[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
22 ธันวาคม 2567 15:40:45 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: ดอยอ่างขาง อ.ฝาง จ.เชียงใหม่ - หลากพันธุ์ไม้สวยงามและสัมผัสวิถีสงบสุขของชนเผ่า  (อ่าน 9625 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออนไลน์ ออนไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5799


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 9.0 MS Internet Explorer 9.0


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« เมื่อ: 01 สิงหาคม 2557 15:01:08 »

.



ชมพันธุ์ไม้สวยงาม ที่สถานีเกษตรหลวงอ่างขาง
อำเภอฝาง  จังหวัดเชียงใหม่
และสัมผัสวิถีชีวิตที่สงบสุขของชนเผ่าพื้นเมือง
 
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พร้อมด้วยสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ ได้เสด็จพระราชดำเนินเยี่ยมราษฎร ที่หมู่บ้านผักไผ่ อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่ และได้เสด็จผ่านบริเวณดอยอ่างขาง ทอดพระเนตรเห็นว่าชาวเขาเผ่ามูเซอ ซึ่งในสมัยนั้นยังไว้แกละถักเปียยาว แต่งกายสีดำ สะพายดาบ ทำการปลูกฝิ่นแต่ยังยากจน ทั้งยังทำลายทรัพยากรป่าไม้ ต้นน้ำลำธารที่เป็นแหล่งสำคัญต่อระบบนิเวศ ซึ่งจะก่อให้เกิดความเสียหายต่อส่วนอื่นๆ ของประเทศได้

จึงมีพระราชดำริว่าพื้นที่นี้มีภูมิอากาศที่หนาวเย็น มีการปลูกฝิ่นมาก ไม่มีป่าไม้อยู่เลยและสภาพพื้นที่ไม่ลาดชันนัก ประกอบกับ พระองค์ทรงทราบว่าชาวเขาได้เงินจากฝิ่นเท่ากับที่ได้จากการปลูกท้อพื้นเมือง และทรงทราบว่าที่สถานีทดลองไม้ผลเมืองหนาว ของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้ทดลองวิธีติดตา ต่อกิ่งกับท้อฝรั่ง จึงทรงพระราชทานพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์จำนวน ๑,๕๐๐ บาท เพื่อซื้อที่ดินและไร่ในบริเวณดอยอ่างขางส่วนหนึ่ง ตั้งโครงการหลวงขึ้นเป็นโครงการส่วนพระองค์ เมื่อ พ.ศ. ๒๕๑๒ โดยทรงแต่งตั้งให้ หม่อมเจ้าภีศเดช รัชนี เป็นผู้สนองพระบรมราชโองการในตำแหน่งมูลนิธิโครงการหลวง ใช้เป็นสถานีวิจัยและทดลองปลูกพืชเมืองหนาวชนิดต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นไม้ผล ผัก ไม้ดอกเมืองหนาว เพื่อเป็นตัวอย่างแก่เกษตรกรชาวเขาในการนำพืชเหล่านี้มาเพาะปลูกเป็นอาชีพ ซึ่งต่อมาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ได้พระราชทานนามว่า "สถานีเกษตรหลวงอ่างขาง" ... วิกิพีเดียสารานุกรมเสรี

สถานีเกษตรหลวงอ่างขาง อยู่บนเทือกเขาแดนลาว ตำบลแม่งอน อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่ มีความสูงจากระดับน้ำทะเล ๑,๔๐๐ เมตร  มียอดดอยสูงถึง ๑,๙๒๘ เมตร โดยมีพื้นที่รับผิดชอบประมาณ ๒๖.๕๒ ตารางกิโลเมตร หรือ ๑๖,๕๗๗ ไร่   เป็นโครงการหลวงแห่งแรกของเมืองไทยในการทดลอง ค้นคว้า และวิจัยพืชผัก ผลไม้ และไม้ดอกเมืองหนาว เพื่อเป็นตัวอย่างและเผยแพร่เทคโนโลยีเกษตรบนพื้นที่สูงให้ชาวไทยภูเขาได้มีความรู้ด้านวิชาการเกษตร เพื่อนำไปเพาะปลูกเป็นอาชีพหลักทดแทนการปลูกฝิ่น  

