.ข้อความต่อไปนี้ คัดจาก หนังสือ "ประวัติเจ้าประคุณ สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พฺรหฺมรํสี)"
ค้นคว้า รวบรวมและเรียบเรียง โดย พระมหาสมคิด ปิยวณฺโณ ป.ธ.๙ ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดระฆังโฆสิตาราม และครูใหญ่โรงเรียนพระปริยัติธรรม (พฺรหฺมรํสี)
วัดระฆังโฆสิตาราม จัดพิมพ์เผยแพร่และสงวนลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ (ยกเว้นพิมพ์เพื่อเป็นธรรมทาน)
จึงแจ้งมาเพื่อทราบโดยทั่วกัน - www.sookjai.com ปริศนาชาติกำเนิด และญาณวิเศษสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี)
หลวงพ่อโต ก่ออิฐถือปูน สูง ๓๒ เมตร วัดอินทรวิหาร กรุงเทพมหานคร
...จุลศักราช ๑๒๓๔ เป็นปีที่ ๕ ในรัชกาลที่ ๕ สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต)
ไปดูการก่อสร้างพระโตวัดบางขุนพรหมใน อาพาธด้วยโรคชรา ๑๕ วัน ก็ถึงมรณภาพบนศาลาใหญ่
เมื่อวันเสาร์ที่ ๒๒ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๑๕ (จุลศักราช ๑๒๓๔) แรม ๒ ค่ำ เดือน ๘ (ต้น) รศ. ๙๑
เวลา ๒๔.๐๐ น. สิริรวมชนมายุ ๙๖ ปีบริบูรณ์ ๗๕ พรรษา....
ภาพจาก : laksanathai.com คำบรรยายภาพ : หนังสือประวัติเจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พฺรหฺมรํสี)๑. อภินิหารสมเด็จฯ (โต พฺรหฺมรํสี)อภินิหารหนังสือประวัติสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) รวบรวมและเรียบเรียงโดยพระครูกัลยาณานุกูล กล่าวถึงดังนี้ “ท่านเจ้าประคุณสมเด็จฯ ท่านศึกษารอบรู้ชำนาญทั้งในด้านคันถธุระและวิปัสสนาธุระ (ข้อนี้เป็นจุดเด่นของท่านอันหนึ่ง ด้วยปรากฏว่ามีผู้ชำนาญเฉพาะแต่คันถธุระหรือวิปัสสนาธุระอย่างใดอย่างหนึ่ง ที่เชี่ยวชาญทั้ง ๒ ธุระนั้นหาได้ยากยิ่ง) และท่านเป็นนักเสียสละ เมื่อได้ลาภสักการะมาในทางใดๆ ท่านก็ใช้จ่ายไปในการสร้างสิ่งสาธารณกุศลต่างๆ ดังมีปูชนียวัตถุสถานปรากฏเป็นหลักฐานอยู่
นอกจากนี้ท่านเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยศีลาจารวัตรอันดีงาม ควรแก่การเคารพบูชาของสาธุชนทั่วไป นับว่าท่านได้บำเพ็ญบารมีธรรมเต็มเปี่ยม ดังบาลีว่า กตํ กรณียํ (บำเพ็ญบารมีสมบูรณ์แล้ว) และเพราะเหตุนี้ท่านจึงทรงอภินิหาร เป็นวิสามัญบุคคลผู้หาเสมอเหมือนได้โดยยาก เจ้าประคุณสมเด็จฯ ท่านประพฤติปฏิบัติแปลกๆ ซึ่งพระองค์อื่นไม่ทำหรือทำไม่ได้ แทนที่จะถูกตำหนิกล่าวโทษ ท่านกลับได้รับความนิยมนับถือยิ่งขึ้น แม้พระเจ้าแผ่นดินซึ่งเป็นสมมติเทวดาก็ยังโปรดถึงพระราชทานอภัยเสมอ
