[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
22 ธันวาคม 2567 18:40:31 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: จักรวาลทัศน์ ใน อวตังกะสูตร ว่าด้วยเรื่อง ปุณฑริกครรภ์โลกธาตุ และ ตรีกาย  (อ่าน 9716 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
มดเอ๊ก
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +8/-1
ออฟไลน์ ออฟไลน์

Thailand Thailand

กระทู้: 5162


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 6.0 MS Internet Explorer 6.0


ดูรายละเอียด
« เมื่อ: 04 มกราคม 2554 22:32:26 »


*ภาพ สัมโภคกาย กายทิพย์ พระมหาไวโรจนะพุทธะ ศิลปะญี่ปุ่น

พระไวโรจนะพุทธเจ้าหรือพระโลจนพุทธเจ้านี้นอกจากทรงแสดงซึ่ง ธรรมกาย อันบริสุทธ์ิและไพบูลย์แล้วยังทรงแสดงโลกธาตุของพระองค์เองนามว่า “ปุณฑริกครรภ์”(....) อันเป็นจักรวาลที่ไม่มีขอบเขต ครอบคลุมไปทั่วใน โลกธาตุต่างๆจำนวนอสงไขย ประดุจละอองธุลีที่มากมายในอากาศด้วย โดยอุปมาว่า ไพศาลแผ่กว้างประดุจห้วง มหาสมุทรสาคร ดั่งคัมภีร์อวตังสกะสูตร ที่กล่าวว่า

“อัน ปุณฑริกครรภ์โลกธาตุที่มีความอลังการไพศาลประดุจห้วงมหาสาครนี้เพราะด้วย พระไวโรจนะพุทธเจ้านั้น ในอดีตกาลล่วงมาครั้งที่ทรงบำเพ็ญพระโพธิจริยาในกัลป์ที่แสน ยาวนานประดุจละอองธุลีในบรรดาโลกธาตุต่างๆนั้น ในแต่ละกัลป์นั้นได้ทรงอยู่ใกล้ชิด บรรดาพระพุทธเจ้าในกัลป์ที่แสนยาวนานนั้นด้วย โดยในพระพุทธเจ้าแต่ละพระองค์นั้น พระไวโรจนะในครั้งนั้นได้ทรงบำเพ็ญมหาปณิธานจริยาอันบริสุทธ์์ิที่จักยังให้โลกธาตุ ของพระองค์เองมีความบริสุทธ์ิอลังการภายในโลกธาตุที่มีอยู่มหาศาลประดุจห้วงมหาสาครนั้น”
 
ในพระสูตรพรรณนาว่า
 
“ปุณฑริกครรภ์โลกธาตุสถิตอยู่ท่ามกลาง ดอกบัวที่เกิดอยู่ในสุคันธสมุทร(มหาสุมทรที่นํ้ามีกลิ่นหอม) โลกธาตุแห่งนั้นประดับ ประดาด้วยทิพยรัตนนานาประการ โดยถ้านำสุเมรุราชบรรพตมาเป็น กังหันลมพัดพา ละอองธุลีไปจนถึงที่สุดแล้ว เบื้องบนนั้นจึงจักพบสุคันธสมุทร กลางห้วงสมุทรนี้ มีมหาปุณฑริกหลวงดอกมหึมา และปุณฑริกครรภ์โลกธาตุก็ตั้งอยู่ท่ามกลางมหาปุณฑริกนี้ ภายในมีวัชรบรรพตล้อมรอบ พื้นมหาปฐพีภายในวัชรบรรพตนั้นก็ล้วนแต่เป็นเพชร ทั้งสิ้น (อันมีความหมายโดยนัยยะว่า) มีความมั่งคงแข็งแกร่งมิเสื่อมสลาย มีความบริสุทธ์ิเสมอกัน ปราศจากความสูงตํ่า แลอันมหาวัชรปฐพีนี้ก็มีสุคันธสาครของพุทธเกษตรจำนวนนับด้วยอสงไขย ประดุจละอองธุลีอยู่ภายในด้วย สุคันธสาคร(ทะเลนํ้าหอม)แต่ละแห่งก็ห้อมล้อมด้วยสุคันธชลธาร (สายธารนํ้าหอม)จำนวนมากมาย มหาศาลเท่ากับจำนวนละอองธุลีของทวีปทั้งสี่แลดินแดนที่ ท่ามกลางชลธารนั้น ล้วนประกอบไปด้วยแก้วรัตนะที่เป็นทิพย์์ที่แบ่งสรรปันส่วนไว้ดีประดุจข่ายแห”
 
สายธารแห่งนํ้าหอมของปุณฑริกครรภ์โลกธาตุนั้นมีชื่อเรียกว่า “อนันตทิพยปุณฑริกประภา” หมายถึง ความรุ่งเรืองแห่งดอกบัวที่เป็นทิพย์อันไม่มีขอบเขตประมาณ เหตุที่ชื่อนี้เพราะว่า มหาปุณฑริกได้เกิดแต่สายนํ้าหอมนี้และดอกบัวนี้ก็ได้ชื่อว่า “ประภาสทศทิศโลกธาตุ” อันหมายความว่า มีแสงรัศมีที่ส่องสว่างต้องโลกธาตุใน ทศทิศภายในนั้นยังมีโลกธาตุอีก ๒๐ ชั้นมีจำนวนมายมายประดุจละอองธุลีอันถักทอ(คาบเกี่ยว)กันอยู่ประดุจชาละ(ตาข่าย,แห) สำเร็จเป็นข่ายแหแห่งโลกธาตุซึ่งล้วนแต่ อลังการด้วยรัตนมณีลํ้าค่า และมีพระพุทธเจ้าปรากฏกาย สั่งสอนสรรพสัตว์อยู่ภายใน
 
ดั่งธรรมโศลกในคัมภีร์อวตังสกะสูตร ที่ว่า
 
“เหนือปัทมอาสน์นั้นให้ ปรากฏด้วยสรรพลักษณ ์แต่ละรูปกายครอบคลุมซึ่งสรรพโลกธาตุด้วยมโนระลึก เดียวให้สำแดงในตรีกาล สรรพโลกธาตุสาคร* จึงได้สำเร็จตั้งขึ้น แลด้วยพระพุทธ อุบายโกศลจึงเสด็จเข้าสู่โลกธาตุเหล่านั้น นี่แลคือความวิสุทธิอลังการทั้งปวงของ พระไวโรจนะพุทธะ
 
*คำว่าสาครในที่นี้เป็นนัยยะตามอรรถที่ว่า ห้วงมหาสาครนั้น ไร้ซึ่งขอบเขตประมาณ ลึกลํ้าคัมภีรภาพ หาใช่ หมายความว่าสายนํ้าธรรมดาไม่
 
