[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
22 ธันวาคม 2567 19:43:53 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: หลักของพระศาสนา หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน  (อ่าน 2345 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
【ツ】ต้นไม้ความสุข ♪
ลั้ลลา
ผู้ดูแลบ้านสุขใจ
นักโพสท์ระดับ 12
*

คะแนนความดี: +8/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
Thailand Thailand

กระทู้: 2097


【ツ】ต้นไม้แห่งแสง

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Firefox 7.0.1 Firefox 7.0.1


หน้ากู
ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« เมื่อ: 05 ตุลาคม 2554 23:29:16 »

หลักของพระศาสนา หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน



เทศน์อบรมพระ ณ วัดป่าบ้านตาด

เมื่อวันที่ ๑๗ กุมภาพันธ์ พุทธศักราช ๒๕๐๗


หลักของพระศาสนา


ท่าน ผู้กำลังเริ่มฝึกหัดโปรดได้จดจำวิธีที่ท่านอธิบายให้ฟังไว้และนำไปปฏิบัติ ส่วนจะปรากฏผลหรือไม่นั้น เราอย่าคาดคะเนและอย่าเป็นอารมณ์ ขอให้หลักปัจจุบันคือระหว่างจิตกับอารมณ์ ที่พิจารณาอยู่มีลมหายใจเป็นต้น ให้มีความสัมผัสรับรู้กันอยู่ นี่แลจะเป็นเครื่องหนุนให้เกิดผลขึ้นมา เริ่มแต่ความสงบเข้าไปเป็นลำดับ และเมื่อได้ปรากฏสิ่งใดขึ้นมาภายในใจ แม้ที่สุดความสงบที่ปรากฏขึ้นในขณะที่นั่งฟังเทศน์ก็ดี นั่งภาวนาก็ดี เมื่อถอนออกจากความสงบหรือลุกจากที่นั่งนั้นแล้ว ในวาระต่อไปที่เราจะบำเพ็ญอีกเช่นเดียวกับคราวที่แล้ว โปรดอย่าได้ไปทำความสำคัญในผลที่ได้เคยปรากฏแล้วอย่างใดซึ่งผ่านมาแล้วเมื่อ วานนี้หรือผ่านมาคราวที่แล้ว


เบื้อง ต้นที่จะปรากฏความสงบขึ้นมาให้เราได้รับเป็นอารมณ์นั้น เรายังไม่มีต้นทุนมาจากไหน หรือไม่มีวี่แววที่ไหนเลยว่าเราจะได้รับผลอย่างนั้น ทำไมครั้งแรกที่เราปรากฏผลเช่นนั้นจึงมีขึ้นภายในจิตใจของเราได้ มีขึ้นปรากฏขึ้นได้เพราะเหตุใด ก็ต้องปรากฏขึ้นเพราะเหตุที่เราบำรุงโดยถูกต้อง คราวต่อมาเราก็กำหนดต้นเหตุนั้นไว้ อย่าให้จิตกลายเป็นเรื่องสัญญาอดีต คือไปคาดหมายในการกระทำที่ผ่านมาแล้ว จิตจะเคลื่อนจากหลักปัจจุบันซึ่งเป็นฐานที่เกิดขึ้นแห่งผล นี่แหละหลักสำคัญ


โดย มากที่วันนี้จิตได้รับความสงบ วันต่อไปไม่สงบนั้น เนื่องจากสัญญาอดีตที่มาหมายในวันนี้ซึ่งล่วงไปแล้ว สิ่งที่เราจะยึดไว้เป็นหลักใจเพื่อการปฏิบัติต่อไปก็คือ จิตที่ได้รู้ได้เห็นหรือมีความสงบขึ้นในคราวใดก็ตาม สงบขึ้นเพราะเหตุใด อะไรเป็นเหตุให้จิตได้รับความสงบ หรือมีความรู้เห็นต่างๆ เช่นนั้น ให้เรายึดต้นเหตุอันนั้นมาเป็นต้นเหตุในปัจจุบันของเรา ผลจะปรากฏขึ้นเช่นนั้นหนึ่ง หรือแปลกประหลาดยิ่งกว่านั้นหนึ่ง หรือละเอียดยิ่งกว่านั้นไปหนึ่ง


โดย มากผู้ที่บำเพ็ญทางด้านจิตใจที่ได้รับความสงบเยือกเย็นมาแล้ว ขาดความสำรวมระวังภายในตัว ความเพียรก็ด้อย ทีนี้จิตก็มีทางเสื่อมลงไปได้ เมื่อจิตเสื่อมลงไปแล้ว จะพยายามปรับปรุงจิตใจของตนให้มีระดับเช่นที่เคยเป็นมา ไม่สามารถทำได้ นี่เพราะเหตุว่าจิตไปยึดเอาเรื่องอดีตเสียทั้งๆ ที่ตนกำลังนั่งภาวนา ความมุ่งจะให้เป็นเช่นนั้นๆ ไม่มีผลอันใดเกิดขึ้น นอกจากจะเป็นสัญญาเครื่องรบกวนใจ ให้ไม่สามารถทำความสงบให้แก่ตัวเองได้เท่านั้น


