"เหรียญนารายณ์แปลงรูป มีพุทธคุณสูงส่ง เสน่ห์เมตตามหานิยมเป็นเลิศ พลิกผันสรรพสิ่งที่เลวร้ายให้กลับกลายไปในทางที่ดีขึ้น ทั้งชีวิต อาชีพการงาน และสิ่งอวมงคลทั้งหลาย"
จากประวัติของ ท่านเจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) ที่เขียนขึ้นโดย มหาอำมาตย์ตรี พระยาทิพย์โกษา (สอน โลหะนันท์) และท่านพระครูปลัดมหาเถรานุวัตร (มหาแพ) และจัดพิมพ์เป็นธรรมทานเมื่อคราว "สมโภชกรุงรัตนโกสินทร์ 200 ปี" ความตอนหนึ่งได้กล่าวถึง "วิชา" ที่ ท่านเจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) ทรงใช้ขณะหลบเลี่ยงการได้รับแต่งตั้งสมณศักดิ์ให้เป็นพระชั้นผู้ใหญ่ โดยท่านสามารถเปลี่ยนแปลงใบหน้าจนทำให้คนที่รู้จักจำไม่ได้ และกลับเรื่องร้ายแรงของชีวิตให้กลายเป็นเรื่องดีงามเหมือน "การกลับตาลปัตร"
...เหตุการณ์ดังกล่าวเกิดขึ้นในช่วงที่พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 3) เสด็จสวรรคต เหล่าข้าราชบริพารได้ทูลอัญเชิญทูลกระหม่อม พระราชาคณะวัดบวรนิเวศวรวิหาร ให้เสด็จ นิวัติออกเถลิงถวัลย์ราชสมบัติ เป็น พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 4) ซึ่งขณะนั้นพระมหาโตอายุได้ 64 ปี ท่านตัดสินใจออกธุดงค์หนีหายไปจากวัด เป็นเวลานานนับเดือนก็ยังไม่กลับวัด จนล้นเกล้าฯ รัชกาลที่ 4 กริ้วมากถึงกับมีรับสั่งว่า "ท่านเหาะก็ไม่ได้ ดำดินก็ไม่ได้ แหกกำแพงจักรวาลหนีก็ยังไปไม่ได้" และรับสั่งให้พระญาณโพธิออกติดตาม แต่ถึงอย่างไรก็ไม่สามารถพบเจอ... พระองค์ทรงมีรับสั่งว่า "ฉันจะตามหาเอง" ครั้นถึงเดือนเจ็ดในปีเดียวกันนั้น มีกระแสรับสั่งถึงเจ้าเมืองทั่วราชอาณาจักร ให้จับ "พระมหาโต" ส่งมายังเมืองหลวงให้ได้ .. แต่แม้จะมีท้องตรารับสั่งเร่งรัดอย่างไรก็ตาม ก็ไม่สามารถพบพระมหาโตได้ เนื่องจากท่านได้ลองใช้วิชาเปลี่ยนหน้าที่ร่ำเรียนมา ทำให้คนรู้จักกลับจำไม่ได้ เห็นเป็นพระองค์อื่น ปล่อยท่านไปก็มี
...ครั้นพระมหาโตมาพิจารณาเห็นว่า การที่ทางการจับพระสงฆ์ไปบีบคั้นให้ตามหาตัวท่าน ทำให้พระสงฆ์ต้องลำบากโดยไม่ใช่เรื่องที่ควรจะเป็น ท่านจึงได้ไปแสดงตัวกับ "กำนันบ้านไผ่" เพื่อให้ส่งตัวลงมายังพระนคร พระญาณโพธิได้พาเข้าเฝ้าล้นเกล้าฯ รัชกาลที่ 4 ณ พระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัย ท่ามกลางเหล่าข้าราชบริพาร ซึ่งพระองค์ก็มิได้กริ้วตามที่ทุกคนคาดการณ์แต่ประการใด รับสั่งเพียงว่า "เป็นสมัยของฉันปกครองแผ่นดิน ท่านต้องช่วยฉันพยุงพระบวรพุทธศาสนาด้วยกัน" พร้อมทรงถวายสัญญาบัตรตาลปัตรแฉกหักทองขวางด้ามงา เป็นพระราชาคณะที่ "พระธรรมกิตติ" ครองตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดระฆังโฆสิตาราม ธนบุรี...