และยังมีอีกโศลกว่า
 
“พระไวโรจนะพุทธเจ้า สามารถหมุนเคลื่อนพระสัทธรรมจักร ยังดินแดนทั้งปวงในธรรมธาตุประดุจหมู่เมฆาที่กำจายทั่วไปใน ทศทิศของบรรดามหาโลกธาตุสาครนั้น ล้วนด้วยอาศัยฤทธาพละ แห่งพระปณิธานของพระพุทธะ ย่อมหมุนเครื่องพระสัทธรรมจักร ไปทั่วทุกสถาน”
 
ดอกบัวใหญ่ในปุณฑริกครรภ์โลกธาตุนั้นแสดงถึงอนันตธรรมธาตุที่ มิแปดเปื้อนด้วยมลทิน ซึ่งมลทินเองก็มิได้ไกลจากความบริสุทธิ์ ์ิเพราะดอกบัวเกิดจาก โคลนตม คัมภีร์มหายานสงเคราะห์ศาสตร์ ์บรรยายไว้ว่า
 
“มหาปุณฑริกอันเป็นราชา เจ้าแห่งปุณฑริกทั้งปวง เปรียบดังตถตาธรรมแห่งธรรมธาตุของมหายาน อันแม้ดอก ปุณฑริกจักอยู่ท่ามกลางโคลนตม แต่มิแปดเปื้อนด้วยอาสวะ ประดุจตถตาแห่งธรรม ธาตุที่ถึงแม้นจะสถิตอยู่ในโลก แต่มิได้แปดเปื้อนด้วย มลทินของโลกธรรม แลปุณฑริก มาศที่ผลิบานได้ด้วย ตัวเองนั้น ก็เปรียบดังตถตาธรรมแห่งธรรมธาตุที่สำแดง อยู่ด้วยตัว มันเอง”
 
พระไวโรจนะพุทธเจ้า ทรงสำแดงซึ่งปุณฑริกครรภ์โลกธาตุอันแสดง ถึงอนันตภาวะของธรรมธาตุที่รวบรวมไว้ซึ่งสรรพสิ่ง ที่กิจกรรมทั้งปวงไม่เป็นอุุปสรรค ขวางกั้นแก่กัน ไม่ว่าความบริสุทธ์ิหรือมลทินก็ล้วนแต่ไม่ไกลไปจากจิตนั่นเอง

Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

บันทึกการเข้า

ทิ นัง มิไฮ นัง มิจะนัง ทิกุนัง แปลว่า
ที่นั่ง มีให้นั่ง มึงจะนั่ง ที่กูนั่ง ทิ้งไว้เป็น
ปริศนาธรรม นะตะเอง
มดเอ๊ก
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +8/-1
ออฟไลน์ ออฟไลน์

Thailand Thailand

กระทู้: 5162


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 6.0 MS Internet Explorer 6.0


ดูรายละเอียด
« ตอบ #1 เมื่อ: 04 มกราคม 2554 22:33:12 »


 
“อวตังสกสูตรนับเป็นสุดยอดแห่งความคิด ความรู้สึก
และประสบการณ์แบบพุทธ สำหรับใจข้าพเจ้า
นั้นไม่มีคัมภีร์ศาสนาเล่มใดที่เข้าถึงความยิ่งใหญ่ของความคิด
ความลึกซึ้งแห่งอารมณ์ และความมโหฬารแห่งองค์ประกอบ
ได้เท่ากับพระสูตรนี้ เป็นน้ำพุแห่งชีวิตซึ่งพวยพุ่งอยู่ตลอดเวลา
ไม่มีจิตใจซึ่งแสวงหาธรรมดวงใดเมื่อได้ดื่มน้ำพุนี้แล้ว
จะกลับกระหายหรือพึงพอใจเล็กน้อย”
 
- ดี.ที. สึซึกิ ปรมาจารย์เซน -


* Mahavairocana Shingon (Japanese) ภาพพุทธศิลปะ พระมหาไวโรจนะ นิกายชินงอน หรือ วัชรยานแห่งญี่ปุ่น

พระสูตรหัวเหยียนจง ตามภาษาจีน

พระสูตรอวตังสกะ พระสูตรพวงดอกไม้ พระสูตรรัตนะมาลา คือ อันเดียวกัน

ไม่ว่าง ตัดฉับ โกยทิ้ง แบบเซน

ไม่จัดจ้าน หลากสี  พลิกผัน ตกตะลึง แบบวัชระยาน

แต่ มันพริ้วไหล เกาะเกี่ยว โยงใย ทะลุทะลวง มหัศจรรย์ล้ำลึก อลังการดีจัง
คือ การสำแดงของความว่าง การละเล่นของอิทัปปัจจยตา นั่นแหละ

ใน มหามุทรา ชอบคำว่า นาฏกรรมไร้รูป จัง

ใครเรียนมาทาง วิทยาศาสตร์ ดาราศาสตร์ ฟิสิกส์ นะ  ลองไป หามาอ่านดู ถูกจริตดี

จบแหละ ง่วงจัง
บันทึกการเข้า

ทิ นัง มิไฮ นัง มิจะนัง ทิกุนัง แปลว่า
ที่นั่ง มีให้นั่ง มึงจะนั่ง ที่กูนั่ง ทิ้งไว้เป็น
ปริศนาธรรม นะตะเอง
มดเอ๊ก
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +8/-1
ออฟไลน์ ออฟไลน์

Thailand Thailand

กระทู้: 5162


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 6.0 MS Internet Explorer 6.0


ดูรายละเอียด
« ตอบ #2 เมื่อ: 04 มกราคม 2554 22:34:27 »




๕ .พระไวโรจนะพุทธเจ้า (Vairocana Buddha ) พระปฐมพุทธะ และพระโลจนพุทธเจ้า
พระหฤทัยคาถาประจําพระองค์
 
โอม อะ วิ ระ หุม ขัม และ
โอม วัชระ ธาตุ วัม
 
พระธรรมกายพุทธเจ้า คือพระนามหนึ่งของพระไวโรจนะพุทธเจ้า บ้างก็เรียกว่า พระปฐมพุทธะ หรือพระมหาไวโรจนะประภาพุทธเจ้า ห รื อ พ ร ะ ม ห า สู ร ย ต ถ า ค ต ซึ่งมีความหมายของพระนามโดยรวมว่า พระพุทธเจ้าทรงมีกายคือธรรม ที่ส่องสว่างด้วย รัศมีแห่งปัญญาญาณ ฉายส่องไปทั่วธรรมธาตุโดยไร้สิ่งกีดขวาง หรือพระไวปุลยกาย พุทธเจ้า ความหมายคือ พระพุทธเจ้าซึ่งมีพระวรกายกว้างขวางไพบูลย์ (ครอบคลุมซึ่งสรรพสิ่ง)