จะกล่าวถึงเรื่องอภินิหารเจ้าประคุณสมเด็จฯ ต่อไป เจ้าประคุณสมเด็จฯ ท่านทรงเกียรติคุณหลายอย่าง ว่าเฉพาะทางกฤตยาคม ว่ากันว่าน้ำมนต์เครื่องวิทยาคมของท่านมีคุณานุภาพศักดิ์สิทธิ์ คือใช้แก้เหตุขัดข้องนานาประการ แก้โรคต่างๆ คุ้มกันสรรพภัย ค้าขายดี ทางเมตตามหานิยมก็ว่าดีนัก และว่าท่านทรงคุณวิเศษถึงสามารถทำสิ่งซึ่งเหลือวิสัยมนุษย์สามัญให้สำเร็จได้ อาทิเช่น ทำให้คลื่นลมสงบ ห้ามฝน ย่นทาง ฯลฯ ดังจะยกมาสาธกเป็นอุทาหรณ์ดังต่อไปนี้ผจญทะเลบ้าครั้งหนึ่ง สมโภชพระราชวังบนเขามไหศวรรย์ เมืองเพชรบุรี สังฆการีวางฎีกา ท่านไปเรือญวน ๔ แจว ออกทางปากน้ำบ้านแหลม เวลานั้นทะเลเป็นบ้า คลื่นลมจัดมากชาวบ้านในอ่าวบ้านแหลมช่วยกันร้องห้ามว่า “เจ้าประคุณอย่าออกไปจะล่มตาย” ท่านตอบว่า “ไปจ๊ะ ไปจ๊ะ”
ท่านออกยืนหน้าเก๋งเอาพัชนีใบตาลโบกแหวกลมหน้าเรือลูกคลื่นโตกว่าเรือท่านมากบังเรือมิด แต่ทางหน้าเรือคลื่นไม่มี ลมก็แหวกทางเท่ากับแจวในลำท้องร่องน้ำเรียบ แต่น้ำข้างๆ กระเซ็นบ้าง เพราะคลื่นข้างเรือทั้งสองโตเป็นตลิ่งทีเดียว
พระธรรมถาวรเล่าว่า เวลานั้นท่านเป็นพระครูปลัดไปกับท่าน ได้เห็นน่าอัศจรรย์ ใจท่านหายๆ ดูไม่รู้ว่าจะคิดเกาะเกี่ยวอะไร สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) ท่านยืนโบกพัดเฉย คนก็แจวเฉยเป็นปกติ จนเข้าปากน้ำเมืองเพชร ท่านจึงเข้าเก๋งเอนกาย ชาวปากอ่าวเมืองเพชรเกรงบารมีสมเด็จฯ ท่านมาก ยกมือท่วมหัว สรรเสริญคุณสมบัติของสมเด็จฯ ตลอดจนเจ้าขุนนางที่ตามเสด็จคราวนั้นว่า เจ้าพระคุณสำคัญมารก แจวฝ่าคลื่นลมกลางทะเลมาได้ตลอดปลอดโปร่งปราศจากอุทกอันตรายฝ่าคลื่นลมคราวหนึ่ง เจ้าประคุณสมเด็จฯ มีกิจไปทางจังหวัดพระนครศรีอยุธยาโดยเรือแจว เมื่อไปถึงบ้านลานเท (ตำบลบางไทร อำเภอบางไทร) เผอิญเกิดมีคลื่นลมจัด ท่านได้ล้วงหยิบเทียนเล่ม ๑ จากย่าม จุดเทียนนั้นแล้วติดกับปากโอ (ภาชนะเครื่องสานอย่างหนึ่งสำหรับใส่ของ รูปคล้ายขัน) วางลอยน้ำไป ว่าคลื่นลมก็พลันสงบลงทันที (เรื่องนี้เจ้าคุณพระราชธรรมภาณี วัดระฆังฯ เล่าห้ามฝนคราวหนึ่ง มีการก่อพระเจดีย์ทรายที่วัดระฆังฯ ประจวบกับวันนั้นมีเมฆฝนตั้งมืดครึ้ม คนทั้งหลายเกรงฝนจะตกจึงไปกราบเรียนปรารภกับเจ้าประคุณสมเด็จฯ ท่านได้กล่าวพร้อมกับโบกมือว่า “ตกที่อื่นๆ” ว่ากันว่า น่าประหลาดนักที่ในวันนั้น ปรากฏว่าฝนไปตกที่อื่น หาได้ตกในที่ตำบลศิริราชไม่ย่นทางคราวหนึ่ง มีผู้นิมนต์เจ้าประคุณสมเด็จฯ ไปในงานพิธีมงคลโกนจุกที่จังหวัดอ่างทอง ท่านได้เริ่มออกเดินทางก่อนถึงกำหนดเวลาเพียง ๓ ชั่วโมง มีคนสงสัยกันว่า จะไปทันเวลากำหนดได้อย่างไร ถึงกับได้สอบถามไปยังเจ้าภาพในภายหลังต่อมา ก็ได้รับคำตอบว่าท่านไปทันเวลาตามที่กำหนดในฎีกาไม่คลาดเคลื่อน (ว่ากันว่าวิชานี้ท่านศึกษาต่อ]พระอาจารย์แสง ที่จังหวัดลพบุรี)...