ในบันทึกนั้นได้กล่าวกันว่า การที่พระมหาโตใช้วิชาอาคมเปลี่ยนหน้านั้น วิชานี้เรียกว่า "นารายณ์แปลงรูป" ซึ่งมีพุทธคุณสูงส่งในเรื่อง "กลับร้ายให้กลายเป็นดี" นั่นเอง ในตำราไสยศาสตร์โบราณยังได้กล่าวถึงด้านอานุภาพเอาไว้ว่า มีฤทธิ์ มีเดชมาก อุปมาดั่ง "พระนารายณ์" อวตารแปลงรูปลงมา สามารถช่วยเหลือได้ในทุกโอกาส ทั้ง เสน่ห์เมตตามหานิยม กำบังอำพรางตัว หากแต่การสร้างให้ออกมาเป็นรูปขององค์พระนารายณ์เลยทีเดียวมักจะไม่มีใครทำกัน คนโบราณจึงนำมาดัดแปลงเป็น "ตัวยันต์" กำกับคาถามากกว่า
สำหรับ "เหรียญสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) รุ่นนารายณ์แปลงรูป" ที่ทางวัดขุนอินทประมูล ได้จัดสร้างนี้ เพื่อให้เหรียญออกมาอย่างสมบูรณ์แบบสมศักดิ์ศรีบารมีแห่ง "สมเด็จโต" ครบถ้วนทั้งพุทธศิลป์และพุทธคุณ เรียกว่า "ดีนอกดีใน" จึงได้สรรหาศิลปินและผู้เชี่ยวชาญด้านงานพุทธศิลป์ผู้มีชื่อเสียงแห่งยุค เพื่อวางรูปแบบและองค์ประกอบต่างๆ ออกมาเป็นรูปแบบ เหรียญทรงเสมาประยุกต์ ที่มีพุทธศิลป์งดงามอลังการร่วมสมัย ด้านหน้าของเหรียญ มีองค์ประกอบด้วยองค์สาม คือ พระพุทธ พระธรรม และพระสงฆ์ โดยมี รูปพระสมเด็จวัดระฆังฯ ประดิษฐานอยู่บริเวณซุ้มด้านบน มีธรรมจักรตั้งอยู่บริเวณพื้นเหรียญ และมีองค์สมเด็จโต ประทับนั่งอยู่ด้านหน้า ส่วนด้านหลัง เป็นองค์มหาเทพพระนารายณ์ ทรงอาวุธ ตรี จักร สังข์ คันศร ร่ายพระเวทอวตารหรือเพื่อแปลงรูปกาย ด้านบนประกอบด้วย ตัวอุ หรือ โอม และพระคาถาสำคัญ "นารายณ์แปลงรูป" กำกับเหรียญว่า "อะ วิ สุ นุต สา นุส ติ"
ประกอบพิธีบวงสรวงเป็นที่เรียบร้อยแล้ว 2 วาระ ณ วัดขุนอินทประมูล จ.อ่างทอง วาระที่ 1 เมื่อวันจันทร์ที่ 17 เมษายน พ.ศ.2560 ซึ่งตรงกับวันเกิดสมเด็จโต ครบรอบ 229 ปี และ วาระที่ 2 ในวันพฤหัสบดีที่ 22 มิถุนายน พ.ศ.2560 ที่ผ่านมานี้ ซึ่งตรงกับวันมรณภาพครบรอบ 145 ปี พร้อมพระสงฆ์ทรงสมณศักดิ์ 9 รูป เจริญพระพุทธมนต์และสวดมาติกาบังสุกุลถวายฯ จากนี้ได้กำหนดพิธีพุทธาภิเษกใหญ่ ณ วัดระฆังโฆสิตารามวรมหาวิหาร และพิธีบวงสรวงเทวาภิเษก ณ วัดมณีชลขัณฑ์จ.