ปัจจุบัน มีการส่งเสริมอาชีพในภาคการเกษตรโดยให้ชาวบ้านปลูกพืชผักอินทรีย์  ผัก GAP พืชไร่ พืชสมุนไพร ไม้ดอก ไม้ผลเมืองหนาว และพืชเครื่องดื่ม-ชา-กาแฟ  ตลอดจนพัฒนาขยายผลการดำเนินงานไปในด้านงานหัตถกรรมฝีมือชาวบ้านเพื่อเพิ่มพูนรายได้ให้แก่ครอบครัว ได้แก่ งานถัก-ทอ ผ้าคลุมไหล่ ผ้าพันคอ หมอนใบชา ประดิษฐ์กำไลหญ้าอิบูแค สร้อยคอ สร้อยข้อมือจากหินสี  ฝึกสอนการแปรรูปผลผลิตที่ได้จากทรัพยากรในพื้นที่ การค้าขายภายในชุมชน  ตลอดจนให้การส่งเสริมด้านการท่องเที่ยว  ปลูกสร้างจิตสำนึกให้ชาวบ้านร่วมกันอนุรักษ์-หวงแหนธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และสนับสนุนชาวบ้านในพื้นที่ของโครงการหลวงซึ่งมีมากถึง ๑๕ กลุ่มชาติพันธุ์ ๑๕ วัฒนธรรม ให้ร่วมกันรักษาขนบธรรมเนียม วิถีชีวิต และวัฒนธรรมดั้งเดิมของชนเผ่าตนเองไว้ไม่ให้สูญหาย.....อันควรน่าสนใจและน่าศึกษาเป็นอย่างมาก.


ความงดงามของพันธุ์ไม้นานาพันธุ์
ที่สถานีเกษตรหลวงอ่างขาง โอบล้อมด้วยขุนเขาสวยงาม
ผนวกกับอากาศที่หนาวเย็นตลอดทั้งปีฃ
ที่นี่ จึงควรค่าแก่ศึกษาธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเป็นอย่างยิ่ง


สวนไม้ดอกฤดูหนาว ไม้ดอกฤดูร้อนและฤดูฝน และไม้ดอกเจริญข้ามปี
ได้แก่ ดอกลิ้นมังกร กะหล่ำประดับ เจอราเนียม บีโกเนีย เดลฟีเนียม อาเจอราตุ้ม ผีเสื้อ กาซาเนีย
พริมูล่า แพนซี ไวโอล่า เพนสทิม่อน เดซี่ ไอซ์แพล้นท์  ดอกซัลเวีย สร้อยไก่ ดาวเรือง ดอกไม้จีน
อากาแพนธัส ดาเลีย รู๊ดบีเกีย ปักษาสวรรค์ แคล่าลิลี่ ลาเวนเดอร์ ตาเป็ดตาไก่ ไฮเดรนเยีย คาเมลเลีย
อาบูติล่อน หอมหมื่นลี้ ซากุระ นางพญาเสือโคร่ง แม็กโนเลีย อาซาเลีย โรโดเดนดรอน แปรงล้างขวด ฯลฯ


















สวนบอนไซ เป็นสวนที่จัดแสดงพันธุ์ไม้ที่จัดแสดงในรูปแบบของบอนไซ
ภายในสวนบอนไซอ่างขางได้จัดแบ่งออกเป็นส่วนต่างๆ ดังนี้ ส่วนจัดแสดงบอนไซไม้เมืองหนาว ,
โดมอนุรักษ์พันธุ์พืชภูเขาเขตร้อน , กลุ่มพืชทนแล้ง , พันธุ์ไม้ต่างถิ่น , สวนหินธรรมชาติ














โรงเรือนรวบรวมพันธุ์ผักเมืองหนาว เป็นโรงเรือนที่รวบรวมพันธุ์ผักเขตหนาวชนิดต่างๆ
ที่ปลูกในพื้นที่โครงการหลวง เพื่อเป็นแหล่งความรู้ทางวิชาการ เทคโนโลยีใหม่ๆ
เป็นส่วนจัดแสดงงานด้านผักเขตหนาว และด้านหลังโรงเรือนจะจัดแสดงวิธีการปลูกพืช
ระบบไฮโดรโพนิกส์ (ปลูกพืชในสารละลาย)


มะเขือเทศเชอรี่ - Cherry Tomato


ดอกไม้จีน - Day Lily


กะหล่ำดอกม่วง - Cauliflower (purple)


กะหล่ำดอกโรมาเนสโก้ – Romanesco Cauliflower


ลาแวนเดอร์  – Ravender spp.


