[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
22 ธันวาคม 2567 18:15:21 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: เปิดตำนาน อสูรที่่ได้รับการบูชา! "ท้าวหิรัญพนาสูร" ผู้ปกปักษ์คุ้มครองรัชกาลที่ 6  (อ่าน 2215 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
มดเอ๊ก
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +8/-1
ออฟไลน์ ออฟไลน์

Thailand Thailand

กระทู้: 5162


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
Chrome 50.0.2661.272 Chrome 50.0.2661.272


ดูรายละเอียด
« เมื่อ: 07 กันยายน 2559 17:16:52 »



เปิดตำนาน..อสูรที่่ได้รับการบูชา! "ท้าวหิรัญพนาสูร" ผู้ปกปักษ์คุ้มครองรัชกาลที่ ๖

  เรื่องเทพหรือเทวดาที่ชื่อ ท้าวหิรัญพนาสูร" หรือ "ท้าวหิรัญฮู" นี้เล่ากันมาตั้งแต่สมัยรัชกาลพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 เทพองค์นี้บางคนก็เล่าว่า เป็นอสูรที่ตั้งอยู่ในสัมมาทิฐิ (ประพฤติในทางที่ดีงาม) คอยติดตามป้องกันภัยอันตรายไม่ให้มา กล้ำกรายรัชกาลที่ 6 และข้าราชบริพารที่อารักขา มีผู้เคยเห็นร่างท่านเป็นยักษ์ดุร้ายน่าเกรงขาม แต่ในยามปกติเล่ากันว่า "ท่านท้าวหิรัญฮู" ตนนี้เป็นเทพที่มีรูปงามเลยทีเดียว



  ล้นเกล้าฯ รัชกาลที่ 6 เป็นพระมหากษัตริย์พระองค์หนึ่งที่ทรงสื่อกับบรรดา "โอปปาติกะ" หรือ "วิญญาณ" ได้บ่อยครั้ง ครั้งหนึ่งพระองค์ท่านทอดพระเนตรเห็นผู้ที่ตายแล้วมาหา ซึ่งก็เป็นเรื่องที่เล่าต่อ ๆ กันมาจึงดูคล้ายกับว่าพระองค์ทรงมี "สัมผัสที่ 6" ในทางเร้นลับไม่น้อย



      ในเรื่องของ "ท้าวหิรัญพนาสูร" เทพผู้อารักขารัชกาลที่ 6 เป็นเรื่องที่เกิดขึ้นจริงในสมัย ร.ศ.126 ขณะที่พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จประพาสเมืองลพบุรี เมื่อครั้งที่ยังไม่ได้เสด็จขึ้นครองราชย์ ในคืนวันเสด็จประพาสคืนหนึ่ง มีผู้ตามเสด็จท่านหนึ่งได้มีนิมิตฝันประหลาดเห็นชายหุ่นล่ำสันใหญ่โตมาหา บอกว่าชื่อ "หิรัญ" เป็นอสูรชาวป่า ที่มานี่จะมาบอกว่า ต่อแต่นี้เขาจะคอยตามเสด็จล้นเกล้าฯ ไม่ว่าจะประทับอยู่ที่ใด เขาจะคอยดูแลและระวังภัยไม่ให้เกิดขึ้นกับพระองค์ท่านได้ เมื่อทรงทราบเหตุการณ์ในฝันจึงทรงมีพระราชดำรัสให้จุดเทียน จัดเตรียมอาหารเซ่นสังเวย "ท้าวหิรัญฮู" ในป่าเมืองลพบุรีนั้นทันที และทุกครั้งไม่ว่าจะเสด็จฯ ไปแห่งหนใด ในเวลาค่ำถึงยามเสวย พระองค์จะมีพระราชดำรัสให้จัดอาหารเซ่นสังเวย "ท้าวหิรัญฮู" ทุกครั้งไป