พระไวโรจนะพุทธเจ้า หรือมีอีกพระนามว่า พระโลจนพุทธเจ้า ในอรรถธิบายของคัมภีร์ อวตังสกะสูตร บันทึกไว้ว่า พระโลจนะนั้น แต่บรรพกาลมาจะแปลว่า ไตรกรรมปูรณะ ( แปลว่าผู้เต็มเปี่ยมสมบูรณ์ในกรรมทั้ง ๓ คือ กายกรรม วจีกรรม มโนกรรม) หรือวิสุทธิปูรณะ ( แปลว่าผู้เต็มเปี่ยมในความบริสุทธิ์สะอาด) แต่มาในปัจจุบันจึงเรียกทับศัพท์ภาษาสันสกฤต ในภาษาจีนว่า “พีลูแจนาฮุก”

พระปฏิมาของพระไวโรจนะพุทธเจ้านั้น มักจะปรากฏอยู่พร้อมกับพระพุทธเจ้าอีก ๔ พระองค์ ในกลุ่มพระเบญจพุทธเจ้า โดยประดิษฐานเป็นองค์ประธาน มีพระวรกายสีขาวบริสุทธิ์ และแสดง ท่าปฐมเทศนา หรือท่าปทุมมุทรา (นํามือขวาอุ้มมือซ้ายไว้ที่อก แล้วเหยียดนิ้วชี้ทั้งสองขึ้นสู่ด้านบน) ซึ่งบางอารามในประเทศจีน ญี่ปุ่น และธิเบต พระองค์จะทรงสวมเบญจพุทธมาลา มีพระมัญชุศรี โพธิสัตว์ และสมันตภัทรโพธิสัตว์ประทับอยู่เบื้องซ้ายขวา ในคัมภีร์อวตังสกะสูตร เรียกว่า พระ มหาอริยะเจ้าทั้ง ๓ แห่งอวตังสกะ

พระไวโรจนะทรงประทับบนสิงหอาสน์ และมีพระมหาบารมีโพธิสัตว์ สาวก ๔ พระองค์ ที่ปรากฏอยู่ในวัชรธาตุมณฑล ดั่งนี้

๑.วัชรปารมิตาโพธิสัตว์
๒.รัตนปารมิตาโพธิสัตว์
๓.ธรรมปารมิตาโพธิสัตว์
๔.กรรมปารมิตาโพธิสัตว์
 
- ว่าด้วยพระธรรมกาย : พระไวโรจนะพุทธเจ้า

อ้างตามพระสูตรมหายานทั้งหลายที่ว่า พระไวโรจนะพุทธเจ้าก็คือพระโลจนะพุทธเจ้า ทรงเป็นรูปกายที่แท้จริงของพระศากยมุนีพุทธเจ้า (และพระพุทธเจ้าทั้งปวง) สมัยโบราณ บรรดานักพุทธศาสน์ศึกษาจะแปลความหมายของทั้ง ๓ พระองค์นี้ว่ามีความเกี่ยวข้องกัน โดยนิยามไว้แตกต่างกันไป แต่ก็มีความเข้าใจเช่นกันว่าทั้ง ๓ พระองค์นั้นคือธรรมกาย สัมโภคกาย และนิรมาณกายอันล้วนแล้วไม่เหมือนกันดังนี้ว่า…

๑.กายที่สถิตอยู่ในความสัตยะแห่งธรรมธาตุ แทรกซึมอยู่ในสรรพ สิ่งของจักรวาลคือธรรมกาย แทนด้วยพระไวโรจนะพุทธเจ้า
๒. กายที่มีรูปลักษณะสมบูรณ์อลังการเพรียบพร้อมมีรัศมีเรืองรอง คือ สัมโภคกาย แทนด้วยพระโลจนะพุทธเจ้า และ
๓. กายที่โปรดอนุเคราะห์สรรพสัตว์ในสหาโลกธาตุด้วยมหากรุณา คือ นิรมาณกาย แทนด้วยพระศากยมุนีพุทธเจ้า และบรรดาพระพุทธเจ้าทั้งปวงนั้นย่อม สามารถสําแดงธรรมกาย สัมโภคกาย และนิรมาณกายได้อย่างสมบูรณ์

คั ม ภี ร์วิ ม ล เ กี ย ร ติ นิ ท เ ท ส สู ต ร ไ ด้ ก ล่ า ว ถึ ง พ ร ะ ธ ร ร ม ก า ย ข อ ง พระพุทธเจ้าว่า “ก็คือกายแห่งอากาศ มิเกิดขึ้นและมิได้มิเกิด ไร้รูปลักษณ์และมิได้ไร้ รูปลักษณ์ ก้าวล้วงการเปรียบเทียบของภพทั้งสาม และหาคําพรรณนาสรรเสริญใดมา เทียบเท่าเห็นไม่มี… ฯลฯ”

พระพุทธเจ้าทั้งปวง ด้วยจากการแสดงของปัจจัยแห่งการเกิดและดับของสรรพสิ่ง จึงให้รู้แจ้งว่า “ปัจจัยนั้นล้วนเกิดขึ้นแต่ความอนัตตา” อันเมื่อสัตยธรรมจริงแท้เป็น เช่นนี้ ก็ย่อมวางเฉยในรูปร่างที่โป้ปดหรือคือสิ่งที่หลอกลวงได้ แล้วเข้าสู่ศูนยตา ภาววิสัยอันมิเกิดขึ้นและมิดับสูญ อาศัยธรรมภาวะหรือธรรมธาตุว่าคือกาย ที่ไร้รูป และไร้ลักษณ์
คัมภีร์อวตังสกะสูตร ว่า “อันธรรมธาตุแต่เดิมนั้นว่างเปล่า มิอาจยึดถือแลมิอาจพบ เห็น สภาวะที่ว่างเปล่านั้นแลคือพระพุทธะ ซึ่งมิอาจตรึกคิดคาดประมาณ”

คัมภีร์มหาปรัชญาปารมิตาศาสตร์ ก็ว่า “ครั้งหนึ่งเมื่อพระศากยมุนี พุทธเจ้าประทับยังดาวดึงส์เทวโลกแล้วประทานพระธรรมเทศนาเสร็จสิ้นแล้ว คราที่ พระองค์เสด็จนิวัติสู่โลกมนุษย์นั้น บรรดามหาชนทั้งปวงล้วนเฝ้ารอรับเสด็จ มีเพียงแต่ พระสุภูติเถรเจ้าเท่านั้นที่เร้นกายในพนาวาส นั่งพิจารณาสรรพพุทธธรรมทั้งปวงว่าล้วน แต่มีความศูนย์โดยสภาพ พระศากยมุนีทรงทราบด้วยพระญาณแล้วจึงตรัสกับผู้ที่มา เฝ้ารับเสด็จว่า สุภูติเป็นผู้ได้อภิวาทเราตถาคตเป็นคนแรก เหตุเพราะว่าสุภูตินั้นได้ พิจารณาธรรมทั้งปวงว่าเป็นศูนยตา นี่แหละจึงเรียกว่าได้พบธรรมกายของพระพุทธเจ้า ได้ถวายสักการะอย่างแท้จริง อันเป็นการบูชาที่ประเสริฐสุดแล”

