[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
26 มิถุนายน 2567 19:37:51 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: ยาปฏิชีวนะเสียคุณสมบัติในการรักษาแล้วทั่วโลก  (อ่าน 10702 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
หมีงงในพงหญ้า
ยืนงงในดงตีน
ผู้ก่อตั้งเวบฯ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +62/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
United Kingdom United Kingdom

กระทู้: 7861


• Big Bear •

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Chrome 34.0.1847.131 Chrome 34.0.1847.131


ไม่มี ไม่ใช้ ไม่รู้
ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« เมื่อ: 12 พฤษภาคม 2557 10:53:13 »


ยาปฏิชีวนะเสียคุณสมบัติในการรักษาแล้วทั่วโลก

http://f.ptcdn.info/539/018/000/1399199149-WHO1024x32-o.jpg
ยาปฏิชีวนะเสียคุณสมบัติในการรักษาแล้วทั่วโลก


ขณะนี้องค์การอนามัยโลกประกาศว่า ถึงยุคที่ยาปฏิชีวนะนั้นได้สูญเสียคุณสมบัติในการรักษาโรคไปแล้วในทุกประเทศทั่วโลก ซึ่งก่อให้เกิดความเสียหายอย่างต่อเนื่องต่อสุขภาพของประชาชนทุกเพศ ทุกวัย ซึ่งจะต้องยกระดับให้กลับมามีประสิทธิภาพอีกครั้ง เรื่องนี้เป็นเรื่องที่ไม่สามารถคาดการณ์ได้ว่าต่อไปจะเป็นเช่นไร



ดร. Keiji Fukuda กล่าวว่าขณะนี้ยาปฏิชีวนะสามารถใช้กับการรักษาโรค หรืออาการบาดเจ็บต่างๆได้เพียงแค่ครั้งเดียวเท่านั้น ซึ่งข้อมูลนี้ได้มาจาก 114 ประเทศทั่วโลก ถึงแม้ว่าข้อมูลจะยังไม่สมบูรณ์ในทุกพื้นที่ แต่จากการทดสอบในห้องทดลองกับแบคทีเรีย และไวรัสพบว่ายาได้สูญเสียคุณสมบัติไปแล้วจริงๆ

ดร. Carmen Pessoa Da Silva หัวหน้าทีมวิจัยการต้านทานเชื้อจุลินทรีย์กล่าวว่า เชื้อโรคนั้นมีอยู่ทุกที่ พวกมันกำเนิดมาก่อนมนุษย์เสียอีก ซึ่งปัญหานี้ไม่ได้เป็นปัญหาแค่ของประเทศใดประเทศหนึ่ง แต่เป็นปัญหาของมนุษยชาติเลยทีเดียว ซึ่งตอนนี้ทุกประเทศต้องช่วยกันหาทางออก และแก้ไขปัญหาในเรื่องนี้

ในรายงานการศึกษาพบว่าการต้านเชื้อแบคทีเรีย 7 ชนิด ของสาเหตุโรคที่ไม่รุนแรงและรุนแรง เช่น โรคติดเชื้อในกระแสเลือด โรคท้องร่วง  โรคปอดบวม โรคติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะ และหนองใน พบว่าแบคทีเรียก่อโรคสามารถต้านทานยาปฏิชีวนะได้ทั้งหมดแม้กระทั่งยาที่ใช้เป็นกรณีสุดท้ายเมื่อยาอื่นหมดทางรักษา