เพราะ ฉะนั้น อารมณ์เช่นที่ว่ามานี้ ต้องปล่อยวางในขณะที่เราบำเพ็ญ ถือหลักปัจจุบัน เราจะกำหนดจิตกับอารมณ์บทใด กับธรรมบทใด หรืออารมณ์ใดก็ตาม ให้ทำความรู้สึกไว้กับอารมณ์ หรือธรรมบทนั้นเท่านั้น โดยไม่ต้องไปคาดว่าผลจะเกิดขึ้นอย่างไร ความสุขที่จะเกิดขึ้นนี้จะมีลักษณะเช่นไร หรือเหตุการณ์ที่จะเกิดขึ้นจะเป็นเหตุการณ์เช่นไร ดังนี้เป็นต้น เราไม่ต้องไปสนใจ โปรดทำหน้าที่ในวงปัจจุบันที่กล่าวนี้


ไม่ ว่าจิตของนักบวช ไม่ว่าจิตของฆราวาส ไม่ว่าจิตของผู้หญิงผู้ชาย ต้องทำความรู้สึกตัวเองอยู่เสมอ และเป็นจิตที่มุ่งต่อความรู้สึกต่างๆ อยู่ด้วยกัน ไม่เคยนอนใจอยู่เฉยๆโดยปราศจากความรู้ แม้จะหลับก็ยังรู้ว่าหลับ หลับสนิทดีก็รู้ ฝันเรื่องอะไรก็รู้ นี่ก็พอให้เราทราบได้ว่า จิตนี้ไม่เคยละความรู้จากตนเองไปแม้ขณะเดียว เมื่อจิตได้รับธรรมเป็นเครื่องอบรมเป็นเครื่องเกาะเครื่องเหนี่ยวแล้ว จิตจะต้องมีหลักฐานมั่นคงขึ้นโดยลำดับ


เพราะฉะนั้น นับตั้งแต่ครั้งพุทธกาลมาจนถึงปัจจุบันนี้ เวลาอุปัชฌายะท่านจะบวชพระบวชเณร ท่านจึงให้กรรมฐาน ๕ เรียกว่า ตจปัญจกกรรมฐาน คือ เกสา โลมา นขา ทันตา ตโจ ทั้ง ๕ นี้เพื่อเป็นหลักใจของนักบวชจะได้บำเพ็ญพิจารณา จิตจะได้อาศัยอยู่กับอาการทั้ง ๕ นี้อาการใดอาการหนึ่งที่ถูกจริตของตน พิจารณาดู เช่น หนังเป็นต้น พิจารณาออกข้างนอกพิจารณาเข้าข้างใน เมื่อความรู้ได้อยู่กับอาการนี้แล้ว ความรู้อาจจะซึมซาบไปสู่อาการอื่นๆ ทั่วสรรพางค์ร่างกายว่ามีลักษณะเช่นไรบ้าง


หลัก ความจริงที่มีอยู่ในกายนี้ทั้งหมด แม้ท่านจะระบุไว้เพียง ๕ ประการนี้ก็ตาม สิ่งที่ไม่ระบุไว้นอกนั้นจะเป็นสภาพเช่นเดียวกันกับสิ่งทั้ง ๕ ที่กล่าวนี้ทั้งนั้น เมื่อจิตได้เกาะอยู่กับอาการใด มีสติอยู่กับอาการใด จิตจะค่อยรู้เรื่องรู้ราวกับอาการนั้น และทำความเข้าใจตนเองกับอาการนั้นให้ถูกต้อง ต่อจากนั้นจะมีความซึมซาบรู้ไปในส่วนต่างๆของร่างกาย บางครั้งก็ปรากฏขึ้นเหมือนกับเราเห็นด้วยตาเนื้อ เห็นชัดจริงๆ จะเห็นส่วนใดก็ตามในส่วนแห่งร่างกายนี้ เมื่อจิตได้เห็นชัด ความสนใจซึ่งเกิดขึ้นในขณะนั้นก็มีมาก จิตก็ตั้งเป็นปัจจุบันได้อย่างเต็มที่ในอาการที่จิตเห็นชัดนั้น นี่ท่านเรียกว่า “เห็นกาย” อย่างหนึ่ง


