[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
22 ธันวาคม 2567 18:14:59 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: รวมเรื่องราว นิทานคติ จากจีน  (อ่าน 12383 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
sithiphong
ชมรมพระวังหน้า
สมาชิกขาประจำ
นักโพสท์ระดับ 10
*

คะแนนความดี: +7/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
Thailand Thailand

กระทู้: 918


ชมรมพระวังหน้า

ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 6.0 MS Internet Explorer 6.0


ดูรายละเอียด
« เมื่อ: 28 เมษายน 2553 19:02:17 »

รวมเรื่องราว นิทานคติ จากจีน


http://www.manager.co.th/China/ViewBrowse.aspx?BrowseNewsID=6521

หน้าแรกมุมจีน | ภาษาและวรรณกรรม
ภาษาและวรรณกรรม นิทานคติ

.

Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

บันทึกการเข้า

คณะหลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดร 1.หลวงปู่พระอุตรเถระเจ้า 2.หลวงปู่พระโสณเถระเจ้า 3.หลวงปู่พระมูนียะเถระเจ้า(หลวงปู่อิเกสาโร)4.หลวงปู่พระฌาณียะเถระเจ้า(หลวงปู่ขรัวขี้เถ้า) 5.หลวงปู่พระภูริยะเถระเจ้า(หลวงปู่หน้าปาน)
sithiphong
ชมรมพระวังหน้า
สมาชิกขาประจำ
นักโพสท์ระดับ 10
*

คะแนนความดี: +7/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
Thailand Thailand

กระทู้: 918


ชมรมพระวังหน้า

ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 7.0 MS Internet Explorer 7.0


ดูรายละเอียด
« ตอบ #1 เมื่อ: 28 เมษายน 2553 21:17:22 »

เก้อจื้อเหวยเจิ้ง : ต่างคนต่างทำ
China - Manager Online

โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์
28 เมษายน 2553 08:38 น.

《各自为政》

各(gè) อ่านว่า เก้อ แปลว่า ต่างก็, แต่ละ
自(zì) อ่านว่า จื้อ แปลว่า ตนเอง
为(wéi) อ่านว่า เหวย แปลว่า เป็น, เพื่อ
政(zhèng) อ่านว่า เจิ้ง แปลว่า งานของรัฐ แต่ในที่นี้หมายถึงกิจการงานใดๆ




ภาพจาก Ђ΅֐Є_֐??͸

ในสมัยชุนชิว เมื่อแคว้นซ่งจับมือเป็นพันธมิตรกับแคว้นจิ้น ส่งผลให้แคว้นฉู่ไม่พอใจเป็นอันมาก ฉู่อ๋องจึงให้แคว้นเจิ้งซึ่งเป็นแคว้นพันธมิตรของฉู่บุกโจมตีแคว้นซ่ง

แม่ทัพใหญ่แคว้นซ่ง นามหัวหยวน เป็นผู้ที่จะนำทัพออกไปตั้งรับศัตรู โดยคืนก่อนที่จะมีการรบนั้น หัวหยวนจัดงานเลี้ยงปลุกปลอบขวัญเหล่าทหารและแม่ทัพนายกอง โดยมีการเชือดแพะเพื่อนำเนื้อมาทำอาหารเลี้ยงกองทัพ ตั้งแต่แม่ทัพผู้ใหญ่จนถึงนายทหารผู้น้อยทุกคนดื่มกินอย่างสำราญใจ

ในตอนหนึ่งรองแม่ทัพผู้หนึ่งได้เอ่ยถามหัวหยวนว่า "ท่านจะมิเรียกหยังเจินผู้ทำหน้าที่ขับรถศึกให้ท่านมาดื่นกินด้วยหรอกหรือ?"

หัวหยวนตอบว่า "ก็แค่คนขับรถม้าคนหนึ่ง การรบของข้าไม่จำเป็นต้องพึ่งเขา ไม่จำเป็นต้องให้เขามาพบข้า เพราะเรื่องการรบ ข้าเป็นผู้สั่งการ ทั้งยังวางแผนเอาไว้เป็นอย่างดีแล้ว ท่านไม่จำเป็นต้องกังวลใจ"

เมื่อถึงวันสัประยุทธ์ระหว่างแคว้นซ่งและแคว้นเจิ้ง หัวหยวนนั่งอยู่บนรถศึกของหยังเจิน เพื่อออกคำสั่งในการรบทั้งหมด โดยในระหว่างการประหัตประหารของเหล่ากองทัพ พลัดกันรุกผลัดกันรับอยู่นั้น แม่ทัพหัวหยวนได้ออกคำสั่งให้หยังเจินขับรถมาศึกเข้าไปยังจุดที่ทหารเจิ้งเบาบางที่สุด แต่มิคาด หยังเจินกลับควบรถม้าศึกเข้าไปยังจุดที่มีกองทหารเจิ้งหนาแน่นที่สุด แม่ทัพหัวหยวนเห็นดังนั้นจึงเอ่ยถามอย่างตกใจว่า "เจ้าคิดไปยังที่ใด?" หยังเจิน กล่าวตอบอย่างดุดันว่า "วานนี้ยามแบ่งอาหารแบ่งสุรายกให้ท่านเป็นผู้ตัดสินใจ ทว่าเรื่องราวในวันนี้ ตอนนี้ มีเพียงข้าน้อยตัดสินใจเท่านั้น!"

ผลสุดท้าย การตัดสินใจทรยศขายชาติของหยังเจิน ทำให้หัวหยวนเสียชีวิตในสนามรบ ส่วนกองทัพซ่งก็ประสบความพ่ายแพ้ครั้งยิ่งใหญ่

ต่อมา ชนรุ่นหลังใช้คำพูดของหยังเจินมาแปลงเป็นสำนวนที่ว่า "เก้อจื้อเหวยเจิ้ง" หรือ "ต่างคนต่างทำ" หมายถึง ผู้ที่อยู่ในหน่วยงานหรือองค์กรเดียวกัน แต่ต่างยึดเหตุผลของตนเองเป็นใหญ่โดยไม่สนใจส่วนรวม หรือคนที่ไม่สนใจที่จะร่วมมือกับผู้อื่น
บันทึกการเข้า

คณะหลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดร 1.หลวงปู่พระอุตรเถระเจ้า 2.หลวงปู่พระโสณเถระเจ้า 3.หลวงปู่พระมูนียะเถระเจ้า(หลวงปู่อิเกสาโร)4.หลวงปู่พระฌาณียะเถระเจ้า(หลวงปู่ขรัวขี้เถ้า) 5.หลวงปู่พระภูริยะเถระเจ้า(หลวงปู่หน้าปาน)
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 8.0 MS Internet Explorer 8.0


ดูรายละเอียด
« ตอบ #2 เมื่อ: 28 เมษายน 2553 23:23:57 »

 


เรื่อง ซุปก้อนหิน 

             นักบวช 3 ท่าน – ท่านฮก ท่านลก และท่านซี่ว  เดินทางออกเผยแพร่เรื่องการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้ามาจนถึงหมู่บ้านหนึ่ง ซึ่งคนเคยผ่านความทุกข์เข็ญ ความอดอยากมานานจนกลายเป็นคนแล้งน้ำใจ ไม่ไว้วางใจใคร แม้กระทั่งเพื่อนบ้านกันเอง ต่างคนต่างอยู่ ไม่คบค้ากัน เมื่อนักบวชมาถึง ชาวบ้านก็ปิดประตู ไม่ต้อนรับ นักบวชทั้งสามจึงออกอุบายต้มซุปก้อนหินให้พวกเขาดู

                ผู้ทรงศีลทั้งสามต่างช่วยกันเก็บใบไม้ กิ่งไม้แห้งมาก่อไฟ ตักน้ำจากบ่อมาใส่หม้อจนเต็ม เด็กผู้หญิงคนหนึ่งเห็นเข้าก็เข้ามาถามไถ่ พอรู้ว่านักบวชจะต้มซุปก้อนหินก็ช่วยหาก้อนหินด้วย พอนักบวชเปรยว่าหม้อที่ต้มเล็กไป เธอก็อาสาไปเอาหม้อใบใหญ่กว่าที่บ้านมาให้ พอแม่ของเธอรู้เรื่องการต้มซุปหินของนักบวช ก็ขอตามไปดูด้วย จากนั้นด้วยความอยากรู้อยากเห็นชาวบ้านก็ค่อยๆ ทะยอยออกจากบ้านมาดูการต้มซุปก้อนหินทีละคนๆ นักบวชก็เปรยว่าขาดเครื่องปรุงต่างๆ ชาวบ้านก็วิ่งกลับไปเอาที่บ้านมาให้ พอเปรยว่าขาดผักชนิดไหน ชาวบ้านก็วิ่งกลับไปเอาผักนั้นๆ  มาเติมอย่างไม่ขาดสาย เมื่อคนหนึ่งเปิดใจให้ คนต่อไปก็ให้มากยิ่งขึ้น...ยิ่งขึ้น นักบวชก็คอยคนซุปในหม้อจนเดือดพล่าน ส่งกลิ่นหอมฟุ้ง ยั่วน้ำลายมาก...

