[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
22 ธันวาคม 2567 14:13:03 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: พุทธวิชชา : การบำเพ็ญวัชรสัตตวา  (อ่าน 2916 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
มดเอ๊ก
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +8/-1
ออฟไลน์ ออฟไลน์

Thailand Thailand

กระทู้: 5162


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 6.0 MS Internet Explorer 6.0


ดูรายละเอียด
« เมื่อ: 24 กันยายน 2553 15:50:58 »

การบำเพ็ญวัชรสัตตวา 1



 
 
การบำเพ็ญวัชรสัตตวาข้อวัตรปฏิบัติวัชรสัตตวาเบื้องต้น


 
1.สรณะ

 
 
บทบำเพ็ญนี้แสดงข้อสำคัญสองประการแห่งการบำเพ็ญพุทธวิชชาได้แก่การรับสรณะ และการเปล่งโพธิจิต ในพระพุทธศาสนาไม่ว่าจะเป็นการบำเพ็ญวิถีธรรมใด ๆ ความจริงซึ่งขาดเสียมิได้ในการก่อนบำเพ็ญ ต้องแสดงความนึกคิดสองประการดังกล่าวนี้...
 
พระพุทธเจ้า สัมมาวิชชา อันล้ำเลิศ
สุดประเสริฐ เป็นสรณะ ถึงโพธิ
บุญกุศล สั่งสมธรรม สร้างบารมี
อีกศีลดี สำเร็จพุทธ โปรดเวไนย์
 
นโม กูนีไป (คุรุจารย์,วัชรจารย์)
นโม พุทธายะ
นโม ธัมมายะ
นโม สังฆายะ
 
 
การรับสรณะ เป็นการประกาศความจริงใจของผู้บำเพ็ญถึงที่พึ่งอันสูงสุด ได้แก่ คุรุจารย์ (วัชรจารย์) พระพุทธ พระธรรม และพระสงฆ์ ขณะรับสรณะ ผู้บำเพ็ญต้องสำนึกว่าองค์วัชราจารย์เป็นศูนย์รวมพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ทำหน้าที่แทนพระพุทธองค์ถ่ายทอดพระธรรม คำสั่งสอนและวิชชาให้แก่ศิษย์ พระพุทธเจ้าเป็นผู้สมบูรณ์ด้วยอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ เป็นที่พึ่งอันสูงสุดของพุทธศาสนิกชนทุกคน อันว่าพระธรรม คำสั่งสอนคือวิธีโปรดสัตว์ให้หลุดพ้นจากวัฏฏะสงสาร การเกิด - การตาย โดยมีพระไตรปิฎกแทน พระสงฆ์ได้แก่หมู่คณะพระอริยะเจ้า คือ นามรวมของวิสุทธิบุคคล ผู้บริสุทธิ์ที่มุ่งเจริญจิตปัญญาให้บรรลุพุทธภาวะ ดังนั้นวัชราจารย์ พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ จึงเป็นที่เคารพสูงสุดของพุทธศาสนิกชนทั้งหลาย
 
 
ขณะที่สวดภาวนาจตุสรณะ ผู้บำเพ็ญนึกกำหนดมีบิดามารดา ญาติมิตร ศัตรู แม้กระทั่งสรรพสัตว์ร่วมสวดอยู่โดยรอบ และเหนือศีรษะบนอากาศก็มีองค์วัชราจารย์ พระพุทธเจ้า โพธิสัตว์ พระไตรปิฎกอันเป็นพระธรรม และพระสงฆ์อริยะ การภาวนาพร้อมกับการนึกกำหนดดังกล่าว สามารถช่วยให้ผู้บำเพ็ญเพิ่มพลังอำนาจอธิษฐาน
 