ลพบุรี ถิ่นพำนักของขรัวตาแสงอดีตเจ้าอาวาส ผู้ถ่ายทอดสรรพวิชานารายณ์แปลงรูปให้กับท่านเจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) ติดตามรายละเอียดกันในตอนต่อไป อิติปิโส 8 ทิศ ปฐมบทแห่งนารายณ์แปลงรูปด้วยพุทธบารมีแห่งพระคาถา "อิติปิโส 8 ทิศ" ที่ถูกถอดมาจากบทพระพุทธคุณทั้ง 56 อักขระ ก่อกำเนิดเป็นอานุภาพที่ปกป้องคุ้มภัยในแต่ละทิศ นำความสวัสดีมาแก่ผู้สวดบูชา โดยหนึ่งในพระคาถาอิติปิโส 8 ทิศ คือ คาถาพระนารายณ์แปลงรูป "อะ วิ สุ นุต สา นุส ติ" เป็นคาถาที่ถูกนำมาใช้ในการปลุกเสกวัตถุมงคลให้มีอานุภาพแคล้วคลาด กำบังตน ศัตรูเห็นเป็นคนอื่น หรือใช้ในการภาวนาเมื่อมีภัยอันตราย
คาถาพระนารายณ์แปลงรูปยังเป็นคาถาที่ใช้สวดบูชาของคนเกิดวันอาทิตย์ เป็นการบูชาเทพพระอาทิตย์ สวดทุกวันจะช่วยหนุนดวงชะตาและป้องกันภัยไม่ให้เข้ามากล้ำกราย หรือหากจะเดินทางไปยังทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ก็สามารถสวดบทนี้เพื่อช่วยให้คุ้มครอง ตามความเชื่อที่ว่าคาถาบูชาพระอาทิตย์เป็นอีกหนึ่งบริบทของคาถาที่ใช้ภาวนาระหว่างเดินทางไปยังทิศตะวันออกเฉียงเหนือนั่นเอง
เหรียญสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) รุ่นนารายณ์แปลงรูป นอกจากจะมีพุทธศิลป์ที่งดงามวิจิตรและโดดเด่นในแบบเหรียญปั๊ม ซึ่งรังสรรค์ผลงานแม่พิมพ์โดยช่างหลอด มือทองของวงการ ด้านหน้าของเหรียญ ส่วนบนสุดประกอบด้วยพระสมเด็จวัดระฆังพิมพ์ใหญ่ เป็นองค์แทนของ "พระพุทธ" ภายในพื้นเหรียญเป็นรูปธรรมจักร องค์แทนแห่ง "พระธรรม" คำสอนของพระพุทธองค์ ด้านหน้าธรรมจักรเป็นรูปเหมือนสมเด็จพระพุฒาจารย์โต องค์แทนแห่ง "พระสงฆ์" ผู้แตกฉานในพระธรรมคำสอนของพระพุทธองค์ ที่มีความคมชัด และเสมือนจริงมาก ส่วนด้านหลังเป็นรูปเหมือนพระนารายณ์สี่กร ในท่าอวตารหรือแปลงรูป ประจุด้วยพระคาถานารายณ์แปลงรูป ด้านบนสุดเป็นยันต์อุทับถม ถัดลงมาเป็นยันต์คาถานารายณ์แปลงรูป
ประกอบพิธีกรรมศักดิ์สิทธิ์ในหลายวาระ เริ่มด้วยพิธีบวงสรวงและเทวาภิเษก ณ ปราสาทหินพิมาย จ.นครราชสีมา ในวันที่ 29 กรกฎาคม 2560 โดยครูบากฤษณะ อินทวัณโณ พระเกจิผู้โด่งดังทั้งในประเทศไทยและอีกหลายประเทศทั่วโลกในด้านการสร้างวัตถุมงคลเทพจำแลงและพระนารายณ์ ตลอดพิธีกรรมกว่าสองชั่วโมงได้เกิด "ปรากฏการณ์พระอาทิตย์ทรงกลด" เป็นที่อัศจรรย์แก่ผู้ร่วมงานยิ่ง
