[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
22 ธันวาคม 2567 19:39:24 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า:  1 ... 3 4 [5]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: 'สมุดภาพพระพุทธประวัติ' ๘o ภาพ โดย ครูเหม เวชกร จิตรกรฝีมือเอก  (อ่าน 80799 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 8.0 MS Internet Explorer 8.0


ดูรายละเอียด
« เมื่อ: 21 มิถุนายน 2553 13:10:47 »




-:- คำนำ -:-


         หนังสือ 'สมุดภาพพระพุทธประวัติ' นี้ เกิดขึ้นจากการที่สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณฯ (ปุ่น ปุณฺณสิริ) สมเด็จพระสังฆราช วัดพระเชตพนฯ ครั้งทรงแสดงสมณศักดิ์เป็นพระธรรมวโรดม ทรงโปรดให้ครูเหม เวชกร จิตรกรฝีมือเอก เขียนภาพตามหนังสือปฐมสมโพธิ ฉบับสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระปรมานุชิตชิโนรส วัดพระเชตุพนฯ จำนวน ๘๐ ภาพ และทรงโปรดให้จัดพิมพ์เป็นภาพสีงดงาม เพื่อให้วัดและโรงเรียนนำไปประดับไว้ให้ประชาชน ได้ศึกษาพระพุทธประวัติจากภาพเป็นที่นิยมกันมาก และได้มีผู้ขออนุญาตทางศึกษานิธิ วัดพระเชตุพนฯ เจ้าของลิขสิทธิ์ภาพชุดนี้ นำไปพิมพ์เป็นหนังสือเพื่อ สะดวกในการศึกษาและมีไว้ประจำห้องสมุด

          หนังสือสมุดภาพฯ นี้ แม้จะเป็นที่นิยมมาก แต่เมื่อกาลผ่านไปนานนับสิบปี หนังสือนี้ก็ได้กลายเป็นหนังสือหายากในที่สุด มีแต่เฉพาะในห้อง สมุดใหญ่ๆ จนกระทั่งต่อมาเมื่อปีพุทธศักราช ๒๕๓๙ ได้มีคณะผู้มีจิตศรัทธาพิมพ์แจกเป็นธรรมทานเพื่อถวายเป็นพระราชกุศลแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้า อยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราช แม้จะพิมพ์เป็นจำนวนมากแต่ไม่เพียงพอแก่ห้องสมุดและสาธุชนจำนวนมากที่ประสงค์จะได้เป็นเจ้าของหนังสือนี้

           ธรรมสภาจึงได้กราบนมัสการขออนุญาติพระเดชพระคุณท่านเจ้าคุณพระธรรมราชานุวัตร ผู้แทนศึกษานิธิ วัดพระเชตุพนฯ จัดพิมพ์หนังสือ สมุดภาพพระพุทธประวัติขึ้นใหม่ เป็นขนาดรูปเล่ม ๘ หน้ายกพิเศษ (ขนาดกระดาษ เอ ๔) ซึ่งพระเดชพระคุณหลวงพ่อก็ได้มีเมตตาอนุญาตให้พิมพ์ได้ ตามความประสงค์ ในการพิมพ์ครั้งนี้ พิมพ์สี่สีด้วยเทคนิคพิเศษ จัดทำอย่างประณีต สวยงาม สมคุณค่าหนังสือ ที่พิเศษยิ่งก็คือได้แทรก ศัพทานุกรม ท้าย เล่มเพื่อเสริมความรู้เกี่ยวกับคำศัพท์ต่างๆ ในพระพุทธประวัติเพิ่มเติมให้ด้วย เพื่อความสะดวกในการศึกษาค้นคว้าของนักเรียน นักศึกษาและผู้สนใจทั่วไป

          ธรรมสภาหวังเป็นอย่างยิ่งว่า การจัดพิมพ์หนังสือสมุดภาพพระพุทธประวัติในครั้งนี้ จะเป็นปัจจัยให้พุทธศาสนิกชนเกิดศรัทธาปสาทะในการ ศึกษาพุทธธรรม ซึ่งก็คือสัจจธรรมที่จะนำปวงมนุษยชาติไปสู่ความดับทุกข์



ด้วยความสุจริตและหวังดี

ธรรมสภาปรารถนาให้โลกได้พบกับความสุขสงบ



   


http://www.trytodream.com/board/39
บันทึกการเข้า
 
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 8.0 MS Internet Explorer 8.0