                ในที่สุด ซุปหม้อใหญ่นั้นก็สุกได้ที่ ชาวบ้านจุดโคมไฟ นั่งรับประทานอาหารรวมกัน พวกเขาไม่ได้ร่วมวงกินเลี้ยงด้วยกันอย่างนี้มานานแล้ว หลังอาหารก็ผลัดกันเล่านิทาน ร้องเพลง และเฉลิมฉลองกัน จากนั้นก็เปิดประตูเชิญนักบวชทั้งสามเข้าไปในบ้าน แล้วจัดหาที่หลับที่นอนอย่างดีให้

                ตอนเช้า นักบวชทั้งสามท่านก็เดินทางต่อไป ชาวบ้านก็มาอำลา พร้อมทั้งขอบพระคุณที่นักบวชช่วยให้พวกเขาเรียนรู้ว่าการแบ่งปัน จะทำให้พวกเขามีอยู่มีกินมากขึ้น...นักบวชก็กล่าวว่า การทำใจให้เป็นสุข ก็เป็นเรื่องง่ายดังการปรุงซุปก้อนหินนั่นแล...


ที่มา www.familyweekend.co.th
บันทึกการเข้า
sithiphong
ชมรมพระวังหน้า
สมาชิกขาประจำ
นักโพสท์ระดับ 10
*

คะแนนความดี: +7/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
Thailand Thailand

กระทู้: 918


ชมรมพระวังหน้า

ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 7.0 MS Internet Explorer 7.0


ดูรายละเอียด
« ตอบ #3 เมื่อ: 05 พฤษภาคม 2553 14:22:29 »

หวงเหลียงอีเมิ่ง : ความฝันยามต้มข้าวฟ่าง

http://www.manager.co.th/China/ViewNews.aspx?NewsID=9530000060768

โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์

5 พฤษภาคม 2553 14:18 น.



《黄粱一梦》

 

黄粱(huáng liáng) อ่านว่า หวงเหลียง แปลว่า ข้าวฟ่าง

一(yī) อ่นว่า อี แปลว่า หนึ่ง

梦(mèng) อ่านว่า เมิ่ง แปลว่า ฝัน

 



 

ภาพจาก http://hi.baidu.com



 

ในสมัยราชวงศ์ถัง มีนักวิชาการผู้หนึ่ง แซ่หลู นามชุ่ยจือ ผู้อื่นเรียกขานเขาว่าบัณฑิตหลู

 

มีอยู่ปีหนึ่ง บัณฑิตหลูรีบร้อนเดินทางเข้ามายังเมืองหลวงเพื่อเข้าสอบ ระหว่างทางแวะพักค้างแรง ณ โรงเตี้ยมแห่งหนึ่งในเมืองหานตัน บังเอิญพานพบกับนักพรตรูปหนึ่งนามว่า หลี่ว์เวิง เขาได้ปรารภถึงความลำบากยากแค้นของตนเองให้นักพรตฟัง เมื่อนักพรตฟังจบ ก็ล้วงเข้าไปในย่ามหยิบหมอนที่ทำจากกระเบื้องออกมายื่นให้บัณฑิตหลู พลางกล่าวว่า "ยามท่านนอน ให้หนุนหมอนใบนี้ แล้วฝันของท่านจะกลายเป็นจริง"

 

เมื่อถึงยามวิกาล เจ้าของโรงเตี้ยมเริ่มต้นต้มข้าวฟ่าง ส่วนบัณฑิตหลูก็ล้มตัวลงนอนหนุนหมอนที่นักพรตให้มา และหลับไปโดยเร็ว ทั้งยังฝัน ในฝันเขากลับไปยังบ้านเกิด หลายเดือนต่อมาก็ได้ตบแต่งภรรยาที่หมดจดงดงามนางหนึ่ง อีกทั้งฐานะยังมั่งคั่งขึ้นเรื่อยๆ บัณฑิตหลูรู้สึกสุขใจยิ่งนัก ไม่นานจากนั้นเขาก็สอบจองหงวนได้ ตำแหน่งหน้าที่สูงขึ้นเป็นลำดับ จนขึ้นเป็นถึงเสนาบดี อยู่ในตำแหน่งต่อมาอีกกว่า 10 ปี มีบุตรชายทั้งสิ้น 5 คน ทุกคนล้วนรับราชการเป็นขุนนางที่มีความสำเร็จ จากนั้นยังมีหลานอีกหลายสิบคน กลายเป็นตระกูลใหญ่ที่มีอิทธิพลยิ่งในแผ่นดิน จากนั้นเมื่อย่างเข้าวัยชรา อายุ 80 ปี ก็ป่วยหนัก ทุกข์ทรมาน ดูแล้วคงต้องลาโลกเป็นแน่แท้...ยามนั้นเขาก็ตกใจตื่นขึ้นมา ถึงทราบว่าเหตุการณ์ทั้งหมดล้วนฝันไป

  

ขณะนั้น เมื่อลุกขึ้นมาสำรวจดู เจ้าของโรงเตี้ยมยังต้มข้าวไม่ทันสุกดี บัณฑิตหลูจึงรู้สึกประหลาดใจยิ่งนัก เอ่ยว่า "นี่ก็เป็นเพียงความฝันเช่นกันใช่ปรือไม่?" ครานี้นักพรตจึงเป็นผู้ตอบว่า "ชีวิตมนุษย์ แท้จริงแล้วก็เป็นเช่นกันมิใช่หรือ"

 

เมื่อผ่านประสบการณ์ความฝันชั่วเวลาข้าวฟ่างไม่ทันเดือด บัณฑิตหลูจึงเกิดความรู้แจ้งว่าชีวิตมนุษย์เป็นเช่นความฝัน ไม่มีสิ่งใดจริงแท้ยั่งยืน เขาจึงตัดสินใจไม่ไปสอบจองหงวน ทว่าเดินทางกลับบ้านเกิด

 

สำนวน "หวงเหลียงอีเมิ่ง" หรือ "ความฝันยามต้มข้าวฟ่าง" ใช้เปรียบเทียบกับความฝันที่ไม่มีวันเป็นจริง หรือเปรียบเทียบว่าความสุขความสำเร็จนั้นมักเกิดขึ้นเพียงช่วงเวลาสั้นๆ ไม่ยั่งยืนเสมอไป เป็นสัจธรรม

 

สำนวนนี้ใช้ในตำแหน่งประธาน(主语) กรรม(宾语) ส่วนขยายนาม(定语)

 

 

 

สำนวนนี้มีเรื่องเล่ามากกว่า 1 เรื่อง

ที่มา http://baike.baidu.com
บันทึกการเข้า

คณะหลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดร 1.หลวงปู่พระอุตรเถระเจ้า 2.หลวงปู่พระโสณเถระเจ้า 3.หลวงปู่พระมูนียะเถระเจ้า(หลวงปู่อิเกสาโร)4.หลวงปู่พระฌาณียะเถระเจ้า(หลวงปู่ขรัวขี้เถ้า) 5.หลวงปู่พระภูริยะเถระเจ้า(หลวงปู่หน้าปาน)
sithiphong
ชมรมพระวังหน้า
สมาชิกขาประจำ
นักโพสท์ระดับ 10
*

คะแนนความดี: +7/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
Thailand Thailand

กระทู้: 918


ชมรมพระวังหน้า

ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 6.0 MS Internet Explorer 6.0


ดูรายละเอียด
« ตอบ #4 เมื่อ: 12 พฤษภาคม 2553 07:52:36 »

เจี๋ยเฉ่าเป้าเว่ย : ถักหญ้าแทนคุณเว่ย
China - Manager Online
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์
12 พฤษภาคม 2553 05:32 น.
http://www.manager.co.th/China/ViewNews.aspx?NewsID=9530000064225

《结草报魏》

结(jié) อ่านว่า เจี๋ย แปลว่า ถัก/ ผูก
草(cǎo) อ่านว่า เฉ่า แปลว่า หญ้า
报(bào) อ่านว่า เป้า แปลว่า ตอบแทน
魏(wèi) อ่านว่า เว่ย เป็นแซ่คน