(*
ข้อมูล "เจ้าขรัวแสง" วัดมณีชลขัณฑ์พระอาจารย์ของสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) สนใจกดอ่านที่ลิงค์นี้
http://www.sookjai.com/index.php?topic=46250.0)
ขันจมงมที่หน้าวัดคราวหนึ่ง เจ้าประคุณสมเด็จฯ ไปธุระที่จังหวัดนนทบุรีโดยเรือแจว ขากลับพอมาถึงปากคลองสามเสน เด็กศิษย์คนหนึ่งเอาขันออกไปตักน้ำ จะเนื่องด้วยเหตุใดไม่ปรากฏ ขันนั้นได้พลัดหลุดมือจมลงไปในแม่น้ำ ท่านพูดว่า “งมที่นี่ไม่ได้ เพราะน้ำลึก ต้องไปงมที่หน้าวัดระฆังฯ จึงจะได้” เมื่อถึงวัดระฆังฯ ท่านให้ศิษย์นั้นลงไปงมที่หน้าวัดก็ได้ขันสมจริงดังที่ท่านบอกไปค้นหาใหม่กล่าวกันว่า ตามปกติเจ้าประคุณสมเด็จฯ ไม่มีเงินทองติดตัวเพราะท่านใช้จ่ายก่อสร้างวัดวาอารามและบริจาคทานเป็นนิจ แต่น่าประหลาดที่ท่านจะสร้างอะไร ก็สร้างสำเร็จตามประสงค์ทุกครั้ง มีผู้พยายามสังเกตกันหนักหนาแล้ว แต่ไม่ทราบว่าท่านเอาเงินมาแต่ไหน พระเทพราชแสนยาว่า ครั้งหนึ่ง จีนช่างปูนไปขอเบิกค่าจ้างก่อสร้างจากเจ้าประคุณสมเด็จฯ ๑ ชั่ง (๘๐ บาท) ท่านบอกให้หลวงวิชิตตรณชัยหลานชายไปเอาเงินที่ใต้ที่นอนของท่าน หลวงวิชิตฯ กลับมากราบเรียนท่านว่า ได้ไปค้นหาดูแล้วไม่เห็นมีเงินอยู่เลย ท่านบอกให้ไปค้นหาใหม่ ก็ได้เงิน ๑ ชั่ง เรื่องนี้หลวงวิชิตฯ ว่าน่าอัศจรรย์นักหนาพูดได้กับนกกาสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) ตั้งแต่ได้รับพระราชทานพระบรมราชานุญาตปลดชรายกเป็นสมเด็จพระราชคณะกิตติมศักดิ์แล้ว ท่านก็คลายอิสริยศ บริวารยศ แบกตาลปัตรเอง พายเรือบิณฑบาตเองจนเป็นที่คุ้นเคยกันกับอีกา กาจับบ่ากินอาหารกับท่าน จนท่านพูดกับกาที่ประตูอนงคลีลา (ประตูดิน) กาตัวหนึ่งบอกว่าจะไปวัดมหาธาตุฯ กาตัวหนึ่งจะไปท่าเตียน สมเด็จฯ ว่า “ไปท่าเตียนดีกว่าไปวัดมหาธาตุฯ เพราะคนเขาทิ้งหัวกุ้งหัวปลาหมักหมมไว้มาก ที่วัดมหาธาตุฯ ถึงมีโรงครัวก็จริง แต่ว่าคนเขาขนเก็บกวาดเสียหมดแล้วจ๊ะ”เทียนสู้ลมครั้นเป็นสมเด็จพระพุฒาจารย์แล้ว ท่านก็ยังเป็นตลกมากขึ้น ความไหวพริบในราชการเจนจัดขึ้นยิ่งกว่าเป็นพระเทพกวี ดูเหมือนคอยแนะนำเป็นปุโรหิตอ้อมๆ
ครั้งหนึ่งไปสวดมนต์ที่วังกรมเทวาฯ วังเหนือวัดระฆังฯ พอพายเรือไปถึงท้ายวัง เกิดพายุใหญ่ฝนตกห่าใหญ่ เม็ดฝนโตๆ คลื่นก็จัดละลอกก็แรง สมเด็จฯ เอาโอต้นเถามาใบหนึ่ง จุดเทียนติดปากโอแล้วลอยลงไปบอกพระให้คอยดูด้วยว่า เทียนจะดับเมื่อใด พระธรรมถาวรเล่าว่า เวลานั้นท่านเป็นที่พระครูสังฆวิชัย ได้เป็นผู้ตั้งตาคอยดูตาม แลเห็นเป็นแต่โอโคลงไปโคลงมาเทียนก็ติดลุกแวบวาบไปจนสุดสายตา เลยหน้าวัดระฆังฯ ก็ยังไม่ดับฉันนิยมคนจนพระอาจารย์ขวัญ วิสิฏโฐ เล่าว่า มีหญิงคนหนึ่งชื่อจัน ภูมิลำเนาเดิมอยู่จังหวัดอ่างทอง คุ้นเคยสนิทสนมกับเจ้าประคุณสมเด็จฯ แต่ยังเยาว์วัย ต่อมานางจันได้ย้ายมาประกอบอาชีพตั้งร้านค้าอยู่ทางแขวงจังหวัดนนทบุรี