ดูรายละเอียด
« ตอบ #81 เมื่อ: 03 กรกฎาคม 2553 07:32:26 »


ภาพที่ ๗๖

ทรงยกพระธรรมวินัยไตรปิฎกเป็นศาสดา ประทานปัจฉิมโอวาทแล้วปรินิพพาน




      ก่อนเสด็จนิพพานเล็กน้อย  คือภายหลังทรงโปรดสุภัททะปริพาชกแล้ว  พระพุทธเจ้าประทานโอวาทพระสงฆ์  โอวาทนั้นเป็นพระพุทธดำรัสสั่งเป็นครั้งสุดท้าย  มีหลายเรื่องด้วยกัน  เช่น  เรื่องหนึ่งเกี่ยวกับพระสงฆ์ยังใช้ถ้อยคำเรียกขานกันลักลั่นอยู่  คือ  คำว่า  'อาวุโส'  และ  'ภันเต'   อาวุโสตรงกับภาษาไทยว่า  'คุณ'  และภัตเตว่า  'ท่าน'

           พระพุทธเจ้าตรัสสั่งว่า  พระที่มีอายุพรรษามากให้เรียกพระบวชภายหลังตน  หรือที่อ่อนอายุพรรษากว่าว่า  'อาวุโส'  หรือ  'คุณ'  ส่วนพระภิกษุที่อ่อนอายุพรรษา  พึงเรียกพระที่แก่อายุพรรษากว่าตนว่า  'ภันเต'  หรือ  'ท่าน'

           ครั้นแล้วทรงเปิดโอกาสให้พระสงฆ์ทั้งปวงทูลถาม  ว่าท่านผู้ใดสงสัยอะไรในเรื่องที่พระองค์ทรงสั่งสอนไว้แล้วก็ให้ถามเสียจะได้ไม่เสียใจเมื่อภายหลังว่าไม่มีโอกาสถาม

           ปรากฏตามท้องเรื่องใน มหาปรินิพพานสูตร ว่า  ไม่มีพระสงฆ์องค์ใดทูลถามพระพุทธเจ้าในข้อสงสัยที่ตนมีอยู่เลย

           เมื่อก่อนพระพุทธเจ้าจะเสด็จนิพพานนั้น พระพุทธเจ้าไม่ได้ทรงตั้งสาวกองค์ใดให้รับตำแหน่งเป็นพระศาสดาปกครองพระสงฆ์สืบต่อจากพระองค์เหมือนพระศาสดาในศาสนาอื่น  เรื่องนี้ก็ไม่มีพระสงฆ์องค์ใดทูลถามพระพุทธเจ้า   แต่พระพุทธเจ้าก็ตรัสสั่งพระสงฆ์ไว้ชัดเจนก่อนจะนิพพานว่า  พระภิกษุรูปใด


ตรัสบอกพระอานนท์ว่า  "ดูก่อนอานนท์ 
ธรรมก็ดี  วินัยก็ดี  ที่เราได้แสดงไว้   และบัญญัติไว้ด้วยดี 
นั่นแหละ
จักเป็นพระศาสดาของพวกท่านสืบแทนเราตถาคต 
เมื่อเราล่วงไปแล้ว"



ครั้นแล้ว  พระพุทธเจ้าตรัสเป็นปัจฉิมโอวาทครั้งสุดท้ายว่า 
"ภิกษุทั้งหลาย!  บัดนี้เราขอเตือนพวกท่าน
ให้รู้ว่า  สิ่งทั้งหลายที่เกิดมาในโลกมีความเสื่อมสลาย
เป็นธรรมดา 
ท่านทั้งหลาย
จงทำหน้าที่อันเป็นประโยชน์แก่ตนและคนอื่นให้สำเร็จบริบูรณ์ด้วย
ความไม่ประมาท
เถิด"



หลังจากนั้นไม่ได้ตรัสอะไรอีกเลย     
จนกระทั่งนิพพานในเวลาสุดท้ายของคืนวันขึ้น  ๑๕  ค่ำ เดือน  ๖  หรือวันเพ็ญวิสาขะ 
ณ  ภายใต้ต้นสาละทั้งคู่ที่ออกดอกบานสะพรั่งเป็นพุทธบูชานั่นเอง
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 03 กรกฎาคม 2553 07:45:32 โดย เงาฝัน » บันทึกการเข้า
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 8.0 MS Internet Explorer 8.0


ดูรายละเอียด
« ตอบ #82 เมื่อ: 03 กรกฎาคม 2553 08:55:06 »



