05 ธันวาคม 2567 09:26:54
ยินดีต้อนรับคุณ,
บุคคลทั่วไป
กรุณา
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
1 ชั่วโมง
1 วัน
1 สัปดาห์
1 เดือน
ตลอดกาล
เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
หน้าแรก
เวบบอร์ด
ช่วยเหลือ
ห้องเกม
ปฏิทิน
Tags
เข้าสู่ระบบ
สมัครสมาชิก
ห้องสนทนา
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!
[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
นั่งเล่นหลังสวน
สุขใจ ไปเที่ยว
.:::
งานยี่เป็ง วัดพันเตา และภาพชุดขบวนแห่งานยี่เป็ง อ.เมือง จ.เชียงใหม่
:::.
หน้า: [
1
]
ลงล่าง
« หน้าที่แล้ว
ต่อไป »
พิมพ์
ผู้เขียน
หัวข้อ: งานยี่เป็ง วัดพันเตา และภาพชุดขบวนแห่งานยี่เป็ง อ.เมือง จ.เชียงใหม่ (อ่าน 11599 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์
เพศ:
Thailand
กระทู้: 5774
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น
ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Mozilla รองรับ
งานยี่เป็ง วัดพันเตา และภาพชุดขบวนแห่งานยี่เป็ง อ.เมือง จ.เชียงใหม่
«
เมื่อ:
10 พฤศจิกายน 2557 15:53:26 »
Tweet
.
วัดพันเตาจัดให้มีการอนุรักษ์ประเพณีการลอยโคม โดยไม่ได้ทำการประชาสัมพันธ์หรือบอกบุญเรี่ยไร
ในปี พ.ศ. ๒๕๕๗ นี้ นับเป็นปีที่ ๘ ของการจัดกิจกรรมดังกล่าว (มีประมาณ ๕ คืน)
เป็นงานวัดที่ผู้โพสต์ประทับใจมาก ไม่มีมหรสพ ไม่มีร้านค้า การใช้เครื่องเสียงได้ยินเบาๆ แต่เพียงในวัด
ไม่อึกทึกครึกโครมเป็นที่รบกวนแก่ชาวบ้าน งานดำเนินไปอย่างเงียบๆ เรียบง่าย ดูสวยงาม มีมนต์ขลัง
งานยี่เป็ง วัดพันเตา
Yi Peng of Phan Tao Temple
เมื่อวันที่ ๘ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๗
ก่อนชมภาพการอันงดงามตระการของแสงสีแห่งประติมากรรมโคมไฟถวายเป็นพุทธบูชาในราตรีกาล และการจุดถ้วยประทีป (การจุดผางปะตี๊บ) เพื่อบูชาพระรัตนตรัย ณ ดินแดนที่เป็นที่สุดแห่งความรุ่งเรือง สง่างามทางวัฒนธรรมมาแต่อดีต และถ่ายทอดเป็นมรดกสืบต่อกันมาถึงอนุชนรุ่นหลัง ใน
งานประเพณีเดือนยี่เป็งเชียงใหม่
ขอเล่าประวัติของวัดพันเตา สถานที่อีกแห่งหนึ่งที่จัดให้มีประเพณียี่เป็งในค่ำคืนวันสำคัญของชาวล้านนา และ
ความเป็นมาของการชักโคมและลอยโคมอันเป็นที่มาของประเพณีลอยกระทง
ว่าได้กำเนิดเกิดขึ้นอย่างไรและเป็นเพราะเหตุใด.