เมื่อ จิตได้จดจ่ออยู่กับอาการที่เห็นนั้นแล้ว จะเป็นเหตุให้ความรู้ของจิตนั้นกระจายไปทุกแห่งทุกหน เบื้องบนเบื้องล่างในส่วนแห่งร่างกาย แล้วเกิดความสลดสังเวชภายในร่างกายของเรา ว่ามีสิ่งบางๆ สิ่งหนึ่งเท่านั้นปกปิดหุ้มห่อไว้ ไม่ได้หนาเท่าใบลานเลย นอกจากนั้นยังเต็มไปด้วยสิ่งที่เราไม่ประสงค์ แต่เพราะเหตุแห่งสติกับปัญญาของเรามองข้ามสิ่งเหล่านี้ไปเสีย จึงเห็นสภาพนี้กลายเป็นตนเป็นตัวเป็นสัตว์เป็นบุคคล เป็นเขาเป็นเรา เป็นหญิงเป็นชายขึ้นมา แล้วกลับเป็นจุดที่ยึดหมายของอุปาทานอย่างเต็มที่


เมื่อ จิตเราได้ปักปันเขตแดนลงในที่ใด ยกอุปมาภายนอก เช่น เราได้ปักปันเขตแดนเอาที่แห่งใดแห่งหนึ่งว่าเป็นของเราขึ้นมา แม้ที่นั้นจะยังไม่มีเครื่องเพาะปลูกต่างๆ ก็ ตาม จะมีแต่เพียงที่ดินว่างๆ อยู่เท่านั้น เกิดมีผู้ใดผู้หนึ่งเข้ามาล่วงล้ำเขตแดนของเราเข้า อย่างน้อยก็ต้องต่อว่ากัน มากกว่านั้นก็เป็นถ้อยเป็นความหรือฆ่ากันก็ได้ เพราะเหตุแห่งที่ว่างๆ นั้นชึ่งแต่ก่อนไม่เคยมีใครมาเกี่ยวข้องเลย


ที นี้เมื่อเราย้อนเข้ามาสู่อุปาทานในขันธ์ ก็มีลักษณะเช่นนั้นเหมือนกัน ต่อเมื่อเราได้พิจารณาเห็นชัดตั้งแต่ข้างนอกเข้าไปข้างใน ด้วยอำนาจของปัญญา เรื่องอุปาทานที่จะแทรกสิงอยู่ในอาการใดส่วนใดในร่างกายนี้ จะค่อยถอนตัวออกมาเป็นลำดับๆ ยิ่งได้พิจารณามากเท่าไร ก็ยิ่งเป็นปากเป็นทางให้ถอนอุปาทานได้มากเท่านั้น การปักปันเขตแดนก็เรียกว่าถอดทิ้งไปวันละชิ้นสองชิ้น


เพราะฉะนั้นคำว่ากรรมฐาน ๕ ที่พระอุปัชฌายะมอบให้นั้น จึง เป็นหลักใหญ่สำคัญที่สุดในส่วนแห่งกายนี้ ถ้าจะพูดว่าอริยสัจก็มีอยู่ภายในกายนี้ทั้งนั้น คือทุกข์ก็ทุกข์ที่กาย สมุทัยก็หมายถึงความถือกายอันนี้ มรรคจึงหาทางเดินไม่ได้ เพราะ เกลื่อนไปหมดตั้งแต่เรื่องของสมุทัย ปักปันเขตแดนไว้ทั่วทั้งร่างกาย มรรคคือปัญญาที่จะถอดถอนอุปาทานนี้จึงไม่มีช่องมีทาง ดังนั้นที่ท่านให้อุบายวิธี ๕ ข้อ คือ เกสา โลมา นขา ทันตา ตโจ แก่นักบวช จึงเปรียบเหมือนกับว่าการให้อาวุธเข้าถากถาง เพื่อถอดถอนอุปาทานของตนตามส่วนต่างๆ แห่งร่างกายนี้


นับตั้งแต่การพิจารณาขั้นต้นจนมีความชำนิชำนาญ สามารถรู้เท่าทันในส่วนแห่งร่างกายทั้งภายนอกภายใน เบื้องบนเบื้องล่าง และ รอบทั้งตัว เราจะแยกเป็นส่วนแห่งกองทุกข์ เรื่องของกายนี้ทุกส่วนจะไม่มีส่วนไหนเว้นได้เลยว่าไม่ใช่กองทุกข์ ชิ้นเล็กน้อยเป็นเรื่องกองทุกข์เสียทั้งนั้น ถ้าลงเอาปลายเข็มจดลงไปสักนิดหนึ่ง เราก็จะทราบว่าเรื่องกองทุกข์มันมีอยู่ทั่วสรรพางค์ร่างกาย แม้ปลายเข็มหนึ่งเท่านั้นก็ไม่มีช่องว่างพอจะจรดลงได้ จะเต็มไปแต่เรื่องกองทุกข์ภายในกายของบุคคลคนหนึ่ง เมื่อจิตได้อาศัยอยู่กับส่วนแห่งกายส่วนใดส่วนหนึ่งแล้ว โดยการบังคับไว้ด้วยสติ ให้ท่องเที่ยวอยู่ตามสรรพางค์ร่างกายนี้ ใจจะมีโอกาสรู้เรื่องของตัวเอง เรื่องของทุกข์ก็จะรู้กันในที่นี่ เพราะทุกข์มีอยู่ที่นี่ ไม่ได้นอกเหนือไปจากสัตว์จากบุคคลนี้เลย