จากข้อมูลขององค์การอนามัยโลกพบว่าปัญหาที่น่ากลัวที่สุดก็คือ การที่พบว่ายาที่ใช้ในกรณีสุดท้ายในการรักษาผู้ป่วยซึ่งติดเชื้อแบคทีเรียที่ไม่รุนแรง Klebsiella pneumonia นั้นไม่สามารถต้านเชื้อนี้ได้ แบคทีเรียชนิดนี้เป็นสาเหตุหลักที่ทำให้ติดเชื้อในผู้ป่วยที่สามารถมีความเสี่ยงที่จะติดเชื้อได้ง่ายในโรงพยาบาล เพราะมันเป็นสาเหตุของโรคปอดบวม การติดเชื้อในกระแสเลือด และการติดเชื้อในทารกแรกเกิด และผู้ป่วยที่ต้องได้รับการดูแลเป็นพิเศษ ยาที่ใช้ในกรณีสุดท้ายในการรักษาเมื่อผู้ป่วยติดเชื้อนี้ก็คือ Carbapanems แต่จากการเก็บข้อมูลในทุกพื้นที่พบว่าเชื้อสามารถต้านยาได้หมด ในบางประเทศจากการต้านยา Carbapanems  ทำให้ไม่สามารถรักษาผู้ป่วยที่ติดเชื้อ K. pneumonia ได้ มากกว่าครึ่งหนึ่ง กรณีที่รุนแรงต่อการต้านยา Carbapanems นั้นเนื่องมาจากเอนไซม์ NDM1 ซึ่งยิ่งทำให้สถานการณ์เลวร้ายลงอีก แต่ก็ยังมียา 2-3 ชนิดที่ยังสามารถใช้ต้านแบคทีเรียชนิดนี้ได้ แต่ก็เป็นยาที่เลิกใช้ไปแล้วเนื่องมาจากผลข้างเคียงของมัน



ยาปฏิชีวนะนั้นไม่มีชนิดใหม่เกิดขึ้นเลยนานมาถึง 25 ปีแล้ว บริษัทผู้ผลิตยาไม่สามารถรองรับต้นทุนของการวิจัยและพัฒนาได้เนื่องจากยาปฏิชีวนะชนิดใหม่นั้นต้องใช้อย่างจำกัด เพราะกลัวเกิดการพัฒนาการต้านของเชื้อต่อยา และเมื่อสร้างยาขึ้นมาได้ก็พบว่ายานั้นมีอายุการใช้งานที่สั้นมาก ยาปฏิชีวนะใหม่ที่อยู่ในท้องตลาดก็ไม่ใช่ของใหม่จริงๆเพราะก็เป็นชนิดที่มีอยู่แล้ว คือหมายความว่าแบคทีเรียก็สามารถที่จะพัฒนาตัวต้านยาเหล่านี้ได้ในไม่ช้าเช่นกัน

บางครั้งในการรักษาผู้ป่วยแพทย์ต้องเห็นการรักษาที่ล้มเหลว ต้องเห็นผู้ป่วยเสียชีวิตไปต่อหน้า เนื่องจากรักษาไม่ทัน แต่ในบางคนก็สามารถรักษาได้เพียงใช้ยาแค่ชนิดเดียวเท่านั้น แต่หลังจากนั้นก็ต้องใช้ยาตัวใหม่ ซึ่งไปเพิ่มความเสี่ยง เพราะเมื่อดื้อยาแล้วอาการป่วยก็จะเพิ่มขึ้นและการต้านยาก็จะเพิ่มขึ้นด้วย

ซึ่งจากข้อมูลนี้ได้ชี้ให้เห็นการดื้อยาที่ใช้ในวงกว้างอีกตัวก็คือ ยาที่ใช้รักษาโรคติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะซึ่งมีสาเหตุมาจากเชื้อแบคทีเรีย Escherichia coli (E. coli) ในปี 1980 เมื่อเริ่มนำ Fluoroquinolone มาใช้รักษานั้นยังไม่มีการต้านจากเชื้อ แต่ขณะนี้ในหลายประเทศ พบว่ามันไม่มีประสิทธิภาพในการรักษาแล้วในผู้ป่วยกว่าครึ่งของโรงพยาบาล

ประเทศสหราชอาณาจักรเป็นอีกประเทศที่พบการต้านยารักษาโรคหนองใน Cephalosporins และยังพบในประเทศออสเตรีย  ออสเตรเลีย  แคนาดา  ฝรั่งเศส  ญี่ปุ่น  นอร์เวย์  แอฟริกา  สโลวาเนีย  และสวีเดนอีกด้วย

องค์การอนามัยโลกได้กระตุ้นให้ประเทศต่างๆเก็บยาปฏิชีวนะไว้ใช้ในยามฉุกเฉินทั้งในคนและสัตว์ รวมทั้งให้รักษาความสะอาดของมือให้มากยิ่งขึ้น ซึ่งจะช่วยลดปริมาณในกรณีเชื้อดื้อยา Methicillin-Resistant Staphylococcus Aureus (MRSA) คือเชื้อแบคทีเรีย Staphylococcus aureus ซึ่งพบว่ามีการต้านยา Methicillin ในสหราชอาณาจักร

