[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
22 ธันวาคม 2567 19:19:24 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: เราต้องอดทน อดทนต่ออารมณ์ที่มันเกิดขึ้นมา  (อ่าน 1348 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
Maintenence
ผู้ดูแลระบบ
นักโพสท์ระดับ 10
*

คะแนนความดี: +0/-0
ออนไลน์ ออนไลน์

เพศ: ชาย
Thailand Thailand

กระทู้: 1117


[• บำรุงรักษา •]

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Chrome 42.0.2311.90 Chrome 42.0.2311.90


ดูรายละเอียด
« เมื่อ: 20 เมษายน 2558 16:09:37 »

.


เราต้องอดทน
อดทนต่ออารมณ์ที่มันเกิดขึ้นมา

เราต้องอดทน อดทนต่ออารมณ์ที่มันเกิดขึ้นมาให้รู้เรื่องของความวุ่นวายเสียก่อน มันจึงจะถึงความสงบ อย่าหนีไปที่ไหน

คนทั้งโลก จะให้เขามาพูดถูกใจเรามีไหม จะมาทำถูกใจเราทุกคนมีไหม ไม่มี เมื่อไม่มีเราก็เป็นทุกข์อยู่ตลอดเวล ถ้าเราไม่มีการปล่อยวาง เราเกิดมาในชีวิตหนึ่งเราจะหาความสงบว่าคุณต้องทำให้ถูกใจฉัน ฉันจึงจะสงบถ้าไม่อย่างนั้นฉันก็ไม่สงบ คนคนนี้เกิดมาไม่รู้กี่ชาติก็ไม่มีความสงบเพราะคนหลายคน ใครจะมาพูดให้เราถูกใจเราทุกคน ใครจะมาทำให้ดีทุกคน มันไม่มีหรอกอย่างนี้ นี่มันเป็นไหม เราต้องศึกษาอย่างนี้ เราต้องอดทน อดทนต่ออารมณ์ที่มันเกิดขึ้นมา อย่าไปหมายมั่นอย่าไปยึดมั่นจับมาดูแล้วรู้เรื่อง เราก็ปล่อยมันไปเสียเขา จะพูดอย่างไรก็รับฟังมันไปเถอะ มันจะทำอะไรก็ระวังไว้ มันเป็นอย่างนั้นของมัน เราต้องถอยกลับมาอยู่ตรงนี้ เราก็มีความสบายเมื่ออยู่ด้วยกัน กับคนมากๆ มันก็ยิ่งให้การศึกษาเรามากที่สุด ให้มันวุ่นวายเสียก่อน ให้รู้เรื่องของความวุ่นวายเสียก่อน มันจึงจะถึงความสงบ อย่าหนีไปที่ไหน ถ้าไม่อยู่คนเดียว ไม่มีใครพูดดี พูดชั่วให้มันก็สบาย แต่เราจะไม่รู้เรื่อง สบายอย่างนี้ มันไม่มีปัญหาถ้าถูกอารมณ์แล้วปัญญามันไม่มี ก็เป็นทุกข์อย่างนั้น

สตินี้คือความระลึกได้เมื่อเราจะพูดอะไร ทำอะไรต้องรู้ตัวเราทำอยู่ เราก็รู้ตัวอยู่ระลึกได้อยู่อย่างนี้ อารมณ์มันเหมือนกัน ถ้ามีสติอยู่ มันจะทำอะไรเราไม่ได้ อารมณ์มันจะทำให้เราดีใจอยู่อย่างนี้ตลอดไปไม่ได้ มันไม่แน่นอนหรอก ถ้าอย่างนี้ อารมณ์นั้นมันก็เป็นโมฆะเท่านั้น เราสอนตัวเราอยู่ เรามีสติอย่างนี้ เราก็รักษาอย่างนี้เรื่อยๆ ไปเมื่อเรามีสติอยู่ เมื่อนั้นแหละ เราได้ภาวนาอยู่ การภาวนาไม่ใช่ว่าเราจะนั่งสมาธิอย่างเดียว ยืนเดินนั่งอยู่ เราก็รู้จัก นอนอยู่เราก็รู้จัก เรารู้จักตัวของเราอยู่เสมอ จิตเรามีความประมาท เราก็รู้จักไม่มีความประมาท

