. วัดขุนอินทประมูล WAT KHUN INTHAPRAMUN วัดขุนอินทประมูล ตั้งอยู่ที่ ตำบลอินทประมูล อำเภอโพธิ์ทอง จังหวัดอ่างทอง จากประวัติความเป็นมา วัดนี้มีความสำคัญมาในสมัยอยุธยา มีพระพุทธไสยาสน์ก่ออิฐถือปูนขนาดใหญ่ มีความยาว ๕๐ เมตร (๒๕วา) สูง ๑๑ เมตร (๕ วา ๒ ศอก) หันพระพักตร์ไปทางทิศเหนือ ชาวบ้านเรียกว่า “พระศรีเมืองทอง” เดิมเป็นพระพุทธรูปไสยาสน์ประดิษฐานในวิหาร ต่อมาวิหารหักพังลงหมด จึงมองดูคล้ายประดิษฐานบนโคกเนิน ซึ่งชาวบ้านเรียกว่า “โคกพระนอน” นอกจากนี้ยังมีอุโบสถและวิหารขนาดใหญ่ด้วย
เมื่อคราวเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่ ๑ วัดแห่งนี้ถูกไฟไหม้กลายเป็นวัดร้างอยู่ประมาณ ๑๐๐ ปี จนถึงสมัยพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ (พ.ศ. ๒๒๗๕-๒๓๐๑) วัดจึงได้รับการปฏิสังขรณ์ขึ้นมาอีกครั้ง ทั้งนี้มีตำนานเรื่องเล่าหนึ่งว่า ชาวจีน เป็นนายอากรตำแหน่งที่ขุนอินทร์ ได้ยักยอกทรัพย์หลวงมาปฏิสังขรณ์พระพุทธไสยาสน์จนถูกลงโทษ วัดนี้จึงได้ชื่อว่า “วัดพระนอนขุนอินทประมูล” ต่อมาในสมัยรัตนโกสินทร์ ปี พ.ศ. ๒๔๕๑ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ เสด็จประพาสลำน้ำมะขามเฒ่า ทรงแวะที่วัดแห่งนี้เพื่อนมัสการพระพุทธไสยาสน์ถึง ๒ ครั้ง และโปรดฯ ให้มีการบูรณปฏิสังขรณ์วัดเรื่อยมา
วัดขุนอินทประมูลได้รับการประกาศขึ้นทะเบียนโบราณสถานในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ ๕๒ ตอน ๗๕ ลงวันที่ ๘ มีนาคม ๒๔๗๘ มีเนื้อที่ ๕๘ ไร่ ๒ งาน ๓๔ ตารางวา และกรมศิลปากรได้ดำเนินการบูรณะวัดและองค์พระตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๑๘ เรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน...
ข้อมูล :
สำนักศิลปากรที่ ๓ พระนครศรีอยุธยาขุนอินทประมูล รูปปั้น 'ขุนอินทประมูล' ในศาล ข้างพระพุทธไสยาสน์
โครงกระดูก 'ขุนอินทประมูล' ขุดได้ที่ด้านหลังองค์พระพุทธไสยาสน์
การสร้างพระนอนวัดขุนอินทร เป็นเรื่องเล่าขานสืบมาหลายชั่วอายุคน
กาลเวลาที่ผ่านมาเนิ่นนาน อาจทำให้ข้อมูลอาจคลาดเคลื่อนจากข้อเท็จจริงไปบ้าง
อย่างไรก็ตาม ต่อมามีการขุดค้นพบโครงกระดูก(ปรากฎดังภาพ) ในเขตวิหารพระพุทธไสยาสน์
เมื่อวันที่ ๒๙ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๑ ลักษณะถูกมัดแขนและเท้าทั้งสองข้างไพล่ไปด้านหลัง