ต่อมาวันที่ 1 สิงหาคม 2560 ที่ผ่านมา คณะกรรมการโครงการก็ได้จัดเครื่องบวงสรวงเพื่อบอกกล่าวกับ "ขรัวตาแสง" ผู้ถ่ายทอดพุทธาคม วิชานารายณ์แปลงรูปให้แก่สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) ณ วัดมณีชลขันธ์ จ.ลพบุรี และในวันที่ 3 สิงหาคม เป็นพิธีปลุกเสกอธิษฐานจิตเดี่ยวที่เข้มขลัง ที่พระอุโบสถวัดมณีชลขัณฑ์ จ.ลพบุรี โดยพระครูวิมลญาณอุดม (พระอาจารย์ติ๋ว) เจ้าอาวาส รก. เกจิผู้ที่โด่งดังด้านเหรียญพรหมและนารายณ์
ในวันพฤหัสฯ ที่ 31 สิงหาคม 2560 ที่จะถึงนี้ ก็จะนำ "เหรียญนารายณ์แปลงรูป" เข้าสู่วิหารสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) ณ วัดระฆังโฆสิตารามวรมหาวิหาร เพื่อให้ พระธรรมธีรราชมหามุนี (เจ้าคุณเที่ยง อัคคธัมโม) เจ้าอาวาสวัดระฆังฯ ปลุกเสกโดยการอธิษฐานจิตเดี่ยว เพื่อเพิ่มพุทธาคมในสายของสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) แห่งวัดระฆังโฆสิตาราม
จากนั้นในวันที่ 5 กันยายน 2560 "เหรียญนารายณ์แปลงรูป" ก็จะกลับมายังวัดขุนอินทประมูล จ.อ่างทอง ต้นกำเนิดในการจัดสร้างเพื่อเข้าพิธีอธิษฐานจิตเดี่ยว โดยท่านพระครูวิเศษชัยวัฒน์ เจ้าอาวาส รก. พระเกจิและพระนักพัฒนาชื่อดังตลอดกาลของ จ.อ่างทอง อิทธิฤทธิ์พระนารายณ์สร้างโลก“พระนารายณ์” เทพเจ้าผู้ทรงเดชแห่งไตรภพ ผู้สร้างโลกและสรรพสิ่งทั้งปวง ตลอดจนช่วยปกป้องคุ้มครองโลกให้ พ้นจากภัยร้ายต่างๆ ตามความเชื่อของศาสนาพราหมณ์-ฮินดู ผู้คนเคารพศรัทธา พระนารายณ์เป็นอันมาก ขณะเดียวกันก็มีคติความเชื่อว่า พระนารายณ์กับพระวิษณุเป็นเทพเจ้าพระองค์เดียวกัน เมื่อใดที่เกิดทุกข์เข็ญหรือมีภัยร้ายแรงอันเกิดขึ้นแก่โลกและสรรพสัตว์ ไม่ว่าจะเป็นภัยพิบัติหรือความลำเค็ญใดๆ พระนารายณ์ก็จะอวตารลงมาปราบปรามและช่วยเหลือให้ผู้คนพ้นจากเคราะห์ภัยนั้นๆ
ด้วยคติความเชื่อนี้ จึงได้มีการสร้าง “พระนารายณ์” ในรูปแบบวัตถุมงคลลักษณะต่างๆ ตั้งแต่อดีตจวบจนปัจจุบัน หนึ่งในวัตถุมงคลที่มีความศักดิ์สิทธิ์เข้มขลังด้วยพลังของพุทธานุภาพ ธรรมานุภาพ สังฆานุภาพ และเทวานุภาพ คือ เหรียญสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พฺรหมรังสี) รุ่นนารายณ์แปลงรูป โดยมีการออกแบบเหรียญได้อย่างงดงามลงตัว ด้านหน้าเหรียญเป็นรูปเหมือนท่านเจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) โดยมี 3 องค์ประกอบที่สมบูรณ์ คือ องค์พระสมเด็จ เป็นองค์แทนแห่งพระพุทธ, ธรรมจักรเป็นสัญลักษณ์แห่งพระธรรม และสมเด็จพระพุฒาจารย์โต เป็นองค์แทนแห่งพระสงฆ์