• ประวัติวัดพันเตา
วัดพันเตา
ตั้งอยู่ตำบลพระสิงห์ ย่านใจกลางเมืองเชียงใหม่ ติดกับวัดเจดีย์หลวงวรวิหาร จัดเป็นวัดราษฎร์ ในสังกัดมหานิกาย สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. ๒๐๔๐
ตามตำนานกล่าวว่า วัดพันเตามีอายุเก่าแก่ใกล้เคียงร่วมสมัยเดียวกับวัดเจดีย์หลวงวรวิหาร
แต่เดิมวัดนี้ไม่ได้เรียกชื่อวัดว่า "พันเตา" อย่างในปัจจุบัน คนเมืองเชียงใหม่ในอดีตนิยมเรียกวัดนี้ว่า "วัดปันเต้า" หรือ "วัดพันเท่า" ซึ่งหมายถึง ปริมาณที่เพิ่มพูนขึ้นมากมาย เป็นร้อยเท่าพันเท่า เป็นการเขียนตามอักษรล้านนา แต่อ่านออกเสียงว่า “ปันเต้า” แล้วจึงกลายมาเป็น "พันเท่า" ทำบุญที่ วัดปันเต้า (พันเท่า) ทำบุญเพียง ๑ จะได้อานิสงส์มากกว่าพัน
มีเรื่องเล่าสืบต่อกันมาว่าได้ใช้สถานที่ของวัดนี้เป็นที่ตั้งเตาหลอม สำหรับหล่อพระอัฏฐารสในวิหารวัดเจดีย์หลวง จึงได้ชื่อว่าวัดพันเตา
พระประธานในวิหารหลวง วัดพันเตา จังหวัดเชียงใหม่
• พระราชพิธีจองเปรียง :
เชื่อกันว่าเป็นที่มาของประเพณีลอยกระทง
พระราชพิธีจองเปรียงนี้ เริ่มมีขึ้นครั้งแรกในสมัยสุโขทัย เป็นพิธีของพวกพราหมณ์ ทำแต่เฉพาะในพระบรมมหาราชวังเท่านั้น เป็นพิธียกโคมตามประทีปบูชาพระเป็นเจ้าทั้งสาม คือ พระอิศวร พระพรหม และพระนารายณ์ ตามกำหนดยกโคม คือ เดือน ๑๒ ถ้าปีใดมีอธิกมาส (เดือนที่เพิ่มขึ้นในปีจันทรคติ คือ ในปีนั้นมี ๑๓ เดือน มีเดือน ๘ สองหน เรียกว่า เดือน ๘ สอง ๘) ให้ยกโคมขึ้น ๑ ค่ำ เดือน ๑๒ เป็นต้นไปจนถึงวันแรม ๒ ค่ำ จึงเป็นวันลดโคม และถ้าปีใดไม่มีอธิกมาสให้ยกโคมขึ้นในวันขึ้น ๑๔ ค่ำ เดือนอ้าย ขึ้นค่ำหนึ่ง เป็นวัดลดโคมลง
อนึ่ง ในพิธีนี้ พวกพราหมณ์มาประชุมกันผูกพรต พระราชครูฯ ต้องกินถั่วกินงา ๑๕ วัน ส่วนพราหมณ์นอกนั้นกิน ๓ วัน เวลาเช้าพราหมณ์ต้องถวายน้ำมหาสังข์ทุกวัน จนถึงวันลดโคมลง เทียนที่จะจุดในวันนั้น ต้องเอามาถวายให้ทรงทา
เปรียง
เสียก่อน (เปรียง คือ นํ้ามัน ไขข้อของพระโค)
ในหนังสือตำรับท้าวศรีจุฬาลักษณ์ วรรณกรรมสมัยสุโขทัยที่เชื่อกันว่า นางนพมาศ พระสนมเอกของสมเด็จพระร่วงเจ้า เป็นผู้แต่ง บรรยายว่า “...พอถึงการพระราชพิธีจองเปรียง ในวันเพ็ญเดือน ๑๒ เป็นนักขัตฤกษ์ชักโคมลอยโคม บรรดาประชาชนชายหญิงต่างตกแต่งโคมชัก โคมแขวน โคมลอยทุกตระกูล ทั่วทั้งพระนคร แล้วก็ชวนกันเล่นมหรสพสิ้นสามราตรีเป็นเยี่ยงอย่าง แต่บรรดาข้าเฝ้าฝ่ายราชบุรุษนั้น ต่างทำโคมประเทียบบริวารวิจิตรด้วยลวดลายวาดเขียนเป็นรูปและสัณฐานต่างๆ ประกวดกันมาชักมาแขวน เป็นระเบียบเรียบร้อยตามแนวโคมชัยเสาระหงตรงหน้าพระที่นั่งชลพิมาน...”