ภาพที่ ๗๗

พระสงฆ์ปุถุชนได้ฟังข่าวปรินิพพานซึ่งอาชีวกบอกแก่พระมหากัสสปก็ร้องไห้




  ภาพที่เห็นอยู่นี้เป็นตอนภายหลังพระพุทธเจ้านิพพานแล้ว    คือ  ตอนพระมหากัสสปกำลังเดินทางมาเฝ้าพระพุทธเจ้า    ตอนก่อนพระพุทธเจ้าจะนิพพานนั้น    พระสงฆ์สาวกที่จาริกออกไปประกาศพระศาสนาตามแคว้นและเมืองต่างๆ     ในสมัยนั้น    เมื่อได้ทราบข่าวว่าพระพุทธเจ้าจะนิพพานที่เมืองกุสินารา   ต่างก็เดินทางมุ่งหน้ามาเมืองนี้เป็นจุดเดียวกัน  ที่อยู่ใกล้ก็มาทันเฝ้าพระพุทธเจ้า  ส่วนที่อยู่ไกลไปก็มาไม่ทัน

           พระมหากัสสปเป็นพระเถระชั้นผู้ใหญ่  ที่พระพุทธเจ้าทรงเคยยกย่องให้เกียรติเทียบเท่าพระองค์   ท่านรีบเดินทางมาพร้อมด้วยพระสงฆ์หลายร้อยรูป   มาถึงเมืองปาวา   แดดกำลังร้อนจัด   จึงพาพระสงฆ์แวะพักชั่วคราวระหว่างทางภายใด้ร่มไม้แห่งหนึ่ง    ขณะนั้น    ท่านเห็นอาชีวกคือนักบวชนอกศาสนาพุทธคนหนึ่ง   เดินทางสวนมาจากเมืองกุสินารา  มือถือดอกมณฑารพ   พระมหากัสสปจึงถามข่าวพระพุทธ
เจ้า  อาชีวกตอบว่าพระสมณโคดมนั้นนิพพานมาได้เจ็ดวันแล้ว   แล้วชูดอกมณฑารพให้ดูว่าตนเก็บได้มาจากสถานที่ที่พระพุทธเจ้านิพพาน  ดอกมณฑารพตามตำนานว่าเป็นดอกไม้สวรรค์  ออกดอกและบานในเวลาคนสำคัญของโลกมีอันเป็นไป

           ทันใดนั้น    ก็บังเกิดอาการสองอย่างขึ้นในหมู่พระสงฆ์ที่เดินทางมาพร้อมกับพระมหากัสสป  พระสงฆ์ฝ่ายหนึ่งที่สำเร็จอรหันต์แล้วต่างดุษณีภาพด้วยธรรมสังเวชว่า  พระพุทธเจ้านิพพานเสีย  ฝ่ายพระสงฆ์ปุถุชนต่างอดกลั้นความเศร้าโศกเสียใจไว้ไม่ได้   บางองค์ร้องไห้  โฮ...     บางองค์ยกมือทั้งสองขึ้นร้องคร่ำครวญ  บางองค์ล้มกลิ้งลงกับพื้นดิน  มหาปรินิพพานสูตร บันทึกไว้ว่า  อาการล้มกลิ้งของภิกษุนั้นเหมือนคนถูกตัดขาทั้งสองขาดในทันที

          แต่มีอยูรูปหนึ่งนามว่า  "สุภัททะ"  (คนละองค์กับที่บวชพระสาวกองค์สุดท้ายของพระพุทธเจ้า) เป็นพระที่บวชเมื่อแก่   เข้าไปพูดปลอบโยนพระสงฆ์ทั้งปวงที่กำลังร้องไห้ว่า  "คุณ!  คุณ!  จะร้องไห้เสียใจทำไม  พระพุทธเจ้านิพพานเสียได้นั่นดีนักหนา  ถ้าพระองค์ยังอยู่  พวกเราทำอะไรตามใจไม่ได้   ล้วนแต่ว่าอาบัติทั้งนั้น  ต่อนี้ไปพวกเราจะสบาย  พระองค์นิพพานเสียได้นั่นดีแล้ว"

          พระมหากัสสปได้เห็นเหตุการณ์ดังกล่าวก็อดสังเวชมิได้ว่า  พระพุทธเจ้าเพิ่งนิพพานได้เพียง  ๗  วัน  เสี้ยนหนามพระศาสนาก็บังเกิดขึ้นเสียแล้ว  แล้วท่านก็พาพระสงฆ์รีบออกเดินทางมุ่งหน้าไปยังเมืองกุสินารา  เพื่อให้ทันถวายบังคมพระศพพระพุทธเจ้า
บันทึกการเข้า
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 8.0 MS Internet Explorer 8.0


