วัดสวนดอกตำบลสุเทพ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ วัดสวนดอก ตั้งอยู่ในเขตเทศบาลนครเชียงใหม่ อยู่ห่างจากประตูสวนดอกไปทางทิศตะวันตก ๘๐๐ เมตร มีเนื้อที่ ๓๕ ไร่ ๒ งาน ๔๔ ตารางวา เป็นวัดสังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย แต่เดิมบริเวณวัดนี้เป็นอุทยานดอกไม้ของกษัตริย์ มีชื่อเรียกว่า “สวนดอกไม้พะยอม” (ในอดีตมีต้นพะยอมอยู่มาก)
จากศิลาจารึกวัดพระยืน หลักที่ ๖๒ จ.ศ.๗๓๒ (พ.ศ.๑๙๑๓) ได้กล่าวไว้ว่า วัดสวนดอกสร้างในปี พ.ศ.๑๙๑๔ หลังจากที่พระเจ้ากือนาธรรมิกราช กษัตริย์พระองค์ที่ ๖ แห่งราชวงศ์มังราย ผู้ครองนครเชียงใหม่ ทรงส่งสมณฑูต มีหมื่นเงินกองปะขาวยอด และปะขาวสาย ขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตพญาลิไทแห่งกรุงสุโขทัย อาราธนาพระสุมนเถระมาเผยแผ่พระพุทธศาสนาฝ่ายอรัญวาสีในอาณาจักรล้านนา หลังจากที่พระสุมนเถระพำนักที่วัดพระยืน เมืองหริภุญชัย (ลำพูน) ในปี พ.ศ.๑๙๑๒ อีกหนึ่งปีต่อมา พระเจ้ากือนาธรรมิกราชทรงสร้างวัดในบริเวณสวนดอกไม้ในเมืองเชียงใหม่ขึ้น และพระราชทานนามว่า "วัดบุปผาราม" ซึ่งเป็นภาษาบาลี แปลเป็นภาษาไทยหมายถึง วัดสวนดอก เพื่อเป็นที่พำนักของพระสุมนเถระ และทรงแต่งตั้งพระสุมนเถระเป็นพระสังฆราช นาม “พระมหาสุมนสุวรรณรัตนสามี” ต่อมาชาวบ้านนิยมเรียกวัดบุปผารามกันอย่างง่ายๆ ว่า "วัดสวนดอก" ตำนานมูลศาสนา กล่าวว่าวัดแห่งนี้มีขนาดกว้าง ๓๑๑ วา ยาว ๓๓๑ วา มีอาณาเขตเท่ากับวัดเชตวันมหาวิหาร กรุงสาวัตถี ซึ่งอนาถบิณฑิกมหาเศรษฐีสร้างถวายพระพุทธเจ้า ทรงโปรดให้สร้างพระอุโบสถ คือวัดพระเจ้าเก้าตื้อ นอกจากนี้ ยังทรงโปรดให้สร้างเจดีย์เพื่อประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุที่พระมหาสุมนเถระนำมาจากกรุงสุโขทัย การสถาปนานิกายรามัญวงศ์โดยพระสุมนเถระ ทำให้เกิดความเจริญรุ่งเรืองในพระพุทธศาสนา เพราะเป็นจุดเริ่มต้นของการตื่นตัวทางสติปัญญาและวัฒนธรรม นำไปสู่ความเจริญรุ่งเรืองของอาณาจักรล้านนา
วัดบุปผาราม หรือ วัดสวนดอก เป็นพระอารามหลวงในความอุปถัมภ์ของกษัตริย์ในราชวงศ์มังรายมาโดยตลอด มีกาลสมัยที่รุ่งเรืองเพราะการอุปถัมภ์ค้ำชูจากเหล่าขุนนางและกษัตริย์ และถึงกาลทรุดโทรมลงด้วยภัยสงครามจากพม่าและการสิ้นราชวงศ์มังราย วัดนี้จึงกลายสภาพเป็นวัดร้างไปชั่วระยะเวลาหนึ่ง ต่อมาวัดสวนดอกได้รับการบูรณปฏิสังขรณ์ขึ้นใหม่อีกครั้งในรัชสมัยพระเจ้าบรมราชาธิบดีกาวิละ แห่งราชวงศ์ทิพย์จักราธิวงศ์ (เจ้าเจ็ดตน) และได้รับการทำนุบำรุงจากเจ้านายฝ่ายเหนือ และประชาชนชาวเชียงใหม่ตลอดมาวัดสวนดอก ได้รับการบูรณะครั้งสำคัญ ๒ ครั้ง ครั้งแรกในปี พ.ศ.๒๔๕๐ เมื่อพระราชชายา เจ้าดารารัศมี ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงให้อัญเชิญรวบรวมพระอัฐิของเจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ และพระประยูรญาติ มาประดิษฐานรวมกัน และต่อมาอีกครั้งหนึ่งในปี พ.ศ. ๒๔๗๕ เป็นการบูรณปฏิสังขรณ์องค์พระวิหารโดย ครูบาเจ้าศรีวิชัย นักบุญแห่งล้านนาพระบรมธาตุเจดีย์วัดสวนดอก (