 
การรับสรณะครั้งแรก ส่วนใหญ่ดำเนินต่อหน้าองค์วัชราจารย์ เมื่อรับสรณะแล้วก็เท่ากับได้ย่างก้าวสู่หนทางแห่งพุทธ หลังจากนั้นต้องหมั่นสวดบทจตุสรณะเป็นข้อวัตรปฏิบัติก่อนการบำเพ็ญทุกครั้ง เพื่อเตือนสติไม่ให้ลืมอุดมการณ์สูงสุดและที่หมายสุดท้าย ทั้งหมดย่อมขึ้นอยู่กับศรัทธาแรงกล้าอย่างจริงใจเท่านั้น
 
 
การเปล่งโพธิจิต เป็นผลเกิดจากการรับสรณะเป็น ทรรศนะ "สำคัญที่สุด" แห่งพุทธวิชชา ผู้บำเพ็ญทุ่มเทความพากเพียรวิริยะเต็มกำลังให้รู้แจ้งเพื่อประโยชน์สรรพสัตว์ อันว่าวิริยะเต็มกำลังหมายรวมการให้ทานช่วยเหลือผู้อื่น ศึกษาพระสูตร การเจริญสมาธิภาวนา ซึ่งเป็นการสร้าง "ทางสะดวก" แก่การบำเพ็ญให้รุดหน้า การปฏิบัติตนเช่นนี้ เป็นการประกาศความจริงใจของตนเอง หวังสำเร็จพุทธเพื่อยังประโยชน์สรรพสัตว์เป็นจุดหมายใหญ่ พลันก่อเกิดพลังอำนาจปณิธาน แผ่คลุมทั่วถึงเรื่องราวและสิ่งต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นตามกาลเวลาให้แปรเปลี่ยนไปทางที่ดี จากการเปล่งโพธิจิต
 
 
สามารถยับยั้งไม่ให้เสีย "ผลพากเพียรบำเพ็ญ"
ไปหลงเน้นการแสวงลาภส่วนตัว
จนผิดพลาดผิดทาง
 
 
 
การที่ผู้บำเพ็ญจำนวนมาก แต่หาสักคนไม่ได้ที่บรรลุธรรมมีอิสระจากการเวียนว่ายตายเกิด สาเหตุมีสองประการคือ
 
ประการที่หนึ่ง ไม่มีบุญพบพานคุรุจารย์ หรือวัชรจารย์ที่เป็นหน่อเนื้อพุทธางกูร หรือพระโพธิสัตว์ผู้กลับชาติองค์จริงเป็นสรณะ จึงไม่สามารถศึกษาพุทธวิชชาที่แท้จริงควบคู่ปริยัติหลักธรรม
 
ประการที่สอง มีบุญได้พบคุรุจารย์หรือวัชรจารย์องค์จริงและยึดท่านเป็นสรณะ ได้รับการอบรมสั่งสอนธรรม แต่กรรมสาม อันมี กายกรรม วจีกรรม และมโนกรรม ของตนกับของคุรุจารย์หรือวัชรจารย์ และ รัตนตรัย (พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์) รวมเป็นจตุรัตนะ หรือแก้วสี่ประการนี้ ไม่สามารถสื่อถึงกันและกันได้ ย่อมไม่เกิดผล นับเป็นการบำเพ็ญที่ไม่ถูกต้อง ฉะนั้นจึงยากที่สุดที่จะหลุดพ้น ไม่เกิดพลานิสงส์แห่งบุญและปัญญาญาณ มาดแม้นเมื่อปฏิบัติอย่างเคร่งครัดโดยตลอด กุศลผลบุญย่อมเกิดไพศาล ต้นดอก - ผลบุญ ส่งผลทันที สามารถบรรลุมรรคผลนิพพานในปัจจุบันชาติ
 
 
การที่ผู้บำเพ็ญผู้มีจตุรัตนะให้ส่งผลกรรมสามคือ กาย วาจา และใจ ของตน เป็นหนึ่งเดียวกับจตุรัตนะได้นั้นคือความเลื่อมใสศรัทธาอย่างจริงใจต่อจตุรัตนะ ต้องปฏิบัติครบบริบูรณ์ 4 ประการดังนี้
 
