[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
24 พฤศจิกายน 2567 03:35:09 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: มหายาน-หินยาน : มูลเหตุการเกิด ๒ นิกายในพุทธศาสนา  (อ่าน 7589 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5767


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 9.0 MS Internet Explorer 9.0


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« เมื่อ: 17 เมษายน 2556 18:33:07 »

.


พระประธาน ประดิษฐานในวิหาร วัดพระศรีรัตนมหาธาตุวรมหาวิหาร จังหวัดพิษณุโลก

มหายาน – หินยาน

มหายาน เป็นชื่อนิกายหนึ่งในพระพุทธศาสนา  พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๔๒  ให้ความหมายไว้ว่า ชื่อนิกายในพระพุทธศาสนาฝ่ายเหนือ ที่ถือกันในทิเบต  จีน  ญี่ปุ่น  เกาหลี และญวน เป็นต้น  นิกายนี้มีชื่อเรียกอื่นอีก ได้แก่ อาจริยวาท (ลัทธิที่ถือตามคติที่อาจารย์ได้สั่งสอนสืบๆ กันมา) และอุตรนิกาย (นิกายฝ่ายเหนือ)

พจนานุกรมศัพท์ศาสนาสากล ฉบับราชบัณฑิตยสถาน อธิบายว่า ชื่อ “มหายาน” นี้เกิดจากภิกษุกลุ่มหนึ่งที่เห็นว่าการบรรลุธรรมเพียงแค่ให้ได้เป็นพระอรหันต์นั้น ไม่ใช่เป้าหมายสูงสุด แต่พวกตนมีเป้าหมายที่สูงกว่านั้นคือ การเป็นพระโพธิสัตว์ และปรารถนาพุทธภาวะเพื่อช่วยขนสรรพสัตว์ทั้งหลายให้หลุดพ้นได้มาก จึงเรียกลัทธิของตนว่า “มหายาน”  ซึ่งแปลว่า ยานใหญ่ที่สามารถขนสัตว์ให้พ้นทุกข์ได้คราวละมากๆ และเรียกกลุ่มพระภิกษุที่มีอุดมคติและแนวคิดที่ต่างออกไป คือมุ่งทำตัวเองให้หลุดพ้นก่อนแล้วจึงช่วยเหลือผู้อื่นให้พ้นทุกข์ว่า “หินยาน” ซึ่งมีความหมายว่า ยานที่เล็ก คับแคบ ขนสรรพสัตว์ให้ถึงความหลุดพ้นได้น้อย

คำว่า
หินยาน  พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๔๒  ให้ความหมายไว้ว่า ชื่อนิกายพระพุทธศาสนาฝ่ายใต้ที่ถือกันในลังกา พม่า และไทย เป็นต้น  ส่วนชื่อเรียกอื่นได้แก่ หีนยาน  เถรวาท และทักษิณนิกาย   ตามรูปศัพท์คำว่า “เถรวาท” แปลว่า ลัทธิที่ถือตามคติที่พระเถระพุทธสาวกได้ทำสังคายนาไว้ และ  “ทักษิณนิกาย” แปลว่า นิกายฝ่ายใต้

ที่มาของคำว่า “เถรวาท”  เกิดจากกลุ่มพระภิกษุวัชชีบุตรเมื่อประมาณ พ.ศ. ๑๐๐ พระภิกษุกลุ่มนี้ประพฤติผิดธรรม ผิดวินัย เช่น ฉันอาหารในเวลาบ่าย และรับเงินและทอง  เมื่อพระอรหันต์ร่วมกันวินิจฉัยว่าทำผิด ท่านก็ไม่ยอมรับ จึงแยกตัวออกไปตั้งนิกายใหม่ และเรียกกลุ่มพระอรหันต์ที่ยึดมั่นในวาทะของพระเถระว่า “เถรวาท”  