• ประเพณีลอยกระทง
มีการเข้าใจว่า ประเพณีลอยกระทง มีต้นเค้ามาจากพระราชพิธีจองเปรียง อันเป็นเรื่องของศาสนาพราหมณ์ พวกพราหมณ์ทำพระราชพิธีจองเปรียงขึ้น เพื่อบูชาพระอิศวรและพระพรหม ด้วยการชักโคมไปบนท้องฟ้า บูชาพระนารายณ์ด้วยการลอยโคมลงในน้ำ และผู้คิดอ่านริเริ่มการทำกระทงประดิษฐ์เป็นรูปโคมลอยประดับดอกบัว ถวายพระเจ้ารามคำแหง ได้ลอยไปตามลำน้ำ ของการเสด็จลงประพาส ตามพระราชพิธีนักขัตฤกษ์ประจำปีที่ยิ่งใหญ่แห่งราชสำนัก ในวันเพ็ญเดือนสิบสอง เวลากลางคืน คือ
นางนพมาศ
สตรีไทยในสมัยสุโขทัยที่มีสติปัญญา ความสามารถ เป็นได้ทั้งนักประพันธ์และนักปราชญ์ นั่นเอง
อิทธิพลของพุทธศาสนา
แต่ด้วยในสมัยสุโขทัย พระโสณะและพระอุตตระ พระเถระชาวอินเดีย เดินทางมาเผยแผ่พุทธศาสนาในดินแดนสุวรรณภูมิ ซึ่งมีอาณาเขตกว้างขวาง ครอบคลุมทั้ง พม่า ไทย ศรีลังกา เวียดนาม ลาว กัมพูชา และมาเลเซีย พุทธศาสนาเจริญรุ่งเรืองมากในดินแดนแถบนี้ ทำให้คนไทยในราชอาณาจักรสุโขทัยซึ่งแต่เดิมนับถือศาสนาพราหมณ์ เริ่มหันเหมานับถือพุทธศาสนากันอย่างกว้างขวาง พิธีกรรมของพราหมณ์จึงผสมผสานเข้าด้วยกันกับพุทธศาสนา เลยอาจถือว่า
การลอยโคม
เป็นการบูชาพระบรมพระพุทธบาทที่ประดิษฐานอยู่ในแม่น้ำก็ย่อมเป็นได้ หรืออาจถือว่าเป็นการขอขมาต่อแม่พระคงคาที่ได้กินได้ใช้น้ำ ซ้ำยังถ่ายมูตคูถลงไปอีกด้วย
นี้แหละ เป็นที่มาของความเชื่อว่า
พิธีลอยกระทง
เริ่มมีขึ้นครั้งแรกในสมัยสุโขทัยตั้งแต่บัดนั้นมา ด้วยประการฉะนี้แล...
• ยี่เป็ง
เป็ง
ในภาษาคำเมืองของทางเหนือ “
ยี่
” แปลว่า สอง และคำว่า “
เป็ง
” หมายถึง เพ็ญ หรือพระจันทร์เต็มดวง ดังนั้น จึงหมายถึงประเพณี พระจันทร์เต็มดวงในเดือนสอง
ยี่เป็งเป็นงานประเพณี อันยิ่งใหญ่แห่งดินแดนล้านนา ที่ได้ปฏิบัติสืบทอดกันมาตั้งแต่ครั้งโบราณกาล ในวันเพ็ญเดือนยี่หรือเดือนสองของชาวล้านนา ซึ่งตรงกับวันเพ็ญเดือน ๑๒ ของชาวไทยภาคอื่น นอกเหนือจากการลอยกระทงในแม่น้ำ ชาวล้านนามีการจุดประทีปโคมลอยให้ขึ้นไปสว่างไสวบนท้องฟ้า โดยมีความเชื่อเพื่อบูชาพระเกตุแก้วจุฬามณีบนสรวงสวรรค์ หรือบ้างก็เชื่อว่าเป็นการลอยเคราะห์หรือสะเดาะเคราะห์ ตามคติของคนไทยเราที่เชื่อถือเรื่องโชคลางและบาปกรรม ส่วนหนึ่งเชื่อกันว่าเมื่อเรามีเคราะห์หรือทุกข์ร้อนต่างๆ ต้องลอยเคราะห์หรือสะเดาะเคราห์เพื่อบรรเทาเหตุร้ายต่างๆ ให้เบาบางหายไป