Pagoda or Chedi at Wat Suan Dok) สร้างในสมัยพระเจ้ากือนา เมื่อ พ.ศ. ๑๙๑๖
เพื่อบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ ที่พระสุมนเถระนำมาจากกรุงสุโขทัย องค์พระเจดีย์สูง ๒๔ วา
เป็นเจดีย์ทรงระฆัง ศิลปะลังกาผสมสุโขทัย ยังมีทางขึ้นเจดีย์ทั้ง ๔ ด้าน
เจดีย์อนุสาวรี (กู่) ครูบาเจ้าศรีวิชัย สร้างเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๙๐
ครูบาศรีวิชัย ถึงแก่มรณภาพเมื่อวันที่ ๒๒ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๔๘๑
ที่วัดบ้านปาง อ.ลี้ จ.ลำพูน ขณะมีอายุได้ ๖๐ ปี ๙ เดือน ๑๑ วัน และตั้งศพไว้ที่วัดบ้านปางเป็นเวลา ๑ ปี (บางท่านก็ว่า ๓ ปี)
จากนั้นได้เคลื่อนศพมาตั้งไว้ที่วัดจามเทวี อ.เมือง จ.ลำพูน จนถึงวันที่ ๒๑ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๘๙
จึงได้รับพระราชทานเพลิงศพ เมื่อพระราชทานเพลิงศพเสร็จสิ้นจึงได้มีการแบ่งอัฐิของท่านไปบรรจุไว้ตามที่ต่างๆ
เช่น ที่วัดจามเทวี จ.ลำพูน วัดสวนดอก จ.เชียงใหม่ วัดพระแก้วดอนเต้า จ.ลำปาง วัดศรีโคมคำ จ.พะเยา
วัดพระธาตุช่อแฮ จ.แพร่ และที่วัดบ้านปาง จ.ลำพูน อันเป็นวัดดั้งเดิมของท่าน
กู่เจ้านายฝ่ายเหนือ (
Reliquaries of Northern Thai Royalty)
อนุสาวรีย์ซึ่งบรรจุพระอัฐิของอดีตเจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่
กู่เจ้านายฝ่ายเหนือ คืออนุสาวรีย์บรรจุพระอัฐิ:พระราชชายา เจ้าดารารัศมี ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
ทรงให้อัญเชิญรวบรวมพระอัฐิของเจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ และพระประยูรญาติ มาประดิษฐานรวมกัน
ปัจจุบันบรรจุพระอัฐิของอดีตเจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ ทั้ง ๙ พระองค์ และพระอัฐิพระราชชายาเจ้าดารารัศมี
รวมทั้งอัฐิของเจ้านายผู้ถือกำเนิดโดยตรงจากเจ้าหลวงเชียงใหม่ พระเจ้าเก้าตื้อ พระประธานประจำพระอุโบสถวัดสวนดอก
ประวัติพระเจ้าเก้าตื้อ พระเจ้าเก้าตื้อ พระประธานในพระอุโบสถวัดสวนดอก หรือวัดบุบผาราม หล่อด้วยโลหะมีน้ำหนัก ๙ โกฏิตำลึง หรือ ๙,๐๐๐ กิโลกรัม ได้รับการยกย่องว่าเป็นพระพุทธรูปที่มีพระพุทธลักษณะงดงามที่สุดของแผ่นดินล้านนา
คำว่า ตื้อ เป็นหน่วยวัดน้ำหนักโลหะของล้านนาในสมัยโบราณ เป็นคำภาษาไทยเหนือ แปลว่า หนักพันชั่ง (๑ ตื้อ เท่ากับ ๑,๐๐๐ กิโลกรัม บางตำราว่า ๑ ตื้อ หนักเท่ากับ ๑,๒๐๐ กิโลกรัม)