หากเพ่งพิศพระพุทธะด้วยรูปลักษณ์ นั้นคือพบเพียงลักษณะมายา หากพิจารณา พระพุทธะด้วยธรรม ย่อมได้ประสบพระพุทธะที่แท้จริง”

และด้วยเหตุที่ธรรมกายนั้นไกลห่างจากรูปลักษณะ จึงสามารถแทรกซึมไปในทุกสรรพสิ่ง ในคัมภีร์อวตังสกะสูตร กล่าวว่า“มิแค่การใช่เพียงธรรมเดียวกิจกรรมเดียว กายเดียว โลกธาตุ เดียว สรรพสัตว์เดียวที่จักได้พบพระตถาคต แต่สมควรเพ่งพิศในสรรพสิ่งทั้งปวงว่าสมภาพ เสมอกันจึงจักได้พบพระตถาคตเจ้า”
บันทึกการเข้า

ทิ นัง มิไฮ นัง มิจะนัง ทิกุนัง แปลว่า
ที่นั่ง มีให้นั่ง มึงจะนั่ง ที่กูนั่ง ทิ้งไว้เป็น
ปริศนาธรรม นะตะเอง
มดเอ๊ก
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +8/-1
ออฟไลน์ ออฟไลน์

Thailand Thailand

กระทู้: 5162


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 6.0 MS Internet Explorer 6.0


ดูรายละเอียด
« ตอบ #3 เมื่อ: 04 มกราคม 2554 22:35:53 »


*พระมหาไวโรจนะ พุทธศิลป แบบ จีน


- ว่าด้วยสัมโภคกาย : นิรมาณกายของธรรมกาย : พระโลจนพุทธเจ้า

บรรดาพระพุทธเจ้าทั้งปวงในทศทิศด้วยทรงปรารถนาโปรดสรรพสัตว์จึงทรงสําแดง พระวรกายเป็นรูปลักษณ์ต่าง ๆ ในคัมภีร์อวตังสกะสูตร กล่าวว่า “ครุวนาอากาศธาตุ ที่แผ่ซ่านไปทั่วในทศทิศ หากมีรูปหรือไร้รูป หรือจะมีรูปก็มิใช่ จะไร้รูปก็มิใช่ สังขาร และโลกธาตุของสรรพสัตว์ ย่อมมีอยู่มากหลายหาขอบเขตมิได้ อันสัตยกายที่แท้จริง ของพระพุทธะก็ดุจฉะนี้ สรรพธรรมธาตุจะมิแผ่ไปถ้วนทั่วก็หาไม่ แต่ก็มิอาจพบเห็นได้ มิอาจยึดถือได้ แต่ด้วยเพื่ออนุศาสน์สอนสั่งสรรพสัตว์แล้วจึงสําแดงเป็นรูปลักษณ์ทั้งปวง”

พระพุทธเจ้าทั้งปวงทรงได้ประกาศมหาปณิธานจํานวนอสงไขย เพื่อยังประโยชน์แก่ สรรพสัตว์จํานวนอสงไขยมานานนับอสงไขยกัลป์แล้ว ทรงบําเพ็ญภายในคือปัญญาญาณ บารมีครบถ้วนสมบูรณ์ และรูปลักษณ์ภายนอกคือพระวรกายก็สมบูรณ์อลังการ สมบูรณ์ ด้วยลักษณะมงคลแปดหมื่นสี่พันประการ เพื่อแสดงธรรมแก่โพธิสัตว์เป็นเหตุ พระไวโรจนะ พุทธเจ้าจึงทรงสําแดงพระสัมโภคกายอันไพบูลย์ บริสุทธิ์และยิ่งใหญ่อลังการ โดยทรงมี อีกพระนามว่า “พระโลจนะ” ที่ประกอบด้วยศุภลักษณ์มงคลวิเศษนานัปการ ยังให้สรรพ สัตว์ได้เลื่อมใส แล้วเร่งพากเพียรบําเพ็ญตน

คัมภีร์พรหมชาลสูตร มีธรรมโศลกว่า “บัดนี้เราโลจนพุทธะ ได้ประทับบนปัทมอาสน์ แวดล้อมด้วยมาลีจํานวนนับพัน แล้วแลสําแดงเป็นพระศากยมุนีพันพระองค์ ในมาลี หนึ่งให้มีดินแดนจํานวนร้อยโกฏิในดินแดนหนึ่งก็มีพระศากยมุนีหนึ่งพระองค์ ซึ่งล้วน แต่ประทับอยู่ใต้ร่มเงาของอสัตถโพธิพฤกษ์ ในเพลาหนึ่งก็ได้สําเร็จซึ่งพระพุทธมรรค ดุจกัน อันจํานวนแสนโกฏิทั้งหมดนั้น มีพระโลจนพุทธเจ้าเป็นพีชะกาย พระศากยมุนี จํานวนร้อยพันโกฏิ ซึ่งล้วนแต่นําพาสรรพสัตว์จํานวนมากมายประดุจละอองธุลี ได้มา ยังที่ประทับแห่งเราเพื่อสดับเราสาธยายพุทธศีล”

พระโลจนพุทธเจ้าทรงมีสัมโภคกายที่รุ่งเรืองด้วยประภารังสีบริสุทธิ์ อันวิเศษและมหัศจรรย์ ตามที่คัมภีร์อวตังสกะสูตรได้พรรณนาไว้ดังนี้ “ท่านประศานตรูตสาครวตี * กล่าวกับพระสุธน กุมารว่า พระโลจนพุทธเจ้าทรงมีพระวรกายที่บริสุทธิ์ยิ่งนักถือเป็นอจินไตยอันจักคาดนึกเอา ไม้ได้ ทรงมีพระลักษณะสมบูรณ์และมงคลยิ่งนัก ด้วยในทุกๆ วาระจิต ในโลมาชาติหนึ่ง ๆ นั้น ก็ทรงเปล่งพระรัศมีไปยังพุทธเกษตรต่าง ๆ จํานวนอนันตะไม่มีประมาณ แลในรัศมีหนึ่ง ๆ ก็ยัง เปล่งพระรัศมีไปยังพุทธเกษตรต่าง ๆ จํานวนอนันตะอีก ซึ่งฉายส่องไปยังสรรพสิ่งทั้งปวง เต็มเปี่ยมถ้วนทั่วในธรรมธาตุ กําจัดซึ่งกิเลสเครื่องเศร้าหมองทั้งปวงของสรรพสัตว?”