Médecins Sans Frontières แพทย์ประจำตัวผู้ป่วยที่รักษาขณะที่เกิดเหตุการณ์วิกฤติเช่นนี้ กล่าวว่า ทั่วโลกจำเป็นที่จะต้องวางแผนการใช้ยาให้สมเหตุสมผลมากกว่านี้เพื่อที่จะจ่ายยาปฏิชีวนะได้ในกรณีที่ฉุกเฉินเท่านั้น เราเห็นถึงความน่ากลัวของการดื้อยาปฏิชีวนะในการรักษาผู้ป่วยรวมถึงในเด็กด้วย โดยเฉพาะในประเทศที่ต้องพัฒนาซึ่งการแพทย์ยังไม่เจริญเต็มที่ เมื่อเกิดกรณีฉุกเฉินขึ้นมา



ซึ่งจากรายงานขององค์การอนามัยโลกนี้หวังว่ารัฐบาลจะตื่นตัวและกระตุ้นให้เอกชนพัฒนาตัวยาใหม่ๆขึ้นมา  การจ่ายยาปฏิชีวนะนั้นไม่ได้ขึ้นอยู่กับสิทธิบัตรระหว่างประเทศและราคาที่สูงและสามารถปรับให้เข้ากับความต้องการของประเทศที่กำลังพัฒนาได้




ดร. Laura Piddock ผู้เชี่ยวชาญทางด้านจุลชีววิทยา ของประเทศอังกฤษเห็นด้วยกับปัญหาเร่งด่วนนี้ที่โลกต้องตอบสนองวิกฤติเช่นเดียวกับในปี 1980 คาดว่าต้องใช้ความพยายามอย่างมากในการประสบผลสำเร็จ ซึ่งกล่าวว่านี่เป็นเพียงจุดเริ่มต้นเท่านั้น เรายังคงต้องทำความเข้าใจลักษณะของการต้านยา เหมือนกับการค้นพบใหม่ วิจัยและพัฒนายาปฏิชีวนะใหม่ แต่ก็เป็นที่น่ากังวลเพราะทางรัฐบาลอังกฤษได้ลดทุนสนับสนุนการวิจัยยาปฏิชีวนะไปแล้ว เช่นเดียวกับทาง ดร. Martin Adams ประธานของ Society for Applied Microbiology ก็อยากให้มีการพัฒนายาปฏิชีวนะในมนุษย์และสัตว์เช่นกัน

อ้างถึง

   อ้างอิงจากเว็บไซต์ ณ วันที่ 2/5/2557
        www.who.int/mediacentre/news/releases/2014/amr-report/en/
        www.theguardian.com/society/2014/apr/30/antibiotics-losing-effectiveness-country-who
 
   เครดิต
        www.vcharkarn.com/vnews/448658


รายงานฉบับนี้เชื่อถือได้จริง เพราะแหล่งที่มาของข้อมูลได้มาจากเว็บไซท์ขององค์การอนามัยโลก






 ช๊อค ช๊อค ช๊อค


Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

บันทึกการเข้า

B l a c k B e a r : T h e D i a r y
หมีงงในพงหญ้า
ยืนงงในดงตีน
ผู้ก่อตั้งเวบฯ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +62/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
United Kingdom United Kingdom

กระทู้: 7861


• Big Bear •

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Chrome 34.0.1847.131 Chrome 34.0.1847.131


ไม่มี ไม่ใช้ ไม่รู้
ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #1 เมื่อ: 12 พฤษภาคม 2557 10:58:57 »

เพิ่มเติม...