ดูรายละเอียด
« ตอบ #83 เมื่อ: 03 กรกฎาคม 2553 09:07:08 »



ภาพที่ ๗๘

พระมหากัสสปถวายบังคมบาทพระพุทธศพ เพลิงสวรรค์ก็บันดาล ลุกโชติช่วง




เมื่อพระพุทธเจ้านิพพานแล้ว     ทางคณะสงฆ์และทางบ้านเมือง   คือ  เจ้ามัลลกษัตริย์ผู้ครองเมืองกุสินารา  ได้ทำพิธีสักการบูชาพระศพพระพุทธเจ้าอยู่เป็นเวลาถึง  ๖  วัน    ในวันที่  ๗  จึงเชิญพระศพเป็นขบวนไปทางทิศเหนือของเมือง   ผ่านใจกลางเมือง   แล้วเชิญพระศพไปมกุฏพันธนเจดีย์   ที่อยู่ทางด้านทิศตะวันออกของเมือง  เพื่อถวายพระเพลิง  วันที่กำหนดจะถวายพระเพลิงนั้น  ตรงกับวันแรม  ๘  ค่ำเดือน  ๖  ซึ่งทุกวันนี้ทางเมืองไทยเราถือว่าเป็นวันสำคัญวันหนึ่ง  เรียกว่า  'วันอัฎฐมีบูชา'

           ผู้เชิญหรือหามพระศพพระพุทธเจ้า   เรียกว่า 'มัลลปาโมกข์'   มีจำนวน  ๘  นาย   แต่ละนายรูปร่างใหญ่กำยำล่ำสัน  มีกำลังมาก  'มัลลปาโมกข์'  แปลว่า  หัวหน้านักมวยปล้ำ

           พระศพพระพุทธเจ้าห่อด้วยผ้าใหม่  ที่ปฐมสมโพธิบอกจำนวนไว้ว่ามีถึง  ๕๐๐  ชั้น  ถอดเอาใจความว่ามีหลายชั้นนั่นเอง  แต่ละชิ้นซับด้วยสำลี  แล้วเจ้าหน้าที่เชิญลงประดิษฐานในหีบทองที่เต็มไปด้วยน้ำหอม  แล้วปิดฝาครอบไว้  แล้วเชิญขึ้นจิตกาธานที่ทำด้วยไม้หอมหลายชนิด

           พอได้เวลาเจ้าหน้าที่ได้จุดไฟขึ้นทั้ง  ๔   ด้าน   ตำนานว่าจุดเท่าไรไฟก็ไม่ติด    เจ้าหน้าที่ทางบ้านเมืองจึงเรียนถามพระอนุรุทธ์  (พระอนุรุทธ์เลิศกว่าภิกษุทั้งหลายผู้มีทิพยจักษุ  มีศักดิ์เป็นพระอนุชาของพระพุทธเจ้าเป็นพระสาวกได้สำเร็จพระอรหันต์) พระอนุรุทธ์จึงแจ้งให้ทราบว่า  เป็นเพราะเทพเจ้าต้องการให้รอพระมหากัสสป  ซึ่งกำลังเดินทางมายังไม่ถึงได้ถวายบังคมพระศพเสียก่อน   ต่อมาเมื่อพระมหากัสสปพร้อมด้วยพระสงฆ์บริวารเดินทางมาถึง     ได้ถวายบังคมพระศพพระพุทธเจ้าแล้ว    จึงเกิดเพลิงทิพย์ด้วยเทวาฤทธานุภาพ

          ภายหลังจากนั้น  เพลิงได้ไหม้พระสรีระของพระพุทธเจ้าจนหมดสิ้น  เหลืออยู่แต่พระอัฐิ  พระเกศา  พระทนต์  และผ้าอีกคู่หนึ่ง  พระพวกมัลลกษัตริย์ได้นำน้ำหอมหลั่งลงดับถ่านไฟที่จิตกาธาน    แล้วเชิญพระบรมสารีริกธาตุไปประดิษฐานไว้ที่สัณฐาคารศาลา  คือ  หอประชุมกลางเมือง   รอบหอประชุมนั้นจัดทหารถืออาวุธพร้อมสรรพคอยพิทักษ์รักษา  และทำสักการบูชาด้วยฟ้อนรำ ดนตรีประโคมขับและดอกไม้นานาประการ  และมีนักขัตฤกษ์เอิกเกริกกึกก้องฉลองถึง  ๗  วันเป็นกำหนด
บันทึกการเข้า
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 8.0 MS Internet Explorer 8.0