       ย้อนหลังไปในอดีตกาลที่ผ่านพ้นมาถึง 90 ปี ครั้งกระนั้น พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ยังทรงดำรงพระอิสริยยศเป็น “สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชสยามมกุฎราชกุมาร” ได้ทรงเสด็จพระราชดำเนินไปประพาส ณ มณฑลพายัพ โดยขบวนรถไฟหลวง ครั้นถึงจังหวัดนครสวรรค์ ก็เสด็จพระราชดำเนินโดยขบวนเรือพระที่นั่งไปขึ้นบกที่จังหวัดอุตรดิตถ์ จากนั้นพระองค์ก็เสด็จพระราชดำเนินโดยทรงม้าต่อไป ซึ่งในครั้งกระโน้น อุตรดิตถ์และดินแดนทางฝ่ายเหนือยังมีสภาพเป็นป่ารกชัฏ อุดมสมบูรณ์ด้วยแมกไม้นานาพรรณ แลเกลื่อนกล่นด้วยส่ำสัตว์น้อยใหญ่ ไม่ปรากฏถนนหนทางดังเช่นปัจจุบัน ใช่เพียงหมู่สัตว์ร้ายและไข้ป่าที่ขึ้นชื่อลือชาว่าน่าหวาดสยองเป็นที่สุดเท่านั้น ความเงียบของไพรพฤกษ์ ความมืดครึ้มของดงดิบ ก็มีผลที่จะสั่นคลอนประสาทของผู้เป็นข้าราชบริพารที่ว่าแข็งให้หวั่นไหวได้ อย่างน่าประหลาด ภูตผีปีศาจเป็นเรื่องที่ฝังรากหยั่งลึกอยู่ในจิตใจของคนไทยมาช้านาน ไม่อาจบอกได้ว่าเริ่มมาแต่ครั้งไหน ทว่ามันยังมีอิทธิพลเรื่อยมาทุกรุ่นทุกคนจนทุกวันนี้ ผู้ตามเสด็จในขบวนทั้งหลายก็ยังมีความเชื่ออย่างนี้เช่นกัน ด้วยความวิตกในจิตใจและความบอบบางของร่างกายอย่างชาววัง จึงได้มีผู้ล้มป่วยเป็นไข้ป่าอยู่เป็นอันมาก

       วันหนึ่งของการเดินทาง เมื่อพลบค่ำ ข้าราชการที่ตามเสด็จไปด้วยก็จัดเตรียมพลับพลาที่ประทับในป่าถวายสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ ดังเช่นที่เคยปฏิบัติมา ในราตรีนั้นเอง สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ ได้ทรงสุบินนิมิตเห็นปรากฏแก่สายพระเนตร เป็นบุรุษชาติผู้หนึ่ง กอปรด้วยรูปร่างที่ใหญ่โตแลกล้ามเนื้ออันล่ำสันบึกบึน มีผิวกายคล้ำเยี่ยงคนกรำแดด ที่ตัวนั้นมิได้สวมเสื้อ คงนุ่งเพียงผ้าเตี่ยวมีลายเชิงสีแดงคาดรัดเอวอย่างงดงาม ร่างกายล้วนเต็มไปด้วยอาภรณ์สูงค่าประดับองค์ บนศีรษะครอบไว้ด้วยชฎาทรงเทริดอันเป็นเครื่องบ่งถึง “ภพภูมิ” ที่ไม่ “ธรรมดา” บุรุษลึกลับผู้นั้นย่างกายเข้ามาอย่างองอาจผ่าเผย ทว่าแฝงไว้ด้วยความอ่อนน้อมในที เมื่อร่างอัศจรรย์มาหยุดยืนอยู่เบื้องปลายแท่นพระบรรทมแล้ว ก็ยกมือขึ้นประนม แล้วกราบบังคมทูลด้วยเสียงที่อ่อนโยนลุ่มลึกขึ้นว่า “ข้าพระพุทธเจ้าชื่อ ฮู เป็นอสูรชาวป่าซึ่งยึดมั่นอยู่ในสัมมาปฏิบัติ มีความศรัทธาเลื่อมใสในพระองค์ จะขอถวายตัวเพื่อเป็นข้าราชบริพารคอยรับใช้ และติดตามเสด็จไปด้วยทุกหนแห่งเพื่อพิทักษ์เบื้องพระยุคลบาท มิให้ภยันตรายมากร้ำกรายพระองค์”

        สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ ทรงสดับฟังด้วยความสุขุมอย่างเข้าพระทัยเมื่ออสูรนามว่า “ฮู” กล่าวจบลง พระองค์จึงทรงมีพระราชดำรัสถามว่า “แล้วจะให้ข้าพเจ้าปฏิบัติอย่างไร” อสูรผู้มีป่าเป็นเรือนพักได้กราบบังคมทูลว่า “ไม่ต้องมี อะไรมาก โปรดพระราชทานที่เฉพาะให้ข้าพระพุทธเจ้าอยู่ และแบ่งพระกระยาหารจากเครื่องเสวยของพระองค์ ก็เพียงพอแล้ว” เมื่อจบ การสนทนา อสูรชาวป่าก็ถวายบังคมลาอันตรธานไปจากพลับพลาที่ประทับในราตรีนั้น ครั้นอรุณรุ่ง พระองค์ก็ทรงมีพระราชวินิจฉัยอยู่ในพระราชหฤทัยอยู่เพียงพระองค์เดียวว่า เมื่อคืนนั้นจักทรงพระสุบินไปโดยธรรมดาของธาตุขันธุ์ หรือเป็น“เทพนิมิต” ทว่าหลังจากนั้นไม่นาน บรรดาข้าราชบริพารทั้งหลายทั้งปวงที่เป็นไข้ป่ากันงอมแงมก็พากันหายจากอาการ เจ็บป่วยโดยสิ้นเชิง และผู้ที่ไม่เคยเป็นก็พากันรอดพ้นจากไข้ป่าแลภัยทั้งหลายทั้งปวง เมื่อทรงทอดพระเนตรเห็นดังนั้น ก็ดูเป็นการสมจริงดังคำอ้างของบุรุษผู้มีที่มาอันพิสดารได้กล่าวรับรองไว้ ยิ่งไปกว่านั้น ประดาข้าราชบริพารที่ตามเสด็จไปด้วย ก็เกิดพบเห็นชายรูปร่างใหญ่โตน่าเกรงขามคนหนึ่งมักยืนหรือนั่งอยู่ใต้ต้นไม้ ใกล้ ๆที่ประทับของพระองค์เสมอ ๆ บางครั้งก็เห็นเพียงคนเดียว แต่บางครั้งก็พากันเห็นพร้อมกันหลายคน ทำเอาข้าราชบริพารทั้งนั้นวิพากษ์วิจารณ์กันอย่างอกสั่นขวัญแขวน เพราะในกลุ่มผู้ที่ตามเสด็จทั้งหลายไม่มีชายรูปร่างหน้าตาอย่างนี้มาด้วยเลย เมื่อความข้อนี้ทราบถึงพระเนตรพระกรรณ จึงทรงมีพระราชดำรัสให้จัดธูปเทียนและเครื่องโภชนาการเลิศรสไปสังเวยที่ริมป่าละเมาะใกล้กับพลับพลาที่ประทับนั้น เวลาเสวยก็ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้แบ่งพระกระยาหารจาก “เครื่องต้น” ไปเซ่นสรวงเสมอ และได้ถือเป็นพระราชกรณียกิจจนกระทั่งสิ้นรัชกาล

               พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงได้รับการศึกษาจากประเทศอังกฤษ ในขณะที่มีการค้นคว้าเรื่องราวทางภารตวิทยาของอินเดียหรืออนุทวีป ในฐานะเมืองขึ้นของจักรวรรดิอย่างคึกคัก ส่งผลให้พระองค์ทรงสนพระทัยในเรื่องราวอันเร้นลับของอินเดียที่ถ่ายทอดผ่านคัมภีร์และปกรณัมต่างๆ และทรงเป็นต้นแบบในการรับเอาคติความเชื่อต่างๆ เกี่ยวกับ "ภารตะวิทยา"



     ในตำราอีกบทหนึ่งกล่าวว่า ท้าวหิรัญพนาสูรปรากฏขึ้นในแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว คำว่า "หิรัญ" หมายถึงเงิน สีเงิน หรือบางแห่งแปลความหมายว่าทอง ส่วน "พนาสูร" เป็นคำเชื่อมกันระหว่าง "พนา" แปลว่า "ป่า" กับ "อสูร" ดังนั้น จึงสื่อความหมายถึงเทพาสูรผู้เป็นใหญ่แห่งป่า ซึ่งพระองค์ทรงเรียกว่า "ท้าวหิรัญฮู" มีผู้อธิบายว่า "ฮู" มาจาก "Who" ในภาษาอังกฤษ เนื่องจากในปี พ.ศ.2449 ขณะที่ยังทรงพระอิสริยยศเป็นสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ ทรงเสด็จประพาสมณฑลพายัพ ซึ่งเส้นทางในสมัยนั้นเต็มไปด้วยป่าเขา ภยันตราย และโรคภัยไข้เจ็บ ขณะเมื่อทรงจะออกจากอุตรดิตถ์ข้าราชบริพารที่ตามเสด็จรู้สึกหวั่นวิตกต่อ ภยันตราย พระองค์จึงทรงมีพระราชดำรัสว่า