ส่วนชื่อเรียกอีกชื่อหนึ่งของนิกายเถรวาทคือ คำว่า “หีนยาน” นั้นเลิกใช้ไปใน พ.ศ. ๒๔๙๓  ตามมติที่ประชุมในการประชุมองค์การพุทธศาสนิกสัมพันธ์แห่งโลก (พ.ส.ล.) ครั้งแรกที่ศรีลังกา และให้ใช้คำว่า เถรวาท แทนในทุกกรณี



ที่มา : คอลัมน์ องค์ความรู้ ภาษา-วัฒนธรรม “มหายาน-หินยาน”  โดย ราชบัณฑิตยสถาน หน้า ๒๒ หนังสือพิมพ์เดลินิวส์ ฉบับประจำวันพฤหัสบดีที่ ๑๘ เมษายน พ.ศ. ๒๕๕๖  

Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 29 ตุลาคม 2556 12:27:28 โดย กิมเล้ง » บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5767


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 9.0 MS Internet Explorer 9.0


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #1 เมื่อ: 29 ตุลาคม 2556 12:43:10 »

.

พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ โดยพระธรรมปิฎก (ป.อ. ปยุตโต) อธิบายความว่า "เถรวาท" แปลว่า วาทะหรือลัทธิของพระเถระ, นิกายพระพุทธศาสนาฝ่ายใต้ ซึ่งถือตามคติที่พระอรหันต์พุทธสาวกได้วางหลักธรรมวินัยเป็นแบบแผนไว้เมื่อครั้งปฐมสังคายนา ได้แก่พระพุทธศาสนาอย่างที่นับถือแพร่หลายในประเทศไทย พม่า ลังกา ลาว และกัมพูชา

ส่วน "มหายาน" แปลว่า ยานใหญ่, ชื่อเรียกพระพุทธศาสนานิกายที่มีผู้นับถือมากในประเทศฝ่ายเหนือของทวีปเอเชีย เช่น จีน เกาหลี ญี่ปุ่น ทิเบต และมองโกเลีย บางทีเรียกอุตรนิกาย (นิกายฝ่ายเหนือ) บ้าง อาจารยวาท (ลัทธิของอาจารย์) บ้าง สำหรับคำว่า "หีนยาน" แปลว่ายานเลว, ยานที่ด้อย เป็นคำที่พวกอุตรนิกาย (พุทธศาสนาฝ่ายเหนือ) เรียกพวกทักษิณนิกาย (พุทธศาสนาฝ่ายใต้) ปัจจุบันนิยมเรียกว่าเถรวาท
 
• มูลเหตุแห่งการแยกนิกาย
๒ นิกายใหญ่ของพระพุทธศาสนา คือ "นิกายเถรวาท" (หรือหีนยาน) กับ "นิกายมหายาน"   ย้อนไปครั้งหลังจากพระพุทธเจ้าเสด็จดับขันธปรินิพพานได้ ๓ เดือน พระสาวกผู้ได้เคยสดับคำสั่งสอนของพระพุทธองค์จำนวน ๕๐๐ รูป ประชุมทำสังคายนาครั้งแรก ณ ถ้ำสัตบรรณคูหา แคว้นมคธ ใช้เวลาสอบทานอยู่ ๗ เดือน จึงประมวลคำสอนได้สำเร็จเป็นครั้งแรก เรียกว่า ปฐมสังคายนา เป็นบ่อเกิดของพระไตรปิฎก คำสอนที่ลงมติกันไว้ในครั้งนั้นและนับถือกันสืบมา เรียกว่า เถรวาท แปลว่าคำสอนที่วางไว้เป็นหลักการโดยพระเถระ ซึ่งหมายถึงพระเถระผู้ประชุมทำสังคายนา และพระพุทธศาสนาซึ่งถือตามหลักดังกล่าว เรียกว่า นิกายเถรวาท หมายถึงคณะสงฆ์กลุ่มที่ยึดคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ทั้งถ้อยคำและเนื้อความที่สังคายนาไว้โดยเคร่งครัด แม้แต่ตัวภาษาดั้งเดิมคือภาษาบาลี