1. ใจเดียวสัตย์ซื่อต่อคุรุจารย์หรือวัชรจารย์ พระพุทธ พระ ธรรม พระสงฆ์
2. อนันตกาลไม่เสื่อมคลาย
3. ไม่ถือสิ่งอื่นใดเหนือจตุรัตนะ
4. เคารพศรัทธาเต็มเปี่ยมร้อยเปอร์เซนต์
 
 
นี่แหละ !! คือ สัมมาวิชชาพระยูไลที่จะทำให้กรรมสาม กาย วาจา ใจ สรรพสัตว์ เป็นกรรมสามโพธิสัตว์ได้สมหมาย สำเร็จธรรม บรรลุมรรคผลได้ง่าย กุศลผลบุญและปัญญาญาณเหนือคณานับ
 
 
ข้อปฏิบัติ 4 ประการดังกล่าว
 
 
ปฏิบัติ 100 % บำเพ็ญไม่กี่เดือนบรรลุธรรม สมบูรณ์ผล พ้นเกิด - ตาย บุญกุศลไพศาล ปัญญาญาณไม่สิ้นสุด
 
 
ปฏิบัติได้ 90 % บำเพ็ญหลายปีถึงสำเร็จ กุศลผลบุญมากมาย อิสระพ้นเกิด - ตาย
 
ปฏิบัติได้ 80 % บำเพ็ญ 10 ปีขึ้นไป กว่าจะได้ผลกุศลผลบุญมีมาก ได้มหาปัญญาญาณ อิสระพ้นเกิด - ตาย
 
ปฏิบัติได้ 70 % ต้องใช้เวลาบำเพ็ญหลายสิบปี ผลานิ สงส์แห่งบุญก่อเกิด อิสระพ้นเกิด - ตาย
 
ปฏิบัติได้ 60 % บำเพ็ญจนกระทั่งใกล้หมดลมหายใจ ถึงสำเร็จหลุดพ้นได้ นักบำเพ็ญส่วนใหญ่อยู่ในภาวะเช่นนี้
 
ปฏิบัติได้ 50 % กุศล - ผลบุญไม่ส่งผลปัจจุบันชาติ การหลุดพ้นห่างไกลลิบลับ มองไม่เห็นฝั่ง
 
ปฏิบัติได้ต่ำกว่า 50 % ไม่นับเป็นศิษย์ตถาคต
 
 
ตามคตินิยมนิกายลับวัชรยานถือว่าวัชรจารย์เป็นองค์แทนพระรัตนตรัย ทำหน้าที่สืบศาสนจักร อาณาจักร พุทธ จักร มรรคผล นิพพาน ในฝ่ายสัมมาทิฐิแต่ส่วนเดียว รวมทั้งเป็นศูนย์รวมของ มหาบริสุทธิคุณ มหากรุณาธิคุณ และมหาปัญญาธิคุณ ที่จะเสริมพลังให้ได้จากปวงเหล่าต้นธาตุต้นธรรม โดยเฉพาะพระมหาไวโรจนพุทธเจ้า ปฐมธรรมกาย
 
 
วัชรจารย์จึงมีความสำคัญต่อความสำเร็จกิจทั้งทางโลก และทางธรรม ของศิษย์มากที่สุด ผู้ที่เป็น "ศิษย์" ต้องเคารพเลื่อมใสศรัทธาองค์วัชรจารย์เป็นเอก นอบน้อมเชื่อฟังโอวาทคำสั่งสอน การบรรลุธรรมย่อมเกิดผลและสำเร็จง่าย ด้วยเหตุนี้ นิกายลับวัชรยานจึงสักการะบูชา องค์วัชรจารย์ พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ รวมเป็นจตุรัตนะ ต่างกับนิกายเปิดมีเพียงพระรัตนตรัยเท่านั้น
 
