{กฐิน} เป็นเรื่องของผ้าเท่านั้น
พระพุทธศาสนา เป็นคำสอนของท่านผู้รู้ ผู้รู้ในที่นี้หมายถึง พระผู้มีพระภาคอรหันต
สัมมาสัมพุทธเจ้า ซึ่งเป็นบุคคลผู้เลิศที่สุด ประเสริฐที่สุด เจริญที่สุดในโลกทั้งพระ
บริสุทธิคุณ พระปัญญาคุณ พระมหากรุณาคุณเมื่อเป็นคำสอนของท่านผู้รู้ต้องฟัง
ต้องศึกษาด้วยความละเอียดรอบคอบความรู้ความเข้าใจจึงจะค่อย ๆ เจริญขึ้นไป
ตามลำดับความรู้ความเข้าใจเกิดเองไม่ได้คิดเองไม่ได้ต้องอาศัยเหตุ คือ..................
{การฟังการศึกษานั่นเอง}
ในสังคมไทยเมื่อกล่าวถึง{กฐิน}แล้วส่วนใหญ่ก็จะกล่าวตามความคิดเห็น
ตามความเข้าใจเดิม ๆ ของตนเองซึ่งอาจจะมีหลากหลายความคิดเห็นเช่นอาจจะ
กล่าวว่าเป็นเรื่องของซองเงินบ้างเป็นเรื่องของกองวัตถุทานขนาดใหญ่บ้างหรือ
แม้กระทั่งเป็นบุญกุศลที่ใครได้กระทำแล้วจะไม่ไปเกิดในอบายภูมิอีกเลยเป็นต้น
นี่คือ ความคิดเห็นที่ไม่ตรงตามพระธรรมที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงไว้ซึ่งจะเห็น
ได้ว่า{พระธรรม}ต้องศึกษาเท่านั้นถึงจะเข้าใจถูกต้อง ตรงตามความเป็นจริงแม้แต่
ในเรื่องของ{กฐิน}ก็เช่นเดียวกัน
คำว่า{กฐิน} มี ๒ ความหมาย คือ กฐินเป็นชื่อไม้สะดึงสำหรับขึงผ้าให้ตึงเป็น
อุปกรณ์ที่ช่วยในการเย็บผ้า และ กฐินตามพระวินัยหมายถึงผ้า ซึ่งเป็นผ้าสำหรับครอง
ของพระภิกษุ เป็นผ้าผืนใดผืนหนึ่ง(ในบรรดา ๓ ผืน คือ ผ้าสบง ผ้าจีวรและผ้าสังฆาฏิ)
ซึ่งก็เกี่ยวโยงว่าผ้าที่จะมาทำเป็นผ้าครองนั้นต้องมีการขึงให้ตึงสำหรับเย็บผ้าผืนดัง
กล่าวนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงอนุญาต แก่พระภิกษุที่อยู่จำพรรษาครบ ๓ เดือนซึ่ง
ในอาวาสนั้นมีภิกษุอยู่จำพรรษา อย่างน้อย ๕ รูปขึ้นไปถ้าจำนวนน้อยกว่านั้นไม่เป็น
{กฐิน}จะนิมนต์มาจากอาวาสอื่นให้เต็มจำนวนอย่างนี้ก็ไม่ได้
ครั้งแรกพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงปรารภภิกษุชาวเมืองปาฐา ๓๐ รูป ซึ่งมีความ
ประสงค์จะมาเข้าเผ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าที่วิหารพระเชตวันตอนนั้นจวนเข้าสู่ช่วง
เข้าพรรษา ไม่สามารถเดินทางให้ทันวันเข้าพรรษาในพระนครสาวัตถีก็เลยอยู่จำ
พรรษาตามพระวินัย ณ.เมืองสาเกตุเมื่อออกพรรษาแล้วท่านเหล่านั้นก็เดินทางต่อ
ทันทีในช่วงนั้นฝนยังไม่หมด ทำให้จีวรเปียกชุ่มด้วยน้ำเกิดความลำบากพระผู้มี