ถูกลงไทษจนถึงแก่ความตาย และฝังร่างลงดินไปในท่านั้นโดยมิได้แก้เชือกที่มัดมือและเท้า
และเชื่อกันว่าเจ้าของโครงกระดูกคือ ขุนอินทประมูล ซึ่งสอดคล้องกับเรื่องราวของตำนาน
อยู่ค่อนข้างสูงทีเดียว
"วัดขุนอินทประมูล" ต.อินทประมูล อ.โพธิ์ทอง จ.อ่างทอง เดิมเป็นเพียงสำนักสงฆ์ เคยเป็นที่ตั้งของชุมชนมาตั้งแต่สมัยทวารวดีจนถึงสมัยสุโขทัย ถือเป็นชุมชนใหญ่ริมฝั่งคลองบางพลับ ซึ่งเป็นคลองเชื่อมระหว่างแม่น้ำน้อยกับแม่น้ำเจ้าพระยา
จากตำนานสิงหนวัติกล่าวถึงการจัดสร้างพระพุทธไสยาสน์ วัดขุนอินทประมูล ครั้งหนึ่งในสมัยสุโขทัย พระยาเลอไทได้เสด็จออกจากกรุงสุโขทัยทางชลมารคเพื่อนมัสการพระฤๅษีสุกกะทันตะ ผู้เป็นพระอาจารย์ ณ เขาสมอโคน เขตกรุงละโว้
จากนั้นเสด็จกลับโดยล่องตามคลองบางพลับเพื่อเสด็จประ พาสท้องทุ่ง และแวะประทับแรม ณ โคกบางพลับ ทรงเกิดศุภนิมิตทอดพระเนตรเห็นดวงไฟดวงใหญ่ลอยขึ้นเหนือยอดไม้แล้วหายไปทางทิศตะวันออก พระองค์ทรงโสมนัสและดำริให้สร้างพระพุทธไสยาสน์ขึ้น ขนานนามว่า "พระพุทธไสยาสน์เลอไทนฤมิตร"
จากนั้นมา พระพุทธไสยาสน์เลอไทนฤมิตรก็ได้ถูกทิ้งร้างไม่ได้รับการดูแล จนชำรุดทรุดโทรมไปตามกาลเวลา จวบจนถึงสมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี รัชสมัยพระเจ้าบรมโกศ มีนายอากรตำแหน่งที่ "ขุนอินทประมูล" ศรัทธาในพระพุทธศาสนาเป็นอย่างมาก
ขุนอินทประมูล มีความตั้งใจอันแรงกล้า ประสงค์บูรณะพระพุทธไสยาสน์และสร้างวัด เริ่มแรกได้นำทรัพย์สินส่วนตัวประมาณ ๑๐๐ ชั่ง นำมาสร้างวิหาร และเจดีย์ ณ โคกใหญ่ด้านตะวันออกสำเร็จลง
ต่อมาเห็นว่าพระพุทธไสยาสน์ทรุดโทรมมาก การบูรณะต้องใช้ทุนทรัพย์เป็นจำนวนหลายร้อยชั่ง ทรัพย์ส่วนตัวไม่เพียงพอ จึงยักยอกพระราชทรัพย์หลายร้อยชั่งมาสร้างจนสำเร็จแล้วพยายามปกปิดไว้
เมื่อข่าวลือสะพัดไปถึง พระยาวิเศษไชยชาญ เจ้าแขวงเมืองวิเศษไชยชาญ ส่งคนมาสอบถามได้ความจริง จึงนำเรื่องขึ้นกราบทูลพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ
โปรดเกล้าฯ ให้พระยากลาโหมขึ้นมาไต่สวน ขุนอินทประมูลให้การภาคเสธ อ้างว่าเป็นทรัพย์ส่วนตนจัดสร้างเองทั้งหมด จึงถูกลงทัณฑ์
เมื่อใกล้สิ้นใจได้ขอพระราชทานให้งดโทษ แล้วสารภาพว่าได้ยักยอกพระราชทรัพย์ไปจริง แต่มุ่งสร้างให้เป็นการเสริมพระบารมี