 
ยิ่งองค์วัชรจารย์ที่เป็นหน่อเนื้อพุทธางกูรหรือมหาโพธิ สัตว์ ผู้กลับชาติมาสืบสานงานศาสนจักร อาณาจักร พุทธ จักร แล้ว ย่อมมีวิชชาและพุทธานุภาพ ขอเพียงกรรมสาม ( กาย วาจา ใจ ) สามารถสื่อถึงกันและกัน มิฉะนั้นถึงมี วิชชาและพลังเสริมจากต้นสาย ก็ไม่อาจสามารถนำประโยชน์ใหญ่หลวงให้กับศิษย์ได้
 
 
2.ฉักกะวิถี สัตว์ 4 เหล่า 6 ภูมิ การบำเพ็ญขั้นต่อไปให้พิจารณาความทุกข์ต่าง ๆ ของสรรพสัตว์ที่ตกอยู่ในสังสารวัฏ ศาสนาพุทธแบ่งสรรพสัตว์เป็นหกภูมิ มีเทพพรหมสวรรค์ อสูร มนุษย์ เดรัจฉาน(สัตว์ปีก สัตว์บก สัตว์น้ำ) ผีเปรต และสัตว์นรก โดยทั่วไปมักเห็นว่าสัตว์แต่ละจำพวก มีอยู่ในอาณาจักรเฉพาะตนเท่านั้น แต่มองให้ลึกในโลกมนุษย์มีลักษณะของสัตว์ทั้งหก "แฝง" ให้เห็น
 
 
เทพพรหมสถิตในสวรรค์เสวยสุข เพลิดเพลินจนยากที่จะจริญจิตปัญญา ครั้งถึงเวลาใกล้หมดบุญ ความเสื่อมโทรมปรากฏเกิดตระหนกตกใจกลัวสุดขีดและทุกข์ใจยิ่ง อสูรมีนิสัยอิจฉาริษยา ชอบการต่อสู้ ตลอดชีวิตไม่ยอมหยุด ไม่มีเวลาค้นคว้าเรื่องปัญหาจิตใจ มิอาจหาวิธีแก้ไขได้ เดรัจฉานโง่เขลา เบาปัญญา ได้แต่ดิ้นรนเพื่อความอยู่รอดตลอดเวลา โดนเบียดเบียนเป็นทาสหรือเป็นอาหารของสัตว์อื่น ส่วนเปรตมีความอยาก ไม่สมหวัง อันเป็นผลเกิดจากนิสัยตระหนี่ ละโมบ มาตรแม้นเสาะหาอาหารเครื่องนุ่งห่มไม่หยุด แต่ได้เพียงเศษอาหารและผ้าขาด สัตว์นรกอยู่ใต้อำนาจพยาบาทที่ตนก่อ จึงรับโทษทัณฑ์ทุกข์ทรมานแสนสาหัส
 
 
ในมนุษย์แม้จะประสบสภาพหรือปัญหาดังกล่าวในระดับหนึ่ง แต่มนุษย์มีภูมิปัญญาเพียงพอ โดยบางครั้งสามารถก้าวกระโดดพ้นจากแวดวงความทุกข์อันดิ้นรนไม่สิ้นสุดต่าง ๆ ได้ด้วยปัญญาให้หลุดพ้นจากวัฏฏะ ฉะนั้นในหกภูมิสรรพสัตว์มีเพียงมนุษย์ภูมิแห่งเดียว ที่เป็นภูมิที่เหมาะแก่การปฏิบัติธรรมบำเพ็ญพุทธวิชชา แม้จำนวนมนุษย์มีไม่น้อยแต่จำนวนสรรพสัตว์มีสุดคณานับ การได้เกิดเป็นมนุษย์ "จึงประเสริฐที่สุด" อย่างไรก็ดี โลกมนุษย์มิอาจหลีกพ้นปัญหาเจ็บไข้ได้ป่วย ภัยพิบัติ งมงาย มัวเมา ผิดหวัง และความตาย ฯลฯ
 