พระภาคเจ้าทรงปรารภในเรื่องนี้จึงทรงอนุญาตให้ภิกษุที่อยู่จำพรรษาครบ ๓ เดือน
แล้วทำการกรานกฐิน เพื่อเปลี่ยนผ้าในช่วงจีวรกาลซึ่งเป็นเรื่องวินัยกรรมของพระ
ภิกษุส่วนคฤหัสถ์มีหน้าที่เพียงถวายผ้าเท่านั้นผ้าดังกล่าวนั้นพระภิกษุจะต้องได้
มาด้วยความบริสุทธิ์ ขอเขามาหรือเลียบเคียงมานั้นไม่ได้ถ้าหากพระภิกษุไปบอก
คฤหัสถ์ว่าวัดที่ตนจำพรรษานั้นยังไม่มีผู้จองกฐินเลยแล้วคฤหัสถ์นำไปถวายอย่างนี้
ไม่เป็นกฐินเพราะเกิดจากการออกปากขอย่อมเป็นผ้าที่ไม่บริสุทธิ์แต่ถ้าเป็น
ความประสงค์ของคฤหัสถ์ที่จะเป็นผู้ถวายโดยตรง อย่างนี้ใช้ได้ซึ่งถ้าหากคฤหัสถ์ไม่
รู้จักธรรมเนียมในการถวายพระภิกษุสามารถแนะนำแก่คฤหัสถ์ได้ในสมัยก่อนผ้าที่
ถวายเป็นผ้าที่ยังไม่สำเร็จรูป เป็นผ้าขาวผืนหนึ่ง ที่เพียงพอสำหรับจะทำเป็นผ้าผืนใด
ผืนหนึ่งในบรรดา ๓ ผืน สำหรับระยะเวลาหรือขอบเขตในการถวายกฐินนั้นมีระยะ
เวลา ๑ เดือน คือ หลังออกพรรษาแล้ว ตั้งแต่วันแรม ๑ ค่ำเดือน ๑๑ ถึงวันขึ้น
๑๕ ค่ำ เดือน ๑๒
มาถึงตรงนี้ก็พอจะทราบแล้วว่า{กฐิน}เป็นเรื่องของผ้าเท่านั้นไม่เกี่ยวกับเงินทอง
เลยเพราะเหตุว่า เงินทอง เป็นวัตถุที่พระภิกษุรับไม่ได้ถ้ารับก็เป็นอาบัติมีโทษ
อยู่เหนือตนเป็นเครื่องกั้นแห่งการบรรลุมรรคผล{นิพพาน}และ คฤหัสถ์ผู้ถวายเงิน
ทองแก่พระภิกษุ ก็ชื่อว่า เป็นผู้ไม่ฉลาดในการเจริญกุศลเพราะเหตุว่าเป็นการกระทำ
ที่ไม่ถูกต้องตามพระธรรมวินัยเป็นเหตุให้พระภิกษุต้องอาบัติประการสำคัญที่ควร
พิจารณาคือ{กฐิน}ไม่ว่าจะเป็นยุคใดสมัยใดถ้าหากกระทำอย่างถูกต้องตรงตามพระ
วินัย ย่อมเหมือนกันทั้งหมด คือ ถูกต้องทั้งหมดแต่ถ้าไม่ตรงตามพระธรรมวินัยแล้ว
ย่อมไม่ถูกต้อง สำหรับในตอนที่ ๒ จะขอกล่าวถึง ใครสามารถเป็นผู้ถวายกฐินได้บ้าง{กรานกฐิน}
คืออะไรคุณสมบัติของผู้{กรานกฐิน}และอานิสงส์ของพระภิกษุผู้รับกฐิน
ตอนที่ ๓ จะขอกล่าวถึง เกี่ยวกับผู้ถวายกฐินโดยตรงจำเป็นหรือไม่ที่จะต้องมี
การถวายกฐิน(กฐินเดาะ)
สำหรับในตอนที่ ๔ และตอน ๕ (ซึ่งเป็นตอนจบ)จะขอนำเสนอคำสนทนา
เรื่อง{กฐิน}ระหว่างท่าน อาจารย์สุจินต์ บริหารวนเขตต์ คณะวิทยากร และผู้ร่วม
สนทนาธรรม ณ.มูลนิธิศึกษาและเผยแพร่พระพุทธศาสนา)................ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุก ๆ ท่าน................