            ในทำนองเดียวกัน องค์การอนามัยโลก ยังพบว่า ยา "ฟลูโอโรควิโนโลน" ที่เคยใช้รักษาอาการติดเชื้อในท่อปัสสาวะได้ผล กลับใช้ไม่ได้ผลอีกต่อไปในผู้ป่วยกว่าครึ่งที่ล้มป่วยลงในหลายๆ ประเทศ นอกจากนั้น ยังพบการดื้อยา"เซฟาลอสปอรินส์" ซึ่งเคยใช้รักษาหนองใน (โกโนเรีย) โดยใช้ยาชนิดนี้ไม่ได้ผลอีกต่อไปทั้งในยุโรป เอเชีย ออสเตรเลีย แอฟริกา และอเมริกาเหนือ ที่น่าตกใจก็คือ จากสถิติขององค์การอนามัยโลกพบว่า 3.6 เปอร์เซ็นต์ของผู้ป่วยวัณโรคใหม่ดื้อยาปฏิชีวนะหลายๆ ตัวพร้อมกัน นอกเหนือจากการดื้อยาปฏิชีวนะ "อาร์เตไมซินีน" ที่ปรากฏในรายงานจาก พม่า กัมพูชา ไทยและเวียดนาม แล้ว ผู้ช่วยผู้อำนวยการองค์การอนามัยโลกด้านความมั่นคงสุขภาพ เตือนว่า หากปราศจากความร่วมมือประสานงานกันในหลายๆ ประเทศทั่วโลกอย่างเร่งด่วนแล้วละก็ โลกก็จะก้าวเข้าสู่ยุค หลังยาปฏิชีวนะ อย่างรวดเร็ว ช่วงเวลาดังกล่าวคือยุคที่ยาปฏิชีวนะเท่าที่เรามีอยู่จะไม่สามารถใช้รักษาเยียวยาอาการติดเชื้อใดๆ ได้อีก ซึ่งจะส่งผลให้ แม้อาการบาดเจ็บเพียงเล็กน้อย ก็สามารถคร่าชีวิตเราได้ในทันที

            ในส่วนของประเทศไทยมีรายงานจากสาธารณสุข เผยเหตุเชื้อดื้อยาปฏิชีวนะทำคนไทยเสียชีวิตปีละกว่า 30,000 ราย เนื่องจากการใช้อย่างไม่จำเป็นและเกินความจำเป็น  ปัจจุบัน(พ.ศ.๒๕๕๖)ปัญหาการดื้อยาของเชื้อจุลชีพทำให้เกิดโรคมีแนวโน้มสูงขึ้นเรื่อยๆ สาเหตุสำคัญมาจากการใช้ยาปฏิชีวนะที่มากขึ้น ทั้งการใช้อย่างไม่จำเป็นและเกินความจำเป็น โดยมูลค่าการใช้ยาปฏิชีวนะของคนไทยมากกว่า 10,000 ล้านบาท/ปี และมีการติดเชื้อชนิดที่ดื้อยาปฏิชีวนะ ปีละกว่า 100,000 คน ทำให้ยาปฏิชีวนะตัวเก่าที่เคยใช้ไม่ได้ผลเท่าที่ควร ผู้ป่วยบางรายต้องเปลี่ยนใช้ยาตัวใหม่ ซึ่งมีราคาแพงมาก เชื้อดื้อยาบางชนิดไม่มียารักษาที่มีประสิทธิผลดีและปลอดภัย ทำให้มีค่าใช้จ่ายในการรักษาเพิ่มขึ้น ใช้เวลารักษานานขึ้น และโอกาสเสียชีวิตสูง ผลเสียต่อไปหากเชื้อชนิดนี้แพร่ไปสู่ผู้ป่วยรายอื่นและเกิดการระบาดในชุมชน จะมีผลทำให้โรคติดต่อที่เคยควบคุมได้กลับมาระบาดมากขึ้น

             นอกจากนี้ เชื้อดื้อยายังสามารถถ่ายทอดรหัสพันธุกรรมดื้อยาไปสู่เชื้อสายพันธุ์อื่น เสียชีวิตปีละ 38,481 ราย ซึ่งสูงกว่าจำนวนผู้เสียชีวิตจากโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด และมากเป็นอันดับ 2 รองจากโรคหลอดเลือดสมอง ที่มีจำนวน 50,829 ราย เกิดความสูญเสียทางเศรษฐกิจ เป็นค่ายาปฏิชีวนะที่ใช้รักษาเชื้อดื้อยา มูลค่าประมาณ 2,539-6,084 ล้านบาท และค่าการเสียชีวิตก่อนวัยอันควร ปีละกว่า 40,000 ล้านบาท. - สำนักข่าวไทย
                                                                     