 

ในกาลต่อมาเมื่อมีปัญหาขัดแย้ง พระเถระผู้ใหญ่ก็ประชุมขจัดข้อขัดแย้งกัน เกิดการสังคายนาต่อมาอีกหลายครั้ง จนได้พระไตรปิฎกของฝ่ายเถรวาทดังที่รู้จักกันทุกวันนี้ ซึ่งถือกันทั่วไปว่าเป็นคำสอนโดยตรงของพระพุทธเจ้าที่นับว่าใกล้เคียงที่สุด

อย่างไรก็ตาม การสังคายนาแต่ละครั้งแสดงให้เห็นถึงความแตกต่างทางความคิดในหมู่สงฆ์ จนก่อให้เกิดการแยกฝ่ายที่มีความคิดเห็นไม่ลงรอยกันในส่วนหลักธรรมและข้อวัตรปฏิบัติ กล่าวกันว่า จากที่พระพุทธเจ้าได้ตรัสกับพระอานนท์ว่า "ดูกรอานนท์ โดยกาลล่วงไปแห่งเรา ถ้าสงฆ์ต้องการก็จงถอนสิกขาบทเล็กน้อยเสียบ้างก็ได้" พุทธดำรัสดังกล่าวทำให้เกิดปัญหาในการตีความว่า สิกขาบทไหนเรียกว่าเล็กน้อย เป็นเหตุให้พระภิกษุบางรูปไม่เห็นด้วยและไม่ยอมรับสังคายนามาตั้งแต่ครั้งแรก และเหตุการณ์เช่นนี้เกิดขึ้นกับการสังคายนาครั้งหลังอีกหลายครั้ง เป็นเหตุให้มีกลุ่มที่แยกตัวทำสังคายนาต่างหาก เป็นการแตกแยกทางลัทธิและนิกาย แต่ก็มิได้ถือว่าเป็นการแบ่งแยกศาสนาแต่ประการใด

การสังคายนาครั้งที่ ๒ เกิดขึ้นหลังจากพระพุทธองค์ปรินิพพานได้ ๑๐๐ ปี (หรือ พ.ศ. ๑๐๐) ที่วาลิการาม  เมืองเวสาลี แคว้นวัชชี  สืบเนื่องจาก พระยสะ  กากัณฑกบุตร พบเห็นข้อปฏิบัติย่อหย่อน ๑๐ ประการทางพระวินัยของภิกษุวัชชีบุตร เช่น ควรเก็บเกลือไว้ในเขาสัตว์เพื่อรับประทานได้ ควรฉันอาหารยามวิกาลได้ ควรรับเงินทองได้ เป็นต้น จึงชวนพระเถระผู้ใหญ่เข้าร่วมทำสังคายนาวินิจฉัยแก้ความถือผิด ได้แก่ พระสัพพกามี พระสาฬหะ พระอุชชโสภิตะ พระวาสภคามิกะ (๔ รูปนี้เป็นชาวปาจีนกะ) พระเรวตะ พระสัมภูตะ สาณวาสี พระยสะ กากัณฑกบุตร และพระสุมนะ (๔ รูปนี้เป็นชาวปาฐา) การทำสังคายนา  ครั้งนี้มีพระสงฆ์ประชุมร่วมกัน ๗๐๐ รูป ดำเนินการ ๘ เดือน จึงเสร็จสิ้น ผลที่ตามมาคือการแบ่งแยกเป็นนิกายต่างๆ ๑๘ นิกาย เนื่องจากมีทรรศนะ อุดมคติ การตีความหลักธรรม และวัตรปฏิบัติที่แตกต่างกัน