ภายหลังยากจนลงเพราะการค้าขาดทุน นางจันได้ยินกิตติศัพท์เลื่องลือคุณวิเศษของเจ้าประคุณสมเด็จฯ วันหนึ่งจึงเข้าไปหาท่าน สนทนากันในตอนหนึ่ง นางจันกราบเรียนว่า เวลานี้ดิฉันยากจนมาก เจ้าประคุณสมเด็จฯ ว่า “มาที่นี่ไม่จนหรอกแม่จัน” แล้วท่านก็หยิบพระประจำวันให้นางจันองค์หนึ่ง (จะเป็นพระประจำวันอะไรหาทราบไม่) บอกให้อาราธนาทำน้ำมนต์อธิษฐานความปรารถนาและว่า “ถ้าแม่จันรวยแล้วอย่ามาหาฉันอีกนะจ๊ะ” นางจันกราบเรียนถามว่า “เป็นไงล่ะเจ้าค่ะ “ ท่านตอบว่า “ฉันไม่ชอบคนรวย ฉันชอบคนจนจ๊ะ” นางจันได้พระมาแล้วทำตามที่ท่านบอก แต่นั้นมาการค้าก็เจริญขึ้นโดยลำดับ ที่สุดนางจันก็ตั้งตัวได้เป็นหลักฐานผู้หนึ่งในถิ่นนั้น นางจันมีอายุอ่อนกว่าเจ้าประคุณสมเด็จฯ เรียกเจ้าประคุณสมเด็จฯ ว่า “หลวงพี่” มีคนถามนางจันว่า “รวยแล้วทำไมไม่ไปหาสมเด็จฯ อีกเล่า” นางจันตอบว่า “เพราะหลวงพี่โตบอกว่า ถ้ารวยห้ามไม่ให้ไปหา หลวงพี่โตนี่แหละศักดิ์สิทธิ์นัก พูดคำไหนต้องเป็นคำนั้น”๒. อภินิหารพระสมเด็จ (วัตถุมงคล)ส่วนพระพิมพ์ของเจ้าประคุณสมเด็จฯ หรือที่เรียกกันตามสะดวกปากว่า “พระสมเด็จ” นั้น ได้กล่าวมาแล้ว่า เจ้าประคุณสมเด็จฯ ได้สร้างขึ้นไว้ด้วยมุ่งหมายจะให้เป็นการสืบต่ออายุพระศาสนาเป็นข้อสำคัญ แต่น่าประหลาดอยู่ ที่คนทั้งหลายต่างนับถือพระสมเด็จเป็นเครื่องรางที่ทรงคุณานุภาพเป็นอย่างวิเศษ ว่าในบรรดาพระเครื่องรางพระสมเด็จเด่นอยู่ในความนิยมของสังคมในทุกยุคทุกสมัย และว่าจะหาซื้อได้ด้วยเงินตราในราคาแพงมาก อันเรื่องเกี่ยวกับอภินิหารของพระสมเด็จนั้นได้ฟังเล่ากันมากมายหลายเรื่องจะเขียนลงไว้แต่เฉพาะ ดังต่อไปนี้
กล่าวกันว่า ภายหลังเจ้าประคุณสมเด็จฯ ถึงมรณภาพ พระสมเด็จที่ใส่บาตรสัดและกระบุง ตั้งไว้ที่หอสวดมนต์นั้น ได้ขนย้ายเอาไปไว้ในพระวิหารวัดระฆังฯ (ว่าเอาไว้บนเพดานพระวิหารก็มี) โดยมิได้มีการพิทักษ์รักษากันอย่างไร เป็นต้นว่าประตูพระวิหารก็มิได้ใส่กุญแจแคล้วคลาดในปีหนึ่งเป็นเทศกาลสงกรานต์มีทหารเรือหลายคนมาเล่นการพนันที่หน้าวัด เช่น หยอดหลุม ทอยกอง เป็นต้น จะเนื่องด้วยเหตุใดไม่ปรากฏ ทหารเรือเหล่านั้นได้เกิดวิวาทชกต่อยตีรันกันเป็นโกลาหล ทหารเรือคนหนึ่งได้เข้าไปเอาพระสมเด็จในพระวิหารมาอมไว้องค์ ๑ แล้วกลับมาชกต่อยตีรันประหัตประหารกันต่อไป ที่สุดปรากฏว่า ทหารเรือคนนั้นไม่ได้รับบาดเจ็บแต่อย่างใด แม้รอยช้ำก็ไม่มี ส่วนทหารเรือคนอื่นๆ ต่างได้รับบาดเจ็บที่ร่างกายมีบาดแผลมากบ้างน้อยบ้างทุกคนไม่บาดเจ็บนายเปลื้อง แจ่มใส พูดว่า เมื่อครั้งรับราชการในกรมรถไฟ แผนกช่างเวลานั้นอายุราว๒๕ ปี คราวหนึ่งได้ขึ้นไปตรวจทางรถไฟสายเหนือเพิ่งสร้างเสร็จ ขณะยืนตรวจการอยู่ข้างท้ายรถ ถึงที่แห่งหนึ่ง (ตำบลบ้านแม่ปิน จังหวัดแพร่) รถแล่นเข้าทางโค้ง เพราะความประมาทจึงพลัดตกจากรถลงไปนอนอยู่ข้างทาง (ว่าเวลาตกรู้สึกตัวเบามาก) แต่ไม่ได้รับบาดเจ็บอย่างใด