ดังนั้นคำว่าอริยสัจเป็นธรรมลึกซึ้งนั้น จึง ไม่เลยความรู้สึกของเราไปได้ อยู่กับความรู้สึกของเราด้วยกัน ถ้าว่าสูงก็ไม่เลยกายกับใจของสัตว์และบุคคล สมุทัยว่าลึกก็ไม่ลึกไปไหน จะเกิดขึ้นจากความรู้สึกนี้ทั้งนั้น และการพิจารณาเรื่องของกายให้เห็นว่าเป็นทุกข์ก็ดี ให้เห็นว่าเป็นสภาพที่แปรอยู่ตลอดเวลา ทั้งส่วนแห่งกายและทางด้านจิตใจก็ดี เป็นสภาพที่ปฏิเสธในความเป็นสัตว์เป็นบุคคลทั่วสรรพางค์ร่างกายและจิตใจก็ดี เป็นอุบายวิธีที่จะให้เราได้ถอนอุปาทานที่เรียกว่าเป็นตัวสมุทัยนั้นขึ้นมา ให้ธรรมชาติเหล่านี้ได้อยู่เป็นปกติ ไม่ถูกกดขี่บังคับหรือยึดมั่นถือมั่นจากใจ และให้ใจได้อยู่เป็นสุข ไม่ต้องไปกังวลกับสิ่งใดว่าเป็นเราเป็นของเรา ต่างอันต่างอยู่ นี่ท่านเรียกว่า “ยถาภูตํ ญาณทสฺสนํ” รู้ เห็นตามเป็นจริงในส่วนแห่งร่างกายทุกส่วน ว่าเป็นไตรลักษณ์โดยทางปัญญา จนสามารถถอดถอนอุปาทานออกได้จากส่วนแห่งกายนี้ทุกส่วนไม่มีอันใดเหลือ


อุปาทาน ของใจที่มาเกี่ยวข้องกับส่วนแห่งร่างกายนี้ ได้ถอนตัวไปแล้วก็ต้องเข้าไปสู่จิต แม้พวกเวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ที่เกี่ยวข้องกับกายนี้ก็ขึ้นอยู่กับเรื่องหัวใจดวงเดียว เมื่อปัญญาของเรามีกำลัง เพราะเหตุแห่งการฝึกฝนอบรมอยู่เสมอ ไม่เพียงแต่จะรู้เรื่องของกายซึ่งเป็นส่วนหยาบๆ แม้เรื่องของจิตที่มองไม่เห็นด้วยตาเนื้อ แต่ก็รู้อยู่ด้วยใจของตัวเองนั้น ก็จะพ้นจากปัญญานี้ไปไม่ได้ อุบายวิธีที่พิจารณาทั้งหมดที่เรียกว่า “มรรค” เป็น อุบายวิธีที่จะถอดถอนเรื่องความถือมั่นสำคัญผิดของตนที่ให้ชื่อว่าสมุทัย ทั้งนั้น เมื่อเป็นเช่นนี้ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค จะละเอียดหรือสูงไปที่ไหนไม่ได้ นอกเหนือไปจากคนคนนี้เลยคือเรา


ที่ เรามองไม่เห็นเรื่องความจริงที่มีอยู่กับตัวเรานั้น เนื่องจากเรามองข้ามเราไปเสียเท่านั้น เรามองข้ามอริยสัจ จึงไม่เห็นอริยสัจที่ประกาศตัวอยู่กับเรา พระพุทธเจ้าก็ดี สาวกก็ดี ที่ว่าตรัสรู้มรรคผลนิพพาน ท่านตรัสรู้อะไร นอกจากจะรู้แจ้งเรื่องอริยสัจทั้งฝ่ายทุกข์และสมุทัยด้วยมรรค แล้วก็กลายเป็นนิโรธคือ ความดับสนิทแห่งทุกข์ขึ้นมา ทั้งส่วนจิตใจและกายก็หมดกังวล