ในที่ประชุมสังคายนามีมติให้กำจัดข้อบัญญัติ ๑๐ ประการเหล่านั้นออกไป ด้วยเห็นว่าข้อวัตรของภิกษุฝ่ายตะวันออกไม่ถูกต้องตามพระวินัย ไม่ลงรอยกับพระปาฏิโมกข์ บ่อนทำลายความมั่นคงของพระพุทธศาสนา แต่พระวัชชีบุตร ภิกษุชาวเมืองเวสาลี ไม่เห็นชอบด้วย จึงได้จัดทำสังคายนาขึ้นเองต่างหาก เรียกว่า มหาสังคีติ และพระภิกษุฝ่ายนี้ เรียกว่า มหาสังฆิกะ ส่วนภิกษุฝ่ายตะวันตกได้นามว่า เถรวาทิน กระทั่งราวพุทธศตวรรษที่ ๕ จึงได้เกิดกลุ่มคณะสงฆ์และคฤหัสถ์ที่เรียกตนเองว่า มหายาน ขึ้น แม้จะมีที่มาไม่แน่ชัด แต่สันนิษฐานได้ว่าพัฒนาจากนิกายมหาสังฆิกะ ผสมผสานกับปรัชญาของนิกายพุทธศาสนาอื่นทั้ง ๑๘ นิกาย รวมทั้งนิกายเถรวาทด้วย ก่อกำเนิดเป็นลัทธิมหายาน



แม้ไม่อาจกำหนดให้แน่ชัดลงไปได้ว่า พระพุทธศาสนานิกายมหายานเริ่มถือกำเนิดขึ้นตั้งแต่เมื่อใด แต่ที่แน่ชัดคือ พระเจ้ากนิษกะมหาราช กษัตริย์องค์ที่ ๗ แห่งราชวงศ์กุษาณะ (ศตวรรษที่ ๑ แห่งคริสต์ศักราช) ทรงเป็นเอกอัครศาสนูปถัมภกพระองค์แรกของนิกายมหายาน ได้ทรงปลูกฝังพระพุทธศาสนามหายานอย่างมั่นคงในราชอาณาจักรของพระองค์ และทรงส่งธรรมทูตออกเผยแพร่ยังนานาประเทศ เปรียบได้กับพระเจ้าอโศกมหาราชของฝ่ายเถรวาท   