ภาพประกอบจาก 首页--辽宁大学生在线联盟  

ในสมัยชุนชิว รัฐจิ้นยังมีแม่ทัพใหญ่ผู้หนึ่ง นามว่า เว่ยอู่จื่อ เขามีภรรยาน้อยผู้หนึ่งซึ่งรักใคร่โปรดปรานมากเป็นพิเศษ ทั้งสองไม่มีบุตรด้วยกัน ต่อมาเว่ยอู่จื่อล้มป่วย จึงเรียกบุตรชายของตน นามว่า เว่ยเคอ มาสั่งเสียเรื่องราวหากตนเองเสียชีวิต เมื่อหารือถึงเรื่องของภรรยาน้อยผู้นี้ เว่ยอู่จื่อจึงสั่งเสียว่า "นางยังเยาว์นัก หากข้าตายไป จงปล่อยให้นางตบแต่งออกเรือนไปกับผู้อื่นได้"

ต่อมา เมื่ออาการของเว่ยอู่จื่อทรุดหนักลง ถึงขั้นที่สติสัมปชัญญะไม่สมบูรณ์ดีนัก แต่ทว่ากลับอาลัยอาวรณ์ต่อภรรยาคนโปรดมากกว่าเดิม เมื่อเขาใกล้สิ้นใจ กลับเรียกบุตรชายมาสั่งเสียอีกครั้งว่า "หากข้าตายไป จงนำภรรยาน้อยของข้า ฝังไปพร้อมกับข้าด้วย เพื่อให้นางตามไปปรนนิบัติข้าในภพหน้า"

เมื่อเว่ยอู่จื่อสิ้นชีพลง เว่ยเคอยึดตามคำสั่งเสียของบิดาเมื่อครั้งยังมีสติครบสมบูรณ์ อนุญาตให้ภรรยาน้อยของบิดาตกแต่งออกเรือนไปได้ เพราะเชื่อว่าเป็นหนทางเกื้อหนุนคุณธรรมให้บิดาผู้ล่วงลับ นางจึงรู้สึกสำนึกในบุญคุณของเว่ยเคอยิ่งนัก

ต่อมา เว่ยเคอทำศึกกับตู้ฮุย นายทหารระดับสูงแห่งรัฐฉิน ตู้หุยนั้นเป็นทหารที่ได้ชื่อว่ารบไม่เคยแพ้ ขณะที่สองฝ่ายสู้รบกันอย่างตึงมือ เว่ยเคอเสียท่าพลาดพลั้ง พลันมีชายชราผมขาวผู้หนึ่ง ถักต้นหญ้าเป็นเชือก โยนคล้องใส่ตู้หุย เมื่อเขาชะงัก ทหารจิ้นจึงกรูเข้าไปจับตัวตู้หุยเอาไว้ได้ การศึกครั้งนี้จึงนำชัยชนะมาให้รัฐจิ้น

ในค่ำคืนนั้นเอง เมื่อเว่ยเคอนอนหลับ เขาได้ฝันถึงชายชราผู้มีพระคุณผู้นั้น ชายชรากล่าวกับเขาว่า "ท่านยังจำภรรยาน้อยของบิดาท่านที่ท่านช่วยเหลือได้หรือไม่ ข้าคือบิดาผู้ล่วงลับของนาง ข้ามาเพื่อตอบแทนบุญคุณที่ท่านช่วยให้นางมีชีวิตอยู่ต่อไป"

สำนวน "เจี๋ยเฉ่าเป้าเว่ย" หรือ "ถักหญ้าแทนคุณเว่ย" ใช้เพื่อเปรียบเทียบถึงการเป็นหนี้บุญคุณอย่างท่วมท้นจึงพยายามทุกทางเพื่อตอบแทนบุญคุณนั้น


ที่มา 毛强国。 《成语故事》 。北京。北京理工大学出版社
บันทึกการเข้า

คณะหลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดร 1.หลวงปู่พระอุตรเถระเจ้า 2.หลวงปู่พระโสณเถระเจ้า 3.หลวงปู่พระมูนียะเถระเจ้า(หลวงปู่อิเกสาโร)4.หลวงปู่พระฌาณียะเถระเจ้า(หลวงปู่ขรัวขี้เถ้า) 5.หลวงปู่พระภูริยะเถระเจ้า(หลวงปู่หน้าปาน)
sithiphong
ชมรมพระวังหน้า
สมาชิกขาประจำ
นักโพสท์ระดับ 10
*

คะแนนความดี: +7/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
Thailand Thailand

กระทู้: 918


ชมรมพระวังหน้า

ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 7.0 MS Internet Explorer 7.0


ดูรายละเอียด
« ตอบ #5 เมื่อ: 19 พฤษภาคม 2553 16:57:00 »

หมิงลั่วซุนซาน : ซื่อต่อท้ายซุนซาน
China - Manager Online
 
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 19 พฤษภาคม 2553 07:52 น.
 
《名落孙山》


名(míng) อ่านว่า หมิง แปลว่า ชื่อ
落( luò) อ่านว่า ลั่ว แปลว่า ตก
孙山(sūn shān) อ่านว่า ซุนซาน เป็นชื่อคน


 

ภาพจาก http://www.lsqn.cn
 
 
ในสมัยราชวงศ์ซ่ง มีนักศึกษาผู้หนึ่งนามว่า ซุนซาน เป็นผู้ที่มีลักษณะนิสัยรื่นเริง เปี่ยมอารมณ์ขัน

ในฤดูใบไม่ร่วงของปีหนึ่ง เขาเดินทางไปยังเมืองเอกของมณฑลเพื่อเข้าร่วมการสอบระดับท้องถิ่น โดยมีผู้เฒ่าแซ่เสียนในหมู่บ้านเดียวกัน ฝากฝังลูกชายที่ต้องการสอบให้เดินทางไปพร้อมกันซุนซานด้วย

เมื่อผ่านการสอบ จนถึงวันประกาศผล ผู้สอบทุกคนต่างออกันอยู่หน้ากระดานรายชื่อผู้ผ่านการสอบอย่างร้อนใจ เพื่อหาชื่อของตนเอง ซุนซานก็เป็นหนึ่งในคนเหล่านั้น เขาไล่หารายชื่อตนเองบนประกาศอยู่ครึ่งค่อนวันจึงค่อยพบว่ารายชื่อของตนนั้นอยู่ที่ท้ายสุดของประกาศ เป็นคนสุดท้ายที่ผ่านการทดสอบครั้งนี้ ส่วนคนบ้านเดียวกันที่มาพร้อมเขานั้นทำข้อสอบไม่ได้ สอบไม่ผ่าน จึงไม่มีรายชื่ออยู่บนกระดาษ

ซุนซานสอบติดแล้ว เขาจึงรีบร้อนเดินทางกลับบ้านเพื่อจะนำข่าวดีนี้ไปแจ้งต่อครอบครัว ส่วนคนบ้านเดียวกันรั้งอยู่ที่เมืองหลวงเพื่อท่องเที่ยวต่ออีกสักพัก

เมื่อเดินทางกลับถึงหมู่บ้าน ครอบครัวทราบข่าวดีล้วนแล้วแต่ตื่นเต้นดีใจยิ่งนัก เพื่อนบ้านก็ต่างพากันมาร่วมแสดงความยินดี ส่วนผู้เฒ่าแซ่เสียนที่ฝากลูกชายให้เดินทางไปกับซุนซานก็เดินทางมาถามถึงผลการสอบของลูกชายตนเช่นกัน

ซุนซานนั้นรู้สึกเกรงใจหากจะบอกผู้เฒ่าไปตรงๆ ว่าบุตรชายเขาสอบตก จึงได้กล่าวอ้อมๆ เป็นบทกวีว่า "พบชื่อซุนซานอยู่ท้ายสุด แซ่เสียนยิ่งอยู่หลังจากนั้น" ความหมายคือ ในบรรดาคนที่สอบติดนั้นนับซุนซานเองเป็นคนสุดท้าย ส่วนแซ่เสียนบุตรชายของท่านอยู่ด้านหลังจากชื่อของซุนซานไปอีก แสดงว่าสอบไม่ติดนั่นเอง

ต่อมา สำนวน "หมิงลั่วซุนซาน" หรือ "ชื่อต่อท้ายซุนซาน" ใช้เพื่อเปรียบเทียบกับการสอบตก หรือไม่ผ่านการคัดเลือก

ตัวอย่างประโยค
昨天晚上梦见考试那天我迟到了,结果名落孙山。
เมื่อคืนวานฝันว่าวันสอบฉันไปสาย สุดท้ายจึงสอบตก



ที่มา 毛强国。 《成语故事》 。北京。北京理工大学出版社
 
 
บันทึกการเข้า

คณะหลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดร 1.หลวงปู่พระอุตรเถระเจ้า 2.หลวงปู่พระโสณเถระเจ้า 3.หลวงปู่พระมูนียะเถระเจ้า(หลวงปู่อิเกสาโร)4.หลวงปู่พระฌาณียะเถระเจ้า(หลวงปู่ขรัวขี้เถ้า) 5.หลวงปู่พระภูริยะเถระเจ้า(หลวงปู่หน้าปาน)
sithiphong
ชมรมพระวังหน้า
สมาชิกขาประจำ
นักโพสท์ระดับ 10
*

คะแนนความดี: +7/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
Thailand Thailand

กระทู้: 918


ชมรมพระวังหน้า

ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 6.0 MS Internet Explorer 6.0


ดูรายละเอียด
« ตอบ #6 เมื่อ: 26 พฤษภาคม 2553 08:04:45 »

เซินอู๋ฉางอู้ : ไร้สมบัติติดกาย
China - Manager Online
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์
26 พฤษภาคม 2553 07:39 น.