ธรรม ที่พระพุทธเจ้าทรงพิจารณาในครั้งนั้นกับที่เราพิจารณาอยู่นี้ เป็นเรื่องของทุกข์สมุทัยอันเดียวกัน การพิจารณาก็พิจารณาด้วยมรรค คือเรื่องของสติปัญญาอันเดียวกัน นิโรธะคือความดับทุกข์เป็นลำดับๆ ไปนั้น จะเป็นอื่นมาจากที่ไหน ก็ต้องเป็นเรื่องของอริยสัจอันเดียวกันอีก เพราะฉะนั้นคำที่ท่านตรัสไว้ว่า “มัชฌิมาปฏิปทา” จึงไม่เลยจากศูนย์กลางแห่งขันธ์ของเรานี้ มีความเป็นกลางอยู่เสมอ


จิต เราพยายามทำความสงบ เราพยายามเราเอง ความไม่สงบก็คือเป็นเรื่องของเราเอง ผู้พยายามจะทำความสงบและดัดแปลงตัวเองก็คือเรา เหตุใดจึงจะเป็นไปเพื่อความสงบไม่ได้ จะหนีจากความพยายามของเราไปไม่ได้แน่นอน ต้องหยั่งเข้าสู่ความสงบได้


ความ สงบของใจมีหลายชั้น สงบบางขณะบางเวลาแล้วถอนขึ้นมาเสีย นี่เรียกว่าความสงบที่เรายังไม่ชำนาญ ความสงบอีกอย่างหนึ่ง พอจิตรวมเข้าไปแล้ว ถอยออกมาเล็กน้อยแล้วออกรู้สิ่งต่างๆ จะเป็นเรื่องภายนอกหรือเป็นเรื่องภายในของตัวเองแสดงออกแต่ตนไม่รู้ก็เป็น ได้ อย่างนั้นก็มี นี่จะมีเป็นจำนวนน้อย ในสมัยทุกวันนี้ไม่ค่อยมีมาก แต่จะปฏิเสธว่าไม่มีไม่ได้ นี่ท่านเรียกว่าสมาธิประเภทหนึ่ง “อุปจารสมาธิ” อุปะแปลว่า เข้าไป เข้าไปแล้ว จาระ ก็ออกเที่ยวออกรู้สิ่งต่างๆ นี่ให้นามตามธรรมะป่าว่าอย่างนั้น

อัปปนา คือ ความแนบสนิทของสมาธิ แม้จะถอนออกจากสมาธิแล้วมาเป็นจิตธรรมดา ก็ทรงไว้ซึ่งความสงบ ไม่ฟุ้งเฟ้อเห่อเหิมไปกับเรื่องอารมณ์ใดๆ ตั้งอยู่ในความสงบของตน มีความเยือกเย็นสบายอยู่เช่นนั้น แม้เราจะคิดปรุงแต่งเรื่องการงานอะไรก็ได้ แต่ธรรมชาติความสงบที่เป็นภาคพื้นของสมาธิประเภทนั้น จะต้องเป็นอยู่เช่นนั้นโดยปกติ เมื่อรวมเข้าไปก็วางกิริยา ปล่อยอาการความคิดความปรุงต่างๆ เสียอยู่เป็นเอกจิต คือมีความรู้อันเดียวเท่านั้นไม่เกี่ยวกับอารมณ์ใดๆ และรวมได้เป็นเวลานาน นี่ท่านเรียกว่า “อัปปนาสมาธิ” ท่านให้ชื่ออย่างนั้น


เรื่อง ของปัญญาก็มีเป็นขั้นๆ เช่นเดียวกับสมาธิ ขณิกสมาธิ อุปจารสมาธิ อัปปนาสมาธิ ปัญญาก็เป็นปัญญาขั้นหยาบ ขั้นกลาง ขั้นละเอียด ที่เราจะควรใช้ตามขั้นของสมาธิของเราได้ ปัญญาที่เราฝึกหัดใช้เบื้องต้นก็ต้องเป็นปัญญาขั้นหยาบ ต่อเมื่อฝึกหัดอยู่เสมอแล้วก็จะกลายเป็นปัญญาที่มีกำลังขึ้นมา เลื่อนเป็นลำดับๆ ความชำนิชำนาญคล่องแคล่วก็นับวันคล่องแคล่วและชำนิชำนาญ และมีความรวดเร็วขึ้นไป เช่นเดียวกับเรื่องของสมาธิที่ผู้ฝึกฝนอบรมจนพอตัวแล้ว ต้องการจะให้จิตสงบเมื่อไรก็ได้ตามความต้องการ นี่คือความชำนาญของสมาธิที่ได้ฝึกฝนอบรมมาเต็มภูมิแล้ว เรื่องของปัญญาก็เช่นเดียวกัน ต้องอาศัยการฝึกฝนอบรมเช่นเดียวกันกับเราฝึกฝนอบรมสมาธิ