ดูรายละเอียด
« ตอบ #84 เมื่อ: 03 กรกฎาคม 2553 09:36:02 »



ภาพที่ ๗๙

โทณพราหมณ์แบ่งสรรพระบรมธาตุแก่พราหมณ์และกษัตริย์ ๗ พระนคร




  ข่าวพระพุทธเจ้านิพพานที่เมืองกุสินาราแล้ว    เจ้ามัลลกษัตริย์แห่งนครนี้พร้อมด้วยคณะสงฆ์ได้ถวายพระเพลิงแล้วนั้น ได้แพร่ไปถึงบรรดาเจ้านครแห่งแคว้นต่างๆ  บรรดาเจ้านครเหล่านั้นจึงได้ส่งคณะฑูตรีบรุดมายังเมืองกุสินาราพร้อมด้วยพระราชสาส์น

             คณะฑูตทั้งหมดมี  ๗  คณะ  มาจาก  ๗  นคร   มีทั้งจากนครใหญ่  เช่น  นครราชคฤห์  แห่งแคว้นมคธ ที่พระพุทธเจ้าทรงประกาศพระศาสนาเป็นแห่งแรก  และนครอื่นๆ เช่น  กบิลพัสดุ์  เมืองประสูติของพระพุทธเจ้า  คณะฑูตทั้ง ๗ เมื่อเดินทางมาถึงเมืองกุสินาราก็ได้ยื่นพระราชสาส์นนั้นแก่เจ้ามัลลกษัตริย์  ในพระราชสาส์นนั้นมีความว่า  เจ้านครทั้ง ๗ มาขอส่วนแบ่งพระบรมสารีริกธาตุเพื่อนำไปบรรจุในสถูปให้เป็นที่สักการบูชาไว้ที่นครของตน  พวกเจ้ามัลลกษัตริย์ตอบปฏิเสธแข็งขันไม่ยอมให้  โดยอ้างเหตุผลว่าพระพุทธเจ้านิพพานที่เมืองของตน  พระบรมสารีริกธาตุจึงเป็นสมบัติของเมืองนี้เท่านั้น

            เมื่อเจ้ามัลลกษัตริย์ไม่ยอมแบ่ง  บรรดาเจ้านครทั้ง ๗  ก็ไม่ยอม จะขอส่วนแบ่งให้ได้  สงครามแย่งพระบรมสารีริกธาตุก็ทำท่าจะเกิดขึ้น  แต่พอดีท่านผู้หนึ่งซึ่งชื่อ 'โทณพราหมณ์' ได้ระงับสงครามไว้เสียก่อน   โทณพราหมณ์อยู่ในเมืองกุสินารา  ตามประวัติแจ้งว่าเป็นผู้เฉลียวฉลาดในการพูด  เป็นที่เคารพนับถือของบรรดาเจ้านคร และเป็นผู้มีชื่อเสียงในเรื่องเกียรติคุณ ได้ทำหน้าที่เสมือนหนึ่งเป็นเลขาธิการสหประชาติในสมัยปัจจุบัน  คือได้ระงับสงครามไว้เสียทัน  โดยได้ปราศรัยให้ที่ประชุมฟังว่า


"พระพุทธเจ้าเป็นผู้ทรงสรรเสริญขันติธรรมและสามัคคีธรรม 
แล้วเราทั้งหลายจะมาทะเลาะวิวาท
ทำสงครามกันเพราะพระบรมสารีริกธาตุเป็นเหตุทำไม   
มาแบ่งกันให้ได้เท่าๆ  กันดีกว่า   
พระบรมสารีริกธาตุจักได้แพร่หลายและเป็นประโยชน์แก่มหาชนทั่วโลก"