* กัลยาณมิตรท่านหนึ่งของพระสุธนกุมาร

อรรถาธิบายกล่าวว่า พระธรรมกายของพระพุทธะทั้งปวงนั้นจักมีแต่เพียงปวง พระพุทธะด้วยกันเท่านั้นที่จักทรงเห็นกันได้
พระสัมโภคกายของพระพุทธะทั้งปวงนั้น พระพุทธะและโพธิสัตว์ผู้ไม่เสื่อมถอย ย้อนกลับในพระโพธิแล้วเท่านั้นจึงจักเห็นได้

บรรดาปุถุชนและสรรพสัตว์ทั่วไปนั้น จักพบเห็นได้ก็เพียงแต่ภาพมายา (ที่ไม่จริงแท้ เกิดขึ้นโดยการปรุงแต่ง) ที่แสดงเป็นนิรมาณกายเท่านั้น ข้อนี้หาใช่จิตแห่งพระพุทธะ ทรงแบ่งแยกไม่ ที่จริงแล้วเป็นเพราะสรรพสัตว์เองที่ยังด้อยซึ่งกุศลมูลปัญญาญาณและ บารมี เปรียบเทียบได้กับ ผู้ทรงปัญญาย่อมทราบว่าดวงจันทร์ที่แท้อยู่ทิศใดจึงมุ่งสู่ทิศนั้น ยังให้ตนได้พบความสว่างที่แท้จริง แต่ผู้ยังโมหะ ก็ได้แต่ลุ่มหลงอยู่กับดวงจันทร์ที่เป็น ภาพสะท้อนในท้องน้ำ ไม่อาจเข้าถึงสัตยลักษณ์ที่จริงแท้ได้ ดังพระพุทธวจนะของพระ ศากยมุนีที่ตรัสแก่พระกัสสปะโพธิสัตว์ว่า “การเสด็จสู่ห้วงมหาปรินิรวาณของพระพุทธเจ้า ทั้งปวงนั้น ก็คือการเสด็จสู่ห้วงแห่งสมาธิเท่านั้น” ที่จริงแล้วพระพุทธองค์ได้ประทับอยู่ใน สรรพสัตว์ทั้งปวง มิได้ดับสูญสลายไป

พระสัมโภคกายพุทธเจ้านั้น ทรงเกิดแต่บุญญาบารมี ปัญญาญาณและด้วยการสําเร็จพร้อม ในจริยาที่ลึกซึ้งจํานวนอเนกอนันต์ทั้งปวงแล้ว เมื่อปรารถนาจักได้ประสบก็สุดแต่ปัญญา วาสนาของผู้นั้นเป็นองค์ประกอบเอง

พระไวโรจนะพุทธเจ้าหรือพระโลจนพุทธเจ้านี้ นอกจากทรงแสดงซึ่งธรรมกายอัน บริสุทธิ์และไพบูลย์แล้ว ยังทรงแสดงโลกธาตุของพระองค์เองนามว่า “ปุณฑริกครรภ์” อันเป็นจักรวาลที่ไม่มีขอบเขต ครอบคลุมไปทั่วในโลกธาตุต่าง ๆ จํานวนอสงไขย ประดุจละอองธุลีที่มากมายในอากาศด้วย โดยอุปมาว่าไพศาลแผ่กว้างประดุจห้วง มหาสมุทรสาคร ดั่งคัมภีร์อวตังสกะสูตร ที่กล่าวว่า “อัน ปุณฑริกครรภ์โลกธาตุที่มี ความอลังการไพศาลประดุจห้วงมหาสาครนี้ เพราะด้วยพระไวโรจนะพุทธเจ้านั้น ในอดีตกาลล่วงมาครั้งที่ทรงบําเพ็ญพระโพธิจริยาในกัลป์ที่แสนยาวนานประดุจ ละอองธุลีในบรรดาโลกธาตุต่าง ๆ นั้น ในแต่ละกัลป์นั้นได้ทรงอยู่ใกล้ชิดบรรดา พระพุทธเจ้าในกัลป์ที่แสนยาวนานนั้นด้วย โดยในพระพุทธเจ้าแต่ละพระองค์นั้น พระไวโรจนะในครั้งนั้นได้ทรงบําเพ็ญมหาปณิธานจริยาอันบริสุทธิ์ ที่จักยังให้ โลกธาตุของพระองค์เองมีความบริสุทธิ์อลังการภายในโลกธาตุที่มีอยู์มหาศาลประดุจ ห้วงมหาสาครนั้น”

ในพระสูตรพรรณนาว่า “ปุณฑริกครรภ์โลกธาตุ สถิตอยู่ท่ามกลางดอกบัวที่เกิดอยู่ ในสุคันธสมุทร(มหาสุมทรที่น้ำมีกลิ่นหอม) โลกธาตุแห่งนั้นประดับประดาด้วยทิพยรัตน นานาประการ โดยถ้านําสุเมรุราชบรรพตมาเป็นกังหันลมพัดพาละอองธุลีไปจนถึงที่สุด แล้ว เบื้องบนนั้นจึงจักพบสุคันธสมุทร กลางห้วงสมุทรนี้มีมหาปุณฑริกหลวงดอกมหึมา และปุณฑริกครรภ์โลกธาตุก็ตั้งอยู่ท่ามกลางมหาปุณฑริกนี้

ภายในมีวัชรบรรพตล้อมรอบ พื้นมหาปฐพีภายในวัชรบรรพตนั้นก็ล้วนแต่เป็นเพชร ทั้งสิ้น (อันมีความหมายโดยนัยยะว่า) มีความมั่งคงแข็งแกร่งมิเสื่อมสลาย มีความ บริสุทธิ์เสมอกัน ปราศจากความสูงต่ำ แลอันมหาวัชรปฐพีนี้ก็มีสุคันธสาครของพุทธ เกษตรจํานวนนับด้วยอสงไขยประดุจละอองธุลีอยู่ภายในด้วย สุคันธสาคร(ทะเล น้ำหอม)แต่ละแห่งก็ห้อมล้อมด้วยสุคันธชลธาร (สายธารน้ำหอม) จํานวนมากมาย มหาศาลเท่ากับจํานวนละอองธุลีของทวีปทั้งสี่ แลดินแดนที่ท่ามกลางชลธารนั้น ล้วน ประกอบไปด้วยแก้วรัตนะที่เป็นทิพย์ ที่แบ่งสรรปันส่วนไว้ดีประดุจข่ายแห”