ในพงศาวดารโยนกและจามเทวี มีบันทึกว่าครั้งหนึ่งได้เกิด อหิวาตกโรคขึ้นในแคว้นหริภุญไชย ทำให้ชาวเมืองต้องอพยพไปอยู่เมืองหงสาวดี นานถึง ๖ ปี จึงได้เดินทางกลับมายังบ้านเกิดเมืองนอนเดิมได้ เมื่อเวลาเวียนมาถึงวันที่จากบ้านจากเมืองไป จึงได้มีการทำกระถางใส่เครื่องสักการบูชาธูปเทียนลอยลอยตามน้ำ เพื่อให้ไปถึงญาติพี่น้องที่ล่วงลับไป เรียกว่า การลอยโขมด หรือลอยไฟ
ในงานบุญยี่เป็ง ชาวล้านนาจะออกมาตกแต่งบ้านเรือน วัดวาอาราม และถนนหนทาง ด้วยต้นกล้วย อ้อย ทางมะพร้าว ดอกไม้ ตุงช่อ ประทีป และชักโคมยี่เป็งแบบต่างๆ ขึ้นเป็นพุทธบูชา ยามค่ำคืนจะมีการจุดโคมลอย ปล่อยขึ้นสู่ท้องฟ้า เพื่อบูชาพระเกตุแก้วจุฬามณีบนสรวงสรรค์ชั้นดาวดึงส์ และเชื่อกันว่า เปลวไฟในโคมเป็นสัญลักษณ์ของความรู้ และแสงสว่าง ที่จะส่งผลให้ดำเนินชีวิตไปในทางที่ถูกที่ควร
ภาพลอยโคม งานยี่เป็งวัดพันเตา
«
แก้ไขครั้งสุดท้าย: 22 กันยายน 2558 16:47:11 โดย กิมเล้ง
»
บันทึกการเข้า
กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์
เพศ:
Thailand
กระทู้: 5774
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น
ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 9.0
Re: งานยี่เป็ง วัดพันเตา และภาพชุดขบวนแห่งานยี่เป็ง อ.เมือง จ.เชียงใหม่
«
ตอบ #1 เมื่อ:
25 พฤศจิกายน 2557 16:13:39 »
.
ภาพขบวนแห่อันงดงามอลังการ ของงานยี่เป็งจังหวัดเชียงใหม่
เมื่อวันที่ ๗ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๗ บริเวณประตูท่าแพ
เทพียี่เป็ง
เชียงใหม่ สวยจริงๆ มือไม้อ่อน...ภาพเลยเบลอ!
ส่วนหนึ่ง ของขบวนแห่อันวิจิตร งดงาม อลังการ งานยี่เป็งจังหวัดเชียงใหม่
ประจำปี ๒๕๕๗ ที่ใช้เวลายืนชมเป็นเวลา ๓ ชั่วโมงเศษ ริ้วขบวนยังไม่หมด ยังอยู่อีกยาวเฟื้อย
ทนไม่ไหวต้องยอมแพ้ กลับที่พักค่ะ ...
«
แก้ไขครั้งสุดท้าย: 22 กันยายน 2558 17:19:36 โดย กิมเล้ง
»
บันทึกการเข้า
กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
คำค้น:
หน้า: [
1
]
ขึ้นบน
พิมพ์
« หน้าที่แล้ว
ต่อไป »
กระโดดไป:
เลือกหัวข้อ:
-----------------------------
จากใจถึงใจ
-----------------------------
=> หน้าบ้าน สุขใจ
===> สุขใจ ป่าวประกาศ (ข้อความจากทีมงาน)
===> สุขใจ เสนอแนะ (ข้อความจากสมาชิก)
===> สุขใจ ให้ละเลง (มุมทดสอบบอร์ด)
-----------------------------
สุขใจในธรรม
-----------------------------
=> พุทธประวัติ - ประวัติพระสาวก
===> พุทธประวัติ แห่งองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
===> ประวิติพระอรหันต์ พระสาวก ในสมัยพุทธกาล
===> ประวัติพระผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ ในยุคปัจจุบัน
===> นิทาน - ชาดก
=====> ชาดก พระเจ้า 500 ชาติ