《身无长物》

身 (shēn) อ่านว่า เซิน แปลว่า ร่างกาย
无 ( wú) อ่านว่า อู๋ แปลว่า ไม่มี
长物 (chángwù) อ่านว่า ฉางอู้ แปลว่า ข้าวของ (ในอดีต อ่านว่า จ้างอู้ แปลว่าสิ่งของฟุ่มเฟือย)



ภาพจาก  http://zl-23237878.blog.163.com/


ในสมัยจิ้นตะวันออก(ตงจิ้น) ยังมีคนผู้หนึ่ง นามว่า หวังกง ฉายาเสี้ยวป๋อ พื้นเพมาจากตระกูลสูงศักดิ์ บิดานามหวังอวิ้นรับราชการเป็นขุนนางระดับสูง ส่วนน้องสาวก็เป็นถึงพระมเหสีของฮ่องเต้เสี้ยวอู่ตี้ ทว่าหวังกงไม่ใช่คนหลงมัวเมาไปกับอำนาจวาสนา เขาได้ชื่อว่าเป็นผู้มีคุณธรรมจริยธรรมสูงยิ่ง กระทั่งมหาเสนาบดีเซี่ยอานยังให้ความสนใจในตัวเขา ทั้งยังเชื่อว่าต่อไปภายภาคหน้าหวังกงจะเป็นบุคคลสำคัญผู้หนึ่งที่สามารถสนับสนุนส่งเสริมให้ฮ่องเต้ปกครองแว่นแคว้นนี้ต่อไป

ในชีวิตประจำวัน หวังกงมีความประหยัดมัธยัสถ์ยิ่ง เขาสนิทสนมกับคนในตระกูลเดียวกันผู้หนึ่ง นามว่า หวังเฉิน ทั้งสองต่างได้ชื่อว่าเป็นผู้ที่มีสติปัญญาความสามารถ หวังกงนั้นพำนักอยู่ ณ เมืองฮุ่ยจี ส่วนหวังเฉินอยู่ ณ เจี้ยนคัง ซึ่งเป็นเมืองหลวง ทั้งสองจึงไม่ได้พบกันบ่อยนัก

ครั้งหนึ่ง หวังกงเดินทางมายังเมืองหลวงพร้อมกับบิดา เมื่อหวังเฉินทราบข่าวจึงมาพบปะพูดคุย เมื่อสนทนากันได้พักใหญ่ หวังเฉินเห็นเสื่อที่หวังกงนั่งอยู่ถักทอลวดลายงดงามจับใจนัก จึงคิดว่าหวังกงเดินทางมาจากเมืองฮุ่ยจี ซึ่งเป็นแหล่งผลิตไม่ไผ่และเสื่อที่ขึ้นชื่อยิ่ง สมควรนำติดตัวมาหลายผืน จึงได้เอ่ยปากว่า "เสื่อผืนนี้งามยิ่ง ท่านสามารถมอบให้ข้าสักผืนหรือไม่?" หวังกงตอบตกลงพลางผุดลุกขึ้นม้วนเสื่อผืนนั้นมอบให้เพื่อนสนิท เมื่อหวังเฉินกลับไป หวังกงจึงนำแผ่นฟางถักมารองนั่งแทน

เมื่อหวังเฉินได้ทราบเรื่องดังกล่าวจึงตกตะลึง และเดินทางกลับมาขอโทษหวังกง พลางกล่าวว่า "ต้องขออภัยอย่างยิ่ง เพราะข้าคิดว่าท่านมีเสื่อติดตัวมาหลายผืน" หวังกงยิ้มพลางกล่าวตอบว่า "ตัวข้านี้ ทั้งตัวล้วนไม่มีสิ่งใดไม่ใช้ประโยชน์" หวังเฉินเห็นหวังกงมัธยัสถ์ถึงเพียงนั้น ทั้งยังจิตใจกว้างขวางจึงยิ่งเพิ่มความนิยมยกย่อง

ภายหลัง หวังกงได้รับความไว้วางใจจากอ๋องเสี้ยวอู่ตี้ รั้งตำแหน่งขุนพล มีคุณูปการอย่างยิ่งต่อบ้านเมือง

สำนวน "เซินอู๋ฉางอู้" เดิมทีเปรียบเปรยถึงผู้ที่มีความประหยัด มัธยัสถ์ แต่ในภายหลังใช้ในความหมายว่ายากจนข้นแค้น ไร้สมบัติติดกาย


ที่มา 毛强国。 《成语故事》 。北京。北京理工大学出版社

http://www.manager.co.th/China/ViewN...=9530000071350
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 26 พฤษภาคม 2553 08:06:26 โดย sithiphong » บันทึกการเข้า

คณะหลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดร 1.หลวงปู่พระอุตรเถระเจ้า 2.หลวงปู่พระโสณเถระเจ้า 3.หลวงปู่พระมูนียะเถระเจ้า(หลวงปู่อิเกสาโร)4.หลวงปู่พระฌาณียะเถระเจ้า(หลวงปู่ขรัวขี้เถ้า) 5.หลวงปู่พระภูริยะเถระเจ้า(หลวงปู่หน้าปาน)
sithiphong
ชมรมพระวังหน้า
สมาชิกขาประจำ
นักโพสท์ระดับ 10
*

คะแนนความดี: +7/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
Thailand Thailand

กระทู้: 918


ชมรมพระวังหน้า

ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 6.0 MS Internet Explorer 6.0


ดูรายละเอียด
« ตอบ #7 เมื่อ: 02 มิถุนายน 2553 17:45:32 »

เฉียนปู้จื๋อ : ไม่มีค่าแม้สตางค์แดงเดียว

http://www.manager.co.th/China/ViewNews.aspx?NewsID=9530000074768

โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์

2 มิถุนายน 2553 09:20 น.



《一钱不值 》

  

一 (yī) อ่านว่า อี แปลว่า หนึ่ง

钱 (qián) อ่านว่า เฉียน แปลว่า เงิน ในที่นี้หมายถึงสตางค์

不 (bù) อ่านว่า ปู้ แปลว่า ไม่

值 (zhí) อ่านว่า จื๋อ แปลว่า มีค่า

 

 

ภาพจาก http://img08.taobaocdn.com/

 

ชายผู้หนึ่ง นามว่าก้วนฝู ฉายาจ้งหยู เป็นคนสมัยฮั่นตะวันตก มีอุปนิสัยตรงไปตรงมา ยึดถือคุณธรรม พูดจริงทำจริง

 

ก้วนฝู มักจะไม่นบนอบต่อบุคคลที่ตำแหน่งใหญ่โตหรือร่ำรวยกว่าเขา แต่กับผู้ที่ด้อยกว่าโดยเฉพาะผู้ที่ฐานะยากจน เขาจะเพิ่มความเกรงอกเกรงใจเป็นพิเศษ ทำให้ในเวลานั้นบรรดาผู้คนที่มีความสามารถแต่ไร้ยศถาบรรดาศักดิ์ ล้วนชื่นชมเขา อยากคบหากับเขา

 

ก้วนฝูชมชอบดื่มสุรา ทั้งยังมักดื่มจนเมามาย ครั้งหนึ่งในงานมงคลสมรสของเถียนเฝิน ข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ ก้วนฝูดื่มสุราอย่างหนัก สักครู่จึงลุกขึ้นเดินไปหยุดตรงหน้าเถียนเฝินเพื่อคารวะสุราหนึ่งจอก ทว่าเถียนเฝินออกตัวว่า "ข้าไม่มีความสามารถดื่มสุราปริ่มถ้วย" ก้วนฝูเห็นว่าคนผู้นี้ไม่ยอมดื่มสุราอย่างโปรดโปร่ง จึงเอ่ยปากแฝงการประชดประชันว่า "ท่านแม้เป็นชนชั้นสูงศักดิ์ แต่ก็ควรดื่มสุราที่ข้าน้อยคารวะให้หมดจอก" ทว่าเถียนเฝินคงยืนยันคำเดิม ก้วนฝูรู้สึกไร้รสชาติจึงเปลี่ยนเป้าหมายเดินไปที่หน้าญาติผู้หนึ่งนามว่า ก้วนเสียนซึ่งเป็นเจ้าเมืองหลินหยูเพื่อคารวะสุรา ทว่าก้วนเสียนนั้นกำลังสนทนาอย่างออกรสอยู่กับเฉิงปู้สื่อ(ขุนนางตำแหน่งเจ้าเมืองปกครองเขตชายแดน) ผู้หนึ่ง โดยกำลังยื่นหน้าไปกระซิบกระซาบกับใบหูของเฉิงปู้สื่อ ดังนั้นจึงไม่ได้แสดงท่าทีสนใจก้วนฝูเท่าใดนัก

 

ก้วนฝูเดิมทีรู้สึกมีโทสะอยู่ก่อนแล้ว เมื่อประสบเหตุเช่นนี้ จึงอดรนทนไม่ได้ เอ่ยปากด่าทอก้วนเสียนว่า "ข้าบอกแต่ไหนแต่ไรว่าตำแหน่งเฉิงปู้ซื่อไม่มีค่าแม้สตางค์แดงเดียว แต่วันนี้ท่านกับเขากลับทำท่าทางราวกับภรรยาขบกัดใบหูหยอกเย้าสามี!"