ไม่ ใช่ว่าเมื่อจิตเป็นสมาธิแล้วจะกลายเป็นปัญญาขึ้นมา เป็นสมาธิขั้นไหนจะกลายเป็นปัญญาขั้นนั้นขึ้นมาตามๆ กันอย่างนี้ก็หาไม่ ต้องอาศัยการฝึก ถ้าหากว่าปัญญาจะเป็นธรรมชาติที่แฝงขึ้นมาพร้อมๆ กันกับสมาธิแล้ว ผู้บำเพ็ญสมาธิจะไม่มีการติดในสมาธิของตนเลย เพราะปัญญาก็มีหน้าที่ที่จะเคลือบแฝงขึ้นมา และทำงานได้เช่นเดียวกันกับสมาธิ หลักที่ถูกต้องก็คือสมาธิก็ให้ถือว่าเป็นสมาธิเสีย ในขณะที่เรานั่งทำความสงบก็ให้เป็นความสงบ ได้รับความสงบแล้ว เราจะคิดอ่านไตร่ตรองเรื่องธาตุขันธ์ อายตนะสภาวธรรมต่างๆ จะแยกขยายแบ่งส่วนออกให้เป็นส่วนใดชิ้นใด จะเป็นเรื่องการแตกการสลายการทำลายอยู่ในวงแห่งไตรลักษณ์แล้ว ท่านเรียกว่า “ปัญญา”


พยายาม ฝึกหัดเช่นเดียวกันกับฝึกหัดสมาธิ จนปัญญามีความชำนิชำนาญ เช่นเดียวกับสมาธิของเรามีความชำนาญด้วยวิธีฝึกฝนอบรม แล้วปัญญาก็จะรู้หน้าที่การงานของตน ไม่ใช่เราจะต้องบังคับอยู่ตลอดเวลา เมื่อปัญญามีความชำนาญก็ก้าวขึ้นสู่ระดับสูงหรือละเอียดเป็นลำดับ จนสามารถเป็นมหาปัญญาเป็นมหาสติไปได้พร้อมๆ กัน เมื่อได้ก้าวเข้าถึงมหาสติมหาปัญญาแล้ว ก็กลายเป็นปัญญาอัตโนมัติ เป็นสติอัตโนมัติ เราไม่ต้องบังคับว่าให้รู้สิ่งนั้นให้รู้สิ่งนี้ ให้กำหนดสิ่งนั้น ให้กำหนดสิ่งนี้ ให้พิจารณาสิ่งนั้นหรือสิ่งนี้ แต่เรื่องของสติกับปัญญาจะกลมเกลียวกันไป เช่นเดียวกับเกลียวเชือกทำงานในหน้าที่ของตนเสมอ สิ่งใดที่มาสัมผัสจะเป็นทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย เรื่องของสติปัญญาจะวิ่งรู้เรื่องสิ่งที่มาสัมผัสได้ทันท่วงที


แต่ ปัญญาขั้นที่กล่าวนี้เป็นปัญญาเกี่ยวกับเรื่องนามธรรมล้วนๆ จะไม่เกี่ยวกับเรื่องของกายเลย เพราะกายนี้เพียงสติขั้นกลางก็สามารถจะรู้ ปัญญาขั้นกลางก็สามารถจะถอดถอนอุปาทานได้ เพราะความชำนาญในขั้นนี้ แต่เรื่องนามธรรมที่เป็นส่วนละเอียด เช่น ความสุขความทุกข์ที่เป็นส่วนละเอียด ปรากฏอยู่ภายในจิตโดยเฉพาะ คือสัญญาสังขารที่ปรุงขึ้นกับจิตโดยเฉพาะนี้เป็นส่วนละเอียด จะเป็นเรื่องของปัญญาส่วนละเอียด ตามรู้ตามเห็นสุขทุกข์ที่ปรากฏขึ้นกับใจ สัญญา สังขารที่ปรุงขึ้นกับใจ วิญญาณที่รับรู้สิ่งต่างๆ กระเพื่อมถึงใจ จิตจะยอกย้อนกลับไปกลับมาให้รู้ที่เกิดที่ดับของอาการทั้ง ๔ นี้ ว่าเกิดขึ้นมาจากไหนและดับแล้วไปอยู่ที่ไหน นี่เรียกว่าปัญญาขั้นละเอียด