จากภาพและข้อมูลข้างต้น เป็นส่วนหนึ่งของพันธุ์ไม้่ในสถานีเกษตรหลวงอ่างขาง
นอกจากโรงงาน, สถานีวิจัยทดลอง ซึ่งมีหลายแห่งแล้ว ที่มียังจุดท่องเที่ยวให้เที่ยวชมและศึกษามากมาย
เช่น เรือนดอกไม้ สวนบอนไซ สวนไผ่ สวน ๘๐ (Garden Eighty) สวนคำดอย (Rhododendron & Azalea Garden)
สวนสมเด็จ แปลงไม้ผล แปลงสาธิตไม้ดอก โรงเรือนกุหลาบ ฯลฯ
(ผูโพสต์ก็ยังเที่ยวชมไม่ถึงครึ่งหนึ่งของโครงการ ด้วยมีเวลาจำกัด)


Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 17 กันยายน 2558 18:57:00 โดย กิมเล้ง » บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออนไลน์ ออนไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5799


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Mozilla รองรับ Mozilla รองรับ


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #1 เมื่อ: 05 สิงหาคม 2557 15:09:30 »

.



ชมสวนสตอเบอรี่ ที่หมู่บ้านนอแล  
หมู่บ้าน "นอแล" อยู่ระหว่างชายแดน ไทย-พม่า ไม่ไกลจากสถานีเกษตรอ่างขาง
ชาวบ้านเป็นเขาเผ่าปะหล่อง ประกอบอาชีพปลูกสตอเบอรี่ส่งให้สถานีเกษตรหลวง สลับกับการปลูกถั่ว  
ถนนเข้าหมู่บ้านยังเป็นถนนลูกรัง เส้นทางทุรกันดาร คดเคี้ยวขึ้นลงภูเขาสูงชัน
การแต่งกายของหญิงชาวปะหล่องมีเอกลักษณ์โดดเด่น คือเน้นสีสด
และสวมห่วงที่เอว  ชนเผ่านี้มีอัธยาศัยดีงาม ยิ้มแย้มแจ่มใส ไม่มีเล่ห์เหลี่ยม
เหมือนชนชาวเขาบางเผ่าที่ได้เคยสัมผัสมา
ใช้เวลาว่างจากการเก็บเกี่ยวพืชผล ร้อยหินสีเป็นสร้อยคอ สร้อยข้อมือ
ถักหมวกไหมพรม ผ้าพันคอ ไว้ขายนักท่องเที่ยว






แปลงสตอเบอรี่ ปลูกสลับกับการปลูกถั่วลิสง
ชาวบ้านขายส่งผลผลิตให้สถานีเกษตรหลวงอ่างขาง  และเล่าว่าการปลูกสตอเบอรี่
ส่งโครงการหลวงฯ มีข้อจำกัดคือห้ามใช้ยาฆ่าแมลงโดยเด็ดขาด จึงรับประกันความปลอดภัย


ผลสตอเบอรี่ที่เหลือจากคัดเกรด A ส่งโครงการหลวง (ผลเล็ก) นำมาจำหน่ายในราคาถูก
กิโลกรัมละ 50 บาท คุยกันไปคุยกันมาเหลือ 35 บาท 3 โลร้อย
(ให้เลือกเอง ให้ชั่งกิโลเองอีกด้วย...บอกว่า "ตามสบาย")


บ้านชาวปะหล่อง สร้างที่อยู่กันอย่างง่ายๆ เหมือนกันทั้งหมู่บ้าน


ยามว่าง ร้อยหินสีเป็นสร้อยคอ สร้อยข้อมือ ถักหมวกไหมพรม ผ้าพันคอ ไว้ขายนักท่องเที่ยว


ชาวปะหล่อง เคี้ยวหมากจนฟันดำสนิท แล้วสอนให้เด็กๆ หัดเคี้ยวหมากแต่เล็ก
...เพื่อช่วยรักษาฟันให้แข็งแรง แมงไม่กินฟัน..ว่ากันอย่างนั้น


ภูมิปัญญาชาวบ้าน..ผัดกาดเขียว มีมากจนเหลือกิน นำมาคลุกเกลือเล็กน้อย
แล้วตากไว้บนหลังคาบ้าน เก็บไว้สำหรับต้ม แกง ฯลฯ











« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 17 กันยายน 2558 19:01:23 โดย กิมเล้ง » บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
คำค้น:
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน

Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.457 วินาที กับ 31 คำสั่ง

Google visited last this page 30 พฤศจิกายน 2567 10:01:41