เป็นเพียงเท้าขัดยอกบ้างเล็กน้อยเท่านั้น นายเปลื้องว่าที่ตัวไม่มีอะไร นอกจากพระสมเด็จ จึงเชื่อมั่นว่าที่ไม่เป็นอันตรายเป็นเพราะอานุภาพพระสมเด็จแน่นอน พระสมเด็จนั้นมีกิตติศัพท์เลื่องลือกันแพร่หลายสืบมาบ่อน้ำมนต์สมเด็จฯยังมีของขลังอย่างหนึ่งที่ท่านเจ้าประคุณสมเด็จฯ ได้ทำไว้ที่วัดระฆังฯ คือท่านได้ปลุกเสกลงเลขยันต์ศิลาไว้ ๓ ก้อน ก้อน ๑ อยู่ในสระหลังวัด (สระนี้ตื้นเขินนานแล้ว) ก้อน ๑ อยู่ในแม่น้ำตรงหน้าวัด (ห่างเขื่อนราว ๒ วา ประมาณว่าอยู่ตรงโป๊ะท่าเรือ) ก้อน ๑ อยู่ที่สระกลางวัด ว่าน้ำในที่ทั้ง ๓ นั้นมีประสิทธิผลต่างกัน คือน้ำที่สระหลังวัดอยู่ยงคงกระพันชาตรี น้ำที่สระกลางวัดทางเมตตามหานิยม น้ำที่สระหน้าวัดทำให้เสียงไพเราะ (เหมาะกับนักร้อง) เมื่อจะตักน้ำที่หน้าวัดนั้น ให้ตักตามน้ำ (ห้ามตักทวนน้ำ) ถ้าน้ำนิ่งให้ตักตรงหน้าไปขจัดทุกข์โศก-นำโชคชัยตามปกติมีประชาชนนิยมน้ำมนต์ของท่านมาก มีผู้มาขอไม้เว้นแต่ละวัน น้ำมนต์ของท่านเมื่ออธิษฐานแล้วใช้ได้ตามความปรารถนา เป็นมหานิยมดีด้วย เวลาที่จะไปหาผู้ใด ผู้นั้นก็เมตตากรุณา ก่อนที่จะใช้น้ำมนต์ของท่านให้ได้สมความปรารถนา ควรจะทราบวิธีใช้ด้วยคือ เมื่อผู้ใดจะเอาน้ำมนต์ของหลวงพ่อไปใช้ควรหาเครื่องสักการบูชา เช่น ธูปเทียนดอกไม้บูชาเสียก่อนแล้วตั้งจิตให้แน่วแน่น้อมระลึกถึงองค์หลวงพ่อโต ตลอดจนสมเด็จฯ (โต) ผู้สร้าง ให้ช่วยตามความปรารถนาแล้วนำน้ำมนต์ไปใช้ดื่มและอาบตามความประสงค์ ดังนั้น จะประสบแต่โชคชัย เคราะห์ร้ายก็อาจจะกลับกลายเป็นดีได้ ด้วยประการฉะนี้ทำให้โรคหายอีกเรื่องหนึ่งเล่าว่า คราวหนึ่งมีชายคนหนึ่งอยู่บ้านตำบลไชโย จังหวัดอ่างทอง ป่วยเป็นโรคอหิวาต์ คืนวันหนึ่งฝันว่า เจ้าประคุณสมเด็จฯ มาบอกว่า “ยังไม่ตาย ให้ไปเอาพระสมเด็จฯ ที่บนเพดานพระวัดระฆังฯ มาทำน้ำมนต์กินเถิด พวกญาติได้พยายามแจวเรือกันมาเอาพระสมเด็จไปอธิษฐานทำน้ำมนต์กินก็หายจากโรคภัยนั้น ทั้ง ๒ เรื่องที่กล่าวมานี้ ว่าเป็นมูลให้เกิดคำเล่าลือถึงอภินิหารพระสมเด็จเป็นปฐม
อภินิหารของเจ้าประคุณสมเด็จฯ นับถือกันสืบมา จนเมื่อท่านถึงมรณภาพแล้ว ดังปรากฏว่ามีผู้คนไปนมัสการบนบานปิดทองรูปหล่อของท่านอยู่เนืองๆ เล่ากันว่าเพียงแต่ตั้งจิตระลึกถึงท่านก็ยังให้เกิดประสิทธิผลอย่างน่ามหัศจรรย์ดังจะยกมาอ้างเป็นอุทาหรณ์หลวงพ่อช่วยด้วยครั้งหนึ่ง เจ้าคุณราชธรรมภาณี (ลมูล สุตาคโม) วัดระฆังฯ นักเทศน์นามอุโฆษ เมื่อยังเป็นเปรียญได้ไปเทศน์ที่วัดโคกกุ่ม หลังสถานีบ้านหมอ แขวงจังหวัดสระบุรี กลับไม่ทันรถไฟ ต้องเดินมาลงเรือเมล์โดยสารที่ท่าเรือ พอย่างเข้าชานสถานีท่าเรือ มีชายคนหนึ่งในเครื่องแต่งกายชุดดำเดินออกจากที่กำบังตรงเข้ามาขวางทาง (สังเกตไม่ได้ว่าจะมีอาวุธหรือไม่เพราะเป็นเวลามืดค่ำ) ถามว่า “ท่านจะไปไหน?” ตอบว่า “จะไปหาสมภารวัดหนองแห้ว” (ซึ่งอยู่ติดต่อกับเขตสถานี) ถามอีกว่า “ไปทำไม?” ตอบว่า “เพราะรู้จักคุ้นเคยกัน” ทันใดนั้น ท่านได้ระลึกถึงท่านเจ้าประคุณสมเด็จฯ ขอให้ช่วยคุ้มกันภัย ท่านว่าแล้ว ชายคนนั้นก็ออกเดินหลีกทางไปโดยมิได้พูดอะไร