ปัญญา ขั้นนี้จะมีความหมุนตัวเองอยู่เสมอ นอกจากเวลาหลับเท่านั้น จะไม่มีการบังคับบัญชาอะไร นอกจากว่าเราจะได้ยับยั้งเอาไว้เท่านั้น ไม่เช่นนั้นจะไม่มีเวลาพักตัวเลย มีความเพลินในการคิดการค้นการแก้ไขตนเอง ที่ท่านกล่าวไว้ในธรรมะขั้นสูงว่า อุทธัจจะ ความฟุ้งของใจ นี่ได้แก่การเพลินในการคิดค้นของตนเองจนลืมตัว เรียกว่าเพลินเกินไป ต่อเมื่อจิตได้ผ่านไปแล้วถึงจะย้อนกลับมารู้ได้ว่า กิริยาที่เพลินเกินไปนี้เรียกว่าเป็นทางผิดทางหนึ่งเหมือนกัน ทำให้ไม่มีเวลาจะพักผ่อนจิตใจให้ได้รับความสงบ มีแต่ทำงานอยู่ตลอดเวลา


เวทนา ความสุข ความทุกข์ ความเฉยๆ ที่ปรากฏอยู่กับใจ สัญญา สังขาร วิญญาณ ที่ปรากฏออกมาจากใจ จะหมดความหมายกับสิ่งภายนอก เพราะสิ่งภายนอกเหล่านั้นเป็นด้านวัตถุและเป็นส่วนหยาบ จะเป็นเพียงปรากฏขึ้นภายในจิตแล้วก็รับรู้กันและดับไป เกิดขึ้นและดับไปเท่านั้น พยายามสอบสวนทบทวนดูเรื่องความเกิดความดับของอาการทั้ง ๔ นี้ โดยทางปัญญาที่ทำหน้าที่ของตนอยู่ทุกเวลา จนสามารถรู้ชัดว่าอาการทั้ง ๔ นี้กับเรื่องรูปขันธ์นี้มีลักษณะเช่นเดียวกัน แม้จะเป็นด้านวัตถุกับด้านนามธรรมซึ่งไม่เหมือนกันก็ตาม แต่ก็รวมลงในไตรลักษณ์เช่นเดียวกัน


ไม่ มีใครจะสามารถไปยึดเอาอาการทั้ง ๔ นี้ว่าเป็นสุขเป็นอัตตาหรือเป็นของเที่ยงได้ มีสภาพแปรเช่นเดียวกัน และยังสามารถจะพิจารณาได้อีกว่า อาการทั้ง ๔ นี้เกิดขึ้นมาจากไหน ฐานที่ตั้งของอาการทั้ง ๔ นี้มีอะไรเป็นที่ตั้ง นอกจากจิตแล้วอาการทั้ง ๔ นี้จะไม่มีที่ตั้ง นี่ที่พระพุทธเจ้าท่านพิจารณาปัจจยาการ คือความเกิดความดับของสิ่งเหล่านี้ จนสามารถรู้ที่เกิดที่ดับและรู้เท่าทันในจุดนั้นได้อีกด้วย เรียกว่าได้ปล่อยวางฐานที่เกิดแห่งภพแห่งชาติ ฐานที่เกิดแห่งกิเลสตัณหาอาสวะได้แก่จิตดวงนั้น ปล่อยวางส่วนแห่งร่างกาย เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ไปเป็นลำดับๆ แล้วก็ปล่อยวางธรรมชาติซึ่งเป็นรากฐานของกิเลสตัณหานั้นได้ด้วยปัญญาอีก แล้วกิเลสตัณหาจะมีที่ตั้งบ้านตั้งเรือนตั้งภพตั้งชาติที่ไหน ไม่มีที่ตั้ง นี่ท่านเรียกว่าทำลายอวิชชา อวิชชาได้สิ้นสุดลงในจุดนี้ เรื่องอุปาทานทั้งหมดก็ได้ยุติกันลง ความบริสุทธิ์นั้น จึงจะปรากฏภายในท่านผู้รู้นั้นอย่างเด่นชัดในขณะนั้นนั่นเอง


เรื่อง ภพน้อยภพใหญ่ที่เคยเป็นมา ก็ทราบชัดในขณะนั้นว่าเป็นไปจากธรรมชาติอันเดียวนี้ เป็นผู้พาให้เกิดให้ตาย พาให้ทุกข์ยากลำบาก สูงๆ ต่ำๆ ลุ่มๆ ดอนๆ แห่งภพแห่งชาติ แห่งความสุขความทุกข์ ก็ไปจากจุดเดียวนี้ทั้งนั้น นี่เรียกว่าบ่อแห่งความกังวลมีอยู่จุดนี้ ถ้าว่าต้นไม้ก็คือรากแก้วของต้นไม้ ถ้าว่าภพว่าชาติก็รากแก้วของภพของชาติ ได้แก่จิตอวิชชาที่พัวพันหรือซึมซาบกันอยู่ จนไม่ทราบว่าอะไรเป็นจิตอะไรเป็นอวิชชา จนกว่าปัญญามีความสามารถแกล้วกล้าถึงขั้นมหาสติมหาปัญญาแล้ว จึงจะทราบรากฐานที่เกิดแห่งภพแห่งชาติได้โดยชัดเจน พร้อมทั้งทำลายด้วยมรรคญาณได้แก่ปัญญาขั้นละเอียด ภพชาติจึงจะสิ้นสุดลงในใจดวงนั้น