 

"อีเฉียนปู้จื๋อ" หรือ "ไม่มีค่าแม้สตางค์แดงเดียว" แปลว่า ไม่มีคุณค่า ภายหลังสำนวนนี้จึงถูกนำมาใช้เพื่อเปรียบเปรยกับการไม่ให้คุณค่ากับผู้อื่น หรือเปรียบเทียบกับตนเองที่ถูกผู้อื่นมองไม่เห็นค่า รวมทั้งสามารถใช้เปรียบกับบุคคลที่ภายนอกท่าทางดีแต่ความจริงแล้วใช้การอันใดมิได้

 

สำนวนนี้ใช้ในตำแหน่งภาคแสดง(谓语) กรรม(宾语) หรือส่วนขยายนาม(定语)

 

 

ตัวอย่างประโยค

“老赵料不到他的'杰作'竟被批评得一钱不值 。”

ผู้แซ่เจ้าคิดไม่ถึงว่า ผลงาน "ชิ้นเอก" ของเขากลับถูกตำหนิเสียจน ~

 

 

 

ที่มา 毛强国。 《成语故事》 。北京。北京理工大学出版社
บันทึกการเข้า

คณะหลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดร 1.หลวงปู่พระอุตรเถระเจ้า 2.หลวงปู่พระโสณเถระเจ้า 3.หลวงปู่พระมูนียะเถระเจ้า(หลวงปู่อิเกสาโร)4.หลวงปู่พระฌาณียะเถระเจ้า(หลวงปู่ขรัวขี้เถ้า) 5.หลวงปู่พระภูริยะเถระเจ้า(หลวงปู่หน้าปาน)
sithiphong
ชมรมพระวังหน้า
สมาชิกขาประจำ
นักโพสท์ระดับ 10
*

คะแนนความดี: +7/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
Thailand Thailand

กระทู้: 918


ชมรมพระวังหน้า

ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 6.0 MS Internet Explorer 6.0


ดูรายละเอียด
« ตอบ #8 เมื่อ: 09 มิถุนายน 2553 08:36:20 »

เยี่ยว์จู่ไต้ผาว : ข้ามเครื่องเซ่นไหว้ไปเป็นพ่อครัว
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์
9 มิถุนายน 2553 07:58 น.

《越俎代庖》  
越(yuè) อ่านว่า เยวี่ย แปลว่า ข้าม
俎( zǔ) อ่านว่า จู่ แปลว่า ภาชนะใส่เครื่องบวงสรวงบรรพบุรุษ
代(dài) อ่านว่า ไต้ แปลว่า แทน
庖(páo) อ่านว่า ผาว แปลว่า พ่อครัว


 
ภาพประกอบโดย เฉียนเสวี่ยน ศิลปินสมัยราชวงศ์หยวน

ในยุคโบราณ ก่อนการถือกำเนิดของราชวงศ์ต่างๆ ในประเทศจีน มีตำนานเล่าสืบต่อกันมาว่า ชายผู้ทรงคุณธรรมจริยธรรมผู้หนึ่ง เร้นกายทำไร่ไถนาอยู่ ณ ริมแม่น้ำอี๋สุ่ย เชิงเขาจีซาน เขามีนามว่า "สี่ว์โหยว" ยามใดที่หิวก็ปีนเขาขึ้นไปปลิดผลไม้รับประทาน ยามใดที่กระหายน้ำก็อาศัยสองมือวักน้ำในแม่น้ำอี๋สุ่ยมาดับกระหาย แม้ว่ามีผู้ตักเตือนเขาว่า "ชีวิตคนเราสั้นนัก ใยต้องเร้นกายอยู่อย่างไร้นาม ผ่านชีวิตลำบากยากแค้นถึงเพียงนี้เล่า?" สี่ว์โหยวกลับยิ้มพลางตอบว่า "เช่นนี้จึงสามารถมีชีวิตที่แสนอิสรเสรี ไม่ถือเป็นความยากลำบากอันใด"

ครั้งหนึ่ง มีคนนึกห่วงใยสี่ว์โหยว ส่งกระบวยตักน้ำมาเพื่อให้เขาดื่มน้ำสะดวกขึ้น สี่ว์โหยวเอากระบวยนั้นแขวนไว้บนต้นไม้ แต่ยิ่งนานวัน ยามที่ลมโชย กระบวยโดนลมพัดเกิดเสียงดังน่ารำคาญยิ่ง สุดท้ายสี่ว์โหยวจึงโยนกระบวยทิ้งไป

ในยุคเดียวกันนั้น ยังมีมหากษัตริย์นามว่า "ถังเหยา" หรือตี้เหยา กษัตริย์ในตำนานของจีนที่ได้รับการยกย่องว่าเป็นปราชญ์ผู้ธำรงคุณธรรม พระองค์ได้ทราบเรื่องราวของสี่ว์โหยว ทรงดำริให้เขาสืบทอดราชบังลังค์ จึงได้เรียกเขามาพบและตรัสว่า "ยามที่สุริยันและจันทราลอยเด่นบนท้องนภา มีคนพยายามจุดฟืนไฟประชันแสง นั่นใช่ยากเย็นหรือไม่? ยามที่หยาดพิรุณโปรยจากฟากฟ้า มีผู้ต้องการให้น้ำรดลงเฉพาะผืนแผ่นดินของตน ครอบครองความชุ่มชื้นที่ประทานมาเพื่อนสรรพสัตว์ มิใช่สิ้นเปลืองแรงงานยิ่งหรือ? บัดนี้ปรากฏท่านผู้กอรปด้วยคุณธรรมจริยธรรมขึ้นมาในแผ่นดินผู้หนึ่ง หากเรารั้งตำแหน่งกษัตริย์ไว้กับตัวเอง ย่อมน่าเสียดายยิ่งนัก"

ยามนั้นสี่ว์โหยวกลับปฏิเสธอำนาจเหนือแผ่นดิน กล่าวว่า "นกบนยอดไม้ใหญ่ยึดเกาะได้เพียงกิ่งไม้ใต้ผ่าเท้า มุสิกดื่มน้ำในลำธารเพียงดื่มได้แค่เต็มกระเพาะ เช่นเดียวกับข้าน้อย จะต้องการอำนาจเหนือแผ่นดินไปเพื่ออะไร...แม้แต่พ่อครัว หากไม่ปรุงอาหารตามหน้าที่ ผู้ควบคุมงานพิธีบูชาบรรพบุรุษยังมิอาจละทิ้งของเซ่นไหว้ ก้าวข้ามภาชนะใส่เครื่องบวงสรวงบรรพบุรุษเพื่อไปทำหน้าที่พ่อครัวแทน" เมื่อกล่าวจบ สี่ว์โหยวจึงได้อำลาถังเหยา เดินทางจากไป

สำนวน "เยี่ยว์จู่ไต้ผาว" หรือ "ข้ามเครื่องเซ่นไหว้ไปเป็นพ่อครัว" เปรียบเปรยถึงการข้ามหน้าข้ามตา หรือล้ำเส้นไปทำงานของผู้อื่นที่อยู่นอกเหนือขอบเขตความรับผิดชอบของตน

สำนวนนี้ใช้ในตำแหน่งภาคแสดง(谓语) หรือส่วนขยายนาม(定语) มีความหมายทางลบ

.
China - Manager Online
China - Manager Online
บันทึกการเข้า

คณะหลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดร 1.หลวงปู่พระอุตรเถระเจ้า 2.หลวงปู่พระโสณเถระเจ้า 3.หลวงปู่พระมูนียะเถระเจ้า(หลวงปู่อิเกสาโร)4.หลวงปู่พระฌาณียะเถระเจ้า(หลวงปู่ขรัวขี้เถ้า) 5.หลวงปู่พระภูริยะเถระเจ้า(หลวงปู่หน้าปาน)
sithiphong
ชมรมพระวังหน้า
สมาชิกขาประจำ
นักโพสท์ระดับ 10
*

คะแนนความดี: +7/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
Thailand Thailand

กระทู้: 918


ชมรมพระวังหน้า

ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 6.0 MS Internet Explorer 6.0


ดูรายละเอียด
« ตอบ #9 เมื่อ: 15 มิถุนายน 2553 17:24:53 »

หยิ่นหลางรู่ซื่อ : ชักนำจิ้งจอกเข้าห้องหับ

http://www.manager.co.th/China/ViewNews.aspx?NewsID=9530000080650
 

โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 15 มิถุนายน 2553 16:08 น.
 