อีกคราวหนึ่ง (ราว พ.ศ. ๒๔๘๕) ท่านไปเทศน์ที่วัดอินทาราม (ต.ทางช้าง อ.บางบาล) จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ให้เรือจ้างลงที่แพหน้าวัดสุวรรณเจดีย์ (ต.หัวเวียง อ.เสนา ห่างวัดอินทารามราว ๒ ก.ม.) ด้วยหมายจะขึ้นไปพักที่วัดนั้นก่อน แต่ขึ้นวัดไม่ได้เพราะน้ำท่วม เวลานั้นดึกมากผู้คนนอนหลับกันหมดแล้วทั้งฝนก็ตกพรำๆ ท่านมิรู้ที่จะทำอย่างไรเลยนั่งพักอยู่บนตุ่มปูนที่ข้างแพนั้น สักครู่มีชาย ๒ คนพายเรือทวนน้ำขึ้นไปทางเหนือ ท่านจึงเอาไฟฉายส่องที่ตัวท่านเพื่อให้รู้ว่าเป็นพระพร้อมกับร้องบอกให้ช่วยรับส่งขึ้นที่วัด ชายสองคนนั้นจะได้ยินหรือไม่ไม่ทราบ แต่หาได้นำพาต่อคำขอร้องของท่านไม่ คงเร่งรีบพายเรือกันต่อไป ท่านจึงตั้งจิตระลึกถึงเจ้าประคุณสมเด็จว่า “เวลานี้ลูกกำลังลำบาก ขอให้หลวงพ่อช่วยลูกด้วย” ท่านว่า น่าประหลาดนักที่ต่อมาสัก ๔-๕ นาที ชาย ๒ คนนั้น ได้พายเรือกลับมารับท่านส่งขึ้นวัดสุวรรณเจดีย์ตามประสงค์สมเด็จฯ (โต) ถึงจะห้ามได้พระอาจารย์ขวัญ วิสิฏฺโฐ เล่าเรื่องหนึ่งว่า คราวหนึ่งมีงานฉลองสุพรรณบัฏสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ม.ร.ว.เจริญ อิศรางกูร ณ อยุธยา) ที่วัดระฆังฯ ในลานนั้นมีพระอาจารย์มาประชุมกันหลายรูป พอตกบ่ายฝนตั้งเค้ามืดครึ้ม เสมียนตราเหมือน บ้านหลังตลาด บ้านขมิ้น จังหวัดธนบุรี ผู้ที่มีความเคารพนับถือในองค์เจ้าประคุณสมเด็จฯ มาก ได้กล่าวขึ้นในที่ประชุมว่า ท่านผู้ใดสามารถห้ามไม่ให้ฝนตกได้ ที่ประชุมต่างนิ่งไม่มีใครว่าขานอย่างไร
เสมียนตราเหมือนกล่าวต่อไปว่า “สมเด็จฯ โต ถึงจะห้ามฝนได้” ดังนี้แล้วผินหน้าไปทางรูปหล่อเจ้าประคุณสมเด็จฯ (รูปหล่อเจ้าประคุณสมเด็จฯ นั้น ปัจจุบันประดิษฐาน ณ วิหารหน้าพระอุโบสถวัดระฆัง) จุดธูปเทียนบูชาสักการะตั้งสัตยาธิษฐานขออย่าให้ฝนตกที่วัด ว่าวันนั้นฝนตกเพียงแค่โรงหล่อหาตกถึงที่วัดระฆังฯ ไม่ คนทั้งหลายต่างเห็นเป็นอัศจรรย์ยิ่งนัก หามเขาดีๆครั้งหนึ่ง ท่านตั้งขรัวตาขุนเณรเป็นพระวัดชีประขาวเป็นที่พระอุปัชฌาย์ เมื่อแห่จากวัดมาวัดไชโยแล้ว นั่งพร้อมกันบนอาสน์สงฆ์ สมเด็จฯ โต อุ้มไตรเข้าไปกระแทกลงที่ตักขรัวตาขุนเณรแล้วออกวาจาว่า ฉันให้ท่านเป็นอุปัชฌาย์หนาจ๋า พระอื่นๆ ก็เสกชยันโตโพธิยา ขรัวตาทอง วัดเกตุไชโยเล่าว่า ท่านได้ทันเห็นสมเด็จฯ ฝังตุ่มใหญ่ไว้เหนือพระโตแล้วเอาเงินใส่ไว้ ๑ บาท เอากระเบื้องหน้าวัดปิดหลุมไว้ ครั้งหนึ่ง ท่านขึ้นไปตรวจงานที่วัดเกตุไชโย ท่านป่าวร้องชาวบ้านมาช่วยกันทำบุญเลี้ยงพระบนศาลาท่านแจกทานของท่านคนละเหรียญฬศ ๑ ในรัชกาลที่ ๔ กับผ้าขาวคนละฝ่ามือจนทั่วกันหมดทุกคน