สายธารแห่งน้ำหอมของปุณฑริกครรภ์โลกธาตุนั้น มีชื่อเรียกว่า “อนันต ทิพยปุณฑริกประภา” หมายถึง ความรุ่งเรืองแห่งดอกบัวที่เป็นทิพย์ อันไม่มีขอบเขต ประมาณ เหตุที่ชื่อนี้เพราะว่ามหาปุณฑริกได้เกิดแต่สายน้ำหอมนี้ และดอกบัวนี้ก็ได้ชื่อ ว่า “ประภาสทศทิศโลกธาตุ” อันหมายความว่า มีแสงรัศมีที่ส่องสว่างต้องโลกธาตุใน ทศทิศ ภายในนั้นยังมีโลกธาตุอีก ๒๐ ชั้นมีจํานวนมายมายประดุจละอองธุลี อันถักทอ (คาบเกี่ยว) กันอยู่ประดุจชาละ (ตาข่าย, แห) สําเร็จเป็นข่ายแหแห่งโลกธาตุ ซึ่งล้วนแต่ อลังการดวยรัตนมณีล้ำค่า และมีพระพุทธเจ้าปรากฏกายสั่งสอนสรรพสัตว์อยู่ภายใน

ดั่งธรรมโศลกในคัมภีร์อวตังสกะสูตร ที่ว่า “เหนือปัทมอาสน์นั้นให้ปรากฏด้วยสรรพ ลักษณ์ แต่ละรูปกายครอบคลุมซึ่งสรรพโลกธาตุ ด้วยมโนระลึกเดียวให้สําแดงในตรีกาล สรรพโลกธาตุสาคร * จึงได้สําเร็จตั้งขึ้น แลด้วยพระพุทธอุบายโกศลจึงเสด็จเข้าสู่โลกธาตุ เหล่านั้น นี่แลคือความวิสุทธิอลังการทั้งปวงของพระไวโรจนะพุทธะ”

* คําว่าสาครในที่นี้ เป็นนัยยะตามอรรถที่ว่า ห้วงมหาสาครนั้น ไร้ซึ่งขอบเขตประมาณ ลึกล้ำคัมภีรภาพ หาใช่หมายความว่าสายน้ำธรรมดาไม่

และยังมีอีกโศลกว่า “พระไวโรจนะพุทธเจ้า สามารถหมุนเคลื่อนพระสัทธรรมจักรยังดินแดน ทั้งปวงในธรรมธาตุ ประดุจหมู่เมฆาที่กําจายทั่วไปในทศทิศของบรรดามหาโลกธาตุสาครนั้น ล้วนด้วยอาศัยฤทธาพละแห่งพระปณิธานของพระพุทธะ ย่อมหมุนเครื่องพระสัทธรรมจักรไป ทั่วทุกสถาน”

ดอกบัวใหญ่ในปุณฑริกครรภ์โลกธาตุ นั้นแสดงถึงอนันตธรรมธาตุที่มิแปดเปื้อนด้วยมลทิน ซึ่งมลทินเองก็มิได้ไกลจากความบริสุทธิ์ เพราะดอกบัวเกิดจากโคลนตม คัมภีร์มหายาน สงเคราะห์ศาสตร์ บรรยายไว้ว่า “มหาปุณฑริกอันเป็นราชาเจ้าแห่งปุณฑริกทั้งปวง เปรียบ ดังตถตาธรรมแห่งธรรมธาตุของมหายาน อันแม้ดอกปุณฑริกจักอยู่ท่ามกลางโคลนตม แต่มิ แปดเปื้อนด้วยอาสวะ ประดุจตถตาแห่งธรรมธาตุที่ถึงแม้นจะสถิตอยู่ในโลก แต่มิได้แปดเปื้อน ด้วยมลทินของโลกธรรม แลปุณฑริกมาศที่ผลิบานได้ด้วยตัวเองนั้น ก็เปรียบดังตถตาธรรม แห่งธรรมธาตุที่สําแดงอยู่ด้วยตัวมันเอง”

พระไวโรจนะพุทธเจ้า ทรงสําแดงซึ่งปุณฑริกครรภ์โลกธาตุ อันแสดงถึงอนันตภาวะของ ธรรมธาตุ ที่รวบรวมไว้ซึ่งสรรพสิ่ง ที่กิจกรรมทั้งปวงไม่เป็นอุปสรรคขวางกั้นแก่กัน ไม่ว่า ความบริสุทธิ์หรือมลทินก็ล้วนแต่ไม่ไกลไปจากจิตนั่นเอง



http://image.zgfj.cn/uploadfile/201082261558716854.jpg
บันทึกการเข้า

ทิ นัง มิไฮ นัง มิจะนัง ทิกุนัง แปลว่า
ที่นั่ง มีให้นั่ง มึงจะนั่ง ที่กูนั่ง ทิ้งไว้เป็น
ปริศนาธรรม นะตะเอง
มดเอ๊ก
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +8/-1
ออฟไลน์ ออฟไลน์

Thailand Thailand

กระทู้: 5162


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 6.0 MS Internet Explorer 6.0


ดูรายละเอียด
« ตอบ #4 เมื่อ: 04 มกราคม 2554 22:37:40 »




- ว่าด้วยนิรมาณกาย : พระศากยมุนีพุทธเจ้า


ในกรณีของนิรมาณกายของพระศากยมุนีพุทธเจ้านี้ มีอ้างอยู่ในคัมภีร์มหายานไวปุลยธารณีสูตร ว่า “ในสมัยหนึ่งที่สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้า ประทับยังคิชกูฏบรรพต ในนครราชคฤห์ พร้อม ด้วยมหาภิกษุหมู่ใหญ่ ๖๒,๐๐๐ รูป พระโพธิสัตว์มหาสัตว์จํานวน ๘๐ โกฏิพระองค์ และอุบาสก ของแคว้นมคธจํานวน ๖๐โกฏิร้อยพันคน ฯ ครั้งนั้นจวนจะถึงกาลปรินิรวาณ พระตถาคตทรง เจริญตถตาสมาธิ และเมื่อออกจากสมาธิแล้วได้บังเกิดปรากฏการณ์อัศจรรย์มากมาย จากนั้น พระเมตไตรยโพธิสัตว์ได้กราบทูลอาราธนาพระพุทธเจ้า ให้กล่าวแสดงธรรมที่จะยังให้ธรรมจักษุ คงอยู่ในโลกตราบกาลนาน พระตถาคตเจ้าจึงทรงแสดงมหายานไวปุลยธารณีสูตร ฯลฯ และตรัสว่า