=> ธรรมะทั่วไป ธารธรรม - ธรรมทาน
===> ธรรมะจากพระอาจารย์
===> เกร็ดครูบาอาจารย์
=> ห้องวิปัสสนา - มหาสติปัฏฐาน 4
=> สมถภาวนา - อภิญญาจิต
=> จิตอาสา - พุทธศาสนาเพื่อสังคม
=> เสียงธรรมเทศนา - เอกสารธรรม - วีดีโอ
===> เอกสารธรรม
===> เสียงธรรมเทศนา
=====> ธรรมะจาก สมเด็จโต
=====> ธรรมะจาก หลวงปู่มั่น
=====> เสียงบทสวดมนต์
=====> เพลงสวดมนต์
=====> เพลงเพื่อจิตสำนึก แด่บุพการี
=====> ธรรมะ มิวสิค (เพลงธรรมทั่วไป)
===> ห้อง วีดีโอ
=> เกร็ดศาสนา
=> กฏแห่งกรรม - ท่องไตรภูมิ
=> ไขปัญหาโลก ธรรม และความรัก
=> บทสวด - คัมภีร์ คาถา - วิชา อาคม
=> พุทธวัจนะ - ภาษิตธรรม
===> พุทธวัจนะ ในธรรมบท
===> พุทธศาสนสุภาษิต
===> คำทำนายภัยพิบัติที่จะเกิด
===> รวมข่าวภัยพิบัติ ทั้งในอดีต และปัจจุบัน
===> รู้ เพื่อ รอด (การเตรียมการ)
=> ห้องประชาสัมพันธ์ ทั้งทางโลก และทางธรรม
===> ฐานข้อมูล มูลนิธิต่าง ๆ ในประเทศไทย (Donation Exchange Center)
-----------------------------
วิทยาศาสตร์ทางจิต เรื่องลี้ลับ
-----------------------------
=> วิทยาศาสตร์ - จักรวาล - การค้นพบ
===> เรื่องราว จากนอกโลก
=====> ประสบการณ์เกี่ยวกับ UFO
=====> หลักฐาน และ การพิสูจน์ยูเอฟโอ
=====> คลิปวีดีโอ ยูเอฟโอ
=> ไขตำนาน - ประวัติศาสตร์ - การค้นพบ อารยธรรม
=> เรื่องแปลก - ประสบการณ์ทางจิต - เรื่องลึกลับ
===> ร้อยภูติ พันวิญญาณ
=====> ประสบการณ์ ผี ๆ
=======> เรื่องเล่าในรั้วมหาลัย
=====> ประวัติ ต้นกำเนิด ตำนานผี
===> ดูดวง ทำนายทายทัก
===> ไดอะล็อก คือ ดอกอะไร - พลังไดอะล็อก (Dialogue)
===> กระบวนการ NEW AGE
=> เครื่องราง ของขลัง พุทธคุณ
-----------------------------
นั่งเล่นหลังสวน
-----------------------------
=> สุขใจ จิบกาแฟ
=> สุขใจ ร้านน้ำชา
=> สุขใจ ห้องสมุด
===> สุขใจ หนังสือแนะนำ
===> สุขใจ คลังความรู้ลวงโลก
===> สยาม ในอดีต
=> สุขใจ ใต้เงาไม้
=> สุขใจ ตลาดสด
=> สุขใจ อนามัย
=> สุขใจ ไปเที่ยว
=> สุขใจ ในครัว
===> เกร็ดความรู้ งานบ้าน งานครัว
=> สุขใจ ไปรษณีย์
=> สุขใจ สวนสนุก
===> ลานกว้าง (มุมดูคลิป)
===> เวที จำอวด (จำอวดหน้าม่าน)
===> หนังกลางแปลง (ดูหนัง รีวิวหนัง)
===> หน้าเวที (มุมฟังเพลง)
=====> เพลงไทยเดิม
===> แผงลอยริมทาง (รวมคลิปโฆษณาโดน ๆ)
คุณ
ไม่สามารถ
ตั้งกระทู้ได้
คุณ
ไม่สามารถ
ตอบกระทู้ได้
คุณ
ไม่สามารถ
แนบไฟล์ได้
คุณ
ไม่สามารถ
แก้ไขข้อความได้
BBCode
เปิดใช้งาน
Smilies
เปิดใช้งาน
[img]
เปิดใช้งาน
HTML
เปิดใช้งาน
กำลังโหลด...