       
《引狼入室》

        
       引(yǐn) อ่านหว่า หยิ่น แปลว่า ชักนำ
       狼(láng) อ่านว่า หลาง แปลว่า สุนัขจิ้งจอก
       入(rù) อ่านว่า รู่(ยู่) แปลว่า เข้า
       室(shì) อ่านว่า ซื่อ แปลว่า ห้อง

 
 
ภาพจาก http://img.blog.163.com
 
 
       มีคนเลี้ยงแกะผู้หนึ่ง ปล่อยแกะกินหญ้าอยู่ในหุบเขาลึก วันหนึ่งเขาพบว่าในที่ห่างไกลออกไปนั้น มีสุนัขจิ้งจอกตัวหนึ่งค่อยๆ เลาะเลียบติดตามฝูงแกะอยู่ ช่วงเวลาดังกล่าวคนเลี้ยงแกะจึงได้เพิ่มความระมัดระวังมากยิ่งขึ้น
       
       เวลาผ่านไปหลายเดือน สุนัขจิ้งจอกยังคงตามฝูงแกะอยู่ห่างๆ เช่นเดิม ทว่าไม่ได้เข้าใกล้ฝูงแกะมากขึ้นแม้แต่น้อย ทั้งยังไม่ได้ทำร้ายแกะแม้สักตัวเดียว ทำให้คนเลี้ยงแกะค่อยๆ เปลี่ยนความคิดระแวดระวังในตัวสุนัขจิ้งจอกลงเรื่อยๆ ต่อมาคนเลี้ยงแกะถึงกับคิดว่าการที่มีสุนัขจิ้งจอกตามหลังฝูงแกะนั้นก็เป็นเรื่องที่ดี เพราะทำให้ไม่ต้องคอยระวังภัยจากสัตว์ป่าอื่นๆ จะมาทำร้ายฝูงแกะ จากนั้นอีกไม่นานนัก คนเลี้ยงแกะจึงยึดถือว่าสุนัขจิ้งจอกตัวนั้นเป็นเพียงสุนัขเลี้ยงแกะไม่มีพิษสง ถึงกับเรียกให้มันมาทำหน้าที่ดูแลฝูงแกะและคอยต้อนแกะ
       
       สุนัขจิ้งจอกทำหน้าที่ดูแลแกะโดยอยู่ในสายตาของคนเลี้ยงแกะตลอดเวลา คนเลี้ยงแกะเห็นว่าสุนัขจิ้งจอกทำหน้าที่ได้อย่างดี ในใจคิดว่า "ผู้คนต่างเห็นว่าสุนัขจิ้งจอกเป็นสัตว์ร้ายไว้ใจไม่ได้ แต่ข้ากลับเห็นว่าความจริงไม่ได้เป็นเช่นนั้น..."
       
       วันหนึ่ง คนเลี้ยงแกะมีธุระต้องเดินทางเข้าไปในเมือง จึงได้ฝากให้สุนัขจิ้งจอกดูแลฝูงแกะตามลำพังด้วยความไว้ใจ มิคาด...เมื่อคนเลี้ยงแกะลับตาไป สุนัขจิ้งจอกกลับเปล่งเสียงกู่ร้องเรียกฝูงสุนัขจิ้งจอกออกมาจากป่า จากนั้นจึงจับฝูงแกะกินเป็นอาหารจนราบคาบ
       
       สำนวน "หยิ่นหลางรู่ซื่อ" หรือ "ชักนำจิ้งจอกเข้าห้องหับ" ใช้เปรียบเทียบกับการนำคนชั่วหรือศัตรูมาไว้ใกล้ตัวก็ไม่ต่างกับการนำเภทภัยมาไว้ข้างกาย สุดท้ายกลับส่งผลร้ายต่อตนเองเกินกว่าที่จะคาดคิด มีความหมายคล้ายคลึงกับคำว่า "ชักน้ำเข้าลึก ชักศึกเข้าบ้าน" ในภาษาไทย
       
       สำนวนนี้ใช้ในตำแหน่งภาคแสดง(谓语) หรือส่วนขยายนาม(定语)
       
       ตัวอย่างประโยค
       雇请保姆照顾老人要更加小心,要不会变成引狼入室。
       การจ้างแม่บ้านมาดูแลคนแก่ต้องระวังให้มาก มิฉะนั้นจะกลายเป็น ~
 
 
บันทึกการเข้า

คณะหลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดร 1.หลวงปู่พระอุตรเถระเจ้า 2.หลวงปู่พระโสณเถระเจ้า 3.หลวงปู่พระมูนียะเถระเจ้า(หลวงปู่อิเกสาโร)4.หลวงปู่พระฌาณียะเถระเจ้า(หลวงปู่ขรัวขี้เถ้า) 5.หลวงปู่พระภูริยะเถระเจ้า(หลวงปู่หน้าปาน)
sithiphong
ชมรมพระวังหน้า
สมาชิกขาประจำ
นักโพสท์ระดับ 10
*

คะแนนความดี: +7/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
Thailand Thailand

กระทู้: 918


ชมรมพระวังหน้า

ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 6.0 MS Internet Explorer 6.0


ดูรายละเอียด
« ตอบ #10 เมื่อ: 30 มิถุนายน 2553 08:58:16 »

โว่ซินฉางต่าน : นอนฟืนชิมน้ำดีขม

โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์
30 มิถุนายน 2553 07:43 น.


《卧薪尝胆》

卧(wò) อ่านว่า โว่ แปลว่า นอน
薪(xīn) อ่านว่า ซิน แปลว่า ฟืน
尝(cháng) อ่านว่า ฉาง แปลว่า ชิม
胆(dǎn) อ่านว่า ต่าน แปลว่า น้ำดี (ของเหลวหลั่งออกมาจากเซลล์ตับ มีรสขม)




 
ภาพจากhttp://www.1155815.com

496 ปีก่อนคริสตกาล เจ้าครองแคว้นอู๋นาม เหอหลี่ว์ ได้ส่งกองทัพมาโจมตีรัฐเยี่ยว์ ทว่ากลับถูกกองทหารรัฐเยี่ยว์ตอบโต้จนแตกพ่ายไป เหอหลี่ว์เองก็ได้รับบาดเจ็บสาหัส กระทั่งเสียชีวิต โอรสนามฟู่ไช จึงได้รับเลือกให้ขึ้นครองแคว้นอู๋แทน

ต่อมา เกิดการศึกระหว่างแคว้นอู๋และแคว้นเยี่ยว์อีกครั้ง แคว้นเยี่ยว์เป็นฝ่ายพ่ายแพ้ อู๋ จื่อซีว์ ซึ่งเป็นที่ปรึกษาผู้รักชาติแห่งแคว้นอู๋ แนะนำว่าฟูไชควรกำจัดเจ้าแคว้นเยี่ยว์ นามโกวเจี้ยนให้สิ้นซาก ไม่ควรปล่อยเอาไว้ให้เป็นเสี้ยนหนามแผ่นดิน แต่เจ้าแคว้นอู๋ไม่ฟัง กลับนำโกวเจี้ยนกลับไปเป็นทาสยังแคว้นอู๋

3 ปีผ่านไป โกวเจี้ยนอยู่แคว้นอู๋อย่างสงบเสงี่ยมยิ่งนัก จนทำให้ฟูไชไว้วางใจในตัวโกวเจี้ยนมากขึ้น ถึงขั้นปล่อยตัวให้กลับสู่แคว้นเยี่ยว์ดังเดิม

แต่ในความจริงแล้ว ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา โกวเจี้ยนไม่เคยลืมความคับแค้นที่เกิดขึ้นกับบ้านเมืองของตน เขาได้แอบสั่งสมกองกำลังและฝึกฝนกองทัพของตนเองอย่างลับๆ เพื่อรอวันแก้แค้น โดยในช่วงเวลาดังกล่าวทุกๆ ค่ำคืน ยามหลับไหลโกวเจี้ยนไม่เคยนอนสบายบนฟูก แต่กลับนอนบนฟืนแข็งปูหยาบๆ หนำซ้ำภายในห้องพักของเขายังแขวนถุงน้ำดีเอาไว้ เขาหมั่นลิ้มรสความขมของน้ำดีนั้นอยู่เสมอๆ เพื่อไม่ปล่อยให้ความสะดวกสะสบายทางร่างกายทำให้หลงลืมความคับแค้นที่ผ่านมา