ส่วนด้านหลังเหรียญเป็นรูปเหมือนพระนารายณ์สี่กร เทพเจ้าผู้สูงสุดเหนือเทพทั้งปวง ถืออาวุธ 4 อย่าง คือ ตรี ศร จักร สังข์ ในท่าอวตารหรือแปลงรูป พร้อมประจุคาถาพระนารายณ์แปลงรูป “อะ วิ สุ นุต สา นุส ติ” ที่มีความศักดิ์สิทธิ์อย่างสูง โดยโบราณาจารย์มักจะใช้การสวดท่องพระคาถานี้เพื่อกำบังตนให้รอดพ้นจากภัยต่างๆ ช่วยให้แคล้วคลาดปลอดภัย เฉกเช่นพระนารายณ์จำแลงกายมาช่วยเหลือในทุกสถานการณ์ ให้ผู้ศรัทธาได้พ้นจากเคราะห์หามยามร้ายหรือหากประสงค์สิ่งใดก็จะได้ตามปรารถนาทุกประการ
อานุภาพของเหรียญสมเด็จพระพุฒาจารย์โต รุ่นนารายณ์แปลงรูป มีอยู่หลากหลายประการ ทั้งกำบังตนมิให้ศัตรูมองเห็น กลับร้ายให้กลายเป็นดี เป็นเมตตามหานิยมก็ดียิ่งนัก ผู้ใดที่บูชาพระนารายณ์ มักจะประสบแต่ความโชคดี แคล้วคลาดปลอดภัยจากอันตราย ดวงชะตาไม่ตกต่ำ
เหรียญพระนารายณ์รุ่นนี้ ได้ผ่านพิธีกรรมศักดิ์สิทธิ์มาแล้วถึง 3 วาระ ตามฤกษ์อันเป็นมงคล คือ บวงสรวงและเทวาภิเษก ณ ปราสาทหินพิมาย จ.นครราชสีมา, บวงสรวงเทวาภิเษก ณ วัดมณีชลขัณฑ์ จ.ลพบุรี ซึ่งเคยเป็นสถานที่พำนัก ของ ขรัวตาแสง ผู้ประสาทวิชานารายณ์แปลงรูปให้กับสมเด็จพระพุฒาจารย์โตฯ และพระครูวิมลญาณอุดม (พระอาจารย์ติ๋ว) เจ้าอาวาสรักษาการ ปลุกเสกอธิษฐานจิตเดี่ยว ณ พระอุโบสถวัดมณีชลขัณฑ์ จ.ลพบุรี
ในวันพฤหัสฯ ที่ 31 สิงหาคม พ.ศ.2560 ที่จะถึงนี้ เป็นวาระที่ 4 ก็จะนำเหรียญนารายณ์แปลงรูปเข้าสู่วิหารสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) ณ วัดระฆังโฆสิตาราม วรมหาวิหาร ฝั่งธนบุรี โดย พระธรรมธีรราชมหามุนี (เจ้าคุณเที่ยง อัคคธัมโม) เจ้าอาวาสวัดระฆังฯ จะปลุกเสกโดยการอธิษฐานจิตเดี่ยว ต่อหน้ารูปเหมือนของท่านเจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) จากนั้นในวันที่ 5 กันยายน พ.ศ.2560 วาระที่ 5 พิธีอธิษฐานจิตเดี่ยว ณ พระอุโบสถวัดขุนอินทประมูล จ.อ่างทอง โดยท่านพระครูวิเศษชัยวัฒน์ เจ้าอาวาส รักษาการ พระเกจิและพระนักพัฒนาชื่อดังของจังหวัดอ่างทอง และจะเริ่มจัดส่งเหรียญได้ตั้งแต่วันที่ 30 กันยายน พ.ศ.2560 เป็นต้นไป