          ที่ประชุมเลยตกลงกันได้  โทณพราหมณ์จึงทำหน้าที่แบ่งพระบรมสารีริกธาตุออกเป็น ๘ ส่วนโดยใช้ตุมพะ  คือทะนานทองเป็นเครื่องตวง  ให้เจ้านครทั้ง  ๗  คนละส่วน  เป็น  ๗  ส่วน   อีกส่วนหนึ่งเป็นของเจ้านครกุสินารา  แล้วเจ้านครทั้งหมดต่างอัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุนั้นไปเป็นที่ระลึก  แล้วนำไปบรรจุไว้ในสถูปต่างหาก  การแจกพระบรมสารีริกธาตุก็เสร็จสิ้นสุดลงด้วยความเรียบร้อย
บันทึกการเข้า
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 8.0 MS Internet Explorer 8.0


ดูรายละเอียด
« ตอบ #85 เมื่อ: 03 กรกฎาคม 2553 11:05:24 »



ภาพที่ ๘๐

พระมหากัสสปกับพระอริยสงฆ์ยกปฐมสังคายนา สืบอายุพระศาสนามาถึงบัดนี้




             ตอนถวายพระเพลิงพระศพพระพุทธเจ้าที่เมืองกุสินารา  เป็นเวลาที่พระสงฆ์สาวกซึ่งเดินทางมาชุมนุมกันที่เมืองนี้มีจำนวนมากกว่าครั้งใดๆ จึงเมื่อถวายพระเพลิงเสร็จแล้ว   พระมหากัสสปซึ่งเป็นพระเถระชั้นผู้ใหญ่ได้จัดให้มีการประชุมพระสงฆ์สาวกเป็นครั้งแรกขึ้นที่เมืองกุสินารา

            เรื่องที่ประชุม คือ   เรื่องจะสังคายนาพระธรรมวินัยที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงและบัญญัติไว้ ท่านได้ปรารภเรื่องเสี้ยนหนามพระศาสนาที่ท่านได้ประสบเมื่อระหว่างเดินทางมา ที่พระภิกษุแก่กล่าวแสดงความยินดีที่พระพุทธเจ้านิพพานให้ที่ประชุมทราบด้วย

            ที่ประชุมมีมติเลือกพระสงฆ์เถระ  ๓ รูปเป็นประธานทำหน้าที่สังคายนา  คือ  พระมหากัสสป  พระอุบาลี  และพระอานนท์  ในการนี้ให้พระมหากัสสปเป็นประธานใหญ่  ให้มีหน้าที่คัดเลือกจำนวนสมาชิกสงฆ์ผู้จะเข้าประชุมทำสังคายนา  พระมหากัสสปคัดเลือกพระสงฆ์ได้ทั้งหมด  ๕๐๐  รูปแล้วตกลงเลือกเอานครราชคฤห์แห่งแคว้นมคธเป็นสถานที่สถานที่ประชุม    ส่วนเวลาประชุมคือตั้งแต่วันเข้าพรรษาเป็นต้นไปหรืออีก  ๓  เดือนนับแต่นี้

             หลังจากนั้น  พระสงฆ์ที่ได้รับคัดเลือกให้เข้าร่วมประชุมทำสังคายนา  ต่างเดินทางมุ่งหน้าไปยังเมืองราชคฤห์  เมื่อไปถึงทางคณะสงฆ์ได้ขอความอุปถัมภ์จากบ้านเมืองแห่งนี้  ในด้านการซ่อมวิหารที่พักสงฆ์  ตกแต่งสถานที่ประชุมซึ่งจัดขึ้นในถ้ำปาสาณคูหาในภูเขาเวภารบรรพตซึ่งอยู่นอกเมือง

            ทางคณะสงฆ์ได้ขอให้ทางบ้านเมืองประกาศห้ามนักบวชและพระสงฆ์อื่นๆ  ที่ไม่มีหน้าที่เกี่ยวข้องกับการประชุมทำสังคายนาเข้ามาอยู่ในเมืองราชคฤห์     ตลอดเวลาที่สงฆ์ทั้งหมดทำสังคายนาอยู่    ทั้งนี้เพื่อป้องกันอุปสรรคขัดขวางอันอาจจะเกิดมี เป็นเหตุให้การประชุมทำสังคายนาเป็นไปโดยความไม่เรียบร้อยนั่นเอง


จบ...

สมุดภาพพระพุทธประวัติ' ๘o ภาพ
โดย
ครูเหม เวชกร จิตรกรฝีมือเอก






บันทึกการเข้า
คำค้น: สมุดภาพ พุทธประวัติ ๘o ภาพ  ครูเหม เวชกร  จิตรกรฝีมือเอก  
หน้า:  1 ... 3 4 [5]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน

Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.227 วินาที กับ 33 คำสั่ง

Google visited last this page 20 ธันวาคม 2567 03:32:24