ดูก่อน อชิตะ ด้วยเพลาที่เราตถาคตแสดงพระธรรมเทศนานี้แก่สรรพสัตว์ทั้งจตุรทวีป * อันบรรดาสรรพสัตว์ย่อมอาศัยฤทธาพละแห่งพระพุทธะ ให้ต่างแลเห็นพระศากยตถาคต อยู่เฉพาะตนดั่งเราตถาคตที่กําลังเทศนาอยู่นี้เป็นลําดับ ๆ ไปจนถึงชั้นอกนิษฐ์พรหมภูมิ** เหล่าสรรพสัตว์อีกทั้งพระตถาคต (ต่าง ๆ นั้น) ก็ดังเช่นเราตถาคตที่ได้เทศนานี้ ประดุจทวีป หนึ่งตลอดถึงตรีสหัสมหาสหัสโลกธาตุก็เป็นดุจฉะนี้ บรรดาสรรพสัตว์ย่อมจักมีมนสิการว่า “พระศากยตถาคตเจ้า ทรงมาถืออุบัติยังประเทศของเราด้วยพระองค์เองด้วยทรงจักหมุน เคลื่อนกงล้อแห่งพระมหาธรรมจักรแก่เรา”

* ทวีปทั้ง ๔ มี

๑) ชมพูทวีป ตั้งอยู่ทางทิศใต้ของภูเขาสุเมรุ

๒) ปูรววิเทหทวีป ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกของภูเขาสุเมรุ

๓) อมรโคยานทวีป ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกของภูเขาสุเมรุ

๔) อุตตรกุรุทวีป ตั้งอยู่ทางทิศเหนือของภูเขาสุเมรุ

** พรหมชั้นสูงสุด มีความหมายโดยนัยยะว่า พระพุทธเจ้าทั้งปวงทรงมีความเสมอภาค เช่นเดียวกันกับพระศากยมุนีพุทธเจ้า และ พระศากยมุนีพุทธเจ้าก็ทรงมีความเสมอภาค เช่นเดียวกันกับพระพุทธเจ้าทั้งปวงทรงนิรมาณกายไปโปรดและประทานพระธรรมเทศนา แก่สรรพสัตว์ทั่วจักรวาล หรืออาศัยนัยยะตามประโยคที่ว่า “ให้ต่างแลเห็นพระศากยตถาคต อยู่เฉพาะตน” อาจหมายความว่า สรรพสัตว์ทั่วจักรวาลสามารถรับฟังพระธรรมเทศนา จากพระศากยตถาคตเจ้าได้ด้วยสภาวะแห่งใจเฉพาะตน

ดูก่อน อชิตะ เราตถาคตด้วยอาศัยอํานาจแห่งมหาอุบายเช่นนี้ ย่อมสามารถยังให้ในโลกธาตุ ที่มีจํานวนพ้นประมาณมิอาจกําหนดซึ่งขอบเขตนั้น (ทําให้) เมื่อคราอรุโณทัยสมัยย่อมจักสอด ส่องพุทธญาณวิถีสํารวจตรวจดูสรรพสัตว์ที่สมควรได้รับการสั่งสอน แล้วจึงประทานพระ ธรรมเทศนา ในเพลาเที่ยงวันแลพลบค่ำก็จักยังสอดส่องสรรพสัตว์ทั้งปวงด้วยธรรมจักษุอยู่ ตลอดเวลา แลในโลกธาตุเหล่านั้นก็ได้ประทานพระธรรมเทศนาต่าง ๆ แก่สรรพสัตว์ ด้วยพุทธ วิสัยนานาอันมิพึงจักประมาณหยั่งวัด อันสรรพสัตว์ผู้ศึกษา (การเป็น) โพธิสัตว์ทั้งปวงพึงบําเพ็ญ อยู่เช่นนี้

อันบรรดาโพธิสัตว์มหาสัตว์เหล่านี้ได้กราบทูลพระพุทธองค์ว่า “ เป็นเช่นนั้น ๆ จริงดังพระองค์ตรัสแล้ว พระพุทธเจ้าข้า เมื่อคราที่ข้าพระองค์ทั้งหลายได้ดํารง อยู่ทางด้านบูรพาทิศของโลกธาตุแห่งนี้ ในบรรดาพุทธเกษตรต่าง ๆ จํานวนคณนา เท่ากับเมล็ดทรายในคงคานทีสิบสายรวมกันนั้น ก็ได้ถวายสักการะแด่พระพุทธเจ้าผู้ ประเสริฐเหล่านั้นด้วย ในโลกธาตุหนึ่ง ๆ นั้น พบเพียงพระศากยตถาคตที่ทรงบังเกิดมี ขึ้นในโลก ข้าพระองค์ทั้งหลายใน ๗ วาร จึงได้จาริกท่องเที่ยวไปอีกในทศทิศ ก็พบ เพียงพระศากยตถาคตที่บังเกิดอยู่ในโลก มิได้พบพระพุทธะอื่นใดเลย เมื่อจาริกโดย ทั่วแล้ว จึงนิวัติกลับมาสู่โลกธาตุแห่งนี้เพื่อสดับพระสัทธรรม พระพุทธเจ้าข้า”

และเรื่องนิรมาณกายของพระศากยมุนีนี้ก็มีการกล่าวถึงในคัมภีร์สัทธรรมปุณฑริกสูตร ปริวรรคที่ ๑๑ ว่าด้วยปรากฏการณ์แห่งพระมหาสถูปไว้อย่างพิศดารว่า “พระศาสดา ประภูติรัตนเจ้าพระองค์นี้ ได้ทรงตั้งปณิธานสําคัญและจริงจังไว้ข้อหนึ่ง ปณิธานนั้น มีความว่า เมื่อพระศาสดาเจ้าพระพุทธเจ้าทั้งหลายในพุทธเกษตรต่างๆ ทรงแสดง พระธรรมบรรยายในพระสัทธรรมปุณฑริกสูตร ขอให้พระสถูปแห่งอาตมภาวะนี้ สถิตอยู่ใกล้พระตถาคตเจ้า เพื่อจะได้รับฟังพระธรรมบรรยายในพระสัทธรรมปุณฑริกสูตร นี้ และเมื่อพระศาสดาเจ้าพระพุทธเจ้าทั้งหลาย ทรงปรารถนาที่จะเปิดพระรูปแห่งพระ อาตมภาวะ(ของพระประภูติรัตนะ) เพื่อแสดงแก่พุทธบริษัท ๔