 
มาตรแม้นสำรวจนอกกายตัวเรามีความทุกข์ปรากฏอยู่ แต่การโดนกระหน่ำจากความทุกข์สาหัสอย่างรุนแรงมิใช่เกิดกับทุกคน เพียงให้เข้าใจมีความทุกข์อยู่โดยทั่ว ย่อมกระตุ้นให้เกิดเมตตา กรุณา ใจปรารถนาช่วยสรรพสัตว์ให้พ้นทุกข์ และเปล่งปณิธานอันยิ่งใหญ่ รู้ซึ้งถึงความสำคัญของการเจริญปัญญาว่า สามารถช่วยสรรพสัตว์พ้นทุกข์ได้จริง พลันจิตใจและการมองสภาพการเกิดแปรเปลี่ยน รู้แจ้งถึงบ่อเกิดปัญญา เมตตา กรุณา เสริมความมั่นคงให้กับการตัดสินใจบำเพ็ญธรรม และทราบดีถึงการเป็นผู้มีพลานามัยแห่งสติปัญญา เป็นโอกาสหายากสมควรใช้เป็นประโยชน์ให้คุ้มค่า
 
ข้อวัตรปฏิบัตินิมิตภาพปรากฏ
 

 
 
เริ่มแรก ผู้บำเพ็ญให้นึกถึงสรรพสัตว์อยู่เต็มเวหา เหล่าสรรพสัตว์ต่างนั่งบำเพ็ญอย่างสงบเหมือนตัวเราในทุกแห่งหนทั่วจักรวาล และต่างมี ดอกบัวเบ่งบานอยู่เหนือศีรษะ 3 ฟุตวัชรปกรณ์คือรากบัวปักตรงลงสู่บนศีรษะที่จุด "เทียนติ่ง" (สุดธรรม) (จุดบนกระหม่อมของทารกแรกเกิดที่เต้นตู้บตุ้บ)
 
เข้าไปภายในกาย
 
 
ส่วนบนดอกบัวมีวงเดือนสีขาววางแบนราบ ทันใด ปรากฏรหัสอักษร (อ่านว่า โฮง 吽 Hum ) ตั้งยืนบนวงเดือน รหัสอักษรนี้เป็นศูนย์รวมของมหาบริสุทธิคุณ มหากรุณาธิคุณ มหาปัญญาธิคุณ แห่งองค์พระพุทธเจ้า นึกภาพรหัสอักษรคำนี้หันหน้าไปทางทิศทางข้างหน้าของตัวเรา สีขาวสะอาดแจ่มจรัส รังสีส่องสว่างแผ่กว้างไปทั่วจักรวาลด้วยพลังอำนาจแห่งมหากรุณาธิคุณ
 
 

 
 
จากนั้นรหัสอักษรแปรเปลี่ยนเป็นองค์พระวัชรสัตตวา ผิวพรรณพระวรกายขาวงามผุดผ่องสว่างไสว ดั่งดวงเดือน เบญจรังสี (ห้าสี) แผ่กระจายทั่วจักรวาล อันมีสีขาว น้ำเงิน แดง เหลือง เขียวอ่อน (ห้าสีดังกล่าวเป็นธาตุเดิมก่อเกิดโลกธาตุ)
 

 
พระพักตร์พระอริยะอิ่มเอิบยิ้มระรื่น พระเนตรส่องสัตว์ด้วยเมตตา
 

 
ทรงฉลองพระองค์ แพรไหมเครื่องทรงงามวิจิตรด้วย สร้อยสังวาลย์ รัตนชาติ ต่างหู สร้อยคอ กำไลมือ สายรัดเอว กำไลข้อเท้า พระมงกุฏประดับองค์พระพุทธ เพื่อเป็นการแสดงความเคารพ
 
สูงสุดและสายสืบทอด
 
 

