สิกขาในที่นี้คือ อธิศีลสิกขา{อธิจิตสิกขาและอธิปัญญาสิกขา}สรุปคือข้อประพฤติ
ปฏิบัติในการดับกิเลสนั่นก็คืออริยมรรคมีองค์ 8 หรือสติปัฏฐาน หากว่าบุคคลมี
ความสงสัยหรือไม่เชื่อว่าสติปัฏฐานเป็นหนทางเดียวในการดับกิเลสก็จะไม่ประพฤติ
ปฏิบัติตามทางสายกลาง ก็จะไม่สามารถดับกิเลสได้เป็นตะปูตรึงใจเขาไว้ให้อยู่ใน
ความไม่รู้และกิเลสประการต่าง ๆ และหากว่าบุคคลไม่เชื่อหรือสงสัยว่า การระลึกรู้
ลักษณะของสภาพธรรมที่มีในขณะนี้เป็นหนทางดับกิเลส เมื่อไม่เชื่อหรือสงสัยก็จะไม่
ประพฤติปฏิบัติตามมหนทางนี้ก็ไม่สามารถดับกิเลสได้เป็นตะปูตรึงใจของบุคคลนั้น.................................มาถึงข้อสุดท้าย.......................
5.บุคคลเป็นผู้มีความโกรธ มีจิตกระทบกระทั่งคือมีความโกรธในบุคคลต่าง ๆ ในบุคคล
ที่ศึกษาธรรมร่วมกัน ก็เป็นตะปูตรึงใจข้อที่ 5 บุคคลนั้นก็ย่อมไม่ได้รับประโยชน์จากพระ
ธรรมไม่น้อมประพฤติปฏิบัติตามพระธรรมและไม่ขัดเกลากิเลส การที่บุคคลไม่ศึกษา
พระธรรม..................ไม่ขัดเกลากิเลสเป็นตะปูตรึงใจข้อที่ 5 ตรึงใจไว้ให้ไม่เจริญในกุศลธรรม
และตรึงใจไว้ให้เจริญในอกุศลธรรมตรึงใจในความไม่รู้และกิเลสเพราะความเป็นผู้ที่
มากด้วยโกรธและความผูกโกรธประโยชน์ของการศึกษาธรรมคือเพื่อขัดเกลากิเลสด้วยความจริงใจ ขออนุโมทนา
ที่มา ณ.มูลนิธิเพื่อการศึกษาธรรม บ้านธรรมมะ บุคโล ธนบุรี โดย คณะวิทยากรและ อ.สุจินต์ บริหารวนเขตต์