เราก็รู้จักของเราอยู่ ความรู้อันนี้แหละที่ เรียกว่า "พุทโธ" เรารู้เห็นนานๆ พิจารณาดีๆ มันก็รู้จักเหตุผลของมัน มันก็รู้เรื่อง เราปฏิบัติธรรมะบ่อยๆ จิตมันก็คุ้นเคยกับธรรมะ เช่นว่า ความโกรธเกิดขึ้นมา มันก็เป็นทุกข์ ชอบทุกข์ไหม ไม่ชอบแล้ว เอาไว้ทำไม ถ้าไม่ชอบ จะยึดเอาไว้ทำไม ทิ้งมันไปซิทุกข์ มันเกิดขึ้นมาครั้งหนึ่งเราก็รู้จักคำสอนครั้งหนึ่ง เมื่อเห็นชัด ก็ค่อยๆ วาง ทำความเพียรพยายามอยู่อย่างนั้น มีสติติดต่อกันอยู่อย่างนั้น เสมอทุกอริยาบทไหนก็ตาม มีความรู้ติดต่อ อยู่เสมอ ตัวนี้มันไม่รู้ มันจะพูดอยู่เรื่อยๆ ใจข้างในมันจะพูด อยู่เรื่อยๆ เป็นอยู่อย่างนั้น มีความรู้อยู่ มีความตื่นอยู่ มีความเบิกบานอยู่สม่ำเสมอ เรียกว่า เป็นประโยชน์มากไม่ต้องอาศัยอะไรเลย อะไรมันเกิดขึ้นมาเราก็เห็นว่าอันนี้มันไม่แน่นอน มันไม่เที่ยง อันนั้นก็ดี แต่ว่ามันไม่แน่นอน มันไม่เที่ยงเท่านี้ละ เราก็รู้ของเรา ไปเรื่อยๆ เท่านั้นแหละ การปฏิบัติของเรา การประพฤติปฏิบัติธรรมต้องไม่ย่อหย่อน จะต้องทำความพยายามอย่างนั้น ความอยากจะเร็วของเราอันนี้ไม่ใช่ธรรมะมันเป็นความอยากของเรา ใจอยากจะเร็วที่สุด แต่มันทำไม่ได้ธรรมชาติ มันเป็นอยู่อย่างนั้น เราก็ทำจิตปฏิบัติตามธรรมชาติของมันอย่างนั้น อยากจะให้มันเร็วที่สุด นั้นไม่ใช่ธรรมะ มันคือความอยากของเรา เราจะทำตามความอยากของเรานั้นไม่จบ ให้เข้าใจว่าการที่ตรัสรู้ธรรมะนั้น มันพร้อมกับการปล่อยวางด้วยสติปัญญา ไม่ใช่ว่าเราจะเร่งมันให้ มันเป็นอย่างนั้น การทำทุกอย่างต้องทำโดยไม่ปรารถนา สิ่งตอบแทน อันนี้เรารู้ โลกเขาว่ามันดีแล้วมันก็วาง โลกเขาว่ มันไม่ดีมันก็วาง มันรู้ดีรู้ชั่ว คนที่ไม่รู้ดีรู้ชั่วแล้วเป็นทุกข์ทั้งนั้น คนรู้ดีรู้ชั่วไม่ได้ยึดในความดี คนที่ยึดในความดีความชั่วนั้นคือ คนไม่รู้ดีรู้ชั่วและคำที่ว่าเราทำอะไรตลอด ที่ว่าเราอยู่ไปที่เราอยู่เพื่อประโยชน์ เราทำงานอันนี้เราทำเพื่อต้องการอะไร แต่โลกเขา ว่าทำงานอันนี้ เพราะต้องการอันนั้น เขาว่าเป็นคนมีเหตุผล แต่พระท่านสอนยิ่งไปกว่านั้นอีก ท่านว่าทำงานอันนี้ทำไปแต่ ไม่ต้องการอะไร ทำไมไม่ต้องการอะไร โลกเขาต้องทำงานอันนี้ เพื่อต้องการอันนั้น ทำงานอันนั้นเพื่อต้องการอันนี้ นี่เป็นเหตุผลของชาวโลกเขาพระพุทธองค์ทรงสอนว่าทำงานเพื่อทำงาน ไม่ต้องการอะไร ถ้าคนเราทำงานเพื่อต้องการอะไรก็เป็นทุกข์คือ ทำแล้วปล่อยวาง

ครั้งแรกเราทำก็ปรารถนาให้เป็นอย่างนั้น ทำไปๆ ก็จนกว่าที่เรียกว่าไม่ปรารถนาอะไรแล้ว ทำเพื่อปล่อยวางมันอยู่ลึกซึ้งอย่างนี้ คนเราปฏิบัติธรรมเพื่อต้องการอะไร เพื่อต้องการพระนิพพานนั้นแหละ จะไม่ได้พระนิพพาน ความต้องการอันนี้ เพื่อให้มีความสงบ มันก็เป็นธรรมดา แต่ว่าไม่ถูกเหมือนกัน จะทำอะไรก็ไม่ต้องคิดว่าจะต้องการอะไรทั้งสิ้นไม่ต้องการ อะไรทั้งสิ้น แล้วมันจะเป็นอะไรก็ไม่เป็นอะไร ถ้าเป็นอะไรมันก็ทุกข์เท่านั้นแหละ ในทางพระพุทธศาสนาให้ทำเพื่อไม่ต้องการอะไร ถ้ามีเพื่ออะไรมันไม่หมด ทางโลกทำอะไรเรียกว่ามันมีเหตุผล พระพุทธองค์ท่านทรงสอนว่าให้ "นอกเหตุเหนือผล"  ไม่ว่าจะทำอะไรปัญญาของท่านให้นอกเหตุเหนือผลให้นอกเกิดเหนือตาย นอกสุขเหนือทุกข์


คำสอนของพระโพธิญาณเถร (ชา สุภทฺโท)
วัดหนองป่าพง อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี

Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

บันทึกการเข้า

[• สุขใจ บำรุงรักษาระบบ •]
คำค้น:
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน

Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.245 วินาที กับ 31 คำสั่ง

Google visited last this page 19 กันยายน 2567 14:02:05