 
พระวัชรสัตตวาทรงนั่งขัดสมาธิเพชร ขาทั้งสองนั่งไขว้ พระบาทขวาหงายทับขาซ้ายท่อนบน พระบาทซ้ายหงายทับขาขวาท่อบบน -มือขวาถือปกรณ์วัชะตั้งขึ้นอยู่กลางหว่างอก ปรากฏรหัสอักษร "โฮง 吽" อยู่กลางปกรณ์วัชระ (เป็นเครื่องหมายแห่งการขจัดกรรมวิบากอันเนื่องจากความโลภ โกรธ และหลง) -มือซ้ายถือระฆังอยู่บนหน้าตักหงายระฆังขึ้น(เป็นเครื่องหมายแห่งการโปรดสรรพสัตว์) หลังพิงวงเดือนสีขาวดวงหนึ่ง ซึ่งเป็นสัญลักษณ์รังสีร่มเย็นแห่งความเมตตากรุณาใช้ดับทุกข์ร้อนที่เกิดจากกิเลสตัณหา รังสีเป็นรัศมีสีขาวเจิดจรัสด้วยแสงสุริยันจันทรา(สีขาว - สุริยัน,สีเหลือง - จันทรา)
 



 



 
 
3.คาถาร้อยอักษรวัชรสัตตวา
 
อ้ง ปัญจะเออ สัตตวาสมานยา มนุปานายาปัญจะเออ สัตตวาเตอลอปาติชา จือจัวมีปาวาสุโตคาโยมีปาวา สุโปคาโยมีปาวาอนุลาโตมีปาวา สัตต์วาชีตีมีปูลายาชาสัตต์วากามาสุจือมัย จือตังสี่ยังกูรู โฮ่ง ฮา ฮา ฮา ฮา ฮั่ว ปัญกาวันสัตต์วา ตาทากาตา ปัญจะมานีมุจาปัญจะปาวา มหาสมานยา สัตโตอา (โฮงเพ่ย)
 

 
 
百字明咒 : (咒首---即是 "金剛薩埵心咒")
嗡  班 雜  沙 埵  吽
-- ------ ------ --
Om Ban Ja Sa Do Hum
──────────────────────
嗡 別 炸 薩 多 沙 嘛 牙 嘛 奴 巴 拉 雅
嗡  班 雜 沙 埵  沙 嘛 雅 嘛 奴 巴 拉 雅   
-- -------------- ---------- ------ ----
Om Ban Ja Sa Do Sa Ma Ya
Ma Nu Ba La Ya
──────────────────────
別 炸 薩 多 爹 奴 巴 的 叉 遮 左 咩 巴 哇
班 雜 沙 埵 得 裸 巴 底 查 知 卓 麥(美)巴哇
-- ---------- ---------- --------------
 
Ban Ja Sa Do De Lo Ba Di Tsa Ds
Dso Me Ba Wa
──────────────────────
蘇 多 卡 欲 咩 巴 哇 蘇 甫 卡 玉 咩 巴 哇
蘇 埵 卡 喲 麥(美) 巴 哇 蘇 波卡喲 麥(美)巴哇
-------------- -------------- --------------
Su Do Ka Yo Me Ba Wa Su Bo Ka
Yo Me Ba Wa
──────────────────────
晏 奴 囉 多 咩 巴 哇
阿 奴 囉 埵  麥(美) 巴 哇
-------------- --------------
Ah Nu Ro Do Me Ba Wa
──────────────────────
沙 爾 哇 司 底 咩 不 囉 也 叉 沙 爾 瓦 加 麻
蘇 渣 咩
沙 哇 司 底 麥(美) 札 雅 查 沙 哇 嘎 嘛 
蘇 雜 咩(美)
-------------- ------------------ ------------
Sa Wa S Di Me Ja Ya Tsa Sa Wa
Ga Ma Su Ja Me
──────────────────────
即打木 司 里 任 古 魯 吽 哈 哈 哈 哈 呵
資 檔 司(洗)里 養 古 魯 吽 哈 哈 哈 哈 火
------ ------------ ---------- -------------
Ds Dang Sri Yang Gu Lu Hum Ha
Ha Ha Ha Ho
─────────────────────
巴 加 問 沙爾瓦 打 他 架 打
班 嘎 溫  沙 哇 打 他 嘎 打
---------- ----------------------
Ba Ga Wen Sa Wa Da Ta Ga Da
─────────────────────
別 炸 嘛 咩 門 渣 別 至 巴 哇
班 雜 嘛 美 姆 雜 班 雜 巴 哇
---------------------- --------------
Ban Ja Ma Me Mu Ja Ban Ja Ba Wa
─────────────────────
嘛 哈 沙 嘛 啞 薩 埵 阿
嘛 哈 沙 嘛 雅 沙 埵 阿
------------------ ----------
Ma Ha Sa Ma Ya Sa Do Ah
─────────────────────
吽 呸
吽 帕(拍)
----------
Hum Pa
 