• และต่อไปนี้คือการเปรียบเทียบข้อแตกต่างระหว่างนิกายมหายานกับนิกายเถรวาทมหายาน
๑. มหายานสอนให้ทุกคนมุ่งโพธิญาณด้วยการปฏิบัติตามทศบารมีเพื่อเป็นพระโพธิสัตว์
    เถรวาทสอนให้มุ่งอรหัตตผลเพื่อพ้นทุกข์โดยเน้นหลักอริยสัจสี่
๒. มหายานมุ่งพัฒนาปริมาณผู้ศรัทธาเข้ามานับถือศาสนาก่อนการพัฒนาด้านคุณภาพ
    เถรวาทมุ่งพัฒนาคุณภาพผู้เข้ามานับถือศาสนาเป็นสำคัญ
๓. มหายานมุ่งประโยชน์สูงสุด (โพธิจิต) เป็นใหญ่ แม้ต้องกระทำผิดวินัย (เช่นการฆ่า) ถ้าจำเป็น
    เถรวาทมุ่งผลสูงสุดที่สอดคล้องกับหลักปฏิบัติอันถูกต้อง ตามพระธรรมวินัย
๔. มหายานมีการปรับปรุงพิธีกรรมและใช้ธรรมสังคีตเป็นเครื่องมือประกอบการประกาศพระศาสนา
    เถรวาทไม่ถือว่าพิธีกรรมเป็นเรื่องสำคัญและไม่นิยมใช้ธรรมสังคีตประกอบการเผยแผ่ศาสนา
๕. มหายานมีการอธิบายขยายเพิ่มเติมพระพุทธวจนะออกไปอย่างกว้างขวาง
    เถรวาทยึดถือพระพุทธวจนะเดิมอย่างเคร่งครัด
๖. มหายานมีการแต่งพระสูตรใหม่ๆ เพิ่มเติมอย่างมากโดยมิได้ยึดถือพระพุทธวจนะเป็นหลัก
    เถรวาทมีการแต่งเพิ่มเติมบ้างแต่น้อยและยึดถือพระพุทธวจนะเป็นสำคัญ
๗. มหายานเป็นศาสนาเทวนิยม นับถือและให้ความสำคัญแด่พระพุทธเจ้าหลายองค์ซึ่งไม่ใช่พระสมณโคดม
    เถรวาทเป็นศาสนาอเทวนิยม นับถือและให้ความสำคัญแด่พระพุทธเจ้าองค์ที่มีพระนามว่าพระสมณโคดมสูงสุด
๘. มหายานเน้นความช่วยเหลือที่จะได้รับจากพระเจ้าด้วยความศรัทธาและภักดีต่อพระองค์
    เถรวาทเน้นให้พึ่งตนเองและเชื่อกฎแห่งธรรม
๙. มหายานถือว่านิพพานของพระพุทธเจ้ามิใช่การดับสูญโดยสิ้นเชิง แต่เป็นการเสด็จจากโลกมนุษย์กลับสู่สวรรค์ (โลกุตระ)
    เมื่อใดโลกเกิดยุคเข็ญจะลงมาเกิดเป็นมนุษย์ (โพธิสัตว์) เพื่อชี้ทางพ้นทุกข์แก่สัตว์โลกอีก
    เถรวาทถือว่านิพพานของพระพุทธเจ้ามิใช่เป็นการดับสูญตามอายุขัยของมนุษย์ธรรมดา แต่เป็นการดับสูญโดยสิ้นเชิง ไม่หวนกลับมาเกิดอีก
๑๐. พระไตรปิฎกของมหายานจารึกบนแผ่นทองด้วยภาษาสันสกฤต  
    พระไตรปิฎกของเถรวาทจารึกบนใบลานด้วยภาษาบาลี


จาก : หนังสือพิมพ์รายวันข่าวสด
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 29 ตุลาคม 2556 12:47:43 โดย กิมเล้ง » บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
คำค้น:
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน


หัวข้อที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อนี้
หัวข้อ เริ่มโดย ตอบ อ่าน กระทู้ล่าสุด
มหายาน(ภูฎาณ)เมืองแห่งความสุข
จิตอาสา - พุทธศาสนาเพื่อสังคม
sometime 2 2789 กระทู้ล่าสุด 19 มิถุนายน 2553 04:38:41
โดย sometime
เหตุผลหลักที่ศาสนาพุทธแตกแยกเป็นเถรวาท และ มหายาน
ธรรมะทั่วไป ธารธรรม - ธรรมทาน
phonsak 18 12623 กระทู้ล่าสุด 28 พฤศจิกายน 2553 01:14:12
โดย หมีงงในพงหญ้า
พุทธปัจฉิมโอวาทสูตร (มหายาน)
จิตอาสา - พุทธศาสนาเพื่อสังคม
เงาฝัน 2 5224 กระทู้ล่าสุด 14 กรกฎาคม 2554 05:35:58
โดย เงาฝัน
ธรรมะ จาก facebook พุทธศาสนา มหายาน ธิเบต
จิตอาสา - พุทธศาสนาเพื่อสังคม
มดเอ๊ก 0 1479 กระทู้ล่าสุด 17 พฤศจิกายน 2558 18:56:24
โดย มดเอ๊ก
บทสวดมนต์ (อนัมนิกาย) มหายาน ชื่อ มาฮาบ๊าดหยา...และ ทามเหล๋
เพลงสวดมนต์
มดเอ๊ก 0 2467 กระทู้ล่าสุด 25 มิถุนายน 2559 03:48:21
โดย มดเอ๊ก
Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.271 วินาที กับ 33 คำสั่ง

Google visited last this page 07 ตุลาคม 2567 10:32:23