ตอบ
ขันธ์ 5 เป็นอนัตตา เพราะไม่อยู่ในวิสัยที่บังคับบัญชาได้ มีการเกิด แก่ เจ็บ ตาย และไม่อาจเปลี่ยนแปลงเป็นอะไรเลย
ธรรมขันธ์ (ธรรมกาย) เป็นอัตตา เพราะอยู่ในวิสัยที่บังคับบัญชาได้ ไม่ให้เกิด ไม่ให้แก่ ไม่ให่เจ็บ ไม่ให้ตาย และจะเปลี่ยนแปลงเป็นอะไรก็ได้ เช่น พระโพธิสัตว์กวนอิม ท่านจะเปลี่ยนเป็นใครก็ได้
ที่ว่าเจ้าแม่กวนอิมจะเปลี่ยนแปลงเป็นใครเป็นอะไรก็ได้
แล้วมันไม่แปรปรวน ไม่เกิดความเปลี่ยนแปลง ได้ยังไงครับ
เปลี่ยนแล้วเปลี่ยนอีก
ของเก่าที่เปลี่ยนไป ๆๆ ยังคงอยู่ หรือดับหายไปครับ
อนัตตลักขณะสูตร ซ่อนความลับของสิ่งที่เป็นอัตตา เอาไว้ในขันธ์ 5 ซึ่งเป็นอนัตตาดูกรภิกษุทั้งหลาย
รูป
(เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ)เป็นอนัตตา ถ้ารูป
(เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ)นี้จักได้เป็นอัตตาแล้ว รูป
(เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ)นี้ไม่พึงเป็นไปเพื่ออาพาธ และบุคคลพึงได้ในรูป
(เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ)ว่า รูป
(เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ)ของเราจงเป็นอย่างนี้เถิด รูป
(เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ)ของเราอย่าได้เป็นอย่างนั้นเลย
ภิกษุทั้งหลาย ก็เพราะรูป
(เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ)เป็นอนัตตา ฉะนั้น รูปจึงเป็นไปเพื่ออาพาธ และบุคคลย่อมไม่ได้ในรูปว่า รูป
(เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ)ของเราจงเป็นอย่างนี้เถิด รูป
(เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ)ของเราอย่าได้เป็นอย่างนั้นเลย
:45:
จากอนัตตลักขณะสูตรรุป
(เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ) จะเป็นอัตตาได้ ต้องมีคุณสมบัติ 2 ประการ คือ:
1. รูป
(เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ)นี้ไม่พึงเป็นไปเพื่ออาพาธ ไม่อาพาธ = ไม่เกิด ไม่แก่ ไม่เจ็บ ไม่ตาย = ไม่มีความแปรปรวนไปเป็นธรรมดา
2. บุคคลพึงได้ในรูป
(เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ)ว่า รูป
(เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ)ของเราจงเป็นอย่างนี้เถิด รูป
(เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ)ของเราอย่าได้เป็นอย่างนั้นเลย
ข้อ 1 หมายถึง ไม่แปรปรวนเปลี่ยนแปลงไปเป็นธรรมดา = กาลเวลาและกรรมเป็นตัวกำหนด = ไม่เกิด ไม่แก่ ไม่เจ็บ ไม่ตาย นั่นเอง
ข้อ 2 หมายถึง บุคคลนั้นสามารถกำหนดได้ว่า จะให้รูป
(เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ)ของเราจงเป็นอย่างนี้เถิด อย่าได้เป็นอย่างนั้นเลย = จะให้เป็นอะไรก็ได้ จะให้สิ้นสุดเมื่อไรก็ได้ แล้วแต่ผู้นั้นจะกำหนด
กล่าวอีกนัยหนึ่งพระบรมศาสดาตรัสสอนปัญจวัคคีย์ว่า : ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนไปเป็นธรรมดา ควรหรือที่จะตามเห็นสิ่งนั้นว่า นั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่นเป็นตนของเรา
ปัญจวัคคีย์ตอบว่า: ข้อนั้นไม่ควรเลยพระพุทธเจ้าข้า
(= ขันธ์ 5 เป็นอนัตตา)แล้วถ้าสิ่งใดเที่ยง ไม่เป็นทุกข์ ไม่มีความแปรปรวนไปเป็นธรรมดา ควรหรือที่จะตามเห็นสิ่งนั้นว่า นั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่นเป็นตนของเรา
(= ธรรมกาย หรือธรรมขันธ์ หรือธรรมธาตุ หรือ อายตนะนิพพาน เป็นอัตตา หรือตัวตนของเรา)ปัญจวัคคีย์จะตอบว่า: ข้อนั้นควรเลยพระพุทธเจ้าข้า ใช่หรือไม่
สิ่งใดเที่ยง ไม่เป็นทุกข์ ไม่มีความแปรปรวนไปเป็นธรรมดา = ไม่อาพาธนั่นเอง
สรุปความหมายคำว่า
อัตตาในอนัตตลักขณะสูตร มีคุณสมบัติ 2 ประการ
1. คำว่า ไม่แปรปรวน ไม่เกิดความเปลี่ยนแปลง ต้องมีคำว่า
"เป็นธรรมดา"[/ b]ด้วย =ไม่เกิด ไม่แก่ ไม่เจ็บ ไม่ตาย หรือไม่อาพาธ
2. ส่วนที่เปลี่ยนแปลงไปนั้น = บุคคลนั้นสามารถกำหนดได้ว่า จะให้รูป(เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ)ของเราจงเป็นอย่างนี้เถิด อย่าได้เป็นอย่างนั้นเลย = จะให้เป็นอะไรก็ได้ จะให้สิ้นสุดเมื่อไรก็ได้ แล้วแต่ผู้นั้นจะกำหนด