 
 
 
คาถาร้อยอักษรวัชรสัตตวานี้เป็น "วัตรบัญญัติ" ให้สวดภาวนาพร้อมกับเพ่งนิมิตองค์พระวัชรสัตตวาไปตามลำดับ เมื่อจบบทหนึ่งให้ย้อนกลับนึกทบทวนทำซ้ำ บำเพ็ญสวดพระคาถา 7 จบ หรือ 21 จบ ภาวนาพระคาถาให้สำรวมใจอยู่ที่ "เสียงคาถา" ให้พยายาม "รู้สึก" ถึงพลังอำนาจของพระคาถา จนสามารถสัมผัสลำแสงสีขาวที่สาดส่องอยู่บนเหนือศีรษะลงเอิบอาบร่างผู้บำเพ็ญ
 
 

 
 
คาถาอธิษฐานตะยะถา อ้ง ปัญจะ (เออ)ยูจิยาโอวาพุทตาละ ซอฮาTayatha Om Ban JaYu Je Ya Ova Buddha La Svaha(สวด 7 จบเพื่อเร่งผลาธิษฐาน)ข้า ฯ ขอนอบน้อม องค์วัชรสัตตวาพระผู้โปรดทั่ว สรรพสัตว์ ทุกตัวตนโปรดอำนวย พรชัย อันประเสริฐแห่งอำนาจสิทธิ พระพุทธเจ้า ทุกพระองค์มหาอธิคม ปกรณ์วัชระ จงบังเกิดให้ข้า ฯ ได้ถึง สิทธิ ความสำเร็จกิจทั้งโลก-ธรรม สำเร็จผล
 
สมบูรณ์วิชชา
 
 

 
 
การบำเพ็ญวัชรสัตตวาสามารถบำเพ็ญได้ทุกผู้ทุกนามไม่จำกัดเพศ-วัย-กาลเวลาโดยเฉพาะสำหรับชีวิตผู้คนที่ยุ่งอยู่กับการงานและครอบครัวการท่องมนต์มีประโยชน์และการปฏิบัติตามคำสอนให้ความสำเร็จกิจทั้งโลก-ธรรมจึงเรียกว่า "สมบูรณ์วิชชา"
 

Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

บันทึกการเข้า

ทิ นัง มิไฮ นัง มิจะนัง ทิกุนัง แปลว่า
ที่นั่ง มีให้นั่ง มึงจะนั่ง ที่กูนั่ง ทิ้งไว้เป็น
ปริศนาธรรม นะตะเอง
มดเอ๊ก
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +8/-1
ออฟไลน์ ออฟไลน์

Thailand Thailand

กระทู้: 5162


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 6.0 MS Internet Explorer 6.0


ดูรายละเอียด
« ตอบ #1 เมื่อ: 24 กันยายน 2553 15:52:09 »

การบำเพ็ญวัชระสัตตวา 2

 

 
 

 
 



 

















































 

 

 

 













 




http://www.navagaprom.com/
 
http://www.buddhayan.com/board.php?subject_id=246&ss=

http://www.tairomdham.net/index.php/topic,2373.0.html
บันทึกการเข้า

ทิ นัง มิไฮ นัง มิจะนัง ทิกุนัง แปลว่า
ที่นั่ง มีให้นั่ง มึงจะนั่ง ที่กูนั่ง ทิ้งไว้เป็น
ปริศนาธรรม นะตะเอง
คำค้น:
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน

Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 1.013 วินาที กับ 31 คำสั่ง

Google visited last this page 04 พฤศจิกายน 2567 13:13:00