เหรียญสมเด็จโต รุ่นนารายณ์แปลงรูป จัดสร้างชุดพิเศษเป็น “ชุดกรรมการใหญ่” โดยรับตามจองและไม่เกิน 9 ชุดเท่านั้น นอกจากนี้ยังมีเหรียญเดี่ยว โดยจัดสร้างเป็น 2 แบบ “พิมพ์ใหญ่” ขนาดความสูง 4.0 เซนติเมตร ประกอบด้วย เนื้อทองคำ เนื้อเงินลงยาราชาวดี เนื้อเงินบริสุทธิ์ เนื้อนวโลหะหน้ากากเงิน เนื้อทองเทวฤทธิ์หน้ากากทองฝาบาตร และเนื้อทองเทวฤทธิ์ และ “พิมพ์เล็ก” ขนาดความสูง 2.5 เซนติเมตร มีเนื้อทองคำ เนื้อเงิน และเนื้อทองฝาบาตร รายได้นำไปสร้างที่พักสำหรับผู้มาปฏิบัติธรรม วัดขุนอินทประมูล ผู้มีจิตศรัทธาติดต่อโดยตรงได้ที่วัดขุนอินทประมูล จ.อ่างทองสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พฺรหฺมรังสี) กับพระนอน วัดขุนอินทประมูลท่านเจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) พระเกจิเถราจารย์ที่สาธุชนชาวไทยต่างเคารพนับถืออย่างสูงมาช้านาน นอกจากเรื่องที่ท่านมีวิชาคาถาอาคมและพุทธคุณด้านเมตตามหานิยมแล้ว คุณธรรมที่เด่นชัดของท่าน คือ "การไม่ถือตน" ละอัตตา ละการถือตัวกูของกู ท่านดำเนินชีวิตอย่างเรียบง่าย เป็นผู้มักน้อยสันโดษ ไม่ถือยศถือสมณศักดิ์ แม้ได้ทรงศึกษาพระธรรมวินัยจนแตกฉานแต่ก็ไม่เข้าสอบเปรียญธรรมเพื่อตั้งระดับชื่อชั้นให้แก่ตน ต่อมาในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 2) จะทรงตั้งท่านเป็นพระราชาคณะแต่ท่านก็ไม่ยอมรับ เนื่องเพราะความไม่ได้ยึดติดต่อตำแหน่งแต่อย่างใดนั่นเอง
คุณธรรมที่เป็นแบบอย่างอีกข้อหนึ่ง คือ "การไม่ยินดีในลาภสักการะ" ไม่สะสมทรัพย์สมบัติ หากได้รับลาภสักการะมาในทางใด ก็จะนำไปใช้ในการสร้างวัดและการกุศลต่างๆ ทุกครั้ง ดังเช่น การบูรณะพระพุทธไสยาสน์ ที่วัดขุนอินทประมูล จ.อ่างทอง เมื่อครั้งยังเป็นมหาโต ปรากฏหลักฐานจากการบันทึก ของ มหาอำมาตย์ตรีพระยาทิพยโกษา (สอน โลหนันท์) ซึ่งต่อมามีการจัดพิมพ์เป็น "หนังสือชีวประวัติของสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พฺรหฺมรังสี)" ได้กล่าวไว้ว่า ...