ภายหลังขุนอินทประมูลทนรับการลงทัณฑ์ไม่ไหวถึงแก่กรรมเมื่อ พ.ศ.๒๒๙๖ อายุได้ ๖๐ ปีเศษ
พระยากลาโหมกลับไปทูลความ พระเจ้าอยู่หัวบรมโกศทรงทราบเสด็จฯ ขึ้นมาทอดพระเนตรด้วยพระองค์เอง ทรงเห็นว่าขุนอินทประมูลมีความศรัทธาต่อพระพุทธศาสนาเป็นอย่างยิ่ง
ทรงโปรดให้ฝังร่างของขุนอินทประมูลไว้เขตพระวิหาร ด้านหลังองค์พระพุทธไสยาสน์
หลังจากทำพิธียกเกศทองคำหนัก ๑๐๐ ชั่ง พระราชทานประดับเหนือเศียรพระพุทธไสยาสน์ พระราชทานนามวัดว่า "วัดขุนอินทประมูล" และถวายนามพระพุทธไสยาสน์ว่า "พระพุทธไสยาสน์ขุนอินทประมูล"
วัดแห่งนี้ต่อมาโด่งดังเรื่องพระแตกกรุ เรียกว่า "พระสมเด็จกรุขุนอินทประมูล" มีการเอ่ยอ้างและสันนิษฐานว่าได้รับความเมตตาจากสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) เป็นผู้สร้าง หรือร่วมสร้างและบรรจุในใต้ฐานของพระพุทธไสยาสน์ขุนอินทประมูล หรืออย่างน้อยที่สุดก็อาจจะได้รับพระบารมีจากสมเด็จโต
แต่ปัจจุบัน "พระสมเด็จกรุขุนอินทประมูล" ยังเป็นที่กังขา เพราะเซียนใหญ่ยังไม่ค่อยยอมรับ ที่กลับเป็นที่ชื่นชอบของนักการเมือง นายทหาร-ตำรวจ และประชาชนทั่วไป
แต่ปัจจุบันยังไม่ดังเท่าพระอุโบสถไฮเทคหลังใหม่...
นสพ. ข่าวสด เมื่อครั้งรัชกาลที่ ๕ เสด็จประพาสวัดขุนอินทประมูล ทรงพรรณนาว่า
พระนอนองค์นี้ไม่มีพระวิหารครอบแต่มีแนวกำแพงพระวิหารที่ปรักหักพัง เสากลมมีบัวหัวเสา
แบบเดียวกับวิหารในวัดที่จ.พระนครศรีอยุธยา เช่น วัดพุทไธศวรรย์ วัดหน้าพระเมรุ
และทรงเสา ๘ เหลี่ยม เหมือนกับวัดธรรมิกราช จึงกำหนดอายุได้ว่าวัดนี้สร้างในช่วงอยุธยาตอนต้น
และเป็นศิลปะที่ไม่ใช่คนธรรมดาจะสร้างได้ ขัดแย้งกับตำนานที่ชาวบ้านเชื่อว่า
วัดนี้สร้างโดย "ขุนอิน" นายอากร ที่ฉ้อราษฎร์บังหลวงแล้วเอาเงินมาสร้างวัด
...
ข้อมูล นสพ.ข่าวสด ฉบับวันจันทร์ที่ ๑ กันยายน ๒๕๕๗พระพุทธรูปประดิษฐานในโบสถ์เก่า (หรืออาจเป็นวิหาร..ผู้โพสท์ขาดข้อมูลตรงส่วนนี้ค่ะ)
โบสถ์เก่าถ่ายตอนกลางวัน
ภาพนี้ถ่ายตอนกลางคืน
กราบขอบพระคุณท่านพระคุณเจ้า (หลวงพี่สมคิด) ที่ให้ความเมตตาอนุเคราะห์การมาเยือน
โดยเปิดไฟสปอร์ตไลต์ให้แสงไฟสว่างการถ่ายภาพ และเปิดห้องเก็บโครงกระดูกท่านขุนอินทประมูล
ซึ่งผู้โพสต์ได้เข้าไปยังสถานที่ดังกล่าวในยามวิกาล ... ในส่วนสำคัญอื่น
อาทิ ปาฎิหาริย์ เรื่องเหลือเชื่อ ที่ประสบในค่ำคืนวันนั้น ขอเว้นไว้ ไม่กล่าวถึง