการณ์กันด้วย เช่น  นาฬิกาที่ระบุว่ากันน้ำลึก 30 เมตร ทำได้เพียงป้องกันน้ำเข้าจากการล้างมือ  ไม่เหมาะที่จะใส่ลงว่ายน้ำ  หรือถ้าเป็นนาฬิกากันน้ำลึก 50 เมตร ใส่ว่ายน้ำได้แต่ต้องระดับตื้นๆ  ถ้าคุณชอบดำน้ำหรือเล่นกีฬาทางน้ำอื่นๆต้องใช้นาฬิกาที่กันน้ำได้ลึกตั้งแต่ 200 เมตร จึงจะสามารถรับแรงกระแทกของน้ำขณะเล่นกีฬาได้  อย่างไรก็ตามนักดำน้ำที่เข้มงวดก็ควรใช้นาฬิกาที่ออกแบบและผลิตออกมาเพื่อการดำน้ำโดยเฉพาะดีกว่า

2  อย่าใส่นาฬิกากลไกจักรกลเข้าห้องซาวน่าเป็นเวลานานๆ เพราะจะทำให้น้ำมันหล่อลื่นและน้ำมันต่างๆที่อยู่ภายในนาฬิกาข้นและเหนียวขึ้นส่งผลต่อการทำงานและความเที่ยงตรงของนาฬิกาในอนาคต  และถือเป็นการทารุณกรรมนาฬิกามากที่สุด คือ ใส่นาฬิกาเข้าห้องซาวน่าแล้วออกมาอาบน้ำเย็นเฉียบทันที  หรือการใส่นาฬิกาออกอาบแดด  แล้วกระโจนลงสระว่ายน้ำต่อ  จริงๆแล้ววิธีเหล่านี้มีผลดีต่อระบบร่างกายของมนุษย์ แต่เป็นหายนะสำหรับนาฬิกา เพราะกลไกนาฬิกาไม่เหมือนคน มันเกลียดการเปลี่ยนแปลงอณุหภูมิอย่างฉับพลัน เช่น จากอณุหภูมิ 80 องศาเซลเซียส(ซึ่งเป็นอุณหภูมิภายในนาฬิกาเมื่ออยู่ใต้แสงอาทิตย์) ปรับทันทีมาเย็นเฉียบที่อุณหภูมิต่ำกว่า 20 องศาเซสเซียส เป็นต้น

3  อย่าให้สายหนัง สายพลาสติก หรือสายยางของนาฬิกาสัมผัสกับสเปรย์กันยุง หรือครีมทากันแดด เพราะสายนาฬิกาจะเสื่อมเร็วกว่าเวลาอันควรโดยเฉพาะสายพลาสติกและสายยางชั้นดีทั้งหลายโดนเมื่อไรสีจะเปลี่ยนเป็นสีซีดจางและเปราะง่ายขึ้นหลายเท่า คลอรีนในสระว่ายน้ำก็เป็นศัตรูตัวฉกาจ ที่สามารถสร้างความเสียหายให้กับสายนาฬิกาได้เช่นกัน  แม้จะเป็นสายสเตนเลสสตีล ที่ควรทำความสะอาดด้วยน้ำบริสุทธิ์ทันทีที่ขึ้นจากสระ

4  อย่าพยายามซ่อมนาฬิกาควอตซ์หรือนาฬิกาจักรกลด้วยตัวคุณเองเลย  ขนาดช่างซ่อมนาฬิกายังต้องใช้เวลาและประสบการณ์การเรียนรู้และศึกษาการซ่อมนานหลายปี  ถ้านาฬิกามีปัญหานำไปให้ผู้เชี่ยวชาญซ่อมดีกว่า  และควรส่งนาฬิกาเข้าตรวจเช็คอย่างน้อยทุก 3-4ปี แบบเดียวกับที่ดูแลรักษารถเป็นประจำนั่นแหละ  เวลาที่คุณส่งนาฬิกาไปยังศูนย์ซ่อม  ช่างอาจเปลี่ยนชิ้นส่วนที่หมดอายุและชิ้นส่วนที่จำเป็นต้องเปลี่ยนให้ทำความสะอาด
และปรับอัตราการเดินของกลไก  รวมทั้งจะช่วยขัดตัวเรือนนาฬิกาให้ดูใหม่เหมือนเพิ่งแกะออกจากกล่อง  ข้อสำคัญคือ เลือกศูนย์ที่ไว้ใจได้และมีมาตราฐาน
พร้อมรับประกันให้คุณด้วยไม่เช่นนั้นคุณอาจได้อะไหล่ปลอมใส่ในนาฬิกาแทนอะไหล่ที่ไม่เสีย (แถมยังราคาดี) ได้ง่ายๆ