เมื่อนั้นขอให้พระรูปแห่ง พระตถาคต(ที่ประสงค์จะเปิดพระสถูป)ทั้งหลายในทศทิศ ในพุทธเกษตรต่าง ๆ จาก อาตมภาวะของพระองค์ ที่แสดงธรรมแก่สรรพสัตว์ภายใต้พระนามต่าง ๆ กัน ฯ มารวมกันฯ เพื่อเปิดเผยให้ประจักษ์แก่พุทธบริษัท ๔ ทันใดนั้น พระศาสดาเจ้า(พระศากยมุนี) ทรงเปล่งพระรัศมีจากพระอุษณีย์ ทันทีที่เปล่ง พระรัศมีออกไปนั้น พระพุทธเจ้าทั้งหลายที่ประทับอยู่ทางทิศตะวันออกใน ๕๐ ร้อยพัน หมื่นโกฏิโลกธาตุจํานวนมากมายดุจเม็ดทรายในคงคานที ฯลฯ ในพุทธเกษตรเหล่านั้น ปรากฏมีพระพุทธเจ้ากําลังทรงเทศนาสอนสรรพสัตว์ ฯ ในทิศตะวันตกเฉียงใต้ก็เช่นกัน เช่นเดียวกับทิศใต้ ทิศตะวันตกเฉียงใต้ ทิศตะวันตก ทิศตะวันตกเฉียงเหนือ ทิศเหนือ ทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ทั้งขั้วโลกเหนือ-ใต้ และในทศทิศแต่ละทิศ ฯ พระพุทธเจ้าใน พุทธเกษตรทั้งหลายจํานวนหลายร้อยพันหมื่นโกฏิพระองค์

พระตถาคตเจ้าทั้งหลายเหล่านั้นในทศทิศ ต่างรับสั่งแก่พระโพธิสัตว์ที่ห้อมล้อมอยู่ว่า กุลบุตรทั้งหลาย เราจักต้องไปยังสหาโลกธาตุ ยังพระศาสดาศากยมุนีตถาคตเจ้า เพื่อ ถวายนมัสการแก่พระสถูปแห่งพระบรมสารีริกธาตุของพระประภูติรัตนตถาคตเจ้า ฯลฯ ในขณะนั้น พระตถาคตเจ้าทั้งหลายซึ่งสร้างขึ้นโดยพระศาสดาศากยมุนีผู้ประกาศพระ ธรรมแก่สรรพสัตว์ ทางทิศตะวันออกในร้อยพันหมื่นโกฏิพุทธเกษตรมากมายดุจเม็ด ทรายในคงคานที ได้พากันเสด็จมาถึงและประทับทั่วทิศทั้ง ๘ ฯลฯ

เมื่อพระศาสดาศากยมุนีตถาคตเจ้า ได้ทอดพระเนตรเห็นพระตถาคตเจ้าทั้งหลายที่พระองค์ เนรมิตขึ้นนั้น เสด็จมาถึงพร้อมกันโดยไม่มีผู้ใดขาด ฯ แล้วประทับยืนอยู่ในฟากฟ้า พุทธบริษัท ๔ ในธรรมสภานั้นต่างพากันลุกขึ้นจากที่นั่งประนมมือยืนจ้องมองพระศาสดาเจ้าอยู่ พระศาสดา เจ้าจึงทรงใช้นิ้วดรรชนีขวาเปิดพระมหาสถูป ฯลฯ”

ตามอรรถของพระสูตรทั้งสองข้างต้นที่ได้แสดงถึงพระนิรมาณกายของพระศากยมุนีพุทธเจ้า ว่ามีอยู่จํานวนมากมายในทศทิศ ซึ่งคัมภีร์มหายานไวปุลยธารณีสูตรเป็นการกล่าวยืนยันกรณี นิรมาณกายของพระศากยมุนีโดยพระโพธิสัตว์ทั้งปวงและคัมภีร์สัทธรรมปุณฑริกสูตร เป็น การแสดงนิรมาณกายโดยพระศากยมุนีเอง และยังมีอีกหลายพระสูตรคัมภีร์ ที่กล่าวบรรยายใน เรื่องทํานองนี้

ดังนั้นพระมหาสูรยประภา หรือพระไวโรจนะจึงหมายความโดยนัยยะว่า พระปัญญาญาณแห่งพระพุทธะ ประดุจอาทิตย์ดวงใหญ่นับพันดวง สามารถกําจัด อวิชชาความมืดบอดของสรรพสัตว์ แล้วแสงแห่งปัญญาอันรุ่งโรจน์นั้นจักยังให้เมล็ด แห่งโพธิจิตในสรรพสัตว์ได้เจริญงอกงามด้วยต้องพุทธรังสีอันประเสริฐนี้.

 

จาก เว็บ มหาปารมิตา http://www.mahaparamita.com/

毗卢遮那佛咒 Vairocana Buddha (พระไวโรจนะพุทธะ)

บันทึกการเข้า

ทิ นัง มิไฮ นัง มิจะนัง ทิกุนัง แปลว่า
ที่นั่ง มีให้นั่ง มึงจะนั่ง ที่กูนั่ง ทิ้งไว้เป็น
ปริศนาธรรม นะตะเอง
มดเอ๊ก
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +8/-1
ออฟไลน์ ออฟไลน์

Thailand Thailand

กระทู้: 5162


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 6.0 MS Internet Explorer 6.0


ดูรายละเอียด
« ตอบ #5 เมื่อ: 04 มกราคม 2554 22:40:14 »


 
 
ทุกครั้งที่อาตมาสัมผัสดอกไม้
อาตมาก็ได้สัมผัสดวงอาทิตย์
โดยมืออาตมาไม่ไหม้เกรียม
 
เมื่อสัมผัสดอกไม้
อาตมาก็ได้สัมผัสเมฆ
โดยไม่ต้องบินไปบนท้องฟ้า
 
เมื่อสัมผัสดอกไม้
อาตมาก็ได้สัมผัสกับจิตสำนึกของอาตมาเอง
สัมผัสกับจิตสำนึกของเธอและได้สัมผัสโลก
ซึ่งคือดาวพระเคราะห์ดวงนี้ไปพร้อมๆ กัน
นี่คืออาณาจักรแห่งอวตัมสกะ
 
สิ่งอัศจรรย์เกิดขึ้นได้
เพราะการประจักษ์แจ้งถึงธรรมชาติของการอิงอาศัยกัน
 
จาก หนังสือ ปลูกรัก ของ ท่าน ติช นัท ฮันห์

Vairocana's Mantra of Light 光明真言
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 04 มกราคม 2554 22:47:28 โดย มดเอ๊ก » บันทึกการเข้า

ทิ นัง มิไฮ นัง มิจะนัง ทิกุนัง แปลว่า
ที่นั่ง มีให้นั่ง มึงจะนั่ง ที่กูนั่ง ทิ้งไว้เป็น
ปริศนาธรรม นะตะเอง
คำค้น:
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน

Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.654 วินาที กับ 31 คำสั่ง

Google visited last this page 18 ธันวาคม 2567 22:47:14