ครั้นตอนสุดที่พระแล้วท่านขึ้นไปที่วัดเกตุไชโย สัปบุรุษเอาแคร่คานหามลงไปรับท่าน ครั้นท่านนั่งบนแคร่แล้ว สองมือเหนี่ยวแคร่ไว้แน่น ปากก็ว่าไปไม่หยุดว่า หามเขาดีๆ จ๊ะ อย่าให้เขาตกหนาจ๋า เขาเป็นของหลวงหนาจ๋าอย่าอวดกล้ากับผี อย่าอวดดีกับตายสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) ท่านทำอะไรแปลกๆ ทำขันๆ พูดแปลกหู แต่พูดแล้วทำแล้วไม่ซ้ำแบบใคร เป็นไปได้ปรากฏทันตาเห็น ทันหูได้ยิน แจ๋วๆ แว่วๆ อยู่จนทุกวันนี้ เมื่อการสร้างพระเสร็จถวายเป็นวัดหลวงแล้ว ทรงรับเข้าทะเบียนแล้ว ท่านอยู่ในกรุงเทพฯ ก็ไม่มีเวลาว่างเปล่าสักวันเดียว มีผู้คนไปมาหาสู่ไม่ขาดสาย จนท่านต้องนำปัสสาวะสาดกุฏิบ้าง เอาทาหัวบ้างจนหัวเหลือง ต้องมาพักผ่อนอารมณ์ในป่าช้าผีดิบ วัดสระเกศที่สำราญของท่านมาก จนพวกวัดสระเกศหล่อรูปท่านไว้ ปรากฏจนทุกวันนี้
กุฏิเก่าเขาสร้างถวายท่านหลังหนึ่ง ท่านเขียนภาษิตไว้ในกุฏินี้บทหนึ่งยาวมาก จำได้บ้าง ๒ วรรค ท่านว่า “อย่าอวดกล้ากับผี อย่าอวดดีกับตาย” บางวันก็ไปผ่อนอารมณ์อยู่ในวัดบางขุนพรหม มีคนแถบนี้นิยมนับถือท่านมาก บางรายถวายที่สวนเข้าเป็นที่วัดก็มากเต็มไปทั้ง ๔ ทิศ ทางตะวันตกถึงแม่น้ำ ซึ่งเป็นวัดทั้ง ๒ อยู่ในบัดนี้ ฝั่งเหนือจดคลอง ตะวันออกก็เป็นพรมแดนกับบ้านพาน บ้านหล่อพระนคร เป็นวัดกลางสวน ท่านจึงสร้างพระ คิดจะสร้างพระปางโปรดยักษ์ตนหนึ่งในป่าไม้ตะเคียน ท่านคิดจะทำพระนั่งบนตอไม้ตะเคียนใหญ่ ท่านจึงเตรียมอิฐ ปูน ทราย ช่างก่อ แต่เป็นการไม่เร่ง ท่านก่อตอไม้ขึ้นก่อนแล้วก่อขาเป็นพระลำดับขึ้นไปพระพุทธบาทลพบุรีของแท้หรือพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯ ขึ้นเถลิงถวัลยราชสืบสันตติวงศ์แล้ว สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) จึงทำพิมพ์ ๕ ชั้น ๗ ชั้น ๙ ชั้น ขึ้นอีก ตั้งใจว่าจะถวายพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯ พิมพ์แล้วครั้งก่อนไปแอบบรรจุไว้ในพระเกตุไชโยหมด แล้วพิมพ์พระ ๕ ชั้น ๗ ชั้น ๙ ชั้น รวมกันให้ได้ ๘๔,๐๐๐ เท่ากับพระธรรมขันธ์ ที่กำลังพิมพ์อยู่ วิธีทำเช่นครั้งก่อน แปลกแต่เสกข้าวในบาตรใส่ด้วย จานหนังสือใส่บาตรไปด้วย ไปบิณฑบาตก็จานหนังสือไปด้วย แล้วนำผลลงตัวเขียนยันต์ ตำปูนเพชรไปทุกวันๆ กลางวันไปก่อเท้าพระ วัดบางขุนพรหม เจริญทิวาวิหารธรรมด้วย ดูช่างเขียนออกแบบกะส่วนให้ช่างเขียนๆ ประวัติของท่านที่ผ่านมาขึ้นตั้งแต่ต้นจนจบ ตลอดจนท่านไปนมัสการพระพุทธบาทตามฤดูเสมอ คราวหนึ่งทูลกระหม่อมพระ คือ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯ ยังทรงผนวชอยู่วัดสมอราย (วัดราชาธิราช) ได้ทรงซักถามพระมหาโตว่า ท่านเชื่อพระพุทธบาทลพบุรีเป็นของแท้หรือ พระมหาโตทูลว่า เป็นเจดีย์ที่น่าประหลาดเป็นที่ไม่ขาดสักการะ สิ้นสนุกครั้นถึงปีมะโรง สัมฤทธิศก จุลศักราช ๑๒๓๐ พ.ศ. ๒๔๑๑ ณ วันพฤหัสบดี เดือน ๑๑ ขึ้น ๑๕ ค่ำ เวลายามกับ ๑ บาทนาฬิกา สมเด็จปรเมนทรมหามงกุฎ พระจอมเกล้าฯ เสด็จสวรรคต พระชนมายุได้ ๖๔ พรรษา เถลิงถวัลยราชได้ ๑๗ ปี ๖ เดือน กับ ๑๔ วัน เวลานั้นอายุเจ้าประคุณสมเด็จฯ ได้ ๙๒ ปี เป็นสมเด็จฯ มาได้ ๓ ปีเศษ