         "ธรรมดาเจ้าใหญ่นายโตจะเสด็จ ณ ที่แห่งใดๆก็ดี คงจะมีทั้งเทวดาและปีศาจฤๅอสูร อันเป็นสัมมาทิฏฐิ คอยติดตามป้องกันภยันตรายทั้งปวง มิให้มากล้ำกรายพระองค์และบริวารผู้โดยเสด็จได้ ถึงในการเสด็จครั้งนี้ก็มีเหมือนกัน อย่าให้ผู้หนึ่งผู้ใดมีความวิตกไปเลย"

      ด้วยกระแสพระราชดำรัสดังกล่าว ทำให้บรรดาข้าราชบริพารขุนนางใหญ่น้อยอุ่นใจคลายความกังวล ในขณะเสด็จประพาสนั้นปรากฏมีข้าราชบริพารชั้นผู้ใหญ่ท่านหนึ่งเกิดนิมิตฝันเห็นบุรุษผู้หนึ่งร่างสูงใหญ่ล่ำสัน บอกนามว่า "หิรัญ" และแจ้งว่าตนเป็นอสูรแห่งป่า เป็นผู้ตั้งอยู่ในสัมมาปฏิบัติจะคอยดูแลปกป้ององค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และข้าราชบริพารในขณะเดินทาง จึงทรงโปรดฯ ให้ตั้งเครื่องสังเวยในป่าริมพลับพลานั้น และเมื่อทรงเสวยก็จะแบ่งพระกระยาหารไปตั้งเป็นเครื่องเซ่นเสมอๆ ปรากฏว่าการเสด็จพระราชดำเนินหัวเมืองพายัพครั้งนั้นปราศจากเภทภัย อันตราย ไม่มีใครเจ็บไข้ได้ป่วย และประสบความสำเร็จสมดังตั้งพระราชหฤทัยไว้ทุกประการ

     ด้วยเหตุ ดังกล่าวการเสด็จประพาสในคราวต่อๆ มาข้าราชบริพารจึงทำพิธีอัญเชิญเทพาสูรที่ปรากฏในนิมิตตามเสด็จไปด้วยทุก ครั้ง และมีผู้คนมากมายพบเห็นบุรุษในลักษณาการอย่างโบราณ รูปร่างสูงใหญ่ นั่งบ้าง ยืนบ้าง ตามขบวนเสด็จไปด้วยเป็นอันมาก จนข่าวคราวร่ำลือถึงข้าหลวงมณฑลเทศาภิบาลต่างๆ ทำให้ผู้คนเลื่อมใส เคารพท้าวหิรัญพนาสูรกันแต่ครั้งนั้น และโปรดให้หล่อรูปท่านท้าวประดิษฐานไว้ประจำพระราชวังพญาไท "รูปท้าวหิรัญพนาสูร" จึงกลายเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ผู้คนเคารพกราบไหว้ให้ป้องกันภยันตราย ให้ปราศจากโรคภัยไข้เจ็บ และประสบความสำเร็จในกิจการงานต่างๆ ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา
 

คาถาบูชาท้าวหิรัญพนาสูร (นะโม 3จบ)

ระหินะ ภูมาสี ภะสะติ นิรันตะรัง ลาภะสุขัง ภะวันตุเม (สวด 9 จบ )

ผู้ใดสวดบูชาประจำ ป้องกันภัย มีโชคลาภ ค้าขายดี มีอำนาจ หายจากโรคภัยไข้เจ็บ ร่มเย็นเป็นสุขตลอดกาล

จาก http://panyayan.tnews.co.th/contents/203498/

<a href="https://www.youtube.com/v/d_7ZOHJjyQQ" target="_blank">https://www.youtube.com/v/d_7ZOHJjyQQ</a>

Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

บันทึกการเข้า

ทิ นัง มิไฮ นัง มิจะนัง ทิกุนัง แปลว่า
ที่นั่ง มีให้นั่ง มึงจะนั่ง ที่กูนั่ง ทิ้งไว้เป็น
ปริศนาธรรม นะตะเอง
คำค้น:
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน

Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.419 วินาที กับ 31 คำสั่ง

Google visited last this page 18 ธันวาคม 2567 03:28:34