การรณรงค์แก้ไข

              ข้อเสนอขององค์การอนามัยโลก เสนอให้จัดตั้งเครือข่ายความร่วมมือเพื่อการเฝ้าระวังการดื้อยาปฏิชีวนะขึ้นในระดับโลก นอกเหนือจากการจัดทำมาตรฐานการใช้ยาปฏิชีวนะในปศุสัตว์ให้เป็นมาตรฐานเดียวกันทั่วโลกแล้ว ยังเรียกร้องให้มีการให้การศึกษาต่อสาธารณะให้ระมัดระวังในการใช้ยาปฏิชีวนะเพื่อป้องกันไม่ให้เชื้อเหล่านั้นดื่อยา  ที่สามารถปฏิบัติได้ง่าย แต่ไม่ค่อยมีการตระหนักถึงความสำคัญมากมายนัก อย่างเช่น การใช้ยาปฏิชีวนะตามแพทย์สั่งเท่านั้น การใช้ยาปฏิชีวนะให้ครบโดสตามคำสั่งของแพทย์อย่างเคร่งครัด และไม่ควรใช้ยาปฏิชีวนะเหลือใช้หรือร่วมกับผู้ป่วยราย อื่นๆ เป็นต้น

               ที่จริงยาปฎิชีวนะฆ่าแบคทีเรียแต่ไม่สามารถฆ่าไวรัสที่ทำให้เกิดไข้หวัด แพทย์มักสั่งจ่ายยานี้บ่อยเพื่อเอาใจความต้องการคนไข้ จึงทำให้เกิดการดื้อยา ศูนย์การควมคุมและป้องกันโรค สหรัฐอเมริการายงานว่า ประมาณร้อยละ ๕๐ใบสั่งยาปฎิชีวนะในสหรัฐสั่งออกเกินความจำเป็น  วิธีใหม่วิธีหนึ่งในการแก้ไขการใช้ยาปฎิชีวนะอย่างพร่ำเพรื่อก็คือให้ แพทย์ผู้ชำนาญการเขียนคำสัญญาไม่ใช้ยานี้โดยไม่จำเป็นมีการศึกษา พบว่า จะลดการออกใบสั่งยานี้ถึงหนึ่งในสามเมื่อเปรียบเทียบกับแพทย์ผู้ไม่ได้ให้คำสัญญานั้น

             ที่สหรัฐอเมริกามีการทำการศึกษาให้แพทย์เขียนคำมั่นสัญญาขนาดแผ่นโปสเตอร์ ว่าจะปฎิบัติตามกฎกติกาการออกใบสั่ง เขียนติดไว้ในห้องตรวจ ในคำประกาศยังบอกว่ายาปฎิชีวนะไม่สามารถแก้หวัดได้แต่จะเพิ่มอาการข้างเคียงและการดื้อต่อยามากขึ้น การกระทำดังนั้นสามารถลดการออกใบสั่งยาปฎิชีวนะพร่ำเพื่อได้หนึ่งในห้าส่วนจากเดิม  อย่างไรก็ตามการศึกษานี้ทำกันในกลุ่มแพทย์จำนวนน้อย ควรที่จะมีการวิจัยให้กระทำกันกับแพทย์จำนวนมาก และถ้าได้ผล ในทางทฤษฎ๊มันจะขจัดใบสั่งยาปฎิชีวนะแบบพร่ำเพรื่อ ๒.๖ล้านใบสั่งและประหยัดเงินค่ายาของชาติ(สหรัฐ)ได้ ๗๐.๔ล้านดอลลาร์   




เรียบเรียงและที่มาของข้อมูลจาก

๑ มติชน ฉบับวันที่ 5 พ.ค. 2557 (กรอบบ่าย)
๒ จาก Antibiotic Overkill;April 2014,Scientific Ameican
๓ สำนักข่าวไทย TNA News





บันทึกการเข้า

B l a c k B e a r : T h e D i a r y
คำค้น:
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน

Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.343 วินาที กับ 32 คำสั่ง

Google visited last this page 05 มิถุนายน 2567 15:26:35