นั้นแลที่ท่านว่า วุสิตํ พฺรหฺมจริยํ, กตํ กรณียํ. เสร็จ กิจในพระพุทธศาสนา กิจอื่นที่จะทำให้ยิ่งกว่านี้ไม่มี คือเราจะทำการถอดถอนอะไรอีกไม่มีสิ่งที่จะถอดถอน เพราะสมมุติได้สลายตัวลงไปหมดแล้ว ไม่มีอันใดเหลือ ท่านจึงให้ชื่ออันหนึ่งขึ้นมาว่า “วิมุตติ”สมมุติ นั้นเราตั้งชื่อด้วยมีความติดใจในสิ่งนั้นด้วย เป็นอุปาทานในสมมุตินั้นด้วย แต่วิมุตติตั้งขึ้นด้วยอำนาจแห่งท่านผู้บริสุทธิ์ตั้ง จึงไม่มีข้อข้องใจอันใดกับชื่อของวิมุตติ ตั้งไว้ตามอาการเท่านั้น


ที นี้อริยสัจธรรมทั้ง ๔ ไปอยู่ที่ไหน เมื่อจิตได้ถึงขั้นนั้นแล้ว ทางเดินก็สุดวิสัยหรือว่าปล่อยไว้ตามเป็นจริง ทุกข์ก็ได้สลายตัวไปแล้ว เพราะรากฐานคือสมุทัยได้ถูกถอดถอนขึ้นด้วยมรรค คือ ศีล สมาธิ ปัญญา นิโรธะก็แสดงตัวขึ้นมาว่าดับทุกข์ ผู้ใดที่รู้ว่าทุกข์ดับผู้นั้นไม่ใช่ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค เพราะฉะนั้นธรรมชาตินั้นจึงนอกเหนือไปจากทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค อีกทีหนึ่ง นี่หลักของพระพุทธศาสนา


ผู้ ปฏิบัติตามแนวทางของพระพุทธเจ้า ไม่ว่าสมัยโน้นและสมัยนี้ ไม่ว่าสมัยใด ขอแต่ได้ดำเนินตามหลักความจริงคือเหตุผลโดยถูกต้อง ผลอันเป็นที่พึงพอใจจะต้องแสดงขึ้นได้ด้วยกันทุกราย โดยไม่คำนึงว่าเป็นหญิงเป็นชาย นักบวชหรือฆราวาส อำนาจวาสนานั้นเราสร้างมาด้วยกันทุกคน เราอย่าได้ประมาทอำนาจวาสนาของตน ทุกคนก็ต้องมีกิเลสด้วยกันเพราะกิเลสยังไม่สิ้น ต้องเป็นผู้มีกิเลส จะว่าตนมีวาสนามากน้อยได้อย่างไร ต่อเมื่อมีความรู้ความฉลาดซึ่งเกิดขึ้นจากการฝึกฝนอบรมนี้แล เราจะทราบว่าสิ่งใดมาเป็นข้อข้องใจ หรือสิ่งใดมาเป็นอุปสรรคต่อทางเดินของเรา จะได้พยายามแก้ไขสิ่งที่เป็นอุปสรรคต่อทางเดินของตนนั้น เราจะได้ก้าวเข้าไปสู่จุดหมายปลายทางเป็นลำดับๆ กิริยาที่เราก้าวไปนั้น ก็แสดงว่าเราเพิ่มอำนาจวาสนาของเรานั่นเอง เมื่อเต็มที่แล้วก็ผ่านพ้นไปได้เช่นเดียวกับพระพุทธเจ้าและสาวกทั้งหลาย


ฉะนั้น ในอวสานแห่งพระธรรมเทศนานี้ จึงขออำนาจแห่งคุณพระรัตนตรัย จงอภิบาลรักษาท่านทั้งหลายให้บำเพ็ญตนจนถึงจุดหมายปลายทาง คือวิมุตติหลุดพ้นโดยทั่วกันเทอญฯ

Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

บันทึกการเข้า

เราช่วยกันนำต้นรักที่เพาะได้
   ส่งไปตาม บ้านที่ต้องการ
       อยากจะได้...
   หรืออยากจะเติม
คำค้น: ศาสนา หลวงตามหาบัว หลวงตา หลวงตาบัว 
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน

Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.515 วินาที กับ 32 คำสั่ง

Google visited last this page 01 ธันวาคม 2567 11:18:47