นอกจากนั้น เมื่อกลับสู่แคว้นเยี่ยว์ เพื่อครองใจไพร่ฟ้าโกวเจี้ยนและมเหสีจึงมักลงไปใช้แรงงานร่วมกับชาวบ้านราษฎร สร้างความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียว ร่วมแรงร่วมใจก่อร่างสร้างรัฐเยี่ยว์ขึ้นมาใหม่ สุดท้ายเมื่อโกาสมาถึง โกวเจี้ยนก็สามารถล้างแค้น ยกกองทัพไปโจมตีรัฐอู๋ได้สำเร็จในที่สุด

"โว่ซินฉางต่าน" หรือ "นอนฟืนชิมน้ำดีขม" เป็นสำนวนที่มักใช้เพื่อสอนว่า คนเราต้องผ่านการเคี่ยวกรำตนเอง อดทน เพียรพยายามอย่างยิ่ง เพื่อให้บรรลุผลสำเร็จดังที่มุ่งหวังเอาไว้


ที่มา
บันทึกการเข้า

คณะหลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดร 1.หลวงปู่พระอุตรเถระเจ้า 2.หลวงปู่พระโสณเถระเจ้า 3.หลวงปู่พระมูนียะเถระเจ้า(หลวงปู่อิเกสาโร)4.หลวงปู่พระฌาณียะเถระเจ้า(หลวงปู่ขรัวขี้เถ้า) 5.หลวงปู่พระภูริยะเถระเจ้า(หลวงปู่หน้าปาน)
sithiphong
ชมรมพระวังหน้า
สมาชิกขาประจำ
นักโพสท์ระดับ 10
*

คะแนนความดี: +7/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
Thailand Thailand

กระทู้: 918


ชมรมพระวังหน้า

ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 7.0 MS Internet Explorer 7.0


ดูรายละเอียด
« ตอบ #11 เมื่อ: 07 กรกฎาคม 2553 21:11:06 »

ไม่เจี้ยนใหม่หนิว : ขายกระบี่ซื้อโค
China - Manager Online
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์
7 กรกฎาคม 2553 08:39 น.

《卖剑买牛》


卖(mài) อ่านว่า ไม่ แปลว่า ขาย
剑(jiàn) อ่านว่า เจี้ยน แปลว่า กระบี่
买(mǎi) อ่านว่า ใหม่ แปลว่า ซื้อ
牛(niú) อ่านว่า หนิว แปลว่า โค


 

ภาพจาก ภาพจาก http://pic.5tu.cn
 
 


ย้อนกลับไปในยุคสมัยของฮั่นเซวียนตี้ แห่งราชวงศ์ฮั่น พื้นที่บริเวณเขตทะเลสาบป๋อไห่เกิดวิกฤตการณ์ภัยธรรมชาติอย่างรุนแรงไปทั่วทุกหย่อมหญ้า ชาวบ้านอดอยากยากแค้นเนื่องจากขาดแคลนอาหารประทังชีวิต ที่ล้มตายไปก็มีไม่น้อย ราษฎรทุกข์ยาก จนพากันจับอาวุธขึ้นมาแข็งข้อต่อทางการ ดังนั้นเพื่อปราบจลาจลเหล่านี้ วังหลวงจึงได้ส่งขุนนางนามว่า กงสุ้ย เดินทางไปรับตำแหน่งพ่อเมืองในพื้นที่ทะเลสาบป๋อไห่ดังกล่าว

เมื่อกงสุ้ยเดินทางไปรับตำแหน่งเรียบร้อย ก็เริ่มดำเนินการแก้ปัญหาทันที โดยทางหนึ่งเขาได้ ออกคำสั่งให้ทุกๆ อำเภอภายใต้เขตปกครองของตน หยุดการเข่นฆ่าประชาชนที่เป็นปรปักษ์ หากประชาชนคนใดยอมจำนนต่อทางการ ก็ห้ามมิให้ลงโทษหรือเอาผิดต่อไป แต่หากเป็นผู้ที่ไม่ยอมจำนนก็ต้องมีบทลงโทษที่เฉียบขาด ส่วนวิธีแก้ปัญหาในอีกทางหนึ่ง คือออกคำสั่งให้ทุกอำเภอให้ความรู้กับชาวบ้านเพื่อสนับสนุนให้ชาวบ้าน "ขายกระบี่ซื้อเครื่องมือการเกษตร ขายมีดซื้อโค" ลงมือทำเกษตรกรรมสร้างผลผลิตเพื่อช่วยเหลือตัวเอง

ภายใต้การสนับสนุนของทางการ ชาวบ้านส่วนใหญ่พากันขายดาบวางกระบี่ ซื้อโค และเครื่องไม้เครื่องมือทำไร่ไถนา และลงมือทำงาน จากนั้นเมื่อมีผลผลิตมาเลี้ยงปากท้อง สถานการณ์ค่อยๆ ดีขึ้นเรื่อยๆ ปัญหาการจลาจลก็หมดลง

สำนวน "ไม่เจี้ยนใหม่หนิว" หรือ "ขายกระบี่ซื้อโค" ใช้ในความหมายตรงตัวว่าเปลี่ยนอาชีพมาทำการเกษตร นอกจากนั้นยังใช้เปรียบเปรยกับคนชั่วที่กลับตัวกลับใจมาทำความดี

ที่มา http://baike.baidu.com/
บันทึกการเข้า

คณะหลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดร 1.หลวงปู่พระอุตรเถระเจ้า 2.หลวงปู่พระโสณเถระเจ้า 3.หลวงปู่พระมูนียะเถระเจ้า(หลวงปู่อิเกสาโร)4.หลวงปู่พระฌาณียะเถระเจ้า(หลวงปู่ขรัวขี้เถ้า) 5.หลวงปู่พระภูริยะเถระเจ้า(หลวงปู่หน้าปาน)
sithiphong
ชมรมพระวังหน้า
สมาชิกขาประจำ
นักโพสท์ระดับ 10
*

คะแนนความดี: +7/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
Thailand Thailand

กระทู้: 918


ชมรมพระวังหน้า

ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 6.0 MS Internet Explorer 6.0


ดูรายละเอียด
« ตอบ #12 เมื่อ: 14 กรกฎาคม 2553 18:50:06 »

จี้ชางเสียว์เซ่อ : จี้ชางเรียนยิงธนู
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์
14 กรกฎาคม 2553 07:09 น.



《纪昌学射》




纪昌(jìchāng) อ่านว่า จี้ชาง ในที่นี้เป็นชื่อคน
学(xué) อ่านว่า เสียว์ แปลว่า เรียน
射(shè) อ่านว่า เซ่อ แปลว่า ยิงธนู





www.zxxjs.net

ในสมัยโบราณ "กานอิ๋ง" เป็นบุคคลผู้ที่ได้ชื่อว่ามีความสามารถในการยิงธนูเป็นอย่างยิ่ง ธนูของเขาเพียงดอกเดียว สามารถทำให้สัตว์ป่าล้มลงดิน ปักษาร่วงหล่นจากฟ้า เขามีศิษย์ผู้หนึ่ง นามว่า "เฟยเว่ย" ซึ่งต่อมาทักษะการยิงธนูของเฟยเว่ยนั้นยังเด่นล้ำกว่าผู้เป็นอาจารย์คือกานอิ๋งไปอีกขั้นหนึ่ง

ต่อมามีคนผู้หนึ่ง นามว่า "จี้ชาง" เดินทางมาคารวะเฟยเว่ยเพื่อขอศึกษาทักษะการยิงธนู ซึ่งเฟยเว่ยกล่าวกับเขาว่า "เริ่มแรกเจ้าต้องเรียนรู้ที่จะมองดูสิ่งต่างๆ โดยไม่กระพริบตาก่อน จากนั้นค่อยมาคุยเรื่องยิงธนูทีหลัง"

จี้ชางเดินทางกลับถึงบ้าน ล้มตัวลงไปนอนอยู่ใต้กี่ทอผ้าของภรรยา ทั้งยังแหงนหน้ามองกระสวยทอผ้าวิ่งกลับไปกลับมา ทำเช่นนั้นอยู่ 2 ปีเต็ม ขนาดที่ว่าหากมีของมีคมทิ่มมาถึงเปลือกตาของเขา เขายังไม่กระพริบตา จี้ชางจึงเดินทางไปพบเฟยเว่ยอีกครั้ง