5  อย่าใส่นาฬิกากลไกจักรกลลงเล่นกีฬาหรือกิจกรรมที่มีการกระแทกจนเกินไป เช่น ตีสควอช หวดเทนนิส ฟาดคริคเก็ต และหวดวงสวิงลูกกอล์ฟ หรือขี่จักรยานเสือภูเขาบนพื้นถนนที่ขรุขระมากๆเป็นเวลานานๆ ก็ควรหลีกเลี่ยงไว้เป็นดี เพราะศัตรูตัวฉกาจของนาฬิกาจักรกลคือการถูกแรงสั่นสะเทือนซ้ำๆ หรือถูกกระแทกอย่างแรง แม้จะมีระบบกันกระเทือนแต่นานไปก็ต้านทานไม่ไหวเหมือนกัน ถ้าชอบเล่นกีฬาที่ใช้แรง แนะนำให้ใส่นาฬิกาที่ออกแบบมาเพื่อกีฬาประเภทนั้นๆดีกว่า หรือถ้าจะให้ดีกว่านี้ ใส่นาฬิกาสปอร์ตควอซ์เลย ปลอดภัยไร้กังวลและไม่เสียดายทีหลังด้วย

6  อย่าคิดว่านาฬิกากลไกจักรกลที่มีระบบปฏิทินตลอดชีพไม่จำเป็นต้องไขลาน เพราะฟังก์ชันปฏิทินที่อยู่ได้นานเป็นเดือนๆหรือเป็นปีๆ โดยไม่ต้องปรับ เพราะถ้าไม่มีพลังงานคุณก็ต้องมาเสียเวลานั่งปรับอีกนั่นแหละ อีกอย่างถึงจะเป็นปฏิทินตลอดชีพ ก็ยังต้องปรับในวันที่ 1 มีนาคม 2100  ตามกฎปีอธิกสุรทิน 400ปี ถ้านาฬิกาปฏิทินตลอดชีพของคุณเป็นนาฬิกาจักรกลและหยุดเดินไปแล้ว คุณไม่ควรปรับตั้งเวลาใหม่และไม่ต้องปรับปฏิทิน  ในช่วงระหว่างเวลา 4 ทุ่มถึงตี 2 (22.00 - 02.00) เพราะอาจทำลายระบบปฏิทินของนาฬิกาได้ และถ้าไม่ได้ใส่นาฬิกาติดข้อมือทุกวัน ลงทุนซื้อกล่องหมุนนาฬิกาที่ใช้พลังแบตเตอรี่มาช่วยไขลานนาฬิกาให้เดินอยู่ตลอดเวลาดีกว่า  ศึกษาวิธีหมุนของตู้ด้วยก็แล้วกันจะได้ใช้อย่างเหมาะสมกับนาฬิการาคาแพงแต่ละรุ่นของคุณ   

7  อย่าคิดว่าสายหนังคือสายที่คงทน ผู้เชี่ยวชาญบางคนแนะนำว่า สายนาฬิกาที่ทำจากหนังหลากหลายมากมาย เช่น หนังจระเข้ ไม่ควรใส่ทุกวันปล่อยให้มันได้พักเพื่อการคลายตัวและคืนรูป และปล่อยให้ความชื้นที่สายหนังรับมาจากข้อมือระเหยไปให้หมดก่อนจะนำมาใส่ใหม่ และแม้ว่าสายหนังจะแปะป้าย "กันน้ำได้"  ก็ไม่ควรใส่อาบน้ำหรือใส่นอนอยู่ดี ส่วนสายโลหะหรือสายทองประเภทต่างๆ ควรได้รับการทำความสะอาดอย่างพิถีพิถันเช็ดเอาฝุ่นและคราบสกปรกออกก่อนที่ฝุ่นจะติดแน่นเกินไป  โดยเฉพาะคราบที่ฝังตัวอยู่ตามข้อต่อสาย ตัวดีนักเชียว

Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

บันทึกการเข้า
Compatable
นักโพสท์ระดับ 11
*

คะแนนความดี: +3/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1210


ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Chrome 22.0.1229.94 Chrome 22.0.1229.94


ดูรายละเอียด
« ตอบ #1 เมื่อ: 12 ตุลาคม 2555 11:29:49 »

วิธีเลือกนาฬิกาให้เหมาะกับตัวคุณ



          การซื้อนาฬิกาข้อมือสักเรือนหนึ่ง สิ่งที่สำคัญที่สุดก็คือการเลือกซื้อนาฬิกาข้อมืออย่างไรให้แลดูเหมาะและรับกับข้อมือของคุณมากที่สุด
 
          ข้อมือเล็ก นาฬิกาที่ไม่เหมาะ และไม่ควรจะเลือก คือนาฬิกาที่เป็นสายเหล็กหรือสายหนัง เพราะทำให้คุณต้องตัดสายนาฬิกาหลังจากซื้อแล้ว ถ้าลองใส่แล้วหลวมขนาดต้องตัดสายจนหมดระยะบังคับแล้วก็ยังหลวมอยู่มาก ทำให้คุณต้องตัดสายเกินกว่าที่กำหนด สายจะบิดไปด้านใดด้านหนึ่งและไม่อยู่กึ่งกลางของข้อมือ ดังนั้นเวลาใส่จะทำให้ เคลื่อนไหวข้อมือไม่ถนัด และที่สำคัญคือทำให้นาฬิกาแลดูไม่สวย ดังนั้นนาฬิกาที่เหมาะสมสำหรับคนข้อมือเล็กมากที่สุดก็คือ นาฬิกาแบบกำไล
 
          โดยปกติแล้วนาฬิกาแบบกำไล ที่ได้มาตรฐานจะมีแบบให้เลือก 3 ขนาดคือ เล็ก กลาง ใหญ่ คุณควรเลือกแบบที่พอดี คือไม่แน่นหรือหลวมจนเกินไป เมื่อใส่แล้วควรเลื่อนขึ้นเลื่อนลงได้สะดวก สำหรับตัวเรือนนั้น สาว ๆ ที่มีข้อมือเล็กควรเลือกนาฬิกาที่มีหน้าปัดแบบสี่เหลี่ยมจัตุรัสหรือแบบวงรีเล็ก เพราะเวลาใส่จะทำให้มีที่เหลือบนข้อมือ ทำให้ข้อมือไม่ดูเล็กเกินไป และที่สำคัญไม่ควรเลือกหน้าปัดแบบสี่เหลี่ยมผืนผ้า เพราะขนาดตัวเรือนที่ทั้งยาวและใหญ่จะบังพื้นที่บนข้อมือหมด และทำให้ข้อมือดูเล็กกว่าปกติ ส่วนสีของหน้าปัดนั้นควรเลือกโทนสีขาวหรือสีครีม เพราะ จะช่วยให้ข้อมือดูสว่างขึ้น
 
          ข้อมือใหญ่ การเลือกนาฬิกาสามารถเลือกได้ทุกแบบ ถือเป็นข้อดีของสาวข้อมือใหญ่ทีเดียวค่ะ โดยเฉพาะอย่างยิ่งหน้าปัดสี่เหลี่ยมผืนผ้า จะทำให้ข้อมือใหญ่ ๆ ของคุณดูสวยเรียวงามเป็นธรรมชาติ แต่ถ้าสาวคนไหนเป็นสปอร์ตเกิร์ลละก็ ขอแนะนำให้เลือกใส่ขนาดเดียวกับของหนุ่มๆ ที่มีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 40 มม. เพียงแต่ต้องเลือกแบบให้เหมาะสมกับบุคลิกและการแต่งตัวด้วยเท่านั้น


บันทึกการเข้า
คำค้น: นาฬิกา ดูแล รักษา บำรุง 
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน

Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.264 วินาที กับ 31 คำสั่ง

Google visited last this page 17 พฤศจิกายน 2567 02:12:05