ครั้นเมื่อเจ้าประคุณสมเด็จฯ ทราบแน่ว่า พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯ สวรรคตแล้ว ท่านเดินร้องไห้รอบวัด เดินบ่นไปด้วยร้องไห้ไปด้วยว่า สิ้นสนุกแล้วๆ ครั้งนี้ๆ สิ้นสนุกแล้ว เดินร้องไห้โฮๆ รอบวัดระฆังฯ ดังจนใครๆ ได้ยินมรณภาพครั้นถึง ณ วันเดือน ๕ ปีวอก จัตวาศก เป็นปีที่ ๕ ในรัชกาลที่ ๕ กรุงเทพมหานคร สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) ไปดูการก่อสร้างพระโต วัดบางขุนพรหมใน อาพาธด้วยโรคชรา ๑๕ วัน ก็ถึงมรณภาพบนศาลาใหญ่ เมื่อวันเสาร์ที่ ๒๒ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๑๕ (จุลศักราช ๑๒๓๔) แรม ๒ ค่ำ เดือน ๘ (ต้น) รศ. ๙๑ เวลา ๒๔.๐๐ น. สิริรวมชนมายุ ๙๖ ปีบริบูรณ์ ๗๕ พรรษา เป็นเจ้าอาวาสวัดระฆังโฆสิตารามมาได้ ๒๑ ปี รับตำแหน่งที่ สมเด็จพระพุฒาจารย์ได้ ๘ ปี ท่านได้รับพระราชน้ำสรงศพ ไตรครอง ผ้าขาวเย็บถุง โกศ กลองชนะ อภิรมย์ สนมซ้าย ฝีพาย เรือตั้งบรรทุกศพ
เมื่อเจ้านาย ขุนนาง อุบาสก อุบาสิกา ประชาชนชาวบ้านบางขุนพรหมและปวงพระสงฆ์ สรงน้ำเจ้าประคุณสมเด็จฯ แล้ว สนมก็มัดตราสังศพบรรจุในโกศไม้ ๑๒ เสร็จแล้วก็ยกลงมาที่ท่าริมแม่น้ำเจ้าพระยา ฝีพายหลวงพายลงมาตามลำแม่น้ำ เรือตามก็ตามลายแม่น้ำส่งศพกระทั่งถึงท่าวัดระฆังฯ สนามเชิญโกศศพขึ้นบนกุฏิเจ้าประคุณสมเด็จ อยู่แถบข้างท้ายวัดริมคลองคูวัดระฆังฯ แล้วตั้งศพบนฐานเบ็ญจาสองชั้นมีอภิรมย์ ๖ คน มีกลองชนะ ๒๓ จ่าปี่ จ่ากลองพร้อม มีพระสวดพระอภิธรรม มีเลี้ยงพระ ๓ วัน เป็นของหลวง
** เรื่องเกี่ยวกับการพระราชทานเพลิงศพเจ้าประคุณสมเด็จฯ ยังค้นไม่พบจดหมายเหตุ ได้ฟังแต่คำบอกเล่าว่า พระราชทานเพลิงศพที่เมรุปูนวัดอรุณราชวราราม และว่าสมเด็จพระพุทธเจ้าหลวงได้เสด็จไปพระราชทานเพลิง พอเสด็จถึงท่าราชวรดิษฐ์ ฝนตกหนัก จึงโปรดฯ ให้สมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมพระยาบำราบปรปักษ์ แต่ครั้งยังดำรงพระยศเป็นกรมขุนเสด็จแทนพระองค์ข้อมูล (รวบรวมและเรียบเรียง) จาก : -
๑. หนังสือ อักขรานุกรมประวัติศาสตร์ไทย (โต, สมเด็จพระพุฒาจารย์-บุคคล), กรมศิลปากร จัดพิมพ์เผยแพร่เมื่อปีพุทธศักราช ๒๕๓๘
๒. หนังสือ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวกับงานพระพุทธศาสนา, กรมการศาสนา กระทรวงวัฒนธรรม จัดพิมพ์เผยแพร่เมื่อปีพุทธศักราช ๒๕๔๗
๓. หนังสือ "ประวัติเจ้าประคุณ สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พฺรหฺมรํสี) จัดพิมพ์โดยวัดระฆังโฆสิตาราม เมื่อปีพุทธศักราช ๒๕๕๑
๔. หนังสือ ๔ ยอดอริยะ ๔ ภาค โดย เวทย์ วรวิทย์, สำนักพิมพ์ร่มฟ้าสยาม, กาญจบุรี