...เมื่อปีฉลู จุลศักราช ๑๑๙๑ ปี เวลานั้นมหาโตมีอายุได้ ๕๔ ปี พรรษา ๓๒ ยังอยู่ที่วัดมหาธาตุ มีผู้มาบอกข่าวท่านว่า โยมผู้หญิงอยู่ทางเหนือป่วยหนัก ท่านขี่เรือเสาพร้อมกับนำเรือสีไปด้วยเพื่อจะพายอวดโยมของท่าน แต่โยมก็ถึงแก่อนิจกรรมเสียก่อน ท่านทำฌาปนกิจเสร็จเรียบร้อยแล้ว จึงแบ่งทรัพย์มรดกของโยมแก่บรรดาญาติและหลานๆ ที่ยังเหลือเป็นเงินทองก็นำมายังวัดขุนอินทประมูล จ.อ่างทอง ท่านก็เอาทรัพย์นั้นออกสร้างพระนอนไว้ มีลักษณะงดงามองค์หนึ่ง ยาวมาก สร้างอยู่หลายปีจึงสำเร็จ ต่อจากนั้นท่านก็เป็นพระสงบ มีวิถีจิตแน่วไปในโลกุตรภูมิ ไม่ฟุ้งซ่านโอ่อ่า เจียมตัวเจียมตน เทศน์ได้ปัจจัยมาก็สร้างพระนอนนั้นจนหมด ท่านทำซอมซ่อเงียบๆ สงบปากเสียงมา ๒๕ ปี ตลอดรัชสมัยของแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระนั่งกล้าเจ้าอยู่หัว...
เรื่องราว "การสร้างพระนอนวัดขุนอินท ประมูล" ตามบันทึกมหาอำมาตย์ตรีพระยาทิพยโกษา (สอน โลหนันท์) นั้น ยังมีข้อขัดแย้งกับประวัติการสร้างเดิมที่ระบุว่า พระนอนวัดขุนอินทประมูลสร้างขึ้นตั้งแต่สมัยสุโขทัย จึงได้สอบถามไปยังท่านพระครูวิเศษชัยวัฒน์ เจ้าอาวาส รก.วัดขุนอินทประมูล ผู้บูรณะพระนอนเก่าแก่องค์นี้หลังจากได้เคยล้มลงมาเมื่อสิบกว่าปีที่แล้ว ให้กลับมามีความงดงามสง่าอีกครั้ง ท่านได้เมตตาให้ความกระจ่างว่า...พระนอนองค์ที่เห็นอยู่ปัจจุบันนี้ เป็นการสร้างครอบพระนอนองค์เดิมที่มีมาแต่ครั้งโบราณ อาจเป็นไปได้ว่า สมเด็จโตฯ ท่านได้สร้างพระนอนองค์ใหม่ครอบองค์เดิม และสร้างให้มีขนาดใหญ่และยาวขึ้นกว่าองค์เดิมนั่นเอง ...
ดังนั้น คณะกรรมการโครงการจึงได้มีการจัดทำ เหรียญที่ระลึกสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) รุ่นนารายณ์แปลงรูป เพื่อตอบแทนผู้มีจิตศรัทธาร่วมทำบุญในโครงการดังกล่าว ซึ่งได้แจ้งความคืบหน้ามาเป็นระยะ ขณะนี้พิธีบวงสรวงปลุกเสกตามที่ได้กำหนดไว้ครบถ้วนแล้วทุกวาระ โดยวาระที่ 4 เจ้าคุณเที่ยง เจ้าอาวาสวัดระฆังโฆสิตาราม ได้อธิษฐานจิตปลุกเสกเดี่ยว หน้ารูป สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) ณ วิหารสมเด็จโตฯ วัดระฆังฯ เมื่อวันที่ 31 สิงหาคม และในวันที่ 5 กันยายนที่ผ่านมานี้ เป็นวาระที่ 5 ท่านพระครูวิเศษชัยวัฒน์ รักษาการเจ้าอาวาสวัดขุนอินทประมูล อธิษฐานจิตเดี่ยว ณ วัดขุนอินทประมูล
พิธีกรรมต่างๆ เสร็จสมบูรณ์เป็นที่เรียบร้อยตามมงคลฤกษ์ สำหรับผู้ที่จองไว้แล้ว จะเริ่มจัดส่งเหรียญได้ตั้งแต่วันที่ 30 กันยายนนี้เป็นต้นไป ส่วนผู้สนใจที่ยังไม่ได้สั่งจอง สามารถเช่าบูชาโดยตรงได้ที่วัดขุนอินทประมูล จ.อ่างทอง โทร.09-2557-7511 พันธุ์แท้พระเครื่อง - ราม วัชรประดิษฐ์