ในพงศาวดารโยนกกล่าวว่า พระเจ้าเมืองแก้ว หรือพระเจ้าศิริธรรมจักรพรรดิราช กษัตริย์พระองค์ที่ ๑๓ แห่งราชวงศ์มังราย ผู้ครองอาณาจักรล้านนา โปรดฯ ให้สร้างพระพุทธรูปองค์นี้ขึ้น เพื่อเป็นพระองค์ประธานในวัดพระสิงห์ โดยได้เริ่มทำการหล่อในวันพฤหัสบดี เดือน ๘ ขึ้น ๑๑ ค่ำ ปีชวด ฉอศก จุลศักราช ๘๖๖ (พ.ศ. ๒๐๔๗) เป็นพระพุทธรูปแบบเชียงแสนฝีมือช่างล้านนาและสุโขทัย หน้าตักกว้าง ๘ ศอก หรือ ๓ เมตร สูง ๔.๗๐ เมตร องค์พระมีที่ต่อ ๘ แห่ง นับเป็นท่อนได้ ๙ ท่อน ใช้เวลานานถึง ๕ ปีนับตั้งแต่ลงมือหล่อพระพุทธรูป แต่ไม่สามารถทำการเคลื่อนย้ายได้ จึงได้ถวายเรือนหลวงของพระองค์ บริเวณใกล้ ๆ กับพระอารามวัดบุบผารามหรือวัดสวนดอกเป็นพระวิหาร พระราชทานชื่อว่า "วัดเก้าตื้อ" ครั้นถึงวันพุธเดือน ๕ ขึ้น ๔ ค่ำ ปีมะเส็ง เอกศก จุลศักราช ๘๗๐ (พุทธศักราช ๒๐๕๒) จึงได้มีการชักพระพุทธปฏิมากรองค์นี้ เข้าประดิษฐานเป็นพระประธานในพระอุโบสถในวัดสวนดอก หรือวัดบุบผารามซึ่งต่อมาภายหลังได้รับการบูรณะปฏิสังขรณ์ในสมัยครูบาเจ้าศรีวิชัย เมื่อ พ.ศ. ๒๔๗๕
และกรมศิลปากรได้ขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานแห่งชาติ ในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ ๕๒/๗๕ ลงวันที่ ๘ มีนาคม ๒๔๗๘ หลวงพ่อโตประจำวิหาร องค์ประธาน สร้างเมื่อปี พ.ศ. ๑๙๑๖ ในสมัยพระเจ้ากือนาธรรมิกราช
หล่อด้วยทองสัมฤทธิ์ ขนาดเท่าพระวรกายของพระเจ้ากือนา หน้าตักกว้างสองเมตรครึ่ง
เรียกชื่อตามภาษาถิ่นล้านนาว่า "พระเจ้าค่าคิง" ตำนานกล่าวถึงการสร้างพระเจ้าค่าคิงว่า
"พญากือนาธรรมิกราช ได้เอาราชเรือนหลวงของพระองค์มาสร้างมหาวิหารหลังหนึ่ง
อันประณีตวิจิตรงดงามยิ่ง พร้อมทั้งหล่อพระพุทธรูปองค์หนึ่งด้วยทองสำริดไว้
ในพระวิหารเป็นพระประธาน สำเร็จในปี พ.ศ. ๑๙๑๖
พระพุทธรูปทรงเครื่ององค์ซ้ายและองค์ขวา ของหลวงพ่อโต เป็นพระพุทธรูปนั่งปางมารวิชัย
ฉลองพระองค์และสวมมงกุฎด้วยเครื่องขัตติยราช
ทรงทรมานพระยามหาชมพู (พระทรงเครื่อง มีการทำหลายแบบ)
สมัยหนึ่ง พระบรมศาสดาเสด็จประทับสำราญพระอิริยาบถอยู่ในพระเวฬุวัน
ซึ่งพระเจ้าพิมพิสารสร้างถวาย ครั้งนั้น พระยาชมพูวดี ซึ่งเป็นพระมหากษัตริย์
ที่มีบุญญาธิการและฤทธานุภาพมาก ได้มาคุกคามและรบกวนพระเจ้าพิมพิสารอยู่เสมอ
พระเจ้าพิมพิสารจึงไปเฝ้าพระพุทธเจ้าที่เวฬุวัน ขอพระพุทธเจ้าเป็นที่พึ่ง
พระพุทธองค์ทรงเล็งพระญาณเห็นว่า จะโปรดพระยามหาชมพูได้
จึงทรงเนรมิตพระเวฬุวันให้เป็นดังดุจเมืองสวรรค์ และทรงเนรมิตพระองค์เอ
งเป็นเจ้าราชาธิราช ทรงเครื่องราชาภรณ์ครบทุกประการ และดำรัสสั่งให้พระอินทร์
แปลงเป็นราชฑูตไปเชิญพระยามหาชมพูมาเฝ้าที่พระเวฬุวันมหาวิหาร
ทรงแสดงธรรมโปรดจนพระยามหาชมพูหมดทิฐิมานะ
ขอบรรพชาอุปสมบทพร้อมด้วยพระมเหสีและพระราชโอรส
พระอุโบสถที่ประดิษฐานพระเจ้าเก้าตื้อ
กุฏิสงฆ์ข้างพระอุโบสถวัดสวนดอก