ครั้นได้พบหน้า เฟยเว่ยกลับกล่าวกับจี้ชางว่า "นี่ยังไม่เพียงพอ เจ้าต้องเรียนรู้ที่จะมองวัตถุที่เล็กมากๆ ให้เห็นอย่างแจ่มชัดคล้ายดั่งกำลังมองวัตถุมหึมา มองวัตถุเล็กละเอียดให้ง่ายดายเหมือนมองวัตถุกว้างหนา เช่นนั้นแล้วค่อยกลับมาหาข้าใหม่"

เมื่อกลับถึงบ้าน จี้ชางนำเห็บเหาที่เกาะอยู่บนขนโคกระบือ มาแขวนไว้บริเวณบานหน้าต่าง แล้วเพ่งมอง สิบวันผ่านไป เห็บเหามองเห็นได้ชัดเจนประดุจตัวโตใหญ่ขึ้นเรื่อยๆ สามปีถัดจากนั้น เห็บเหาในสายตาจี้ชางกลับใหญ่โตราวกับล้อเกวียน เมื่อหันมองไปยังวัตถุอื่นล้วนใหญ่โตราวกับขุนเขามิปาน เมื่อถึงตอนนั้นจี้ชางจึงนำกระบอกที่ทำจากเขาโค บรรจุลูกธนู ทั้งยังประดิษฐ์คันธนูจากไม้ไผ่ขึ้นชื่อทางภาคเหนือ ลองเล็งยิงไปที่เห็บโคตัวหนึ่งซึ่งเกาะอยู่บนขนโคที่เขาแขวนไว้บนหน้าต่าง มิคาดความแม่นยำถึงกับแทงทะลุหัวใจเห็บตัวนั้น แต่ไม่ทำให้ขนโคขาดร่วง จี้ชางจึงเดินทางไปพบเฟยเว่ย ทั้งยังเล่าเรื่องที่ตนศึกษาการยิงธนูให้เฟยเว่ยทราบ

เฟยเว่ยได้ฟัง ก็ยินดียิ่งนัก เพียงกล่าวกับจี้ชางสั้นๆ ว่า "นับว่าเจ้าได้เรียนรู้เคล็ดลับการยิงธนูอย่างทะลุปรุโปร่งแล้ว"

สำนวน "จี้ชางเรียนยิงธนู" มีความหมายว่า คนเราต้องมีความเพียรพยายาม อดทนต่อความยากลำบาก จึงจะประสบความสำเร็จ หรือมีความหมายอีกอย่างว่า ความสามารถที่ยิ่งใหญ่ มักจะเริ่มจากการฝึกฝนในสิ่งเล็กๆ

ที่มา
บันทึกการเข้า

คณะหลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดร 1.หลวงปู่พระอุตรเถระเจ้า 2.หลวงปู่พระโสณเถระเจ้า 3.หลวงปู่พระมูนียะเถระเจ้า(หลวงปู่อิเกสาโร)4.หลวงปู่พระฌาณียะเถระเจ้า(หลวงปู่ขรัวขี้เถ้า) 5.หลวงปู่พระภูริยะเถระเจ้า(หลวงปู่หน้าปาน)
sithiphong
ชมรมพระวังหน้า
สมาชิกขาประจำ
นักโพสท์ระดับ 10
*

คะแนนความดี: +7/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
Thailand Thailand

กระทู้: 918


ชมรมพระวังหน้า

ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 7.0 MS Internet Explorer 7.0


ดูรายละเอียด
« ตอบ #13 เมื่อ: 21 กรกฎาคม 2553 22:41:43 »

ซู่เต่าหูซุนซ่าน : "ไม้ล้มลิงกังกระเจิง"
China - Manager Online
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์
21 กรกฎาคม 2553 08:15 น.

《树倒猢狲散》

  
树(shù) อ่านว่า ซู่ แปลว่า ต้นไม้
倒(dǎo) อ่านว่า เต่า แปลว่า ล้ม
猢狲(hú sūn) อ่านว่า หูซุน แปลว่า ลิงกัง
散(sàn) อ่านว่า ซ่าน แปลว่า กระจัดกระจาย


 
ภาพจาก ����Ԫ������

ในรัชสมัยของพระเจ้าซ่ง เกาจง ยังมีรองเสนาบดีผู้หนึ่ง นามว่า "เฉาหย่ง" ซึ่งเป็นผู้ถนัดจัดเจนในการประจบเอาใจนายเหนือหัวยิ่งนัก ทั้งยังเป็นคนโปรดของอัครมหาเสนาบดีโฉดที่ประวัติศาสตร์ต้องจารึก อย่าง ฉินฮุ่ย(อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ “จากกวนอู ถึงงักฮุย และคนขายชาติ (1)”) จนกระทั่งได้เลื่อนตำแหน่งคราวเดียว 3 ขั้น ขึ้นไปรับยศขุนนางชั้นสูง

เมื่อเฉาหย่งมียศตำแหน่งใหญ่โต ก็มีผู้คนมากมายเข้ามาห้อมล้อม สอพลอ ทำให้เขาได้ใจยิ่งนัก เห็นจะมีเพียงเรื่องเดียวที่ทำให้เฉาหย่งขุ้นข้องหมองใจ นั่นคือ "ลี่เต๋อซิน" ซึ่งมีศักดิ์เป็นพี่เมียของเขากลับไม่ยอมอ่อนข้อให้เขา เนื่องจาก ลี่เต๋อซิน ทราบว่าตำแหน่งใหญ่โตของเเฉาหย่งได้มาเพราะบารมีของอัครเสนาบดีฉินฮุ่ย มีใช่ความสามารถของเฉาหย่งเอง นอกจากนั้นยังทำนายได้ว่า เฉาหย่งเองก็คงมิใช่ตัวดีอันใด จึงได้ไปคลุกคลีกับขุนนางอย่างฉินฮุ่ยได้

เมื่อพี่เมียแข็งข้อ เฉาหย่งจึงคับแค้นยิ่งนัก พยายามหาหนทางที่จะจัดการกับลี่เต๋อซินให้จงได้ แต่ทว่าลี่เต๋อซินก็ดำรงตนไม่ด่างพร้อย จึงยากที่จะมีช่องโหว่ให้เฉาหย่งโจมตี

ภายหลัง เมื่อฉินฮุ่ย สิ้นชีพ บรรดาขุนนางน้อยใหญ่ที่อาศัยอำนาจบารมีฉินฮุ่ยขึ้นมาเป็นใหญ่ก็ต่างระส่ำระสาย ยศฐาบรรดาศักดิ์ถูกวังหลวงริบกลับคืน เฉาหย่งก็เป็นอีกผู้หนึ่งที่ถูกลดชั้นไปประจำยังเมืองซินโจว เมื่อลี่เต๋อซิน ทราบข่าว ก็ได้เขียนบทร้อยแก้วชึ้นหนึ่งส่งไปให้เฉาหย่ง เนื้อหาเปรียบเทียบว่า ฉินฮุ่ย เสมือนไม้ใหญ่ ส่วนเฉาหย่ง และบริวารอื่นๆ ของฉินฮุ่ยดั่งลิงกังใต้ต้นที่เป็นอันธพาลคอยข่มเหงผู้คน แต่เมื่อใดไม้ล้ม ฝูงลิงย่อมแตกระสานซ่านเซ็น ไร้ที่พึ่งพิง ซึ่งนับว่าเป็นเรื่องที่น่ายินดีของประเทศชาติ...ส่วน เฉาหยง เมื่อได้อ่านข้อความที่ลี่ เต๋อซิน ส่งมาให้ย่อมโกรธแค้นจนแทบกระอัก

ภายหลัง สำนวน "ซู่เต่าหูซุนซ่าน" หรือ "ไม้ล้มลิงกังกระเจิง" มักใช้เพื่อเปรียบเทียบกับการกำจัดผู้ชั่วช้าที่มีอำนาจบารมี เมื่อกำจัดตัวหัวหน้าใหญ่ได้เมื่อใด บรรดาลูกสมุนที่เคยรวมหัวกันทำชั่วก็ย่อมแตกระสานซ่านเซ็นกันไปเองในที่สุด

ที่มา �ٶȰٿơ���ȫ���������İٿ�ȫ��


http://board.palungjit.com/f179/พระวังหน้า-ที่หลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดรเสก-ถ้าต้องการที่จะได้-22445-1957.html

.
บันทึกการเข้า

คณะหลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดร 1.หลวงปู่พระอุตรเถระเจ้า 2.หลวงปู่พระโสณเถระเจ้า 3.หลวงปู่พระมูนียะเถระเจ้า(หลวงปู่อิเกสาโร)4.หลวงปู่พระฌาณียะเถระเจ้า(หลวงปู่ขรัวขี้เถ้า) 5.หลวงปู่พระภูริยะเถระเจ้า(หลวงปู่หน้าปาน)
คำค้น:
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน

Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 1.123 วินาที กับ 31 คำสั่ง

Google visited last this page 13 ธันวาคม 2567 06:19:51